(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Assad faces life or death choice
By Victor Kotsev
06/12/2012
ยังไม่มีสัญญาณเครื่องบ่งชี้เฉพาะเจาะจงใดๆ เลยว่า รัฐบาลซีเรียมีความตั้งใจที่จะใช้อาวุธเคมีซึ่งมีอยู่ มาเล่นงานปราบปรามพลเมืองของตนเอง อันที่จริงแล้วการที่ไม่นำออกมาใช้เช่นนี้ ทำให้มันยังคงมีคุณค่าอยู่บ้างด้วยซ้ำ ทั้งนี้ถ้าหากประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด มองว่ามันเป็นหมากต่อรองอย่างหนึ่ง ซึ่งจะช่วยแผ้วถางทางให้เขาลี้ภัยออกจากประเทศได้อย่างสะดวกสบายขึ้น หรือกระทั่งเพื่อใช้ในการป้องปรามไม่ให้ต่างชาติเข้ามาแทรกแซง อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นไปในทิศทางไหนใน 2 ประการนี้ ผู้นำซีเรียผู้นี้ก็กำลังหมดทางเลือกลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเหลือเพียงแค่ว่า จะต้องยอมสละอำนาจก้าวลงจากตำแหน่ง หรือไม่ก็ต้องต่อสู้ต่อไปจนถึงที่สุด
ฝ่ายกบฏของซีเรียกำลังรุกคืบหน้าไปอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งมีสัญญาณเครื่องบ่งชี้หลายๆ ประการว่าซีเรียกำลังจะถูกตัดเฉือนแบ่งเป็นเขตปกครองของรัฐบาลและเขตยึดครองของกบฏภายในช่วงเวลาไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ในเวลาเช่นนี้เองก็มีรายงานปรากฏออกมาว่ากองทัพฝ่ายรัฐบาลได้ดำเนินการตระเตรียมอาวุธเคมีที่มีอยู่จนพรักพร้อมที่จะใช้งานได้ตั้งแต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายงานนี้ทำให้ทั้งสหรัฐฯและพันธมิตรนาโต้ (องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ North Atlantic Treaty Organization หรือ NATO) ต่างรีบออกมาตอบโต้ด้วยคำเตือนอันแข็งกร้าว และด้วยการอนุมัติให้เคลื่อนย้าย ขีปนาวุธต่อต้านขีปนาวุธ แบบ “แพทริออต” (Patriot) ไปประจำการยังภาคใต้ของตุรกี ที่มีเขตแดนติดต่อกับตอนเหนือของซีเรีย ซึ่งเป็นสิ่งที่อาจส่งผลเปลี่ยนแปลงดุลแห่งอำนาจในซีเรียได้ทีเดียว สถานการณ์เช่นนี้ทำให้ดูเหมือนกับว่าสงครามกลางเมืองในประเทศนี้กำลังเคลื่อนเข้าสู่ระยะเขม็งเกลียวยิ่งยวด โดยที่ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด กำลังถูกกดดันให้ต้องตัดสินใจเลือกเอาระหว่างการสละอำนาจก้าวลงจากตำแหน่ง หรือไม่ก็ต้องทำการสู้รบต่อไปจนถึงที่สุด โดยใช้หนทางทุกหนทางและเครื่องมือทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่จะสามารถจัดหามาได้
เพื่อความเป็นธรรม ควรที่จะต้องระบุให้ชัดเจนด้วยว่า ยังไม่มีสัญญาณเครื่องบ่งชี้เฉพาะเจาะจงใดๆ เลยว่า รัฐบาลซีเรียมีความตั้งใจที่จะใช้อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงเฉกเช่นอาวุธเคมีนี้ มาเล่นงานปราบปรามพลเมืองของตนเอง และโฆษกของพวกเขาก็ได้ออกมาปฏิเสธอย่างขุ่นเคืองไม่พอใจเมื่อวันจันทร์(3 ธ.ค.)ที่ผ่านมา เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในเรื่องนี้ อันที่จริงแล้ว อาวุธเช่นนี้สามารถที่จะแสดงบทบาทอื่นๆ ซึ่งผิดแผกออกไปในสถานการณ์ต่างๆ หลายหลาก เป็นต้นว่า อัสซาดอาจใช้มันเป็นหมากต่อรองอย่างหนึ่งเพื่อแผ้วถางทางให้เขาสามารถลี้ภัยออกนอกประเทศได้อย่างสะดวกสบายขึ้น, ใช้เป็นอาวุธข่มขู่เพื่อป้องปรามไม่ให้ต่างชาติเข้ามาแทรกแซง, หรือไม่ก็ใช้เป็น 1 ในเครื่องคุ้มกันการที่เขาจะถอยไปตั้งหลักยังบริเวณซึ่งล้อมรอบโดยดินแดนที่ประชากรเป็นชาวมุสลิมนิกายอาลาวี (Alawi) เช่นเดียวกับตัวเขา
ทั้งนี้มีรายงานข่าวบางกระแสเหมือนกันที่อ้างว่า อัสซาดกำลังสำรวจดูลู่ทางความเป็นไปได้ในการขอลี้ภัยทางการเมืองในประเทศละตินอเมริกาทั้งหลาย เป็นต้นว่า คิวบา, เวเนซุเอลา, หรือ เอกวาดอร์ ถึงแม้ตัวประธานาธิบดีซีเรียผู้นี้ได้ออกมาปฏิเสธเรื่อยมาว่าไม่เคยมีความคิดเช่นนั้น อีกทั้งประกาศลั่นว่าจะ “อยู่และตายไปในซีเรีย” แต่ในเมื่อโชคเคราะห์ทางการทหารและทางการทูตในช่วงหลังๆ มานี้ของเขากำลังหันเหไปในทางเลวร้ายลงทุกทีๆ จึงมีความเป็นไปได้ที่เขาอาจจะกลับมาพิจารณาทางเลือกเหล่านี้อีกคำรบหนึ่ง
การข่มขู่เรื่องจะใช้อาวุธเคมี ในอีกด้านหนึ่งก็อาจทำให้เขาได้รับคำมั่นสัญญาว่าจะไม่ถูกติดตามเอาตัวกลับมาลงโทษ รวมทั้งได้รับข้อเสนอเกี่ยวกับเงื่อนไขการลี้ภัยที่ผ่อนปรนมากยิ่งขึ้น (แน่นอนทีเดียวว่า ข้อเสนอเหล่านี้จะมีผลตราบเท่าที่เขายังไม่ใช้อาวุธทำลายร้ายแรงเหล่านี้เท่านั้น)
ด้วยการขบคิดไปในทำนองเดียวกันนี้เอง สแทรตฟอร์ (Stratfor) บริษัทเอกชนอเมริกันทรงอิทธิพลที่เชี่ยวชาญด้านการรวบรวมและวิเคราะห์ข่าวกรอง จึงได้คาดเดาว่า การที่ จิฮัด มักดิซี (Jihad Maqdisi) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศซีเรีย แปรพักตร์หลบหนีออกมาเมื่อเร็วๆ นี้นั้น แท้ที่จริงมีจุดมุ่งหมายในการปูทางให้แก่ “การดำเนินความพยายามทางการทูตเพื่อเจรจาต่อรองให้ครอบครัวของอัสซาดสามารถออกนอกประเทศได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งให้มีการรับประกันความมั่นคงปลอดภัยของชาวอาลาวี ที่เป็นชนกลุ่มน้อยในซีเรีย”
กระนั้นก็ตามที ยังคงมีเหตุผลหลายๆ ประการที่ชวนให้เกิดความวิตกกังวล ดังที่คำแถลงทั้งของประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ และของพวกผู้นำฝ่ายตะวันตกคนอื่นๆ เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ชี้ให้เห็น
“การใช้อาวุธเคมีคือสิ่งที่ยอมรับไม่ได้โดยสิ้นเชิงในปัจจุบัน และก็จะเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้โดยสิ้นเชิงในอนาคตด้วย” โอบามากล่าวเมื่อวันจันทร์ (3 ธ.ค.) ที่ผ่านมาในระหว่างให้สัมภาษณ์นิวยอร์กไทมส์ โดยที่เห็นชัดว่าเขากำลังมุ่งส่งข้อความไปถึงอัสซาด “ถ้าคุณกระทำความผิดพลาดอย่างชนิดเป็นโศกนาฏกรรมด้วยการใช้อาวุธเหล่านี้แล้ว มันก็จะเกิดผลต่อเนื่องติดตามมา และคุณก็จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบถูกไล่เรียงเอาความผิด” ส่วนทางด้านรัฐมนตรีต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน ของสหรัฐฯ กล่าวถึงอัสซาดว่า กำลังอยู่ในภาวะ “ดิ้นรนกระเสือกกระสน” เธอบอกว่าในภาวะเช่นนั้นก็อาจทำให้เขาเสี่ยงที่จะใช้อาวุธอานุภาพทำลายร้างแรงก็ได้
ในเวลาเดียวกัน นิตยสารไวเอิร์ด (Wired) รายงานว่า กองทัพซีเรียได้เริ่มต้นกระบวนการเตรียมก๊าซซาริน (sarin สารเคมีทำลายระบบประสาทที่มีพิษร้ายแรงถึงชีวิต) เพื่อใช้เป็นอาวุธแล้ว “ในทางกายภาพ พวกเขาเตรียมการจนถึงจุดที่ว่าพวกเขาสามารถลำเลียงก๊าซเหล่านี้ขึ้นเครื่องบินและทิ้งลงมาได้แล้ว” นิตยสารฉบับนี้อ้างคำพูดของแหล่งข่าวที่เป็นเจ้าหน้าที่อเมริกันผู้ไม่มีการระบุชื่อรายหนึ่ง [1]
ยังมีรายงานที่ไม่ได้รับการยืนยันบางกระแสไปไกลถึงขั้นกล่าวว่า หัวรบขีปนาวุธที่บรรจุก๊าซซารินเอาไว้พร้อมสรรพแล้ว ได้ถูกเคลื่อนย้ายไปยังภาคเหนือของประเทศแล้วด้วยซ้ำ โดยอาจจะมุ่งไปยังเมืองอะเลปโป (Aleppo) ทั้งนี้สถานการณ์ที่นั่นนับว่าย่ำแย่สำหรับฝ่ายอัสซาด โดยที่ ออกซ์ฟอร์ด แอนาลิติกา (Oxford Analytica) บริษัทเอกชนผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ที่มีอิทธิพลในระดับโลกอีกรายหนึ่ง ทำนายเอาไว้ว่า “กองทหารฝ่ายจงรักภักดีต่อรัฐบาล น่าที่จะสูญเสียที่มั่นทางยุทธศาสตร์ของพวกเขาในภาคเหนือไปเกือบทั้งหมดในเวลาไม่กี่เดือนต่อจากนี้ไป เป็นการแผ้วถางทางให้ฝ่ายกบฏสามารถก่อตั้งเขตพื้นที่ขนาดใหญ่และใกล้ชิดติดกันขึ้นมาได้สำเร็จภายในกลางปี 2013”
การที่ฝ่ายรัฐบาลประสบความล้มเหลวในการยึดคืนเมืองอะเลปโป ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของซีเรียและเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ในภาคเหนือของประเทศ เมื่อบวกกับสัญญาณสิ่งบ่งชี้ประการอื่นๆ เป็นต้นว่า การที่ฝ่ายรัฐบาลต้องพึ่งพาแสนยานุภาพทางอากาศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เหล่านี้ล้วนแต่ตอกย้ำให้เห็นภาวการณ์ขาดแคลนกำลังคน สืบเนื่องจากกองทัพซีเรียนั้นประกอบด้วยทหารเกณฑ์จำนวนมากที่เป็นชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ ซึ่งเป็นที่กังขาในเรื่องความจงรักภักดีและอาจแปรพักตร์ได้หากถูกส่งไปสู้รบกับฝ่ายกบฏ ที่เป็นคนในนิกายเดียวกับตน โดยที่ชาวสุหนี่นั้นเป็นประชากรส่วนใหญ่ของซีเรีย นอกจากนั้นยังมีรายงานว่าในการปฏิบัติการรบครั้งต่างๆ ที่ผ่านมา รัฐบาลสามารถดึงเอาทหารออกมาใช้ได้จริงๆ เพียงจำนวนจำกัดเท่านั้น
“อาลี ชาวอาลาวีวัย 28 ปี ซึ่งพำนักอาศัยอยู่ในเมืองลัตตาเกีย (Lattakia) เมืองเอกของภูมิภาคแถบนี้ เล่าว่าตามหมู่บ้านชาวอาลาวีต่างๆ ที่เขาไปแวะเข้าไปในช่วงหลังๆ มานี้ ต่างอยู่ในสภาพแทบไม่มีผู้ชายเลย หลังจากที่ระบอบปกครองอัสซาดได้บังคับเกณฑ์สมาชิกชายของนิกายอาลาวีทุกๆ คนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีจนถึง 50 ปีไปเป็นทหาร” หนังสือพิมพ์โกลบอลโพสต์ (Global Post) รายงานเอาไว้เช่นนี้ [2]
ถึงแม้อัสซาดยังอาจจะพยายามสู้รบต่อไปอีกสักพักหนึ่ง แต่ก็ดูจะเป็นที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ แล้วว่าเขากำลังเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามกลางเมืองคราวนี้ เรื่องนี้เป็นความจริงที่มองเห็นได้แม้กระทั่งในเมืองหลวงดามัสกัส เมื่อพวกกบฏก็สามารถรุกคืบหน้าได้เช่นเดียวกันในระยะไม่กี่วันที่ผ่านมา พวกเขากำลังทำการสู้รบแบบชิงที่มั่นอย่างดุเดือดกับกองกำลังฝ่ายรัฐบาลในบริเวณชานกรุง และเป็นต้นเหตุทำให้ต้องมีการปิดการสัญจรทางอากาศระหว่างประเทศ ตลอดจนก่อให้เกิดความขัดข้องติดขัดอย่างอื่นๆ
ข้อเท็จจริงที่ว่า วาลิด จุมบลัตต์ (Walid Jumblatt) ผู้นำชาวดรุซ (Druze) เลบานอน ได้ออกมาเรียกร้องให้ชาวดรุซในซีเรียเข้าร่วมกับฝ่ายกบฏนั้น ควรที่จะต้องพิจารณาว่ามีความสำคัญมากในเชิงสัญลักษณ์ จุมบลัตต์ ผู้ซึ่งนิตยสาร “ฟอเรนจ์ โพลิซี” (Foreign Policy) ฉบับเร็วๆ นี้ให้สมญาว่าเป็น “กังหันชี้ทิศทางลม” (weathervane) เป็นที่ขึ้นชื่อลือชาเรื่องความสามารถในการนำตัวเองไปเข้าพวกเข้ากลุ่มกับผู้ชนะในแต่ละช่วงจังหวะเวลาได้อย่างถูกต้อง และประสบผลในการเรียกร้องให้นิกายศาสนาของเขาได้รับการดูแลใส่ใจอยู่เสมอ [3]
ในทางระหว่างประเทศ สภาพอยู่อย่างโดดเดี่ยวของอัสซาดก็ปรากฏชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน ดังที่หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์รายงานเอาไว้ว่า “เจ้าหน้าที่อาวุโสของตุรกีผู้หนึ่งกล่าวว่า รัสเซียได้ตกลงเห็นชอบเมื่อวันจันทร์ เกี่ยวกับการดำเนินการทางการทูตครั้งใหม่ซึ่งจะพยายามหาหนทางเกลี้ยกล่อมชักชวนให้ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ยินยอมสละอำนาจ”
ขณะที่นิตยสาร ดิ แอตแลนติก (The Atlantic) ก็รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ อิสราเอลได้พยายามถึง 2 ครั้ง 2 ครา เพื่อ “ขออนุญาต” จอร์แดน ในการบินข้ามไปโจมตีอาวุธเคมีของซีเรีย ทว่าได้รับการปฏิเสธ [4] ในเวลาเดียวกัน ก็กำลังมีผู้เสนอแนวความคิดใหม่ๆ แหวกแนว เกี่ยวกับการสร้างเขตห้ามบิน (no-fly zone) แบบ “ไลต์ (lite) ขึ้นมาในบริเวณพรมแดนทางตอนเหนือของซีเรีย เท่าที่ผ่านมาเมื่อมีความพยายามที่จะประกาศเขตห้ามบินขึ้นมา ย่อมหมายความว่าฝ่ายที่ประกาศห้ามจะต้องสร้างความเหนือกว่าทางอากาศอย่างสมบูรณ์ ควบคู่ไปกับการกำจัดกำลังป้องกันทางด้านการต่อสู้อากาศยานของฝ่ายที่อาจจะละเมิดประกาศห้ามให้หมดสิ้นไป แต่จากการที่นาโต้มีกำหนดเคลื่อนย้ายขีปนาวุธแพทริออต เข้ามายังตอนใต้ของตุรกีในเร็วๆ นี้ ก็น่าที่จะส่งผลให้เครื่องบินทหารของซีเรียต้องถอยห่างออกจากแนวชายแดนไปประมาณ 100 กิโลเมตร ด้วยการขจัดความได้เปรียบทางอากาศอันเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งยวดของระบอบปกครองซีเรียในบริเวณเหล่านี้ มาตรการนี้จึงน่าจะมีส่วนช่วยอย่างสำคัญให้แก่การสถาปนาระบอบปกครองของฝ่ายกบฏขึ้นมาแข่งขันกับของฝ่ายรัฐบาล ตลอดจนในการสร้างความปราชัยให้แก่อัสซาดในที่สุด
เวลานี้ผู้นำซีเรียผู้นี้ดูเหมือนจะตกอยู่ในสภาพหลังชนฝา ไม่ว่าเขาเลือกที่จะก้าวลงจากอำนาจ หรือจะทำการต่อสู้ต่อไป ก็น่าที่จะผลส่งกระทบในระดับความเป็นความตายทั้งต่อตัวเขาและต่อชาวซีเรียในทุกๆ นิกายศาสนาทุกๆ กลุ่มการเมืองจำนวนเป็นหมื่นเป็นแสนคน ทั้งนี้ในขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตจากการลุกฮือในซีเรียที่ดำเนินมาร่วมๆ 2 ปีแล้ว กำลังเพิ่มขึ้นไปแตะหลัก 40,000 คน และสหประชาชาติก็กำลังลดระดับการปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือเนื่องจากเกรงว่าเจ้าหน้าที่ของตนจะไม่มีความปลอดภัย ทั่วทั้งซีเรียจึงกำลังถูกปกคลุมด้วยอารมณ์ความรู้สึกของการดิ้นรนกระเสือกกระสนอย่างเร่งด่วน
**หมายเหตุ**
[1] ดูเรื่อง Exclusive: US Sees Syria Prepping Chemical Weapons for Possible Attack, Wired, December 3, 2012.
[2] ดูเรื่อง Are Syria's rebels about to win?, Global Post, November 30, 2012.
[3] ดูเรื่อง The Weathervane, Foreign Policy, October 5, 2012.
[4] ดูเรื่อง Israel Asked Jordan for Approval to Bomb Syrian WMD Sites, The Atlantic, December 3, 2012.
วิกเตอร์ คอตเซฟ เป็นนักหนังสือพิมพ์และนักวิเคราะห์การเมือง ซึ่งตั้งฐานอยู่ในเทลอาวีฟ
Assad faces life or death choice
By Victor Kotsev
06/12/2012
ยังไม่มีสัญญาณเครื่องบ่งชี้เฉพาะเจาะจงใดๆ เลยว่า รัฐบาลซีเรียมีความตั้งใจที่จะใช้อาวุธเคมีซึ่งมีอยู่ มาเล่นงานปราบปรามพลเมืองของตนเอง อันที่จริงแล้วการที่ไม่นำออกมาใช้เช่นนี้ ทำให้มันยังคงมีคุณค่าอยู่บ้างด้วยซ้ำ ทั้งนี้ถ้าหากประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด มองว่ามันเป็นหมากต่อรองอย่างหนึ่ง ซึ่งจะช่วยแผ้วถางทางให้เขาลี้ภัยออกจากประเทศได้อย่างสะดวกสบายขึ้น หรือกระทั่งเพื่อใช้ในการป้องปรามไม่ให้ต่างชาติเข้ามาแทรกแซง อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นไปในทิศทางไหนใน 2 ประการนี้ ผู้นำซีเรียผู้นี้ก็กำลังหมดทางเลือกลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเหลือเพียงแค่ว่า จะต้องยอมสละอำนาจก้าวลงจากตำแหน่ง หรือไม่ก็ต้องต่อสู้ต่อไปจนถึงที่สุด
ฝ่ายกบฏของซีเรียกำลังรุกคืบหน้าไปอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งมีสัญญาณเครื่องบ่งชี้หลายๆ ประการว่าซีเรียกำลังจะถูกตัดเฉือนแบ่งเป็นเขตปกครองของรัฐบาลและเขตยึดครองของกบฏภายในช่วงเวลาไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ในเวลาเช่นนี้เองก็มีรายงานปรากฏออกมาว่ากองทัพฝ่ายรัฐบาลได้ดำเนินการตระเตรียมอาวุธเคมีที่มีอยู่จนพรักพร้อมที่จะใช้งานได้ตั้งแต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายงานนี้ทำให้ทั้งสหรัฐฯและพันธมิตรนาโต้ (องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ North Atlantic Treaty Organization หรือ NATO) ต่างรีบออกมาตอบโต้ด้วยคำเตือนอันแข็งกร้าว และด้วยการอนุมัติให้เคลื่อนย้าย ขีปนาวุธต่อต้านขีปนาวุธ แบบ “แพทริออต” (Patriot) ไปประจำการยังภาคใต้ของตุรกี ที่มีเขตแดนติดต่อกับตอนเหนือของซีเรีย ซึ่งเป็นสิ่งที่อาจส่งผลเปลี่ยนแปลงดุลแห่งอำนาจในซีเรียได้ทีเดียว สถานการณ์เช่นนี้ทำให้ดูเหมือนกับว่าสงครามกลางเมืองในประเทศนี้กำลังเคลื่อนเข้าสู่ระยะเขม็งเกลียวยิ่งยวด โดยที่ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด กำลังถูกกดดันให้ต้องตัดสินใจเลือกเอาระหว่างการสละอำนาจก้าวลงจากตำแหน่ง หรือไม่ก็ต้องทำการสู้รบต่อไปจนถึงที่สุด โดยใช้หนทางทุกหนทางและเครื่องมือทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่จะสามารถจัดหามาได้
เพื่อความเป็นธรรม ควรที่จะต้องระบุให้ชัดเจนด้วยว่า ยังไม่มีสัญญาณเครื่องบ่งชี้เฉพาะเจาะจงใดๆ เลยว่า รัฐบาลซีเรียมีความตั้งใจที่จะใช้อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงเฉกเช่นอาวุธเคมีนี้ มาเล่นงานปราบปรามพลเมืองของตนเอง และโฆษกของพวกเขาก็ได้ออกมาปฏิเสธอย่างขุ่นเคืองไม่พอใจเมื่อวันจันทร์(3 ธ.ค.)ที่ผ่านมา เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในเรื่องนี้ อันที่จริงแล้ว อาวุธเช่นนี้สามารถที่จะแสดงบทบาทอื่นๆ ซึ่งผิดแผกออกไปในสถานการณ์ต่างๆ หลายหลาก เป็นต้นว่า อัสซาดอาจใช้มันเป็นหมากต่อรองอย่างหนึ่งเพื่อแผ้วถางทางให้เขาสามารถลี้ภัยออกนอกประเทศได้อย่างสะดวกสบายขึ้น, ใช้เป็นอาวุธข่มขู่เพื่อป้องปรามไม่ให้ต่างชาติเข้ามาแทรกแซง, หรือไม่ก็ใช้เป็น 1 ในเครื่องคุ้มกันการที่เขาจะถอยไปตั้งหลักยังบริเวณซึ่งล้อมรอบโดยดินแดนที่ประชากรเป็นชาวมุสลิมนิกายอาลาวี (Alawi) เช่นเดียวกับตัวเขา
ทั้งนี้มีรายงานข่าวบางกระแสเหมือนกันที่อ้างว่า อัสซาดกำลังสำรวจดูลู่ทางความเป็นไปได้ในการขอลี้ภัยทางการเมืองในประเทศละตินอเมริกาทั้งหลาย เป็นต้นว่า คิวบา, เวเนซุเอลา, หรือ เอกวาดอร์ ถึงแม้ตัวประธานาธิบดีซีเรียผู้นี้ได้ออกมาปฏิเสธเรื่อยมาว่าไม่เคยมีความคิดเช่นนั้น อีกทั้งประกาศลั่นว่าจะ “อยู่และตายไปในซีเรีย” แต่ในเมื่อโชคเคราะห์ทางการทหารและทางการทูตในช่วงหลังๆ มานี้ของเขากำลังหันเหไปในทางเลวร้ายลงทุกทีๆ จึงมีความเป็นไปได้ที่เขาอาจจะกลับมาพิจารณาทางเลือกเหล่านี้อีกคำรบหนึ่ง
การข่มขู่เรื่องจะใช้อาวุธเคมี ในอีกด้านหนึ่งก็อาจทำให้เขาได้รับคำมั่นสัญญาว่าจะไม่ถูกติดตามเอาตัวกลับมาลงโทษ รวมทั้งได้รับข้อเสนอเกี่ยวกับเงื่อนไขการลี้ภัยที่ผ่อนปรนมากยิ่งขึ้น (แน่นอนทีเดียวว่า ข้อเสนอเหล่านี้จะมีผลตราบเท่าที่เขายังไม่ใช้อาวุธทำลายร้ายแรงเหล่านี้เท่านั้น)
ด้วยการขบคิดไปในทำนองเดียวกันนี้เอง สแทรตฟอร์ (Stratfor) บริษัทเอกชนอเมริกันทรงอิทธิพลที่เชี่ยวชาญด้านการรวบรวมและวิเคราะห์ข่าวกรอง จึงได้คาดเดาว่า การที่ จิฮัด มักดิซี (Jihad Maqdisi) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศซีเรีย แปรพักตร์หลบหนีออกมาเมื่อเร็วๆ นี้นั้น แท้ที่จริงมีจุดมุ่งหมายในการปูทางให้แก่ “การดำเนินความพยายามทางการทูตเพื่อเจรจาต่อรองให้ครอบครัวของอัสซาดสามารถออกนอกประเทศได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งให้มีการรับประกันความมั่นคงปลอดภัยของชาวอาลาวี ที่เป็นชนกลุ่มน้อยในซีเรีย”
กระนั้นก็ตามที ยังคงมีเหตุผลหลายๆ ประการที่ชวนให้เกิดความวิตกกังวล ดังที่คำแถลงทั้งของประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ และของพวกผู้นำฝ่ายตะวันตกคนอื่นๆ เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ชี้ให้เห็น
“การใช้อาวุธเคมีคือสิ่งที่ยอมรับไม่ได้โดยสิ้นเชิงในปัจจุบัน และก็จะเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้โดยสิ้นเชิงในอนาคตด้วย” โอบามากล่าวเมื่อวันจันทร์ (3 ธ.ค.) ที่ผ่านมาในระหว่างให้สัมภาษณ์นิวยอร์กไทมส์ โดยที่เห็นชัดว่าเขากำลังมุ่งส่งข้อความไปถึงอัสซาด “ถ้าคุณกระทำความผิดพลาดอย่างชนิดเป็นโศกนาฏกรรมด้วยการใช้อาวุธเหล่านี้แล้ว มันก็จะเกิดผลต่อเนื่องติดตามมา และคุณก็จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบถูกไล่เรียงเอาความผิด” ส่วนทางด้านรัฐมนตรีต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน ของสหรัฐฯ กล่าวถึงอัสซาดว่า กำลังอยู่ในภาวะ “ดิ้นรนกระเสือกกระสน” เธอบอกว่าในภาวะเช่นนั้นก็อาจทำให้เขาเสี่ยงที่จะใช้อาวุธอานุภาพทำลายร้างแรงก็ได้
ในเวลาเดียวกัน นิตยสารไวเอิร์ด (Wired) รายงานว่า กองทัพซีเรียได้เริ่มต้นกระบวนการเตรียมก๊าซซาริน (sarin สารเคมีทำลายระบบประสาทที่มีพิษร้ายแรงถึงชีวิต) เพื่อใช้เป็นอาวุธแล้ว “ในทางกายภาพ พวกเขาเตรียมการจนถึงจุดที่ว่าพวกเขาสามารถลำเลียงก๊าซเหล่านี้ขึ้นเครื่องบินและทิ้งลงมาได้แล้ว” นิตยสารฉบับนี้อ้างคำพูดของแหล่งข่าวที่เป็นเจ้าหน้าที่อเมริกันผู้ไม่มีการระบุชื่อรายหนึ่ง [1]
ยังมีรายงานที่ไม่ได้รับการยืนยันบางกระแสไปไกลถึงขั้นกล่าวว่า หัวรบขีปนาวุธที่บรรจุก๊าซซารินเอาไว้พร้อมสรรพแล้ว ได้ถูกเคลื่อนย้ายไปยังภาคเหนือของประเทศแล้วด้วยซ้ำ โดยอาจจะมุ่งไปยังเมืองอะเลปโป (Aleppo) ทั้งนี้สถานการณ์ที่นั่นนับว่าย่ำแย่สำหรับฝ่ายอัสซาด โดยที่ ออกซ์ฟอร์ด แอนาลิติกา (Oxford Analytica) บริษัทเอกชนผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ที่มีอิทธิพลในระดับโลกอีกรายหนึ่ง ทำนายเอาไว้ว่า “กองทหารฝ่ายจงรักภักดีต่อรัฐบาล น่าที่จะสูญเสียที่มั่นทางยุทธศาสตร์ของพวกเขาในภาคเหนือไปเกือบทั้งหมดในเวลาไม่กี่เดือนต่อจากนี้ไป เป็นการแผ้วถางทางให้ฝ่ายกบฏสามารถก่อตั้งเขตพื้นที่ขนาดใหญ่และใกล้ชิดติดกันขึ้นมาได้สำเร็จภายในกลางปี 2013”
การที่ฝ่ายรัฐบาลประสบความล้มเหลวในการยึดคืนเมืองอะเลปโป ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของซีเรียและเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ในภาคเหนือของประเทศ เมื่อบวกกับสัญญาณสิ่งบ่งชี้ประการอื่นๆ เป็นต้นว่า การที่ฝ่ายรัฐบาลต้องพึ่งพาแสนยานุภาพทางอากาศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เหล่านี้ล้วนแต่ตอกย้ำให้เห็นภาวการณ์ขาดแคลนกำลังคน สืบเนื่องจากกองทัพซีเรียนั้นประกอบด้วยทหารเกณฑ์จำนวนมากที่เป็นชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ ซึ่งเป็นที่กังขาในเรื่องความจงรักภักดีและอาจแปรพักตร์ได้หากถูกส่งไปสู้รบกับฝ่ายกบฏ ที่เป็นคนในนิกายเดียวกับตน โดยที่ชาวสุหนี่นั้นเป็นประชากรส่วนใหญ่ของซีเรีย นอกจากนั้นยังมีรายงานว่าในการปฏิบัติการรบครั้งต่างๆ ที่ผ่านมา รัฐบาลสามารถดึงเอาทหารออกมาใช้ได้จริงๆ เพียงจำนวนจำกัดเท่านั้น
“อาลี ชาวอาลาวีวัย 28 ปี ซึ่งพำนักอาศัยอยู่ในเมืองลัตตาเกีย (Lattakia) เมืองเอกของภูมิภาคแถบนี้ เล่าว่าตามหมู่บ้านชาวอาลาวีต่างๆ ที่เขาไปแวะเข้าไปในช่วงหลังๆ มานี้ ต่างอยู่ในสภาพแทบไม่มีผู้ชายเลย หลังจากที่ระบอบปกครองอัสซาดได้บังคับเกณฑ์สมาชิกชายของนิกายอาลาวีทุกๆ คนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีจนถึง 50 ปีไปเป็นทหาร” หนังสือพิมพ์โกลบอลโพสต์ (Global Post) รายงานเอาไว้เช่นนี้ [2]
ถึงแม้อัสซาดยังอาจจะพยายามสู้รบต่อไปอีกสักพักหนึ่ง แต่ก็ดูจะเป็นที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ แล้วว่าเขากำลังเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามกลางเมืองคราวนี้ เรื่องนี้เป็นความจริงที่มองเห็นได้แม้กระทั่งในเมืองหลวงดามัสกัส เมื่อพวกกบฏก็สามารถรุกคืบหน้าได้เช่นเดียวกันในระยะไม่กี่วันที่ผ่านมา พวกเขากำลังทำการสู้รบแบบชิงที่มั่นอย่างดุเดือดกับกองกำลังฝ่ายรัฐบาลในบริเวณชานกรุง และเป็นต้นเหตุทำให้ต้องมีการปิดการสัญจรทางอากาศระหว่างประเทศ ตลอดจนก่อให้เกิดความขัดข้องติดขัดอย่างอื่นๆ
ข้อเท็จจริงที่ว่า วาลิด จุมบลัตต์ (Walid Jumblatt) ผู้นำชาวดรุซ (Druze) เลบานอน ได้ออกมาเรียกร้องให้ชาวดรุซในซีเรียเข้าร่วมกับฝ่ายกบฏนั้น ควรที่จะต้องพิจารณาว่ามีความสำคัญมากในเชิงสัญลักษณ์ จุมบลัตต์ ผู้ซึ่งนิตยสาร “ฟอเรนจ์ โพลิซี” (Foreign Policy) ฉบับเร็วๆ นี้ให้สมญาว่าเป็น “กังหันชี้ทิศทางลม” (weathervane) เป็นที่ขึ้นชื่อลือชาเรื่องความสามารถในการนำตัวเองไปเข้าพวกเข้ากลุ่มกับผู้ชนะในแต่ละช่วงจังหวะเวลาได้อย่างถูกต้อง และประสบผลในการเรียกร้องให้นิกายศาสนาของเขาได้รับการดูแลใส่ใจอยู่เสมอ [3]
ในทางระหว่างประเทศ สภาพอยู่อย่างโดดเดี่ยวของอัสซาดก็ปรากฏชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน ดังที่หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์รายงานเอาไว้ว่า “เจ้าหน้าที่อาวุโสของตุรกีผู้หนึ่งกล่าวว่า รัสเซียได้ตกลงเห็นชอบเมื่อวันจันทร์ เกี่ยวกับการดำเนินการทางการทูตครั้งใหม่ซึ่งจะพยายามหาหนทางเกลี้ยกล่อมชักชวนให้ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ยินยอมสละอำนาจ”
ขณะที่นิตยสาร ดิ แอตแลนติก (The Atlantic) ก็รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ อิสราเอลได้พยายามถึง 2 ครั้ง 2 ครา เพื่อ “ขออนุญาต” จอร์แดน ในการบินข้ามไปโจมตีอาวุธเคมีของซีเรีย ทว่าได้รับการปฏิเสธ [4] ในเวลาเดียวกัน ก็กำลังมีผู้เสนอแนวความคิดใหม่ๆ แหวกแนว เกี่ยวกับการสร้างเขตห้ามบิน (no-fly zone) แบบ “ไลต์ (lite) ขึ้นมาในบริเวณพรมแดนทางตอนเหนือของซีเรีย เท่าที่ผ่านมาเมื่อมีความพยายามที่จะประกาศเขตห้ามบินขึ้นมา ย่อมหมายความว่าฝ่ายที่ประกาศห้ามจะต้องสร้างความเหนือกว่าทางอากาศอย่างสมบูรณ์ ควบคู่ไปกับการกำจัดกำลังป้องกันทางด้านการต่อสู้อากาศยานของฝ่ายที่อาจจะละเมิดประกาศห้ามให้หมดสิ้นไป แต่จากการที่นาโต้มีกำหนดเคลื่อนย้ายขีปนาวุธแพทริออต เข้ามายังตอนใต้ของตุรกีในเร็วๆ นี้ ก็น่าที่จะส่งผลให้เครื่องบินทหารของซีเรียต้องถอยห่างออกจากแนวชายแดนไปประมาณ 100 กิโลเมตร ด้วยการขจัดความได้เปรียบทางอากาศอันเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งยวดของระบอบปกครองซีเรียในบริเวณเหล่านี้ มาตรการนี้จึงน่าจะมีส่วนช่วยอย่างสำคัญให้แก่การสถาปนาระบอบปกครองของฝ่ายกบฏขึ้นมาแข่งขันกับของฝ่ายรัฐบาล ตลอดจนในการสร้างความปราชัยให้แก่อัสซาดในที่สุด
เวลานี้ผู้นำซีเรียผู้นี้ดูเหมือนจะตกอยู่ในสภาพหลังชนฝา ไม่ว่าเขาเลือกที่จะก้าวลงจากอำนาจ หรือจะทำการต่อสู้ต่อไป ก็น่าที่จะผลส่งกระทบในระดับความเป็นความตายทั้งต่อตัวเขาและต่อชาวซีเรียในทุกๆ นิกายศาสนาทุกๆ กลุ่มการเมืองจำนวนเป็นหมื่นเป็นแสนคน ทั้งนี้ในขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตจากการลุกฮือในซีเรียที่ดำเนินมาร่วมๆ 2 ปีแล้ว กำลังเพิ่มขึ้นไปแตะหลัก 40,000 คน และสหประชาชาติก็กำลังลดระดับการปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือเนื่องจากเกรงว่าเจ้าหน้าที่ของตนจะไม่มีความปลอดภัย ทั่วทั้งซีเรียจึงกำลังถูกปกคลุมด้วยอารมณ์ความรู้สึกของการดิ้นรนกระเสือกกระสนอย่างเร่งด่วน
**หมายเหตุ**
[1] ดูเรื่อง Exclusive: US Sees Syria Prepping Chemical Weapons for Possible Attack, Wired, December 3, 2012.
[2] ดูเรื่อง Are Syria's rebels about to win?, Global Post, November 30, 2012.
[3] ดูเรื่อง The Weathervane, Foreign Policy, October 5, 2012.
[4] ดูเรื่อง Israel Asked Jordan for Approval to Bomb Syrian WMD Sites, The Atlantic, December 3, 2012.
วิกเตอร์ คอตเซฟ เป็นนักหนังสือพิมพ์และนักวิเคราะห์การเมือง ซึ่งตั้งฐานอยู่ในเทลอาวีฟ