(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Syrian Scuds cause a big bang
By Victor Kotsev
13/12/2012
รายงานข่าวที่ว่าระบอบปกครองของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด แห่งซีเรีย กำลังใช้จรวดสกั๊ดยิงใส่กองกำลังอาวุธฝ่ายกบฎ ถ้าหากได้รับการยืนยันว่าเป็นความจริงแล้ว ก็จะเป็นเครื่องบ่งชี้อีกประการหนึ่งถึงความอ่อนแอทางทหารของระบอบปกครองนี้ โดยที่เราอาจจะอธิบายได้ว่า ความเคลื่อนไหวเช่นนี้คือการตอบโต้อย่างจนตรอกต่อกระแสข่าวที่ระบุว่าฝ่ายกบฏน่าจะกำลังรุกคืบใกล้ที่จะเข้าควบคุมคลังอาวุธเคมีบางแห่งเอาไว้ได้แล้ว ในท่ามกลางสถานการณ์ที่ความปั่นป่วนวุ่นวายเพิ่มมากขึ้นทุกทีๆ มันก็ดูเหมือนกับว่าฝ่ายตะวันตกจะต้องดำเนินการแทรกแซงทางภาคพื้นดินอย่างเต็มรูปแบบเท่านั้น จึงจะสามารถหยุดยั้งไม่ให้เกิดการเข่นฆ่าอย่างโหดเหี้ยมกันต่อไปอีก
หนึ่งวันภายหลังจากสหรัฐฯและอีกกว่า 100 ประเทศประกาศให้การรับรองอย่างเป็นทางการว่า องค์การแห่งใหม่ที่รวบรวมฝ่ายค้านของซีเรียเอาไว้ด้วยกัน เป็นผู้แทนที่ถูกต้องชอบธรรมแต่เพียงผู้เดียวของประชาชนชาวซีเรียแล้ว ได้มีเจ้าหน้าที่อเมริกันหลายคนแจ้งต่อหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ว่า ระบอบปกครองของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด แห่งซีเรีย ได้ยิงขีปนาวุธสกั๊ดอย่างน้อย 6 ลูกเข้าใส่กองกำลังอาวุธของฝ่ายกบฏทางตอนเหนือของประเทศ เรื่องนี้ถือเป็นการไต่บันไดยกระดับความรุนแรงของสถานการณ์ครั้งสำคัญครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นเหตุผลสำหรับการที่ ต่างชาติจะเข้าไปแทรกแซงในประเทศนี้ในไม่ช้าไม่นานนี้ ถึงแม้สิ่งที่คาดคะเนเอาไว้นี้ ยังไม่ใช่ว่าจะต้องบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอนไม่มีพลิกผันแล้ว ตลอดจนการแทรกแซงของต่างชาติดังกล่าวถ้าหากจะมีขึ้นก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีขนาดขอบเขตแค่ไหน
พวกนักวิเคราะห์ยังมีความคิดเห็นแตกแยกกันอยู่ ในเรื่องที่ว่าจะตีความอธิบายข้อมูลข่าวสารชิ้นนี้กันอย่างไร มีบางคนตั้งข้อสังเกตว่าขีปนาวุธสกั๊ดเหล่านี้สามารถที่จะติดตั้งหัวรบอาวุธเคมีสำหรับยิงเข้าสู่เป้าหมาย ขณะที่คนอื่นๆ เสนอว่าอัสซาดอาจจะใช้จรวดพวกนี้เพื่อทำลายค่ายทหารและคลังสรรพาวุธสำคัญๆ ซึ่งเพิ่งตกไปอยู่ในมือของฝ่ายกบฏเมื่อไม่นานมานี้ โดยที่ในระยะสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานซึ่งกล่าวหาว่ากองทัพซีเรียกำลังจัดการผสมพวกสารตั้งต้นเพื่อเตรียมก๊าซซาริน (sarin gas) ซึ่งเป็นก๊าซพิษทำลายระบบประสาทที่มีฤทธิ์ทำลายชีวิต ให้อยู่ในรูปของหัวรบอาวุธเคมีพร้อมใช้จำนวนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม รายงานเหล่านี้ส่วนใหญ่ระบุว่า หัวรบอาวุธเคมีเหล่านี้จัดเตรียมไว้สำหรับการติดตั้งเพื่อใช้โจมตีจากเครื่องบิน ไม่ใช่เพื่อติดตั้งในขีปนาวุธสกั๊ด
กล่าวในทางการทหารแล้ว การยิงจรวดขนาดหนักเช่นนี้ จะต้องถือเป็นสัญญาณบ่งชี้อีกประการหนึ่งถึงความอ่อนแอของระบอบปกครอง กองทัพของอัสซาดนั้น แม้กระทั่งในหน่วยยานเกราะของเขา ก็กำลังประสบการบาดเจ็บล้มตายอย่างสาหัส และดังนั้นจึงถูกบีบบังคับให้ต้องพึ่งพาอาศัยแสนยานุภาพทางอากาศเพิ่มขึ้นมากนับตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีนี้เป็นต้นมา ในระยะใกล้ๆ เข้ามาอีก ก็มีเครื่องบินขับไล่และเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพอัสซาดจำนวนหนึ่งถูกพวกกบฏสอยร่วงลงมา (รายงานข่าวระบุว่าพวกกบฏกำลังใช้ปืนต่อสู้อากาศยาน ตลอดจนจรวดแบบยิงประทับบ่า ซึ่งยึดได้จากคลังอาวุธของกองทัพรัฐบาล เป็นอาวุธในการยิงเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์เหล่านี้) ดังนั้นเมื่อมาถึงเวลานี้ ระบอบปกครองนี้จึงอาจจะพิจารณาเห็นว่าการส่งเที่ยวบินออกไปโจมตีทิ้งระเบิดอย่างมากมายกำลังกลายเป็นการสิ้นเปลืองเกินไปเสียแล้ว นอกจากนั้น ถึงแม้จรวดสกั๊ดยิงได้ไม่ค่อยแม่นยำเท่าใด แต่มันก็สร้างความเสียหายอย่างหนักหน่วงได้ยิ่งกว่าพวกลูกระเบิดและหัวรบจากเครื่องบินส่วนใหญ่เท่าที่กองทัพซีเรียมีอยู่ในคลัง ยิ่งเป็นเป้าหมายขนาดใหญ่และมีเครื่องป้องกันไม่ค่อยแข็งแรงนักด้วยแล้ว ขีปนาวุธชนิดนี้ก็ยิ่งมีความเหมาะสมเป็นพิเศษ
ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่ากองทัพซีเรียยิงจรวดสกั๊ดใส่เป้าหมายอะไรบ้าง ขณะที่สหรัฐฯเองก็ไม่ได้ให้หลักฐานใดๆ ที่เป็นการสนับสนุนข้ออ้างของฝ่ายตน กระนั้น เจ้าหน้าที่อเมริกันผู้ขอไม่เปิดเผยนามผู้หนึ่งที่นิวยอร์กไทมส์อ้างอิงเป็นแหล่งข่าว ก็ไม่ยอมพลาดโอกาสที่จะทำคะแนนโฆษณาชวนเชื่อ โดยกล่าวว่า “การใช้สกั๊ดยิงใส่เป้าหมายที่เป็นขบวนรถถังหรือค่ายทหารนั้นย่อมเป็นเรื่องหนึ่ง ... การใช้จรวดแบบนี้ยิงใส่เป้าหมายที่เป็นพวกกบฏซึ่งกำลังหลบซ่อนอยู่ในสนามเด็กเล่นของโรงเรียนมันก็ย่อมเป็นอีกเรื่องหนึ่ง”
อย่างไรก็ตาม ความคิดที่ว่าโรงเรียนคือเป้าหมายลำดับแรกของขีปนาวุธชนิดนี้ ดูเหมือนจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงเอาเสียเลย อย่างน้อยที่สุดถ้าหากเราลองมองจากมุมมองของอัสซาดแล้ว โรงเรียน 5 หรือ 6 แห่ง มันจะกลายเป็นเป้าหมายสำคัญถึงขนาดควรค่าแก่การใช้สกั๊ดเชียวหรือ
ถ้าหากเราจะลองใช้วิธีคาดเดากันแล้ว มีรายงานบางชิ้นซึ่งออกมาจากซีเรียอ้างว่า พวกสถานที่ต่างๆ ที่ใช้เก็บอาวุธเคมี โดยเฉพาะในทางภาคเหนือ อาจจะตก (หรือกำลังใกล้ที่จะตก) อยู่ในกำมือของฝ่ายกบฏแล้ว ถ้าหากเรื่องเป็นเช่นนี้จริงๆ มันก็จะสมเหตุสมผลทีเดียวที่อัสซาดจะใช้สกั๊ดเพื่อทำลายสถานที่พวกนั้น
เป็นเรื่องสำคัญมากๆ ที่เราจะต้องให้ความใส่ใจแก่เรื่องการปูพื้นทางด้านการโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านอัสซาด และการตระเตรียมทางการทูตสำหรับการที่ฝ่ายตะวันตกจะเข้าไปปฏิบัติการทางทหารในซีเรียในเวลาต่อไป การจัดตั้งองค์การใหม่ที่พยายามรวบรวมฝ่ายกบฏกลุ่มต่างๆ เข้ามาอยู่ด้วยกันในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาที่กาตาร์ บังเกิดขึ้นภายใต้แรงกดดันบีบคั้นอย่างหนักหน่วงของฝ่ายตะวันตก แล้วยิ่งเมื่อนานาชาติให้การรับรององค์การนี้ด้วยแล้ว ก็ย่อมสะดวกง่ายดายขึ้นมากสำหรับพวกกบฏที่จะร้องขอความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการจากประเทศต่างๆ ในอนาคตอันใกล้นี้
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา สหรัฐฯได้ประกาศขึ้นบัญชีดำกลุ่ม “แนวร่วม อัลนุสเราะห์” (Al Nusra Front) หนึ่งในกลุ่มกบฏซีเรียซึ่งสร้างปัญหามากที่สุดและเป็นพวกสุดโต่งที่สุด โดยวอชิงตันตีตราว่ากลุ่มติดอาวุธอิสลามิสต์กลุ่มนี้เป็นองค์การผู้ก่อการร้าย ความเคลื่อนไหวคราวนี้สามารถตีความได้ว่า เป็นการแผ้วถางขจัดอุปสรรคอย่างท้ายๆ บางประการที่ยังหลงเหลืออยู่ ก่อนที่องค์การฝ่ายค้านของซีเรียจะขยับขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ดังที่หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์เขียนถึงเรื่องนี้เอาไว้ในฉบับวันจันทร์(10 ธ.ค.) โดยบอกว่า “ความเคลื่อนไหวซึ่งเป็นที่คาดหมายกันอยู่ก่อนแล้วคราวนี้ มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การสร้างสมเพิ่มพูนความสนับสนุนของฝ่ายตะวันตกที่จะให้แก่ฝ่ายกบฏซึ่งต่อต้านรัฐบาลของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ด้วยวิธีกำจัดปัดเป่าความหวั่นเกรงซึ่งมีกันอยู่ที่ว่าเงินทองและอาวุธซึ่งมุ่งหมายจะให้แก่พวกกบฏนั้น ลงท้ายกลับจะไหลทะลักไปอยู่ในกำมือของกลุ่มนักรบญิฮัด”
ขณะที่ข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับอาวุธเคมีและขีปนาวุธสกั๊ด ส่วนใหญ่แล้วยังไม่ได้รับยืนยันว่าเป็นความจริง แต่มันก็มีบทบาทเป็นการเสริมต่อเพิ่มพูนทางถ้อยคำวาจา ต่อความพยายามปูพื้นแผ้วถางทาง ซึ่งมีการวางแผนประสานงานกันเป็นอย่างดีของฝ่ายตะวันตก รายงานที่ออกเผยแพร่โดยพวกกบฏในระยะหลังๆ นี้จำนวนหนึ่ง ไปไกลถึงขนาดอ้างว่า อัสซาดกำลังใช้อาวุธประเภททำลายร้ายแรง เป็นตันว่า “ก๊าซพิษ” ในพื้นที่ศูนย์กลางตัวเมืองใหญ่แล้วด้วยซ้ำ [1]
คู่ขนานไปกับความพยายามอย่างใหญ่โตเข้มแข็งเพื่อแผ้วถางทางทำให้สาธารณชนยอมรับการแทรกแซงทางทหารดังกล่าวแล้วข้างต้น การนำเอาระบบขีปนาวุธ “แพทริออต” (Patriot) เข้าไปประจำการในพื้นที่ภาคใต้ของตุรกี ซึ่งมีแนวชายแดนประชิดติดต่อกับภาคเหนือของซีเรีย ตลอดจนการตระเตรียมจัดวางทางการทหารอื่นๆ อีกหลายหลาก ล้วนแต่เป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่า องค์การนาโต้และเหล่าชาติพันธมิตรในตะวันออกกลาง กำลังพิจารณากันอย่างจริงจังมากในเรื่องการลงมือปฏิบัติการ กระนั้นก็ตาม ยังเป็นเรื่องลำบากที่จะบอกได้ว่ามหาอำนาจเหล่านี้มีความมุ่งมั่นตั้งใจถึงขนาดไหนกันแน่ในการเดินหน้าเพื่อโค่นล้มอัสซาด เป็นไปได้ทีเดียวว่าแม้กระทั่งพวกชาติภาคีนาโต้และชาติพันธมิตรในตะวันออกกลางเอง ในเวลานี้ก็ยังไม่ได้มีความคิดกระจ่างชัดแจ้งโดยตลอดแล้ว
เมื่อพิจารณาความสถานการณ์ความปั่นป่วนวุ่นวายที่กำลังเพิ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ ในซีเรีย การรณรงค์ในขอบเขตจำกัดเพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่พวกอาวุธทำล้ายร้ายแรงที่มีอยู่ในประเทศนั้น และ/หรือ ทำลายอาวุธดังกล่าวไปเสียเลย อาจจะกลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในอนาคตอันใกล้นี้ อย่างไรก็ตาม การเปิดยุทธการอย่างกว้างขวางและยืดเยื้อออกไปอีก น่าที่จะประสบการต่อต้านอย่างรุนแรงจากสาธารณชนในสังคมตะวันตก และจะกลายเป็นปัญหาซึ่งสร้างความปวดเศียรเวียนเกล้า แม้กระทั่งสำหรับพวกเหยี่ยวผู้มุ่งมั่นต้องการเข้าไปแทรกแซงอย่างที่สุด
ในทางเป็นจริงแล้ว การแกล้งบลั๊ฟแสร้งข่มขู่ที่กระทำกันด้วยความละเอียดอ่อน ก็อาจจะเพียงพอแล้วที่จะทำให้ระบอบปกครองซีเรียต้องคิดแล้วคิดอีกก่อนที่จะนำเอาพวกอาวุธอันมีฤทธิ์เดชสูงที่สุดของตนออกมาใช้ และด้วยวิธีนี้ก็เท่ากับลดทอนสมรรถนะของกลไกสงครามของฝ่ายนั้นไปได้มากแล้ว และเมื่อนำเรื่องนี้มาบวกเข้ากับการลำเลียงขนส่งอาวุธไปให้แก่พวกกบฏอย่างเต็มที่โดยทางอากาศ รวมทั้งอาจจะมีการก่อตั้งเขตห้ามบิน (no-fly zone) ในขอบเขตจำกัดขึ้นมาด้วย (เป็นต้นว่า ด้วยการนำขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน อย่างเช่น แพทริออต ไปตั้งประจำอยู่ใกล้ๆ ชายแดนซีเรีย) เหล่านี้ย่อมทำให้เราสามารถมองเห็นเส้นทางอันสดใสของฝ่ายค้านในการก้าวเดินไปสู่ชัยชนะอย่างไม่สู้ยากลำบากอะไรนัก
ภาพจำลองสถานการณ์ชนิดที่มองโลกค่อนข้างสดใสแบบหนึ่ง ถึงกับระบุว่า อัสซาดกำลังจะถึงกาลล่มสลายในเร็ววันนี้แล้ว ถ้าหากไม่ใช่เพราะความปราชัยในทางทหารก็เนื่องจากเผชิญปัญหาสาหัสในทางการเงิน ระหว่างการให้สัมภาษณ์เมื่อไม่นานมานี้ กษัตริย์แห่งจอร์แดนได้ทรงระบุระยะเวลา 4 เดือนว่าเป็นกรอบเวลาที่ประธานาธิบดีซีเรียผู้นี้จะถึงกับถังแตกไม่มีเงินทองใช้จ่าย โดยที่ในเวลาเดียวกันนั้น ในทางการทหาร เมืองต่างๆ แม้กระทั่งเมืองหลวงดามัสกัส ก็จะตกอยู่ในวงล้อมของฝ่ายกบฏ
อย่างไรก็ดี ในทางเป็นจริงแล้ว ถ้าหากเกิดการล่มสลายของผู้กุมอำนาจส่วนกลางในซีเรียขึ้นมาจริงๆ มันก็ยังไม่น่าจะนำมาซึ่งจุดสิ้นสุดปิดฉากลงของสงครามกลางเมือง มีความเป็นไปได้มากที่สุดว่า พวกผู้สนับสนุนอัสซาดอาจใช้วิธีถอยไปยังเขตพื้นที่ชายฝั่งทางด้านตะวันตกของประเทศ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ในแถบนั้นเป็นสมาชิกของชาวมุสลิมนิกายอาลาวี (Alawi) เช่นเดียวกับอัสซาด และดำเนินการต่อสู้ต่อไปจากที่มั่นบริเวณดังกล่าว ในเวลาเดียวกัน มีความเป็นไปได้เช่นกันที่กลุ่มติดอาวุธหัวรุนแรงชาวเคิร์ด (Kurd) จะประกาศอ้างสิทธิเข้าครอบครองดินแดนส่วนต่างๆ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรีย ผลลัพธ์ที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดก็คือ เกิดการสู้รบขัดแย้งกันอย่างยืดเยื้อระหว่างกลุ่มติดอาวุธกลุ่มต่างๆ ยิ่งกองกำลังอาวุธของฝ่ายกบฎมีพฤติการณ์สังหารหมู่ อย่างเช่นที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านของชาวอาลาวีแห่งหนึ่งเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา คาดหมายได้ว่าจะยิ่งทำให้ชนกลุ่มน้อยทั้งหลายมุ่งมั่นทำการสู้รบอย่างเด็ดเดี่ยวมากขึ้นไปอีก
ภาพรวมของสถานการณ์เช่นนี้ ยิ่งทำให้ดูเหมือนกับว่า มีแต่การเข้าแทรกแซงทางภาคพื้นดินอย่างเต็มที่เท่านั้น จึงจะสามารถหยุดยั้งการเข่นฆ่ากันอย่างหฤโหดซึ่งจวบจนกระทั่งบัดนี้ได้คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 40,000 ชีวิตแล้ว อย่างไรก็ดี การปฏิบัติการดังกล่าวจำเป็นที่กองกำลังซึ่งเข้าร่วมจะต้องมีความมุ่งมั่นที่จะกระทำภารกิจเป็นระยะยาว โดยที่จะต้องยอมสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมหาศาลและพร้อมเผชิญอันตรายที่มีมากมายเหลือเกิน
ทั้งนี้ เป็นเรื่องยากที่จะเชื่อได้ว่ากำลังมีการตระเตรียมกันเพื่อการปฏิบัติการอะไรในขอบเขตใหญ่โตกว้างขวางขนาดนี้ เช่นเดียวกันก็เป็นเรื่องลำบากที่จะเชื่อได้ว่า ความรุนแรงในซีเรียกำลังจะถึงฉากสุดท้ายแล้ว
**หมายเหตุ**
[1] ตัวอย่างเช่น รายงานเรื่อง Syria Today, LCCS, December 7, 2012.
วิกเตอร์ คอตเซฟ เป็นนักหนังสือพิมพ์และนักวิเคราะห์การเมือง ซึ่งตั้งฐานอยู่ในเทลอาวีฟ
Syrian Scuds cause a big bang
By Victor Kotsev
13/12/2012
รายงานข่าวที่ว่าระบอบปกครองของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด แห่งซีเรีย กำลังใช้จรวดสกั๊ดยิงใส่กองกำลังอาวุธฝ่ายกบฎ ถ้าหากได้รับการยืนยันว่าเป็นความจริงแล้ว ก็จะเป็นเครื่องบ่งชี้อีกประการหนึ่งถึงความอ่อนแอทางทหารของระบอบปกครองนี้ โดยที่เราอาจจะอธิบายได้ว่า ความเคลื่อนไหวเช่นนี้คือการตอบโต้อย่างจนตรอกต่อกระแสข่าวที่ระบุว่าฝ่ายกบฏน่าจะกำลังรุกคืบใกล้ที่จะเข้าควบคุมคลังอาวุธเคมีบางแห่งเอาไว้ได้แล้ว ในท่ามกลางสถานการณ์ที่ความปั่นป่วนวุ่นวายเพิ่มมากขึ้นทุกทีๆ มันก็ดูเหมือนกับว่าฝ่ายตะวันตกจะต้องดำเนินการแทรกแซงทางภาคพื้นดินอย่างเต็มรูปแบบเท่านั้น จึงจะสามารถหยุดยั้งไม่ให้เกิดการเข่นฆ่าอย่างโหดเหี้ยมกันต่อไปอีก
หนึ่งวันภายหลังจากสหรัฐฯและอีกกว่า 100 ประเทศประกาศให้การรับรองอย่างเป็นทางการว่า องค์การแห่งใหม่ที่รวบรวมฝ่ายค้านของซีเรียเอาไว้ด้วยกัน เป็นผู้แทนที่ถูกต้องชอบธรรมแต่เพียงผู้เดียวของประชาชนชาวซีเรียแล้ว ได้มีเจ้าหน้าที่อเมริกันหลายคนแจ้งต่อหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ว่า ระบอบปกครองของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด แห่งซีเรีย ได้ยิงขีปนาวุธสกั๊ดอย่างน้อย 6 ลูกเข้าใส่กองกำลังอาวุธของฝ่ายกบฏทางตอนเหนือของประเทศ เรื่องนี้ถือเป็นการไต่บันไดยกระดับความรุนแรงของสถานการณ์ครั้งสำคัญครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นเหตุผลสำหรับการที่ ต่างชาติจะเข้าไปแทรกแซงในประเทศนี้ในไม่ช้าไม่นานนี้ ถึงแม้สิ่งที่คาดคะเนเอาไว้นี้ ยังไม่ใช่ว่าจะต้องบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอนไม่มีพลิกผันแล้ว ตลอดจนการแทรกแซงของต่างชาติดังกล่าวถ้าหากจะมีขึ้นก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีขนาดขอบเขตแค่ไหน
พวกนักวิเคราะห์ยังมีความคิดเห็นแตกแยกกันอยู่ ในเรื่องที่ว่าจะตีความอธิบายข้อมูลข่าวสารชิ้นนี้กันอย่างไร มีบางคนตั้งข้อสังเกตว่าขีปนาวุธสกั๊ดเหล่านี้สามารถที่จะติดตั้งหัวรบอาวุธเคมีสำหรับยิงเข้าสู่เป้าหมาย ขณะที่คนอื่นๆ เสนอว่าอัสซาดอาจจะใช้จรวดพวกนี้เพื่อทำลายค่ายทหารและคลังสรรพาวุธสำคัญๆ ซึ่งเพิ่งตกไปอยู่ในมือของฝ่ายกบฏเมื่อไม่นานมานี้ โดยที่ในระยะสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานซึ่งกล่าวหาว่ากองทัพซีเรียกำลังจัดการผสมพวกสารตั้งต้นเพื่อเตรียมก๊าซซาริน (sarin gas) ซึ่งเป็นก๊าซพิษทำลายระบบประสาทที่มีฤทธิ์ทำลายชีวิต ให้อยู่ในรูปของหัวรบอาวุธเคมีพร้อมใช้จำนวนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม รายงานเหล่านี้ส่วนใหญ่ระบุว่า หัวรบอาวุธเคมีเหล่านี้จัดเตรียมไว้สำหรับการติดตั้งเพื่อใช้โจมตีจากเครื่องบิน ไม่ใช่เพื่อติดตั้งในขีปนาวุธสกั๊ด
กล่าวในทางการทหารแล้ว การยิงจรวดขนาดหนักเช่นนี้ จะต้องถือเป็นสัญญาณบ่งชี้อีกประการหนึ่งถึงความอ่อนแอของระบอบปกครอง กองทัพของอัสซาดนั้น แม้กระทั่งในหน่วยยานเกราะของเขา ก็กำลังประสบการบาดเจ็บล้มตายอย่างสาหัส และดังนั้นจึงถูกบีบบังคับให้ต้องพึ่งพาอาศัยแสนยานุภาพทางอากาศเพิ่มขึ้นมากนับตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีนี้เป็นต้นมา ในระยะใกล้ๆ เข้ามาอีก ก็มีเครื่องบินขับไล่และเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพอัสซาดจำนวนหนึ่งถูกพวกกบฏสอยร่วงลงมา (รายงานข่าวระบุว่าพวกกบฏกำลังใช้ปืนต่อสู้อากาศยาน ตลอดจนจรวดแบบยิงประทับบ่า ซึ่งยึดได้จากคลังอาวุธของกองทัพรัฐบาล เป็นอาวุธในการยิงเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์เหล่านี้) ดังนั้นเมื่อมาถึงเวลานี้ ระบอบปกครองนี้จึงอาจจะพิจารณาเห็นว่าการส่งเที่ยวบินออกไปโจมตีทิ้งระเบิดอย่างมากมายกำลังกลายเป็นการสิ้นเปลืองเกินไปเสียแล้ว นอกจากนั้น ถึงแม้จรวดสกั๊ดยิงได้ไม่ค่อยแม่นยำเท่าใด แต่มันก็สร้างความเสียหายอย่างหนักหน่วงได้ยิ่งกว่าพวกลูกระเบิดและหัวรบจากเครื่องบินส่วนใหญ่เท่าที่กองทัพซีเรียมีอยู่ในคลัง ยิ่งเป็นเป้าหมายขนาดใหญ่และมีเครื่องป้องกันไม่ค่อยแข็งแรงนักด้วยแล้ว ขีปนาวุธชนิดนี้ก็ยิ่งมีความเหมาะสมเป็นพิเศษ
ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่ากองทัพซีเรียยิงจรวดสกั๊ดใส่เป้าหมายอะไรบ้าง ขณะที่สหรัฐฯเองก็ไม่ได้ให้หลักฐานใดๆ ที่เป็นการสนับสนุนข้ออ้างของฝ่ายตน กระนั้น เจ้าหน้าที่อเมริกันผู้ขอไม่เปิดเผยนามผู้หนึ่งที่นิวยอร์กไทมส์อ้างอิงเป็นแหล่งข่าว ก็ไม่ยอมพลาดโอกาสที่จะทำคะแนนโฆษณาชวนเชื่อ โดยกล่าวว่า “การใช้สกั๊ดยิงใส่เป้าหมายที่เป็นขบวนรถถังหรือค่ายทหารนั้นย่อมเป็นเรื่องหนึ่ง ... การใช้จรวดแบบนี้ยิงใส่เป้าหมายที่เป็นพวกกบฏซึ่งกำลังหลบซ่อนอยู่ในสนามเด็กเล่นของโรงเรียนมันก็ย่อมเป็นอีกเรื่องหนึ่ง”
อย่างไรก็ตาม ความคิดที่ว่าโรงเรียนคือเป้าหมายลำดับแรกของขีปนาวุธชนิดนี้ ดูเหมือนจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงเอาเสียเลย อย่างน้อยที่สุดถ้าหากเราลองมองจากมุมมองของอัสซาดแล้ว โรงเรียน 5 หรือ 6 แห่ง มันจะกลายเป็นเป้าหมายสำคัญถึงขนาดควรค่าแก่การใช้สกั๊ดเชียวหรือ
ถ้าหากเราจะลองใช้วิธีคาดเดากันแล้ว มีรายงานบางชิ้นซึ่งออกมาจากซีเรียอ้างว่า พวกสถานที่ต่างๆ ที่ใช้เก็บอาวุธเคมี โดยเฉพาะในทางภาคเหนือ อาจจะตก (หรือกำลังใกล้ที่จะตก) อยู่ในกำมือของฝ่ายกบฏแล้ว ถ้าหากเรื่องเป็นเช่นนี้จริงๆ มันก็จะสมเหตุสมผลทีเดียวที่อัสซาดจะใช้สกั๊ดเพื่อทำลายสถานที่พวกนั้น
เป็นเรื่องสำคัญมากๆ ที่เราจะต้องให้ความใส่ใจแก่เรื่องการปูพื้นทางด้านการโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านอัสซาด และการตระเตรียมทางการทูตสำหรับการที่ฝ่ายตะวันตกจะเข้าไปปฏิบัติการทางทหารในซีเรียในเวลาต่อไป การจัดตั้งองค์การใหม่ที่พยายามรวบรวมฝ่ายกบฏกลุ่มต่างๆ เข้ามาอยู่ด้วยกันในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาที่กาตาร์ บังเกิดขึ้นภายใต้แรงกดดันบีบคั้นอย่างหนักหน่วงของฝ่ายตะวันตก แล้วยิ่งเมื่อนานาชาติให้การรับรององค์การนี้ด้วยแล้ว ก็ย่อมสะดวกง่ายดายขึ้นมากสำหรับพวกกบฏที่จะร้องขอความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการจากประเทศต่างๆ ในอนาคตอันใกล้นี้
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา สหรัฐฯได้ประกาศขึ้นบัญชีดำกลุ่ม “แนวร่วม อัลนุสเราะห์” (Al Nusra Front) หนึ่งในกลุ่มกบฏซีเรียซึ่งสร้างปัญหามากที่สุดและเป็นพวกสุดโต่งที่สุด โดยวอชิงตันตีตราว่ากลุ่มติดอาวุธอิสลามิสต์กลุ่มนี้เป็นองค์การผู้ก่อการร้าย ความเคลื่อนไหวคราวนี้สามารถตีความได้ว่า เป็นการแผ้วถางขจัดอุปสรรคอย่างท้ายๆ บางประการที่ยังหลงเหลืออยู่ ก่อนที่องค์การฝ่ายค้านของซีเรียจะขยับขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ดังที่หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์เขียนถึงเรื่องนี้เอาไว้ในฉบับวันจันทร์(10 ธ.ค.) โดยบอกว่า “ความเคลื่อนไหวซึ่งเป็นที่คาดหมายกันอยู่ก่อนแล้วคราวนี้ มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การสร้างสมเพิ่มพูนความสนับสนุนของฝ่ายตะวันตกที่จะให้แก่ฝ่ายกบฏซึ่งต่อต้านรัฐบาลของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ด้วยวิธีกำจัดปัดเป่าความหวั่นเกรงซึ่งมีกันอยู่ที่ว่าเงินทองและอาวุธซึ่งมุ่งหมายจะให้แก่พวกกบฏนั้น ลงท้ายกลับจะไหลทะลักไปอยู่ในกำมือของกลุ่มนักรบญิฮัด”
ขณะที่ข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับอาวุธเคมีและขีปนาวุธสกั๊ด ส่วนใหญ่แล้วยังไม่ได้รับยืนยันว่าเป็นความจริง แต่มันก็มีบทบาทเป็นการเสริมต่อเพิ่มพูนทางถ้อยคำวาจา ต่อความพยายามปูพื้นแผ้วถางทาง ซึ่งมีการวางแผนประสานงานกันเป็นอย่างดีของฝ่ายตะวันตก รายงานที่ออกเผยแพร่โดยพวกกบฏในระยะหลังๆ นี้จำนวนหนึ่ง ไปไกลถึงขนาดอ้างว่า อัสซาดกำลังใช้อาวุธประเภททำลายร้ายแรง เป็นตันว่า “ก๊าซพิษ” ในพื้นที่ศูนย์กลางตัวเมืองใหญ่แล้วด้วยซ้ำ [1]
คู่ขนานไปกับความพยายามอย่างใหญ่โตเข้มแข็งเพื่อแผ้วถางทางทำให้สาธารณชนยอมรับการแทรกแซงทางทหารดังกล่าวแล้วข้างต้น การนำเอาระบบขีปนาวุธ “แพทริออต” (Patriot) เข้าไปประจำการในพื้นที่ภาคใต้ของตุรกี ซึ่งมีแนวชายแดนประชิดติดต่อกับภาคเหนือของซีเรีย ตลอดจนการตระเตรียมจัดวางทางการทหารอื่นๆ อีกหลายหลาก ล้วนแต่เป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่า องค์การนาโต้และเหล่าชาติพันธมิตรในตะวันออกกลาง กำลังพิจารณากันอย่างจริงจังมากในเรื่องการลงมือปฏิบัติการ กระนั้นก็ตาม ยังเป็นเรื่องลำบากที่จะบอกได้ว่ามหาอำนาจเหล่านี้มีความมุ่งมั่นตั้งใจถึงขนาดไหนกันแน่ในการเดินหน้าเพื่อโค่นล้มอัสซาด เป็นไปได้ทีเดียวว่าแม้กระทั่งพวกชาติภาคีนาโต้และชาติพันธมิตรในตะวันออกกลางเอง ในเวลานี้ก็ยังไม่ได้มีความคิดกระจ่างชัดแจ้งโดยตลอดแล้ว
เมื่อพิจารณาความสถานการณ์ความปั่นป่วนวุ่นวายที่กำลังเพิ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ ในซีเรีย การรณรงค์ในขอบเขตจำกัดเพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่พวกอาวุธทำล้ายร้ายแรงที่มีอยู่ในประเทศนั้น และ/หรือ ทำลายอาวุธดังกล่าวไปเสียเลย อาจจะกลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในอนาคตอันใกล้นี้ อย่างไรก็ตาม การเปิดยุทธการอย่างกว้างขวางและยืดเยื้อออกไปอีก น่าที่จะประสบการต่อต้านอย่างรุนแรงจากสาธารณชนในสังคมตะวันตก และจะกลายเป็นปัญหาซึ่งสร้างความปวดเศียรเวียนเกล้า แม้กระทั่งสำหรับพวกเหยี่ยวผู้มุ่งมั่นต้องการเข้าไปแทรกแซงอย่างที่สุด
ในทางเป็นจริงแล้ว การแกล้งบลั๊ฟแสร้งข่มขู่ที่กระทำกันด้วยความละเอียดอ่อน ก็อาจจะเพียงพอแล้วที่จะทำให้ระบอบปกครองซีเรียต้องคิดแล้วคิดอีกก่อนที่จะนำเอาพวกอาวุธอันมีฤทธิ์เดชสูงที่สุดของตนออกมาใช้ และด้วยวิธีนี้ก็เท่ากับลดทอนสมรรถนะของกลไกสงครามของฝ่ายนั้นไปได้มากแล้ว และเมื่อนำเรื่องนี้มาบวกเข้ากับการลำเลียงขนส่งอาวุธไปให้แก่พวกกบฏอย่างเต็มที่โดยทางอากาศ รวมทั้งอาจจะมีการก่อตั้งเขตห้ามบิน (no-fly zone) ในขอบเขตจำกัดขึ้นมาด้วย (เป็นต้นว่า ด้วยการนำขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน อย่างเช่น แพทริออต ไปตั้งประจำอยู่ใกล้ๆ ชายแดนซีเรีย) เหล่านี้ย่อมทำให้เราสามารถมองเห็นเส้นทางอันสดใสของฝ่ายค้านในการก้าวเดินไปสู่ชัยชนะอย่างไม่สู้ยากลำบากอะไรนัก
ภาพจำลองสถานการณ์ชนิดที่มองโลกค่อนข้างสดใสแบบหนึ่ง ถึงกับระบุว่า อัสซาดกำลังจะถึงกาลล่มสลายในเร็ววันนี้แล้ว ถ้าหากไม่ใช่เพราะความปราชัยในทางทหารก็เนื่องจากเผชิญปัญหาสาหัสในทางการเงิน ระหว่างการให้สัมภาษณ์เมื่อไม่นานมานี้ กษัตริย์แห่งจอร์แดนได้ทรงระบุระยะเวลา 4 เดือนว่าเป็นกรอบเวลาที่ประธานาธิบดีซีเรียผู้นี้จะถึงกับถังแตกไม่มีเงินทองใช้จ่าย โดยที่ในเวลาเดียวกันนั้น ในทางการทหาร เมืองต่างๆ แม้กระทั่งเมืองหลวงดามัสกัส ก็จะตกอยู่ในวงล้อมของฝ่ายกบฏ
อย่างไรก็ดี ในทางเป็นจริงแล้ว ถ้าหากเกิดการล่มสลายของผู้กุมอำนาจส่วนกลางในซีเรียขึ้นมาจริงๆ มันก็ยังไม่น่าจะนำมาซึ่งจุดสิ้นสุดปิดฉากลงของสงครามกลางเมือง มีความเป็นไปได้มากที่สุดว่า พวกผู้สนับสนุนอัสซาดอาจใช้วิธีถอยไปยังเขตพื้นที่ชายฝั่งทางด้านตะวันตกของประเทศ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ในแถบนั้นเป็นสมาชิกของชาวมุสลิมนิกายอาลาวี (Alawi) เช่นเดียวกับอัสซาด และดำเนินการต่อสู้ต่อไปจากที่มั่นบริเวณดังกล่าว ในเวลาเดียวกัน มีความเป็นไปได้เช่นกันที่กลุ่มติดอาวุธหัวรุนแรงชาวเคิร์ด (Kurd) จะประกาศอ้างสิทธิเข้าครอบครองดินแดนส่วนต่างๆ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรีย ผลลัพธ์ที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดก็คือ เกิดการสู้รบขัดแย้งกันอย่างยืดเยื้อระหว่างกลุ่มติดอาวุธกลุ่มต่างๆ ยิ่งกองกำลังอาวุธของฝ่ายกบฎมีพฤติการณ์สังหารหมู่ อย่างเช่นที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านของชาวอาลาวีแห่งหนึ่งเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา คาดหมายได้ว่าจะยิ่งทำให้ชนกลุ่มน้อยทั้งหลายมุ่งมั่นทำการสู้รบอย่างเด็ดเดี่ยวมากขึ้นไปอีก
ภาพรวมของสถานการณ์เช่นนี้ ยิ่งทำให้ดูเหมือนกับว่า มีแต่การเข้าแทรกแซงทางภาคพื้นดินอย่างเต็มที่เท่านั้น จึงจะสามารถหยุดยั้งการเข่นฆ่ากันอย่างหฤโหดซึ่งจวบจนกระทั่งบัดนี้ได้คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 40,000 ชีวิตแล้ว อย่างไรก็ดี การปฏิบัติการดังกล่าวจำเป็นที่กองกำลังซึ่งเข้าร่วมจะต้องมีความมุ่งมั่นที่จะกระทำภารกิจเป็นระยะยาว โดยที่จะต้องยอมสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมหาศาลและพร้อมเผชิญอันตรายที่มีมากมายเหลือเกิน
ทั้งนี้ เป็นเรื่องยากที่จะเชื่อได้ว่ากำลังมีการตระเตรียมกันเพื่อการปฏิบัติการอะไรในขอบเขตใหญ่โตกว้างขวางขนาดนี้ เช่นเดียวกันก็เป็นเรื่องลำบากที่จะเชื่อได้ว่า ความรุนแรงในซีเรียกำลังจะถึงฉากสุดท้ายแล้ว
**หมายเหตุ**
[1] ตัวอย่างเช่น รายงานเรื่อง Syria Today, LCCS, December 7, 2012.
วิกเตอร์ คอตเซฟ เป็นนักหนังสือพิมพ์และนักวิเคราะห์การเมือง ซึ่งตั้งฐานอยู่ในเทลอาวีฟ