(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Myanmar takes place in US ‘pivot’
By Jim Lobe
16/11/2012
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ออกจากกรุงวอชิงตันในวันศุกร์(16 พ.ย.) เพื่อการเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเวลา 4 วัน ในขณะที่คณะรัฐบาลและพรรคเดโมแครตของเขากำลังอยู่ระหว่างการเจรจาต่อรองกับฝ่ายรีพับลิกันในรัฐสภาอเมริกันเกี่ยวกับการคลี่คลายภาวะ “หน้าผาทางการคลัง” อันน่าสะพรึงกลัว นอกจากนั้นดินแดนฉนวนกาซาก็กำลังทวีความตึงเครียดมากขึ้นทุกทีจากความรุนแรงระลอกล่าสุดที่ระเบิดขึ้นมา สถานการณ์เช่นนี้กลายเป็นบทพิสูจน์ความจริงจังของคณะรัฐบาลของโอบามา ในการหันมาเน้นหนักให้ความสำคัญต่อเอเชีย ตลอดจนในการแสดงบทบาทต่อการปฏิรูปในพม่า
วอชิงตัน – นับเป็นการตอกย้ำให้เห็นกันจะจะ ในเรื่องที่มีการประกาศป่าวร้องกันอย่างเอิกเกริก ว่าเขาจะปรับเปลี่ยนนโยบายของสหรัฐฯ จากที่เคยให้น้ำหนักต่อภูมิภาคตะวันออกกลางและดินแดนข้างเคียง โดยหันมาให้ความสำคัญเน้นหนักย่านเอเชีย-แปซิฟิก ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ออกเดินทางจากกรุงวอชิงตันในวันศุกร์ (16 พ.ย.) เพื่อการตระเวนเยือนประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเวลา 4 วัน ซึ่งรวมถึงการเดินทางไปพม่า ที่จะกลายเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯคนแรกที่ไปเยือนประเทศนั้น
การเดินทางเยือนต่างแดนของโอบามาเที่ยวนี้ ยังจะปิดท้ายด้วยการที่เขาเข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit ใช้อักษรย่อว่า EAS) ที่กัมพูชา โดยที่คาดหมายกันว่าเขาจะได้พบปะหารือกับ เวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีของจีนผู้กำลังใกล้จะพ้นตำแหน่ง ทั้งนี้เขาออกมายังเอเชียอาคเนย์ ขณะที่ในสหรัฐฯนั้นคณะรัฐบาลและพรรคเดโมแครตของเขา กำลังมีการเจรจาต่อรองกับพวกรีพับลิกันโดยที่มีเดิมพันสูงลิ่ว เนื่องจากจะต้องพยายามตกลงกันให้ได้เพื่อแก้ไขภาวะ “หน้าผาทางการคลัง” (fiscal cliff) อันน่าสะพรึงกลัว ส่วนทางตะวันออกกลางก็กำลังมีความเสี่ยงอย่างสูงยิ่งที่ว่า การโจมตีตอบโต้กันอย่างรุนแรงระหว่างอิสราเอลกับรัฐบาลกลุ่มฮามาสในดินแดนฉนวนกาซาในเวลานี้ ซึ่งนับเป็นความรุนแรงครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบ 4 ปีทีเดียวนั้น อาจจะบานปลายเพิ่มระดับจนกระทั่งกลายเป็นการสู้รบขนาดใหญ่โตยิ่งขึ้นอีก
การที่โอบามายังคงออกมาจากกรุงวอชิงตันในจังหวะเวลาที่วิกฤตถึงขนาดนี้ กำลังกลายเป็นบทพิสูจน์ซึ่งแสดงให้เห็นว่า คณะรัฐบาลของเขามีความจริงจังขนาดไหนในการเพิ่มความสำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ให้แก่เอเชีย (คณะรัฐบาลสหรัฐฯเวลานี้ ชื่นชอบที่จะเรียกการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์เช่นนี้ โดยใช้คำว่า “rebalancing การปรับสมดุล” หลังจากที่ในตอนแรกๆ เคยใช้คำว่า “pivot การหมุนรอบแกน” หรือ Asia “pivot”การเปลี่ยนมาหมุนรอบเอเชีย) ความเอาจริงเอาจังที่กล่าวถึงนี้ยังถูกบ่งบอกออกมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า การเดินทางเที่ยวนี้ คือการเดินทางเยือนต่างแดนทริปแรกของโอบามา นับตั้งแต่ที่เขาชนะได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอีกสมัยหนึ่งเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
“การที่ท่านประธานาธิบดีตัดสินใจเดินทางไปเอเชียแต่เนิ่นๆ ภายหลังได้รับเลือกตั้งอีกสมัยหนึ่งเช่นนี้ เป็นการบ่งบอกอย่างดีถึงความสำคัญที่ท่านให้แก่ภูมิภาคดังกล่าว และการที่ภูมิภาคนั้นกำลังมีฐานะเป็นศูนย์กลางของผลประโยชน์และของการจัดลำดับความสำคัญในทางด้านความมั่นคงแห่งชาติของเราอย่างมากมายขนาดไหน” ทอม โดนิลอน (Tom Donilon) ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของโอบามา กล่าวในปาฐกถาแสดงนโยบายครั้งสำคัญเมื่อวันพฤหัสบดี(15 พ.ย.) ซึ่งจัดขึ้นเพื่อตีฆ้องร้องป่าวให้แก่การเดินทางสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของประธานาธิบดีเที่ยวนี้
“แนวทางของเรานี้วางอยู่บนข้อวินิจฉัยง่ายๆ ธรรมดาๆ” เขาบอกกับผู้ฟังปาฐกถาของเขา ซึ่งจัดขึ้นที่ ศูนย์เพื่อความมั่นคงและการระหว่างประเทศศึกษา (Center for Security and International Studies หรือ CSIS) ในกรุงวอชิงตัน “สหรัฐฯนั้นเป็นมหาอำนาจแห่งแปซิฟิก ซึ่งผลประโยชน์ทั้งหลายทั้งปวงของตนมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงอย่างไม่อาจแบ่งแยกออกมาได้กับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ, ความมั่นคง, และทางการเมือง ของเอเชีย ความสำเร็จของอเมริกาในศตวรรษที่ 21 นั้นผูกพันอยู่กับความสำเร็จของเอเชีย”
การเดินทางเยือนของโอบามาเที่ยวนี้ ซึ่งจะแวะประเทศไทยด้วยนั้น นับเป็นการปิดท้ายสิ่งที่ดูเหมือนกับการออกมาตระเวนเยือนเอเชียกันเป็นชุดใหญ่อย่างแทบจะไม่ขาดระยะของพวกเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ตลอดช่วงหลายๆ เดือนที่ผ่านมา เป็นต้นว่า รัฐมนตรีต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน และ รัฐมนตรีกลาโหม เลียน เพเนตตา ก็เพิ่งออกทัวร์ร่วมกันในสัปดาห์นี้เพื่อเยี่ยมเยียนไทยและออสเตรเลีย โดยที่ประเทศหลังนี้ได้ทำความตกลงเป็นเจ้าบ้านรับรองทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯจำนวน 2,500 คน โดยจะให้ไปอยู่ที่ค่ายทหารแห่งหนึ่งในหลายๆ แห่งของตนทางตอนเหนือของแดนจิงโจ้ ซึ่งอยู่ใกล้มากๆ กับทะเลจีนใต้ และช่องแคบมะลากา ที่ทรงความสำคัญทางยุทธศาสตร์
เฉพาะคลินตันนั้น เธอยังจะเข้าร่วมในคณะของโอบามาเมื่อเขาเดินทางมาถึงเอเชียด้วย ทั้งนี้รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกันผู้นี้มีความเกี่ยวข้องผูกพันอย่างหนักแน่นกับกระบวนการปฏิรูปของพม่าที่ดำเนินมาปีเศษแต่ทงาสยังคงไม่ค่อยมั่นคงแน่นอน การปฏิรูปนี้ขับดันร่วมกันโดยบุคคลคู่หนึ่งที่ไม่น่าร่วมมือกันได้เลย อันได้แก่ พล.อ.เต็ง เส่ง กับ อองซานซูจี ผู้เป็นฝ่ายคัดค้านรัฐบาลมาอย่างยาวนาน และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ตลอดจนล่าสุดก็ได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกรัฐสภาของพม่า
ตามข้อเขียนที่ปรากฏในบล็อก “เคเบิล” ("Cable" blog) บนเว็บไซต์ foreignpolicy.com ระบุว่า ซูจี ซึ่งได้พบปะกับประธานาธิบดีโอบามาที่ทำเนียบขาว ตอนที่เธอเดินทางเยือนสหรัฐฯเมื่อ 2 เดือนก่อน ในตอนแรกทีเดียวแสดงความคิดเห็นคัดค้านการเยือนพม่าของโอบามาโดยมองว่ายังเร็วเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่า จวบจนถึงเวลานี้รัฐบาลพม่ายังคงล้มเหลวไม่ได้ปลดปล่อยนักโทษการเมืองอีกมากโดยที่อาจมีจำนวนถึง 200 คนซึ่งยังคงถูกคุมขังอยู่ในคุก นอกจากนั้นยังมีกรณีความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในรัฐยะไข่โดยผู้เคราะห์ร้ายคือพวกชนกลุ่มน้อยโรฮิงญามุสลิม ตลอดจนความล้มเหลวของรัฐบาลที่ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงหยุดยิงกับพวกกบฏชาติพันธุ์คะฉิ่น
ความเปลี่ยนแปลงในพม่า รวมทั้งข้อเท็จจริงที่ว่าการไปเยือนของโอบามาจะกลายเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ในฐานะที่เป็นประธานาธิบดีอเมริกันคนแรกซึ่งเดินทางไปประเทศนั้น เป็นสิ่งที่กำลังได้รับความสนใจมากที่สุดในสหรัฐฯ โดยที่กลุ่มสิทธิมนุษยชนบางกลุ่มตลอดจนนักวิเคราะห์อิสระบางคน ได้ออกมาแสดงความเห็นโต้แย้งคณะรัฐบาลโอบามาว่า กำลังให้การรับรองแข็งขันกับกระบวนการที่เกิดขึ้นในพม่า ในลักษณะที่รีบร้อนเกินไปหรือเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ประธานาธิบดีตัดสินใจในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาให้ยกเลิกมาตรการห้ามไม่ให้สหรัฐฯเข้าไปลงทุนในประเทศนั้น ซึ่งรวมถึงยุติการห้ามไม่ให้อเมริกันเข้าไปร่วมลงทุนกับบริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติแห่งรัฐ ที่เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเคยมีกิจกรรมอันก่อให้เกิดการคัดค้านโต้แย้งกันหนักหน่วงในโลกตะวันตก
ระหว่างที่กลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆ จัดการชุมนุมขึ้นที่บริเวณด้านนอกของทำเนียบขาวในวันพฤหัสบดี (15 พ.ย.) องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) ได้เรียกร้องโอบามาให้เน้นย้ำความวิตกกังวลในด้านสิทธิมนุษยชน ในระหว่างที่เขาพบปะหารือในนครย่างกุ้งกับพวกผู้นำพม่า ซึ่งจะมีทั้ง เต็ง เส่ง และ ซูจี
ผู้ชุมนุมเหล่านี้บอกว่า โอบามาซึ่งมีกำหนดการไปแสดงปาฐกถาให้นักศึกษาและองค์กรภาคประชาชนฟังที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้งด้วย ควรที่จะแสดงการท้าทายประดาบริษัทสหรัฐฯ ให้ “คำนึงถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนก่อนเรื่องผลกำไร” ในขณะที่พวกเขาเข้าไปลงทุนในทรัพยากรทางด้านพลังงานและด้านแร่ธาตุอันอุดมสมบูรณ์ของพม่า รวมทั้งแสวงหาทางสร้างกำรี้กำไรจากตลาดที่มีขนาดประชากรใกล้ๆ 50 ล้านคนและยังแทบไม่มีการเข้าไปหาประโยชน์ทางธุรกิจกันอย่างจริงจัง
พวกนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ยังเน้นย้ำว่าโอบามาควรที่จะหยิบยกประเด็นปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนขึ้นมาว่ากล่าวกับเจ้าบ้านของเขาอีก 2 รายในเที่ยวเดินทางนี้ของเขา นั่นคือ นายกรัฐมนตรี ฮุนเซน ของกัมพูชา และกระทั่งนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ของไทย โดยเฉพาะฮุนเซนนั้น รัฐบาลของเขาถูกกล่าวหามานานแล้วว่าคอยกำราบปราบปรามพวกพรรคการเมืองฝ่ายค้านและขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชนที่มุ่งต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ตลอดจนเรื่องที่กองกำลังรักษาความมั่นคงของกัมพูชาได้รับอภิสิทธิ์คุ้มครองให้ไม่ต้องถูกฟ้องร้องดำเนินคดี
สำหรับกรณีของไทย องค์การฮิวแมน ไรต์ วอตช์ (Human Rights Watch หรือ HRW) เพิ่งออกคำแถลงแสดงความวิตกในเรื่องที่ไม่มีการไล่เรียงเอาผิดจากกรณีกองกำลังความมั่นคงของไทยมีพฤติการณ์ใช้อำนาจโดยมิชอบ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามการก่อความไม่สงบของพวกมุสลิมแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ ตลอดจนในเรื่องที่รัฐบาลมีการกล่าวโทษฟ้องร้องเพิ่มมากขึ้นต่อบุคคลต่างๆ ทั้งที่เป็นนักเคลื่อนไหว, นักหนังสือพิมพ์, และบล็อกเกอร์ ซึ่งแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์หรือวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล
“ประธานาธิบดีโอบามาไม่ควรที่จะต้องสุขุมสุภาพอะไรนักหรอกในเวลาที่ถกเถียงหารือเรื่องผลงานการรักษาสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย” แบรด แอดัมส์ (Brad Adams) ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียของ ฮิวแมน ไรต์ วอตช์ กล่าว
ในปาฐกถาของเขาเมื่อวันพฤหัสบดี โดนิลอนยืนยันว่าโอบามาจะส่งข้อความเรื่องสิทธิมนุษยชนและการปฏิรูปทางประชาธิปไตยถึงเจ้าบ้านของเขาทั้งหมดทุกๆ รายอย่างไม่มีย่อหย่อน แต่เขาระบุถึงพม่าอย่างเจาะจงเป็นพิเศษ
ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาวผู้นี้กล่าวว่า ในขณะที่โอบามาจะพูดย้ำยืนยันความก้าวหน้าต่างๆ ที่พม่าได้ทำไปแล้ว แต่เขาก็จะเรียกร้องเร่งรัดทางการพม่าให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองที่ยังเหลืออยู่ทั้งหมด, ยุติความขัดแย้งทางชาติพันธุ์, และอนุญาตให้พวกเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์และผู้สังเกตการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนสามารถเข้าถึงพื้นที่ขัดแย้งต่างๆ ในประเทศนั้น
อย่างไรก็ตาม เนื้อหาในปาฐกถาของโดนิลอน ส่วนใหญ่ที่สุดอุทิศให้แก่การปกป้องและการแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายของคณะรัฐบาลโอบามาในการ “ปรับสมดุล” โดยเน้นหนักไปที่เอเชีย-แปซิฟิก ในตอนหนึ่งเขาพูดยืนยันว่า ความเป็นพันธมิตรต่างๆ ที่วอชิงตันมีอยู่ในภูมิภาคนี้ “ยังคงมีความแข็งแกร่ง หรือกระทั่งแข็งแกร่งยิ่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต”
เขาอธิบายว่า วอชิงตันมอง “วิสัยทัศน์ในระยะยาว” ของเอเชียเอาไว้ว่า ต้องการที่จะเห็น “ภูมิภาคที่การผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจรายใหม่ๆ บังเกิดขึ้นอย่างสันติ เป็นภูมิภาคซึ่งเสรีภาพในการเข้าถึงทะเล, น่านฟ้า, อวกาศ, และไซเบอร์สเปซ เปิดทางไปสู่การพาณิชย์อันคึกคักมีชีวิตชีวา เป็นภูมิภาคที่เวทีระดับนานาชาติแห่งต่างๆ ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดผลประโยชน์ซึ่งสามารถแบ่งปันกันได้ ตลอดจนเป็นภูมิภาคที่พลเรือนมีความสามารถเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการส่งอิทธิพลต่อรัฐบาลของพวกตน ขณะที่มีการเคารพยึดมั่นในสิทธิมนุษยชนที่เป็นสากล”
โดนิลอนกล่าวว่า ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ก็คือ “การเสาะแสวงหาความสัมพันธ์ที่มีเสถียรภาพและสร้างสรรค์กับจีน” ถึงแม้เขายอมรับว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับจีนนั้น มีทั้ง “ส่วนประกอบที่เป็นการร่วมมือกัน และส่วนประกอบที่เป็นการแข่งขันกัน”
แม้ว่าเขาจะชี้ออกมาว่า สหรัฐฯสนับสนุนการที่ปักกิ่งจะบูรณาการเข้าอยู่ในพวกสถาบันระดับภูมิภาคและสถาบันระดับโลกต่างๆ เป็นต้นว่า EAS ซึ่งเขาระบุว่าควรที่จะเป็นเวทีทางการเมืองระดับภูมิภาคแห่งหลักด้วยซ้ำ แต่เขาก็กล่าวย้ำด้วยว่า วอชิงตันมีความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวที่จะ “เคลื่อนไปข้างหน้าด้วยข้อตกลงหุ้นส่วนหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership หรือ TPP) ซึ่งยึดมั่นในมาตรฐานที่สูงส่ง” ถึงแม้จวบจนถึงเวลานี้ความริเริ่มเพื่อทำข้อตกลงดังกล่าวนี้ขึ้นมายังคงไม่มีจีนเข้าร่วม โดนิลอนยังเรียกความริเริ่มเพื่อจัดทำข้อตกลง TPP นี้ว่า เป็น “การเจรจาที่กำลังดำเนินอยู่ในระบบการค้าระดับโลกในปัจจุบัน ซึ่งมีความสำคัญมากที่สุด”
มีข้อสังเกตในอีกด้านหนึ่งว่า จีนนั้นแสดงความกังวลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องที่วอชิงตันกำลังดำเนินการอย่างรวดเร็วเหลือเกินในการยกระดับสายสัมพันธ์ทางทหารกับพวกชาติเพื่อนบ้านของปักกิ่ง โดยที่บางประเทศเหล่านี้ เป็นต้นว่า เวียดนาม, ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น, และเกาหลีใต้ ต่างก็เข้าปะทะกับปักกิ่งอย่างเปิดเผยโจ่งแจ้งมากขึ้นๆ ในเรื่องเกี่ยวกับการอ้างกรรมสิทธิ์อย่างทับซ้อนกันต่อดินแดนในทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออก
ในเวลาเดียวกันนั้น วอชิงตันยังกำลังจัดการฝึกซ้อมร่วมทางทหารเพิ่มมากขึ้นกับบรรดาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็น อินโดนีเซีย, ไทย, มาเลเซีย, หรือ สิงคโปร์, ตลอดจน เวียดนาม, และฟิลิปปินส์ นอกจากนั้นกองทัพเรืออเมริกันยังกำลังเพิ่มการเข้าใช้ท่าเรือต่างๆ ทั้งในสิงคโปร์ และเวียดนาม, ตลอดจนในออสเตรเลียอีกด้วย
ถึงแม้ปักกิ่งเองกำลังขยายการแลกเปลี่ยนระดับทหารต่อทหารกับวอชิงตันเพิ่มมากขึ้น แต่เจ้าหน้าที่อาวุโสของจีนบางรายยังคงกล่าวหาคณะรัฐบาลโอบามาว่า กำลังดำเนินนโยบาย “ปิดล้อม” จีน และกระทั่งกำลังพยายามยุยงให้เกิดความตึงเครียดระหว่างปักกิ่งกับเหล่าประเทศเพื่อนบ้าน
เมื่อเดือนที่แล้ว วอชิงตันได้เชิญพม่าเป็นครั้งแรกให้เข้าเป็นผู้สังเกตการณ์การฝึก “คอบรา โกลด์” (Cobra Gold) ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมทางทหารระดับพหุภาคีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในเวลานี้ ทั้งนี้พวกเจ้าหน้าที่อเมริกันบอกว่า การเชื้อเชิญคราวนี้คือหลักหมายสำคัญหลักหนึ่งในความสัมพันธ์ที่กำลังปรับปรุงยกระดับยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ ระหว่างสหรัฐฯกับพม่า
จิม โล้บ จัดทำบล็อกว่าด้วยนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ http://www.lobelog.com.
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
Myanmar takes place in US ‘pivot’
By Jim Lobe
16/11/2012
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ออกจากกรุงวอชิงตันในวันศุกร์(16 พ.ย.) เพื่อการเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเวลา 4 วัน ในขณะที่คณะรัฐบาลและพรรคเดโมแครตของเขากำลังอยู่ระหว่างการเจรจาต่อรองกับฝ่ายรีพับลิกันในรัฐสภาอเมริกันเกี่ยวกับการคลี่คลายภาวะ “หน้าผาทางการคลัง” อันน่าสะพรึงกลัว นอกจากนั้นดินแดนฉนวนกาซาก็กำลังทวีความตึงเครียดมากขึ้นทุกทีจากความรุนแรงระลอกล่าสุดที่ระเบิดขึ้นมา สถานการณ์เช่นนี้กลายเป็นบทพิสูจน์ความจริงจังของคณะรัฐบาลของโอบามา ในการหันมาเน้นหนักให้ความสำคัญต่อเอเชีย ตลอดจนในการแสดงบทบาทต่อการปฏิรูปในพม่า
วอชิงตัน – นับเป็นการตอกย้ำให้เห็นกันจะจะ ในเรื่องที่มีการประกาศป่าวร้องกันอย่างเอิกเกริก ว่าเขาจะปรับเปลี่ยนนโยบายของสหรัฐฯ จากที่เคยให้น้ำหนักต่อภูมิภาคตะวันออกกลางและดินแดนข้างเคียง โดยหันมาให้ความสำคัญเน้นหนักย่านเอเชีย-แปซิฟิก ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ออกเดินทางจากกรุงวอชิงตันในวันศุกร์ (16 พ.ย.) เพื่อการตระเวนเยือนประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเวลา 4 วัน ซึ่งรวมถึงการเดินทางไปพม่า ที่จะกลายเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯคนแรกที่ไปเยือนประเทศนั้น
การเดินทางเยือนต่างแดนของโอบามาเที่ยวนี้ ยังจะปิดท้ายด้วยการที่เขาเข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit ใช้อักษรย่อว่า EAS) ที่กัมพูชา โดยที่คาดหมายกันว่าเขาจะได้พบปะหารือกับ เวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีของจีนผู้กำลังใกล้จะพ้นตำแหน่ง ทั้งนี้เขาออกมายังเอเชียอาคเนย์ ขณะที่ในสหรัฐฯนั้นคณะรัฐบาลและพรรคเดโมแครตของเขา กำลังมีการเจรจาต่อรองกับพวกรีพับลิกันโดยที่มีเดิมพันสูงลิ่ว เนื่องจากจะต้องพยายามตกลงกันให้ได้เพื่อแก้ไขภาวะ “หน้าผาทางการคลัง” (fiscal cliff) อันน่าสะพรึงกลัว ส่วนทางตะวันออกกลางก็กำลังมีความเสี่ยงอย่างสูงยิ่งที่ว่า การโจมตีตอบโต้กันอย่างรุนแรงระหว่างอิสราเอลกับรัฐบาลกลุ่มฮามาสในดินแดนฉนวนกาซาในเวลานี้ ซึ่งนับเป็นความรุนแรงครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบ 4 ปีทีเดียวนั้น อาจจะบานปลายเพิ่มระดับจนกระทั่งกลายเป็นการสู้รบขนาดใหญ่โตยิ่งขึ้นอีก
การที่โอบามายังคงออกมาจากกรุงวอชิงตันในจังหวะเวลาที่วิกฤตถึงขนาดนี้ กำลังกลายเป็นบทพิสูจน์ซึ่งแสดงให้เห็นว่า คณะรัฐบาลของเขามีความจริงจังขนาดไหนในการเพิ่มความสำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ให้แก่เอเชีย (คณะรัฐบาลสหรัฐฯเวลานี้ ชื่นชอบที่จะเรียกการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์เช่นนี้ โดยใช้คำว่า “rebalancing การปรับสมดุล” หลังจากที่ในตอนแรกๆ เคยใช้คำว่า “pivot การหมุนรอบแกน” หรือ Asia “pivot”การเปลี่ยนมาหมุนรอบเอเชีย) ความเอาจริงเอาจังที่กล่าวถึงนี้ยังถูกบ่งบอกออกมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า การเดินทางเที่ยวนี้ คือการเดินทางเยือนต่างแดนทริปแรกของโอบามา นับตั้งแต่ที่เขาชนะได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอีกสมัยหนึ่งเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
“การที่ท่านประธานาธิบดีตัดสินใจเดินทางไปเอเชียแต่เนิ่นๆ ภายหลังได้รับเลือกตั้งอีกสมัยหนึ่งเช่นนี้ เป็นการบ่งบอกอย่างดีถึงความสำคัญที่ท่านให้แก่ภูมิภาคดังกล่าว และการที่ภูมิภาคนั้นกำลังมีฐานะเป็นศูนย์กลางของผลประโยชน์และของการจัดลำดับความสำคัญในทางด้านความมั่นคงแห่งชาติของเราอย่างมากมายขนาดไหน” ทอม โดนิลอน (Tom Donilon) ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของโอบามา กล่าวในปาฐกถาแสดงนโยบายครั้งสำคัญเมื่อวันพฤหัสบดี(15 พ.ย.) ซึ่งจัดขึ้นเพื่อตีฆ้องร้องป่าวให้แก่การเดินทางสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของประธานาธิบดีเที่ยวนี้
“แนวทางของเรานี้วางอยู่บนข้อวินิจฉัยง่ายๆ ธรรมดาๆ” เขาบอกกับผู้ฟังปาฐกถาของเขา ซึ่งจัดขึ้นที่ ศูนย์เพื่อความมั่นคงและการระหว่างประเทศศึกษา (Center for Security and International Studies หรือ CSIS) ในกรุงวอชิงตัน “สหรัฐฯนั้นเป็นมหาอำนาจแห่งแปซิฟิก ซึ่งผลประโยชน์ทั้งหลายทั้งปวงของตนมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงอย่างไม่อาจแบ่งแยกออกมาได้กับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ, ความมั่นคง, และทางการเมือง ของเอเชีย ความสำเร็จของอเมริกาในศตวรรษที่ 21 นั้นผูกพันอยู่กับความสำเร็จของเอเชีย”
การเดินทางเยือนของโอบามาเที่ยวนี้ ซึ่งจะแวะประเทศไทยด้วยนั้น นับเป็นการปิดท้ายสิ่งที่ดูเหมือนกับการออกมาตระเวนเยือนเอเชียกันเป็นชุดใหญ่อย่างแทบจะไม่ขาดระยะของพวกเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ตลอดช่วงหลายๆ เดือนที่ผ่านมา เป็นต้นว่า รัฐมนตรีต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน และ รัฐมนตรีกลาโหม เลียน เพเนตตา ก็เพิ่งออกทัวร์ร่วมกันในสัปดาห์นี้เพื่อเยี่ยมเยียนไทยและออสเตรเลีย โดยที่ประเทศหลังนี้ได้ทำความตกลงเป็นเจ้าบ้านรับรองทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯจำนวน 2,500 คน โดยจะให้ไปอยู่ที่ค่ายทหารแห่งหนึ่งในหลายๆ แห่งของตนทางตอนเหนือของแดนจิงโจ้ ซึ่งอยู่ใกล้มากๆ กับทะเลจีนใต้ และช่องแคบมะลากา ที่ทรงความสำคัญทางยุทธศาสตร์
เฉพาะคลินตันนั้น เธอยังจะเข้าร่วมในคณะของโอบามาเมื่อเขาเดินทางมาถึงเอเชียด้วย ทั้งนี้รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกันผู้นี้มีความเกี่ยวข้องผูกพันอย่างหนักแน่นกับกระบวนการปฏิรูปของพม่าที่ดำเนินมาปีเศษแต่ทงาสยังคงไม่ค่อยมั่นคงแน่นอน การปฏิรูปนี้ขับดันร่วมกันโดยบุคคลคู่หนึ่งที่ไม่น่าร่วมมือกันได้เลย อันได้แก่ พล.อ.เต็ง เส่ง กับ อองซานซูจี ผู้เป็นฝ่ายคัดค้านรัฐบาลมาอย่างยาวนาน และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ตลอดจนล่าสุดก็ได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกรัฐสภาของพม่า
ตามข้อเขียนที่ปรากฏในบล็อก “เคเบิล” ("Cable" blog) บนเว็บไซต์ foreignpolicy.com ระบุว่า ซูจี ซึ่งได้พบปะกับประธานาธิบดีโอบามาที่ทำเนียบขาว ตอนที่เธอเดินทางเยือนสหรัฐฯเมื่อ 2 เดือนก่อน ในตอนแรกทีเดียวแสดงความคิดเห็นคัดค้านการเยือนพม่าของโอบามาโดยมองว่ายังเร็วเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่า จวบจนถึงเวลานี้รัฐบาลพม่ายังคงล้มเหลวไม่ได้ปลดปล่อยนักโทษการเมืองอีกมากโดยที่อาจมีจำนวนถึง 200 คนซึ่งยังคงถูกคุมขังอยู่ในคุก นอกจากนั้นยังมีกรณีความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในรัฐยะไข่โดยผู้เคราะห์ร้ายคือพวกชนกลุ่มน้อยโรฮิงญามุสลิม ตลอดจนความล้มเหลวของรัฐบาลที่ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงหยุดยิงกับพวกกบฏชาติพันธุ์คะฉิ่น
ความเปลี่ยนแปลงในพม่า รวมทั้งข้อเท็จจริงที่ว่าการไปเยือนของโอบามาจะกลายเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ในฐานะที่เป็นประธานาธิบดีอเมริกันคนแรกซึ่งเดินทางไปประเทศนั้น เป็นสิ่งที่กำลังได้รับความสนใจมากที่สุดในสหรัฐฯ โดยที่กลุ่มสิทธิมนุษยชนบางกลุ่มตลอดจนนักวิเคราะห์อิสระบางคน ได้ออกมาแสดงความเห็นโต้แย้งคณะรัฐบาลโอบามาว่า กำลังให้การรับรองแข็งขันกับกระบวนการที่เกิดขึ้นในพม่า ในลักษณะที่รีบร้อนเกินไปหรือเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ประธานาธิบดีตัดสินใจในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาให้ยกเลิกมาตรการห้ามไม่ให้สหรัฐฯเข้าไปลงทุนในประเทศนั้น ซึ่งรวมถึงยุติการห้ามไม่ให้อเมริกันเข้าไปร่วมลงทุนกับบริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติแห่งรัฐ ที่เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเคยมีกิจกรรมอันก่อให้เกิดการคัดค้านโต้แย้งกันหนักหน่วงในโลกตะวันตก
ระหว่างที่กลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆ จัดการชุมนุมขึ้นที่บริเวณด้านนอกของทำเนียบขาวในวันพฤหัสบดี (15 พ.ย.) องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) ได้เรียกร้องโอบามาให้เน้นย้ำความวิตกกังวลในด้านสิทธิมนุษยชน ในระหว่างที่เขาพบปะหารือในนครย่างกุ้งกับพวกผู้นำพม่า ซึ่งจะมีทั้ง เต็ง เส่ง และ ซูจี
ผู้ชุมนุมเหล่านี้บอกว่า โอบามาซึ่งมีกำหนดการไปแสดงปาฐกถาให้นักศึกษาและองค์กรภาคประชาชนฟังที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้งด้วย ควรที่จะแสดงการท้าทายประดาบริษัทสหรัฐฯ ให้ “คำนึงถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนก่อนเรื่องผลกำไร” ในขณะที่พวกเขาเข้าไปลงทุนในทรัพยากรทางด้านพลังงานและด้านแร่ธาตุอันอุดมสมบูรณ์ของพม่า รวมทั้งแสวงหาทางสร้างกำรี้กำไรจากตลาดที่มีขนาดประชากรใกล้ๆ 50 ล้านคนและยังแทบไม่มีการเข้าไปหาประโยชน์ทางธุรกิจกันอย่างจริงจัง
พวกนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ยังเน้นย้ำว่าโอบามาควรที่จะหยิบยกประเด็นปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนขึ้นมาว่ากล่าวกับเจ้าบ้านของเขาอีก 2 รายในเที่ยวเดินทางนี้ของเขา นั่นคือ นายกรัฐมนตรี ฮุนเซน ของกัมพูชา และกระทั่งนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ของไทย โดยเฉพาะฮุนเซนนั้น รัฐบาลของเขาถูกกล่าวหามานานแล้วว่าคอยกำราบปราบปรามพวกพรรคการเมืองฝ่ายค้านและขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชนที่มุ่งต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ตลอดจนเรื่องที่กองกำลังรักษาความมั่นคงของกัมพูชาได้รับอภิสิทธิ์คุ้มครองให้ไม่ต้องถูกฟ้องร้องดำเนินคดี
สำหรับกรณีของไทย องค์การฮิวแมน ไรต์ วอตช์ (Human Rights Watch หรือ HRW) เพิ่งออกคำแถลงแสดงความวิตกในเรื่องที่ไม่มีการไล่เรียงเอาผิดจากกรณีกองกำลังความมั่นคงของไทยมีพฤติการณ์ใช้อำนาจโดยมิชอบ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามการก่อความไม่สงบของพวกมุสลิมแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ ตลอดจนในเรื่องที่รัฐบาลมีการกล่าวโทษฟ้องร้องเพิ่มมากขึ้นต่อบุคคลต่างๆ ทั้งที่เป็นนักเคลื่อนไหว, นักหนังสือพิมพ์, และบล็อกเกอร์ ซึ่งแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์หรือวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล
“ประธานาธิบดีโอบามาไม่ควรที่จะต้องสุขุมสุภาพอะไรนักหรอกในเวลาที่ถกเถียงหารือเรื่องผลงานการรักษาสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย” แบรด แอดัมส์ (Brad Adams) ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียของ ฮิวแมน ไรต์ วอตช์ กล่าว
ในปาฐกถาของเขาเมื่อวันพฤหัสบดี โดนิลอนยืนยันว่าโอบามาจะส่งข้อความเรื่องสิทธิมนุษยชนและการปฏิรูปทางประชาธิปไตยถึงเจ้าบ้านของเขาทั้งหมดทุกๆ รายอย่างไม่มีย่อหย่อน แต่เขาระบุถึงพม่าอย่างเจาะจงเป็นพิเศษ
ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาวผู้นี้กล่าวว่า ในขณะที่โอบามาจะพูดย้ำยืนยันความก้าวหน้าต่างๆ ที่พม่าได้ทำไปแล้ว แต่เขาก็จะเรียกร้องเร่งรัดทางการพม่าให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองที่ยังเหลืออยู่ทั้งหมด, ยุติความขัดแย้งทางชาติพันธุ์, และอนุญาตให้พวกเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์และผู้สังเกตการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนสามารถเข้าถึงพื้นที่ขัดแย้งต่างๆ ในประเทศนั้น
อย่างไรก็ตาม เนื้อหาในปาฐกถาของโดนิลอน ส่วนใหญ่ที่สุดอุทิศให้แก่การปกป้องและการแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายของคณะรัฐบาลโอบามาในการ “ปรับสมดุล” โดยเน้นหนักไปที่เอเชีย-แปซิฟิก ในตอนหนึ่งเขาพูดยืนยันว่า ความเป็นพันธมิตรต่างๆ ที่วอชิงตันมีอยู่ในภูมิภาคนี้ “ยังคงมีความแข็งแกร่ง หรือกระทั่งแข็งแกร่งยิ่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต”
เขาอธิบายว่า วอชิงตันมอง “วิสัยทัศน์ในระยะยาว” ของเอเชียเอาไว้ว่า ต้องการที่จะเห็น “ภูมิภาคที่การผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจรายใหม่ๆ บังเกิดขึ้นอย่างสันติ เป็นภูมิภาคซึ่งเสรีภาพในการเข้าถึงทะเล, น่านฟ้า, อวกาศ, และไซเบอร์สเปซ เปิดทางไปสู่การพาณิชย์อันคึกคักมีชีวิตชีวา เป็นภูมิภาคที่เวทีระดับนานาชาติแห่งต่างๆ ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดผลประโยชน์ซึ่งสามารถแบ่งปันกันได้ ตลอดจนเป็นภูมิภาคที่พลเรือนมีความสามารถเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการส่งอิทธิพลต่อรัฐบาลของพวกตน ขณะที่มีการเคารพยึดมั่นในสิทธิมนุษยชนที่เป็นสากล”
โดนิลอนกล่าวว่า ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ก็คือ “การเสาะแสวงหาความสัมพันธ์ที่มีเสถียรภาพและสร้างสรรค์กับจีน” ถึงแม้เขายอมรับว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับจีนนั้น มีทั้ง “ส่วนประกอบที่เป็นการร่วมมือกัน และส่วนประกอบที่เป็นการแข่งขันกัน”
แม้ว่าเขาจะชี้ออกมาว่า สหรัฐฯสนับสนุนการที่ปักกิ่งจะบูรณาการเข้าอยู่ในพวกสถาบันระดับภูมิภาคและสถาบันระดับโลกต่างๆ เป็นต้นว่า EAS ซึ่งเขาระบุว่าควรที่จะเป็นเวทีทางการเมืองระดับภูมิภาคแห่งหลักด้วยซ้ำ แต่เขาก็กล่าวย้ำด้วยว่า วอชิงตันมีความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวที่จะ “เคลื่อนไปข้างหน้าด้วยข้อตกลงหุ้นส่วนหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership หรือ TPP) ซึ่งยึดมั่นในมาตรฐานที่สูงส่ง” ถึงแม้จวบจนถึงเวลานี้ความริเริ่มเพื่อทำข้อตกลงดังกล่าวนี้ขึ้นมายังคงไม่มีจีนเข้าร่วม โดนิลอนยังเรียกความริเริ่มเพื่อจัดทำข้อตกลง TPP นี้ว่า เป็น “การเจรจาที่กำลังดำเนินอยู่ในระบบการค้าระดับโลกในปัจจุบัน ซึ่งมีความสำคัญมากที่สุด”
มีข้อสังเกตในอีกด้านหนึ่งว่า จีนนั้นแสดงความกังวลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องที่วอชิงตันกำลังดำเนินการอย่างรวดเร็วเหลือเกินในการยกระดับสายสัมพันธ์ทางทหารกับพวกชาติเพื่อนบ้านของปักกิ่ง โดยที่บางประเทศเหล่านี้ เป็นต้นว่า เวียดนาม, ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น, และเกาหลีใต้ ต่างก็เข้าปะทะกับปักกิ่งอย่างเปิดเผยโจ่งแจ้งมากขึ้นๆ ในเรื่องเกี่ยวกับการอ้างกรรมสิทธิ์อย่างทับซ้อนกันต่อดินแดนในทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออก
ในเวลาเดียวกันนั้น วอชิงตันยังกำลังจัดการฝึกซ้อมร่วมทางทหารเพิ่มมากขึ้นกับบรรดาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็น อินโดนีเซีย, ไทย, มาเลเซีย, หรือ สิงคโปร์, ตลอดจน เวียดนาม, และฟิลิปปินส์ นอกจากนั้นกองทัพเรืออเมริกันยังกำลังเพิ่มการเข้าใช้ท่าเรือต่างๆ ทั้งในสิงคโปร์ และเวียดนาม, ตลอดจนในออสเตรเลียอีกด้วย
ถึงแม้ปักกิ่งเองกำลังขยายการแลกเปลี่ยนระดับทหารต่อทหารกับวอชิงตันเพิ่มมากขึ้น แต่เจ้าหน้าที่อาวุโสของจีนบางรายยังคงกล่าวหาคณะรัฐบาลโอบามาว่า กำลังดำเนินนโยบาย “ปิดล้อม” จีน และกระทั่งกำลังพยายามยุยงให้เกิดความตึงเครียดระหว่างปักกิ่งกับเหล่าประเทศเพื่อนบ้าน
เมื่อเดือนที่แล้ว วอชิงตันได้เชิญพม่าเป็นครั้งแรกให้เข้าเป็นผู้สังเกตการณ์การฝึก “คอบรา โกลด์” (Cobra Gold) ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมทางทหารระดับพหุภาคีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในเวลานี้ ทั้งนี้พวกเจ้าหน้าที่อเมริกันบอกว่า การเชื้อเชิญคราวนี้คือหลักหมายสำคัญหลักหนึ่งในความสัมพันธ์ที่กำลังปรับปรุงยกระดับยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ ระหว่างสหรัฐฯกับพม่า
จิม โล้บ จัดทำบล็อกว่าด้วยนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ http://www.lobelog.com.
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)