(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Xi to guide CCP from revolution to rule
By Wu Zhong
16/10/2012
รองประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน เคยแสดงทัศนะเอาไว้นานแล้วว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะต้องวิวัฒนาการคลี่คลายจากการเป็นพรรค “ปฏิวัติ” ไปสู่การเป็นพรรค “ผู้ปกครองประเทศ” เวลานี้ความคิดเห็นดังกล่าวกำลังถูกเพิ่มเติมรายละเอียดให้มีความลึกซึ้ง โดยที่เหล่านักวิชาการระดับท็อปแสดงการหนุนหลังให้เน้นย้ำการดำเนินการปฏิรูปและความเป็นประชาธิปไตยเอาไว้ในทัศนียภาพของการเมืองใหม่แห่งอนาคต ถึงแม้ แผนการของสี ผู้ซึ่งกำลังจะก้าวขึ้นสืบทอดตำแหน่งผู้นำสูงสุดคนใหม่ของจีน ยังคงห่างไกลจากการนำเอาระบบการเมืองที่มีพรรคการเมืองหลายๆ พรรคแข่งขันกันมาใช้ แต่ก็วาดภาพให้เห็นว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนกำลังจะทอดทิ้งและถอนตัวออกมาจากกับดักแห่งความเป็นนักปฏิวัติ
ฮ่องกง – พรรคคอมมิวนิสต์จีน เริ่มต้นแผนการเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแนวความคิดอุดมคติของรองประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพรรคคอมมิวนิสต์จีน จาก “พรรคปฏิวัติ” มาเป็น “พรรคปกครองประเทศ” แล้ว ในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่จะถึงการประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศครั้งที่ 18 ของพรรค ซึ่งเป็นที่คาดหมายกันว่าจะมีการเลือกเลื่อนเขาขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของพรรคคนใหม่
สี ได้เคยเอ่ยถึงยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้มาก่อนแล้วอย่างน้อยก็ตั้งแต่เดือนกันยายน 2008 ในพิธีเปิดปีการศึกษาใหม่ของ “โรงเรียนศูนย์กลางพรรค” ซึ่งเป็นศูนย์ฝึกอบรมสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีตัว สี เองเป็นประธานของโรงเรียน
สี กล่าวในคราวนั้นว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เติบใหญ่ก้าวพ้นจากการเป็นพรรคแห่งการปฏิวัติ มาเป็นพรรคซึ่ง “เข้ากุมอำนาจในการปกครองประเทศเป็นระยะเวลายาวนาน” เขาเรียกร้องให้สมาชิกพรรคทุกคน โดยเฉพาะในระดับผู้ปฏิบัติงาน ให้ปรับตนเองเข้ากับความเปลี่ยนแปลงในระดับรากฐานเช่นนี้ ในเวลานั้นมีหลายๆ คนหลายๆ ฝ่ายพากันยกย่องชมเชยข้อสังเกตเหล่านี้ของเขาว่า เป็นการผ่าทางตันทางทฤษฎีครั้งสำคัญมากของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพื่อการโบกมือกล่าวอำลาอย่างเปิดเผยต่อแนวความคิดอันถือเป็นแกนกลางของลัทธิมาร์กซ์และความคิดเหมาเจ๋อตง อย่าง “การปฏิวัติ” และ “การต่อสู้ทางชนชั้น” [1]
อย่างไรก็ตาม พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังคงรอคอยอยู่จวบจนกระทั่งไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่ สี จะได้รับการรับรองให้ขึ้นเป็นบุคคลหมายเลข 1 ของพรรค จึงค่อยเผยโฉมรายละเอียดอันซับซ้อนลึกซึ้งเกี่ยวกับแนวความคิดอุดมคติของเขา ทั้งนี้สมัชชาพรรคครั้งที่ 18 ดังกล่าวข้างต้นมีกำหนดจะจัดขึ้นในวันที่ 8 พฤศจิกายนนี้
ในฉบับวันที่ 11 ตุลาคมของ “พีเพิลส์ ทรีบูน” (People's Tribune) นิตยสารที่ออกทุกสองสัปดาห์ซึ่งจัดพิมพ์โดย “พีเพิลส์ เดลี่” (People's Daily หรือ เหมินหมินรึเป้า ที่เป็นหนังสือพิมพ์ซึ่งถือเป็นกระบอกเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน) ได้ตีพิมพ์เผยแพร่บทความพิเศษชุดหนึ่งจำนวนทั้งสิ้น 7 เรื่อง ซึ่งมีเนื้อหามุ่งถกเถียงอภิปรายเกี่ยวกับความสำคัญของการสร้างทัศนียภาพของการเมืองแบบ “สมัยใหม่” หรือ “ใหม่” ขึ้นมา
พีเพิลส์ ทรีบูน อวดว่าตนเองเป็นนิตยสารการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในประเทศจีน โดยที่ “ทุกๆ ฉบับถูกจัดส่งไปยังเหล่าผู้นำในระดับศูนย์กลาง, มณฑล, เทศบาล, และอำเภอ” ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเรื่องแน่นอนทีเดียวว่า การเรียกร้องอย่างผิดปกติธรรมดาให้มีการสร้าง “ทัศนียภาพของการเมืองแบบใหม่” เช่นนี้ ต้องได้รับสัญญาณไฟเขียวจากระดับที่สูงมากๆ ก่อนแล้ว
ข้อเขียนที่เป็นบทกล่าวนำของชุดบทความชุดพิเศษนี้บอกว่า ในวาระครบรอบ 63 ปีแห่งการสถาปนาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นมา และอีกเพียงไม่นานก่อนจะถึงการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 18 ปัญหาอันเร่งด่วนปัญหาหนึ่งที่พรรคกำลังเผชิญอยู่ในเวลานี้ก็คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถพาตัวเองให้หลุดพ้นจากชะตากรรมของ “ภาวการณ์แห่งดำรงอยู่ได้เพียงแค่ยุคสมัยหนึ่งๆ ในประวัติศาสตร์” (historical periodicity นั่นก็คือ ราชวงศ์หรือระบอบปกครองหนึ่งๆ ล้วนแล้วแต่ก้าวผงาดรุ่งเรืองขึ้นมา จากนั้นก็เสื่อมโทรมลงและดับสิ้นไป) เพื่อให้พรรคยังคงสามารถนำพาประชาชาติจีนไปบนเส้นทางแห่งการพลิกฟื้นกลับมีชีวิตชีวาขึ้นมาใหม่
สำหรับบทความชิ้นแรกของชุดนี้ เขียนโดย กง ฟางปิน (Gong Fangbin) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยป้องกันประเทศ (National Defense University) ของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน ได้ยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า ประชาชนจีนทุกวันนี้ไม่ได้รู้สึกว่ามีความสุขมากขึ้น ถึงแม้มีความสำเร็จอันใหญ่หลวงต่างๆ ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจสืบเนื่องจากการปฏิรูปและการเปิดประตูประเทศในระยะเวลา 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ตรงกันข้าม ความขัดแย้งทางสังคมดูเหมือนจะเพิ่มพูนยกระดับขึ้นไปด้วยซ้ำ ทั้งนี้สืบเนื่องจากเหตุผลต่างๆ มากมาย แต่เหตุผลประการที่อยู่ในระดับรากฐานเลย ได้แก่ ภาวะชะงักงันในการปรับโครงสร้างระบบการเมือง ผลลัพธ์ก็คือ ระบบการเมืองในปัจจุบันไม่ได้สอดคล้องเหมาะสมกับระบบเศรษฐกิจอีกต่อไป ภายหลังจากที่ระบบเศรษฐกิจได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬารจนถึงระดับรากฐานในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา
อันที่จริงทุกๆ คนต่างตระหนักถึงปัญหานี้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่ทำไมจวบจนถึงเวลานี้จึงยังไม่มีการเริ่มต้นปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมืองกันเสียที? กง กล่าวโทษว่าเนื่องจากความล้มเหลวของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่จะสร้าง “ทัศนียภาพของการเมืองใหม่” ขึ้นมา เพื่อให้พรรคปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากการเป็น “พรรคแห่งการปฏิวัติ” มาเป็น “พรรคปกครอง” ของประเทศจีน
มีความแตกต่างกันอย่างใหญ่หลวงระหว่างการนำพาการปฏิวัติกับการปกครองประเทศ “ภาษาของการปฏิวัติคือความรุนแรง ขณะที่การปกครองประเทศเน้นย้ำเรื่องความสมดุลและการประนีประนอม การต่อสู้ทำการปฏิวัติจำเป็นต้องตอกย้ำและกระทั่งเพิ่มทวีการต่อสู้ทางชนชั้น แต่การปกครองประเทศต้องขจัดความขัดแย้งต่างๆ (ในทางสังคม) และอุดช่องว่างความผิดแผกแตกต่างทั้งหลายให้หดแคบลงมา ... การต่อสู้ทำการปฏิวัติคือการพิทักษ์คุ้มครองผลประโยชน์ของชนชั้นหนึ่งด้วยวิธีการลิดรอนผลประโยชน์ของอีกชนชั้นหนึ่ง ทว่าพรรคที่เป็นผู้ปกครองจำเป็นจะต้องตอบสนองผลประโยชน์ของทุกๆ ชั้นชนและทุกๆ กลุ่มในสังคม ... ฯลฯ” กง เขียนเอาไว้เช่นนี้ และกล่าวต่อไปว่า ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการสิ่งที่ไม่สอดคล้องเหมาะสมในทางปฏิบัติและกระทั่งไม่อาจดำเนินการได้ ถ้าหากยังจะนำมาเอาทฤษฎีต่างๆ ที่ใช้สำหรับการปฏิวัติ มาเป็นทฤษฎีชี้นำพรรค ภายหลังจากที่พรรคขึ้นมาครองอำนาจแล้ว
นักเขียนอีกผู้หนึ่งซึ่งร่วมเขียนบทความในชุดนี้ คือ หวัง ฉางเจียง (Wang Changjiang) ศาสตราจารย์ของโรงเรียนพรรคศูนย์กลาง เขาชี้เอาไว้ในบทความของเขาว่า ความคิดจิตใจของการเป็นพรรคแห่งการปฏิวัติ ยังคงมีอิทธิพลต่อความรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ในปัจจุบันของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้พรรคยังคงล้มเหลวไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพความคิดจิตใจเช่นนี้ได้ ก็เนื่องจากพวกกลุ่มผลประโยชน์ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างล้ำลึกกับของเก่าของเดิม ยังคงพยายามอย่างเต็มที่ที่จะพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์เหล่านี้ของพวกเขา
สือ เย่าถง (Xu Yaotong) ศาสตราจารย์วิจัย (research professor) ซึ่งทำงานให้สถาบันบริหารศาสตร์แห่งชาติ (National School of Administration) เสนอความคิดเห็นว่า การที่จะเปลี่ยนความคิดจิตใจของพรรคคอมมิวนิสต์จีนจากการเป็นพรรคปฏิวัติไปสู่การเป็นพรรคปกครองประเทศนั้น พรรคจะต้องสถาปนาและให้ความเคารพยึดมั่นในหลักนิติธรรม (rule of law), ยกเลิกการโฆษณาชวนเชื่อที่ชี้นำโดยอุดมการณ์, และยุติการดำเนินการเคลื่อนไหวทางการเมืองซึ่งมีเป้าหมายเล่นงานผู้คนบางกลุ่มในสังคม เนื่องจากพรรคที่เป็นผู้ปกครองประเทศนั้น จะต้องดำเนินงานและรับผิดชอบต่อประชาชนทั้งหมดทั้งปวงในสังคม ไม่ใช่ประชาชนเพียงส่วนหนึ่งหรือเพียงบางส่วนเท่านั้น
ผู้เขียนบทความทั้ง 7 คน ซึ่งล้วนแต่เป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงในประเทศจีน ต่างเน้นย้ำถึงความสำคัญที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนในฐานะที่เป็นพรรคผู้ปกครองประเทศ จะต้องสถาปนาและเคารพยึดมั่นในหลักนิติธรรม พรรคปฏิวัตินั้นย่อมมุ่งมั่นที่จะทำลายระเบียบสังคมเก่าที่ดำรงอยู่ตลอดจนหลักกฎหมายเก่าต่างๆ ที่ดำรงอยู่ ทว่าสำหรับพรรคผู้ปกครองประเทศแล้วกลับจำเป็นต้องสร้างและต้องธำรงรักษาสิ่งเหล่านี้เอาไว้ให้ดี นักวิชาการชื่อดังทั้งหมดเหล่านี้ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า การที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะสามารถประพฤติตนเป็นพรรคผู้ปกครองประเทศอย่างแท้จริงได้นั้น จำเป็นที่จะต้องนำตนเองและผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดทั้งปวงของพรรคเข้าไปอยู่ภายใต้กฎหมาย แทนที่จะอยู่เหนือกฎหมาย
ข้อสังเกตอันแหลมคมของพวกเขาเช่นนี้ เป็นการจี้ให้เห็นถึงปัญหาที่กำลังเผชิญหน้าประเทศจีนในทุกวันนี้ แต่สิ่งที่จะต้องถามกันต่อไปอีกก็คือ แล้วจะจัดการกับปัญหาเหล่านี้อย่างไร? พวกเขาต่างเห็นพ้องต้องกันหมดว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะต้องเริ่มต้นทำการปฏิรูปทางการเมือง นำเอาความเป็นประชาธิปไตยเข้ามาให้มากขึ้น ถ้าหากต้องการที่จะเป็นพรรคผู้ปกครองประเทศของจีนต่อไปทว่าก็เหมือนๆ กับ สี นั่นแหละ การก้าวไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยให้มากขึ้นที่พวกเขาพูดกันนี้ ดูจะมุ่งหมายให้ปรับปรุงยกระดับการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพื่อที่พรรคจะสามารถวาดหวังที่จะเป็นพรรคผู้ปกครองจีนแต่เพียงผู้เดียวไปตลอดกาล การก้าวไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยในลักษณะที่เป็นการแผ้วถางทางไปสู่ระบบการเมืองแบบมีหลายๆ พรรคนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาเลย เนื่องจากการเมืองแบบหลายพรรคย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าพรรคคอมมิวนิสต์อาจจะสูญเสียฐานะการเป็นผู้ปกครองนั่นเอง แต่การก้าวไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยดังที่กล่าวกันนี้จะก่อให้เกิดสัมฤทธิ์ผลอะไรกันบ้าง นี่ดูจะเป็นสิ่งที่ใครๆ ได้แต่คาดเดากันเอาเอง
กง บอกว่า การสร้าง “ทัศนียภาพของการเมืองใหม่” ซึ่งก็คือการทิ้งความคิดจิตใจแบบปฏิวัติ เพื่อจะได้กลายเป็นพรรคผู้ปกครองนั้น จะเป็นหลักหมายบ่งบอกถึงการผ่าทางตันครั้งใหญ่ครั้งที่สามในประวัติพรรคคอมมิวนิสต์จีน กล่าวคือ เหมา เจ๋อตง เป็นผู้ทำการผ่าทางตันครั้งแรกซึ่งทำให้ได้รับชัยชนะในการปฏิวัติ จากนั้น เติ้ง เสี่ยวผิง ก็ทำการผ่าทางตันครั้งที่สอง ซึ่งเป็นการแผ้วถางทางไปสู่การปฏิรูปและการเปิดประตูประเทศ มาถึงตอนนี้การที่ประชาชาติจีนจะก้าวผงาดขึ้นมาในโลกนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการผ่าทางตันครั้งที่สาม ตัว กง เองไม่ได้ระบุออกมาอย่างชัดถ้อยชัดคำถึงขนาดนี้หรอก แต่จากเหตุผลข้อโต้แย้งของเขาบ่งบอกเป็นนัยอย่างชัดเจนว่า ถ้าหาก สี สามารถกระทำเรื่องนี้ได้แล้ว เขาก็จะกลายเป็นผู้นำที่ควรแก่การเคารพยกย่องตราบนานเท่านานเป็นคนที่สามในประวัติของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
การเปลี่ยนแปลงความคิดจิตใจแบบปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้น ในตัวมันเองก็ต้องถือว่าเป็นความเคลื่อนไหวแบบปฏิวัติทีเดียว เพราะจะต้องอาศัยทั้งสติปัญญาในทางการเมืองและความกล้าหาญทางการเมือง เนื่องจากมันจะเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงซึ่งบ่งบอกอย่างอ้อมๆ ถึงการทอดทิ้งคำจำกัดความอันเคร่งครัดตามหลักการคัมภีร์ที่ว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นพรรคการเมืองที่ชี้นำโดยลัทธิมาร์กซ์, ลัทธิเลนิน, และความคิดเหมา เจ๋อตง และที่ว่าพรรคการเมืองนั้นย่อมเป็นผลิตผลของการต่อสู้ทางชนชั้นซึ่งแต่ละพรรคต่างเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของชนชั้นทางสังคมชนชั้นหนึ่งชนชั้นใดอย่างชัดเจนแน่นอน โดยที่พรรคคมมิวนิสต์นั้นคือกองหน้าของชนชั้นกรรมาชีพจีน … อุดมคติสูงสุดและเป้าหมายสูงสุดของพรรคก็คือการบรรลุถึงสังคมคอมมิวนิสต์”
คำจำกัดความอันเคร่งคัดตามหลักการคัมภีร์ดังกล่าวนี้ยังดำรงคงอยู่ ถึงแม้มีข้อเท็จจริงอยู่เช่นกันว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้กลายเป็นพรรคการเมืองของ “ประชาชนทั้งมวล” ไปตั้งแต่ปี 1997 เมื่อพรรคเริ่มต้นระดมเอา “พวกนายทุนสีแดง” เข้ามาเป็นสมาชิก ทุกวันนี้พรรคคอมมิวนิสต์จีนคุยว่ามีสมาชิกรวมทั้งสิ้นประมาณ 80 ล้านคน นั่นหมายความว่าในหมู่ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในประเทศจีนนั้น ทุกๆ 1 ใน 10 คนจะเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ (ปัจจุบันประชากรจีนทั้งหมด 1,300 ล้านคน ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีนั้นมีอยู่ประมาณ 1 ใน 4) แน่นอนทีเดียวว่าสมาชิกพรรคเหล่านี้ต้องมาจากภาคส่วนทางสังคมอันหลากหลายนานา แต่ดูเหมือนกว่าการสรุปกลั่นกรองให้ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้กลายเป็นหลักทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะของพรรคขึ้นมา ยังคงล้าหลังการปฏิบัติจริงๆ เป็นอย่างมาก
การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงความคิดจิตใจ ยังหมายถึงการทอดทิ้งหลักการสำคัญบางประการที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนรับรองอยู่ในปัจจุบัน เป็นต้นว่า “หลักการพื้นฐาน 4 ประการ” (four cardinal principles) ซึ่งกำหนดขึ้นโดยตัวเติ้งเอง หลักการ 4 ประการเหล่านี้ได้ระบุเอาไว้ในระเบียบการพรรคฉบับปัจจุบันด้วย ได้แก่ พรรค “จักต้อง” ยึดมั่นในหนทางแห่งสังคมนิยม, ยึดมั่นในลัทธิมาร์กซ์, ลัทธิเลนิน, และความคิดเหมา เจ๋อตง ... และคัดค้านการแปรเปลี่ยนไปสู่เสรีนิยมชนชั้นนายทุน” การยกเลิกหลักการเหล่านี้ย่อมหมายถึงการเปิดประตูให้แก่กระบวนการแปรเปลี่ยนไปสู่เสรินิยมทั้งในทางการเมืองและในทางอุดมการณ์นั่นเอง
เห็นได้ชัดเจนว่า การเปลี่ยนแปลง “ความคิดจิตใจแบบปฏิวัติ” และนำเอา “ทัศนียภาพของการเมืองใหม่” เข้าไปแทนที่นั่น เป็นภารกิจที่ลำบากยากยิ่ง แต่ถึงยังไม่เป็นที่แน่นอนว่า สี และคณะผู้นำชุดใหม่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะประสบความสำเร็จในการฟันฝ่าความท้าทายนี้หรือไม่ การอภิปรายถกเถียงกันเกี่ยวกับ “ทัศนียภาพของการเมืองใหม่” ก็บ่งบอกให้ทราบว่า สี ต้องการที่จะจัดวางเส้นทางซึ่งผิดแผกแตกต่างไปจากผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนเขา
*หมายเหตุ*
[1] ดูที่เรื่อง 'Red capitalists' unravel the party line, Asia Times Online, Oct 17, 2008.
อู่ จง เป็นบรรณาธิการด้านจีนของเอเชียไทมส์ออนไลน์
Xi to guide CCP from revolution to rule
By Wu Zhong
16/10/2012
รองประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน เคยแสดงทัศนะเอาไว้นานแล้วว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะต้องวิวัฒนาการคลี่คลายจากการเป็นพรรค “ปฏิวัติ” ไปสู่การเป็นพรรค “ผู้ปกครองประเทศ” เวลานี้ความคิดเห็นดังกล่าวกำลังถูกเพิ่มเติมรายละเอียดให้มีความลึกซึ้ง โดยที่เหล่านักวิชาการระดับท็อปแสดงการหนุนหลังให้เน้นย้ำการดำเนินการปฏิรูปและความเป็นประชาธิปไตยเอาไว้ในทัศนียภาพของการเมืองใหม่แห่งอนาคต ถึงแม้ แผนการของสี ผู้ซึ่งกำลังจะก้าวขึ้นสืบทอดตำแหน่งผู้นำสูงสุดคนใหม่ของจีน ยังคงห่างไกลจากการนำเอาระบบการเมืองที่มีพรรคการเมืองหลายๆ พรรคแข่งขันกันมาใช้ แต่ก็วาดภาพให้เห็นว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนกำลังจะทอดทิ้งและถอนตัวออกมาจากกับดักแห่งความเป็นนักปฏิวัติ
ฮ่องกง – พรรคคอมมิวนิสต์จีน เริ่มต้นแผนการเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแนวความคิดอุดมคติของรองประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพรรคคอมมิวนิสต์จีน จาก “พรรคปฏิวัติ” มาเป็น “พรรคปกครองประเทศ” แล้ว ในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่จะถึงการประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศครั้งที่ 18 ของพรรค ซึ่งเป็นที่คาดหมายกันว่าจะมีการเลือกเลื่อนเขาขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของพรรคคนใหม่
สี ได้เคยเอ่ยถึงยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้มาก่อนแล้วอย่างน้อยก็ตั้งแต่เดือนกันยายน 2008 ในพิธีเปิดปีการศึกษาใหม่ของ “โรงเรียนศูนย์กลางพรรค” ซึ่งเป็นศูนย์ฝึกอบรมสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีตัว สี เองเป็นประธานของโรงเรียน
สี กล่าวในคราวนั้นว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เติบใหญ่ก้าวพ้นจากการเป็นพรรคแห่งการปฏิวัติ มาเป็นพรรคซึ่ง “เข้ากุมอำนาจในการปกครองประเทศเป็นระยะเวลายาวนาน” เขาเรียกร้องให้สมาชิกพรรคทุกคน โดยเฉพาะในระดับผู้ปฏิบัติงาน ให้ปรับตนเองเข้ากับความเปลี่ยนแปลงในระดับรากฐานเช่นนี้ ในเวลานั้นมีหลายๆ คนหลายๆ ฝ่ายพากันยกย่องชมเชยข้อสังเกตเหล่านี้ของเขาว่า เป็นการผ่าทางตันทางทฤษฎีครั้งสำคัญมากของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพื่อการโบกมือกล่าวอำลาอย่างเปิดเผยต่อแนวความคิดอันถือเป็นแกนกลางของลัทธิมาร์กซ์และความคิดเหมาเจ๋อตง อย่าง “การปฏิวัติ” และ “การต่อสู้ทางชนชั้น” [1]
อย่างไรก็ตาม พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังคงรอคอยอยู่จวบจนกระทั่งไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่ สี จะได้รับการรับรองให้ขึ้นเป็นบุคคลหมายเลข 1 ของพรรค จึงค่อยเผยโฉมรายละเอียดอันซับซ้อนลึกซึ้งเกี่ยวกับแนวความคิดอุดมคติของเขา ทั้งนี้สมัชชาพรรคครั้งที่ 18 ดังกล่าวข้างต้นมีกำหนดจะจัดขึ้นในวันที่ 8 พฤศจิกายนนี้
ในฉบับวันที่ 11 ตุลาคมของ “พีเพิลส์ ทรีบูน” (People's Tribune) นิตยสารที่ออกทุกสองสัปดาห์ซึ่งจัดพิมพ์โดย “พีเพิลส์ เดลี่” (People's Daily หรือ เหมินหมินรึเป้า ที่เป็นหนังสือพิมพ์ซึ่งถือเป็นกระบอกเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน) ได้ตีพิมพ์เผยแพร่บทความพิเศษชุดหนึ่งจำนวนทั้งสิ้น 7 เรื่อง ซึ่งมีเนื้อหามุ่งถกเถียงอภิปรายเกี่ยวกับความสำคัญของการสร้างทัศนียภาพของการเมืองแบบ “สมัยใหม่” หรือ “ใหม่” ขึ้นมา
พีเพิลส์ ทรีบูน อวดว่าตนเองเป็นนิตยสารการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในประเทศจีน โดยที่ “ทุกๆ ฉบับถูกจัดส่งไปยังเหล่าผู้นำในระดับศูนย์กลาง, มณฑล, เทศบาล, และอำเภอ” ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเรื่องแน่นอนทีเดียวว่า การเรียกร้องอย่างผิดปกติธรรมดาให้มีการสร้าง “ทัศนียภาพของการเมืองแบบใหม่” เช่นนี้ ต้องได้รับสัญญาณไฟเขียวจากระดับที่สูงมากๆ ก่อนแล้ว
ข้อเขียนที่เป็นบทกล่าวนำของชุดบทความชุดพิเศษนี้บอกว่า ในวาระครบรอบ 63 ปีแห่งการสถาปนาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นมา และอีกเพียงไม่นานก่อนจะถึงการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 18 ปัญหาอันเร่งด่วนปัญหาหนึ่งที่พรรคกำลังเผชิญอยู่ในเวลานี้ก็คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถพาตัวเองให้หลุดพ้นจากชะตากรรมของ “ภาวการณ์แห่งดำรงอยู่ได้เพียงแค่ยุคสมัยหนึ่งๆ ในประวัติศาสตร์” (historical periodicity นั่นก็คือ ราชวงศ์หรือระบอบปกครองหนึ่งๆ ล้วนแล้วแต่ก้าวผงาดรุ่งเรืองขึ้นมา จากนั้นก็เสื่อมโทรมลงและดับสิ้นไป) เพื่อให้พรรคยังคงสามารถนำพาประชาชาติจีนไปบนเส้นทางแห่งการพลิกฟื้นกลับมีชีวิตชีวาขึ้นมาใหม่
สำหรับบทความชิ้นแรกของชุดนี้ เขียนโดย กง ฟางปิน (Gong Fangbin) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยป้องกันประเทศ (National Defense University) ของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน ได้ยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า ประชาชนจีนทุกวันนี้ไม่ได้รู้สึกว่ามีความสุขมากขึ้น ถึงแม้มีความสำเร็จอันใหญ่หลวงต่างๆ ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจสืบเนื่องจากการปฏิรูปและการเปิดประตูประเทศในระยะเวลา 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ตรงกันข้าม ความขัดแย้งทางสังคมดูเหมือนจะเพิ่มพูนยกระดับขึ้นไปด้วยซ้ำ ทั้งนี้สืบเนื่องจากเหตุผลต่างๆ มากมาย แต่เหตุผลประการที่อยู่ในระดับรากฐานเลย ได้แก่ ภาวะชะงักงันในการปรับโครงสร้างระบบการเมือง ผลลัพธ์ก็คือ ระบบการเมืองในปัจจุบันไม่ได้สอดคล้องเหมาะสมกับระบบเศรษฐกิจอีกต่อไป ภายหลังจากที่ระบบเศรษฐกิจได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬารจนถึงระดับรากฐานในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา
อันที่จริงทุกๆ คนต่างตระหนักถึงปัญหานี้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่ทำไมจวบจนถึงเวลานี้จึงยังไม่มีการเริ่มต้นปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมืองกันเสียที? กง กล่าวโทษว่าเนื่องจากความล้มเหลวของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่จะสร้าง “ทัศนียภาพของการเมืองใหม่” ขึ้นมา เพื่อให้พรรคปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากการเป็น “พรรคแห่งการปฏิวัติ” มาเป็น “พรรคปกครอง” ของประเทศจีน
มีความแตกต่างกันอย่างใหญ่หลวงระหว่างการนำพาการปฏิวัติกับการปกครองประเทศ “ภาษาของการปฏิวัติคือความรุนแรง ขณะที่การปกครองประเทศเน้นย้ำเรื่องความสมดุลและการประนีประนอม การต่อสู้ทำการปฏิวัติจำเป็นต้องตอกย้ำและกระทั่งเพิ่มทวีการต่อสู้ทางชนชั้น แต่การปกครองประเทศต้องขจัดความขัดแย้งต่างๆ (ในทางสังคม) และอุดช่องว่างความผิดแผกแตกต่างทั้งหลายให้หดแคบลงมา ... การต่อสู้ทำการปฏิวัติคือการพิทักษ์คุ้มครองผลประโยชน์ของชนชั้นหนึ่งด้วยวิธีการลิดรอนผลประโยชน์ของอีกชนชั้นหนึ่ง ทว่าพรรคที่เป็นผู้ปกครองจำเป็นจะต้องตอบสนองผลประโยชน์ของทุกๆ ชั้นชนและทุกๆ กลุ่มในสังคม ... ฯลฯ” กง เขียนเอาไว้เช่นนี้ และกล่าวต่อไปว่า ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการสิ่งที่ไม่สอดคล้องเหมาะสมในทางปฏิบัติและกระทั่งไม่อาจดำเนินการได้ ถ้าหากยังจะนำมาเอาทฤษฎีต่างๆ ที่ใช้สำหรับการปฏิวัติ มาเป็นทฤษฎีชี้นำพรรค ภายหลังจากที่พรรคขึ้นมาครองอำนาจแล้ว
นักเขียนอีกผู้หนึ่งซึ่งร่วมเขียนบทความในชุดนี้ คือ หวัง ฉางเจียง (Wang Changjiang) ศาสตราจารย์ของโรงเรียนพรรคศูนย์กลาง เขาชี้เอาไว้ในบทความของเขาว่า ความคิดจิตใจของการเป็นพรรคแห่งการปฏิวัติ ยังคงมีอิทธิพลต่อความรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ในปัจจุบันของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้พรรคยังคงล้มเหลวไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพความคิดจิตใจเช่นนี้ได้ ก็เนื่องจากพวกกลุ่มผลประโยชน์ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างล้ำลึกกับของเก่าของเดิม ยังคงพยายามอย่างเต็มที่ที่จะพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์เหล่านี้ของพวกเขา
สือ เย่าถง (Xu Yaotong) ศาสตราจารย์วิจัย (research professor) ซึ่งทำงานให้สถาบันบริหารศาสตร์แห่งชาติ (National School of Administration) เสนอความคิดเห็นว่า การที่จะเปลี่ยนความคิดจิตใจของพรรคคอมมิวนิสต์จีนจากการเป็นพรรคปฏิวัติไปสู่การเป็นพรรคปกครองประเทศนั้น พรรคจะต้องสถาปนาและให้ความเคารพยึดมั่นในหลักนิติธรรม (rule of law), ยกเลิกการโฆษณาชวนเชื่อที่ชี้นำโดยอุดมการณ์, และยุติการดำเนินการเคลื่อนไหวทางการเมืองซึ่งมีเป้าหมายเล่นงานผู้คนบางกลุ่มในสังคม เนื่องจากพรรคที่เป็นผู้ปกครองประเทศนั้น จะต้องดำเนินงานและรับผิดชอบต่อประชาชนทั้งหมดทั้งปวงในสังคม ไม่ใช่ประชาชนเพียงส่วนหนึ่งหรือเพียงบางส่วนเท่านั้น
ผู้เขียนบทความทั้ง 7 คน ซึ่งล้วนแต่เป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงในประเทศจีน ต่างเน้นย้ำถึงความสำคัญที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนในฐานะที่เป็นพรรคผู้ปกครองประเทศ จะต้องสถาปนาและเคารพยึดมั่นในหลักนิติธรรม พรรคปฏิวัตินั้นย่อมมุ่งมั่นที่จะทำลายระเบียบสังคมเก่าที่ดำรงอยู่ตลอดจนหลักกฎหมายเก่าต่างๆ ที่ดำรงอยู่ ทว่าสำหรับพรรคผู้ปกครองประเทศแล้วกลับจำเป็นต้องสร้างและต้องธำรงรักษาสิ่งเหล่านี้เอาไว้ให้ดี นักวิชาการชื่อดังทั้งหมดเหล่านี้ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า การที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะสามารถประพฤติตนเป็นพรรคผู้ปกครองประเทศอย่างแท้จริงได้นั้น จำเป็นที่จะต้องนำตนเองและผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดทั้งปวงของพรรคเข้าไปอยู่ภายใต้กฎหมาย แทนที่จะอยู่เหนือกฎหมาย
ข้อสังเกตอันแหลมคมของพวกเขาเช่นนี้ เป็นการจี้ให้เห็นถึงปัญหาที่กำลังเผชิญหน้าประเทศจีนในทุกวันนี้ แต่สิ่งที่จะต้องถามกันต่อไปอีกก็คือ แล้วจะจัดการกับปัญหาเหล่านี้อย่างไร? พวกเขาต่างเห็นพ้องต้องกันหมดว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะต้องเริ่มต้นทำการปฏิรูปทางการเมือง นำเอาความเป็นประชาธิปไตยเข้ามาให้มากขึ้น ถ้าหากต้องการที่จะเป็นพรรคผู้ปกครองประเทศของจีนต่อไปทว่าก็เหมือนๆ กับ สี นั่นแหละ การก้าวไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยให้มากขึ้นที่พวกเขาพูดกันนี้ ดูจะมุ่งหมายให้ปรับปรุงยกระดับการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพื่อที่พรรคจะสามารถวาดหวังที่จะเป็นพรรคผู้ปกครองจีนแต่เพียงผู้เดียวไปตลอดกาล การก้าวไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยในลักษณะที่เป็นการแผ้วถางทางไปสู่ระบบการเมืองแบบมีหลายๆ พรรคนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาเลย เนื่องจากการเมืองแบบหลายพรรคย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าพรรคคอมมิวนิสต์อาจจะสูญเสียฐานะการเป็นผู้ปกครองนั่นเอง แต่การก้าวไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยดังที่กล่าวกันนี้จะก่อให้เกิดสัมฤทธิ์ผลอะไรกันบ้าง นี่ดูจะเป็นสิ่งที่ใครๆ ได้แต่คาดเดากันเอาเอง
กง บอกว่า การสร้าง “ทัศนียภาพของการเมืองใหม่” ซึ่งก็คือการทิ้งความคิดจิตใจแบบปฏิวัติ เพื่อจะได้กลายเป็นพรรคผู้ปกครองนั้น จะเป็นหลักหมายบ่งบอกถึงการผ่าทางตันครั้งใหญ่ครั้งที่สามในประวัติพรรคคอมมิวนิสต์จีน กล่าวคือ เหมา เจ๋อตง เป็นผู้ทำการผ่าทางตันครั้งแรกซึ่งทำให้ได้รับชัยชนะในการปฏิวัติ จากนั้น เติ้ง เสี่ยวผิง ก็ทำการผ่าทางตันครั้งที่สอง ซึ่งเป็นการแผ้วถางทางไปสู่การปฏิรูปและการเปิดประตูประเทศ มาถึงตอนนี้การที่ประชาชาติจีนจะก้าวผงาดขึ้นมาในโลกนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการผ่าทางตันครั้งที่สาม ตัว กง เองไม่ได้ระบุออกมาอย่างชัดถ้อยชัดคำถึงขนาดนี้หรอก แต่จากเหตุผลข้อโต้แย้งของเขาบ่งบอกเป็นนัยอย่างชัดเจนว่า ถ้าหาก สี สามารถกระทำเรื่องนี้ได้แล้ว เขาก็จะกลายเป็นผู้นำที่ควรแก่การเคารพยกย่องตราบนานเท่านานเป็นคนที่สามในประวัติของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
การเปลี่ยนแปลงความคิดจิตใจแบบปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้น ในตัวมันเองก็ต้องถือว่าเป็นความเคลื่อนไหวแบบปฏิวัติทีเดียว เพราะจะต้องอาศัยทั้งสติปัญญาในทางการเมืองและความกล้าหาญทางการเมือง เนื่องจากมันจะเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงซึ่งบ่งบอกอย่างอ้อมๆ ถึงการทอดทิ้งคำจำกัดความอันเคร่งครัดตามหลักการคัมภีร์ที่ว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นพรรคการเมืองที่ชี้นำโดยลัทธิมาร์กซ์, ลัทธิเลนิน, และความคิดเหมา เจ๋อตง และที่ว่าพรรคการเมืองนั้นย่อมเป็นผลิตผลของการต่อสู้ทางชนชั้นซึ่งแต่ละพรรคต่างเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของชนชั้นทางสังคมชนชั้นหนึ่งชนชั้นใดอย่างชัดเจนแน่นอน โดยที่พรรคคมมิวนิสต์นั้นคือกองหน้าของชนชั้นกรรมาชีพจีน … อุดมคติสูงสุดและเป้าหมายสูงสุดของพรรคก็คือการบรรลุถึงสังคมคอมมิวนิสต์”
คำจำกัดความอันเคร่งคัดตามหลักการคัมภีร์ดังกล่าวนี้ยังดำรงคงอยู่ ถึงแม้มีข้อเท็จจริงอยู่เช่นกันว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้กลายเป็นพรรคการเมืองของ “ประชาชนทั้งมวล” ไปตั้งแต่ปี 1997 เมื่อพรรคเริ่มต้นระดมเอา “พวกนายทุนสีแดง” เข้ามาเป็นสมาชิก ทุกวันนี้พรรคคอมมิวนิสต์จีนคุยว่ามีสมาชิกรวมทั้งสิ้นประมาณ 80 ล้านคน นั่นหมายความว่าในหมู่ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในประเทศจีนนั้น ทุกๆ 1 ใน 10 คนจะเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ (ปัจจุบันประชากรจีนทั้งหมด 1,300 ล้านคน ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีนั้นมีอยู่ประมาณ 1 ใน 4) แน่นอนทีเดียวว่าสมาชิกพรรคเหล่านี้ต้องมาจากภาคส่วนทางสังคมอันหลากหลายนานา แต่ดูเหมือนกว่าการสรุปกลั่นกรองให้ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้กลายเป็นหลักทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะของพรรคขึ้นมา ยังคงล้าหลังการปฏิบัติจริงๆ เป็นอย่างมาก
การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงความคิดจิตใจ ยังหมายถึงการทอดทิ้งหลักการสำคัญบางประการที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนรับรองอยู่ในปัจจุบัน เป็นต้นว่า “หลักการพื้นฐาน 4 ประการ” (four cardinal principles) ซึ่งกำหนดขึ้นโดยตัวเติ้งเอง หลักการ 4 ประการเหล่านี้ได้ระบุเอาไว้ในระเบียบการพรรคฉบับปัจจุบันด้วย ได้แก่ พรรค “จักต้อง” ยึดมั่นในหนทางแห่งสังคมนิยม, ยึดมั่นในลัทธิมาร์กซ์, ลัทธิเลนิน, และความคิดเหมา เจ๋อตง ... และคัดค้านการแปรเปลี่ยนไปสู่เสรีนิยมชนชั้นนายทุน” การยกเลิกหลักการเหล่านี้ย่อมหมายถึงการเปิดประตูให้แก่กระบวนการแปรเปลี่ยนไปสู่เสรินิยมทั้งในทางการเมืองและในทางอุดมการณ์นั่นเอง
เห็นได้ชัดเจนว่า การเปลี่ยนแปลง “ความคิดจิตใจแบบปฏิวัติ” และนำเอา “ทัศนียภาพของการเมืองใหม่” เข้าไปแทนที่นั่น เป็นภารกิจที่ลำบากยากยิ่ง แต่ถึงยังไม่เป็นที่แน่นอนว่า สี และคณะผู้นำชุดใหม่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะประสบความสำเร็จในการฟันฝ่าความท้าทายนี้หรือไม่ การอภิปรายถกเถียงกันเกี่ยวกับ “ทัศนียภาพของการเมืองใหม่” ก็บ่งบอกให้ทราบว่า สี ต้องการที่จะจัดวางเส้นทางซึ่งผิดแผกแตกต่างไปจากผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนเขา
*หมายเหตุ*
[1] ดูที่เรื่อง 'Red capitalists' unravel the party line, Asia Times Online, Oct 17, 2008.
อู่ จง เป็นบรรณาธิการด้านจีนของเอเชียไทมส์ออนไลน์