(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Militants threaten Manila peace deal
By Jacob Zenn
15/10/2012
กรอบข้อตกลงสู่สันติภาพครั้งประวัติศาสตร์ที่รัฐบาลฟิลิปปินส์ กับกลุ่มแนวร่วมปลดแอกอิสลามโมโร(MILF) ลงนามกันไปหมาดๆ เมื่อไม่กี่วันก่อน จะสามารถอยู่รอดเติบใหญ่ได้หรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับว่าพวกหัวรุนแรงซึ่งอยู่ในพื้นที่มินดาเนาที่ปั่นป่วนวุ่นวาย จะแสดงการสนองตอบต่อเรื่องนี้กันอย่างไร ขณะที่มาตรการหลายๆ ด้านที่ระบุไว้ในข้อตกลงฉบับนี้ เป็นต้นว่า การให้เขตปกครองตนเองที่จะจัดตั้งขึ้นมา มีสิทธิที่จะจัดเก็บภาษี ตลอดจนสามารถใช้หลักกฎหมายอิสลามมาตัดสินคดีความ มีจุดมุ่งหมายที่จะถอดชนวนภัยคุกคามซึ่งจะมาจากประดากลุ่มสุดโต่งอย่างเช่น อบูไซยาฟ แต่กระนั้นพวกหัวรุนแรงที่มีสายใยเชื่อมโยงอยู่กับกลุ่มแยกตัวอื่นๆ ซึ่งยึดถืออัลกออิดะห์เป็นแรงบันดาลใจเช่นเดียวกัน ยังคงมั่นอกมั่นใจได้ว่าจะสามารถปลุกระดมหาสมาชิกใหม่ๆ เข้ามาร่วมก่อความไม่สงบกับพวกตนได้ต่อไป
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**ความเป็นปรปักษ์ระหว่างกลุ่มกบฏ**
กรอบข้อตกลงสู่สันติภาพ ที่กลุ่มแนวร่วมปลดแอกอิสลามโมโร (MILF) สามารถลงนามกับรัฐบาลฟิลิปปินส์เมื่อช่วงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ในทางเป็นจริงแล้วมีเงื่อนไขต่างๆ คล้ายคลึงกับข้อตกลงสันติภาพที่กลุ่มแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติโมโร (MNLF) ได้ทำเอาไว้กับรัฐบาลฟิลิปปินส์เมื่อสิบกว่าปีก่อน ซึ่งทำให้มีการริเริ่มก่อตั้ง “เขตปกครองตนเองของชาวมุสลิมในมินดาเนา” (Autonomous Region in Muslim Mindanao ใช้อักษรย่อว่า ARMM) ขึ้นมา
มีรายงานว่าพวกผู้นำของ MNLF มองว่า เมื่อเกิดมีข้อตกลงฉบับใหม่ขึ้นมาอีกเช่นนี้ ข้อตกลงสันติภาพที่กลุ่มของพวกเขาลงนามเอาไว้นั้น เวลานี้จึงเท่ากับถูกยกเลิกไปโดยปริยาย ฮาบิบ มูจาฮับ ฮาชิม (Habib Mujahab Hashim) ประธานสภาบัญชาการแบบอิสลาม ของ MNLF (MNLF's Islamic Command Council) แถลงว่า ถ้าหากคณะรัฐบาลอากีโนยังคงเดินหน้าด้วยการลงนามในกรอบข้อตกลงฉบับนี้กับ MILF แล้ว ทางกลุ่ม MNLF ก็คงจะต้องหวนกลับไปทำการต่อสู้ด้วยอาวุธอีกครั้ง
ภายหลังจากลงนามในข้อตกลงสันติภาพกับรัฐบาลฟิลิปปินส์เมื่อปี 1996 แล้ว MNLF ยังไม่เคยถูกปลดอาวุธเลย และมาถึงตอนนี้ก็มีรายงานข่าวว่า กลุ่มนี้เริ่มระดมชุมนุมนักรบในจังหวัดซัมโบอังกา เดล ซูร์ (Zamboanga del Sur) มีความเป็นไปได้ที่ว่า การรวมพลเช่นนี้กระทำขึ้นวัตถุประสงค์ที่จะอวดสำแดงกำลัง เพื่อเริ่มต้นการเกลี้ยกล่อมชักชวนหาสมาชิกใหม่ๆ ทั้งจากพวกนักรบของ MILF และชาวบ้านในท้องถิ่น ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการทำกรอบข้อตกลงฉบับล่าสุด เนื่องจากตามแผนการที่วางกันเอาไว้ นักรบของ MILF จำนวนมากจะเข้าไปร่วมอยู่ในกองกำลังตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ (Philippines National Police หรือ PNP) ดังนั้น MNLF จึงอาจจะโน้มน้าวเกลี้ยกล่อมได้พวกนักรบ MILF ซึ่งไม่พอใจที่บังซาโมโรยังไม่ได้มีฐานะเป็นรัฐปกครองตนเองอย่างเต็มที่
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ นูร์ มิซูอารี (Nur Misuari) หัวหน้าของ MNLF ได้แสดงทัศนะเอาไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า กรอบข้อตกลงฉบับใหม่เป็นการล่วงละเมิดข้อตกลงสันติภาพที่รัฐบาลลงนามกับ MNLF แต่ขณะนี้ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า เขาจะถึงกับประกาศให้กลุ่มของเขากลับไปจับอาวุธทำการสู้รบกับรัฐบาลอีกหรือไม่ ภายหลังจากที่ได้ผ่านช่วงเวลาซึ่งค่อนข้างมีสันติภาพมายาวนานกว่า 1 ทศวรรษแล้ว
สำหรับกลุ่มมุสลิมติดอาวุธกลุ่มอื่นๆ อีก 2 กลุ่มซึ่งก็เคลื่อนไหวอยู่ในมินดาเนา ได้แก่ กลุ่มนักรบเสรีภาพอิสลามบังซาโมโร (BIFF) และกลุ่มอบูไซยาฟ ก็ได้ออกมาแถลงปฏิเสธไม่ยอมรับกรอบข้อตกลงสู่สันติภาพนี้อย่างสิ้นเชิงแล้ว กลุ่มเหล่านี้อาจจะกำลังหาทางโน้มน้าวเหล่านักรบที่ไม่พอใจและสิ้นความภักดีต่อ MILF แล้ว เข้ามาอยู่ในสังกัดของพวกตน ในทำนองเดียวกับที่ MILF ได้เคยชักชวนพวกนักรบที่ผิดหวังและหมดความภักดีให้ออกจาก MNLF ภายหลังการลงนามข้อตกลงสันติภาพของ MNLF ในปี 1996 นั่นเอง
เมื่อปี 2008 ตอนที่กำลังจะมีการลงนามในเอกสารข้อตกลง MOAAD อยู่แล้ว อาเมริล อุมบา คาโต อดีตผู้บัญชาการของกองบัญชาการค่าย 105 (105th Base Command) ของ MILF คือจอมบงการที่อยู่เบื้องหลังการก่อเหตุโจมตีพลเรือนในจังหวัดนอร์ท โคตาบาโต หลายต่อหลายครั้งในปีนั้น ปัจจุบัน คาโตเป็นหัวหน้าของ BIFF ซึ่งเขาเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายปี 2010 พร้อมๆ กับนักรบ MILF จำนวน 300 คนซึ่งปฏิเสธไม่ยอมรับการเจรจาที่ MILF กระทำกับฝ่ายรัฐบาล โดยที่ในเวลานั้นการเจรจาเช่นนี้ยังถูกมองว่าอยู่ในภาวะเดี๋ยวหยุดเดี๋ยวเจรจาต่อแบบไม่ค่อยมีอะไรคืบหน้าเป็นชิ้นเป็นอัน สำหรับกองกำลังอาวุธของ คาโต ครั้งหลังสุดที่เปิดการโจมตีกองกำลังฝ่ายรัฐบาล ก็คือในเดือนสิงหาคมปีนี้
อบู มิสรี มามา (Abu Misri Mama) โฆษกของ BIFF ซึ่งในช่วงสุดสัปดาห์ก่อนได้เรียกกรอบข้อตกลงสู่สันติภาพล่าสุดว่าเป็น ข้อตกลง “ยอมจำนน” นั้น กล่าวเป็นนัยๆ ว่า คาโตจะเปิดการโจมตีใหม่ๆ เพื่อตอบโต้ข้อตกลงฉบับนี้อย่างแน่นอน “เมื่อถึงเวลาเราก็จะเริ่มเปิดฉากการก่อกวนของเรา พวกเราเตรียมตัวพรักพร้อมอยู่ใกล้ๆ กับพวกศัตรูของเราแล้ว” มิสรี มามา แถลงเอาไว้เช่นนี้เมื่อไม่นานมานี้ “พลเรือนทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมุสลิม, คริสเตียน, หรือชาวบ้านพื้นถิ่น ซึ่งกำลังอาศัยอยู่ใกล้ๆ กองทหารหรือค่ายทหาร พวกเขาต้องเริ่มอพยพออกไปได้แล้ว จะได้ไม่เจอลูกหลงบาดเจ็บล้มตายไปในระหว่างการสู้รบ”
คาโตนั้น พวกนักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงบางรายเชื่อว่า มีนักรบอยู่ในบังคับบัญชาราว 1,000 คน อย่างไรก็ดี มีภาพถ่ายและรายงานออกมาจากค่ายของเขาในจังหวัดมากูอินดาเนา ระบุว่าเขามีสุขภาพอ่อนปวกเปียกเนื่องจากล้มป่วยจนกระทั่งแทบจะเดินเหินและพูดจาไม่ได้เลย อย่าว่าแต่จะเป็นผู้นำกองกำลังอาวุธเข้าทำการสู้รบ ก่อนหน้านั้นในเดือนธันวาคม 2011 ก็มีข่าวลือสะพัดออกมาว่าเขาสิ้นชีวิตแล้ว ถึงแม้ในทางเป็นจริงเขาน่าจะเพียงแค่เจ็บป่วยด้วยอาการเลือดออกในสมองที่ทำให้อ่อนเพลียมากกว่า เนื่องจากยังไม่ปรากฏว่ามีผู้นำคนไหนได้รับการวางตัวให้ขึ้นทำหน้าที่ในการนำพา BIFF ในกรณีที่ คาโต สิ้นชีวิตไป ดังนั้นถ้าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นมาจริงๆ ก็อาจจะส่งผลให้ BIFF ค่อยๆ ล้มหายตายจากไป หรือไม่พวกนักรบของกลุ่มนี้ก็จะพากันผละออกไปเข้าร่วมกับกองกำลังของ MNLF ที่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกคำรบหนึ่ง ซึ่งก็จะเป็นการสมทบเข้ากับพวกนักรบ MILF ที่ไม่พอใจการทำกรอบข้อตกลงฉบับล่าสุด และตัดสินใจมาอยู่กับ MNLF
ในส่วนของกลุ่มอบูไซยาฟ ก็อาจจะได้กำลังนักรบ MILF ซึ่งไม่พอใจพวกผู้นำของตนที่ไปทำข้อตกลงกับรัฐบาล ตลอดจนนักรบ BIFF ที่ผละออกจากกลุ่มของตนภายหลังขาดผู้นำอย่างคาโต กลุ่มอบูไซยาฟในตอนเริ่มแรกดั้งเดิมก็ประกอบด้วยพวกนักรบชั้นแนวหน้าของ MNLF ที่รู้สึกว่าถูกทรยศจากการที่ผู้นำ MNLF ไปเซ็นข้อตกลงสันติภาพกับรัฐบาลในปี 1996 ในเวลาต่อมากลุ่มกบฎกลุ่มนี้มีชื่อฉาวเลื่องลือจากพฤติการณ์จับคนไปเรียกค่าไถ่ ที่มั่นของพวกอบูไซยาฟเป็นเขตป่าเขาห่างไกลของจังหวัดบาซิลัน โดยที่นานๆ ครั้งกลุ่มนี้ก็จะออกปฏิบัติการโจมตีกองกำลังอาวุธของฝ่ายรัฐบาลหรือพวกบริษัทธุรกิจสักคราวหนึ่ง หลังจากที่อบูไซยาฟถูกติดตามไล่ล่าอย่างหนัก สืบเนื่องจากมีความสัมพันธ์โยงใยกับอัลกออิดะห์ โดยเฉพาะฝ่ายรัฐบาลได้เปิดการโจมตีเป็นระลอกเข้าใส่พวกผู้นำสูงสุดของกลุ่มนี้ ก็เป็นที่เชื่อกันว่าอบูไซยาฟต้องการกำลังนักรบใหม่ๆ เป็นอย่างยิ่ง มีบางฝ่ายให้ตัวเลขประมาณการว่า เวลานี้กลุ่มนี้มีกำลังเพียงแค่ 350 คน ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
เนื่องจากประสบปัญหาไม่สามารถที่จะระดมหาสมาชิกใหม่ๆ จากคนในท้องถิ่นได้ ในระยะหลังๆ นี้ อบูไซยาฟจึงดูเหมือนกับพยายามหันไปนำเอาพวกสมาชิกของกลุ่มอัลกออิดะห์ในคาบสมุทรอาราเบีย (Al-Qaeda in the Arabian Peninsula หรือ AQAP) เข้ามา โดยเป็นไปได้ว่ากลุ่มนี้ถึงขนาดเปลี่ยนชื่อของกลุ่มเสียใหม่ด้วยซ้ำ ทั้งนี้เมื่อวันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา มีพวกหัวรุนแรงคนหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า อบู อาติคาห์ อัล-มูฮาจีร์ (Abu Atikah al-Muhajir) โพสต์ภาพหลายภาพบนเว็บไซต์ของพวกนักรบญิฮัดแห่งหนึ่งโดยระบุว่า ภาพเหล่านี้แสดงให้เห็น 2 “สิงห์แห่งคาบสมุทรอาราเบีย” กำลังคลุกคลีตีโมงกับกลุ่มหัวรุนแรงอิสลามอีกกลุ่มหนึ่งในบริเวณภาคใต้ของฟิลิปปินส์ โดยที่มีธงสีดำและขาวตามแบบฉบับของอัลกออิดะห์อยู่ตรงบริเวณพื้นหลังของภาพด้วย บุคคลผู้นี้อ้างว่าเขาเป็น “พี่น้องมุญะฮิดีนอยู่ในกลุ่ม ตอฮิด และ ญิฮัด ในดินแดนของฟิลิปปินส์แห่งความภาคภูมิใจ (Tawhid and Jihad Group in the Land of the Philippines of Pride)” โดยที่ไม่ได้มีการเอ่ยชื่อของอบูไซยาฟเลย
จากการที่ อบูไซยาฟ, BIFF, MNLF, และเป็นไปได้ว่ากระทั่งนักรบ MILF จำนวนหนึ่งที่ไม่พอใจและไม่ภักดีต่อกลุ่มนี้แล้ว ล้วนแต่คัดค้านกรอบข้อตกลงสู่สันติภาพที่ MILF เพิ่งไปลงนามกับรัฐบาล โดยที่แต่ละกลุ่มเหล่านี้ต่างก็กำลังเข้าสู่ช่วงระยะเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่โต ดังนั้นจึงยังไม่เป็นที่ชัดเจนเลยว่า ข้อตกลงที่ได้รับการยกย่องชมเชยอย่างกว้างขวางฉบับนี้จะนำไปสู่สันติภาพเพียงแค่ในเฉพาะหน้า หรือสันติภาพอย่างถาวร ห้วงเวลาตั้งแต่เวลานี้ไปจนถึงปี 2016 มีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกจำนวนหนึ่งซึ่งสามารถทำให้ข้อตกลงฉบับนี้ล้มครืนลงได้ แท้ที่จริงแล้ว สภาพความเป็นจริงในภาคสนามหลายสิ่งหลายประการต่างก็บ่งชี้ให้เห็นว่า เส้นทางไปสู่สันติภาพยังคงเต็มไปด้วยความสลับซับซ้อนเหมือนอย่างที่เคยเป็นมา
เจค็อบ เซนน์ เป็นนักวิเคราะห์กิจการระหว่างประเทศ และที่ปรึกษากฎหมายซึ่งชำนาญเป็นพิเศษในเรื่องการวิเคราะห์กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบต่างๆ เขาพำนักอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี และสามารถที่จะติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ zopensource123@gmail.com
Militants threaten Manila peace deal
By Jacob Zenn
15/10/2012
กรอบข้อตกลงสู่สันติภาพครั้งประวัติศาสตร์ที่รัฐบาลฟิลิปปินส์ กับกลุ่มแนวร่วมปลดแอกอิสลามโมโร(MILF) ลงนามกันไปหมาดๆ เมื่อไม่กี่วันก่อน จะสามารถอยู่รอดเติบใหญ่ได้หรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับว่าพวกหัวรุนแรงซึ่งอยู่ในพื้นที่มินดาเนาที่ปั่นป่วนวุ่นวาย จะแสดงการสนองตอบต่อเรื่องนี้กันอย่างไร ขณะที่มาตรการหลายๆ ด้านที่ระบุไว้ในข้อตกลงฉบับนี้ เป็นต้นว่า การให้เขตปกครองตนเองที่จะจัดตั้งขึ้นมา มีสิทธิที่จะจัดเก็บภาษี ตลอดจนสามารถใช้หลักกฎหมายอิสลามมาตัดสินคดีความ มีจุดมุ่งหมายที่จะถอดชนวนภัยคุกคามซึ่งจะมาจากประดากลุ่มสุดโต่งอย่างเช่น อบูไซยาฟ แต่กระนั้นพวกหัวรุนแรงที่มีสายใยเชื่อมโยงอยู่กับกลุ่มแยกตัวอื่นๆ ซึ่งยึดถืออัลกออิดะห์เป็นแรงบันดาลใจเช่นเดียวกัน ยังคงมั่นอกมั่นใจได้ว่าจะสามารถปลุกระดมหาสมาชิกใหม่ๆ เข้ามาร่วมก่อความไม่สงบกับพวกตนได้ต่อไป
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**ความเป็นปรปักษ์ระหว่างกลุ่มกบฏ**
กรอบข้อตกลงสู่สันติภาพ ที่กลุ่มแนวร่วมปลดแอกอิสลามโมโร (MILF) สามารถลงนามกับรัฐบาลฟิลิปปินส์เมื่อช่วงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ในทางเป็นจริงแล้วมีเงื่อนไขต่างๆ คล้ายคลึงกับข้อตกลงสันติภาพที่กลุ่มแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติโมโร (MNLF) ได้ทำเอาไว้กับรัฐบาลฟิลิปปินส์เมื่อสิบกว่าปีก่อน ซึ่งทำให้มีการริเริ่มก่อตั้ง “เขตปกครองตนเองของชาวมุสลิมในมินดาเนา” (Autonomous Region in Muslim Mindanao ใช้อักษรย่อว่า ARMM) ขึ้นมา
มีรายงานว่าพวกผู้นำของ MNLF มองว่า เมื่อเกิดมีข้อตกลงฉบับใหม่ขึ้นมาอีกเช่นนี้ ข้อตกลงสันติภาพที่กลุ่มของพวกเขาลงนามเอาไว้นั้น เวลานี้จึงเท่ากับถูกยกเลิกไปโดยปริยาย ฮาบิบ มูจาฮับ ฮาชิม (Habib Mujahab Hashim) ประธานสภาบัญชาการแบบอิสลาม ของ MNLF (MNLF's Islamic Command Council) แถลงว่า ถ้าหากคณะรัฐบาลอากีโนยังคงเดินหน้าด้วยการลงนามในกรอบข้อตกลงฉบับนี้กับ MILF แล้ว ทางกลุ่ม MNLF ก็คงจะต้องหวนกลับไปทำการต่อสู้ด้วยอาวุธอีกครั้ง
ภายหลังจากลงนามในข้อตกลงสันติภาพกับรัฐบาลฟิลิปปินส์เมื่อปี 1996 แล้ว MNLF ยังไม่เคยถูกปลดอาวุธเลย และมาถึงตอนนี้ก็มีรายงานข่าวว่า กลุ่มนี้เริ่มระดมชุมนุมนักรบในจังหวัดซัมโบอังกา เดล ซูร์ (Zamboanga del Sur) มีความเป็นไปได้ที่ว่า การรวมพลเช่นนี้กระทำขึ้นวัตถุประสงค์ที่จะอวดสำแดงกำลัง เพื่อเริ่มต้นการเกลี้ยกล่อมชักชวนหาสมาชิกใหม่ๆ ทั้งจากพวกนักรบของ MILF และชาวบ้านในท้องถิ่น ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการทำกรอบข้อตกลงฉบับล่าสุด เนื่องจากตามแผนการที่วางกันเอาไว้ นักรบของ MILF จำนวนมากจะเข้าไปร่วมอยู่ในกองกำลังตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ (Philippines National Police หรือ PNP) ดังนั้น MNLF จึงอาจจะโน้มน้าวเกลี้ยกล่อมได้พวกนักรบ MILF ซึ่งไม่พอใจที่บังซาโมโรยังไม่ได้มีฐานะเป็นรัฐปกครองตนเองอย่างเต็มที่
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ นูร์ มิซูอารี (Nur Misuari) หัวหน้าของ MNLF ได้แสดงทัศนะเอาไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า กรอบข้อตกลงฉบับใหม่เป็นการล่วงละเมิดข้อตกลงสันติภาพที่รัฐบาลลงนามกับ MNLF แต่ขณะนี้ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า เขาจะถึงกับประกาศให้กลุ่มของเขากลับไปจับอาวุธทำการสู้รบกับรัฐบาลอีกหรือไม่ ภายหลังจากที่ได้ผ่านช่วงเวลาซึ่งค่อนข้างมีสันติภาพมายาวนานกว่า 1 ทศวรรษแล้ว
สำหรับกลุ่มมุสลิมติดอาวุธกลุ่มอื่นๆ อีก 2 กลุ่มซึ่งก็เคลื่อนไหวอยู่ในมินดาเนา ได้แก่ กลุ่มนักรบเสรีภาพอิสลามบังซาโมโร (BIFF) และกลุ่มอบูไซยาฟ ก็ได้ออกมาแถลงปฏิเสธไม่ยอมรับกรอบข้อตกลงสู่สันติภาพนี้อย่างสิ้นเชิงแล้ว กลุ่มเหล่านี้อาจจะกำลังหาทางโน้มน้าวเหล่านักรบที่ไม่พอใจและสิ้นความภักดีต่อ MILF แล้ว เข้ามาอยู่ในสังกัดของพวกตน ในทำนองเดียวกับที่ MILF ได้เคยชักชวนพวกนักรบที่ผิดหวังและหมดความภักดีให้ออกจาก MNLF ภายหลังการลงนามข้อตกลงสันติภาพของ MNLF ในปี 1996 นั่นเอง
เมื่อปี 2008 ตอนที่กำลังจะมีการลงนามในเอกสารข้อตกลง MOAAD อยู่แล้ว อาเมริล อุมบา คาโต อดีตผู้บัญชาการของกองบัญชาการค่าย 105 (105th Base Command) ของ MILF คือจอมบงการที่อยู่เบื้องหลังการก่อเหตุโจมตีพลเรือนในจังหวัดนอร์ท โคตาบาโต หลายต่อหลายครั้งในปีนั้น ปัจจุบัน คาโตเป็นหัวหน้าของ BIFF ซึ่งเขาเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายปี 2010 พร้อมๆ กับนักรบ MILF จำนวน 300 คนซึ่งปฏิเสธไม่ยอมรับการเจรจาที่ MILF กระทำกับฝ่ายรัฐบาล โดยที่ในเวลานั้นการเจรจาเช่นนี้ยังถูกมองว่าอยู่ในภาวะเดี๋ยวหยุดเดี๋ยวเจรจาต่อแบบไม่ค่อยมีอะไรคืบหน้าเป็นชิ้นเป็นอัน สำหรับกองกำลังอาวุธของ คาโต ครั้งหลังสุดที่เปิดการโจมตีกองกำลังฝ่ายรัฐบาล ก็คือในเดือนสิงหาคมปีนี้
อบู มิสรี มามา (Abu Misri Mama) โฆษกของ BIFF ซึ่งในช่วงสุดสัปดาห์ก่อนได้เรียกกรอบข้อตกลงสู่สันติภาพล่าสุดว่าเป็น ข้อตกลง “ยอมจำนน” นั้น กล่าวเป็นนัยๆ ว่า คาโตจะเปิดการโจมตีใหม่ๆ เพื่อตอบโต้ข้อตกลงฉบับนี้อย่างแน่นอน “เมื่อถึงเวลาเราก็จะเริ่มเปิดฉากการก่อกวนของเรา พวกเราเตรียมตัวพรักพร้อมอยู่ใกล้ๆ กับพวกศัตรูของเราแล้ว” มิสรี มามา แถลงเอาไว้เช่นนี้เมื่อไม่นานมานี้ “พลเรือนทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมุสลิม, คริสเตียน, หรือชาวบ้านพื้นถิ่น ซึ่งกำลังอาศัยอยู่ใกล้ๆ กองทหารหรือค่ายทหาร พวกเขาต้องเริ่มอพยพออกไปได้แล้ว จะได้ไม่เจอลูกหลงบาดเจ็บล้มตายไปในระหว่างการสู้รบ”
คาโตนั้น พวกนักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงบางรายเชื่อว่า มีนักรบอยู่ในบังคับบัญชาราว 1,000 คน อย่างไรก็ดี มีภาพถ่ายและรายงานออกมาจากค่ายของเขาในจังหวัดมากูอินดาเนา ระบุว่าเขามีสุขภาพอ่อนปวกเปียกเนื่องจากล้มป่วยจนกระทั่งแทบจะเดินเหินและพูดจาไม่ได้เลย อย่าว่าแต่จะเป็นผู้นำกองกำลังอาวุธเข้าทำการสู้รบ ก่อนหน้านั้นในเดือนธันวาคม 2011 ก็มีข่าวลือสะพัดออกมาว่าเขาสิ้นชีวิตแล้ว ถึงแม้ในทางเป็นจริงเขาน่าจะเพียงแค่เจ็บป่วยด้วยอาการเลือดออกในสมองที่ทำให้อ่อนเพลียมากกว่า เนื่องจากยังไม่ปรากฏว่ามีผู้นำคนไหนได้รับการวางตัวให้ขึ้นทำหน้าที่ในการนำพา BIFF ในกรณีที่ คาโต สิ้นชีวิตไป ดังนั้นถ้าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นมาจริงๆ ก็อาจจะส่งผลให้ BIFF ค่อยๆ ล้มหายตายจากไป หรือไม่พวกนักรบของกลุ่มนี้ก็จะพากันผละออกไปเข้าร่วมกับกองกำลังของ MNLF ที่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกคำรบหนึ่ง ซึ่งก็จะเป็นการสมทบเข้ากับพวกนักรบ MILF ที่ไม่พอใจการทำกรอบข้อตกลงฉบับล่าสุด และตัดสินใจมาอยู่กับ MNLF
ในส่วนของกลุ่มอบูไซยาฟ ก็อาจจะได้กำลังนักรบ MILF ซึ่งไม่พอใจพวกผู้นำของตนที่ไปทำข้อตกลงกับรัฐบาล ตลอดจนนักรบ BIFF ที่ผละออกจากกลุ่มของตนภายหลังขาดผู้นำอย่างคาโต กลุ่มอบูไซยาฟในตอนเริ่มแรกดั้งเดิมก็ประกอบด้วยพวกนักรบชั้นแนวหน้าของ MNLF ที่รู้สึกว่าถูกทรยศจากการที่ผู้นำ MNLF ไปเซ็นข้อตกลงสันติภาพกับรัฐบาลในปี 1996 ในเวลาต่อมากลุ่มกบฎกลุ่มนี้มีชื่อฉาวเลื่องลือจากพฤติการณ์จับคนไปเรียกค่าไถ่ ที่มั่นของพวกอบูไซยาฟเป็นเขตป่าเขาห่างไกลของจังหวัดบาซิลัน โดยที่นานๆ ครั้งกลุ่มนี้ก็จะออกปฏิบัติการโจมตีกองกำลังอาวุธของฝ่ายรัฐบาลหรือพวกบริษัทธุรกิจสักคราวหนึ่ง หลังจากที่อบูไซยาฟถูกติดตามไล่ล่าอย่างหนัก สืบเนื่องจากมีความสัมพันธ์โยงใยกับอัลกออิดะห์ โดยเฉพาะฝ่ายรัฐบาลได้เปิดการโจมตีเป็นระลอกเข้าใส่พวกผู้นำสูงสุดของกลุ่มนี้ ก็เป็นที่เชื่อกันว่าอบูไซยาฟต้องการกำลังนักรบใหม่ๆ เป็นอย่างยิ่ง มีบางฝ่ายให้ตัวเลขประมาณการว่า เวลานี้กลุ่มนี้มีกำลังเพียงแค่ 350 คน ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
เนื่องจากประสบปัญหาไม่สามารถที่จะระดมหาสมาชิกใหม่ๆ จากคนในท้องถิ่นได้ ในระยะหลังๆ นี้ อบูไซยาฟจึงดูเหมือนกับพยายามหันไปนำเอาพวกสมาชิกของกลุ่มอัลกออิดะห์ในคาบสมุทรอาราเบีย (Al-Qaeda in the Arabian Peninsula หรือ AQAP) เข้ามา โดยเป็นไปได้ว่ากลุ่มนี้ถึงขนาดเปลี่ยนชื่อของกลุ่มเสียใหม่ด้วยซ้ำ ทั้งนี้เมื่อวันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา มีพวกหัวรุนแรงคนหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า อบู อาติคาห์ อัล-มูฮาจีร์ (Abu Atikah al-Muhajir) โพสต์ภาพหลายภาพบนเว็บไซต์ของพวกนักรบญิฮัดแห่งหนึ่งโดยระบุว่า ภาพเหล่านี้แสดงให้เห็น 2 “สิงห์แห่งคาบสมุทรอาราเบีย” กำลังคลุกคลีตีโมงกับกลุ่มหัวรุนแรงอิสลามอีกกลุ่มหนึ่งในบริเวณภาคใต้ของฟิลิปปินส์ โดยที่มีธงสีดำและขาวตามแบบฉบับของอัลกออิดะห์อยู่ตรงบริเวณพื้นหลังของภาพด้วย บุคคลผู้นี้อ้างว่าเขาเป็น “พี่น้องมุญะฮิดีนอยู่ในกลุ่ม ตอฮิด และ ญิฮัด ในดินแดนของฟิลิปปินส์แห่งความภาคภูมิใจ (Tawhid and Jihad Group in the Land of the Philippines of Pride)” โดยที่ไม่ได้มีการเอ่ยชื่อของอบูไซยาฟเลย
จากการที่ อบูไซยาฟ, BIFF, MNLF, และเป็นไปได้ว่ากระทั่งนักรบ MILF จำนวนหนึ่งที่ไม่พอใจและไม่ภักดีต่อกลุ่มนี้แล้ว ล้วนแต่คัดค้านกรอบข้อตกลงสู่สันติภาพที่ MILF เพิ่งไปลงนามกับรัฐบาล โดยที่แต่ละกลุ่มเหล่านี้ต่างก็กำลังเข้าสู่ช่วงระยะเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่โต ดังนั้นจึงยังไม่เป็นที่ชัดเจนเลยว่า ข้อตกลงที่ได้รับการยกย่องชมเชยอย่างกว้างขวางฉบับนี้จะนำไปสู่สันติภาพเพียงแค่ในเฉพาะหน้า หรือสันติภาพอย่างถาวร ห้วงเวลาตั้งแต่เวลานี้ไปจนถึงปี 2016 มีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกจำนวนหนึ่งซึ่งสามารถทำให้ข้อตกลงฉบับนี้ล้มครืนลงได้ แท้ที่จริงแล้ว สภาพความเป็นจริงในภาคสนามหลายสิ่งหลายประการต่างก็บ่งชี้ให้เห็นว่า เส้นทางไปสู่สันติภาพยังคงเต็มไปด้วยความสลับซับซ้อนเหมือนอย่างที่เคยเป็นมา
เจค็อบ เซนน์ เป็นนักวิเคราะห์กิจการระหว่างประเทศ และที่ปรึกษากฎหมายซึ่งชำนาญเป็นพิเศษในเรื่องการวิเคราะห์กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบต่างๆ เขาพำนักอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี และสามารถที่จะติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ zopensource123@gmail.com