(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
New reform balance in Myanmar
By Brian McCartan
16/08/2012
การแต่งตั้ง พล.ร.อ.เนียน ตุน ผู้บัญชาการทหารเรือ ขึ้นเป็นรองประธานาธิบดีคนใหม่ของพม่า ภายหลังที่ผู้เข้ารอบคนเดิมซึ่งเป็นนายทหารสายแข็งกร้าวถูกตัดออกไปเพราะบกพร่องในคุณสมบัติ น่าที่จะช่วยเพิ่มพูนอำนาจบารมีของฝ่ายนักปฏิรูปของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง โดยที่พวกซึ่งโยงใยใกล้ชิดกับอดีตคณะนายทหารใหญ่ผู้ปกครองประเทศ กลายเป็นฝ่ายสูญเสีย กองทัพเรือของพม่านั้นแตกต่างไปจากกองทัพบก ตรงที่มีส่วนร่วมแสดงบทบาทเพียงเล็กน้อยในการปฏิบัติการปราบปรามกวาดล้างการก่อความไม่สงบอย่างโหดเหี้ยมทั้งหลาย นอกจากนั้น เนียน ตุน ยังมีภาพลักษณ์ในระดับนานาชาติที่สะอาดสะอ้าน มิได้ถูกแปดเปื้อนจากข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
ภายหลังจากดำเนินกระบวนการคัดเลือกอันยืดเยื้อยาวนาน พวกสมาชิกรัฐสภาส่วนที่มาจากฝ่ายทหารของพม่า ก็ได้แต่งตั้ง พล.ร.อ.เนียน ตุน (Nyan Tun) ให้เป็นรองประธานาธิบดีคนใหม่ของพม่า ผลการคัดเลือกเช่นนี้น่าที่ช่วยหนุนเสริมให้ฐานะของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นสัญญาณบ่งบอกให้ทราบว่า ฝ่ายทหารมีการปรับเปลี่ยนจุดยืนเกี่ยวกับระเบียบวาระการปฏิรูปอันทะเยอทะยานของเขา
การแต่งตั้งที่ทำให้มีความคาดหวังกันอย่างสูงคราวนี้ บังเกิดขึ้นหลังจากเกิดปัญหาขาดคุณสมบัติของ มิ้นต์ ฉ่วย (Myint Swe) ตัวเก็งคนก่อนหน้านี้ผู้ซึ่งถูกมองว่าเป็นพวกแนวคิดแข็งกร้าวที่สนิทแน่นแฟ้นกับพวกผู้นำอาวุโสของอดีตคณะนายทหารใหญ่ผู้ปกครองประเทศ นอกจากนั้น การแต่งตั้งครั้งนี้ยังเกิดขึ้นท่ามกลางการกะเก็งคาดเดากันอย่างกว้างขวางในเรื่องที่ว่า รองประธานาธิบดีคนใหม่จะทำให้อำนาจบารมีของกลุ่มนักปฏิรูปในรัฐบาลชุดปัจจุบันของพม่ามีความแข็งแรงมากขึ้นหรือว่าจะทำให้อ่อนแอลง
การแต่งตั้ง เนียน ตุน ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (National Assembly) เมื่อวันพุธ (15 ส.ค.) ที่ผ่านมา ล่าช้ากว่าตารางเวลาที่กำหนดกันเอาไว้กว่า 1 เดือน เพื่อเป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขซึ่งระบุเอาไว้ในรัฐธรรมนูญที่ว่า ตัวประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีทั้ง 2 คน จะต้องเป็นพลเรือน เนียน ตุน จึงได้ยื่นใบลาออกจากการเป็นทหารประจำการ ก่อนที่จะทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งใหม่ในวันเดียวกัน ทั้งนี้เขาได้รับการเสนอชื่อเป็นรองประธานาธิบดี จากพวกตัวแทนฝ่ายทหารซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่นั่งในรัฐสภาอยู่ 25% และได้รับการอนุมัติเห็นชอบจาก รองพลเอกอาวุโส มิ้น อ่อง หล่าย (Vice Senior General Min Aung Hlaing) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของพม่า
ตามกระบวนการคัดเลือกแต่งตั้ง ผู้สมัครที่ได้รับการเสนอชื่อ ยังจะต้องผ่านการเห็นชอบอย่างเป็นฉันทามติทั่วไปจากสภากลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติ (National Defense and Security Council) ซึ่งมีประธานาธิบดีเป็นประธาน และสมาชิกประกอบด้วยประธานของสภาทั้งสองของรัฐสภา, รัฐมนตรีคนสำคัญๆ, และผู้บัญชาการและรองผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ ของกองทัพพม่า
ก่อนหน้าที่จะถึงคิวของ เนียน ตุน ในตอนแรกทีเดียวได้มีการเลือกคัด อดีต พล.ท.มิ้นต์ ฉ่วย ซึ่งปัจจุบันเป็นมุขมนตรีเขตย่างกุ้ง (Yangon Division Chief Minister) ขึ้นดำรงตำแหน่งนี้เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แต่แล้วชื่อของ มิ้นต์ ฉ่วย ก็ต้องหลุดออกไปจากการพิจารณาภายหลังที่มีการเปิดเผยว่า บุตรสาวของเขาเป็นผู้ที่ถือสัญชาติออสเตรเลีย โดยที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของพม่าซึ่งก็คือฉบับปี 2008 ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่า ห้ามพลเมืองของพม่าที่มีญาติหรือคู่ครองถือสัญชาติต่างประเทศ ขึ้นเป็นประธานาธิบดีหรือรองประธานาธิบดี
ออกจะเป็นเรื่องน่าหัวเราะเยาะอยู่เหมือนกัน เพราะกฎเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ในตอนแรกทีเดียวได้ถูกพวกฝ่ายค้านและนักเฝ้าจับตาพม่าทั้งหลายมองว่า มันเป็นแผนกโลบายทางกฎหมายที่มุ่งประสงค์จะกีดกัน อองซานซูจี ผู้นำของฝ่ายค้าน ไม่ให้ดำรงตำแหน่งสูงๆ เหล่านี้ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เธอแต่งงานกับ ไมเคิล อาริส (Michael Aris) พลเมืองอังกฤษผู้ซึ่งเวลานี้เสียชีวิตไปแล้ว ตัวซูจีเองได้รับเลือกตั้งเข้าไปนั่งในรัฐสภาในช่วงไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ ภายหลังที่เธอต้องใช้ชีวิตร่วมๆ 16 ปีจากช่วง 21 ปีที่ผ่านมาในสภาพถูกจับกุมคุมขังให้อยู่แต่ภายในบ้านพัก
สำหรับตำแหน่งรองประธานาธิบดีที่เกิดว่างลงในตอนนี้ ก็เนื่องจากการลาออกของ ทิน อ่อง มิ้นต์ อู (Tin Aung Myint Oo) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม โดยที่เขาระบุว่าเป็นเพราะ “เหตุผลทางด้านสุขภาพ” มีรายงานข่าวว่าอดีต พล.อ.ผู้นี้กำลังเจ็บป่วยทุกข์ทรมานจากอาการมะเร็งที่ลำคอ ทว่าก็มีผู้สังเกตการณ์จำนวนมากที่เข้าใจว่า เขาถูกบังคับให้ต้องลงจากเก้าอี้สืบเนื่องจากเขาคัดค้านความพยายามในการปฏิรูปของ เต็ง เส่ง ตัวทิน อ่อง มินต์ อู นั้นได้รับการจับตามองอย่างกว้างขวางว่า เป็นผู้นำของกลุ่มแนวคิดแข็งกร้าวที่ประกอบไปด้วยนายทหารทั้งที่เกษียณไปแล้วและที่ยังประจำการอยู่ในปัจจุบัน นายทหารใหญ่กลุ่มนี้คัดค้านการปฏิรูป อีกทั้งเป็นที่ขึ้นชื่อลือชาในเรื่องพฤติการณ์ทุจริตคอร์รัปชั่น
มีผู้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การลาออกของ ทิน อ่อง มิ้นต์ อู เกิดขึ้นในขณะที่พวกผู้นำอาวุโสในคณะรัฐบาลชุดปัจจุบันพากันออกมาแถลงเรียกร้องให้เหล่าเจ้าหน้าที่ในระดับสูง ช่วยกันทำงานเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการปฏิรูปทางด้านประชาธิปไตย และรับใช้ผลประโยชน์ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ทั้งตัว เต็ง เส่ง และประธานสภาล่าง ฉ่วย มานน์ (Shwe Mann) ต่างก็ออกมาแถลงเมื่อเร็วๆ นี้ ในเรื่องที่ต้องควบคุมตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่นในแวดวงราชการ
การลาออกของ ทิน อ่อง มิ้นต์ อู และการแต่งตั้ง เนียน ตุน ขึ้นเป็นรองประธานาธิบดีแทน ยังมีความสอดคล้องกับกระแสความคาดหมายที่ว่าพม่ากำลังจะมีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรี โดยผู้สังเกตการณ์จำนวนมากเชื่อว่า จุดมุ่งหมายสำคัญของการเปลี่ยนตัวโยกย้ายรัฐมนตรีจำนวนหนึ่งคราวนี้ คือการเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ฝ่ายนักปฏิรูปของ เต็ง เส่ง ด้วยการปลดพวกรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยซึ่งถูกมองว่าไม่ได้ให้การสนับสนุนการปฏิรูปอย่างเพียงพอ
**ตัวเลือกในแนวทางสายกลาง**
เนียน ตุน รองประธานาธิบดีคนที่หนึ่ง [1] ใหม่ๆ หมาดๆ ของพม่าผู้นี้ ปัจจุบันอายุ 58 ปี เขาเข้าสู่เส้นทางอาชีพทหารโดยเป็นนักเรียนรุ่นที่ 16 ของสถาบันการป้องกันประเทศ (Defense Services Academy) [2] และสำเร็จการศึกษาในช่วงทศวรรษ 1970 ข้อมูลสาธารณะเกี่ยวกับประวัติการรับราชการทหารของ เนียน ตุน มีอยู่น้อยมาก โดยทราบกันอย่างแน่ชัดเพียงแค่ว่าในช่วงทศวรรษ 1980 นั้น เขาเคยทำงานเป็นระยะเวลาสั้นๆ อยู่ที่กรมการข่าวกรองเพื่อการป้องกันประเทศ (Directorate of Defense Services Intelligence) ซึ่งเป็นชื่อของหน่วยงานด้านการข่าวของฝ่ายทหารในเวลานั้น นอกจากนั้นเขาได้เข้าศึกษาในวิทยาลัยป้องกันประเทศ (National Defense College) อันเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงระดับแนวหน้าของฝ่ายทหาร
ในเดือนมิถุนายน 2008 เขาเข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือต่อจาก พล.ร.ท.โซ เต็ง (Soe Thein) ในตอนนั้นเป็นที่เชื่อกันว่า โซ เต็ง ถูกโยกย้ายเนื่องจากทำงานผิดพลาดในการรับมือกับภัยพิบัติพายุไซโคลน นาร์กิส (Nargis)ในปี 2008 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เขาไม่ได้มีการระดมกำลังทางนาวีเพื่อเตรียมรับมือตอบโต้กับเหล่าเรือรบอเมริกันและเรือรบฝรั่งเศส ซึ่งลอยลำอยู่ใกล้ๆ เขตชายฝั่งของพม่า
เรือรบสหรัฐฯและเรือรบฝรั่งเศสเหล่านี้ประกาศอย่างเปิดเผยว่า มีเจตนาที่จะให้ความช่วยเหลือบรรเทาภัยพิบัติในพม่า ทว่าระบอบปกครองทหารของแดนหม่องในตอนนั้น ซึ่งมีความหวาดวิตกว่าข้อเสนอช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมเช่นนี้ อาจเป็นเพียงฉากหน้าของการรุกรานทางทหาร จึงได้ปฏิเสธไม่ยอมรับทั้งๆ ที่พลเมืองของตนหลายล้านคนกำลังประสบความทุกข์ยากเดือดร้อนแสนสาหัสจากมหาพายุลูกนั้น ตัว เนียน ตุน เองได้เลื่อนยศขึ้นเป็น พล.ร.ท.ในปี 2010 และ พล.ร.อ.ในปี 2012 เขาครองตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ จวบจนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานาธิบดี
หมายเหตุผู้แปล
[1] ตามรัฐธรรมนูญของพม่าฉบับปัจจุบัน นั่นคือ ฉบับปี 2008 ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีซึ่งจะมี 2 คน ไม่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน แต่ได้รับเลือกจากสมาชิกรัฐสภา กระบวนการในการเลือกตั้งนั้น สภาชนชาติ ซึ่งก็คือสภาสูง, สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งก็คือ สภาล่าง, และ สมาชิกรัฐสภาส่วนที่มาจากฝ่ายทหาร (ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดไว้ว่า ที่นั่ง 25% ในทั้ง 2 สภาจะเป็นของฝ่ายทหาร โดยที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดจะเป็นผู้แต่งตั้งทหารเข้าไปนั่งเก้าอี้เหล่านี้) แต่ละฝ่ายจะเสนอชื่อผู้สมควรเป็นประธานาธิบดี 1 คน จากนั้นสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดจะลงคะแนนเลือกบุคคลผู้ได้รับเสนอชื่อทั้ง 3 คนนี้ ผู้ได้คะแนนมากที่สุดจะเป็นประธานาธิบดี ผู้ที่ได้คะแนนรองลงมาเป็นรองประธานาธิบดี โดยที่ผู้ที่ฝ่ายทหารในรัฐสภาเสนอชื่อจะเป็นรองประธานาธิบดีคนที่หนึ่ง
[2] สถาบันการป้องกันประเทศ (Defense Services Academy) เป็นโรงเรียนให้การศึกษาอบรมนักเรียนนายร้อยของทั้ง 3 เหล่าทัพในพม่า ทั้งนี้ระบบของพม่ายังไม่มีการแยกว่าเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบก, ทหารเรือ, หรือทหารอากาศในตอนที่ศึกษาอยู่ แต่จะแยกย้ายเข้าสังกัดเหล่าทัพในเวลาสำเร็จการศึกษา (ข้อมูลจาก Wikipedia)
ไบรอัน แมคคาร์แทน เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระ สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ bpmccartan1@gmail.com
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
New reform balance in Myanmar
By Brian McCartan
16/08/2012
การแต่งตั้ง พล.ร.อ.เนียน ตุน ผู้บัญชาการทหารเรือ ขึ้นเป็นรองประธานาธิบดีคนใหม่ของพม่า ภายหลังที่ผู้เข้ารอบคนเดิมซึ่งเป็นนายทหารสายแข็งกร้าวถูกตัดออกไปเพราะบกพร่องในคุณสมบัติ น่าที่จะช่วยเพิ่มพูนอำนาจบารมีของฝ่ายนักปฏิรูปของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง โดยที่พวกซึ่งโยงใยใกล้ชิดกับอดีตคณะนายทหารใหญ่ผู้ปกครองประเทศ กลายเป็นฝ่ายสูญเสีย กองทัพเรือของพม่านั้นแตกต่างไปจากกองทัพบก ตรงที่มีส่วนร่วมแสดงบทบาทเพียงเล็กน้อยในการปฏิบัติการปราบปรามกวาดล้างการก่อความไม่สงบอย่างโหดเหี้ยมทั้งหลาย นอกจากนั้น เนียน ตุน ยังมีภาพลักษณ์ในระดับนานาชาติที่สะอาดสะอ้าน มิได้ถูกแปดเปื้อนจากข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
ภายหลังจากดำเนินกระบวนการคัดเลือกอันยืดเยื้อยาวนาน พวกสมาชิกรัฐสภาส่วนที่มาจากฝ่ายทหารของพม่า ก็ได้แต่งตั้ง พล.ร.อ.เนียน ตุน (Nyan Tun) ให้เป็นรองประธานาธิบดีคนใหม่ของพม่า ผลการคัดเลือกเช่นนี้น่าที่ช่วยหนุนเสริมให้ฐานะของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นสัญญาณบ่งบอกให้ทราบว่า ฝ่ายทหารมีการปรับเปลี่ยนจุดยืนเกี่ยวกับระเบียบวาระการปฏิรูปอันทะเยอทะยานของเขา
การแต่งตั้งที่ทำให้มีความคาดหวังกันอย่างสูงคราวนี้ บังเกิดขึ้นหลังจากเกิดปัญหาขาดคุณสมบัติของ มิ้นต์ ฉ่วย (Myint Swe) ตัวเก็งคนก่อนหน้านี้ผู้ซึ่งถูกมองว่าเป็นพวกแนวคิดแข็งกร้าวที่สนิทแน่นแฟ้นกับพวกผู้นำอาวุโสของอดีตคณะนายทหารใหญ่ผู้ปกครองประเทศ นอกจากนั้น การแต่งตั้งครั้งนี้ยังเกิดขึ้นท่ามกลางการกะเก็งคาดเดากันอย่างกว้างขวางในเรื่องที่ว่า รองประธานาธิบดีคนใหม่จะทำให้อำนาจบารมีของกลุ่มนักปฏิรูปในรัฐบาลชุดปัจจุบันของพม่ามีความแข็งแรงมากขึ้นหรือว่าจะทำให้อ่อนแอลง
การแต่งตั้ง เนียน ตุน ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (National Assembly) เมื่อวันพุธ (15 ส.ค.) ที่ผ่านมา ล่าช้ากว่าตารางเวลาที่กำหนดกันเอาไว้กว่า 1 เดือน เพื่อเป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขซึ่งระบุเอาไว้ในรัฐธรรมนูญที่ว่า ตัวประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีทั้ง 2 คน จะต้องเป็นพลเรือน เนียน ตุน จึงได้ยื่นใบลาออกจากการเป็นทหารประจำการ ก่อนที่จะทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งใหม่ในวันเดียวกัน ทั้งนี้เขาได้รับการเสนอชื่อเป็นรองประธานาธิบดี จากพวกตัวแทนฝ่ายทหารซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่นั่งในรัฐสภาอยู่ 25% และได้รับการอนุมัติเห็นชอบจาก รองพลเอกอาวุโส มิ้น อ่อง หล่าย (Vice Senior General Min Aung Hlaing) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของพม่า
ตามกระบวนการคัดเลือกแต่งตั้ง ผู้สมัครที่ได้รับการเสนอชื่อ ยังจะต้องผ่านการเห็นชอบอย่างเป็นฉันทามติทั่วไปจากสภากลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติ (National Defense and Security Council) ซึ่งมีประธานาธิบดีเป็นประธาน และสมาชิกประกอบด้วยประธานของสภาทั้งสองของรัฐสภา, รัฐมนตรีคนสำคัญๆ, และผู้บัญชาการและรองผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ ของกองทัพพม่า
ก่อนหน้าที่จะถึงคิวของ เนียน ตุน ในตอนแรกทีเดียวได้มีการเลือกคัด อดีต พล.ท.มิ้นต์ ฉ่วย ซึ่งปัจจุบันเป็นมุขมนตรีเขตย่างกุ้ง (Yangon Division Chief Minister) ขึ้นดำรงตำแหน่งนี้เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แต่แล้วชื่อของ มิ้นต์ ฉ่วย ก็ต้องหลุดออกไปจากการพิจารณาภายหลังที่มีการเปิดเผยว่า บุตรสาวของเขาเป็นผู้ที่ถือสัญชาติออสเตรเลีย โดยที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของพม่าซึ่งก็คือฉบับปี 2008 ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่า ห้ามพลเมืองของพม่าที่มีญาติหรือคู่ครองถือสัญชาติต่างประเทศ ขึ้นเป็นประธานาธิบดีหรือรองประธานาธิบดี
ออกจะเป็นเรื่องน่าหัวเราะเยาะอยู่เหมือนกัน เพราะกฎเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ในตอนแรกทีเดียวได้ถูกพวกฝ่ายค้านและนักเฝ้าจับตาพม่าทั้งหลายมองว่า มันเป็นแผนกโลบายทางกฎหมายที่มุ่งประสงค์จะกีดกัน อองซานซูจี ผู้นำของฝ่ายค้าน ไม่ให้ดำรงตำแหน่งสูงๆ เหล่านี้ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เธอแต่งงานกับ ไมเคิล อาริส (Michael Aris) พลเมืองอังกฤษผู้ซึ่งเวลานี้เสียชีวิตไปแล้ว ตัวซูจีเองได้รับเลือกตั้งเข้าไปนั่งในรัฐสภาในช่วงไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ ภายหลังที่เธอต้องใช้ชีวิตร่วมๆ 16 ปีจากช่วง 21 ปีที่ผ่านมาในสภาพถูกจับกุมคุมขังให้อยู่แต่ภายในบ้านพัก
สำหรับตำแหน่งรองประธานาธิบดีที่เกิดว่างลงในตอนนี้ ก็เนื่องจากการลาออกของ ทิน อ่อง มิ้นต์ อู (Tin Aung Myint Oo) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม โดยที่เขาระบุว่าเป็นเพราะ “เหตุผลทางด้านสุขภาพ” มีรายงานข่าวว่าอดีต พล.อ.ผู้นี้กำลังเจ็บป่วยทุกข์ทรมานจากอาการมะเร็งที่ลำคอ ทว่าก็มีผู้สังเกตการณ์จำนวนมากที่เข้าใจว่า เขาถูกบังคับให้ต้องลงจากเก้าอี้สืบเนื่องจากเขาคัดค้านความพยายามในการปฏิรูปของ เต็ง เส่ง ตัวทิน อ่อง มินต์ อู นั้นได้รับการจับตามองอย่างกว้างขวางว่า เป็นผู้นำของกลุ่มแนวคิดแข็งกร้าวที่ประกอบไปด้วยนายทหารทั้งที่เกษียณไปแล้วและที่ยังประจำการอยู่ในปัจจุบัน นายทหารใหญ่กลุ่มนี้คัดค้านการปฏิรูป อีกทั้งเป็นที่ขึ้นชื่อลือชาในเรื่องพฤติการณ์ทุจริตคอร์รัปชั่น
มีผู้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การลาออกของ ทิน อ่อง มิ้นต์ อู เกิดขึ้นในขณะที่พวกผู้นำอาวุโสในคณะรัฐบาลชุดปัจจุบันพากันออกมาแถลงเรียกร้องให้เหล่าเจ้าหน้าที่ในระดับสูง ช่วยกันทำงานเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการปฏิรูปทางด้านประชาธิปไตย และรับใช้ผลประโยชน์ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ทั้งตัว เต็ง เส่ง และประธานสภาล่าง ฉ่วย มานน์ (Shwe Mann) ต่างก็ออกมาแถลงเมื่อเร็วๆ นี้ ในเรื่องที่ต้องควบคุมตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่นในแวดวงราชการ
การลาออกของ ทิน อ่อง มิ้นต์ อู และการแต่งตั้ง เนียน ตุน ขึ้นเป็นรองประธานาธิบดีแทน ยังมีความสอดคล้องกับกระแสความคาดหมายที่ว่าพม่ากำลังจะมีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรี โดยผู้สังเกตการณ์จำนวนมากเชื่อว่า จุดมุ่งหมายสำคัญของการเปลี่ยนตัวโยกย้ายรัฐมนตรีจำนวนหนึ่งคราวนี้ คือการเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ฝ่ายนักปฏิรูปของ เต็ง เส่ง ด้วยการปลดพวกรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยซึ่งถูกมองว่าไม่ได้ให้การสนับสนุนการปฏิรูปอย่างเพียงพอ
**ตัวเลือกในแนวทางสายกลาง**
เนียน ตุน รองประธานาธิบดีคนที่หนึ่ง [1] ใหม่ๆ หมาดๆ ของพม่าผู้นี้ ปัจจุบันอายุ 58 ปี เขาเข้าสู่เส้นทางอาชีพทหารโดยเป็นนักเรียนรุ่นที่ 16 ของสถาบันการป้องกันประเทศ (Defense Services Academy) [2] และสำเร็จการศึกษาในช่วงทศวรรษ 1970 ข้อมูลสาธารณะเกี่ยวกับประวัติการรับราชการทหารของ เนียน ตุน มีอยู่น้อยมาก โดยทราบกันอย่างแน่ชัดเพียงแค่ว่าในช่วงทศวรรษ 1980 นั้น เขาเคยทำงานเป็นระยะเวลาสั้นๆ อยู่ที่กรมการข่าวกรองเพื่อการป้องกันประเทศ (Directorate of Defense Services Intelligence) ซึ่งเป็นชื่อของหน่วยงานด้านการข่าวของฝ่ายทหารในเวลานั้น นอกจากนั้นเขาได้เข้าศึกษาในวิทยาลัยป้องกันประเทศ (National Defense College) อันเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงระดับแนวหน้าของฝ่ายทหาร
ในเดือนมิถุนายน 2008 เขาเข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือต่อจาก พล.ร.ท.โซ เต็ง (Soe Thein) ในตอนนั้นเป็นที่เชื่อกันว่า โซ เต็ง ถูกโยกย้ายเนื่องจากทำงานผิดพลาดในการรับมือกับภัยพิบัติพายุไซโคลน นาร์กิส (Nargis)ในปี 2008 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เขาไม่ได้มีการระดมกำลังทางนาวีเพื่อเตรียมรับมือตอบโต้กับเหล่าเรือรบอเมริกันและเรือรบฝรั่งเศส ซึ่งลอยลำอยู่ใกล้ๆ เขตชายฝั่งของพม่า
เรือรบสหรัฐฯและเรือรบฝรั่งเศสเหล่านี้ประกาศอย่างเปิดเผยว่า มีเจตนาที่จะให้ความช่วยเหลือบรรเทาภัยพิบัติในพม่า ทว่าระบอบปกครองทหารของแดนหม่องในตอนนั้น ซึ่งมีความหวาดวิตกว่าข้อเสนอช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมเช่นนี้ อาจเป็นเพียงฉากหน้าของการรุกรานทางทหาร จึงได้ปฏิเสธไม่ยอมรับทั้งๆ ที่พลเมืองของตนหลายล้านคนกำลังประสบความทุกข์ยากเดือดร้อนแสนสาหัสจากมหาพายุลูกนั้น ตัว เนียน ตุน เองได้เลื่อนยศขึ้นเป็น พล.ร.ท.ในปี 2010 และ พล.ร.อ.ในปี 2012 เขาครองตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ จวบจนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานาธิบดี
หมายเหตุผู้แปล
[1] ตามรัฐธรรมนูญของพม่าฉบับปัจจุบัน นั่นคือ ฉบับปี 2008 ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีซึ่งจะมี 2 คน ไม่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน แต่ได้รับเลือกจากสมาชิกรัฐสภา กระบวนการในการเลือกตั้งนั้น สภาชนชาติ ซึ่งก็คือสภาสูง, สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งก็คือ สภาล่าง, และ สมาชิกรัฐสภาส่วนที่มาจากฝ่ายทหาร (ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดไว้ว่า ที่นั่ง 25% ในทั้ง 2 สภาจะเป็นของฝ่ายทหาร โดยที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดจะเป็นผู้แต่งตั้งทหารเข้าไปนั่งเก้าอี้เหล่านี้) แต่ละฝ่ายจะเสนอชื่อผู้สมควรเป็นประธานาธิบดี 1 คน จากนั้นสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดจะลงคะแนนเลือกบุคคลผู้ได้รับเสนอชื่อทั้ง 3 คนนี้ ผู้ได้คะแนนมากที่สุดจะเป็นประธานาธิบดี ผู้ที่ได้คะแนนรองลงมาเป็นรองประธานาธิบดี โดยที่ผู้ที่ฝ่ายทหารในรัฐสภาเสนอชื่อจะเป็นรองประธานาธิบดีคนที่หนึ่ง
[2] สถาบันการป้องกันประเทศ (Defense Services Academy) เป็นโรงเรียนให้การศึกษาอบรมนักเรียนนายร้อยของทั้ง 3 เหล่าทัพในพม่า ทั้งนี้ระบบของพม่ายังไม่มีการแยกว่าเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบก, ทหารเรือ, หรือทหารอากาศในตอนที่ศึกษาอยู่ แต่จะแยกย้ายเข้าสังกัดเหล่าทัพในเวลาสำเร็จการศึกษา (ข้อมูลจาก Wikipedia)
ไบรอัน แมคคาร์แทน เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระ สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ bpmccartan1@gmail.com
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)