(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Slowing China growth lifts stimulus prospect
By Robert M Cutler
16/07/2012
รัฐบาลจีนอาจจะกำลังพิจารณาดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจของตนต่อไปอีก ภายหลังที่อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสสองของปีนี้อยู่ในระดับเชื่องช้าที่สุดในรอบ 3 ปี แต่กระนั้นประวัติศาสตร์ก็สอนให้โลกตั้งคำถามเอากับตัวเลขข้อมูลของทางการแดนมังกร และดังนั้นการกลับกระเตื้องขึ้นมาของระยะเวลา 6 เดือนข้างหน้านี้ จึงอาจจะเพียงพอทำให้ระดับการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในตลอดทั้งปี 2012 นี้ทะลุเกินกว่าเป้าหมาย 7.5% ที่ตั้งเอาไว้
มอนทรีออล, แคนาดา – อัตราการเติบโตขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนในช่วงไตรมาสสองของปีนี้กลายเป็นข่าวพาดหัว เนื่องจากอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 3 ปี ทั้งนี้ตามตัวเลขของทางการที่นำออกเผยแพร่ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี เครื่องบ่งชี้ตัวอื่นๆ กลับส่งสัญญาณที่สับสนไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้โอกาสความเป็นไปได้ที่ทางการแดนมังกรจะมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นอีกยังไม่ถึงกับชัดเจนแน่นอนเสียทีเดียว
ในรอบไตรมาสสอง (เม.ย.-มิ.ย.) ปีนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของจีนเพิ่มขึ้นมา 7.6% เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว และสูงขึ้น 1.8% หากวัดกับไตรมาสแรกของปีนี้เอง ทั้งนี้นับเป็นไตรมาสที่ 6 ต่อเนื่องกันแล้วที่ตัวเลขอัตราการเติบโตแบบเทียบปีต่อปีอยู่ในสภาพลดต่ำลงมา ก่อนหน้านี้คือเมื่อเดือนมีนาคม รัฐบาลแดนมังกรก็ได้ปรับลดเป้าหมายอัตราเติบโตของจีดีพีตลอดทั้งปีนี้มาอยู่ที่ 7.5% ต่ำลงจากระดับมาตรฐาน 8% ซึ่งเคยตั้งเอาไว้สำหรับปีก่อนๆ ย้อนหลังกลับไปได้จนถึงปี 2005 ทีเดียว
เป็นเวลาหลายๆ ปีมาแล้ว มีข้อโต้แย้งประการหนึ่งที่มีการหยิบยกขึ้นมาอ้างอิงกันกันชินหูซึ่งระบุว่า เศรษฐกิจจีนจะต้องเติบโตขยายตัวให้ได้อย่างน้อย 8% ต่อปี จึงจะสร้างงานได้เป็นปริมาณเพียงพอที่จะไม่ให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดความไม่สงบทางสังคมขึ้นมา ครั้นมาถึงราวๆ ปีที่แล้ว ตัวเลขดังกล่าวนี้ก็ถูกหดลดลงมาเหลือ 7.5% ในเรื่องเป้าหมายต่างๆ ของทางการจีนโดยทั่วไปก็อยู่ในทำนองเดียวกันนี้ คือเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นตัวเลขซึ่งรัฐบาลจีนรู้สึกพออกพอใจ และมักเกินเลยไปกว่าตัวข้อมูลสถิติขั้นสุดท้าย ด้วยเหตุนี้เอง เสียงฉันทามติจึงคาดหมายกันว่าเศรษฐกิจจีนจะกระเตื้องฟื้นตัวขึ้นมาในระยะครึ่งหลังของปีนี้ โดยเป็นไปได้ว่าอาจจะถึงขนาดส่งผลทำให้จีดีพีตลอดทั้งปี 2012 ไต่ขึ้นแรงเกินระดับ 8% ด้วยซ้ำ ถึงแม้เมื่อเปรียบเทียบแล้วยังคงอยู่ในแนวโน้มชะลอตัวลงมาตามลำดับ กล่าวคือในปี 2011 นั้น เศรษฐกิจแดนมังกรเติบโตในอัตรา 9.2% เมื่อเทียบกับปี 2010 ส่วนในปี 2010 ก็ขยายตัวด้วยอัตรา 10.4% หากวัดกับปี 2009
กระนั้นก็ตามที ข้อมูลตัวเลขจีดีพีไตรมาสล่าสุด อย่างไรเสียก็เพิ่มโอกาสความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะดำเนินมาตรการเพิ่มมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ก็ได้ออกมาพูดเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ เขากล่าวว่า “ยังไม่สามารถสร้างโมเมนตัมเพื่อให้เศรษฐกิจมีการกระเตื้องฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพขึ้นมาได้” ขณะเดียวกัน “พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบก็จะยังรักษาและยังบังคับใช้มาตรการควบคุมด้านอสังหาริมทรัพย์ ‘อย่างไม่มีการโอนเอน’ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ระดับราคาทะยานขึ้นมาอีก” รายงานของสำนักข่าวซินหวาระบุเอาไว้เช่นนี้
ความพยายามต่างๆ ของรัฐบาลแดนมังกรในการสกัดกั้นการเก็งกำไรด้านอสังหาริมทรัพย์นั้น ได้ทำให้ระดับราคาหล่นลงมาอย่างชนิดต่อเนื่อง ถึงแม้ดูเหมือนยอดขายบ้านมีการกระเตื้องขึ้นมาแล้ว สภาพเช่นนี้มีผลดีในเรื่องการฉุดรั้งให้ภาวะเงินเฟ้อโดยรวมลดลง ดังเห็นได้ว่าอัตราเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index หรือ CPI) ในเดือนมิถุนายน ถอยลงมาต่ำกว่าที่คาดหมายกัน โดยอยู่ที่ระดับ 2.2% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนหน้า ขณะที่ในระยะเวลา 3 เดือนก่อนหน้านี้ CPI อยู่ในระดับ 3%, 3.4%, และ 3.6% ตามลำดับ ทั้งนี้ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (National Bureau of Statistics) ของจีน ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer Price Index หรือ PPI) ก็ลดต่ำลง 0.7% ในเดือนมิถุนายน ภายหลังจากถอยลงมา 1.4%, 0.7%, และ 0.3% ตามลำดับในระยะ 3 เดือนก่อนหน้านั้น
เมื่อเดือนมีนาคม รัฐบาลได้ประกาศตั้งเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อสำหรับปีนี้เอาไว้ที่ 4% เมื่อภาวะเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดต่ำลงเช่นนี้ ก็จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่การใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมขึ้นอีก หนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี่ (China Daily) ได้อ้างความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ผู้หนึ่งในศูนย์สารสนเทศแห่งรัฐ (State Information Center) ซึ่งคาดการณ์ว่าธนาคารกลางของจีนอาจจะลดดอกเบี้ยต่อไปอีกไม่เกิน 2 ครั้งในปีนี้ ทั้งนี้หลังจากที่ในช่วงต้นเดือนนี้ก็ได้ลดไปครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 ของปีนี้แล้ว สำหรับการผ่อนคลายด้วยมาตรการลดอัตราส่วนการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องนั้น นักเศรษฐศาสตร์ผู้นี้ทำนายว่า ธนาคารกลางยังอาจจะลดต่อไปอีกไม่เกิน 3 ครั้งในปีนี้ เพิ่มเติมขึ้นจากที่ได้ลดไปแล้ว 3 รอบนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วเป็นต้นมา
ความคิดเห็นกระแสหลักในเวลานี้มีอยู่ว่า จากการลดอัตราส่วนการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง บวกกับการลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงเช่นนี้ ย่อมทำให้อุปสงค์ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยกลับเพิ่มขึ้นมาอีกนิด และดังนั้นจึงน่าจะตีความได้ว่า มันเป็นสัญญาณบ่งชี้ให้เห็นว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจน่าจะกำลังเริ่มมีเสถียรภาพแล้ว ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าสำหรับระบอบปกครองของแดนมังกรแล้ว คำว่า “เสถียรภาพ” เป็นคำที่สำคัญมาก
นายกฯเวินก็กล่าวในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า เศรษฐกิจจีนในเวลานี้กำลังดำเนินไป “ด้วยฝีก้าวที่เชื่องช้าลงแต่ก็มีเสถียรภาพมากขึ้น” ถึงแม้เขายังคงเรียกร้องให้ช่วยกันทำให้เศรษฐกิจเพิ่ม “ความมีชีวิตชีวิตและความคึกคัก” ขึ้นกว่านี้ อีกทั้งเตือนด้วยว่า “ความยากลำบาก” ยังจะดำรงคงอยู่อย่างต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง ถึงแม้ “นโยบายแห่งการก่อให้เกิดเสถียรภาพกำลังบังเกิดผล” ก็ตามที
อย่างไรก็ตาม ต่ง เถา (Dong Tao) แห่ง เครดีต์ สวิส กรุ๊ป (Credit Suisse Group) ในฮ่องกง ให้ความเห็นอันน่าสนใจกับ บลูมเบิร์ก นิวส์ (Bloomberg News) ว่า “คำถามไม่ได้อยู่ที่ว่าเศรษฐกิจจีนจะลดถอยลงไปลึกขนาดไหน แต่อยู่ที่ว่ามันจะยังขยายตัวด้วยอัตราต่ำๆ เช่นนี้ไปอีกนานแค่ไหนต่างหาก” เนื่องจาก “จีนมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง ไม่ใช่แค่อาศัยเพียงการขยายตัวทางการเงินหรือการขยายตัวทางการคลังเท่านั้น”
พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของจีนได้พูดให้เป็นที่กระจ่างแจ้งใสชัดแล้วว่า แผนการกระตุ้นของพวกเขาในเวลานี้ มีเป้าหมายอยู่ที่ผลประกอบการทางเศรษฐกิจในปัจจุบันของจีนเอง แผนการเหล่านี้มิได้จัดทำขึ้นมาอย่างเจาะจงให้เป็นการส่งเสริมสนับสนุนการเติบโตขยายตัวของทั่วโลก แบบที่แดนมังกรเคยกระทำในช่วงวิกฤตภาคการเงินโลกปี 2008-09 ทั้งนี้ มาตรการกระตุ้นของจีนซึ่งได้ประกาศใช้ในระยะหลายๆ เดือนหลังมานี้ ก็มีดังเช่น การลดหย่อนภาษี และการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร ตลอดจนการเร่งรัดกระบวนการในการอนุมัติการก่อสร้างพวกโครงสร้างพื้นฐาน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกทางรถไฟใต้ดิน, สนามบิน, และทางรถไฟ)
กระนั้น การลงทุนด้านสินทรัพย์ถาวร ยังคงกำลังอยู่ในระดับต่ำกว่าอัตราตลอดทั้งปีของปีก่อนๆ โดยที่ในเดือนมิถุนายนมีการเติบโตในด้านนี้ 20.4%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และพอๆ กับระดับเฉลี่ยของตลอด 6 เดือนแรกของปีนี้ ขณะที่อัตราของตลอดทั้งปี 2011 และ 2010 นั้นอยู่ที่ 23.8%
ข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่มีการเผยแพร่ออกมาก็ดูมีความสับสนไม่มีทิศทางที่ชัดเจนเช่นเดียวกัน กล่าวคือ ผลผลิตทางอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายนมีอัตราเติบโต 9.5% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ถอยลงมาจากระดับ 9.6% ในเดือนพฤษภาคม ทว่าการปล่อยเงินกู้ของธนาคารในเดือนมิถุนายน กลับเพิ่มขึ้นอย่างผิดความคาดหมาย โดยไปอยู่ที่ 919,000 ล้านหยวน จากระดับ 793,000 ล้านหยวนในเดือนพฤษภาคม อีกทั้งสูงกว่าตัวเลข 880,000 ล้านหยวน ซึ่งบลูมเบิร์ก นิวส์ ได้มาจากการสำรวจการประมาณการของพวกผู้ชำนาญการในเรื่องนี้ ทางด้านตัวเลขดุลการค้าที่เผยแพร่โดยสำนักงานศุลกากร (General Administration of Customs) ปรากฏว่าในไตรมาสสอง จีนได้เปรียบดุลการค้าอยู่ 63,400 ล้านดอลลาร์ ดีกว่าแบบทิ้งห่างจากไตรมาสแรกซึ่งได้เปรียบเพียง 670 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ยอดการส่งออกโดยรวมในเดือนมิถุนายนสูงขึ้น 11.7% จากระยะเดียวกันของปีก่อนหน้า ส่วนยอดนำเข้าสูงขึ้น 6.3%
ดร. โรเบิร์ต เอ็ม คัตเลอร์ http://www.robertcutler.org) สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) และมหาวิทยามิชิแกน และได้ทำงานวิจัยกับเป็นผู้บรรยายให้แก่มหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และรัสเซีย ปัจจุบันเป็นนักวิจัยอาวุโสของสถาบันยุโรป รัสเซีย และ ยูเรเชียศึกษา (Institute of European, Russian and Eurasian Studies) ซึ่งสังกัดอยู่ในมหาวิทยาลัยคาร์ลตัน ( Carleton University) ประเทศแคนาดา พร้อมกับนี้เขายังให้คำปรึกษาเป็นการส่วนตัวในหลายสาขา
Slowing China growth lifts stimulus prospect
By Robert M Cutler
16/07/2012
รัฐบาลจีนอาจจะกำลังพิจารณาดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจของตนต่อไปอีก ภายหลังที่อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสสองของปีนี้อยู่ในระดับเชื่องช้าที่สุดในรอบ 3 ปี แต่กระนั้นประวัติศาสตร์ก็สอนให้โลกตั้งคำถามเอากับตัวเลขข้อมูลของทางการแดนมังกร และดังนั้นการกลับกระเตื้องขึ้นมาของระยะเวลา 6 เดือนข้างหน้านี้ จึงอาจจะเพียงพอทำให้ระดับการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในตลอดทั้งปี 2012 นี้ทะลุเกินกว่าเป้าหมาย 7.5% ที่ตั้งเอาไว้
มอนทรีออล, แคนาดา – อัตราการเติบโตขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนในช่วงไตรมาสสองของปีนี้กลายเป็นข่าวพาดหัว เนื่องจากอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 3 ปี ทั้งนี้ตามตัวเลขของทางการที่นำออกเผยแพร่ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี เครื่องบ่งชี้ตัวอื่นๆ กลับส่งสัญญาณที่สับสนไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้โอกาสความเป็นไปได้ที่ทางการแดนมังกรจะมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นอีกยังไม่ถึงกับชัดเจนแน่นอนเสียทีเดียว
ในรอบไตรมาสสอง (เม.ย.-มิ.ย.) ปีนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของจีนเพิ่มขึ้นมา 7.6% เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว และสูงขึ้น 1.8% หากวัดกับไตรมาสแรกของปีนี้เอง ทั้งนี้นับเป็นไตรมาสที่ 6 ต่อเนื่องกันแล้วที่ตัวเลขอัตราการเติบโตแบบเทียบปีต่อปีอยู่ในสภาพลดต่ำลงมา ก่อนหน้านี้คือเมื่อเดือนมีนาคม รัฐบาลแดนมังกรก็ได้ปรับลดเป้าหมายอัตราเติบโตของจีดีพีตลอดทั้งปีนี้มาอยู่ที่ 7.5% ต่ำลงจากระดับมาตรฐาน 8% ซึ่งเคยตั้งเอาไว้สำหรับปีก่อนๆ ย้อนหลังกลับไปได้จนถึงปี 2005 ทีเดียว
เป็นเวลาหลายๆ ปีมาแล้ว มีข้อโต้แย้งประการหนึ่งที่มีการหยิบยกขึ้นมาอ้างอิงกันกันชินหูซึ่งระบุว่า เศรษฐกิจจีนจะต้องเติบโตขยายตัวให้ได้อย่างน้อย 8% ต่อปี จึงจะสร้างงานได้เป็นปริมาณเพียงพอที่จะไม่ให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดความไม่สงบทางสังคมขึ้นมา ครั้นมาถึงราวๆ ปีที่แล้ว ตัวเลขดังกล่าวนี้ก็ถูกหดลดลงมาเหลือ 7.5% ในเรื่องเป้าหมายต่างๆ ของทางการจีนโดยทั่วไปก็อยู่ในทำนองเดียวกันนี้ คือเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นตัวเลขซึ่งรัฐบาลจีนรู้สึกพออกพอใจ และมักเกินเลยไปกว่าตัวข้อมูลสถิติขั้นสุดท้าย ด้วยเหตุนี้เอง เสียงฉันทามติจึงคาดหมายกันว่าเศรษฐกิจจีนจะกระเตื้องฟื้นตัวขึ้นมาในระยะครึ่งหลังของปีนี้ โดยเป็นไปได้ว่าอาจจะถึงขนาดส่งผลทำให้จีดีพีตลอดทั้งปี 2012 ไต่ขึ้นแรงเกินระดับ 8% ด้วยซ้ำ ถึงแม้เมื่อเปรียบเทียบแล้วยังคงอยู่ในแนวโน้มชะลอตัวลงมาตามลำดับ กล่าวคือในปี 2011 นั้น เศรษฐกิจแดนมังกรเติบโตในอัตรา 9.2% เมื่อเทียบกับปี 2010 ส่วนในปี 2010 ก็ขยายตัวด้วยอัตรา 10.4% หากวัดกับปี 2009
กระนั้นก็ตามที ข้อมูลตัวเลขจีดีพีไตรมาสล่าสุด อย่างไรเสียก็เพิ่มโอกาสความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะดำเนินมาตรการเพิ่มมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ก็ได้ออกมาพูดเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ เขากล่าวว่า “ยังไม่สามารถสร้างโมเมนตัมเพื่อให้เศรษฐกิจมีการกระเตื้องฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพขึ้นมาได้” ขณะเดียวกัน “พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบก็จะยังรักษาและยังบังคับใช้มาตรการควบคุมด้านอสังหาริมทรัพย์ ‘อย่างไม่มีการโอนเอน’ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ระดับราคาทะยานขึ้นมาอีก” รายงานของสำนักข่าวซินหวาระบุเอาไว้เช่นนี้
ความพยายามต่างๆ ของรัฐบาลแดนมังกรในการสกัดกั้นการเก็งกำไรด้านอสังหาริมทรัพย์นั้น ได้ทำให้ระดับราคาหล่นลงมาอย่างชนิดต่อเนื่อง ถึงแม้ดูเหมือนยอดขายบ้านมีการกระเตื้องขึ้นมาแล้ว สภาพเช่นนี้มีผลดีในเรื่องการฉุดรั้งให้ภาวะเงินเฟ้อโดยรวมลดลง ดังเห็นได้ว่าอัตราเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index หรือ CPI) ในเดือนมิถุนายน ถอยลงมาต่ำกว่าที่คาดหมายกัน โดยอยู่ที่ระดับ 2.2% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนหน้า ขณะที่ในระยะเวลา 3 เดือนก่อนหน้านี้ CPI อยู่ในระดับ 3%, 3.4%, และ 3.6% ตามลำดับ ทั้งนี้ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (National Bureau of Statistics) ของจีน ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer Price Index หรือ PPI) ก็ลดต่ำลง 0.7% ในเดือนมิถุนายน ภายหลังจากถอยลงมา 1.4%, 0.7%, และ 0.3% ตามลำดับในระยะ 3 เดือนก่อนหน้านั้น
เมื่อเดือนมีนาคม รัฐบาลได้ประกาศตั้งเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อสำหรับปีนี้เอาไว้ที่ 4% เมื่อภาวะเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดต่ำลงเช่นนี้ ก็จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่การใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมขึ้นอีก หนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี่ (China Daily) ได้อ้างความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ผู้หนึ่งในศูนย์สารสนเทศแห่งรัฐ (State Information Center) ซึ่งคาดการณ์ว่าธนาคารกลางของจีนอาจจะลดดอกเบี้ยต่อไปอีกไม่เกิน 2 ครั้งในปีนี้ ทั้งนี้หลังจากที่ในช่วงต้นเดือนนี้ก็ได้ลดไปครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 ของปีนี้แล้ว สำหรับการผ่อนคลายด้วยมาตรการลดอัตราส่วนการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องนั้น นักเศรษฐศาสตร์ผู้นี้ทำนายว่า ธนาคารกลางยังอาจจะลดต่อไปอีกไม่เกิน 3 ครั้งในปีนี้ เพิ่มเติมขึ้นจากที่ได้ลดไปแล้ว 3 รอบนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วเป็นต้นมา
ความคิดเห็นกระแสหลักในเวลานี้มีอยู่ว่า จากการลดอัตราส่วนการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง บวกกับการลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงเช่นนี้ ย่อมทำให้อุปสงค์ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยกลับเพิ่มขึ้นมาอีกนิด และดังนั้นจึงน่าจะตีความได้ว่า มันเป็นสัญญาณบ่งชี้ให้เห็นว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจน่าจะกำลังเริ่มมีเสถียรภาพแล้ว ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าสำหรับระบอบปกครองของแดนมังกรแล้ว คำว่า “เสถียรภาพ” เป็นคำที่สำคัญมาก
นายกฯเวินก็กล่าวในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า เศรษฐกิจจีนในเวลานี้กำลังดำเนินไป “ด้วยฝีก้าวที่เชื่องช้าลงแต่ก็มีเสถียรภาพมากขึ้น” ถึงแม้เขายังคงเรียกร้องให้ช่วยกันทำให้เศรษฐกิจเพิ่ม “ความมีชีวิตชีวิตและความคึกคัก” ขึ้นกว่านี้ อีกทั้งเตือนด้วยว่า “ความยากลำบาก” ยังจะดำรงคงอยู่อย่างต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง ถึงแม้ “นโยบายแห่งการก่อให้เกิดเสถียรภาพกำลังบังเกิดผล” ก็ตามที
อย่างไรก็ตาม ต่ง เถา (Dong Tao) แห่ง เครดีต์ สวิส กรุ๊ป (Credit Suisse Group) ในฮ่องกง ให้ความเห็นอันน่าสนใจกับ บลูมเบิร์ก นิวส์ (Bloomberg News) ว่า “คำถามไม่ได้อยู่ที่ว่าเศรษฐกิจจีนจะลดถอยลงไปลึกขนาดไหน แต่อยู่ที่ว่ามันจะยังขยายตัวด้วยอัตราต่ำๆ เช่นนี้ไปอีกนานแค่ไหนต่างหาก” เนื่องจาก “จีนมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง ไม่ใช่แค่อาศัยเพียงการขยายตัวทางการเงินหรือการขยายตัวทางการคลังเท่านั้น”
พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของจีนได้พูดให้เป็นที่กระจ่างแจ้งใสชัดแล้วว่า แผนการกระตุ้นของพวกเขาในเวลานี้ มีเป้าหมายอยู่ที่ผลประกอบการทางเศรษฐกิจในปัจจุบันของจีนเอง แผนการเหล่านี้มิได้จัดทำขึ้นมาอย่างเจาะจงให้เป็นการส่งเสริมสนับสนุนการเติบโตขยายตัวของทั่วโลก แบบที่แดนมังกรเคยกระทำในช่วงวิกฤตภาคการเงินโลกปี 2008-09 ทั้งนี้ มาตรการกระตุ้นของจีนซึ่งได้ประกาศใช้ในระยะหลายๆ เดือนหลังมานี้ ก็มีดังเช่น การลดหย่อนภาษี และการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร ตลอดจนการเร่งรัดกระบวนการในการอนุมัติการก่อสร้างพวกโครงสร้างพื้นฐาน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกทางรถไฟใต้ดิน, สนามบิน, และทางรถไฟ)
กระนั้น การลงทุนด้านสินทรัพย์ถาวร ยังคงกำลังอยู่ในระดับต่ำกว่าอัตราตลอดทั้งปีของปีก่อนๆ โดยที่ในเดือนมิถุนายนมีการเติบโตในด้านนี้ 20.4%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และพอๆ กับระดับเฉลี่ยของตลอด 6 เดือนแรกของปีนี้ ขณะที่อัตราของตลอดทั้งปี 2011 และ 2010 นั้นอยู่ที่ 23.8%
ข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่มีการเผยแพร่ออกมาก็ดูมีความสับสนไม่มีทิศทางที่ชัดเจนเช่นเดียวกัน กล่าวคือ ผลผลิตทางอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายนมีอัตราเติบโต 9.5% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ถอยลงมาจากระดับ 9.6% ในเดือนพฤษภาคม ทว่าการปล่อยเงินกู้ของธนาคารในเดือนมิถุนายน กลับเพิ่มขึ้นอย่างผิดความคาดหมาย โดยไปอยู่ที่ 919,000 ล้านหยวน จากระดับ 793,000 ล้านหยวนในเดือนพฤษภาคม อีกทั้งสูงกว่าตัวเลข 880,000 ล้านหยวน ซึ่งบลูมเบิร์ก นิวส์ ได้มาจากการสำรวจการประมาณการของพวกผู้ชำนาญการในเรื่องนี้ ทางด้านตัวเลขดุลการค้าที่เผยแพร่โดยสำนักงานศุลกากร (General Administration of Customs) ปรากฏว่าในไตรมาสสอง จีนได้เปรียบดุลการค้าอยู่ 63,400 ล้านดอลลาร์ ดีกว่าแบบทิ้งห่างจากไตรมาสแรกซึ่งได้เปรียบเพียง 670 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ยอดการส่งออกโดยรวมในเดือนมิถุนายนสูงขึ้น 11.7% จากระยะเดียวกันของปีก่อนหน้า ส่วนยอดนำเข้าสูงขึ้น 6.3%
ดร. โรเบิร์ต เอ็ม คัตเลอร์ http://www.robertcutler.org) สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) และมหาวิทยามิชิแกน และได้ทำงานวิจัยกับเป็นผู้บรรยายให้แก่มหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และรัสเซีย ปัจจุบันเป็นนักวิจัยอาวุโสของสถาบันยุโรป รัสเซีย และ ยูเรเชียศึกษา (Institute of European, Russian and Eurasian Studies) ซึ่งสังกัดอยู่ในมหาวิทยาลัยคาร์ลตัน ( Carleton University) ประเทศแคนาดา พร้อมกับนี้เขายังให้คำปรึกษาเป็นการส่วนตัวในหลายสาขา