(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
China eases bank lending
By Robert M Cutler
15/05/2012
จีนตัดสินใจผ่อนคลายให้ภาคธนาคารปล่อยกู้ได้มากขึ้น ภายหลังเศรษฐกิจกำลังแสดงอาการอ่อนแออย่างไม่คาดหมาย โดยที่ภาคการผลิตมีอัตราเติบโตอันซวนเซ ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรก็ไม่ค่อยดี ถึงแม้ยังคงมีจุดสดใสอยู่จุดหนึ่ง นั่นก็คือ อัตราเงินเฟ้อลดดิ่งลงไปอีก
มอนทรีออล, แคนาดา–ประเทศ จีนตัดสินใจเพิ่มปริมาณเงินทุนที่พวกธนาคารต่างๆ สามารถปล่อยกู้ได้ สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงการตอบสนองอย่างรีบเร่งต่อข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจล่าสุด ซึ่งบ่งบอกให้เห็นภาวะความอ่อนแออย่างไม่คาดหมาย อีกทั้งส่อแสดงให้เห็นด้วยว่า ภาวะเข้าสู่ความมีเสถียรภาพที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคมปีนี้ เป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วคราว ในเมื่ออุปสงค์สุดท้าย (final demand) ยังคงลดถอยลงเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้ง
ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (People's Bank of China หรือ PBoC) ซึ่งเป็นธนาคารกลางของแดนมังกร ได้ออกประกาศในวันเสาร์(12 พ.ค.) ที่ผ่านมา ตัดลดอัตราส่วนการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง (reserve ratio requirement) ลงมาอีก 0.5% นั่นคือจาก 20.5% เหลือ 20.0% เริ่มตั้งแต่วันศุกร์(18พ.ค.)นี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณการปล่อยกู้ของภาคธนาคารในเดือนเมษายนระบุว่าได้ลดต่ำลงมาอยู่ที่ระดับ 108,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ น้อยกว่าตัวเลขที่คาดหมายพยากรณ์กันถึง 15% ภายหลังจากได้พุ่งแรงไปอยู่ที่ระดับ 160,000 ล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคม ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขสูงที่สุดตั้งแต่เดือนมกราคม 2011 เป็นต้นมา
อัตราส่วนการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง คือตัวกำหนดปริมาณเงินสดและสภาพคล่องทั้งหลายที่พวกธนาคารจะต้องถือเอาไว้เป็นทุนสำรอง และการหั่นลดในวันเสาร์ที่ผ่านมา นับเป็นการลดครั้งที่ 3 แล้วในรอบระยะเวลา 6 เดือน แบงก์ชาติของจีนเริ่มต้นการหั่นอัตราส่วนนี้ในระลอกนี้เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการหั่นลดครั้งแรกในช่วงเวลา 3 ปี ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีนนั้นวาดหวังว่า การตัดลดเช่นนี้จะส่งผลช่วยให้บรรลุเป้าหมายที่จะทำให้ปริมาณเงินมีอัตราเติบโต 14% ในรอบปีปฏิทินปัจจุบัน หลังจากที่ทิศทางแนวโน้มกำลังทำท่าจะอ่อนแรงเกินไปสักหน่อย
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า สตีเฟน เจน เอสแอลเจ แมคโคร พาร์ตเนอร์ส (Stephen Jen SLJ Macro Partners) เห็นด้วยกับการใช้นโยบายลดอัตราส่วนการดำรงสินเชื่อสภาพคล่องเช่นนี้ โดยเรียกว่า เป็นการ “ตอบโต้ ... อย่างแข็งกร้าวและเป็นไปในเชิงรุก” มากกว่าที่พวกนักวิเคราะห์เคยคาดหมายกันไว้ ขณะที่ผู้สังเกตการณ์บางคนทำนายต่อไปว่า น่าจะมีการหั่นลดเช่นนี้ต่อไปอีกสักไม่เกิน 3 ครั้งก่อนสิ้นปีนี้ และน่าจะลงมือลดในเร็ววันมากกว่าปล่อยให้เนิ่นช้าออกไป
การผ่อนคลายให้ธนาคารดำรงทุนสำรองต่ำลงมาเช่นนี้ บังเกิดขึ้นหลังจากมีการเผยแพร่ข้อมูลตัวเลขซึ่งแสดงให้เห็นว่า การผลิตทางอุตสาหกรรมในเดือนเมษายนมีอัตราเติบโตเพียง 9.3% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนหน้า นับเป็นอัตราเชื่องช้าที่สุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2009 และถอยลงจากอัตราเติบโตที่ 11.9% ในเดือนมีนาคม การผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งพวกนักวิเคราะห์มักใช้เป็นตัวสอบทานความถูกต้องของตัวเลขการผลิตทางอุตสาหกรรมนั้น ก็ถอยลงมาอยู่ที่ 0.7% ในเดือนเมษายน ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 3 ปีเช่นเดียวกัน และลดลงฮวบฮาบจากตัวเลขของเดือนมีนาคม ซึ่งเพิ่มขึ้น 7.2% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนหน้า
ข้อมูลสถิติทางด้านการลงทุนใหม่ๆ ก็เป็นเรื่องที่ชวนให้เกิดความวิตกเช่นเดียวกัน ในเมื่อการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในรอบ 4 เดือนแรกของปี 2012 มีอัตราเติบโตลดลงมาเหลือ 20.9% หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และก็ชะลอลงมาจากระดับ 20.9% ของระยะเฉพาะ 3 เดือนแรกของปีนี้ การลงทุนในระบบรางรถไฟที่มีรัฐบาลเป็นผู้นำนั้นหล่นลงไปอย่างน่าตื่นตะลึงถึง 43.6% ทีเดียวเมื่อเปรียบกับระยะเดียวกันของปี 2011 ทั้งนี้การลงทุนในภาคนี้กำลังชะลอตัว ภายหลังช่วงเวลาที่เกิดกรณีรถไฟชนกันและเรื่องอื้อฉาวทุจริตคอร์รัปชั่นครั้งแล้วครั้งเล่า
ในส่วนภาคอสังหาริมทรัพย์ ระยะเดือนมกราคมถึงเมษายนปีนี้ อัตราการขยายตัวก็หล่นวูบลงมาอยู่ที่ระดับ 18.7% ถ้าเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน และซวนเซลงจากอัตราเติบโต 23.5% ที่ทำไว้ในเฉพาะรอบ 3 เดือนแรกของปีนี้ ไม่ว่ายอดขายบ้านหรือยอดพื้นที่การก่อสร้างล้วนแล้วแต่ต่ำลงอย่างฮวบฮาบ มูลค่าธุรกรรมการขายบ้านตกลงมา 16% ในเดือนเมษายนเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม
ด้านตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Managers Index หรือ PMI) ซึ่งในจีนมีผู้จัดทำและเป็นที่เชื่อถือติดตามกันอยู่ 2 ตัวนั้น ถึงแม้ในเดือนเมษายนนี้ต่างแสดงอาการกระเตื้องขึ้นจากเดือนก่อนหน้านั้น แต่ก็ยังคงบ่งบอกอาการของเศรษฐกิจที่ผิดแผกกันอยู่ ทั้งนี้ถือกันว่า PMI จะเป็นเครื่องบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจในอนาคตไม่ไกลนักข้างหน้า โดยถ้าตัวเลขดัชนีเกินระดับ 50 แสดงว่าเศรษฐกิจจะเติบโตขยายตัว แต่ถ้าต่ำกว่า 50 ก็ส่งสัญญาณถึงทิศทางว่าจะย่ำแย่ ปรากฏว่าดัชนี PMI ซึ่งจัดทำและเผยแพร่โดย สหพันธ์โลจิสติกส์และการวางแผนแห่งประเทศจีน (China Federation of Logistics and Planning) ที่สอบถามความคิดเห็นของพวกรัฐวิสาหกิจและกิจการขนาดใหญ่เป็นสำคัญนั้น ในเดือนเมษายนอยู่ที่ 53.3 สูงขึ้นจากระดับ 53.1 ในเดือนมีนาคม ขณะที่ดัชนี PMI ที่จัดทำโดย HSBC/Markit ซึ่งเน้นพวกกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมที่มุ่งส่งออกนั้น เดือนเมษายนอยู่ที่ 49.3 สูงขึ้นจาก 48.3 ในเดือนมีนาคมเช่นกันก็จริง ทว่ายังคงอยู่ในระดับไม่ถึง 50
ตัวเลขข้อมูลทางเศรษฐกิจทั้งหมดเหล่านี้ ปรากฏออกมาในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ของจีนกำลังส่งสัญญาณทางเทคนิคว่าไม่ค่อยจะดี และเนื่องจากตลาดหุ้นคือสิ่งบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจล่วงหน้าด้วยระยะเวลาเหลื่อมกันประมาณ 6 ถึง 9 เดือน ความอ่อนแอของตลาดหลักทรัพย์ในปัจจุบัน จึงเป็นการแพร่งพรายให้ทราบล่วงหน้าว่าเศรษฐกิจจีนโดยรวมจะอยู่ในภาวะไม่แน่ไม่นอนไปจนถึงสิ้นปีปฏิทินปัจจุบัน
ตามรายงานของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ปรากฏว่า รามิน โตลูอิ (Ramin Toloui) ผู้อำนวยการร่วมระดับโลกดูแลการบริหารพอร์ตโฟลิโอตลาดเศรษฐกิจเกิดใหม่ของบริษัทพิมโก (Pimco) ก็แสดงความคิดเห็นว่า “เศรษฐกิจ(ของจีน) ยังจะลงไปไม่ถึงก้นเหวหรอกจนกระทั่งถึงไตรมาสสามนั่นแหละ” เขาคาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในปีนี้จะอยู่ในระดับ “7% กว่าๆ ช่วงกลางๆ” ซึ่งถือเป็นอัตราเชื่องช้าที่สุดนับตั้งแต่ปี 1999 ทีเดียว อย่างไรก็ดี คำพยากรณ์ของพวกนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 7% กว่าๆ ช่วงแก่ๆ ใกล้ไปทาง 8% มากกว่า
รายงานข้อมูลสถิติทางเศรษฐกิจของแดนมังในระยะนี้ ที่ออกมาในทางบวกดูจะมีเพียงตัวเดียว นั่นคือ การที่ภาวะเงินเฟ้อในเดือนเมษายนเมื่อคำนวณเป็นอัตราต่อปีจะอยู่ที่ 3.4% ต่ำลงกว่าในเดือนมีนาคมซึ่งอยู่ที่ 3.6% จาง จื้อเหว่ย (Zhang Zhiwei) ผู้ชำนาญการด้านเศรษฐกิจจีนแห่งบริษัทหลักทรัพย์โนมูระ (Nomura) สาขาฮ่องกง มองเรื่องนี้ว่า “เป็นการยืนยันว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังมีแนวโน้มอยู่ในขาลง” พร้อมกับสรุปว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ “จุดเน้นหนักทางนโยบาย (ของทางการจีน) จึงจะยังอยู่ที่เรื่องการส่งเสริมสนับสนุนการเติบโต” และ “นโยบายแบบผ่อนปรนคงจะมีการเดินหน้าออกมามากขึ้น” สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานอ้างคำพูดของจาง
ดร. โรเบิร์ต เอ็ม คัตเลอร์ http://www.robertcutler.org) สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) และมหาวิทยามิชิแกน และได้ทำงานวิจัยกับเป็นผู้บรรยายให้แก่มหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และรัสเซีย ปัจจุบันเป็นนักวิจัยอาวุโสของสถาบันยุโรป รัสเซีย และ ยูเรเชียศึกษา (Institute of European, Russian and Eurasian Studies) ซึ่งสังกัดอยู่ในมหาวิทยาลัยคาร์ลตัน ( Carleton University) ประเทศแคนาดา พร้อมกับนี้เขายังให้คำปรึกษาเป็นการส่วนตัวในหลายสาขา
China eases bank lending
By Robert M Cutler
15/05/2012
จีนตัดสินใจผ่อนคลายให้ภาคธนาคารปล่อยกู้ได้มากขึ้น ภายหลังเศรษฐกิจกำลังแสดงอาการอ่อนแออย่างไม่คาดหมาย โดยที่ภาคการผลิตมีอัตราเติบโตอันซวนเซ ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรก็ไม่ค่อยดี ถึงแม้ยังคงมีจุดสดใสอยู่จุดหนึ่ง นั่นก็คือ อัตราเงินเฟ้อลดดิ่งลงไปอีก
มอนทรีออล, แคนาดา–ประเทศ จีนตัดสินใจเพิ่มปริมาณเงินทุนที่พวกธนาคารต่างๆ สามารถปล่อยกู้ได้ สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงการตอบสนองอย่างรีบเร่งต่อข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจล่าสุด ซึ่งบ่งบอกให้เห็นภาวะความอ่อนแออย่างไม่คาดหมาย อีกทั้งส่อแสดงให้เห็นด้วยว่า ภาวะเข้าสู่ความมีเสถียรภาพที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคมปีนี้ เป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วคราว ในเมื่ออุปสงค์สุดท้าย (final demand) ยังคงลดถอยลงเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้ง
ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (People's Bank of China หรือ PBoC) ซึ่งเป็นธนาคารกลางของแดนมังกร ได้ออกประกาศในวันเสาร์(12 พ.ค.) ที่ผ่านมา ตัดลดอัตราส่วนการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง (reserve ratio requirement) ลงมาอีก 0.5% นั่นคือจาก 20.5% เหลือ 20.0% เริ่มตั้งแต่วันศุกร์(18พ.ค.)นี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณการปล่อยกู้ของภาคธนาคารในเดือนเมษายนระบุว่าได้ลดต่ำลงมาอยู่ที่ระดับ 108,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ น้อยกว่าตัวเลขที่คาดหมายพยากรณ์กันถึง 15% ภายหลังจากได้พุ่งแรงไปอยู่ที่ระดับ 160,000 ล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคม ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขสูงที่สุดตั้งแต่เดือนมกราคม 2011 เป็นต้นมา
อัตราส่วนการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง คือตัวกำหนดปริมาณเงินสดและสภาพคล่องทั้งหลายที่พวกธนาคารจะต้องถือเอาไว้เป็นทุนสำรอง และการหั่นลดในวันเสาร์ที่ผ่านมา นับเป็นการลดครั้งที่ 3 แล้วในรอบระยะเวลา 6 เดือน แบงก์ชาติของจีนเริ่มต้นการหั่นอัตราส่วนนี้ในระลอกนี้เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการหั่นลดครั้งแรกในช่วงเวลา 3 ปี ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีนนั้นวาดหวังว่า การตัดลดเช่นนี้จะส่งผลช่วยให้บรรลุเป้าหมายที่จะทำให้ปริมาณเงินมีอัตราเติบโต 14% ในรอบปีปฏิทินปัจจุบัน หลังจากที่ทิศทางแนวโน้มกำลังทำท่าจะอ่อนแรงเกินไปสักหน่อย
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า สตีเฟน เจน เอสแอลเจ แมคโคร พาร์ตเนอร์ส (Stephen Jen SLJ Macro Partners) เห็นด้วยกับการใช้นโยบายลดอัตราส่วนการดำรงสินเชื่อสภาพคล่องเช่นนี้ โดยเรียกว่า เป็นการ “ตอบโต้ ... อย่างแข็งกร้าวและเป็นไปในเชิงรุก” มากกว่าที่พวกนักวิเคราะห์เคยคาดหมายกันไว้ ขณะที่ผู้สังเกตการณ์บางคนทำนายต่อไปว่า น่าจะมีการหั่นลดเช่นนี้ต่อไปอีกสักไม่เกิน 3 ครั้งก่อนสิ้นปีนี้ และน่าจะลงมือลดในเร็ววันมากกว่าปล่อยให้เนิ่นช้าออกไป
การผ่อนคลายให้ธนาคารดำรงทุนสำรองต่ำลงมาเช่นนี้ บังเกิดขึ้นหลังจากมีการเผยแพร่ข้อมูลตัวเลขซึ่งแสดงให้เห็นว่า การผลิตทางอุตสาหกรรมในเดือนเมษายนมีอัตราเติบโตเพียง 9.3% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนหน้า นับเป็นอัตราเชื่องช้าที่สุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2009 และถอยลงจากอัตราเติบโตที่ 11.9% ในเดือนมีนาคม การผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งพวกนักวิเคราะห์มักใช้เป็นตัวสอบทานความถูกต้องของตัวเลขการผลิตทางอุตสาหกรรมนั้น ก็ถอยลงมาอยู่ที่ 0.7% ในเดือนเมษายน ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 3 ปีเช่นเดียวกัน และลดลงฮวบฮาบจากตัวเลขของเดือนมีนาคม ซึ่งเพิ่มขึ้น 7.2% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนหน้า
ข้อมูลสถิติทางด้านการลงทุนใหม่ๆ ก็เป็นเรื่องที่ชวนให้เกิดความวิตกเช่นเดียวกัน ในเมื่อการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในรอบ 4 เดือนแรกของปี 2012 มีอัตราเติบโตลดลงมาเหลือ 20.9% หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และก็ชะลอลงมาจากระดับ 20.9% ของระยะเฉพาะ 3 เดือนแรกของปีนี้ การลงทุนในระบบรางรถไฟที่มีรัฐบาลเป็นผู้นำนั้นหล่นลงไปอย่างน่าตื่นตะลึงถึง 43.6% ทีเดียวเมื่อเปรียบกับระยะเดียวกันของปี 2011 ทั้งนี้การลงทุนในภาคนี้กำลังชะลอตัว ภายหลังช่วงเวลาที่เกิดกรณีรถไฟชนกันและเรื่องอื้อฉาวทุจริตคอร์รัปชั่นครั้งแล้วครั้งเล่า
ในส่วนภาคอสังหาริมทรัพย์ ระยะเดือนมกราคมถึงเมษายนปีนี้ อัตราการขยายตัวก็หล่นวูบลงมาอยู่ที่ระดับ 18.7% ถ้าเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน และซวนเซลงจากอัตราเติบโต 23.5% ที่ทำไว้ในเฉพาะรอบ 3 เดือนแรกของปีนี้ ไม่ว่ายอดขายบ้านหรือยอดพื้นที่การก่อสร้างล้วนแล้วแต่ต่ำลงอย่างฮวบฮาบ มูลค่าธุรกรรมการขายบ้านตกลงมา 16% ในเดือนเมษายนเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม
ด้านตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Managers Index หรือ PMI) ซึ่งในจีนมีผู้จัดทำและเป็นที่เชื่อถือติดตามกันอยู่ 2 ตัวนั้น ถึงแม้ในเดือนเมษายนนี้ต่างแสดงอาการกระเตื้องขึ้นจากเดือนก่อนหน้านั้น แต่ก็ยังคงบ่งบอกอาการของเศรษฐกิจที่ผิดแผกกันอยู่ ทั้งนี้ถือกันว่า PMI จะเป็นเครื่องบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจในอนาคตไม่ไกลนักข้างหน้า โดยถ้าตัวเลขดัชนีเกินระดับ 50 แสดงว่าเศรษฐกิจจะเติบโตขยายตัว แต่ถ้าต่ำกว่า 50 ก็ส่งสัญญาณถึงทิศทางว่าจะย่ำแย่ ปรากฏว่าดัชนี PMI ซึ่งจัดทำและเผยแพร่โดย สหพันธ์โลจิสติกส์และการวางแผนแห่งประเทศจีน (China Federation of Logistics and Planning) ที่สอบถามความคิดเห็นของพวกรัฐวิสาหกิจและกิจการขนาดใหญ่เป็นสำคัญนั้น ในเดือนเมษายนอยู่ที่ 53.3 สูงขึ้นจากระดับ 53.1 ในเดือนมีนาคม ขณะที่ดัชนี PMI ที่จัดทำโดย HSBC/Markit ซึ่งเน้นพวกกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมที่มุ่งส่งออกนั้น เดือนเมษายนอยู่ที่ 49.3 สูงขึ้นจาก 48.3 ในเดือนมีนาคมเช่นกันก็จริง ทว่ายังคงอยู่ในระดับไม่ถึง 50
ตัวเลขข้อมูลทางเศรษฐกิจทั้งหมดเหล่านี้ ปรากฏออกมาในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ของจีนกำลังส่งสัญญาณทางเทคนิคว่าไม่ค่อยจะดี และเนื่องจากตลาดหุ้นคือสิ่งบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจล่วงหน้าด้วยระยะเวลาเหลื่อมกันประมาณ 6 ถึง 9 เดือน ความอ่อนแอของตลาดหลักทรัพย์ในปัจจุบัน จึงเป็นการแพร่งพรายให้ทราบล่วงหน้าว่าเศรษฐกิจจีนโดยรวมจะอยู่ในภาวะไม่แน่ไม่นอนไปจนถึงสิ้นปีปฏิทินปัจจุบัน
ตามรายงานของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ปรากฏว่า รามิน โตลูอิ (Ramin Toloui) ผู้อำนวยการร่วมระดับโลกดูแลการบริหารพอร์ตโฟลิโอตลาดเศรษฐกิจเกิดใหม่ของบริษัทพิมโก (Pimco) ก็แสดงความคิดเห็นว่า “เศรษฐกิจ(ของจีน) ยังจะลงไปไม่ถึงก้นเหวหรอกจนกระทั่งถึงไตรมาสสามนั่นแหละ” เขาคาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในปีนี้จะอยู่ในระดับ “7% กว่าๆ ช่วงกลางๆ” ซึ่งถือเป็นอัตราเชื่องช้าที่สุดนับตั้งแต่ปี 1999 ทีเดียว อย่างไรก็ดี คำพยากรณ์ของพวกนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 7% กว่าๆ ช่วงแก่ๆ ใกล้ไปทาง 8% มากกว่า
รายงานข้อมูลสถิติทางเศรษฐกิจของแดนมังในระยะนี้ ที่ออกมาในทางบวกดูจะมีเพียงตัวเดียว นั่นคือ การที่ภาวะเงินเฟ้อในเดือนเมษายนเมื่อคำนวณเป็นอัตราต่อปีจะอยู่ที่ 3.4% ต่ำลงกว่าในเดือนมีนาคมซึ่งอยู่ที่ 3.6% จาง จื้อเหว่ย (Zhang Zhiwei) ผู้ชำนาญการด้านเศรษฐกิจจีนแห่งบริษัทหลักทรัพย์โนมูระ (Nomura) สาขาฮ่องกง มองเรื่องนี้ว่า “เป็นการยืนยันว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังมีแนวโน้มอยู่ในขาลง” พร้อมกับสรุปว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ “จุดเน้นหนักทางนโยบาย (ของทางการจีน) จึงจะยังอยู่ที่เรื่องการส่งเสริมสนับสนุนการเติบโต” และ “นโยบายแบบผ่อนปรนคงจะมีการเดินหน้าออกมามากขึ้น” สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานอ้างคำพูดของจาง
ดร. โรเบิร์ต เอ็ม คัตเลอร์ http://www.robertcutler.org) สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) และมหาวิทยามิชิแกน และได้ทำงานวิจัยกับเป็นผู้บรรยายให้แก่มหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และรัสเซีย ปัจจุบันเป็นนักวิจัยอาวุโสของสถาบันยุโรป รัสเซีย และ ยูเรเชียศึกษา (Institute of European, Russian and Eurasian Studies) ซึ่งสังกัดอยู่ในมหาวิทยาลัยคาร์ลตัน ( Carleton University) ประเทศแคนาดา พร้อมกับนี้เขายังให้คำปรึกษาเป็นการส่วนตัวในหลายสาขา