(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Korean growth eases
By Robert M Cutler
20/04/2012
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปีนี้ ได้รับการคาดการณ์ว่าจะมีอัตราเจริญเติบโตต่ำกว่าที่เคยพยากรณ์กันไว้ โดยล่าสุดธนาคารกลางโสมขาวได้ปรับตัวเลขคำทำนายลงมาเหลือ 3.5% ปัจจัยประการสำคัญคืออุปสงค์ความต้องการในสินค้าออกของเกาหลีใต้อยู่ในอาการสะดุดติดขัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบรรดาชาติยุโรป ถึงแม้ยอดขายเครื่องจักรกลหนักของโสมขาวไปยังจีนและประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียด้วยกัน ยังคงอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง
มอนทรีออล, แคนาดา - สัปดาห์นี้ ธนาคารแห่งเกาหลี (Bank of Korea หรือ BoK) ซึ่งเป็นแบงก์ชาติของเกาหลีใต้ ได้ประกาศปรับลดการคาดการณ์อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของโสมขาวประจำปี 2012 ลงมาสู่ระดับ 3.5% จากเดิมซึ่งเคยให้ไว้ที่ 3.7% สืบเนื่องจากอุปสงค์ความต้องการในสินค้าออกของเกาหลีใต้กำลังอยู่ในอาการสะดุดติดขัด โดยเฉพาะอย่างหนึ่งอุปสงค์ในแถบยุโรป
ความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับอุปสงค์จากยุโรปกำลังอ่อนตัวลงเช่นนี้ บังเกิดขึ้นท่ามกลางความห่วงใยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับปัญหาหนี้ภาคสาธารณะของสเปน และสภาพการณ์เหล่านี้ก็ยิ่งเพิ่มแรงกดดันขาลงต่อสกุลเงินวอนของเกาหลีใต้ โดยที่เงินวอนได้อ่อนตัวลงมาประมาณ 9% แล้วตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคมปี 2011 ทั้งนี้การส่งออกมีสัดส่วนเท่ากับประมาณครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจโดยรวมของเกาหลีใต้ทีเดียว สัดส่วนเช่นนี้ถือว่าใหญ่มากแม้เมื่อเทียบกับพวกชาติเอเชียด้วยกันที่ต่างก็เป็นชาติส่งออกรายสำคัญ
เวลานี้พวกผู้สังเกตการณ์ต่างคาดหมายว่า ธนาคารแห่งเกาหลีจะหันไปเน้นหนักผลักดันการเติบโตขยายตัวภายในประเทศ มากกว่าที่จะกังวลกับภาวะเงินเฟ้อ เป็นที่คาดหมายกันว่าอัตราเงินเฟ้อของโสมขาวในปีนี้ ถึงอย่างไรก็จะลดลงจากระดับ 4% ในปีที่แล้ว มาอยู่ที่แถวๆ 3.2% ซึ่งยังคงอยู่ในกรอบเป้าหมายของแบงก์ชาติเกาหลีใต้ที่กำหนดเอาไว้ให้อยู่ระหว่าง 2-4% โดยที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่นำเอาราคาพลังงานและอาหารมาคำนวณ) คาดกันว่าจะอยู่ที่ 2.6% ต่ำลงจากระดับ 3.3% ที่เคยทำนายกันไว้ก่อนหน้านี้
ในการประชุมหารือกันของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารแห่งเกาหลี เมื่อวันที่ 13 เมษายน ที่ประชุมได้มีมติไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยยังให้อยู่ในระดับ 3.25% ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 แล้ว คิมชูนซู (Kim Choon-soo) ผู้ว่าการแบงก์ชาติเกาหลีแถลงว่า “การตัดสินปล่อยอัตราดอกเบี้ยเอาไว้คงเดิมเช่นนี้เป็นมติเอกฉันท์ ในขณะที่ราคาน้ำมันที่สูงลิ่วกำลังส่งแรงกดดันทั้งต่ออัตราเงินเฟ้อและต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ” ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวยอนฮัป (Yonhap News Agency)
ถึงแม้เศรษฐกิจโดยรวมจะมีอัตราเติบโตชะลอตัวลง แต่คาดหมายกันว่าอัตราการว่างงานในตลอดทั้งปีนี้จะอยู่ที่ 3.3% ต่ำลงจากที่เคยพยากรณ์กันก่อนหน้านี้ซึ่งให้ไว้ที่ 3.4% เสียอีก เรื่องนี้อาจจะสืบเนื่องจากมีตัวช่วย อย่างเช่นภาคการก่อสร้างน่าจะสามารถขยายตัวได้มากขึ้นกว่าที่เคยคาดการณ์กันเล็กน้อย ภาคเทคโนโนยีสารสนเทศและภาคโทรคมนาคมก็อยู่ในอาการไม่ต่างกัน สำหรับการบริโภคส่วนบุคคลได้รับการคาดการณ์ว่าจะเติบโตได้อย่างสม่ำเสมอ เคียงคู่ไปกับการที่ภาคครัวเรือนมีอำนาจซื้อแท้จริง (อำนาจซื้อเมื่อหักปัจจัยด้านเงินเฟ้อแล้ว) เพิ่มสูงขึ้น
ธนาคารแห่งเกาหลีคาดหมายว่า ในรอบ 6 เดือนแรกของปีปฏิทินนี้ ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะมีอัตราเติบโตขยายตัวอยู่ที่ 3% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน แต่ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ จีดีพีจะกลับเติบโตได้รวดเร็วถึงระดับ 3.9% ทีเดียว ทั้งนี้ในปีที่แล้ว จีดีพีของเกาหลีใต้เติบโตได้ในระดับ 3.6% เปรียบเทียบกับที่ทำได้ 6.3% ในปี 2010
ทางด้านธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank หรือ ADB) ก็ออกมาทำนายเมื่อเร็วๆ นี้ว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้ปีนี้จะมีอัตราเติบโตที่ระดับ 3.4% ปรับลดลงจากที่เคยให้ไว้ที่ 4.3% ในเดือนกันยายนปีที่แล้ว สำหรับปี 2013 นั้น คำพยากรณ์ล่าสุดของเอดีบีบอกว่า โสมขาวจะโตได้มากขึ้นเป็น 4% ธนาคารพัฒนาเอเชียยังตั้งข้อสังเกตว่า “เป็นที่คาดหมายกันว่า การส่งออกเครื่องจักรกลทั่วไป ตลอดจนสินค้าอย่างอื่นๆ (ของเกาหลีใต้) ไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน และพวกตลาดเศรษฐกิจเกิดใหมอื่นๆ ในเอเชีย จะยังคงเป็นไปอย่างคึกคักเข้มแข็ง”
เกาหลีใต้นั้นต้องพึ่งพาอาศัยการส่งออกไปยังจีนเป็นอย่างมาก โดยการส่งออกไปแดนมังกรอยู่ในระดับกว่า 3 เท่าตัวของการส่งออกไปยังพวกประเทศยูโรโซน
กระนั้นก็ตาม แบงก์ชาติเกาหลีใต้ก็มองว่า ปัญหาหนี้ภาคสาธารณะของยูโรโซน คือ “ความเสี่ยงขาลงระยะสั้นที่สำคัญที่สุด” ของเศรษฐกิจโสมขาว นอกเหนือจากความไม่แน่นอนของราคาน้ำมันระหว่างประเทศ ทั้งนี้ในเรื่องน้ำมันโลก แบงก์ชาติเกาหลีใต้คาดหมายด้วยซ้ำว่าราคาจะกลับตกลงมา จนกระทั่งทำให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้สามารถทำยอดได้เปรียบดุลบัญชีเดินสะพัด 14,500 ล้านดอลลาร์ คิดคร่าวๆ ก็อยู่ในระดับราวครึ่งหนึ่งของปีที่แล้วซึ่งได้เปรียบดุลอยู่ 26,500 ล้านดอลลาร์
ทางด้านปัจจัยเรื่องความไม่แน่นอนทางการเมืองสืบเนื่องจากสถานการณ์ในเกาหลีเหนือ ซึ่งยังคงสร้างความตึงเครียดกับเกาหลีใต้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อนนั้น มีการประเมินกันว่าในขณะนี้ไม่ค่อยได้ส่งอิทธิพลต่อความคาดหมายในทางเศรษฐกิจแล้ว
พัฒนาการเช่นนี้อาจจะเป็นอิทธิพลของผลการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาในเกาหลีใต้ในช่วงกลางเดือนเมษายนนี้ โดยที่พรรคนิว ฟรอนเทียร์ ปาร์ตี้ (New Frontier Party หรือ NFP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลเป็นผู้ชนะ ได้ครองที่นั่ง 152 ที่นั่ง ยังคงสามารถรักษาเสียงข้างมากเอาไว้ต่อไป แม้จะเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสภาซึ่งมีที่นั่งทั้งสิ้น 300 ที่นั่งเพียงแต่นิดเดียว แต่กระนั้นผลกการเลือกตั้งดีก็ดีกว่าที่โพลสำรวจหยั่งเสียงคาดการณ์กันเอาไว้มาก โดยโพลสำนักต่างๆ ส่วนใหญ่บอกว่า พรรค NFP จะสูญเสียเสียงข้างมาก และได้เพียง 130 ที่นั่ง ขณะที่พรรคเคโมเครติก ยูไนเด็ต ปาร์ตี้ (Democratic United Party) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านใหญ่ที่สุด ได้รับการทำนายจากการหยั่งเสียงว่าจะได้ 135 ที่นั่ง แต่แล้วกลับได้จริงเพียงแค่ 127 ที่นั่งเท่านั้น
ผลการเลือกตั้งรัฐสภาคราวนี้ ซึ่งสำนักข่าวยอนฮัปเรียกว่าเป็น “ชัยชนะที่พลิกผันอย่างน่าตื่นใจ” ของฝ่ายรัฐบาล บังเกิดขึ้นมา 8 เดือนก่อนที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในตอนสิ้นปีนี้ ดังนั้นจึงเป็นแรงหนุนส่งอย่างสำคัญให้แก่ ปาร์ก เกือนฮี (Park Geun-hye) ผู้นำพรรค NFP ซึ่งน่าจะได้เป็นตัวแทนของพรรคลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคราวนี้ นอกจากนั้น ผลการเลือกตั้งรัฐสภา ยังเท่ากับเป็นการรับประกันว่า การปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่ทำเอาไว้กับสหรัฐฯนั้น จะเป็นไปอย่างราบรื่นกว่าช่วงที่ผ่านๆ มา ในเมื่อฝ่ายค้านที่ชูนโยบายคัดค้านข้อตกลงดังกล่าว ต้องพ่ายแพ้ผิดคาดหมายเช่นนี้
ดร. โรเบิร์ต เอ็ม คัตเลอร์ http://www.robertcutler.org) สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) และมหาวิทยามิชิแกน และได้ทำงานวิจัยกับเป็นผู้บรรยายให้แก่มหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และรัสเซีย ปัจจุบันเป็นนักวิจัยอาวุโสของสถาบันยุโรป รัสเซีย และ ยูเรเชียศึกษา (Institute of European, Russian and Eurasian Studies) ซึ่งสังกัดอยู่ในมหาวิทยาลัยคาร์ลตัน ( Carleton University) ประเทศแคนาดา พร้อมกับนี้เขายังให้คำปรึกษาเป็นการส่วนตัวในหลายสาขา
Korean growth eases
By Robert M Cutler
20/04/2012
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปีนี้ ได้รับการคาดการณ์ว่าจะมีอัตราเจริญเติบโตต่ำกว่าที่เคยพยากรณ์กันไว้ โดยล่าสุดธนาคารกลางโสมขาวได้ปรับตัวเลขคำทำนายลงมาเหลือ 3.5% ปัจจัยประการสำคัญคืออุปสงค์ความต้องการในสินค้าออกของเกาหลีใต้อยู่ในอาการสะดุดติดขัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบรรดาชาติยุโรป ถึงแม้ยอดขายเครื่องจักรกลหนักของโสมขาวไปยังจีนและประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียด้วยกัน ยังคงอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง
มอนทรีออล, แคนาดา - สัปดาห์นี้ ธนาคารแห่งเกาหลี (Bank of Korea หรือ BoK) ซึ่งเป็นแบงก์ชาติของเกาหลีใต้ ได้ประกาศปรับลดการคาดการณ์อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของโสมขาวประจำปี 2012 ลงมาสู่ระดับ 3.5% จากเดิมซึ่งเคยให้ไว้ที่ 3.7% สืบเนื่องจากอุปสงค์ความต้องการในสินค้าออกของเกาหลีใต้กำลังอยู่ในอาการสะดุดติดขัด โดยเฉพาะอย่างหนึ่งอุปสงค์ในแถบยุโรป
ความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับอุปสงค์จากยุโรปกำลังอ่อนตัวลงเช่นนี้ บังเกิดขึ้นท่ามกลางความห่วงใยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับปัญหาหนี้ภาคสาธารณะของสเปน และสภาพการณ์เหล่านี้ก็ยิ่งเพิ่มแรงกดดันขาลงต่อสกุลเงินวอนของเกาหลีใต้ โดยที่เงินวอนได้อ่อนตัวลงมาประมาณ 9% แล้วตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคมปี 2011 ทั้งนี้การส่งออกมีสัดส่วนเท่ากับประมาณครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจโดยรวมของเกาหลีใต้ทีเดียว สัดส่วนเช่นนี้ถือว่าใหญ่มากแม้เมื่อเทียบกับพวกชาติเอเชียด้วยกันที่ต่างก็เป็นชาติส่งออกรายสำคัญ
เวลานี้พวกผู้สังเกตการณ์ต่างคาดหมายว่า ธนาคารแห่งเกาหลีจะหันไปเน้นหนักผลักดันการเติบโตขยายตัวภายในประเทศ มากกว่าที่จะกังวลกับภาวะเงินเฟ้อ เป็นที่คาดหมายกันว่าอัตราเงินเฟ้อของโสมขาวในปีนี้ ถึงอย่างไรก็จะลดลงจากระดับ 4% ในปีที่แล้ว มาอยู่ที่แถวๆ 3.2% ซึ่งยังคงอยู่ในกรอบเป้าหมายของแบงก์ชาติเกาหลีใต้ที่กำหนดเอาไว้ให้อยู่ระหว่าง 2-4% โดยที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่นำเอาราคาพลังงานและอาหารมาคำนวณ) คาดกันว่าจะอยู่ที่ 2.6% ต่ำลงจากระดับ 3.3% ที่เคยทำนายกันไว้ก่อนหน้านี้
ในการประชุมหารือกันของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารแห่งเกาหลี เมื่อวันที่ 13 เมษายน ที่ประชุมได้มีมติไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยยังให้อยู่ในระดับ 3.25% ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 แล้ว คิมชูนซู (Kim Choon-soo) ผู้ว่าการแบงก์ชาติเกาหลีแถลงว่า “การตัดสินปล่อยอัตราดอกเบี้ยเอาไว้คงเดิมเช่นนี้เป็นมติเอกฉันท์ ในขณะที่ราคาน้ำมันที่สูงลิ่วกำลังส่งแรงกดดันทั้งต่ออัตราเงินเฟ้อและต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ” ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวยอนฮัป (Yonhap News Agency)
ถึงแม้เศรษฐกิจโดยรวมจะมีอัตราเติบโตชะลอตัวลง แต่คาดหมายกันว่าอัตราการว่างงานในตลอดทั้งปีนี้จะอยู่ที่ 3.3% ต่ำลงจากที่เคยพยากรณ์กันก่อนหน้านี้ซึ่งให้ไว้ที่ 3.4% เสียอีก เรื่องนี้อาจจะสืบเนื่องจากมีตัวช่วย อย่างเช่นภาคการก่อสร้างน่าจะสามารถขยายตัวได้มากขึ้นกว่าที่เคยคาดการณ์กันเล็กน้อย ภาคเทคโนโนยีสารสนเทศและภาคโทรคมนาคมก็อยู่ในอาการไม่ต่างกัน สำหรับการบริโภคส่วนบุคคลได้รับการคาดการณ์ว่าจะเติบโตได้อย่างสม่ำเสมอ เคียงคู่ไปกับการที่ภาคครัวเรือนมีอำนาจซื้อแท้จริง (อำนาจซื้อเมื่อหักปัจจัยด้านเงินเฟ้อแล้ว) เพิ่มสูงขึ้น
ธนาคารแห่งเกาหลีคาดหมายว่า ในรอบ 6 เดือนแรกของปีปฏิทินนี้ ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะมีอัตราเติบโตขยายตัวอยู่ที่ 3% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน แต่ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ จีดีพีจะกลับเติบโตได้รวดเร็วถึงระดับ 3.9% ทีเดียว ทั้งนี้ในปีที่แล้ว จีดีพีของเกาหลีใต้เติบโตได้ในระดับ 3.6% เปรียบเทียบกับที่ทำได้ 6.3% ในปี 2010
ทางด้านธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank หรือ ADB) ก็ออกมาทำนายเมื่อเร็วๆ นี้ว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้ปีนี้จะมีอัตราเติบโตที่ระดับ 3.4% ปรับลดลงจากที่เคยให้ไว้ที่ 4.3% ในเดือนกันยายนปีที่แล้ว สำหรับปี 2013 นั้น คำพยากรณ์ล่าสุดของเอดีบีบอกว่า โสมขาวจะโตได้มากขึ้นเป็น 4% ธนาคารพัฒนาเอเชียยังตั้งข้อสังเกตว่า “เป็นที่คาดหมายกันว่า การส่งออกเครื่องจักรกลทั่วไป ตลอดจนสินค้าอย่างอื่นๆ (ของเกาหลีใต้) ไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน และพวกตลาดเศรษฐกิจเกิดใหมอื่นๆ ในเอเชีย จะยังคงเป็นไปอย่างคึกคักเข้มแข็ง”
เกาหลีใต้นั้นต้องพึ่งพาอาศัยการส่งออกไปยังจีนเป็นอย่างมาก โดยการส่งออกไปแดนมังกรอยู่ในระดับกว่า 3 เท่าตัวของการส่งออกไปยังพวกประเทศยูโรโซน
กระนั้นก็ตาม แบงก์ชาติเกาหลีใต้ก็มองว่า ปัญหาหนี้ภาคสาธารณะของยูโรโซน คือ “ความเสี่ยงขาลงระยะสั้นที่สำคัญที่สุด” ของเศรษฐกิจโสมขาว นอกเหนือจากความไม่แน่นอนของราคาน้ำมันระหว่างประเทศ ทั้งนี้ในเรื่องน้ำมันโลก แบงก์ชาติเกาหลีใต้คาดหมายด้วยซ้ำว่าราคาจะกลับตกลงมา จนกระทั่งทำให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้สามารถทำยอดได้เปรียบดุลบัญชีเดินสะพัด 14,500 ล้านดอลลาร์ คิดคร่าวๆ ก็อยู่ในระดับราวครึ่งหนึ่งของปีที่แล้วซึ่งได้เปรียบดุลอยู่ 26,500 ล้านดอลลาร์
ทางด้านปัจจัยเรื่องความไม่แน่นอนทางการเมืองสืบเนื่องจากสถานการณ์ในเกาหลีเหนือ ซึ่งยังคงสร้างความตึงเครียดกับเกาหลีใต้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อนนั้น มีการประเมินกันว่าในขณะนี้ไม่ค่อยได้ส่งอิทธิพลต่อความคาดหมายในทางเศรษฐกิจแล้ว
พัฒนาการเช่นนี้อาจจะเป็นอิทธิพลของผลการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาในเกาหลีใต้ในช่วงกลางเดือนเมษายนนี้ โดยที่พรรคนิว ฟรอนเทียร์ ปาร์ตี้ (New Frontier Party หรือ NFP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลเป็นผู้ชนะ ได้ครองที่นั่ง 152 ที่นั่ง ยังคงสามารถรักษาเสียงข้างมากเอาไว้ต่อไป แม้จะเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสภาซึ่งมีที่นั่งทั้งสิ้น 300 ที่นั่งเพียงแต่นิดเดียว แต่กระนั้นผลกการเลือกตั้งดีก็ดีกว่าที่โพลสำรวจหยั่งเสียงคาดการณ์กันเอาไว้มาก โดยโพลสำนักต่างๆ ส่วนใหญ่บอกว่า พรรค NFP จะสูญเสียเสียงข้างมาก และได้เพียง 130 ที่นั่ง ขณะที่พรรคเคโมเครติก ยูไนเด็ต ปาร์ตี้ (Democratic United Party) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านใหญ่ที่สุด ได้รับการทำนายจากการหยั่งเสียงว่าจะได้ 135 ที่นั่ง แต่แล้วกลับได้จริงเพียงแค่ 127 ที่นั่งเท่านั้น
ผลการเลือกตั้งรัฐสภาคราวนี้ ซึ่งสำนักข่าวยอนฮัปเรียกว่าเป็น “ชัยชนะที่พลิกผันอย่างน่าตื่นใจ” ของฝ่ายรัฐบาล บังเกิดขึ้นมา 8 เดือนก่อนที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในตอนสิ้นปีนี้ ดังนั้นจึงเป็นแรงหนุนส่งอย่างสำคัญให้แก่ ปาร์ก เกือนฮี (Park Geun-hye) ผู้นำพรรค NFP ซึ่งน่าจะได้เป็นตัวแทนของพรรคลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคราวนี้ นอกจากนั้น ผลการเลือกตั้งรัฐสภา ยังเท่ากับเป็นการรับประกันว่า การปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่ทำเอาไว้กับสหรัฐฯนั้น จะเป็นไปอย่างราบรื่นกว่าช่วงที่ผ่านๆ มา ในเมื่อฝ่ายค้านที่ชูนโยบายคัดค้านข้อตกลงดังกล่าว ต้องพ่ายแพ้ผิดคาดหมายเช่นนี้
ดร. โรเบิร์ต เอ็ม คัตเลอร์ http://www.robertcutler.org) สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) และมหาวิทยามิชิแกน และได้ทำงานวิจัยกับเป็นผู้บรรยายให้แก่มหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และรัสเซีย ปัจจุบันเป็นนักวิจัยอาวุโสของสถาบันยุโรป รัสเซีย และ ยูเรเชียศึกษา (Institute of European, Russian and Eurasian Studies) ซึ่งสังกัดอยู่ในมหาวิทยาลัยคาร์ลตัน ( Carleton University) ประเทศแคนาดา พร้อมกับนี้เขายังให้คำปรึกษาเป็นการส่วนตัวในหลายสาขา