ASTVผู้จัดการรายวัน - “พาณิชย์” มั่นใจไตรมาส 2 ส่งออกฟื้น หลังอุตสาหกรรมกลับมาเดินเครื่องได้เต็มกำลัง คาด ทั้งปีทำได้ตามเป้า 15% ชี้นโยบายทำบาทอ่อน ส่งผลดีส่งออก แต่ห่วงกระทบต้นทุนการผลิต แนะทำประกันความเสี่ยง
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยในการสัมมนา “กระแสโลก พันธมิตร จุดยืนและทิศทางส่งออก” ที่โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ รีสอร์ท หัวหิน ว่า กรมฯ ยังยืนยันตัวเลขการส่งออกปี 2555 สามารถผลักดันให้ขยายตัวได้ไม่น้อยกว่า 15% มูลค่า 263,149 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินบาทมูลค่า 8.02 ล้านล้านบาท โดยไตรมาสแรกการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวในระดับต่ำ เนื่องจากอยู่ในช่วงการฟื้นตัวจากผลกระทบอุทกภัย ส่งผลให้การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าระดับปกติ ไตรมาสที่ 2 การส่งออกเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และไตรมาสที่ 3-4 การส่งออกจะกลับมาขยายตัวได้ในระดับปกติ หลังจากที่ภาคอุตสาหกรรมสามารถดำเนินกิจการได้เต็มศักยภาพ
ปัจจัยที่ส่งผลให้การส่งออกเป็นไปตามเป้า เนื่องจากไทยได้ลดการพึ่งพาการส่งออกไปยังตลาดหลัก โดยเฉพาะ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ทำให้สัดส่วนการส่งออกที่เคยสูงจาก 50.5% ในปี 2540 เหลือ 29.5% ในปี 2554 ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดศักยภาพสูง ได้แก่ อาเซียน จีน เอเชียใต้ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน เพิ่มขึ้นจาก 36.7% ในปี 2540 เป็น 50.2% ในปี 2554 และตลาดตลาดศักยภาพรอง ได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ลาตินอเมริกา รัสเซีย ยุโรปตะวันออก และแคนาดา เพิ่มขึ้นจาก 6.9% ในปี 2540 เป็น 17.7% ในปี 2554
นอกจากนี้ การส่งออกยังได้รับปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียที่ขยายตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอาเซียน จีน อินเดีย ที่เป็นเป้าหมายในการผลักดันการส่งออกของไทย ราคาส่งออกสินค้าเกษตรสูงขึ้น จากความต้องการของตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น ภาคอุตสาหกรรมที่เคยได้รับผลกระทบ จากการขาดแคลนชิ้นส่วนและหยุดผลิต ทั้งยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ กลับมาฟื้นตัวผลิตสินค้าได้ และไทยยังได้ประโยชน์จากการส่งออกภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) โดยเฉพาะอาเซียน จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
สำหรับกิจกรรมที่กรมฯ จะนำมาใช้ในการผลักดันการส่งออกในปีนี้ มีประมาณ 938 งาน เช่น จัดงานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศ 11 งาน ไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ 104 งาน จัดงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ 22 งาน ส่งเสริมการขายร่วมกับห้างสรรพสินค้า ผู้นำเข้าในต่างประเทศ 61 งาน รวมถึงการจัดคณะผู้แทนการค้าเพื่อเจรจาการค้าและสร้างความสัมพันธ์เกือบ 680 งาน และพัฒนาผู้ประกอบการ 60 หลักสูตร
นางนันทวัลย์ กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ส่งออกต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ราคาค่าเชื้อเพลิง ทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (แอลพีจี) รวมถึงค่าไฟฟ้าที่ปรับเพิ่มขึ้น และล่าสุดเรื่องค่าเงินบาทอ่อน โดยกรมฯ ประเมินว่า การเปลี่ยนแปลงทุก 1 บาท จะกระทบต้นทุนผู้ส่งออก 3.3% ซึ่งจะมีผลต่อการแข่งขันกับประเทศคู่ค้า
“ส่วนตัวมองว่า การทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงระยะสั้น เพื่อดูแลผู้ส่งออก เป็นเรื่องที่ดี แต่ควรจับตาดูว่ากลไกตลาดทำงานผิดปกติหรือไม่ เนื่องจากผลกระทบจะเกิดขึ้นกับเอกชนเป็นสำคัญ ส่งผลให้เอกชนต้องปรับตัว ดังนั้น ผู้ส่งออกควรทำประกันความเสี่ยงและลดต้นทุนในธุรกิจของตน เนื่องจากโครงสร้างเศรษฐกิจไทยต้องพึ่งพาการส่งออกสูงถึง 60-70% เมื่อค่าเงินบาทอ่อนตัวจะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศ” นางนันทวัลย์ กล่าว
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยในการสัมมนา “กระแสโลก พันธมิตร จุดยืนและทิศทางส่งออก” ที่โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ รีสอร์ท หัวหิน ว่า กรมฯ ยังยืนยันตัวเลขการส่งออกปี 2555 สามารถผลักดันให้ขยายตัวได้ไม่น้อยกว่า 15% มูลค่า 263,149 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินบาทมูลค่า 8.02 ล้านล้านบาท โดยไตรมาสแรกการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวในระดับต่ำ เนื่องจากอยู่ในช่วงการฟื้นตัวจากผลกระทบอุทกภัย ส่งผลให้การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าระดับปกติ ไตรมาสที่ 2 การส่งออกเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และไตรมาสที่ 3-4 การส่งออกจะกลับมาขยายตัวได้ในระดับปกติ หลังจากที่ภาคอุตสาหกรรมสามารถดำเนินกิจการได้เต็มศักยภาพ
ปัจจัยที่ส่งผลให้การส่งออกเป็นไปตามเป้า เนื่องจากไทยได้ลดการพึ่งพาการส่งออกไปยังตลาดหลัก โดยเฉพาะ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ทำให้สัดส่วนการส่งออกที่เคยสูงจาก 50.5% ในปี 2540 เหลือ 29.5% ในปี 2554 ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดศักยภาพสูง ได้แก่ อาเซียน จีน เอเชียใต้ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน เพิ่มขึ้นจาก 36.7% ในปี 2540 เป็น 50.2% ในปี 2554 และตลาดตลาดศักยภาพรอง ได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ลาตินอเมริกา รัสเซีย ยุโรปตะวันออก และแคนาดา เพิ่มขึ้นจาก 6.9% ในปี 2540 เป็น 17.7% ในปี 2554
นอกจากนี้ การส่งออกยังได้รับปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียที่ขยายตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอาเซียน จีน อินเดีย ที่เป็นเป้าหมายในการผลักดันการส่งออกของไทย ราคาส่งออกสินค้าเกษตรสูงขึ้น จากความต้องการของตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น ภาคอุตสาหกรรมที่เคยได้รับผลกระทบ จากการขาดแคลนชิ้นส่วนและหยุดผลิต ทั้งยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ กลับมาฟื้นตัวผลิตสินค้าได้ และไทยยังได้ประโยชน์จากการส่งออกภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) โดยเฉพาะอาเซียน จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
สำหรับกิจกรรมที่กรมฯ จะนำมาใช้ในการผลักดันการส่งออกในปีนี้ มีประมาณ 938 งาน เช่น จัดงานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศ 11 งาน ไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ 104 งาน จัดงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ 22 งาน ส่งเสริมการขายร่วมกับห้างสรรพสินค้า ผู้นำเข้าในต่างประเทศ 61 งาน รวมถึงการจัดคณะผู้แทนการค้าเพื่อเจรจาการค้าและสร้างความสัมพันธ์เกือบ 680 งาน และพัฒนาผู้ประกอบการ 60 หลักสูตร
นางนันทวัลย์ กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ส่งออกต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ราคาค่าเชื้อเพลิง ทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (แอลพีจี) รวมถึงค่าไฟฟ้าที่ปรับเพิ่มขึ้น และล่าสุดเรื่องค่าเงินบาทอ่อน โดยกรมฯ ประเมินว่า การเปลี่ยนแปลงทุก 1 บาท จะกระทบต้นทุนผู้ส่งออก 3.3% ซึ่งจะมีผลต่อการแข่งขันกับประเทศคู่ค้า
“ส่วนตัวมองว่า การทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงระยะสั้น เพื่อดูแลผู้ส่งออก เป็นเรื่องที่ดี แต่ควรจับตาดูว่ากลไกตลาดทำงานผิดปกติหรือไม่ เนื่องจากผลกระทบจะเกิดขึ้นกับเอกชนเป็นสำคัญ ส่งผลให้เอกชนต้องปรับตัว ดังนั้น ผู้ส่งออกควรทำประกันความเสี่ยงและลดต้นทุนในธุรกิจของตน เนื่องจากโครงสร้างเศรษฐกิจไทยต้องพึ่งพาการส่งออกสูงถึง 60-70% เมื่อค่าเงินบาทอ่อนตัวจะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศ” นางนันทวัลย์ กล่าว