(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Half-free Trade in Vietnam
By M Goonan
15/11/2011
การปรับปรุงกฎระเบียบให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของการนำเข้าสินค้าเซ็กส์ทอย มิได้ช่วยยืนยันความมุ่งมั่นของรัฐบาลเวียดนามต่อการเดินหน้าสู่การค้าเสรีเลย เวลานี้บทบัญญัติทางการค้าที่มิได้สอดคล้องกับการค้าเสรีเท่าที่ควร สามารถช่วยให้เวียดนามรักษาความได้เปรียบในดุลการค้าก็จริง แต่การที่กฎระเบียบด้านการค้ายังคงไม่มีความกระจ่างแน่ชัด อาจส่งผลเป็นตัวสกัดนักลงทุนต่างชาติให้ต้องลังเลว่าจะตามขาใหญ่อย่างอินเทล โนเกีย หรือ ทาทา สตีล เข้าไปสูเวียดนามก็เป็นได้
ฮานอย – เมื่อหนุ่มๆ เวียดนามเดินทางกลับเข้าประเทศพร้อมสินค้าเพื่อความบันเทิงทางเพศในกระเป๋าเดินทาง เจ้าหน้าที่ตรงจุดตรวจศุลกากรมักลำบากใจว่าจะเอาไงดี ในเมื่อการนำเข้าเซ็กส์ทอยเพื่อวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์เป็นสิ่งผิดกฎหมายในเวียดนาม แต่หากเพื่อเป็นไปการใช้งานส่วนตัว เจ้าหน้าที่ยังไม่กระจ่างว่า นำเข้าได้หรือไม่
หลังจากที่สื่อมวลชนในประเทศประโคมประเด็นข่าวนี้ได้พักหนึ่ง รัฐบาลก็ประกาศออกมาในเดือนตุลาคมว่า ห้ามของเล่นเพื่อวัตถุประสงค์ทางเพศ เข้าสู่เวียดนามทุกกรณี คำสั่งดังกล่าวอิงอยู่กับข้อห้ามการนำเข้าที่มีแต่เก่าก่อนซึ่งห้ามผลิตภัณฑ์ทุกอย่างที่มีลักษณะเสื่อมเสียและขัดต่อศีลธรรมอันดี โดยให้ระเบียบข้อนี้ครอบคลุมถึงวัตถุที่มีผลกระทบเชิงลบต่อ “ศักดิ์ศรี การศึกษา และความมั่นคงทางสังคม” ของพลเมือง
แต่เอาเข้าจริงกฎหมายที่ถูกขุดขึ้นมาใช้ใหม่นี้ ก็ละม้ายกฎหมายควบคุมการค้าตัวอื่นๆ อีกมากมายของเวียดนาม คือเปิดช่องว่างให้แก่การตีความอย่างกว้างขวาง ที่ผ่านมาหลายๆ ปี แม้ได้มีการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการค้าและการลงทุนอย่างเป็นเรื่องเป็นราวมากมาย แต่บทบัญญัติที่ยังมีลักษณะคลุมเครือแบบเจ้ากฎหมายห้ามนำเข้าเซ็กส์ทอยนี้ ได้กระตุ้นให้บรรดาหอการค้าประเทศต่างๆ ในเวียดนาม ตลอดจนรัฐบาลของนานาประเทศ แสดงความวิตกกันถึงความมุ่งมั่นของเวียดนามที่จะร่วมกระบวนไปกับการค้าเสรีโลก
นับจากที่เวียดนามเข้าร่วมในองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) เมื่อเดือนมกราคม 2007 เวียดนามได้ปรับให้กฎหมายด้านศุลกากรและกฎหมายเกี่ยวกับการค้าต่างๆ มีความสอดคล้องกับมาตรฐานโลก อาทิ การประเมินสินค้า ก็ได้ทำให้เป็นระบบเดียวกับหลักเกณฑ์ด้านศุลกากรของแกตต์ อีกทั้งยังปรับปรุงให้ระบบจัดเก็บต่างๆ เป็นไปอย่างทันสมัย จากเดิมที่เปิดช่องให้คอร์รัปชั่นกันง่ายๆ หรือมักที่จะวางอัตราภาษีศุลกากรไว้สูงลิ่วอย่างไม่สมด้วยเหตุผล
อย่างไรก็ตาม ยังมีกฎระเบียบการค้าอื่นๆ ที่ปีนเกลียวกับข้อกำหนดของดับเบิลยูทีโอ เช่น นักลงทุนต่างชาติในเวียดนามบ่นกันมาก ในเรื่องขั้นตอนอันยุ่งยากมากเกินไปในการที่จะได้มาซึ่งสิ่งที่เรียกว่า ใบอนุญาตนำเข้าแบบ “อัตโนมัติ” โดยที่ว่าใบอนุญาตเหล่านี้จำนวนมากก็มิได้เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านคุณภาพหรือมาตรฐานความปลอดภัยแต่อย่างใด และขั้นตอนเหล่านี้กินเวลาและต้นทุนอย่างที่ไม่ควรจะต้องเกิดขึ้นเลย
นักธุรกิจอเมริกันรายหนึ่งซึ่งขอสงวนนาม วิจารณ์ไว้ว่า “ถ้ามันเป็นอัตโนมัติจริง ทำไมต้องมีการขอใบอนุญาตด้วยล่ะ”
นักวิเคราะห์บอกว่าการเอาแน่เอานอนไม่ได้ในเชิงกฎหมายที่แท้แล้วเป็นเครื่องมือในการจำกัดการนำเข้าและสร้างความได้เปรียบดุลการค้า
ขณะนี้บรรดาระบบเศรษฐกิจในโลกตะวันตกอยู่ในภาวะย่ำแย่ด้วยภาระหนี้อันมหาศาล ดังนั้น หลายๆ ประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐอเมริกา ต่างเร่งผลักดันให้พวกตัวสามารถเข้าถึงตลาดของพวกประเทศกำลังพัฒนา บนความมุ่งหวังที่จะลดการขาดดุลการค้า ในการนี้ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ลั่นวาจาที่จะเพิ่มมูลค่าการส่งออกของสหรัฐฯขึ้นให้ได้เป็นสองเท่าตัวในปี 2015 จากระดับที่เป็นมาในปี 2009
ด้วยเหตุนี้ นานาชาติหันมาไล่เรียงตรวจสอบสารพัดกฎหมายการค้าของเวียดนามกันอย่างเข้มงวดอีกรอบหนึ่ง ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่การพาณิชย์ของสหรัฐฯ ทำการทบทวนอยู่เป็นระยะๆ ว่าเวียดนามยังยึดมั่นตามกฎระเบียบของดับเบิลยูทีโออยู่หรือไม่ ตลอดจนเสนอวิธีการต่างๆ นานาที่จะขยายการค้าและการลงทุนระดับทวิภาคี โดยถือว่าเป็นการปฏิบัติตาม ข้อตกลงแม่บทด้านการค้าและการลงทุนเสรีปี 2007 (Trade and Investment Framework Agreement - TIFA) วิธีการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกันประการหนึ่ง ได้แก่การที่เวลานี้สหรัฐฯกำลังดำเนินการเจรจากับเวียดนาม เกี่ยวกับการเข้าร่วมใน ข้อตกลงหุ้นส่วนสองฟากฝั่งแปซิฟิก(Trans Pacific Partnership หรือ TPP)
ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับเวียดนาม ณ ปี 2010 มีอยู่ว่าสหรัฐฯ เป็นฝ่ายขาดดุลที่ระดับ 11,200 ล้านดอลลาร์ สืบเนื่องจากการนำเข้าสินค้าอย่างเครื่องนุ่งห่ม เฟอร์นิเจอร์ และรองเท้า การซื้อขายสินค้าระหว่างกันต่างๆ นานาจะเสียหายแน่ถ้าสองฝ่ายไม่สามารถบรรลุข้อตกลงใหม่ที่ประกอบด้วยความร่วมมือด้านศุลกากร กฎหมายการออกใบอนุญาตดำเนินการนำเข้า, นโยบายด้านเทคโนโลยีชีวภาพ, มาตรการด้านสุขอนามัย ซึ่งครอบคลุมถึงข้อบังคับที่ห้ามนำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐฯ
ประดาเทรดเดอร์สหรัฐฯ และยุโรปที่ตั้งสำนักงานอยู่ในเวียดนาม ล้วนแต่บ่นพึมเอากับโปรแกรมใหม่ของรัฐบาลเวียดนาม ซึ่งในด้านหนึ่งบอกว่าจะทำให้กระบวนการนำเข้ามีความรวดเร็วประเปรียวเพรียวลม โดยยอมให้เทรดเดอร์ยื่นใบคำร้องขอส่งออกสินค้าทางออนไลน์ได้ แต่ในทางเป็นจริงกลับกลายเป็นว่า เทรดเดอร์ยังจะต้องยื่นเอกสารตัวกระดาษไปถึงเจ้าหน้าที่ศุลกากร จึงจะได้รับอนุญาตให้ส่งผลิตภัณฑ์ไปต่างประเทศได้
**เปิดช่องให้ตีความอย่างกว้างขวาง**
เวียดนามรักษากฎหมายไว้มากมายที่เปิดช่องอ้าซ่าให้แก่การตีความ ไล่เรียงได้ตั้งแต่เรื่องความมั่นคงของชาติ ไปจนถึงการค้าระหว่างประเทศ และแม้เวียดนามประกาศจะยึดมั่นกับกรอบค้าเสรีของดับเบิลยูทีโอ แต่ก็ยังมีกฎหมายด้านศุลกากรที่แฝงในข้อกฎหมายต่างๆ ซึ่งหลายๆ เรื่องเป็นอะไรที่ถูกเจ้าพนักงานศุลกากรทั้งบิดทั้งพลิ้วเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์ส่วนตัว ทั้งนี้ เป็นข้อมูลจากนักลงทุนต่างชาติ และเทรดเดอร์ข้ามพรมแดนทั้งหลาย อาทิ เฟรเดอริค เบอร์ หุ้นส่วนอาวุโสของบริษัทกฎหมาย เบเกอร์ แอนด์ แมคเคนซี ในนครโฮจิมินห์ ซึ่งชี้ว่าคนพวกนี้คือตัวการบั่นทอนความสามารถเชิงการแข่งขันของคนเวียดนามในตลาดระหว่างประเทศ
แม้ที่ผ่านมา การทำธุรกิจในเวียดนามได้รับการปรับปรุงให้ง่ายมากขึ้นอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว แต่เวียดนามก็ยังคงเป็นระบบเศรษฐกิจแบบ“ปิด”ในหลายหลากแง่มุม
นอกจากนั้น ที่ผ่านมา เวียดนามได้สร้างความก้าวหน้าด้านการค้าต่างประเทศอย่างเป็นเรื่องเป็นราว อาทิ การสืบสานความสัมพันธ์ทวิภาคีกับสหรัฐฯ ในปี 1995 การทำข้อตกลงการค้าทวิภาคีกับสหรัฐฯ ในปี 2001 ในเวลาเดียวกัน การเข้าร่วมกับดับเบิลยูทีโอ ก็เป็นก้าวสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เวียดนามได้เป็นส่วนหนึ่งอยู่ในระบบเศรษฐกิจโลก พร้อมกับทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของเวียดนามมีอัตราเติบโตที่คึกคักในหลายๆ ปีที่แล้วมา ปัจจุบันนี้ เวียดนามเป็นผู้ส่งออกมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่ที่สุดของโลก เป็นผู้ส่งออกกาแฟและข้าวรายใหญ่อันดับสองของโลก ใช่แต่เท่านั้น ผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำนวนมากของเวียดนามสามารถเลื่อนชั้นขึ้นไปบนบันไดแห่งห่วงโซ่มูลค่าโลก (GVC) อย่างรวดเร็ว
ถ้าจะต้องอธิบายว่าทำไมจึงยังต้องมีข้อบังคับทางการค้าที่ซับซ้อนและขัดแย้งสับสนอยู่อย่างมากมาย ก็ขอให้คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ทางการเวียดนามต้องตะกายสุดฤทธิ์ในอันที่จะรักษาการได้เปรียบดุลการค้าให้เลอเลิศเข้าไว้ในอันที่จะส่งเสริมภาคการเงินของประเทศ ขณะที่เงินด่องมีแต่จะตกต่ำเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตามแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งทะยายไปกว่า 20% แล้วในช่วงหลายปีมานี้ พร้อมกับทำให้ภาระหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไร้ประสิทธิภาพพุ่งทะยานดุเดือด และทำให้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศหดตัวอย่างฮวบฮาบ
ในปีนี้ ยอดการลงทุนต่างประเทศในเวียดนามดิ่งมากกว่า 20% และนั่นซ้ำเติมฐานะการคลังของรัฐบาลเวียดนามอย่างฉกรรจ์ เพื่อเป็นการโต้ตอบ นายกรัฐมนตรีของเวียดนามออกคำสั่งเมื่อเดือนที่แล้วว่าให้ตั้งคณะที่ปรึกษาชุดใหม่มาดูแลนโยบายการเงินการคลัง ในขณะที่ธนาคารกลางเวียดนามเริ่มส่งสัญญาณที่จะผนวกรวมภาคการธนาคาร ซึ่งนักวิเคราะห์บางส่วนมองว่าจะยิ่งสั่นคลอนวิกฤตให้แย่หนักยิ่งๆ ขึ้นไป
ในอันที่จะประคองความมั่นใจต่อทิศทางอนาคตของเวียดนาม เทรดเดอร์กับนักลงทุนในเวียดนามชี้ว่ารัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญแก่การปฏิรูปกฎหมายการค้าต่างๆ ทั้งนี้ เดิมพันทางเศรษฐกิจที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้นับว่าสูงอย่างยิ่ง เพราะที่ผ่านมาบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมระดับโลกจำนวนมากได้ทยอยตั้งโครงสร้างการผลิตขนาดใหญ่ไว้ในเวียดนาม แม้ว่าต้องอดทนกับปัญหาความล่าช้าในระบบราชการ การมีโครงสร้างพื้นฐานที่ล้าหลัง และการที่รัฐบาลเวียดนามอ่อนความสามารถที่จะบริหารจัดการกับเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจมหภาค
ตามเอกสารที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในปีนี้โดยหอการค้าอเมริกันชี้ว่า ในปี 2010 อุตสาหกรรมการผลิตที่ลงทุนโดยต่างชาติเป็นผู้สร้างผลผลิตคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 42% ของผลผลิตอุตสาหกรรมทั้งประเทศ และคิดเป็นกว่าครึ่งหนึ่งของการส่งออกทั้งหมด ซึ่งมีทั้งผู้ผลิตสินค้าเทคโนโลยีระดับโลกอย่าง อินเทล และแคนนอน โดยอินเทลลงทุนฐานการผลิตชิปไว้ในเวียดนามคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่โนเกียใกล้จะเสร็จสิ้นการสร้างโรงงานมูลค่า 280 ล้านดอลลาร์ภายในปีหน้า นอกจากนั้น ผู้ผลิตที่เป็นเอเชียด้วยกัน อย่างบริษัททาทา สตีล จากอินเดีย ก็ทุ่มทุนเข้าไปในเวียดนามอย่างหนัก
แต่ต้องไม่ลืมว่าปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นผลจากความเชื่อมั่นเก่าๆ ในตอนที่เวียดนามแสดงตนว่ายึดมั่นแน่วแน่กับข้อผูกพันตามดับเบิลยูทีโอและมุ่งมั่นจะเดินหน้าสู่การค้าเสรี
การคอร์รัปชั่นในหน่วยงานศุลกากร และการมีกฎหมายการค้าที่ไม่สอดรับเท่าที่ควรกับแนวทางการค้าเสรี นับว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่รุนแรง ถ้าเวียดนามตั้งใจจริงๆ ที่จะขยายศักยภาพทางการค้าให้ถึงขีดสูงสุด ทางการควรจะเร่งออกกฎระเบียบด้านการค้าที่กระจ่างชัดมาโดยเร็วกว่าแค่กรณีของของเล่นเพื่อความบันเทิงทางเพศสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น
เอ็ม กูนัน (นามแฝง) เป็นนักข่าวอิสระในประเทศเวียดนาม
Half-free Trade in Vietnam
By M Goonan
15/11/2011
การปรับปรุงกฎระเบียบให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของการนำเข้าสินค้าเซ็กส์ทอย มิได้ช่วยยืนยันความมุ่งมั่นของรัฐบาลเวียดนามต่อการเดินหน้าสู่การค้าเสรีเลย เวลานี้บทบัญญัติทางการค้าที่มิได้สอดคล้องกับการค้าเสรีเท่าที่ควร สามารถช่วยให้เวียดนามรักษาความได้เปรียบในดุลการค้าก็จริง แต่การที่กฎระเบียบด้านการค้ายังคงไม่มีความกระจ่างแน่ชัด อาจส่งผลเป็นตัวสกัดนักลงทุนต่างชาติให้ต้องลังเลว่าจะตามขาใหญ่อย่างอินเทล โนเกีย หรือ ทาทา สตีล เข้าไปสูเวียดนามก็เป็นได้
ฮานอย – เมื่อหนุ่มๆ เวียดนามเดินทางกลับเข้าประเทศพร้อมสินค้าเพื่อความบันเทิงทางเพศในกระเป๋าเดินทาง เจ้าหน้าที่ตรงจุดตรวจศุลกากรมักลำบากใจว่าจะเอาไงดี ในเมื่อการนำเข้าเซ็กส์ทอยเพื่อวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์เป็นสิ่งผิดกฎหมายในเวียดนาม แต่หากเพื่อเป็นไปการใช้งานส่วนตัว เจ้าหน้าที่ยังไม่กระจ่างว่า นำเข้าได้หรือไม่
หลังจากที่สื่อมวลชนในประเทศประโคมประเด็นข่าวนี้ได้พักหนึ่ง รัฐบาลก็ประกาศออกมาในเดือนตุลาคมว่า ห้ามของเล่นเพื่อวัตถุประสงค์ทางเพศ เข้าสู่เวียดนามทุกกรณี คำสั่งดังกล่าวอิงอยู่กับข้อห้ามการนำเข้าที่มีแต่เก่าก่อนซึ่งห้ามผลิตภัณฑ์ทุกอย่างที่มีลักษณะเสื่อมเสียและขัดต่อศีลธรรมอันดี โดยให้ระเบียบข้อนี้ครอบคลุมถึงวัตถุที่มีผลกระทบเชิงลบต่อ “ศักดิ์ศรี การศึกษา และความมั่นคงทางสังคม” ของพลเมือง
แต่เอาเข้าจริงกฎหมายที่ถูกขุดขึ้นมาใช้ใหม่นี้ ก็ละม้ายกฎหมายควบคุมการค้าตัวอื่นๆ อีกมากมายของเวียดนาม คือเปิดช่องว่างให้แก่การตีความอย่างกว้างขวาง ที่ผ่านมาหลายๆ ปี แม้ได้มีการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการค้าและการลงทุนอย่างเป็นเรื่องเป็นราวมากมาย แต่บทบัญญัติที่ยังมีลักษณะคลุมเครือแบบเจ้ากฎหมายห้ามนำเข้าเซ็กส์ทอยนี้ ได้กระตุ้นให้บรรดาหอการค้าประเทศต่างๆ ในเวียดนาม ตลอดจนรัฐบาลของนานาประเทศ แสดงความวิตกกันถึงความมุ่งมั่นของเวียดนามที่จะร่วมกระบวนไปกับการค้าเสรีโลก
นับจากที่เวียดนามเข้าร่วมในองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) เมื่อเดือนมกราคม 2007 เวียดนามได้ปรับให้กฎหมายด้านศุลกากรและกฎหมายเกี่ยวกับการค้าต่างๆ มีความสอดคล้องกับมาตรฐานโลก อาทิ การประเมินสินค้า ก็ได้ทำให้เป็นระบบเดียวกับหลักเกณฑ์ด้านศุลกากรของแกตต์ อีกทั้งยังปรับปรุงให้ระบบจัดเก็บต่างๆ เป็นไปอย่างทันสมัย จากเดิมที่เปิดช่องให้คอร์รัปชั่นกันง่ายๆ หรือมักที่จะวางอัตราภาษีศุลกากรไว้สูงลิ่วอย่างไม่สมด้วยเหตุผล
อย่างไรก็ตาม ยังมีกฎระเบียบการค้าอื่นๆ ที่ปีนเกลียวกับข้อกำหนดของดับเบิลยูทีโอ เช่น นักลงทุนต่างชาติในเวียดนามบ่นกันมาก ในเรื่องขั้นตอนอันยุ่งยากมากเกินไปในการที่จะได้มาซึ่งสิ่งที่เรียกว่า ใบอนุญาตนำเข้าแบบ “อัตโนมัติ” โดยที่ว่าใบอนุญาตเหล่านี้จำนวนมากก็มิได้เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านคุณภาพหรือมาตรฐานความปลอดภัยแต่อย่างใด และขั้นตอนเหล่านี้กินเวลาและต้นทุนอย่างที่ไม่ควรจะต้องเกิดขึ้นเลย
นักธุรกิจอเมริกันรายหนึ่งซึ่งขอสงวนนาม วิจารณ์ไว้ว่า “ถ้ามันเป็นอัตโนมัติจริง ทำไมต้องมีการขอใบอนุญาตด้วยล่ะ”
นักวิเคราะห์บอกว่าการเอาแน่เอานอนไม่ได้ในเชิงกฎหมายที่แท้แล้วเป็นเครื่องมือในการจำกัดการนำเข้าและสร้างความได้เปรียบดุลการค้า
ขณะนี้บรรดาระบบเศรษฐกิจในโลกตะวันตกอยู่ในภาวะย่ำแย่ด้วยภาระหนี้อันมหาศาล ดังนั้น หลายๆ ประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐอเมริกา ต่างเร่งผลักดันให้พวกตัวสามารถเข้าถึงตลาดของพวกประเทศกำลังพัฒนา บนความมุ่งหวังที่จะลดการขาดดุลการค้า ในการนี้ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ลั่นวาจาที่จะเพิ่มมูลค่าการส่งออกของสหรัฐฯขึ้นให้ได้เป็นสองเท่าตัวในปี 2015 จากระดับที่เป็นมาในปี 2009
ด้วยเหตุนี้ นานาชาติหันมาไล่เรียงตรวจสอบสารพัดกฎหมายการค้าของเวียดนามกันอย่างเข้มงวดอีกรอบหนึ่ง ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่การพาณิชย์ของสหรัฐฯ ทำการทบทวนอยู่เป็นระยะๆ ว่าเวียดนามยังยึดมั่นตามกฎระเบียบของดับเบิลยูทีโออยู่หรือไม่ ตลอดจนเสนอวิธีการต่างๆ นานาที่จะขยายการค้าและการลงทุนระดับทวิภาคี โดยถือว่าเป็นการปฏิบัติตาม ข้อตกลงแม่บทด้านการค้าและการลงทุนเสรีปี 2007 (Trade and Investment Framework Agreement - TIFA) วิธีการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกันประการหนึ่ง ได้แก่การที่เวลานี้สหรัฐฯกำลังดำเนินการเจรจากับเวียดนาม เกี่ยวกับการเข้าร่วมใน ข้อตกลงหุ้นส่วนสองฟากฝั่งแปซิฟิก(Trans Pacific Partnership หรือ TPP)
ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับเวียดนาม ณ ปี 2010 มีอยู่ว่าสหรัฐฯ เป็นฝ่ายขาดดุลที่ระดับ 11,200 ล้านดอลลาร์ สืบเนื่องจากการนำเข้าสินค้าอย่างเครื่องนุ่งห่ม เฟอร์นิเจอร์ และรองเท้า การซื้อขายสินค้าระหว่างกันต่างๆ นานาจะเสียหายแน่ถ้าสองฝ่ายไม่สามารถบรรลุข้อตกลงใหม่ที่ประกอบด้วยความร่วมมือด้านศุลกากร กฎหมายการออกใบอนุญาตดำเนินการนำเข้า, นโยบายด้านเทคโนโลยีชีวภาพ, มาตรการด้านสุขอนามัย ซึ่งครอบคลุมถึงข้อบังคับที่ห้ามนำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐฯ
ประดาเทรดเดอร์สหรัฐฯ และยุโรปที่ตั้งสำนักงานอยู่ในเวียดนาม ล้วนแต่บ่นพึมเอากับโปรแกรมใหม่ของรัฐบาลเวียดนาม ซึ่งในด้านหนึ่งบอกว่าจะทำให้กระบวนการนำเข้ามีความรวดเร็วประเปรียวเพรียวลม โดยยอมให้เทรดเดอร์ยื่นใบคำร้องขอส่งออกสินค้าทางออนไลน์ได้ แต่ในทางเป็นจริงกลับกลายเป็นว่า เทรดเดอร์ยังจะต้องยื่นเอกสารตัวกระดาษไปถึงเจ้าหน้าที่ศุลกากร จึงจะได้รับอนุญาตให้ส่งผลิตภัณฑ์ไปต่างประเทศได้
**เปิดช่องให้ตีความอย่างกว้างขวาง**
เวียดนามรักษากฎหมายไว้มากมายที่เปิดช่องอ้าซ่าให้แก่การตีความ ไล่เรียงได้ตั้งแต่เรื่องความมั่นคงของชาติ ไปจนถึงการค้าระหว่างประเทศ และแม้เวียดนามประกาศจะยึดมั่นกับกรอบค้าเสรีของดับเบิลยูทีโอ แต่ก็ยังมีกฎหมายด้านศุลกากรที่แฝงในข้อกฎหมายต่างๆ ซึ่งหลายๆ เรื่องเป็นอะไรที่ถูกเจ้าพนักงานศุลกากรทั้งบิดทั้งพลิ้วเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์ส่วนตัว ทั้งนี้ เป็นข้อมูลจากนักลงทุนต่างชาติ และเทรดเดอร์ข้ามพรมแดนทั้งหลาย อาทิ เฟรเดอริค เบอร์ หุ้นส่วนอาวุโสของบริษัทกฎหมาย เบเกอร์ แอนด์ แมคเคนซี ในนครโฮจิมินห์ ซึ่งชี้ว่าคนพวกนี้คือตัวการบั่นทอนความสามารถเชิงการแข่งขันของคนเวียดนามในตลาดระหว่างประเทศ
แม้ที่ผ่านมา การทำธุรกิจในเวียดนามได้รับการปรับปรุงให้ง่ายมากขึ้นอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว แต่เวียดนามก็ยังคงเป็นระบบเศรษฐกิจแบบ“ปิด”ในหลายหลากแง่มุม
นอกจากนั้น ที่ผ่านมา เวียดนามได้สร้างความก้าวหน้าด้านการค้าต่างประเทศอย่างเป็นเรื่องเป็นราว อาทิ การสืบสานความสัมพันธ์ทวิภาคีกับสหรัฐฯ ในปี 1995 การทำข้อตกลงการค้าทวิภาคีกับสหรัฐฯ ในปี 2001 ในเวลาเดียวกัน การเข้าร่วมกับดับเบิลยูทีโอ ก็เป็นก้าวสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เวียดนามได้เป็นส่วนหนึ่งอยู่ในระบบเศรษฐกิจโลก พร้อมกับทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของเวียดนามมีอัตราเติบโตที่คึกคักในหลายๆ ปีที่แล้วมา ปัจจุบันนี้ เวียดนามเป็นผู้ส่งออกมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่ที่สุดของโลก เป็นผู้ส่งออกกาแฟและข้าวรายใหญ่อันดับสองของโลก ใช่แต่เท่านั้น ผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำนวนมากของเวียดนามสามารถเลื่อนชั้นขึ้นไปบนบันไดแห่งห่วงโซ่มูลค่าโลก (GVC) อย่างรวดเร็ว
ถ้าจะต้องอธิบายว่าทำไมจึงยังต้องมีข้อบังคับทางการค้าที่ซับซ้อนและขัดแย้งสับสนอยู่อย่างมากมาย ก็ขอให้คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ทางการเวียดนามต้องตะกายสุดฤทธิ์ในอันที่จะรักษาการได้เปรียบดุลการค้าให้เลอเลิศเข้าไว้ในอันที่จะส่งเสริมภาคการเงินของประเทศ ขณะที่เงินด่องมีแต่จะตกต่ำเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตามแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งทะยายไปกว่า 20% แล้วในช่วงหลายปีมานี้ พร้อมกับทำให้ภาระหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไร้ประสิทธิภาพพุ่งทะยานดุเดือด และทำให้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศหดตัวอย่างฮวบฮาบ
ในปีนี้ ยอดการลงทุนต่างประเทศในเวียดนามดิ่งมากกว่า 20% และนั่นซ้ำเติมฐานะการคลังของรัฐบาลเวียดนามอย่างฉกรรจ์ เพื่อเป็นการโต้ตอบ นายกรัฐมนตรีของเวียดนามออกคำสั่งเมื่อเดือนที่แล้วว่าให้ตั้งคณะที่ปรึกษาชุดใหม่มาดูแลนโยบายการเงินการคลัง ในขณะที่ธนาคารกลางเวียดนามเริ่มส่งสัญญาณที่จะผนวกรวมภาคการธนาคาร ซึ่งนักวิเคราะห์บางส่วนมองว่าจะยิ่งสั่นคลอนวิกฤตให้แย่หนักยิ่งๆ ขึ้นไป
ในอันที่จะประคองความมั่นใจต่อทิศทางอนาคตของเวียดนาม เทรดเดอร์กับนักลงทุนในเวียดนามชี้ว่ารัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญแก่การปฏิรูปกฎหมายการค้าต่างๆ ทั้งนี้ เดิมพันทางเศรษฐกิจที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้นับว่าสูงอย่างยิ่ง เพราะที่ผ่านมาบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมระดับโลกจำนวนมากได้ทยอยตั้งโครงสร้างการผลิตขนาดใหญ่ไว้ในเวียดนาม แม้ว่าต้องอดทนกับปัญหาความล่าช้าในระบบราชการ การมีโครงสร้างพื้นฐานที่ล้าหลัง และการที่รัฐบาลเวียดนามอ่อนความสามารถที่จะบริหารจัดการกับเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจมหภาค
ตามเอกสารที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในปีนี้โดยหอการค้าอเมริกันชี้ว่า ในปี 2010 อุตสาหกรรมการผลิตที่ลงทุนโดยต่างชาติเป็นผู้สร้างผลผลิตคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 42% ของผลผลิตอุตสาหกรรมทั้งประเทศ และคิดเป็นกว่าครึ่งหนึ่งของการส่งออกทั้งหมด ซึ่งมีทั้งผู้ผลิตสินค้าเทคโนโลยีระดับโลกอย่าง อินเทล และแคนนอน โดยอินเทลลงทุนฐานการผลิตชิปไว้ในเวียดนามคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่โนเกียใกล้จะเสร็จสิ้นการสร้างโรงงานมูลค่า 280 ล้านดอลลาร์ภายในปีหน้า นอกจากนั้น ผู้ผลิตที่เป็นเอเชียด้วยกัน อย่างบริษัททาทา สตีล จากอินเดีย ก็ทุ่มทุนเข้าไปในเวียดนามอย่างหนัก
แต่ต้องไม่ลืมว่าปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นผลจากความเชื่อมั่นเก่าๆ ในตอนที่เวียดนามแสดงตนว่ายึดมั่นแน่วแน่กับข้อผูกพันตามดับเบิลยูทีโอและมุ่งมั่นจะเดินหน้าสู่การค้าเสรี
การคอร์รัปชั่นในหน่วยงานศุลกากร และการมีกฎหมายการค้าที่ไม่สอดรับเท่าที่ควรกับแนวทางการค้าเสรี นับว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่รุนแรง ถ้าเวียดนามตั้งใจจริงๆ ที่จะขยายศักยภาพทางการค้าให้ถึงขีดสูงสุด ทางการควรจะเร่งออกกฎระเบียบด้านการค้าที่กระจ่างชัดมาโดยเร็วกว่าแค่กรณีของของเล่นเพื่อความบันเทิงทางเพศสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น
เอ็ม กูนัน (นามแฝง) เป็นนักข่าวอิสระในประเทศเวียดนาม