(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
It’s all wet in Thailand
By Shawn W Crispin
19/10/2011
อุทกภัยที่กำลังสร้างความเสียหายอย่างมากมายกว้างขวางในประเทศไทย ตลอดจนการรับมืออย่างบกพร่องผิดพลาดของรัฐบาล ซึ่งได้ให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกๆ แก่การปกป้องคุ้มครองบรรดานิคมอุตสาหกรรมตลอดจนทรัพย์สินในเขตใจกลางกรุงเทพมหานคร ยิ่งกว่าชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนระดับรากหญ้านั้น กำลังทำให้นายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกตั้งคำถามและถูกตรวจสอบในเรื่องภาวะผู้นำทั้งทางด้านการเมืองและทางด้านเศรษฐกิจ เมื่อตอนที่ได้รับเลือกตั้งโดยประสบชัยชนะอย่างถล่มทลายในช่วงกลางปีนี้ พรรคการเมืองของเธอได้เสนอนโยบายประชานิยมด้านต่างๆ ที่มุ่งเอาอกเอาใจคนยากคนจน จนกระทั่งได้ก่อให้เกิดความคาดหวังฝันหวานอันสวยหรูชนิดลอยล่องไม่ติดพื้น แต่เมื่อมาถึงเวลานี้ เป็นที่คาดหมายได้ว่า ศรัทธาความเชื่อถือตลอดจนความนิยมชมชอบในตัวเธอจะต้องจมดิ่งลงเหวอย่างแน่นอนในช่วงหลังน้ำลด
*รายงานข่าวชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
กรุงเทพฯ – ขณะที่ประเทศไทยกำลังตรวจสอบคาดคำนวณความเสียหายอันเกิดจากอุทกภัยตามฤดูกาลของปีนี้ ซึ่งมีขนาดใหญ่โตมหึมาและสร้างความเสียหายอย่างมากมายกว้างขวางยิ่ง ในอีกด้านหนึ่ง ภาวะความเป็นผู้นำทั้งทางด้านการเมืองและทางด้านเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็กำลังตกอยู่ภายใต้การตรวจสอบอย่างถี่ยิบเช่นเดียวกัน การที่พรรคเพื่อไทย ที่เป็นพรรคการเมืองของเธอได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย และทำให้เธอก้าวขึ้นสู่อำนาจได้สำเร็จนั้น ได้มีการปลุกระดมเร้าอารมณ์มวลชนด้วยประเด็นเรื่องการต่อสู้ทางชนชั้น ตลอดจนด้วยนโยบายประชานิยมด้านต่างๆ ที่มุ่งเอาอกเอาใจคนยากคนจน ทว่าในการรับมือกับภัยพิบัติครั้งร้ายแรงยิ่งคราวนี้ รัฐบาลของเธอกลับให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกๆ แก่เรื่องการปกป้องคุ้มครองบรรดานิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนทรัพย์สินในเขตใจกลางกรุงเทพมหานคร ยิ่งกว่าความเป็นอยู่ตลอดจนชีวิตของประชาชนระดับรากหญ้า
อุทกภัยใหญ่คราวนี้กำลังสร้างความเสียหายหนักให้แก่พืชผลทางการเกษตร, เข้าท่วมท้นโรงงานกว่า 14,000 แห่ง รวมทั้งโรงงานของบริษัทอุตสาหกรรมการผลิตระดับนานาชาติอย่างเช่น ฮอนด้า และโตโยต้า, และทำให้มีผู้เสียชีวิตไปกว่า 300 คน เป็นที่คาดหมายกันว่า ผลผลิตข้าวที่ได้รับความเสียหายอาจจะสูงถึง 6 ล้านตันทีเดียว ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะเท่ากับ 23% ของผลผลิตที่เคยคาดว่าจะเก็บเกี่ยวได้ทั้งหมดในช่วงปลูกข้าวนาปีของปี 2011 นี้ ขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมจำนวนเป็นหมื่นๆ แห่งก็มีหวังจะต้องขยายเวลาปิดโรงงานออกไปอีก ซึ่งกำลังสร้างความลำบากและความเสียหายให้แก่ระบบห่วงโซ่อุปทานในระดับโลก (global supply chains) รวมทั้งสร้างความยุ่งยากให้แก่ฐานะการเงินและความสามารถในการชำระหนี้ของบรรดาโรงงานของคนไทย ซึ่งในปัจจุบันมีภาระหนี้สินทั้งในรูปเงินต้นและดอกเบี้ยอยู่ในระดับมากกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจากภัยพิบัติคราวนี้ จะยังไม่ทราบกันอย่างถูกต้องชัดเจน จนกว่าระดับน้ำที่ท่วมสูงอยู่ใน 14 จังหวัดที่เจอภัยคราวนี้เข้าไปเต็มๆ จะลดถอยลงมาเสียก่อน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ออกมาแถลงประมาณการว่า อุทกภัยคราวนี้จะทำให้อัตราความเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของไทยในปีนี้ต้องหดหายไประหว่าง 1% ถึง 1.7% อันเป็นตัวเลขการประเมินที่สอดคล้องกับการคำนวณของพวกวาณิชธนกิจระหว่างประเทศ ขณะเดียวกัน รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็ได้ส่งสัญญาณว่ามีแผนการที่จะใช้จ่ายเงินอย่างน้อยที่สุด 130,000 ล้านบาทในเรื่องการบรรเทาความเสียหายจากน้ำท่วม และงานฟื้นฟูบูรณะหลังน้ำลด ซึ่งจะผลักดันให้งบประมาณแผ่นดินขาดดุลมากขึ้นจนถึงระดับชนเพดานตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย นั่นก็คือ 20% ของยอดงบประมาณแผ่นดินประจำปี รัฐบาลชุดนี้ยังแสดงท่าทีด้วยว่าอาจจะหาทางขอเงินกู้จากต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้จ่ายสำหรับการดำเนินความพยายามด้านต่างๆ เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันฉุกเฉินเร่งด่วน
สิ่งที่อาจจะมีความลำบากยุ่งยากในการคำนวณประมาณการ ยิ่งกว่าความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจเสียอีก เห็นจะได้แก่ความเสียหายในความน่าเชื่อถือและความนิยมชมชอบของประชาชนที่มีต่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก่อนหน้าที่จะเกิดอุทกภัยร้ายแรงคราวนี้ สืบเนื่องจากชัยชนะของการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อเดือนกรกฎาคมซึ่งเป็นชัยชนะชนิดหมดจดและขาดลอย ไม่ว่าจะเป็นความศรัทธาเชื่อมั่นหรือความชื่นชอบของประชาชนในตัวนายกรัฐมนตรีหญิงผู้นี้ ก็ล้วนอยู่ในระดับสูงมากทีเดียว แต่ภายหลังน้ำลดแล้วเป็นที่คาดหมายกันว่าความเชื่อถือและความนิยมดังกล่าวนี้ น่าที่จะอยู่ในสภาพทรุดต่ำจมดิ่ง ทั้งนี้รวมไปถึงบางจังหวัดที่เคยเป็นฐานที่มั่นอันแข็งแกร่งของพรรคเพื่อไทยของเธอ แล้วต้องมาประสบอุทกภัยอย่างเลวร้ายที่สุดในคราวนี้ด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะพิจารณากันในแง่มุมไหน ก็จะต้องบอกว่าการรับมือกับภัยพิบัติครั้งนี้ของรัฐบาลของเธอ เป็นไปอย่างผิดพลาดบกพร่อง และขาดการร่วมมือประสานงานกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ จนทำให้มีรายงานว่าตัวนายกรัฐมนตรีเองถึงกับหลั่งน้ำตามาแล้วครั้งหนึ่ง ขณะเดียวกันมันยังกลายเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ขาดไร้ประสบการณ์ความจัดเจนทางการเมือง และไม่สามารถกำกับควบคุมคณะรัฐบาลของเธอเองได้ มีรายงานข่าวปรากฏอย่างกว้างขวางว่า อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พี่ชายแท้ๆ ของเธอซึ่งเวลานี้หลบลี้หนีภัยไปอยู่ต่างแดน คือผู้ที่บริหารสั่งการคณะทำงานรับมือวิกฤตของเธอ จากที่มั่นของเขาในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
น้ำท่วมหนักคราวนี้ยังก่อให้เกิดคำถามใหม่ๆ เกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญในทางเศรษฐกิจของคณะรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์อีกด้วย รวมทั้งปุจฉาข้อข้องใจต่อการที่เธอยังคงดึงดันที่จะดำเนินการตามนโยบายประชานิยมต่างๆ ตามที่พรรคเพื่อไทยได้เคยให้สัญญาไว้ในตอนรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ถึงแม้ในเวลานี้สถานการณ์ของประเทศไทยกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตระดับทั่วประเทศไปแล้วก็ตามที พวกนักวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐกิจจำนวนมากโต้แย้งว่า อุทกภัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นอันเร่งด่วนที่จะต้องใช้จ่ายงบประมาณให้มากขึ้นในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการใช้จ่ายเพื่อปรับปรุงยกระดับประสิทธิภาพของระบบจัดการน้ำโดยองค์รวม เพื่อจะได้สามารถหลีกหนีไม่ต้องประสบกับวิกฤตทำนองนี้อีกในอนาคต ตลอดจนเป็นการทำให้พวกนักลงทุนต่างชาติที่ไปลงทุนตั้งโรงงานเอาไว้ในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เกิดความมั่นอกมั่นใจขึ้นมาใหม่ว่า น้ำท่วมปีนี้เป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติ ไม่ใช่ว่ากลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ของประเทศไทย ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าในปีที่แล้วประเทศไทยก็ถูกกระหน่ำจากน้ำท่วมใหญ่มาแล้วเช่นกัน (ตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ระบุในการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า เขามีแผนการมูลค่า 400,000 ล้านบาท ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมใหญ่กันอีกในอนาคต อย่างไรก็ดี เขามิได้เปิดเผยรายละเอียดของแผนการดังกล่าวให้สื่อมวลชนได้ทราบ)
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน ได้เสนอให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี นำเอาเงินงบประมาณที่เตรียมเอาไว้สำหรับการดำเนินตามนโยบายประชานิยมชนิดที่ “เวอร์” เกินเหตุ อย่างเช่น โครงการช่วยเหลือผู้ซื้อบ้านหลังแรก และผู้ซื้อรถยนต์คันแรก ซึ่งได้ถูกนักวิจารณ์ตำหนิโจมตีว่าจะเอื้อประโยชน์ให้แก่พวกธุรกิจบ้านจัดสรรของครอบครัวของเธอตลอดจนของเหล่าบริษั่ทบริวารของเธอ มาทำการจัดสรรกันเสียใหม่ โดยเอาไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบกระเทือนจากน้ำท่วม และจำเป็นต้องได้รับอาหารตลอดจนที่พักอาศัยขั้นพื้นฐาน ทว่าจวบจนถึงเวลานี้ เสียงเรียกร้องในทำนองนี้ได้ถูกละเลยเพิกเฉย โดยเห็นได้จากการที่คณะทำงานประชาสัมพันธ์ของนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เผยแพร่แจกจ่ายคำแถลงฉบับหนึ่งที่กล่าวว่า “แผนการกระตุ้นเศรษฐกิจเร่งด่วนทั้งหลาย” ที่ได้ประกาศออกมาก่อนหน้าเกิดอุทกภัย รัฐบาลยังจะดำเนินการต่อไปเพื่อ “ปรับปรุงฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย”
การที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ แสดงความมุ่งมั่นที่จะทำตามสัญญาและเดินหน้าดำเนินการโครงการเหล่านี้ คือสิ่งที่ตอกย้ำให้เห็นว่าเธอมีความจำเป็นที่จะต้องกอบกู้โมเมนตัมทางการเมืองที่จู่ๆ ก็เสียศูนย์หดหายไปอย่างฉันพลัน โดยที่ในช่วงก่อนที่จะเกิดอุทกภัยใหญ่ แรงขับดันทางการเมืองกำลังถูกผลักดันอย่างหนักหน่วงเพื่อมุ่งไปสู่จุดหมายปลายทาง ซึ่งก็คือทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่อยู่ในฐานะผู้ถูกพิพากษาลงโทษในคดีความผิดทางอาญา สามารถเดินทางกลับคืนประเทศไทยได้ในฐานะเสรีชนภายในสิ้นปีนี้ ทั้งนี้พรรคเพื่อไทยของเธอได้รับการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม โดยที่ได้เสนอนโยบายประชานิยมเรื่องต่างๆ อย่างมากมาย เป็นต้นว่า การรับจำนำข้าวเปลือกในราคาสูงลิ่วถึงตันละ 15,000 บาท, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศ, การแจกจ่ายเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตฟรีๆ ให้เด็กนักเรียนทุกคน นอกเหนือจากการแจกฟรีให้เปล่าในเรื่องเล็กเรื่องน้อยสัพเพเหระอย่างอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม อุทกภัยคราวนี้ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากจำนวนของผู้เสียชีวิตและขอบเขตของความเสียหายอันกว้างขวาง ได้ทำให้เสน่ห์ของข้อเสนอประชานิยมแจกแหลกเหล่านี้เสื่อมมนตร์ขลังลงไปเป็นอันมาก อันที่จริงตั้งแต่ก่อนเกิดน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้แล้ว แบรนด์ลัทธิประชานิยมของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถูกมองกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นเพียงการลอกเลียนอย่างชนิดหยาบๆ ไร้ความประณีต จากแผนการเอาอกเอาใจคนยากคนจนฉบับดั้งเดิมของ พ.ต.ท.ทักษิณเท่านั้น โดยที่โครงการดั้งเดิมในยุค พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นโครงการที่มุ่งไปยังเรื่องการส่งเสริมกองทุนพัฒนาหมู่บ้าน, การเลื่อนกำหนดการชำระหนี้สินให้เกษตรกร, และการให้การดูแลรักษาสุขภาพอย่างครอบคลุมโดยเรียกเก็บค่าใช้จ่ายถูกมากๆ นักวิจารณ์จำนวนมากทีเดียวแสดงความคิดเห็นว่า นโยบายประชานิยมแบบของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเป็นอันตรายต่อคนยากจนในชนบทยิ่งที่จะให้ประโยชน์ นอกจากนั้นจากการที่รัฐเข้าไปแทรกแซงในเรื่องต่างๆ เป็นต้นว่า ราคาข้าว และค่าจ้างขั้นต่ำ ยังจะทำให้เกิดการบิดเบือนอย่างสำคัญทางด้านราคาขึ้นมาในตลอดทั่วทั้งระบบเศรษฐกิจทีเดียว
ฌอน ดับเบิลยู คริสพิน เป็นบรรณาธิการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของเอเชียไทมส์ออนไลน์
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
It’s all wet in Thailand
By Shawn W Crispin
19/10/2011
อุทกภัยที่กำลังสร้างความเสียหายอย่างมากมายกว้างขวางในประเทศไทย ตลอดจนการรับมืออย่างบกพร่องผิดพลาดของรัฐบาล ซึ่งได้ให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกๆ แก่การปกป้องคุ้มครองบรรดานิคมอุตสาหกรรมตลอดจนทรัพย์สินในเขตใจกลางกรุงเทพมหานคร ยิ่งกว่าชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนระดับรากหญ้านั้น กำลังทำให้นายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกตั้งคำถามและถูกตรวจสอบในเรื่องภาวะผู้นำทั้งทางด้านการเมืองและทางด้านเศรษฐกิจ เมื่อตอนที่ได้รับเลือกตั้งโดยประสบชัยชนะอย่างถล่มทลายในช่วงกลางปีนี้ พรรคการเมืองของเธอได้เสนอนโยบายประชานิยมด้านต่างๆ ที่มุ่งเอาอกเอาใจคนยากคนจน จนกระทั่งได้ก่อให้เกิดความคาดหวังฝันหวานอันสวยหรูชนิดลอยล่องไม่ติดพื้น แต่เมื่อมาถึงเวลานี้ เป็นที่คาดหมายได้ว่า ศรัทธาความเชื่อถือตลอดจนความนิยมชมชอบในตัวเธอจะต้องจมดิ่งลงเหวอย่างแน่นอนในช่วงหลังน้ำลด
*รายงานข่าวชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
กรุงเทพฯ – ขณะที่ประเทศไทยกำลังตรวจสอบคาดคำนวณความเสียหายอันเกิดจากอุทกภัยตามฤดูกาลของปีนี้ ซึ่งมีขนาดใหญ่โตมหึมาและสร้างความเสียหายอย่างมากมายกว้างขวางยิ่ง ในอีกด้านหนึ่ง ภาวะความเป็นผู้นำทั้งทางด้านการเมืองและทางด้านเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็กำลังตกอยู่ภายใต้การตรวจสอบอย่างถี่ยิบเช่นเดียวกัน การที่พรรคเพื่อไทย ที่เป็นพรรคการเมืองของเธอได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย และทำให้เธอก้าวขึ้นสู่อำนาจได้สำเร็จนั้น ได้มีการปลุกระดมเร้าอารมณ์มวลชนด้วยประเด็นเรื่องการต่อสู้ทางชนชั้น ตลอดจนด้วยนโยบายประชานิยมด้านต่างๆ ที่มุ่งเอาอกเอาใจคนยากคนจน ทว่าในการรับมือกับภัยพิบัติครั้งร้ายแรงยิ่งคราวนี้ รัฐบาลของเธอกลับให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกๆ แก่เรื่องการปกป้องคุ้มครองบรรดานิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนทรัพย์สินในเขตใจกลางกรุงเทพมหานคร ยิ่งกว่าความเป็นอยู่ตลอดจนชีวิตของประชาชนระดับรากหญ้า
อุทกภัยใหญ่คราวนี้กำลังสร้างความเสียหายหนักให้แก่พืชผลทางการเกษตร, เข้าท่วมท้นโรงงานกว่า 14,000 แห่ง รวมทั้งโรงงานของบริษัทอุตสาหกรรมการผลิตระดับนานาชาติอย่างเช่น ฮอนด้า และโตโยต้า, และทำให้มีผู้เสียชีวิตไปกว่า 300 คน เป็นที่คาดหมายกันว่า ผลผลิตข้าวที่ได้รับความเสียหายอาจจะสูงถึง 6 ล้านตันทีเดียว ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะเท่ากับ 23% ของผลผลิตที่เคยคาดว่าจะเก็บเกี่ยวได้ทั้งหมดในช่วงปลูกข้าวนาปีของปี 2011 นี้ ขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมจำนวนเป็นหมื่นๆ แห่งก็มีหวังจะต้องขยายเวลาปิดโรงงานออกไปอีก ซึ่งกำลังสร้างความลำบากและความเสียหายให้แก่ระบบห่วงโซ่อุปทานในระดับโลก (global supply chains) รวมทั้งสร้างความยุ่งยากให้แก่ฐานะการเงินและความสามารถในการชำระหนี้ของบรรดาโรงงานของคนไทย ซึ่งในปัจจุบันมีภาระหนี้สินทั้งในรูปเงินต้นและดอกเบี้ยอยู่ในระดับมากกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจากภัยพิบัติคราวนี้ จะยังไม่ทราบกันอย่างถูกต้องชัดเจน จนกว่าระดับน้ำที่ท่วมสูงอยู่ใน 14 จังหวัดที่เจอภัยคราวนี้เข้าไปเต็มๆ จะลดถอยลงมาเสียก่อน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ออกมาแถลงประมาณการว่า อุทกภัยคราวนี้จะทำให้อัตราความเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของไทยในปีนี้ต้องหดหายไประหว่าง 1% ถึง 1.7% อันเป็นตัวเลขการประเมินที่สอดคล้องกับการคำนวณของพวกวาณิชธนกิจระหว่างประเทศ ขณะเดียวกัน รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็ได้ส่งสัญญาณว่ามีแผนการที่จะใช้จ่ายเงินอย่างน้อยที่สุด 130,000 ล้านบาทในเรื่องการบรรเทาความเสียหายจากน้ำท่วม และงานฟื้นฟูบูรณะหลังน้ำลด ซึ่งจะผลักดันให้งบประมาณแผ่นดินขาดดุลมากขึ้นจนถึงระดับชนเพดานตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย นั่นก็คือ 20% ของยอดงบประมาณแผ่นดินประจำปี รัฐบาลชุดนี้ยังแสดงท่าทีด้วยว่าอาจจะหาทางขอเงินกู้จากต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้จ่ายสำหรับการดำเนินความพยายามด้านต่างๆ เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันฉุกเฉินเร่งด่วน
สิ่งที่อาจจะมีความลำบากยุ่งยากในการคำนวณประมาณการ ยิ่งกว่าความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจเสียอีก เห็นจะได้แก่ความเสียหายในความน่าเชื่อถือและความนิยมชมชอบของประชาชนที่มีต่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก่อนหน้าที่จะเกิดอุทกภัยร้ายแรงคราวนี้ สืบเนื่องจากชัยชนะของการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อเดือนกรกฎาคมซึ่งเป็นชัยชนะชนิดหมดจดและขาดลอย ไม่ว่าจะเป็นความศรัทธาเชื่อมั่นหรือความชื่นชอบของประชาชนในตัวนายกรัฐมนตรีหญิงผู้นี้ ก็ล้วนอยู่ในระดับสูงมากทีเดียว แต่ภายหลังน้ำลดแล้วเป็นที่คาดหมายกันว่าความเชื่อถือและความนิยมดังกล่าวนี้ น่าที่จะอยู่ในสภาพทรุดต่ำจมดิ่ง ทั้งนี้รวมไปถึงบางจังหวัดที่เคยเป็นฐานที่มั่นอันแข็งแกร่งของพรรคเพื่อไทยของเธอ แล้วต้องมาประสบอุทกภัยอย่างเลวร้ายที่สุดในคราวนี้ด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะพิจารณากันในแง่มุมไหน ก็จะต้องบอกว่าการรับมือกับภัยพิบัติครั้งนี้ของรัฐบาลของเธอ เป็นไปอย่างผิดพลาดบกพร่อง และขาดการร่วมมือประสานงานกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ จนทำให้มีรายงานว่าตัวนายกรัฐมนตรีเองถึงกับหลั่งน้ำตามาแล้วครั้งหนึ่ง ขณะเดียวกันมันยังกลายเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ขาดไร้ประสบการณ์ความจัดเจนทางการเมือง และไม่สามารถกำกับควบคุมคณะรัฐบาลของเธอเองได้ มีรายงานข่าวปรากฏอย่างกว้างขวางว่า อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พี่ชายแท้ๆ ของเธอซึ่งเวลานี้หลบลี้หนีภัยไปอยู่ต่างแดน คือผู้ที่บริหารสั่งการคณะทำงานรับมือวิกฤตของเธอ จากที่มั่นของเขาในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
น้ำท่วมหนักคราวนี้ยังก่อให้เกิดคำถามใหม่ๆ เกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญในทางเศรษฐกิจของคณะรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์อีกด้วย รวมทั้งปุจฉาข้อข้องใจต่อการที่เธอยังคงดึงดันที่จะดำเนินการตามนโยบายประชานิยมต่างๆ ตามที่พรรคเพื่อไทยได้เคยให้สัญญาไว้ในตอนรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ถึงแม้ในเวลานี้สถานการณ์ของประเทศไทยกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตระดับทั่วประเทศไปแล้วก็ตามที พวกนักวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐกิจจำนวนมากโต้แย้งว่า อุทกภัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นอันเร่งด่วนที่จะต้องใช้จ่ายงบประมาณให้มากขึ้นในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการใช้จ่ายเพื่อปรับปรุงยกระดับประสิทธิภาพของระบบจัดการน้ำโดยองค์รวม เพื่อจะได้สามารถหลีกหนีไม่ต้องประสบกับวิกฤตทำนองนี้อีกในอนาคต ตลอดจนเป็นการทำให้พวกนักลงทุนต่างชาติที่ไปลงทุนตั้งโรงงานเอาไว้ในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เกิดความมั่นอกมั่นใจขึ้นมาใหม่ว่า น้ำท่วมปีนี้เป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติ ไม่ใช่ว่ากลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ของประเทศไทย ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าในปีที่แล้วประเทศไทยก็ถูกกระหน่ำจากน้ำท่วมใหญ่มาแล้วเช่นกัน (ตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ระบุในการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า เขามีแผนการมูลค่า 400,000 ล้านบาท ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมใหญ่กันอีกในอนาคต อย่างไรก็ดี เขามิได้เปิดเผยรายละเอียดของแผนการดังกล่าวให้สื่อมวลชนได้ทราบ)
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน ได้เสนอให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี นำเอาเงินงบประมาณที่เตรียมเอาไว้สำหรับการดำเนินตามนโยบายประชานิยมชนิดที่ “เวอร์” เกินเหตุ อย่างเช่น โครงการช่วยเหลือผู้ซื้อบ้านหลังแรก และผู้ซื้อรถยนต์คันแรก ซึ่งได้ถูกนักวิจารณ์ตำหนิโจมตีว่าจะเอื้อประโยชน์ให้แก่พวกธุรกิจบ้านจัดสรรของครอบครัวของเธอตลอดจนของเหล่าบริษั่ทบริวารของเธอ มาทำการจัดสรรกันเสียใหม่ โดยเอาไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบกระเทือนจากน้ำท่วม และจำเป็นต้องได้รับอาหารตลอดจนที่พักอาศัยขั้นพื้นฐาน ทว่าจวบจนถึงเวลานี้ เสียงเรียกร้องในทำนองนี้ได้ถูกละเลยเพิกเฉย โดยเห็นได้จากการที่คณะทำงานประชาสัมพันธ์ของนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เผยแพร่แจกจ่ายคำแถลงฉบับหนึ่งที่กล่าวว่า “แผนการกระตุ้นเศรษฐกิจเร่งด่วนทั้งหลาย” ที่ได้ประกาศออกมาก่อนหน้าเกิดอุทกภัย รัฐบาลยังจะดำเนินการต่อไปเพื่อ “ปรับปรุงฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย”
การที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ แสดงความมุ่งมั่นที่จะทำตามสัญญาและเดินหน้าดำเนินการโครงการเหล่านี้ คือสิ่งที่ตอกย้ำให้เห็นว่าเธอมีความจำเป็นที่จะต้องกอบกู้โมเมนตัมทางการเมืองที่จู่ๆ ก็เสียศูนย์หดหายไปอย่างฉันพลัน โดยที่ในช่วงก่อนที่จะเกิดอุทกภัยใหญ่ แรงขับดันทางการเมืองกำลังถูกผลักดันอย่างหนักหน่วงเพื่อมุ่งไปสู่จุดหมายปลายทาง ซึ่งก็คือทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่อยู่ในฐานะผู้ถูกพิพากษาลงโทษในคดีความผิดทางอาญา สามารถเดินทางกลับคืนประเทศไทยได้ในฐานะเสรีชนภายในสิ้นปีนี้ ทั้งนี้พรรคเพื่อไทยของเธอได้รับการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม โดยที่ได้เสนอนโยบายประชานิยมเรื่องต่างๆ อย่างมากมาย เป็นต้นว่า การรับจำนำข้าวเปลือกในราคาสูงลิ่วถึงตันละ 15,000 บาท, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศ, การแจกจ่ายเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตฟรีๆ ให้เด็กนักเรียนทุกคน นอกเหนือจากการแจกฟรีให้เปล่าในเรื่องเล็กเรื่องน้อยสัพเพเหระอย่างอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม อุทกภัยคราวนี้ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากจำนวนของผู้เสียชีวิตและขอบเขตของความเสียหายอันกว้างขวาง ได้ทำให้เสน่ห์ของข้อเสนอประชานิยมแจกแหลกเหล่านี้เสื่อมมนตร์ขลังลงไปเป็นอันมาก อันที่จริงตั้งแต่ก่อนเกิดน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้แล้ว แบรนด์ลัทธิประชานิยมของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถูกมองกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นเพียงการลอกเลียนอย่างชนิดหยาบๆ ไร้ความประณีต จากแผนการเอาอกเอาใจคนยากคนจนฉบับดั้งเดิมของ พ.ต.ท.ทักษิณเท่านั้น โดยที่โครงการดั้งเดิมในยุค พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นโครงการที่มุ่งไปยังเรื่องการส่งเสริมกองทุนพัฒนาหมู่บ้าน, การเลื่อนกำหนดการชำระหนี้สินให้เกษตรกร, และการให้การดูแลรักษาสุขภาพอย่างครอบคลุมโดยเรียกเก็บค่าใช้จ่ายถูกมากๆ นักวิจารณ์จำนวนมากทีเดียวแสดงความคิดเห็นว่า นโยบายประชานิยมแบบของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเป็นอันตรายต่อคนยากจนในชนบทยิ่งที่จะให้ประโยชน์ นอกจากนั้นจากการที่รัฐเข้าไปแทรกแซงในเรื่องต่างๆ เป็นต้นว่า ราคาข้าว และค่าจ้างขั้นต่ำ ยังจะทำให้เกิดการบิดเบือนอย่างสำคัญทางด้านราคาขึ้นมาในตลอดทั่วทั้งระบบเศรษฐกิจทีเดียว
ฌอน ดับเบิลยู คริสพิน เป็นบรรณาธิการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของเอเชียไทมส์ออนไลน์
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)