(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Do or die for Thai democracy
By Shawn W Crispin
12/04/2011
ในขณะที่ประเทศไทยเดินมาถึงหลักหมายครบรอบ 1 ปีภายหลังการเสียชีวิตและความเสียหายจากการประท้วงของ “พวกเสื้อแดง” การแข่งขันในการเลือกตั้งซึ่งเป็นที่คาดการณ์กันอย่างกว้างขวางว่าจะเป็นการชิงชัยกันอย่างเข้มข้นระหว่างกลุ่มพลังงานทางการเมืองของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้เนรเทศตนเองไปอยู่ในต่างแดน กับพรรคประชาธิปัตย์ของนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็กำลังตั้งเค้าก่อตัวขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน คำถามที่ใหญ่โตยิ่งกว่านั้นเสียอีกก็คือว่า ฝ่ายที่เป็นผู้พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งจะยอมรับการปราชัยของพวกตนหรือไม่ ในยามที่หากมีสัญญาณใดๆ ของความปั่นป่วนวุ่นวายปรากฏขึ้นมาให้เห็น ก็อาจกลายเป็นการเร่งให้ฝ่ายทหารเข้ามายึดอำนาจและระงับใช้ระบอบประชาธิปไตย
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
กรุงเทพฯ – นายกรัฐมนตรีไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตั้งความหวังเอาไว้ว่า การจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นมาก่อนกำหนดวาระ จะช่วยให้บรรดาฝักฝ่ายทางการเมืองต่างๆ ซึ่งมีความเป็นศัตรูกันอย่างขมขื่นกันอยู่ สามารถที่จะกลับมาปรองดองกัน และนำพาการเมืองที่เต็มไปด้วยการประท้วงต่อต้านของประเทศนี้ มุ่งหน้าไปสู่ความมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมาจะเป็นช่วงเวลาที่การเมืองค่อนข้างเงียบสงบ แต่ก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนเลยว่า พวกผู้เล่นทรงอำนาจทั้งหลาย จะยอมรับผลลัพธ์ของประชาธิปไตยที่ออกมาขัดแย้งกับผลประโยชน์ของพวกเขาหรือไม่
เป็นที่คาดหมายกันว่านายอภิสิทธิ์จะประกาศยุบสภาในตอนต้นเดือนพฤษภาคม เพื่อปูทางให้แก่การจัดการเลือกตั้งขึ้นในช่วงประมาณปลายเดือนมิถุนายนหรือไม่ก็ต้นเดือนกรกฎาคม ผลการสำรวจหยั่งความคิดเห็นประชาชนในเบื้องต้นของหลายๆ สำนัก บ่งชี้ให้เห็นว่าการแข่งขันชิงชัยในการเลือกตั้งคราวนี้จะเป็นไปอย่างคู่คี่มาก ถึงแม้คาดหมายกันว่าคงจะไม่มีพรรคไหนที่จะชนะถึงขั้นได้ครองเสียงข้างมากไปอย่างเด็ดขาด และน่าที่จะต้องขอให้พวกพรรคขนาดเล็กกว่าเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรในการจัดตั้งรัฐบาลผสม ขณะที่มีความคิดเห็นกันว่า รัฐบาลสามัคคีแห่งชาติซึ่งประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์ของนายอภิสิทธิ์ และพรรคเพื่อไทยที่เป็นฝ่ายค้านนั้น เป็นสิ่งที่จะมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยที่สุดจากการเลือกตั้งครั้งนี้
ประเทศไทยในเวลานี้ได้ถอยกลับออกมาจากขอบเหวแห่งการประท้วงรุนแรงตามท้องถนนเมื่อปีที่แล้ว โดยที่ในตอนนั้นมีทั้งการโจมตีด้วยลูกระเบิด, การวางระเบิดแสวงเครื่องเป็นระลอกที่ไม่มีใครประกาศความรับผิดชอบ, การลอบสังหารในสไตล์ฝีมือของฝ่ายทหาร, การวางเพลิงเผาเมือง, และการปะทะต่อสู้กันด้วยอาวุธที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต การปะทะกันที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ประท้วงของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งเป็นฝ่ายนิยมทักษิณ กับกองทหารรัฐบาล ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 91 คน ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นพวก “เสื้อแดง” ที่แต่งกายแบบพลเรือน ทั้งสองฝ่ายต่างประณามอีกฝ่ายหนึ่งว่าเป็นผู้ปลุกปั่นยั่วยุจนทำให้เกิดการเสียชีวิตและความเสียหายขึ้นมา และจวบจนถึงเวลานี้ รัฐบาลและกองทัพต่างปฏิเสธไม่ขอรับผิดชอบสำหรับการเสียชีวิตที่เกิดขึ้น
ตามคำบอกเล่าของผู้ช่วยทางฝ่ายรัฐบาลผู้หนึ่งซึ่งสามารถเข้าถึงตัวนายกฯอภิสิทธิ์ได้เป็นประจำ การที่บังเกิดความสงบขึ้นก่อนที่จะถึงการเลือกตั้งเช่นนี้ แท้ที่จริงแล้วเป็นผลมาจากการประนีประนอมกันหลังฉากที่สามารถตกลงเห็นพ้องกันได้เมื่อประมาณปลายปีที่แล้ว ระหว่างรัฐบาลนายอภิสิทธิ์และผู้สนับสนุนฝ่ายหนึ่ง กับค่ายของ พ.ต.ท.ทักษิณอีกฝ่ายหนึ่ง บุคคลวงในรายเดียวกันนี้เปิดเผยด้วยว่า แง่มุมแรกๆ ของการทำความตกลงกันที่มีหลายด้านหลายมุมมองคราวนี้ ได้มีผู้เข้าทำมาทำหน้าที่เป็นคนกลางให้มีการเจรจากันตั้งแต่เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ซึ่งก็เป็นช่วงระยะเดียวกับที่พวกผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างประเทศได้พบปะกับพวกผู้ช่วยระดับท็อปของทักษิณ และกับพวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลในกรุงเทพฯ
การตกลงประนีประนอมกันที่เกิดขึ้นนี้ มีรูปร่างลักษณะอย่างไรกันแน่ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดเจน นอกจากนั้นในเฉพาะหน้านี้ก็ยังไม่อาจระบุได้อย่างแน่นอนว่า ความพยายามที่จะเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยจากระดับระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการสนทนาหารือกับฝ่ายต่างๆ ของอดีตนักการทูตระดับท็อปของสหรัฐฯผู้หนึ่งด้วยนั้น ได้มีส่วนช่วยให้เกิดข้อตกลงนี้หรือไม่ แต่ไม่นานนักหลังจากการพบปะกันในระดับสูงระหว่างพวกที่ทราบกันว่าเป็นพันธมิตรของทักษิณกับฝ่ายคนกลางไกล่เกลี่ยระหว่างประเทศแล้ว การลอบวางระเบิดที่ไม่มีผู้ใดแสดงความรับผิดชอบซึ่งเคยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ก็ได้ยุติลงไปอย่างชนิดไม่มีคำอธิบายตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว
การโจมตีด้วยระเบิดดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นมาในเวลาไม่นานนักหลังจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้พิพากษาในเดือนกุมภาพันธ์ 2010 ให้ยึดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นจำนวน 1,400 ลานดอลลาร์สหรัฐฯ จากทรัพย์สินส่วนตัวที่เขามีอยู่ทั้งสิ้น 2,300 ล้านดอลลาร์ โดยเป็นการลงโทษที่เขากระทำความผิดต่างๆ อันเกี่ยวพันกับการทุจริตคอร์รัปชั่นในช่วงที่เขาครองอำนาจเป็นนายกรัฐมนตรี จากการวิเคราะห์โดยอิงกับเป้าหมายต่างๆ ที่ถูกเล่นงานโจมตี พวกนักการทูตและนักวิเคราะห์หลายรายทีเดียว ตีความการวางระเบิดดังกล่าวนี้ไปในทิศทางที่ว่า อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์มุ่งสร้างความไร้เสถียรภาพเพื่อที่จะรักษาอำนาจต่อรองของฝ่ายทักษิณในการประจันหน้ากับรัฐบาลเอาไว้ ทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณและพวกผู้ช่วยระดับท็อปของเขาต่างปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโจมตีเหล่านี้ ขณะที่พวกผู้นำ นปช. ก็ประณามกล่าวโทษเรื่อยมาว่า เป็นการกระทำของกลุ่มพลังมืดในกองทัพ ซึ่งพวกเขาไม่ระบุชื่อว่าเป็นใคร
ประมาณช่วงเวลาเดียวกับที่เหตุวางระเบิดเหล่านี้ยุติลง รัฐบาลก็ได้ยกเลิกการติดตามไล่ล่าอย่างกระตือรือร้นก่อนหน้านี้ เพื่อกดดันให้มีการส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) กลับมายังประเทศไทย ในฐานะเป็นผู้ร้ายข้ามแดน ทั้งนี้อดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้ได้พำนักอาศัยอยู่ในยูเออีนับตั้งแต่ที่หลบหนีโทษจำคุกเป็นเวลา 2 ปีที่ศาลไทยตัดสินระวางโทษเอาไว้เมื่อเดือนสิงหาคม 2008
ใกล้ๆ ช่วงสิ้นปีที่แล้ว รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ยังยินยอมให้ พ.ต.ท.ทักษิณได้คืนทรัพย์สินในส่วน 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯซึ่งมิได้ถูกสั่งยึดตามคำพิพากษาครั้งประวัติศาสตร์ของศาลฎีกาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2010 อีกด้วย ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของบุคคลวงในดังกล่าวที่คุ้นเคยกับสถานการณ์เรื่องนี้เป็นอย่างดี ทางด้านกระทรวงการคลังนั้นแจ้งว่าไม่ขอยืนยันหรือปฏิเสธเรื่องที่ พ.ต.ท.ทักษิณได้รับอนุญาตให้เข้าถึงทรัพย์สินส่วนที่ระบุเอาไว้ข้างต้น
**ค่อนข้างเชื่องเชื่อ**
ในเวลาเดียวกัน การชุมนุมครั้งต่างๆ ในกรุงเทพฯของ นปช.ภายหลังที่พวกเขาถูกปราบปรามสลายการชุมนุมเมื่อกลางปีที่แล้ว ปรากฏว่าต่างก็อยู่ในลักษณะค่อนข้างเชื่องเชื่อ และดำเนินไปอย่างจำกัดวงตนเองเอามากๆ โดยที่มีการจัดชุมนุมประมาณเดือนละครั้ง และชุมนุมกันเพียงแค่จนถึงตอนดึกของช่วงวันสุดสัปดาห์ ทั้งนี้ นปช.ในช่วงหลังๆ นี้ก็มีคณะผู้นำใหม่ซึ่งมี นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ เป็นผู้รักษาการประธาน นายอภิสิทธิ์และนางธิดาเคยพบปะหารือกันในลักษณะที่ถูกระบุว่าเป็นการพบกันแบบปัจจุบันทันด่วนไม่มีการนัดหมายกันก่อน ณ โรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯเมื่อประมาณกลางเดือนธันวาคม ซึ่งเมื่อหวนคิดย้อนหลังกลับไป การพบปะคราวนั้นก็ดูจะเป็นการบ่งบอกเป็นนัยๆ ว่า การทำความตกลงประนีประนอมกันตามที่ระบุเอาไว้ข้างต้น ซึ่งเป็นการประนีประนอมในขอบเขตกว้างขวางกว่าเสียด้วยซ้ำนั้น ได้กระทำกันเสร็จสิ้นเรียบร้อยไปก่อนแล้ว
เมื่อถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ พวกผู้นำ นปช. 7 คนก็ได้รับการประกันตัวออกจากเรือนจำ และตั้งแต่นั้นมาก็ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจกรรมการประท้วงชนิดไม่มีความรุนแรงอะไรเรื่อยมา ถัดจากนั้น พวกผู้นำ นปช.คนอื่นๆ ที่หลบหนีไปยังกัมพูชาภายหลังการปราบปรามในเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ก็ได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับสู่ประเทศไทยโดยที่ไม่ถูกจับกุมตัว นอกจากนั้น พวกการ์ดของ นปช.กลุ่มหนึ่งจำนวน 12 คนซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสมาชิกในส่วนกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มประท้วงกลุ่มนี้ ได้รับการปล่อยตัวเช่นกัน โดยที่นับแต่นั้นได้ถูกพบเห็นว่าพวกเขาไปทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้แก่การชุมนุมครั้งหนึ่งของ นปช.เมื่อเร็วๆ นี้ที่จังหวัดอุดรธานี จังหวัดนี้ถือเป็นที่มั่นอันเข้มแข็งแห่งหนึ่งของ พ.ต.ท.ทักษิณและของ นปช.
ในการแสดงท่าทีที่ดูเหมือนกับเป็นการอ่อนข้อให้แก่การเรียกร้องของรัฐบาลนั้น ทาง นปช.ได้ประกาศบนเวทีประท้วงของตนเมื่อเดือนที่แล้วว่า นปช.จะไม่อดทนยินยอมให้ผู้ประท้วงใดๆ อาศัยสถานที่จัดชุมนุมของกลุ่ม เพื่อเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวสารต่อต้านพระมหากษัตริย์ เครื่องหมายประการหนึ่งแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญของกลุ่มที่ทราบกันดีว่ามีส่วนประกอบซึ่งเป็นพวกนิยมสาธารณรัฐอยู่ด้วยกลุ่มนี้ ได้แก่การที่มีผู้ประท้วงอย่างน้อยที่สุดคนหนึ่งถูกพวกการ์ดของ นปช.จับกุมและนำตัวส่งให้ทางเจ้าหน้าที่ในวันเดียวกันนั้นเอง ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของแหล่งข่าวรายหนึ่งซึ่งคุ้นเคยกับสถานการณ์นี้เป็นอย่างดี
ก่อนหน้านั้นเมื่อย้อนหลังไปจนถึงเดือนกันยายนปีที่แล้ว การจัดชุมนุมของ นปช.ที่ขณะนั้นมีนายสมบัติ บุญงามอนงค์ นักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคม เป็นผู้นำในทางพฤตินัยของกลุ่ม ปรากฏว่ามีผู้ประท้วงหลายคนได้ขีดเขียนข้อความและภาพที่เป็นการต่อต้านราชวงศ์ บนแผ่นแผงกั้นสถานที่ก่อสร้างซึ่งตั้งอยู่รอบๆ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ทั้งนี้ศูนย์การค้าแห่งนี้ได้ถูกจุดไฟเผา พร้อมๆ กับอาคารอื่นๆ อีกกว่า 30 หลังในลักษณะที่ดูเหมือนเป็นการตอบโต้ต่อการที่ฝ่ายทหารเข้าปราบปรามสลายการชุมนุมของ นปช.ในวันที่ 19 พฤษภาคม อย่างไรก็ตาม อีกไม่นานหลังจากการชุมนุมที่กล่าวถึงนี้ ก็เกิดสิ่งที่บุคคลวงใน นปช.ผู้หนึ่งเรียกว่าเป็น “การปฏิวัติเงียบ” ภายใน นปช. นั่นคือ นางธิดาเข้ารับบทบาทหน้าที่เป็นผู้นำของกลุ่ม ส่วนนายสมบัติก็ถอยห่างออกไปอย่างคลุมเครือนับตั้งแต่นั้น
บางทีเรื่องที่มีความสำคัญมากยิ่งกว่านั้นเสียอีก ก็คือการที่ทางเจ้าหน้าที่ได้ละเว้นไม่จับกุมอดีตนายทหารระดับท็อปที่จงรักภักดีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณจำนวน 4 คน โดยเป็นที่เชื่อกันว่านายทหารเหล่านี้คือผู้ทำหน้าที่บังคับบัญชาอยู่ใน “วอร์รูม” ซึ่งได้วางแผนบงการให้เกิดความรุนแรงจำนวนมากอันเกี่ยวข้องกับการประท้วง นายอภิสิทธิ์ได้เคยกล่าวกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ว่า ตำรวจกำลังสอบสวนบุคคลทั้ง 4 อยู่ ทั้งนี้ในจำนวน 4 คนนี้มีอยู่รายหนึ่งเป็นนายทหารอาวุโสของกองทัพบกที่เคยตกเป็นข่าวคาดเก็งกันว่าจะได้ขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบกในช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณยังเป็นนายกรัฐมนตรี ทว่าภายหลังเกิดการรัฐประหารในปี 2006 แล้ว เขาก็ถูกโยกย้ายไปอยู่ในตำแหน่งที่ไร้ความสำคัญ ขณะที่นายทหารอาวุโสอีกรายหนึ่งนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่ามีสายสัมพันธ์กับพวกมาเฟียทหาร
บุคคลวงในที่ระบุไว้ข้างต้นบอกว่า สิ่งที่ทั้งสองฝ่ายมีอยู่ร่วมกันจนกระทั่งทำให้เกิดการตกลงประนีประนอมในระดับกว้างขวางได้นั้น ก็คือการที่ทั้งสองฝ่ายต่างมีความมุ่งมั่นผูกพันที่จะแก้ไขความแตกต่างอย่างสำคัญของพวกเขาโดยอาศัยการเลือกตั้ง แทนที่จะใช้วิธีการที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งและความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นอีก บุคคลวงในผู้นี้ยังตั้งข้อสังเกตว่า มีการกระทำที่ดูจะเป็นการแสดงออกถึงการปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้ เป็นต้นว่า ระหว่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณได้โฟนอินถึงพรรคเพื่อไทยเมื่อเร็วๆ นั้น เขาได้พูดจาโดยใช้ถ้อยคำที่มุ่งกระตุ้นให้พรรคเข้าแข่งขันในการเลือกตั้ง ไม่ใช่การสุมไฟเติมเชื้อให้ นปช.ลุกฮือขึ้นมาโค่นล้มรัฐบาล แบบที่เขาเคยกระทำมาในอดีต
ฌอน ดับเบิลยู คริสพิน เป็นบรรณาธิการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชียไทมส์ออนไลน์
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
Do or die for Thai democracy
By Shawn W Crispin
12/04/2011
ในขณะที่ประเทศไทยเดินมาถึงหลักหมายครบรอบ 1 ปีภายหลังการเสียชีวิตและความเสียหายจากการประท้วงของ “พวกเสื้อแดง” การแข่งขันในการเลือกตั้งซึ่งเป็นที่คาดการณ์กันอย่างกว้างขวางว่าจะเป็นการชิงชัยกันอย่างเข้มข้นระหว่างกลุ่มพลังงานทางการเมืองของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้เนรเทศตนเองไปอยู่ในต่างแดน กับพรรคประชาธิปัตย์ของนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็กำลังตั้งเค้าก่อตัวขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน คำถามที่ใหญ่โตยิ่งกว่านั้นเสียอีกก็คือว่า ฝ่ายที่เป็นผู้พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งจะยอมรับการปราชัยของพวกตนหรือไม่ ในยามที่หากมีสัญญาณใดๆ ของความปั่นป่วนวุ่นวายปรากฏขึ้นมาให้เห็น ก็อาจกลายเป็นการเร่งให้ฝ่ายทหารเข้ามายึดอำนาจและระงับใช้ระบอบประชาธิปไตย
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
กรุงเทพฯ – นายกรัฐมนตรีไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตั้งความหวังเอาไว้ว่า การจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นมาก่อนกำหนดวาระ จะช่วยให้บรรดาฝักฝ่ายทางการเมืองต่างๆ ซึ่งมีความเป็นศัตรูกันอย่างขมขื่นกันอยู่ สามารถที่จะกลับมาปรองดองกัน และนำพาการเมืองที่เต็มไปด้วยการประท้วงต่อต้านของประเทศนี้ มุ่งหน้าไปสู่ความมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมาจะเป็นช่วงเวลาที่การเมืองค่อนข้างเงียบสงบ แต่ก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนเลยว่า พวกผู้เล่นทรงอำนาจทั้งหลาย จะยอมรับผลลัพธ์ของประชาธิปไตยที่ออกมาขัดแย้งกับผลประโยชน์ของพวกเขาหรือไม่
เป็นที่คาดหมายกันว่านายอภิสิทธิ์จะประกาศยุบสภาในตอนต้นเดือนพฤษภาคม เพื่อปูทางให้แก่การจัดการเลือกตั้งขึ้นในช่วงประมาณปลายเดือนมิถุนายนหรือไม่ก็ต้นเดือนกรกฎาคม ผลการสำรวจหยั่งความคิดเห็นประชาชนในเบื้องต้นของหลายๆ สำนัก บ่งชี้ให้เห็นว่าการแข่งขันชิงชัยในการเลือกตั้งคราวนี้จะเป็นไปอย่างคู่คี่มาก ถึงแม้คาดหมายกันว่าคงจะไม่มีพรรคไหนที่จะชนะถึงขั้นได้ครองเสียงข้างมากไปอย่างเด็ดขาด และน่าที่จะต้องขอให้พวกพรรคขนาดเล็กกว่าเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรในการจัดตั้งรัฐบาลผสม ขณะที่มีความคิดเห็นกันว่า รัฐบาลสามัคคีแห่งชาติซึ่งประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์ของนายอภิสิทธิ์ และพรรคเพื่อไทยที่เป็นฝ่ายค้านนั้น เป็นสิ่งที่จะมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยที่สุดจากการเลือกตั้งครั้งนี้
ประเทศไทยในเวลานี้ได้ถอยกลับออกมาจากขอบเหวแห่งการประท้วงรุนแรงตามท้องถนนเมื่อปีที่แล้ว โดยที่ในตอนนั้นมีทั้งการโจมตีด้วยลูกระเบิด, การวางระเบิดแสวงเครื่องเป็นระลอกที่ไม่มีใครประกาศความรับผิดชอบ, การลอบสังหารในสไตล์ฝีมือของฝ่ายทหาร, การวางเพลิงเผาเมือง, และการปะทะต่อสู้กันด้วยอาวุธที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต การปะทะกันที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ประท้วงของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งเป็นฝ่ายนิยมทักษิณ กับกองทหารรัฐบาล ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 91 คน ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นพวก “เสื้อแดง” ที่แต่งกายแบบพลเรือน ทั้งสองฝ่ายต่างประณามอีกฝ่ายหนึ่งว่าเป็นผู้ปลุกปั่นยั่วยุจนทำให้เกิดการเสียชีวิตและความเสียหายขึ้นมา และจวบจนถึงเวลานี้ รัฐบาลและกองทัพต่างปฏิเสธไม่ขอรับผิดชอบสำหรับการเสียชีวิตที่เกิดขึ้น
ตามคำบอกเล่าของผู้ช่วยทางฝ่ายรัฐบาลผู้หนึ่งซึ่งสามารถเข้าถึงตัวนายกฯอภิสิทธิ์ได้เป็นประจำ การที่บังเกิดความสงบขึ้นก่อนที่จะถึงการเลือกตั้งเช่นนี้ แท้ที่จริงแล้วเป็นผลมาจากการประนีประนอมกันหลังฉากที่สามารถตกลงเห็นพ้องกันได้เมื่อประมาณปลายปีที่แล้ว ระหว่างรัฐบาลนายอภิสิทธิ์และผู้สนับสนุนฝ่ายหนึ่ง กับค่ายของ พ.ต.ท.ทักษิณอีกฝ่ายหนึ่ง บุคคลวงในรายเดียวกันนี้เปิดเผยด้วยว่า แง่มุมแรกๆ ของการทำความตกลงกันที่มีหลายด้านหลายมุมมองคราวนี้ ได้มีผู้เข้าทำมาทำหน้าที่เป็นคนกลางให้มีการเจรจากันตั้งแต่เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ซึ่งก็เป็นช่วงระยะเดียวกับที่พวกผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างประเทศได้พบปะกับพวกผู้ช่วยระดับท็อปของทักษิณ และกับพวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลในกรุงเทพฯ
การตกลงประนีประนอมกันที่เกิดขึ้นนี้ มีรูปร่างลักษณะอย่างไรกันแน่ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดเจน นอกจากนั้นในเฉพาะหน้านี้ก็ยังไม่อาจระบุได้อย่างแน่นอนว่า ความพยายามที่จะเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยจากระดับระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการสนทนาหารือกับฝ่ายต่างๆ ของอดีตนักการทูตระดับท็อปของสหรัฐฯผู้หนึ่งด้วยนั้น ได้มีส่วนช่วยให้เกิดข้อตกลงนี้หรือไม่ แต่ไม่นานนักหลังจากการพบปะกันในระดับสูงระหว่างพวกที่ทราบกันว่าเป็นพันธมิตรของทักษิณกับฝ่ายคนกลางไกล่เกลี่ยระหว่างประเทศแล้ว การลอบวางระเบิดที่ไม่มีผู้ใดแสดงความรับผิดชอบซึ่งเคยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ก็ได้ยุติลงไปอย่างชนิดไม่มีคำอธิบายตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว
การโจมตีด้วยระเบิดดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นมาในเวลาไม่นานนักหลังจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้พิพากษาในเดือนกุมภาพันธ์ 2010 ให้ยึดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นจำนวน 1,400 ลานดอลลาร์สหรัฐฯ จากทรัพย์สินส่วนตัวที่เขามีอยู่ทั้งสิ้น 2,300 ล้านดอลลาร์ โดยเป็นการลงโทษที่เขากระทำความผิดต่างๆ อันเกี่ยวพันกับการทุจริตคอร์รัปชั่นในช่วงที่เขาครองอำนาจเป็นนายกรัฐมนตรี จากการวิเคราะห์โดยอิงกับเป้าหมายต่างๆ ที่ถูกเล่นงานโจมตี พวกนักการทูตและนักวิเคราะห์หลายรายทีเดียว ตีความการวางระเบิดดังกล่าวนี้ไปในทิศทางที่ว่า อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์มุ่งสร้างความไร้เสถียรภาพเพื่อที่จะรักษาอำนาจต่อรองของฝ่ายทักษิณในการประจันหน้ากับรัฐบาลเอาไว้ ทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณและพวกผู้ช่วยระดับท็อปของเขาต่างปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโจมตีเหล่านี้ ขณะที่พวกผู้นำ นปช. ก็ประณามกล่าวโทษเรื่อยมาว่า เป็นการกระทำของกลุ่มพลังมืดในกองทัพ ซึ่งพวกเขาไม่ระบุชื่อว่าเป็นใคร
ประมาณช่วงเวลาเดียวกับที่เหตุวางระเบิดเหล่านี้ยุติลง รัฐบาลก็ได้ยกเลิกการติดตามไล่ล่าอย่างกระตือรือร้นก่อนหน้านี้ เพื่อกดดันให้มีการส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) กลับมายังประเทศไทย ในฐานะเป็นผู้ร้ายข้ามแดน ทั้งนี้อดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้ได้พำนักอาศัยอยู่ในยูเออีนับตั้งแต่ที่หลบหนีโทษจำคุกเป็นเวลา 2 ปีที่ศาลไทยตัดสินระวางโทษเอาไว้เมื่อเดือนสิงหาคม 2008
ใกล้ๆ ช่วงสิ้นปีที่แล้ว รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ยังยินยอมให้ พ.ต.ท.ทักษิณได้คืนทรัพย์สินในส่วน 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯซึ่งมิได้ถูกสั่งยึดตามคำพิพากษาครั้งประวัติศาสตร์ของศาลฎีกาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2010 อีกด้วย ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของบุคคลวงในดังกล่าวที่คุ้นเคยกับสถานการณ์เรื่องนี้เป็นอย่างดี ทางด้านกระทรวงการคลังนั้นแจ้งว่าไม่ขอยืนยันหรือปฏิเสธเรื่องที่ พ.ต.ท.ทักษิณได้รับอนุญาตให้เข้าถึงทรัพย์สินส่วนที่ระบุเอาไว้ข้างต้น
**ค่อนข้างเชื่องเชื่อ**
ในเวลาเดียวกัน การชุมนุมครั้งต่างๆ ในกรุงเทพฯของ นปช.ภายหลังที่พวกเขาถูกปราบปรามสลายการชุมนุมเมื่อกลางปีที่แล้ว ปรากฏว่าต่างก็อยู่ในลักษณะค่อนข้างเชื่องเชื่อ และดำเนินไปอย่างจำกัดวงตนเองเอามากๆ โดยที่มีการจัดชุมนุมประมาณเดือนละครั้ง และชุมนุมกันเพียงแค่จนถึงตอนดึกของช่วงวันสุดสัปดาห์ ทั้งนี้ นปช.ในช่วงหลังๆ นี้ก็มีคณะผู้นำใหม่ซึ่งมี นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ เป็นผู้รักษาการประธาน นายอภิสิทธิ์และนางธิดาเคยพบปะหารือกันในลักษณะที่ถูกระบุว่าเป็นการพบกันแบบปัจจุบันทันด่วนไม่มีการนัดหมายกันก่อน ณ โรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯเมื่อประมาณกลางเดือนธันวาคม ซึ่งเมื่อหวนคิดย้อนหลังกลับไป การพบปะคราวนั้นก็ดูจะเป็นการบ่งบอกเป็นนัยๆ ว่า การทำความตกลงประนีประนอมกันตามที่ระบุเอาไว้ข้างต้น ซึ่งเป็นการประนีประนอมในขอบเขตกว้างขวางกว่าเสียด้วยซ้ำนั้น ได้กระทำกันเสร็จสิ้นเรียบร้อยไปก่อนแล้ว
เมื่อถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ พวกผู้นำ นปช. 7 คนก็ได้รับการประกันตัวออกจากเรือนจำ และตั้งแต่นั้นมาก็ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจกรรมการประท้วงชนิดไม่มีความรุนแรงอะไรเรื่อยมา ถัดจากนั้น พวกผู้นำ นปช.คนอื่นๆ ที่หลบหนีไปยังกัมพูชาภายหลังการปราบปรามในเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ก็ได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับสู่ประเทศไทยโดยที่ไม่ถูกจับกุมตัว นอกจากนั้น พวกการ์ดของ นปช.กลุ่มหนึ่งจำนวน 12 คนซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสมาชิกในส่วนกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มประท้วงกลุ่มนี้ ได้รับการปล่อยตัวเช่นกัน โดยที่นับแต่นั้นได้ถูกพบเห็นว่าพวกเขาไปทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้แก่การชุมนุมครั้งหนึ่งของ นปช.เมื่อเร็วๆ นี้ที่จังหวัดอุดรธานี จังหวัดนี้ถือเป็นที่มั่นอันเข้มแข็งแห่งหนึ่งของ พ.ต.ท.ทักษิณและของ นปช.
ในการแสดงท่าทีที่ดูเหมือนกับเป็นการอ่อนข้อให้แก่การเรียกร้องของรัฐบาลนั้น ทาง นปช.ได้ประกาศบนเวทีประท้วงของตนเมื่อเดือนที่แล้วว่า นปช.จะไม่อดทนยินยอมให้ผู้ประท้วงใดๆ อาศัยสถานที่จัดชุมนุมของกลุ่ม เพื่อเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวสารต่อต้านพระมหากษัตริย์ เครื่องหมายประการหนึ่งแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญของกลุ่มที่ทราบกันดีว่ามีส่วนประกอบซึ่งเป็นพวกนิยมสาธารณรัฐอยู่ด้วยกลุ่มนี้ ได้แก่การที่มีผู้ประท้วงอย่างน้อยที่สุดคนหนึ่งถูกพวกการ์ดของ นปช.จับกุมและนำตัวส่งให้ทางเจ้าหน้าที่ในวันเดียวกันนั้นเอง ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของแหล่งข่าวรายหนึ่งซึ่งคุ้นเคยกับสถานการณ์นี้เป็นอย่างดี
ก่อนหน้านั้นเมื่อย้อนหลังไปจนถึงเดือนกันยายนปีที่แล้ว การจัดชุมนุมของ นปช.ที่ขณะนั้นมีนายสมบัติ บุญงามอนงค์ นักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคม เป็นผู้นำในทางพฤตินัยของกลุ่ม ปรากฏว่ามีผู้ประท้วงหลายคนได้ขีดเขียนข้อความและภาพที่เป็นการต่อต้านราชวงศ์ บนแผ่นแผงกั้นสถานที่ก่อสร้างซึ่งตั้งอยู่รอบๆ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ทั้งนี้ศูนย์การค้าแห่งนี้ได้ถูกจุดไฟเผา พร้อมๆ กับอาคารอื่นๆ อีกกว่า 30 หลังในลักษณะที่ดูเหมือนเป็นการตอบโต้ต่อการที่ฝ่ายทหารเข้าปราบปรามสลายการชุมนุมของ นปช.ในวันที่ 19 พฤษภาคม อย่างไรก็ตาม อีกไม่นานหลังจากการชุมนุมที่กล่าวถึงนี้ ก็เกิดสิ่งที่บุคคลวงใน นปช.ผู้หนึ่งเรียกว่าเป็น “การปฏิวัติเงียบ” ภายใน นปช. นั่นคือ นางธิดาเข้ารับบทบาทหน้าที่เป็นผู้นำของกลุ่ม ส่วนนายสมบัติก็ถอยห่างออกไปอย่างคลุมเครือนับตั้งแต่นั้น
บางทีเรื่องที่มีความสำคัญมากยิ่งกว่านั้นเสียอีก ก็คือการที่ทางเจ้าหน้าที่ได้ละเว้นไม่จับกุมอดีตนายทหารระดับท็อปที่จงรักภักดีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณจำนวน 4 คน โดยเป็นที่เชื่อกันว่านายทหารเหล่านี้คือผู้ทำหน้าที่บังคับบัญชาอยู่ใน “วอร์รูม” ซึ่งได้วางแผนบงการให้เกิดความรุนแรงจำนวนมากอันเกี่ยวข้องกับการประท้วง นายอภิสิทธิ์ได้เคยกล่าวกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ว่า ตำรวจกำลังสอบสวนบุคคลทั้ง 4 อยู่ ทั้งนี้ในจำนวน 4 คนนี้มีอยู่รายหนึ่งเป็นนายทหารอาวุโสของกองทัพบกที่เคยตกเป็นข่าวคาดเก็งกันว่าจะได้ขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบกในช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณยังเป็นนายกรัฐมนตรี ทว่าภายหลังเกิดการรัฐประหารในปี 2006 แล้ว เขาก็ถูกโยกย้ายไปอยู่ในตำแหน่งที่ไร้ความสำคัญ ขณะที่นายทหารอาวุโสอีกรายหนึ่งนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่ามีสายสัมพันธ์กับพวกมาเฟียทหาร
บุคคลวงในที่ระบุไว้ข้างต้นบอกว่า สิ่งที่ทั้งสองฝ่ายมีอยู่ร่วมกันจนกระทั่งทำให้เกิดการตกลงประนีประนอมในระดับกว้างขวางได้นั้น ก็คือการที่ทั้งสองฝ่ายต่างมีความมุ่งมั่นผูกพันที่จะแก้ไขความแตกต่างอย่างสำคัญของพวกเขาโดยอาศัยการเลือกตั้ง แทนที่จะใช้วิธีการที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งและความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นอีก บุคคลวงในผู้นี้ยังตั้งข้อสังเกตว่า มีการกระทำที่ดูจะเป็นการแสดงออกถึงการปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้ เป็นต้นว่า ระหว่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณได้โฟนอินถึงพรรคเพื่อไทยเมื่อเร็วๆ นั้น เขาได้พูดจาโดยใช้ถ้อยคำที่มุ่งกระตุ้นให้พรรคเข้าแข่งขันในการเลือกตั้ง ไม่ใช่การสุมไฟเติมเชื้อให้ นปช.ลุกฮือขึ้นมาโค่นล้มรัฐบาล แบบที่เขาเคยกระทำมาในอดีต
ฌอน ดับเบิลยู คริสพิน เป็นบรรณาธิการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชียไทมส์ออนไลน์
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)