(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Taliban onslaught undermines peace effort
By Mina Habib
14/06/2011
สมัชชาสันติภาพที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลคาบูลเพื่อทำหน้าที่ติดต่อเจรจากับพวกตอลิบาน กำลังอยู่ในฐานะลำบากย่ำแย่ ในเมื่อเกิดเหตุโจมตีต่อเนื่องกันเป็นชุด ทั้งการวางระเบิด, การทำร้ายด้วยกำลังอาวุธ, และการลอบสังหารเป้าหมายแบบวางแผนล่วงหน้า ซึ่งทำให้กลายเป็นการตอกย้ำว่าความพยายามของสมัชชา ยังไร้ความคืบหน้าอันน่าชื่นใจ ขณะเดียวกันบรรดาฝ่ายค้านของอัฟกานิสถานก็วิจารณ์ว่า ยุทธศาสตร์มุ่งสร้างปฏิสัมพันธ์ของประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ประสบความล้มเหลว ส่วนพวกผู้ก่อความไม่สงบยืนยันว่า ตราบใดที่กองทหารต่างชาติยังไม่ถอนตัวออกไป ก็อย่าหวังว่าการพูดคุยเพื่อสร้างสันติภาพจะเริ่มต้นขึ้นได้
คาบูล, อัฟกานิสถาน - การก่อเหตุโจมตีครั้งแล้วครั้งเล่าของพวกผู้ก่อความไม่สงบในช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทำให้ยิ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างเข้มข้นต่อความพยายามของทางการ ที่มุ่งจะดึงเอาพวกตอลิบานให้เข้ามาร่วมในกระบวนการเจรจาสร้างสันติภาพ
สมัชชาระดับสูงเพื่อสันติภาพ (High Peace Council) ที่จัดตั้งขึ้นโดยประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ (Hamid Karzai) เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา กำลังถูกรุมกินโต๊ะจากทุกๆ ฝ่าย บางพวกกล่าวหาว่าสมัชชานี้แสดงท่าทีพร้อมที่จะยินยอมอ่อนข้อให้แก่พวกผู้ก่อการร้ายมากเกินไป ขณะที่ฝ่ายอื่นๆ บอกว่าการที่พวกตอลิบานยังคงก่อการโจมตีเป็นระลอกอย่างไม่หยุดยั้งเช่นนี้ เป็นสิ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าสมัชชาคงจะกำลังเจรจากับพวกผู้ก่อการร้ายผิดตัวเป็นแน่
“เรากำลังมีชีวิตอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีศัตรูปรากฏตัวให้เห็นอย่างชัดเจน” สมาชิกรัฐสภา โมฮัมหมัด ซาเลห์ ซัลจูกิ (Mohammad Saleh Saljuki) กล่าวเช่นนี้ในระหว่างการปราศรัยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวโตโลนิวส์ (Tolo News agency) “ท่านประธานาธิบดีของเรากำลังหลงทาง และสมัชชาสันติภาพก็กำลังล้มเหลวไม่สามารถค้นหาให้เจอว่าใครคือพวกที่ควรจะเจรจาสันติภาพด้วย”
ซัลจูกิพูดเรื่องนี้ภายหลังที่พวกตอลิบานลงมือออกปฏิบัติการตลอดทั่วประเทศอัฟกานิสถานครั้งแล้วครั้งเล่า โดยเหตุการณ์ล่าสุดคือการโจมตี 2 ครั้งในวันที่ 30 พฤษภาคมที่เมืองเฮรัต ที่อยู่ทางภาคตะวันตกของประเทศ ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 4 คน และบาดเจ็บกว่า 50 คน โดยที่ 1 ใน 2 ครั้งนี้เป็นการเล่นงานที่ทำการแห่งหนึ่งขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization หรือ NATO)
ก่อนหน้านั้น 2 วัน ปฏิบัติการของมือระเบิดฆ่าตัวตายรายหนึ่งในจังหวัดตาคาร์(Takhar) ได้สังหาร พล.อ.โมฮัมหมัด ดาอุด ดาอุด (Mohammad Daud Daud) ผู้บัญชาการกองกำลังตำรวจในเขตภาคเหนือของอัฟกานิสถาน และ ชาห์ จาฮาน นูริ (Shah Jahan Nuri) ผู้บังคับการตำรวจของจังหวัดแห่งนี้ นอกจากนั้นยังทำให้ผู้ว่าการจังหวัด อับดุล จับบาร์ ตักวา (Abdul Jabbar Taqwa) ตลอดจน พล.ต.มาร์คุส คะไนป์ (Marcus Kneip) นายทหารเยอรมันที่เป็นผู้บัญชาการกองกำลังทหารนาโต้ในภาคเหนืออัฟกานิสถาน ได้รับบาดเจ็บ
ในเดือนเมษายน ข่าน โมฮัมหมัด มูจาฮิด (Khan Mohammad Mujahid) ผู้บังคับการตำรวจของจังหวัดกันดาฮาร์ (Kandahar) ที่อยู่ทางภาคใต้ของประเทศ ได้ถูกสังหารเมื่อมือระเบิดฆ่าตัวตายเข้าโจมตีกองบังคับการของเขา ส่วน อับดุล เราะหมาน ซายเอดคิลิ (Abdul Rahman Sayedkhili) ผู้บังคับการตำรวจจังหวัดคุนดุซ (Kunduz) ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือ ก็เสียชีวิตในลักษณะเดียวกันเมื่อเดือนมีนาคม
ในสัปดาห์นี้เอง มีการค้นพบศพของ จาวัด เซฮัค (Jawad Zehak) ประธานสภาจังหวัดบาเมียน (Bamian) ที่อยู่ทางภาคกลางของประเทศ โดยที่หน่วยงานข่าวกรองของอัฟกานิสถานประณามพวกผู้ก่อความไม่สงบว่าเป็นผู้ลักพาตัวและสังหารเขา พร้อมกับบอกด้วยว่าการฆาตกรรมคราวนี้เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์เพื่อทำให้พื้นที่ส่วนต่างๆ ของอัฟกานิสถานอยู่ในภาวะไร้เสถียรภาพ ในจังหวะเวลาที่กำลังจะมีการส่งมอบอำนาจการควบคุมพื้นที่ จากกองกำลังของนาโต้มาอยู่ในมือของฝ่ายทหารอัฟกานิสถาน
ประธานาธิบดีคาร์ไซจัดตั้งสมัชชาระดับสูงนี้ขึ้นมา ภายหลังการประชุมของสภาชาวชนเผ่า หรือ จิรกา (jirga) ระดับชาติเมื่อเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน ได้ให้การรับรองเห็นชอบในหลักการ ให้แสวงหาหนทางทำข้อตกลงกับพวกกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ โดยให้รวมไปถึงกลุ่มเฮซบ์-ไอ อิสลามี (Hezb-i Islami) ของ กุลบุดดีน เฮกมัตยาร์ (Gulbuddin Hekmatyar) และเครือข่ายเฮกกอนี (Haqqani network), ตลอดจนพวกตอลิบาน
ตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว สมัชชานี้ก็ต้องเผชิญกับข้อกล่าวหาต่างๆ จากหลายๆ ด้านพร้อมๆ กัน เสียงวิจารณ์เหล่านี้มีตั้งแต่เรื่องที่ว่าสมัชชากำลังทำงานอย่างล้มเหลวไม่บังเกิดความคืบหน้าเป็นชิ้นเป็นอันอะไร ไปจนถึงการที่สมัชชาแสดงท่าทีพร้อมประนีประนอมมากเกินจนเกินไป ตัวอย่างเช่น การช่วยวิ่งเต้นเพื่อให้มีการปล่อยตัวผู้ก่อความไม่สงบที่ถูกจับกุมตัว โดยที่แทบไม่ได้รับอะไรตอบแทนกลับมาเลย
สภาสูงของรัฐสภาอัฟกานิสถาน ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เมชราโน เจรกา (Meshrano Jerga) เมื่อเร็วๆ นี้ได้ออกมาระบุว่า นโยบายของรัฐบาลที่มุ่งสร้างปฏิสัมพันธ์กับพวกผู้ก่อความไม่สงบ กำลังล้มเหลวไม่เป็นท่า ดังเห็นได้จากสถานการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยซึ่งเลวร้ายลงแทนที่จะกระเตื้องดีขึ้น นับตั้งแต่ที่เริ่มมีการจัดตั้งสมัชชาสันติภาพขึ้นมา
ทางด้านนักวิเคราะห์การเมืองอย่าง จาวิด โคฮิสตานี (Jawid Kohistani) ก็มองว่าเท่าที่ผ่านมาจนถึงบัดนี้ การติดต่อเจรจาที่พยายามกระทำกัน ยังคงล้มเหลวไม่สามารถโน้มน้าวบุคคลระดับสูงของตอลิบานได้เลยแม้แต่คนเดียว และการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ทำอยู่ก็ดูเหมือนจะเป็นการติดต่อกับพวกกลุ่มที่ไร้ความสลักสำคัญ
“ในกระบวนการนี้มีการใช้เงินทองไปเป็นจำนวนมากมายมหาศาลทีเดียว ทว่ากลับไม่มีผลลัพธ์ที่น่าชื่นใจอะไรเลย” เขาบอก
ควรต้องตราไว้ด้วยว่า เสียงจำนวนมากที่กำลังพูดคัดค้านการมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มตอลิบานนั้น มาจากบรรดานักการเมืองทางภาคเหนือ ซึ่งมักเป็นเครือข่ายเกี่ยวข้องผูกพันอยู่กับกลุ่มติดอาวุธต่างๆ ที่ได้ทำการสู้รบกับตอลิบานมายาวนาน ตั้งแต่สมัยที่ตอลิบานเป็นฝ่ายชนะได้เข้าปกครองควบคุมอัฟกานิสถานในช่วงทศวรรษ 1990
บุคคลคนหนึ่งในหมู่นักการเมืองเหล่านี้ ได้แก่ ฮะยี โมฮัมหมัด โมฮาเกก (Hajji Mohammad Mohaqeq) หัวหน้าพรรคฮิซบ์-อี วาห์ดัต (Hizb-e Wahdat) เขาออกมาพูดคัดค้านสมัชชาสันติภาพ ทั้งๆ ที่ตัวเขาเองเป็นสมาชิกคนหนึ่งในองค์กรนี้
“สมัชชาระดับสูงเพื่อสันติภาพ เอาแต่ออกคำสั่งให้ปล่อยตัวพวกตอลิบานที่ถูกจับตัวเป็นนักโทษ กองกำลังความมั่นคงเต้องเที่ยวค้นหาจับกุมผู้ก่อการร้าย แต่พอได้มาแล้วสมัชชาระดับสูงเพื่อสันติภาพ ตลอดจนคณะกรรมการสันติภาพ (ซึ่งเป็นองค์กรที่มีมาก่อนสมัชชา) กลับบอกให้ปล่อยตัวพวกนี้เป็นอิสระ” เขาแถลงเช่นนี้ในรัฐสภาเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา “การเจาจากับฝ่ายค้านเหล่านี้กำลังอยู่ในลักษณะตบมือข้างเดียว และเป็นความพยายามที่จะเจรจาด้วยจุดยืนที่อ่อนแอ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็รังแต่จะกลายเป็นปลุกขวัญให้กำลังใจฝ่ายค้านเหล่านี้ให้ก่อการนองเลือดมากขึ้น”
อย่างไรก็ดี สมัชชาคนอื่นๆ ในสมัชชาระดับสูงเพื่อสันติภาพ ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาของโมฮาเกก
“สิ่งที่โมฮาเกกพูดนั้นไม่เป็นความจริงเลย” ฟาเซล คาริม ไอมัก (Fazel Karim Aimaq) สมาชิกอีกผู้หนึ่งของสมัชชา กล่าวตอบโต้ “เท่าที่ผ่านมาจนถึงเวลานี้ สมัชชาระดับสูงเพื่อสันติภาพยังไม่เคยสั่งปล่อยตัวใครเลย”
ไอมักยังกล่าวปกป้องผลงานของสมัชชา โดยบอกว่าสามารถผลักดันสร้างความคืบหน้าไปเป็นอย่างมาก ทว่าความคืบหน้าเหล่านี้ส่วนใหญ่ทีเดียวไม่สามารถแจ้งให้สาธารณชนทราบได้ เนื่องจากเป็นประแด็นปัญหาที่อ่อนไหวยิ่ง
ทางด้านรัฐบาลเองอ้างว่าตั้งแต่ที่มีการจัดตั้งสมัชชาระดับสูงเพื่อสันติภาพขึ้นมา ได้มีพวกตอลิบานยอมวางอาวุธไปแล้วกว่า 1,000 คน ทว่าฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบเองได้แถลงปฏิเสธเรื่องนี้ ขณะที่เจ้าหน้าที่ตลอดจนพวกนักสังเกตการณ์บางรายก็เห็นด้วยยอมรับว่า พวกที่ยอมจำนนเหล่านี้จำนวนมากทีเดียวไม่เคยเป็นผู้ก่อความไม่สงบเลย และมาผสมโรงมอบตัวกับเขาด้วยก็เพียงหวังที่จะได้รับสิ่งตอบแทนต่างๆ ซึ่งมีทั้งที่เป็นเรื่องการเงินและอื่นๆ ตามที่ทางการเสนอให้แก่พวกหัวรุนแรงที่ยินยอมหันมาอยู่ทางฝ่ายรัฐบาล
บ่อยครั้งทีเดียวที่มีการตั้งข้อกล่าวหาประการต่างๆ ต่อสมัชชา ทั้งนี้องค์กรแห่งนี้ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 68 คน ซึ่งทั้งหมดได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีคาร์ไซ สมาชิกเหล่านี้ส่วนหนึ่งเคยเป็นผู้นำของกองกำลังอาวุธท้องถิ่นกลุ่มต่างๆ ที่เคยเข้าร่วมในสงครามกลางเมืองอันนองเลือดในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ส่วนสมาชิกคนอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งก็เป็นอดีตสมาชิกของตอลิบาน และ เฮซบ์-ไอ อิสลามี พวกนักวิจารณ์บอกว่าอดีตขุนศึกเหล่านี้ไม่น่าใช่บุคคลที่ควรมอบหมายให้กระทำภารกิจในการมุ่งมั่นสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นมา
“สมาชิกบางคนของสมัชชาสันติภาพถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ปรกอบอาชญากรรมเสียเอง” นักวิเคราะห์การเมือง โคฮิสตานี กล่าว “ตราบใดที่บุคคลประเภทนี้ยังคงนั่งอยู่ในสมัชชาสันติภาพแล้ว มันก็เป็นไปไม่ได้หรอกที่จะมีการดำเนินกระบวนการมุ่งไปสู่สันติภาพอย่างจริงจัง”
ยังมีนักวิเคราะห์คนอื่นๆที่มีความเห็นว่า สมัชชาแห่งนี้ประกอบด้วยพวกที่มีแนวความคิดแบบอนุรักษนิยมเคร่งจารีตมากเกินไป คนเหล่านี้ย่อมยอมรับได้อย่างสบายอกสบายใจกับการเรียกร้องของตอลิบาน ที่จะให้ใช้ระบบกฎเกณฑ์แบบอิสลามกันอย่างเข้มงวดเคร่งครัดยิ่งขึ้นอีก โดยให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการทำความตกลงประนีประนอมเพื่อไปสู่สันติภาพ
ท้ายที่สุดแล้ว มีทัศนะกันว่ากระบวนการเจรจาสันติภาพที่กำลังทำกันอยู่นี้ เมื่อพูดกันถึงที่สุดแล้วก็เป็นสิ่งที่ไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถยื่นข้อเสนอในสิ่งที่พวกตอลิบานพร้อมที่จะยอมรับ ทั้งนี้กรุงคาบูลยังได้ตั้งเงื่อนไขเอาไว้ว่า ก่อนที่จะมีการปรองดองรอมชอมกันนั้น พวกผู้ก่อความไม่สงบจะต้องวางอาวุธของตนอย่างไม่มีเงื่อนไข, ต้องยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของอัฟกานิสถาน, และต้องประณามการมีสายสัมพันธ์โยงใยกับพวกอัลกออิดะห์
พวกตอลิบานนั้นไม่เคยส่งสัญญาณใดๆ ว่ากำลังพยายามกระทำตามเงื่อนไขเหล่านี้เลย แต่กลับยืนกรานว่ากองทหารนาโต้ทั้งหมดต้องออกไปจากอัฟกานิสถานก่อน แล้วการเจรจากับฝ่ายคาบูลจึงจะสามารถเดินหน้าได้
ซาบิฮุลลาห์ โมจาเฮด (Zabihullah Mojahed) ผู้ทำหน้าที่เป็นโฆษกให้กับตอลิบานรายหนึ่ง ได้ปฏิเสธข้ออ้างของสมัชชาสันติภาพที่ว่าเวลานี้กำลังมีการเจรจากันอยู่ “การพูดจากันจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย จนกว่ากองกำลังของต่างชาติจะถอนตัวออกไปจากอัฟกานิสถานเท่านั้น เพราะตอลิบานจะไม่ยอมพูดจากับรัฐบาลหรอก ตราบใดที่ยังมีพวกต่างชาติปรากฏตัวให้เห็น” เขากล่าวย้ำ
ถึงแม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์สมัชชาสันติภาพตลอดจนกิจกรรมของสมัชชากันอย่างมากมายเช่นนี้ แต่ก็ยังมีชาวอัฟกันบางคนโต้แย้งว่า เป็นไปไม่ได้อยู่แล้วที่จะอาศัยหนทางแก้ไขปัญหาด้วยกำลังทหารมาคลี่คลายความขัดแย้งที่มีอยู่กับตอลิบาน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการเจรจากันเพื่อทำข้อตกลงกันในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ปรากฏว่าทัศนะเช่นนี้ของพวกเขาก็เป็นความคิดเห็นของพวกเจ้าหน้าที่ฝ่ายตะวันตก ซึ่งกำลังส่งสัญญาณว่ากำลังหาทางติดต่อกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มต่างๆ
แม้ว่า ซาฮีร์ ซาดัต (Zahir Saadat) จะเป็นสมาชิกรัฐสภาที่มาจากจังหวัดปัญจชีร์ (Panjshir) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เลื่องลือกันว่ามีความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์กับพวกตอลิบานอย่างแรงกล้า แต่เขาก็มีความเห็นว่า จำเป็นที่จะต้องให้สมัชชาสันติภาพดำเนินความพยายามของตนต่อไป
“สมัชชาอาจจะมีจุดอ่อนข้อบกพร่องหลายอย่างหลายประการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะใช้การไม่ได้ไปเสียหมด ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีทางทำอะไรสำเร็จ และสมควรที่จะยุบเลิกไปเสีย อันที่จริงมีสมาชิกของฝ่ายค้านจำนวนหนึ่งเข้ามาร่วมกับรัฐบาลแล้วโดยเป็นผลจากการทำงานของสมัชชา ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องให้การสนับสนุนกระบวนการนี้” เขากล่าว
มอร์ตาซา (Mortaza) ซึ่งเป็นชาวเมืองคาบูล เห็นด้วยกับทัศนะที่ว่าจำเป็นที่ต้องมีสมัชชาเอาไว้ เพื่อเป็นจุดในการติดต่อกับพวกผู้ก่อความไม่สงบที่กำลังเสาะแสวงหาทางสู่การเจรจายุติความขัดแย้ง “ใครล่ะที่พวกเขาสามารถติดต่อด้วย ถ้าหากไม่มีสมัชชานี้หรือองค์กรอะไรทำนองนี้เอาเลย” เขาตั้งคำถาม
ขณะที่ วาฮิด โอมาร์ (Wahid Omar) โฆษกทำเนียบประธานาธิบดีแถลงว่า การทำงานเพื่อก่อให้เกิดข้อตกลงสันติภาพจะต้องดำเนินต่อไป และไม่มีทางเลยที่สมัชชานี้จะถูกยุบทิ้ง
“ไม่มีใครที่มีอำนาจจะยุบเลิกสมัชชานี้ได้ เพราะสมัชชานี้ก่อตั้งขึ้นมาบนพื้นฐานของการอนุมัติรับรองโดย จิรกาให้คำปรึกษาเพื่อสันติภาพ (Consultative Peace Jirga)” เขาบอก
มินา ฮาบิบ เป็นผู้สื่อข่าวในอัฟกานิสถาน ที่ผ่านการฝึกอบรมจาก IWPR ทั้งนี้สถาบันเพื่อการรายงานข่าวสงครามและสันติภาพ (Institute for War and Peace Reporting ใช้อักษรย่อว่า IWPR) เป็นองค์การไม่แสวงกำไรที่มุ่งพัฒนาสื่อมวลชนในดินแดนที่เป็นแนวหน้าของความ ขัดแย้ง, วิกฤต, และการเปลี่ยนแปลง
Taliban onslaught undermines peace effort
By Mina Habib
14/06/2011
สมัชชาสันติภาพที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลคาบูลเพื่อทำหน้าที่ติดต่อเจรจากับพวกตอลิบาน กำลังอยู่ในฐานะลำบากย่ำแย่ ในเมื่อเกิดเหตุโจมตีต่อเนื่องกันเป็นชุด ทั้งการวางระเบิด, การทำร้ายด้วยกำลังอาวุธ, และการลอบสังหารเป้าหมายแบบวางแผนล่วงหน้า ซึ่งทำให้กลายเป็นการตอกย้ำว่าความพยายามของสมัชชา ยังไร้ความคืบหน้าอันน่าชื่นใจ ขณะเดียวกันบรรดาฝ่ายค้านของอัฟกานิสถานก็วิจารณ์ว่า ยุทธศาสตร์มุ่งสร้างปฏิสัมพันธ์ของประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ประสบความล้มเหลว ส่วนพวกผู้ก่อความไม่สงบยืนยันว่า ตราบใดที่กองทหารต่างชาติยังไม่ถอนตัวออกไป ก็อย่าหวังว่าการพูดคุยเพื่อสร้างสันติภาพจะเริ่มต้นขึ้นได้
คาบูล, อัฟกานิสถาน - การก่อเหตุโจมตีครั้งแล้วครั้งเล่าของพวกผู้ก่อความไม่สงบในช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทำให้ยิ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างเข้มข้นต่อความพยายามของทางการ ที่มุ่งจะดึงเอาพวกตอลิบานให้เข้ามาร่วมในกระบวนการเจรจาสร้างสันติภาพ
สมัชชาระดับสูงเพื่อสันติภาพ (High Peace Council) ที่จัดตั้งขึ้นโดยประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ (Hamid Karzai) เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา กำลังถูกรุมกินโต๊ะจากทุกๆ ฝ่าย บางพวกกล่าวหาว่าสมัชชานี้แสดงท่าทีพร้อมที่จะยินยอมอ่อนข้อให้แก่พวกผู้ก่อการร้ายมากเกินไป ขณะที่ฝ่ายอื่นๆ บอกว่าการที่พวกตอลิบานยังคงก่อการโจมตีเป็นระลอกอย่างไม่หยุดยั้งเช่นนี้ เป็นสิ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าสมัชชาคงจะกำลังเจรจากับพวกผู้ก่อการร้ายผิดตัวเป็นแน่
“เรากำลังมีชีวิตอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีศัตรูปรากฏตัวให้เห็นอย่างชัดเจน” สมาชิกรัฐสภา โมฮัมหมัด ซาเลห์ ซัลจูกิ (Mohammad Saleh Saljuki) กล่าวเช่นนี้ในระหว่างการปราศรัยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวโตโลนิวส์ (Tolo News agency) “ท่านประธานาธิบดีของเรากำลังหลงทาง และสมัชชาสันติภาพก็กำลังล้มเหลวไม่สามารถค้นหาให้เจอว่าใครคือพวกที่ควรจะเจรจาสันติภาพด้วย”
ซัลจูกิพูดเรื่องนี้ภายหลังที่พวกตอลิบานลงมือออกปฏิบัติการตลอดทั่วประเทศอัฟกานิสถานครั้งแล้วครั้งเล่า โดยเหตุการณ์ล่าสุดคือการโจมตี 2 ครั้งในวันที่ 30 พฤษภาคมที่เมืองเฮรัต ที่อยู่ทางภาคตะวันตกของประเทศ ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 4 คน และบาดเจ็บกว่า 50 คน โดยที่ 1 ใน 2 ครั้งนี้เป็นการเล่นงานที่ทำการแห่งหนึ่งขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization หรือ NATO)
ก่อนหน้านั้น 2 วัน ปฏิบัติการของมือระเบิดฆ่าตัวตายรายหนึ่งในจังหวัดตาคาร์(Takhar) ได้สังหาร พล.อ.โมฮัมหมัด ดาอุด ดาอุด (Mohammad Daud Daud) ผู้บัญชาการกองกำลังตำรวจในเขตภาคเหนือของอัฟกานิสถาน และ ชาห์ จาฮาน นูริ (Shah Jahan Nuri) ผู้บังคับการตำรวจของจังหวัดแห่งนี้ นอกจากนั้นยังทำให้ผู้ว่าการจังหวัด อับดุล จับบาร์ ตักวา (Abdul Jabbar Taqwa) ตลอดจน พล.ต.มาร์คุส คะไนป์ (Marcus Kneip) นายทหารเยอรมันที่เป็นผู้บัญชาการกองกำลังทหารนาโต้ในภาคเหนืออัฟกานิสถาน ได้รับบาดเจ็บ
ในเดือนเมษายน ข่าน โมฮัมหมัด มูจาฮิด (Khan Mohammad Mujahid) ผู้บังคับการตำรวจของจังหวัดกันดาฮาร์ (Kandahar) ที่อยู่ทางภาคใต้ของประเทศ ได้ถูกสังหารเมื่อมือระเบิดฆ่าตัวตายเข้าโจมตีกองบังคับการของเขา ส่วน อับดุล เราะหมาน ซายเอดคิลิ (Abdul Rahman Sayedkhili) ผู้บังคับการตำรวจจังหวัดคุนดุซ (Kunduz) ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือ ก็เสียชีวิตในลักษณะเดียวกันเมื่อเดือนมีนาคม
ในสัปดาห์นี้เอง มีการค้นพบศพของ จาวัด เซฮัค (Jawad Zehak) ประธานสภาจังหวัดบาเมียน (Bamian) ที่อยู่ทางภาคกลางของประเทศ โดยที่หน่วยงานข่าวกรองของอัฟกานิสถานประณามพวกผู้ก่อความไม่สงบว่าเป็นผู้ลักพาตัวและสังหารเขา พร้อมกับบอกด้วยว่าการฆาตกรรมคราวนี้เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์เพื่อทำให้พื้นที่ส่วนต่างๆ ของอัฟกานิสถานอยู่ในภาวะไร้เสถียรภาพ ในจังหวะเวลาที่กำลังจะมีการส่งมอบอำนาจการควบคุมพื้นที่ จากกองกำลังของนาโต้มาอยู่ในมือของฝ่ายทหารอัฟกานิสถาน
ประธานาธิบดีคาร์ไซจัดตั้งสมัชชาระดับสูงนี้ขึ้นมา ภายหลังการประชุมของสภาชาวชนเผ่า หรือ จิรกา (jirga) ระดับชาติเมื่อเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน ได้ให้การรับรองเห็นชอบในหลักการ ให้แสวงหาหนทางทำข้อตกลงกับพวกกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ โดยให้รวมไปถึงกลุ่มเฮซบ์-ไอ อิสลามี (Hezb-i Islami) ของ กุลบุดดีน เฮกมัตยาร์ (Gulbuddin Hekmatyar) และเครือข่ายเฮกกอนี (Haqqani network), ตลอดจนพวกตอลิบาน
ตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว สมัชชานี้ก็ต้องเผชิญกับข้อกล่าวหาต่างๆ จากหลายๆ ด้านพร้อมๆ กัน เสียงวิจารณ์เหล่านี้มีตั้งแต่เรื่องที่ว่าสมัชชากำลังทำงานอย่างล้มเหลวไม่บังเกิดความคืบหน้าเป็นชิ้นเป็นอันอะไร ไปจนถึงการที่สมัชชาแสดงท่าทีพร้อมประนีประนอมมากเกินจนเกินไป ตัวอย่างเช่น การช่วยวิ่งเต้นเพื่อให้มีการปล่อยตัวผู้ก่อความไม่สงบที่ถูกจับกุมตัว โดยที่แทบไม่ได้รับอะไรตอบแทนกลับมาเลย
สภาสูงของรัฐสภาอัฟกานิสถาน ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เมชราโน เจรกา (Meshrano Jerga) เมื่อเร็วๆ นี้ได้ออกมาระบุว่า นโยบายของรัฐบาลที่มุ่งสร้างปฏิสัมพันธ์กับพวกผู้ก่อความไม่สงบ กำลังล้มเหลวไม่เป็นท่า ดังเห็นได้จากสถานการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยซึ่งเลวร้ายลงแทนที่จะกระเตื้องดีขึ้น นับตั้งแต่ที่เริ่มมีการจัดตั้งสมัชชาสันติภาพขึ้นมา
ทางด้านนักวิเคราะห์การเมืองอย่าง จาวิด โคฮิสตานี (Jawid Kohistani) ก็มองว่าเท่าที่ผ่านมาจนถึงบัดนี้ การติดต่อเจรจาที่พยายามกระทำกัน ยังคงล้มเหลวไม่สามารถโน้มน้าวบุคคลระดับสูงของตอลิบานได้เลยแม้แต่คนเดียว และการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ทำอยู่ก็ดูเหมือนจะเป็นการติดต่อกับพวกกลุ่มที่ไร้ความสลักสำคัญ
“ในกระบวนการนี้มีการใช้เงินทองไปเป็นจำนวนมากมายมหาศาลทีเดียว ทว่ากลับไม่มีผลลัพธ์ที่น่าชื่นใจอะไรเลย” เขาบอก
ควรต้องตราไว้ด้วยว่า เสียงจำนวนมากที่กำลังพูดคัดค้านการมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มตอลิบานนั้น มาจากบรรดานักการเมืองทางภาคเหนือ ซึ่งมักเป็นเครือข่ายเกี่ยวข้องผูกพันอยู่กับกลุ่มติดอาวุธต่างๆ ที่ได้ทำการสู้รบกับตอลิบานมายาวนาน ตั้งแต่สมัยที่ตอลิบานเป็นฝ่ายชนะได้เข้าปกครองควบคุมอัฟกานิสถานในช่วงทศวรรษ 1990
บุคคลคนหนึ่งในหมู่นักการเมืองเหล่านี้ ได้แก่ ฮะยี โมฮัมหมัด โมฮาเกก (Hajji Mohammad Mohaqeq) หัวหน้าพรรคฮิซบ์-อี วาห์ดัต (Hizb-e Wahdat) เขาออกมาพูดคัดค้านสมัชชาสันติภาพ ทั้งๆ ที่ตัวเขาเองเป็นสมาชิกคนหนึ่งในองค์กรนี้
“สมัชชาระดับสูงเพื่อสันติภาพ เอาแต่ออกคำสั่งให้ปล่อยตัวพวกตอลิบานที่ถูกจับตัวเป็นนักโทษ กองกำลังความมั่นคงเต้องเที่ยวค้นหาจับกุมผู้ก่อการร้าย แต่พอได้มาแล้วสมัชชาระดับสูงเพื่อสันติภาพ ตลอดจนคณะกรรมการสันติภาพ (ซึ่งเป็นองค์กรที่มีมาก่อนสมัชชา) กลับบอกให้ปล่อยตัวพวกนี้เป็นอิสระ” เขาแถลงเช่นนี้ในรัฐสภาเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา “การเจาจากับฝ่ายค้านเหล่านี้กำลังอยู่ในลักษณะตบมือข้างเดียว และเป็นความพยายามที่จะเจรจาด้วยจุดยืนที่อ่อนแอ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็รังแต่จะกลายเป็นปลุกขวัญให้กำลังใจฝ่ายค้านเหล่านี้ให้ก่อการนองเลือดมากขึ้น”
อย่างไรก็ดี สมัชชาคนอื่นๆ ในสมัชชาระดับสูงเพื่อสันติภาพ ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาของโมฮาเกก
“สิ่งที่โมฮาเกกพูดนั้นไม่เป็นความจริงเลย” ฟาเซล คาริม ไอมัก (Fazel Karim Aimaq) สมาชิกอีกผู้หนึ่งของสมัชชา กล่าวตอบโต้ “เท่าที่ผ่านมาจนถึงเวลานี้ สมัชชาระดับสูงเพื่อสันติภาพยังไม่เคยสั่งปล่อยตัวใครเลย”
ไอมักยังกล่าวปกป้องผลงานของสมัชชา โดยบอกว่าสามารถผลักดันสร้างความคืบหน้าไปเป็นอย่างมาก ทว่าความคืบหน้าเหล่านี้ส่วนใหญ่ทีเดียวไม่สามารถแจ้งให้สาธารณชนทราบได้ เนื่องจากเป็นประแด็นปัญหาที่อ่อนไหวยิ่ง
ทางด้านรัฐบาลเองอ้างว่าตั้งแต่ที่มีการจัดตั้งสมัชชาระดับสูงเพื่อสันติภาพขึ้นมา ได้มีพวกตอลิบานยอมวางอาวุธไปแล้วกว่า 1,000 คน ทว่าฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบเองได้แถลงปฏิเสธเรื่องนี้ ขณะที่เจ้าหน้าที่ตลอดจนพวกนักสังเกตการณ์บางรายก็เห็นด้วยยอมรับว่า พวกที่ยอมจำนนเหล่านี้จำนวนมากทีเดียวไม่เคยเป็นผู้ก่อความไม่สงบเลย และมาผสมโรงมอบตัวกับเขาด้วยก็เพียงหวังที่จะได้รับสิ่งตอบแทนต่างๆ ซึ่งมีทั้งที่เป็นเรื่องการเงินและอื่นๆ ตามที่ทางการเสนอให้แก่พวกหัวรุนแรงที่ยินยอมหันมาอยู่ทางฝ่ายรัฐบาล
บ่อยครั้งทีเดียวที่มีการตั้งข้อกล่าวหาประการต่างๆ ต่อสมัชชา ทั้งนี้องค์กรแห่งนี้ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 68 คน ซึ่งทั้งหมดได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีคาร์ไซ สมาชิกเหล่านี้ส่วนหนึ่งเคยเป็นผู้นำของกองกำลังอาวุธท้องถิ่นกลุ่มต่างๆ ที่เคยเข้าร่วมในสงครามกลางเมืองอันนองเลือดในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ส่วนสมาชิกคนอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งก็เป็นอดีตสมาชิกของตอลิบาน และ เฮซบ์-ไอ อิสลามี พวกนักวิจารณ์บอกว่าอดีตขุนศึกเหล่านี้ไม่น่าใช่บุคคลที่ควรมอบหมายให้กระทำภารกิจในการมุ่งมั่นสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นมา
“สมาชิกบางคนของสมัชชาสันติภาพถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ปรกอบอาชญากรรมเสียเอง” นักวิเคราะห์การเมือง โคฮิสตานี กล่าว “ตราบใดที่บุคคลประเภทนี้ยังคงนั่งอยู่ในสมัชชาสันติภาพแล้ว มันก็เป็นไปไม่ได้หรอกที่จะมีการดำเนินกระบวนการมุ่งไปสู่สันติภาพอย่างจริงจัง”
ยังมีนักวิเคราะห์คนอื่นๆที่มีความเห็นว่า สมัชชาแห่งนี้ประกอบด้วยพวกที่มีแนวความคิดแบบอนุรักษนิยมเคร่งจารีตมากเกินไป คนเหล่านี้ย่อมยอมรับได้อย่างสบายอกสบายใจกับการเรียกร้องของตอลิบาน ที่จะให้ใช้ระบบกฎเกณฑ์แบบอิสลามกันอย่างเข้มงวดเคร่งครัดยิ่งขึ้นอีก โดยให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการทำความตกลงประนีประนอมเพื่อไปสู่สันติภาพ
ท้ายที่สุดแล้ว มีทัศนะกันว่ากระบวนการเจรจาสันติภาพที่กำลังทำกันอยู่นี้ เมื่อพูดกันถึงที่สุดแล้วก็เป็นสิ่งที่ไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถยื่นข้อเสนอในสิ่งที่พวกตอลิบานพร้อมที่จะยอมรับ ทั้งนี้กรุงคาบูลยังได้ตั้งเงื่อนไขเอาไว้ว่า ก่อนที่จะมีการปรองดองรอมชอมกันนั้น พวกผู้ก่อความไม่สงบจะต้องวางอาวุธของตนอย่างไม่มีเงื่อนไข, ต้องยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของอัฟกานิสถาน, และต้องประณามการมีสายสัมพันธ์โยงใยกับพวกอัลกออิดะห์
พวกตอลิบานนั้นไม่เคยส่งสัญญาณใดๆ ว่ากำลังพยายามกระทำตามเงื่อนไขเหล่านี้เลย แต่กลับยืนกรานว่ากองทหารนาโต้ทั้งหมดต้องออกไปจากอัฟกานิสถานก่อน แล้วการเจรจากับฝ่ายคาบูลจึงจะสามารถเดินหน้าได้
ซาบิฮุลลาห์ โมจาเฮด (Zabihullah Mojahed) ผู้ทำหน้าที่เป็นโฆษกให้กับตอลิบานรายหนึ่ง ได้ปฏิเสธข้ออ้างของสมัชชาสันติภาพที่ว่าเวลานี้กำลังมีการเจรจากันอยู่ “การพูดจากันจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย จนกว่ากองกำลังของต่างชาติจะถอนตัวออกไปจากอัฟกานิสถานเท่านั้น เพราะตอลิบานจะไม่ยอมพูดจากับรัฐบาลหรอก ตราบใดที่ยังมีพวกต่างชาติปรากฏตัวให้เห็น” เขากล่าวย้ำ
ถึงแม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์สมัชชาสันติภาพตลอดจนกิจกรรมของสมัชชากันอย่างมากมายเช่นนี้ แต่ก็ยังมีชาวอัฟกันบางคนโต้แย้งว่า เป็นไปไม่ได้อยู่แล้วที่จะอาศัยหนทางแก้ไขปัญหาด้วยกำลังทหารมาคลี่คลายความขัดแย้งที่มีอยู่กับตอลิบาน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการเจรจากันเพื่อทำข้อตกลงกันในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ปรากฏว่าทัศนะเช่นนี้ของพวกเขาก็เป็นความคิดเห็นของพวกเจ้าหน้าที่ฝ่ายตะวันตก ซึ่งกำลังส่งสัญญาณว่ากำลังหาทางติดต่อกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มต่างๆ
แม้ว่า ซาฮีร์ ซาดัต (Zahir Saadat) จะเป็นสมาชิกรัฐสภาที่มาจากจังหวัดปัญจชีร์ (Panjshir) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เลื่องลือกันว่ามีความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์กับพวกตอลิบานอย่างแรงกล้า แต่เขาก็มีความเห็นว่า จำเป็นที่จะต้องให้สมัชชาสันติภาพดำเนินความพยายามของตนต่อไป
“สมัชชาอาจจะมีจุดอ่อนข้อบกพร่องหลายอย่างหลายประการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะใช้การไม่ได้ไปเสียหมด ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีทางทำอะไรสำเร็จ และสมควรที่จะยุบเลิกไปเสีย อันที่จริงมีสมาชิกของฝ่ายค้านจำนวนหนึ่งเข้ามาร่วมกับรัฐบาลแล้วโดยเป็นผลจากการทำงานของสมัชชา ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องให้การสนับสนุนกระบวนการนี้” เขากล่าว
มอร์ตาซา (Mortaza) ซึ่งเป็นชาวเมืองคาบูล เห็นด้วยกับทัศนะที่ว่าจำเป็นที่ต้องมีสมัชชาเอาไว้ เพื่อเป็นจุดในการติดต่อกับพวกผู้ก่อความไม่สงบที่กำลังเสาะแสวงหาทางสู่การเจรจายุติความขัดแย้ง “ใครล่ะที่พวกเขาสามารถติดต่อด้วย ถ้าหากไม่มีสมัชชานี้หรือองค์กรอะไรทำนองนี้เอาเลย” เขาตั้งคำถาม
ขณะที่ วาฮิด โอมาร์ (Wahid Omar) โฆษกทำเนียบประธานาธิบดีแถลงว่า การทำงานเพื่อก่อให้เกิดข้อตกลงสันติภาพจะต้องดำเนินต่อไป และไม่มีทางเลยที่สมัชชานี้จะถูกยุบทิ้ง
“ไม่มีใครที่มีอำนาจจะยุบเลิกสมัชชานี้ได้ เพราะสมัชชานี้ก่อตั้งขึ้นมาบนพื้นฐานของการอนุมัติรับรองโดย จิรกาให้คำปรึกษาเพื่อสันติภาพ (Consultative Peace Jirga)” เขาบอก
มินา ฮาบิบ เป็นผู้สื่อข่าวในอัฟกานิสถาน ที่ผ่านการฝึกอบรมจาก IWPR ทั้งนี้สถาบันเพื่อการรายงานข่าวสงครามและสันติภาพ (Institute for War and Peace Reporting ใช้อักษรย่อว่า IWPR) เป็นองค์การไม่แสวงกำไรที่มุ่งพัฒนาสื่อมวลชนในดินแดนที่เป็นแนวหน้าของความ ขัดแย้ง, วิกฤต, และการเปลี่ยนแปลง