(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Trouble ahead in Pakistan’s new US phase
By Syed Saleem Shahzad
17/05/2011
จอห์น เคร์รี ประธานคณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ต่างประเทศของวุฒิสภาอเมริกัน ดูเหมือนจะสามารถทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับปากีสถานกลับคืนเข้าร่องเข้ารอย ถึงแม้เขาเพียงแค่ใช้ท่าทีอันตรงไปตรงมาโดยมิได้แสดงกลเม็ดเด็ดพรายอะไรเลย ในระหว่างการเดินทางเยือนกรุงอิสลามาบัดเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ภายหลังความคลี่คลายเช่นนี้แล้ว ในเวลานี้สมรถูมิสงครามอัฟกานิสถานจึงกำลังย่างเข้าสู่ “ระยะใหม่” และปากีสถานก็เข้าร่วมวงด้วยอีกคำรบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม พวกหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยเลยกับการทำข้อตกลงใหม่ๆ ใดๆ ก็ตามระหว่างวอชิงตันกับอิสลามาบัด ก็คือ บรรดานายทหารระดับกลางๆ ในกองทัพปากีสถานที่เป็นพวกหัวรุนแรง และนี่จะกลายเป็นปัญหาอันสาหัสในเวลาต่อไป
*รายงานข่าวชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**เปิดฉากการปฏิบัติการระยะต่อไป**
เวลานี้ในเมื่อ อุซามะห์ บิน ลาดิน ผู้เป็นบุคคลที่ถูกหมายหัวเอาไว้ระดับสูงสุด ในสงครามต่อต้านพวกอิสลามิสต์หัวรุนแรงที่นำโดยอเมริกัน ได้ถูกสังหารเสียชีวิตไปแล้ว พวกแกนนำหัวรุนแรงที่อยู่ภายในเขตแดนปากีสถาน ซึ่งจะถูกติดตามเล่นงานเป็นรายถัดๆ ไป น่าที่จะได้แก่ น.พ.อัยมาน อัล ซอวาฮีรี (Dr Ayman al-Zawahiri) ผู้นำอัลกออิดะห์คนรองลงมาจากบิน ลาดิน, มุลลาห์ โอมาร์ (Mullah Omar) ผู้นำของตอลิบาน, และ จาลาลุดดีน กับ ซิราจุดดีน (Sirajuddin) ฮักกอนี ตลอดจนพวกหัวรุนแรงระดับท็อปคนอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ภายหลังกรณีการสังหารบิน ลาดินที่เมืองอับบอตตาบัดแล้ว ก็ได้ก่อให้เกิดคำถามอันฉกาจฉกรรจ์ข้อหนึ่งขึ้นมาทั้งในระดับภายในประเทศปากีสถานเองและระดับนานาชาติ คำถามดังกล่าวก็คือบทบาทความเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ของสถาบันทหารของปากีสถาน ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง ข้อเท็จจริงที่ว่าคำแถลงและการให้ปากคำต่างๆ ของผู้นำกองทัพในระหว่างการประชุมร่วมของรัฐสภาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กลับเต็มไปด้วยความขัดแย้งกับข้อเท็จจริงจำนวนมาก ย่อมไม่ได้ช่วยให้ภาพลักษณ์ของพวกเขาดีขึ้นมาแต่อย่างใดเลย
ระหว่างการประชุมที่ต่อเนื่องถึงวันเสาร์(14)ที่แล้ว รัฐสภาปากีสถานมีมติประณามการที่สหรัฐฯส่งกำลังทหารบุกเข้าสังหารบิน ลาดินในดินแดนปากีสถาน โดยที่รัฐสภาระบุว่ามันเป็นการโจมตีล่วงละเมิดอธิปไตยของปากีสถาน พร้อมกันนั้นยังเรียกร้องให้สหรัฐฯยุติการกระทำตามอำเภอใจของตนฝ่ายเดียวภายในดินแดนของปากีสถาน ซึ่งรวมถึงการที่สหรัฐฯใช้อากาศยานไร้คนขับ (drone) เข้าโจมตีเล่นงานผู้ต้องสงสัยว่าเป็นพวกหัวรุนแรง มติของรัฐสภาปากีสถานระบุด้วยว่า ถ้าหากการโจมตีเหล่านี้ยังดำเนินต่อไปแล้ว ปากีสถานก็อาจพิจารณาเพิกถอนการให้ความสนับสนุนทางด้านการส่งกำลังบำรุงแก่กองทหารขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization หรือ NATO) ซึ่งกำลังปฏิบัติการอยู่ในอัฟกานิสถาน
แม้กระทั่งขณะที่ผู้นำกองทัพกำลังบรรยายสรุปสถานการณ์ต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภา อากาศยานไร้คนขับรุ่น เพรเดเตอร์ (predator) ของสำนักงานข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ (US Central Intelligence Agency หรือ CIA) ก็ถูกส่งออกมาทำการโจมตีเขตนอร์ท วาซิริสถาน อีกระลอกหนึ่ง ทำให้พวกสมาชิกรัฐสภาตั้งข้อกังขาเอากับผู้นำฝ่ายทหารเหล่านี้ว่า ไม่ได้ดำเนินการอย่างเพียงพอเลยเพื่อป้องกันมิให้มีอากาศยานไร้คนขับเข้ามาทำการโจมตีภายในเขตแดนปากีสถาน
มีรายงานข่าวว่า ในช่วงซึ่งที่ประชุมร่วมของรัฐสภาดำเนินการประชุมแบบปิดลับไม่ให้คนนอกเข้าฟังนั้น ทางกองทัพได้แจ้งต่อรัฐสภาว่า อากาศยานไร้คนขับเหล่านี้บินขึ้นจากฐานทัพอากาศ ซัมซี (Shamsi air base) ซึ่งตั้งอยู่ในแคว้นบาโลจิสถาน (Balochistan province) ของปากีสถาน แต่ผู้ที่เป็นเจ้าของสนามบินแห่งนี้คือประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คำพูดคำแถลงของกองทัพเช่นนี้ ขัดแย้งกับคำแถลงของเจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่เป็นโฆษกของกรม ISI ซึ่งได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่กันในเดือนที่แล้ว ในคราวนั้นโฆษกผู้นี้ระบุว่า ปากีสถานได้ปิดสนามบินชัมซี ไม่ให้อากาศยานไร้คนขับขึ้นบินอีกต่อไปแล้ว อย่างไรก็ดี เมื่อปรากฏว่าการโจมตียังคงดำเนินอยู่ ก็มีโฆษกกรม ISI ผู้หนึ่งออกมากล่าวว่า ตอนนี้อากาศยานไร้คนขับบินขึ้นจากดินแดนของอัฟกานิสถาน
ในที่ประชุมร่วมของรัฐสภา มีสมาชิกบางคนแสดงความไม่เห็นด้วยกับคำแถลงของผู้แทนกองทัพ โดยชี้ว่ากระทั่งปากีสถานไม่ได้เป็นเจ้าของสนามบินชัมซีก็ตามที อากาศยานไร้คนขับพวกนี้ก็ยังกำลังใช้น่านฟ้าของปากีสถานอยู่นั่นเอง และดังนั้นฝ่ายทหารจึงควรที่จะยิงให้ร่วงลงมา
“ปากีสถานนั้นมีสมรรถนะที่จะยิงอากาศยานไร้คนขับ รุ่น เพรเดเตอร์ ของซีไอเอ ให้ร่วงลงมาอย่างแน่นอน แต่รัฐบาลและรัฐสภาควรที่จะออกคำสั่งต่อเรา (ให้กระทำการดังกล่าว) รวมทั้งควรที่จะให้คำมั่นสัญญาที่จะยืนยันสนับสนุนอย่างแข็งขันอยู่ด้านหลังของกองทัพ เมื่อฝ่ายอเมริกันแสดงปฏิกิริยาตอบโต้กลับมาอย่างดุเดือดรุนแรง” รายงานข่าวระบุว่า ผู้บัญชาการทหารอากาศปากีสถาน พล.อ.อ.ราว กอมาร์ สุเลมาน (Rao Qamar Suleman) ได้ตอบเช่นนี้ต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภา ซึ่งในวันนั้นมีการประชุมหารืออย่างยาวนานถึง 10 ชั่วโมง
ระหว่างการประชุมคราวนี้เช่นเดียวกัน พล.ท.ปาชา อธิบดีกรม ISI ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกประณามตำหนิมากที่สุดสำหรับความล้มเหลวต่างๆในด้านข่าวกรอง ได้ออกมายืนยันว่าแท้ที่จริงแล้วควรต้องถือเป็นความล้มเหลวร่วมกันของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทั้งฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหารทุกๆ หน่วยต่างหาก ไม่ถูกต้องเลยที่จะมาเล่นงานเฉพาะ ISI เท่านั้น อย่างไรก็ดี เขาเสนอว่าถ้าหากรัฐสภาและรัฐบาลต้องการแล้ว เขาก็ยินดีที่จะลาออกจากตำแหน่ง
สิ่งที่แจ่มแจ้งชัดเจนแล้วในช่วงระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาก็คือ สหรัฐฯนั้นต้องการให้บังเกิดผลลัพธ์ตามที่ตนต้องการ ภายในระยะเวลาเพียงสั้นๆ และปากีสถานก็ไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกเหนือไปจากการต้องให้ความร่วมมือกับวอชิงตัน ในการไล่ล่าบุคคลสำคัญๆ ของตอลิบานที่แอบหลบซ่อนอยู่ในดินแดนของปากีสถาน
จุดนี้อาจจะกลายเป็นการเริ่มต้นของ “การจุดพลุดอกไม้ไฟ” อย่างจริงจังภายในสถาบันทหารของปากีสถานก็เป็นได้ ถ้าหากพวกนายทหารระดับกลาง ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็น “พวกนายทหารนอกแถว” (rogue elements) เข้าจับมือเป็นพันธมิตรกับพวกหัวรุนแรงฝ่ายสุหนี่ เพื่อก่อเหตุต่างๆ ขึ้นมาในแนวทางเดียวกับการโจมตีอย่างหฤโหดนองเลือดของพวกหัวรุนแรงต่อนครมุมไบของอินเดียในปี 2008 ซึ่งส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 150 คน (ดูเรื่อง Al-Qaeda 'hijack' led to Mumbai attack Asia Times Online, December 2, 2008.)
ภายหลังเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมสหรัฐฯในวันที่ 11 กันยายน 2001 แล้ว บรรดาผู้นำทหารของปากีสถานก็ได้เปลี่ยนแปลงกลับตาลปัตรนโยบายที่เคยใช้ในอดีต และหันมาเข้าร่วมใน “สงครามต่อสู้เอาชนะการก่อการร้าย” ของสหรัฐฯ แต่ปรากฏว่ามีนายทหารปากีสถานจำนวนมากทีเดียวที่ยื่นขอเกษียณอายุ แล้วยังคงทำงานช่วยเหลือเพื่อนนายทหารที่ยังรับราชการอยู่ ในการส่งเสริมสนับสนุนพวกตอลิบาน สภาพเช่นนี้เองได้ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพลวัตของสมรภูมิสงครามอัฟกานิสถาน (ดูเรื่อง Military brains plot Pakistan's downfall Asia Times Online, September 26, 2007)
พวกนายทหารทั้งที่เกษียณอายุแล้วและที่ยังคงรับราชการอยู่เหล่านี้เอง เป็นผู้รับผิดชอบก่อเหตุโจมตีเล่นงานฝ่ายทหารปากีสถานขึ้นมาหลายครั้งหลายคราว เป็นต้นว่า การโจมตีกองบัญชาการของฝ่ายทหารในปี 2009 และความพยายามที่จะลอบสังหารอดีตประธานาธิบดี พล.อ.เปอร์เวซ มูชาร์รัฟ (Pervez Musharraf)
วุฒิสมาชิกเคร์รีเดินทางมาเยือนปากีสถาน ก็เพื่อเตรียมการสำหรับการเปิดสงครามในเอเชียใต้ในขั้นตอนใหม่ ขณะที่กิจกรรมทั้งหลายในระหว่างการปรากฏตัวต่อหน้ารัฐสภาของพวกผู้นำกองทัพปากีสถาน มิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงให้เห็นถึงความพรักพร้อมที่จะถูกตรวจสอบเลย หากแต่เป็นการมุ่งแผ้วถางทางสำหรับขั้นตอนใหม่แห่งสงครามดังกล่าวนี้ต่างหาก
มันยังเป็นช่วงเวลาที่พันธมิตรระหว่างนายทหารซึ่งยังคงรับราชการอยู่กับพวกที่เกษียณอายุไปแล้ว อาจจะกลับมาเคลื่อนไหวกันอย่างคึกคักกระตือรือร้นอีกคำรบหนึ่ง เพื่อรื้อฟื้นการปฏิบัติต่างๆ ในภูมิภาคแถบนี้ นอกเหนือไปจากความเป็นไปได้ที่จะก่อการแข็งข้อขึ้นในกองทัพปากีสถานเพื่อต่อต้านเหล่าผู้บังคับบัญชาระดับสูงสุด
ไซเอด ซาลีม ชาห์ซาด เป็นหัวหน้าโต๊ะปากีสถานของเอเชียไทมส์ออนไลน์ เขาเป็นผู้เขียนหนังสือที่กำลังจะออกจำหน่ายในเร็วๆ นี้ซึ่งใช้ชื่อ Inside Al-Qaeda and the Taliban 9/11 and Beyond จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ Pluto Press สหราชอาณาจักร สำหรับที่อยู่ทางอีเมล์ของเขาคือ saleem_shahzad2002@yahoo.com
Trouble ahead in Pakistan’s new US phase
By Syed Saleem Shahzad
17/05/2011
จอห์น เคร์รี ประธานคณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ต่างประเทศของวุฒิสภาอเมริกัน ดูเหมือนจะสามารถทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับปากีสถานกลับคืนเข้าร่องเข้ารอย ถึงแม้เขาเพียงแค่ใช้ท่าทีอันตรงไปตรงมาโดยมิได้แสดงกลเม็ดเด็ดพรายอะไรเลย ในระหว่างการเดินทางเยือนกรุงอิสลามาบัดเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ภายหลังความคลี่คลายเช่นนี้แล้ว ในเวลานี้สมรถูมิสงครามอัฟกานิสถานจึงกำลังย่างเข้าสู่ “ระยะใหม่” และปากีสถานก็เข้าร่วมวงด้วยอีกคำรบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม พวกหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยเลยกับการทำข้อตกลงใหม่ๆ ใดๆ ก็ตามระหว่างวอชิงตันกับอิสลามาบัด ก็คือ บรรดานายทหารระดับกลางๆ ในกองทัพปากีสถานที่เป็นพวกหัวรุนแรง และนี่จะกลายเป็นปัญหาอันสาหัสในเวลาต่อไป
*รายงานข่าวชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**เปิดฉากการปฏิบัติการระยะต่อไป**
เวลานี้ในเมื่อ อุซามะห์ บิน ลาดิน ผู้เป็นบุคคลที่ถูกหมายหัวเอาไว้ระดับสูงสุด ในสงครามต่อต้านพวกอิสลามิสต์หัวรุนแรงที่นำโดยอเมริกัน ได้ถูกสังหารเสียชีวิตไปแล้ว พวกแกนนำหัวรุนแรงที่อยู่ภายในเขตแดนปากีสถาน ซึ่งจะถูกติดตามเล่นงานเป็นรายถัดๆ ไป น่าที่จะได้แก่ น.พ.อัยมาน อัล ซอวาฮีรี (Dr Ayman al-Zawahiri) ผู้นำอัลกออิดะห์คนรองลงมาจากบิน ลาดิน, มุลลาห์ โอมาร์ (Mullah Omar) ผู้นำของตอลิบาน, และ จาลาลุดดีน กับ ซิราจุดดีน (Sirajuddin) ฮักกอนี ตลอดจนพวกหัวรุนแรงระดับท็อปคนอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ภายหลังกรณีการสังหารบิน ลาดินที่เมืองอับบอตตาบัดแล้ว ก็ได้ก่อให้เกิดคำถามอันฉกาจฉกรรจ์ข้อหนึ่งขึ้นมาทั้งในระดับภายในประเทศปากีสถานเองและระดับนานาชาติ คำถามดังกล่าวก็คือบทบาทความเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ของสถาบันทหารของปากีสถาน ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง ข้อเท็จจริงที่ว่าคำแถลงและการให้ปากคำต่างๆ ของผู้นำกองทัพในระหว่างการประชุมร่วมของรัฐสภาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กลับเต็มไปด้วยความขัดแย้งกับข้อเท็จจริงจำนวนมาก ย่อมไม่ได้ช่วยให้ภาพลักษณ์ของพวกเขาดีขึ้นมาแต่อย่างใดเลย
ระหว่างการประชุมที่ต่อเนื่องถึงวันเสาร์(14)ที่แล้ว รัฐสภาปากีสถานมีมติประณามการที่สหรัฐฯส่งกำลังทหารบุกเข้าสังหารบิน ลาดินในดินแดนปากีสถาน โดยที่รัฐสภาระบุว่ามันเป็นการโจมตีล่วงละเมิดอธิปไตยของปากีสถาน พร้อมกันนั้นยังเรียกร้องให้สหรัฐฯยุติการกระทำตามอำเภอใจของตนฝ่ายเดียวภายในดินแดนของปากีสถาน ซึ่งรวมถึงการที่สหรัฐฯใช้อากาศยานไร้คนขับ (drone) เข้าโจมตีเล่นงานผู้ต้องสงสัยว่าเป็นพวกหัวรุนแรง มติของรัฐสภาปากีสถานระบุด้วยว่า ถ้าหากการโจมตีเหล่านี้ยังดำเนินต่อไปแล้ว ปากีสถานก็อาจพิจารณาเพิกถอนการให้ความสนับสนุนทางด้านการส่งกำลังบำรุงแก่กองทหารขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization หรือ NATO) ซึ่งกำลังปฏิบัติการอยู่ในอัฟกานิสถาน
แม้กระทั่งขณะที่ผู้นำกองทัพกำลังบรรยายสรุปสถานการณ์ต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภา อากาศยานไร้คนขับรุ่น เพรเดเตอร์ (predator) ของสำนักงานข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ (US Central Intelligence Agency หรือ CIA) ก็ถูกส่งออกมาทำการโจมตีเขตนอร์ท วาซิริสถาน อีกระลอกหนึ่ง ทำให้พวกสมาชิกรัฐสภาตั้งข้อกังขาเอากับผู้นำฝ่ายทหารเหล่านี้ว่า ไม่ได้ดำเนินการอย่างเพียงพอเลยเพื่อป้องกันมิให้มีอากาศยานไร้คนขับเข้ามาทำการโจมตีภายในเขตแดนปากีสถาน
มีรายงานข่าวว่า ในช่วงซึ่งที่ประชุมร่วมของรัฐสภาดำเนินการประชุมแบบปิดลับไม่ให้คนนอกเข้าฟังนั้น ทางกองทัพได้แจ้งต่อรัฐสภาว่า อากาศยานไร้คนขับเหล่านี้บินขึ้นจากฐานทัพอากาศ ซัมซี (Shamsi air base) ซึ่งตั้งอยู่ในแคว้นบาโลจิสถาน (Balochistan province) ของปากีสถาน แต่ผู้ที่เป็นเจ้าของสนามบินแห่งนี้คือประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คำพูดคำแถลงของกองทัพเช่นนี้ ขัดแย้งกับคำแถลงของเจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่เป็นโฆษกของกรม ISI ซึ่งได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่กันในเดือนที่แล้ว ในคราวนั้นโฆษกผู้นี้ระบุว่า ปากีสถานได้ปิดสนามบินชัมซี ไม่ให้อากาศยานไร้คนขับขึ้นบินอีกต่อไปแล้ว อย่างไรก็ดี เมื่อปรากฏว่าการโจมตียังคงดำเนินอยู่ ก็มีโฆษกกรม ISI ผู้หนึ่งออกมากล่าวว่า ตอนนี้อากาศยานไร้คนขับบินขึ้นจากดินแดนของอัฟกานิสถาน
ในที่ประชุมร่วมของรัฐสภา มีสมาชิกบางคนแสดงความไม่เห็นด้วยกับคำแถลงของผู้แทนกองทัพ โดยชี้ว่ากระทั่งปากีสถานไม่ได้เป็นเจ้าของสนามบินชัมซีก็ตามที อากาศยานไร้คนขับพวกนี้ก็ยังกำลังใช้น่านฟ้าของปากีสถานอยู่นั่นเอง และดังนั้นฝ่ายทหารจึงควรที่จะยิงให้ร่วงลงมา
“ปากีสถานนั้นมีสมรรถนะที่จะยิงอากาศยานไร้คนขับ รุ่น เพรเดเตอร์ ของซีไอเอ ให้ร่วงลงมาอย่างแน่นอน แต่รัฐบาลและรัฐสภาควรที่จะออกคำสั่งต่อเรา (ให้กระทำการดังกล่าว) รวมทั้งควรที่จะให้คำมั่นสัญญาที่จะยืนยันสนับสนุนอย่างแข็งขันอยู่ด้านหลังของกองทัพ เมื่อฝ่ายอเมริกันแสดงปฏิกิริยาตอบโต้กลับมาอย่างดุเดือดรุนแรง” รายงานข่าวระบุว่า ผู้บัญชาการทหารอากาศปากีสถาน พล.อ.อ.ราว กอมาร์ สุเลมาน (Rao Qamar Suleman) ได้ตอบเช่นนี้ต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภา ซึ่งในวันนั้นมีการประชุมหารืออย่างยาวนานถึง 10 ชั่วโมง
ระหว่างการประชุมคราวนี้เช่นเดียวกัน พล.ท.ปาชา อธิบดีกรม ISI ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกประณามตำหนิมากที่สุดสำหรับความล้มเหลวต่างๆในด้านข่าวกรอง ได้ออกมายืนยันว่าแท้ที่จริงแล้วควรต้องถือเป็นความล้มเหลวร่วมกันของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทั้งฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหารทุกๆ หน่วยต่างหาก ไม่ถูกต้องเลยที่จะมาเล่นงานเฉพาะ ISI เท่านั้น อย่างไรก็ดี เขาเสนอว่าถ้าหากรัฐสภาและรัฐบาลต้องการแล้ว เขาก็ยินดีที่จะลาออกจากตำแหน่ง
สิ่งที่แจ่มแจ้งชัดเจนแล้วในช่วงระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาก็คือ สหรัฐฯนั้นต้องการให้บังเกิดผลลัพธ์ตามที่ตนต้องการ ภายในระยะเวลาเพียงสั้นๆ และปากีสถานก็ไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกเหนือไปจากการต้องให้ความร่วมมือกับวอชิงตัน ในการไล่ล่าบุคคลสำคัญๆ ของตอลิบานที่แอบหลบซ่อนอยู่ในดินแดนของปากีสถาน
จุดนี้อาจจะกลายเป็นการเริ่มต้นของ “การจุดพลุดอกไม้ไฟ” อย่างจริงจังภายในสถาบันทหารของปากีสถานก็เป็นได้ ถ้าหากพวกนายทหารระดับกลาง ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็น “พวกนายทหารนอกแถว” (rogue elements) เข้าจับมือเป็นพันธมิตรกับพวกหัวรุนแรงฝ่ายสุหนี่ เพื่อก่อเหตุต่างๆ ขึ้นมาในแนวทางเดียวกับการโจมตีอย่างหฤโหดนองเลือดของพวกหัวรุนแรงต่อนครมุมไบของอินเดียในปี 2008 ซึ่งส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 150 คน (ดูเรื่อง Al-Qaeda 'hijack' led to Mumbai attack Asia Times Online, December 2, 2008.)
ภายหลังเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมสหรัฐฯในวันที่ 11 กันยายน 2001 แล้ว บรรดาผู้นำทหารของปากีสถานก็ได้เปลี่ยนแปลงกลับตาลปัตรนโยบายที่เคยใช้ในอดีต และหันมาเข้าร่วมใน “สงครามต่อสู้เอาชนะการก่อการร้าย” ของสหรัฐฯ แต่ปรากฏว่ามีนายทหารปากีสถานจำนวนมากทีเดียวที่ยื่นขอเกษียณอายุ แล้วยังคงทำงานช่วยเหลือเพื่อนนายทหารที่ยังรับราชการอยู่ ในการส่งเสริมสนับสนุนพวกตอลิบาน สภาพเช่นนี้เองได้ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพลวัตของสมรภูมิสงครามอัฟกานิสถาน (ดูเรื่อง Military brains plot Pakistan's downfall Asia Times Online, September 26, 2007)
พวกนายทหารทั้งที่เกษียณอายุแล้วและที่ยังคงรับราชการอยู่เหล่านี้เอง เป็นผู้รับผิดชอบก่อเหตุโจมตีเล่นงานฝ่ายทหารปากีสถานขึ้นมาหลายครั้งหลายคราว เป็นต้นว่า การโจมตีกองบัญชาการของฝ่ายทหารในปี 2009 และความพยายามที่จะลอบสังหารอดีตประธานาธิบดี พล.อ.เปอร์เวซ มูชาร์รัฟ (Pervez Musharraf)
วุฒิสมาชิกเคร์รีเดินทางมาเยือนปากีสถาน ก็เพื่อเตรียมการสำหรับการเปิดสงครามในเอเชียใต้ในขั้นตอนใหม่ ขณะที่กิจกรรมทั้งหลายในระหว่างการปรากฏตัวต่อหน้ารัฐสภาของพวกผู้นำกองทัพปากีสถาน มิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงให้เห็นถึงความพรักพร้อมที่จะถูกตรวจสอบเลย หากแต่เป็นการมุ่งแผ้วถางทางสำหรับขั้นตอนใหม่แห่งสงครามดังกล่าวนี้ต่างหาก
มันยังเป็นช่วงเวลาที่พันธมิตรระหว่างนายทหารซึ่งยังคงรับราชการอยู่กับพวกที่เกษียณอายุไปแล้ว อาจจะกลับมาเคลื่อนไหวกันอย่างคึกคักกระตือรือร้นอีกคำรบหนึ่ง เพื่อรื้อฟื้นการปฏิบัติต่างๆ ในภูมิภาคแถบนี้ นอกเหนือไปจากความเป็นไปได้ที่จะก่อการแข็งข้อขึ้นในกองทัพปากีสถานเพื่อต่อต้านเหล่าผู้บังคับบัญชาระดับสูงสุด
ไซเอด ซาลีม ชาห์ซาด เป็นหัวหน้าโต๊ะปากีสถานของเอเชียไทมส์ออนไลน์ เขาเป็นผู้เขียนหนังสือที่กำลังจะออกจำหน่ายในเร็วๆ นี้ซึ่งใช้ชื่อ Inside Al-Qaeda and the Taliban 9/11 and Beyond จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ Pluto Press สหราชอาณาจักร สำหรับที่อยู่ทางอีเมล์ของเขาคือ saleem_shahzad2002@yahoo.com