(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Wise man on the hill
By Bertil Lintner
07/04/2011
เมื่อสงครามอินโดจีนขยายตัวออกไปในตอนต้นทศวรรษ 1960 ความรอบรู้อันลึกซึ้งในเรื่องวัฒนธรรมและภาษาท้องถิ่นต่างๆ ทำให้ วิลเลียม ยัง เจ้าหน้าที่สำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (ซีไอเอ) ผู้เติบโตขึ้นมาในครอบครัวมิชชันนารีซึ่งปฏิบัติงานในรัฐชานแห่งพม่า อยู่ในฐานะอันดีเลิศที่จะดำเนินการจัดตั้งชาวเขาเผ่าต่างๆ ให้เข้าร่วมช่วยเหลืออเมริกา ในระหว่างช่วง “สงครามลับ” ในประเทศลาว การถึงแก่กรรมของเขาเมื่อต้นเดือนนี้ที่บ้านพักในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยวัย 76 ปี น่าจะถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายแห่งการสิ้นสุดของยุคๆ หนึ่งทีเดียว
*ข้อเขียนนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น**
จากฐานที่มั่นของพวกเขาในจังหวัดเชียงใหม่ แฮโรลด์ ยัง และ กอร์ดอน (Gordon) ผู้เป็นบุตรชายคนหัวปีของเขา ได้ทำการฝึกอบรมหน่วยกำลังกึ่งทหารชาวลาหู่ เพื่อให้สามารถทำงานหาข่าวกรองจากพื้นที่ภายในพม่า และที่น่าจะสำคัญยิ่งกว่าเสียด้วยซ้ำ ก็คือ การหาข่าวกรองจากพื้นที่ภายในจีน ซึ่งพวกคอมมิวนิสต์ประสบความสำเร็จในการเข้ายึดอำนาจปกครองทั่วทั้งประเทศในปี 1949 สำหรับ วิลเลียม ที่เป็นบุตรชายคนรองของแฮรโรลด์นั้น ทางซีไอเอได้ติดต่อทาบทามเข้ามาทำงานด้วย ไม่นานนักหลังจากเขาเสร็จสิ้นการเข้าประจำการรับราชการทหารในกองทัพบกสหรัฐฯที่เยอรมนีในช่วงกลางทศวรรษ 1950
ต่อมาเมื่อสงครามอินโดจีนขยายตัวบานปลายออกไปในช่วงต้นทศวรรษ 1960 วิลเลียมซึ่งมีสมรรถนะทางด้านภาษาอันโดดเด่นยิ่ง ก็กลายเป็นบุคคลในอุดมคติผู้เหมาะเหม็งแก่การได้รับมอบหมายภารกิจ ให้จัดตั้งระดมคนมาช่วยทำ “สงครามลับ” ในลาว ทั้งนี้สาเหตุที่ต้องมีการปกปิดการปฏิบัติการทางทหารในประเทศนี้ สืบเนื่องจากฐานะความเป็นกลางของลาวนั้น ได้รับการค้ำประกันภายใต้ข้อตกลงเจนีวาปี 1962 (1962 Geneva Agreement)
จากข้อตกลงฉบับนี้ ถือว่าจะต้องไม่มีทหารต่างชาติใดๆ เลยอยู่ในประเทศลาว แต่ในทางเป็นจริงแล้วมีกองทหารเวียดนามเหนือให้การสนับสนุนขบวนการปะเทดลาวที่เป็นพวกคอมมิวนิสต์ทั้งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ขณะที่ในส่วนอื่นๆ ของลาว สายปฏิบัติการของซีไอเอก็ทำงานอย่างแข็งขันเคียงข้างพวกกองกำลังหน่วยรบพิเศษที่เป็นคนไทย ซึ่งรู้จักกันในชื่อว่า กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศ ตำรวจตระเวนชายแดน (Border Patrol Police Aerial Reinforcement Unit ใช้อักษรย่อว่า PARU)
หัวหน้าของการปฏิบัติการนี้ผู้มีนามว่า วิลเลียม แลร์ (William Lair) คือบุคคลที่เป็นตำนานอีกผู้หนึ่ง และ ยัง ก็กลายเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ที่แลร์ไว้เนื้อเชื่อใจที่สุด อัลเฟรด แมคคอย (Alfred McCoy) นักเขียนนักวิจัยเจ้าของผลงานระดับคลาสสิกชื่อ “The Politics of Heroin in Southeast Asia” (การเมืองเรื่องเฮโรอีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เขียนเอาไว้ว่า “เนื่องจาก ยัง เจริญวัยเติบโตขึ้นมาในหมู่บ้านของชาวลาหู่ และชาวชานในพม่า ในทางเป็นจริงแล้วเขาจึงกลับมีความสุขกับการทำงานอย่างโดดเดี่ยวเป็นเวลาหลายๆ เดือนในหมู่ชาวเขา ถึงแม้สภาพของการทำงานเช่นนี้อาจจะทำให้พวกสายลับที่มีความคุ้นเคยทางวัฒนธรรมน้อยกว่าต้องเกิดอาการประสาทตึงเครียด” ฟรานซิส เบลังเกอร์ (Francis Belanger) นักเขียนอีกผู้หนึ่งก็พูดถึง ยัง ว่า “อาจจะเป็นหนึ่งในสายลับที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่เคยมีกันมา”
ยัง ได้สร้างกองทัพที่ประกอบด้วยชาวเขาเผ่าต่างๆ ขึ้นมาได้สำเร็จ และได้ระดมสรรหาผู้ปฏิบัติการชาวลาหู่ และชาวชาน จำนวน 16 คนมารวมกันเป็นทีมงานที่โดดเด่นยิ่ง โดยที่เขาตั้งสมญาให้ว่า “16 ทหารเสือ” (the Sixteen Musketeers) เขายังทำงานกับกองทัพชาวม้งของ วัง เปา (Vang Pao) และกับหน่วยทหารจีนก๊กมิ่นตั๋งที่แทบไม่มีใครรู้จัก ซึ่งได้รับการเรียกขานด้วยชื่อภาษาฝรั่งเศสของหน่วยนี้ว่า “บาไตยง สเปเซียล 111” (Bataillon Special 111) สมาชิกในหน่วยนี้ส่วนใหญ่มาจากพวกอดีตเชลยศึก (ex-prisoners of war หรือPOWs) ในสงครามเกาหลี ซึ่งเลือกที่จะเดินทางไปยังไต้หวันมากกว่าที่จะถูกส่งตัวกลับไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ พวกเขาได้รับการฝึกอบรมพิเศษโดยพวกก๊กมิ่นตั๋ง
ผู้คนที่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจที่สุดในหน่วยนี้ ได้รับเลือกให้ไปปฏิบัติการพิเศษต่างๆ ในจีนแผ่นดินใหญ่ แต่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทรยศแปรพักตร์ พวกเขาจะถูกสักคำขวัญประเภทต่อต้านคอมมิวนิสต์ เป็นต้นว่า “คอมมิวนิสต์จงพินาศ!” เอาไว้ที่แขนของพวกเขา คนเหล่านี้กลุ่มหนึ่งถูกส่งมายังลาว โดยที่พวกเขาอยู่กันที่นั่นนานเป็นปีๆ ในฐานะหน่วยทหารรับจ้างที่ปิดลับที่สุดจากบรรดาหน่วยทหารรับจ้างทั้งหลายที่มาปฏิบัติการที่นั่นในช่วงระยะเวลาที่เรียกกันว่า ช่วง “สงครามลับ” ยัง ได้ทำงานกับหน่วยบาไตยง สเปเซียล 111 ในพื้นที่ดอยผาตั้ง ที่อยู่ตรงแนวชายแดนระหว่างไทยกับลาว โดยจากที่นั่นพวกเขาจะถูกส่งขึ้นเหนือเข้าไปยังดินแดนจีน เพื่อปฏิบัติการดักฟังโทรศัพท์และรวบรวมข่าวกรอง
สิ่งที่เริ่มต้นขึ้นมาในฐานะที่เป็นการปฏิบัติการอันมีขนาดค่อนข้างเล็กและทรงประสิทธิภาพสูงนี้ ได้แปรเปลี่ยนกลายเป็นความพยายามในการทำสงครามขนาดใหญ่โตไปเลย เมื่อ ธีโอดอร์ แชคลีย์ (Theodore Shackley) หัวหน้าฐานซีไอเอคนใหม่ผู้เป็นคนโฉ่งฉ่างหุนหันพลันแล่น เดินทางมารับตำแหน่งหน้าที่ในปี 1966 แชคลีย์ผู้เพิ่งผ่านประสบการณ์สดๆ ร้อนๆ จากวิกฤตขีปนาวุธนิวเคลียร์คิวบา และในเยอรมนี แทบไม่มีหรือกระทั่งไม่มีความเข้าใจอะไรเลยในเรื่องความอ่อนไหวระดับท้องถิ่นทั้งหลายในประเทศเฉกเช่นลาว กองทัพชาวม้งของ วัง เปา ถูกขยายจนกระทั่งเป็นกองกำลังขนาดมหึมาที่มีกำลังพลหลายหมื่นคน ในขณะที่ “ผู้คนอย่างตัวผมกลายเป็นเพียงเข็มหมุดที่ปักลงบนแผนที่บนผนังสำนักงานของเขาในกรุงเวียงจันทน์เท่านั้น” ยัง เคยบอกกับผู้เขียนคนนี้ (เบอร์ทิล ลินต์เนอร์) เอาไว้เช่นนี้
ชั่วเวลาไม่ถึงปีหลังจากที่แชคลีย์มาถึง ไม่นานนัก ยัง ก็รู้สึกแปลกแยกกับซีไอเอ และสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ก็บังเกิดขึ้น นั่นคือ เขาถอนตัวออกจากสำนักงานข่าวกรองแห่งนี้ โดยที่ถูกกล่าวหาจากบางผู้บางคนว่า เนื่องจากเขา “แข็งข้อกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา” เขาหวนกลับไปที่ฟาร์มของครอบครัวของเขาที่อยู่ทางตอนเหนือของเชียงใหม่ ในฐานะของบุคคลผู้ข่มขื่น และมีความรู้สึกว่า รัฐบาลสหรัฐฯช่างปฏิบัติการต่างๆ ในลาวอย่างงุ่มง่ามซุ่มซ่ามเสียเหลือเกิน
ตลอดหลายๆ ปีหลังจากนั้น เขามักพูดอยู่บ่อยครั้งในเรื่องที่ว่า สหรัฐฯซึ่งเขามักใช้คำว่า “ประเทศของผม” (my country) อยู่เสมอนั้น สมควรที่จะทำความเข้าอกเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆ และวัฒนธรรมต่างๆ ของท้องถิ่นให้มากกว่าที่เป็นอยู่ เขาประสบปัญหาอย่างเดียวกันนี้อีกในช่วงทศวรรษ 1980 เมื่อเขาไปทำงานฝึกอบรมบุคลากรด้านความปลอดภัยให้แก่บรรษัทน้ำมัน เชฟรอน ออยล์ (Chevron Oil Corporation) ในประเทศซูดาน ขณะที่ ยัง ใช้เวลาส่วนใหญ่ของเขาอยู่ร่วมใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ชาวซูดาน แต่ประดาเพื่อนร่วมงานของเขากลับดื่มแอลกอฮอล์และเล่นไพ่ด้วยกัน โดยแทบไม่มีหรือกระทั่งไม่มีปฏิสัมพันธ์เอาเลยกับผู้คนที่เป็นเจ้าของประเทศ
กระนั้นชีวิตของ ยัง ก็ไม่ใช่จำกัดวงอยู่แต่เรื่องของสงครามและการฝึกอบรมบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยเท่านั้น ภายหลังออกมาจากซีไอเอในช่วงปลายทศวรรษ 1960 เขาได้ทำงานเป็นผู้ช่วยและเป็นล่ามให้ เชสเตอร์ กอร์แมน (Chester Gorman) นักโบราณคดีชาวอเมริกัน โดยที่เขาได้ช่วยกอร์แมนขุดค้นถ้ำฝังศพโบราณหลายแห่งในพื้นที่ป่าเขาห่างไกลของจังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดกาญจนบุรี ในประเทศไทย
การค้นพบของพวกเขาทำให้เกิดการผ่าทางตันในทางด้านโบราณคดีของไทย และ ยัง ก็รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ช่วยอุดช่องว่างหลายๆ จุด ในผลงานที่ทำมาก่อนหน้านี้ของพวกนักวิชาการชาวฝรั่งเศสในอินโดจีน และนักวิชาการชาวอังกฤษในพม่า เขายังจัดตั้งเกสต์เฮาส์ขึ้นมาแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย และในปีหลังๆ นี้ก็ได้ทำงานในฐานะที่ปรึกษาให้แก่สำนักงานปราบปรามยาเสพติดของสหรัฐฯ
ผู้คนชาวท้องถิ่นจำนวนมากในเชียงใหม่ตลอดจนที่อื่นๆ พร้อมที่จะยกเหตุผลต่างๆ มาพิสูจน์ให้เห็นว่า การจากไปของ ยัง มีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องหมายแห่งการสิ้นสุดของยุคๆ หนึ่งทีเดียว ทุกวันนี้ผู้ปฏิบัติการด้านข่าวกรองมาจากภูมิหลังต่างๆ ที่ผิดแผกออกไปจากเมื่อก่อนอย่างสิ้นเชิง และโดยทั่วไปแล้วก็ไม่มีประสบการณ์และความรอบรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นชนิดที่ ยัง สามารถให้ได้ --ดังที่ความผิดพลาดจำนวนมากจากการออกผจญภัยในตลอดทั่วโลกของสหรัฐฯ เป็นพยานยืนยันอันชัดเจนและเจิดจ้าให้เห็นกันอยู่
เบอร์ทิล ลินต์เนอร์ เคยเป็นผู้สื่อข่าวของนิตยสารฟาร์ อีสเทิร์น อีโคโนมิก รีวิว และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Burma in Revolt: Opium and Insurgency Since 1948 ตลอดจนหนังสืออื่นๆ ว่าด้วยพม่าอีกหลายเล่ม ปัจจุบันเขาเป็นนักเขียนที่ทำงานให้ Asia Pacific Media Services
ไมเคิล แบล็ก (Michael Black) และ เดวิด ลาวิตส์ (David Lawitts) ซึ่งทั้งเคยดำเนินการสัมภาษณ์และทำการรวบรวมคำให้สัมภาษณ์ของ วิลเลียม ยัง รวมแล้วเป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมง มีส่วนอยู่ในการเขียนข้อเขียนชี้นนี้
Wise man on the hill
By Bertil Lintner
07/04/2011
เมื่อสงครามอินโดจีนขยายตัวออกไปในตอนต้นทศวรรษ 1960 ความรอบรู้อันลึกซึ้งในเรื่องวัฒนธรรมและภาษาท้องถิ่นต่างๆ ทำให้ วิลเลียม ยัง เจ้าหน้าที่สำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (ซีไอเอ) ผู้เติบโตขึ้นมาในครอบครัวมิชชันนารีซึ่งปฏิบัติงานในรัฐชานแห่งพม่า อยู่ในฐานะอันดีเลิศที่จะดำเนินการจัดตั้งชาวเขาเผ่าต่างๆ ให้เข้าร่วมช่วยเหลืออเมริกา ในระหว่างช่วง “สงครามลับ” ในประเทศลาว การถึงแก่กรรมของเขาเมื่อต้นเดือนนี้ที่บ้านพักในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยวัย 76 ปี น่าจะถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายแห่งการสิ้นสุดของยุคๆ หนึ่งทีเดียว
*ข้อเขียนนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น**
จากฐานที่มั่นของพวกเขาในจังหวัดเชียงใหม่ แฮโรลด์ ยัง และ กอร์ดอน (Gordon) ผู้เป็นบุตรชายคนหัวปีของเขา ได้ทำการฝึกอบรมหน่วยกำลังกึ่งทหารชาวลาหู่ เพื่อให้สามารถทำงานหาข่าวกรองจากพื้นที่ภายในพม่า และที่น่าจะสำคัญยิ่งกว่าเสียด้วยซ้ำ ก็คือ การหาข่าวกรองจากพื้นที่ภายในจีน ซึ่งพวกคอมมิวนิสต์ประสบความสำเร็จในการเข้ายึดอำนาจปกครองทั่วทั้งประเทศในปี 1949 สำหรับ วิลเลียม ที่เป็นบุตรชายคนรองของแฮรโรลด์นั้น ทางซีไอเอได้ติดต่อทาบทามเข้ามาทำงานด้วย ไม่นานนักหลังจากเขาเสร็จสิ้นการเข้าประจำการรับราชการทหารในกองทัพบกสหรัฐฯที่เยอรมนีในช่วงกลางทศวรรษ 1950
ต่อมาเมื่อสงครามอินโดจีนขยายตัวบานปลายออกไปในช่วงต้นทศวรรษ 1960 วิลเลียมซึ่งมีสมรรถนะทางด้านภาษาอันโดดเด่นยิ่ง ก็กลายเป็นบุคคลในอุดมคติผู้เหมาะเหม็งแก่การได้รับมอบหมายภารกิจ ให้จัดตั้งระดมคนมาช่วยทำ “สงครามลับ” ในลาว ทั้งนี้สาเหตุที่ต้องมีการปกปิดการปฏิบัติการทางทหารในประเทศนี้ สืบเนื่องจากฐานะความเป็นกลางของลาวนั้น ได้รับการค้ำประกันภายใต้ข้อตกลงเจนีวาปี 1962 (1962 Geneva Agreement)
จากข้อตกลงฉบับนี้ ถือว่าจะต้องไม่มีทหารต่างชาติใดๆ เลยอยู่ในประเทศลาว แต่ในทางเป็นจริงแล้วมีกองทหารเวียดนามเหนือให้การสนับสนุนขบวนการปะเทดลาวที่เป็นพวกคอมมิวนิสต์ทั้งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ขณะที่ในส่วนอื่นๆ ของลาว สายปฏิบัติการของซีไอเอก็ทำงานอย่างแข็งขันเคียงข้างพวกกองกำลังหน่วยรบพิเศษที่เป็นคนไทย ซึ่งรู้จักกันในชื่อว่า กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศ ตำรวจตระเวนชายแดน (Border Patrol Police Aerial Reinforcement Unit ใช้อักษรย่อว่า PARU)
หัวหน้าของการปฏิบัติการนี้ผู้มีนามว่า วิลเลียม แลร์ (William Lair) คือบุคคลที่เป็นตำนานอีกผู้หนึ่ง และ ยัง ก็กลายเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ที่แลร์ไว้เนื้อเชื่อใจที่สุด อัลเฟรด แมคคอย (Alfred McCoy) นักเขียนนักวิจัยเจ้าของผลงานระดับคลาสสิกชื่อ “The Politics of Heroin in Southeast Asia” (การเมืองเรื่องเฮโรอีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เขียนเอาไว้ว่า “เนื่องจาก ยัง เจริญวัยเติบโตขึ้นมาในหมู่บ้านของชาวลาหู่ และชาวชานในพม่า ในทางเป็นจริงแล้วเขาจึงกลับมีความสุขกับการทำงานอย่างโดดเดี่ยวเป็นเวลาหลายๆ เดือนในหมู่ชาวเขา ถึงแม้สภาพของการทำงานเช่นนี้อาจจะทำให้พวกสายลับที่มีความคุ้นเคยทางวัฒนธรรมน้อยกว่าต้องเกิดอาการประสาทตึงเครียด” ฟรานซิส เบลังเกอร์ (Francis Belanger) นักเขียนอีกผู้หนึ่งก็พูดถึง ยัง ว่า “อาจจะเป็นหนึ่งในสายลับที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่เคยมีกันมา”
ยัง ได้สร้างกองทัพที่ประกอบด้วยชาวเขาเผ่าต่างๆ ขึ้นมาได้สำเร็จ และได้ระดมสรรหาผู้ปฏิบัติการชาวลาหู่ และชาวชาน จำนวน 16 คนมารวมกันเป็นทีมงานที่โดดเด่นยิ่ง โดยที่เขาตั้งสมญาให้ว่า “16 ทหารเสือ” (the Sixteen Musketeers) เขายังทำงานกับกองทัพชาวม้งของ วัง เปา (Vang Pao) และกับหน่วยทหารจีนก๊กมิ่นตั๋งที่แทบไม่มีใครรู้จัก ซึ่งได้รับการเรียกขานด้วยชื่อภาษาฝรั่งเศสของหน่วยนี้ว่า “บาไตยง สเปเซียล 111” (Bataillon Special 111) สมาชิกในหน่วยนี้ส่วนใหญ่มาจากพวกอดีตเชลยศึก (ex-prisoners of war หรือPOWs) ในสงครามเกาหลี ซึ่งเลือกที่จะเดินทางไปยังไต้หวันมากกว่าที่จะถูกส่งตัวกลับไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ พวกเขาได้รับการฝึกอบรมพิเศษโดยพวกก๊กมิ่นตั๋ง
ผู้คนที่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจที่สุดในหน่วยนี้ ได้รับเลือกให้ไปปฏิบัติการพิเศษต่างๆ ในจีนแผ่นดินใหญ่ แต่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทรยศแปรพักตร์ พวกเขาจะถูกสักคำขวัญประเภทต่อต้านคอมมิวนิสต์ เป็นต้นว่า “คอมมิวนิสต์จงพินาศ!” เอาไว้ที่แขนของพวกเขา คนเหล่านี้กลุ่มหนึ่งถูกส่งมายังลาว โดยที่พวกเขาอยู่กันที่นั่นนานเป็นปีๆ ในฐานะหน่วยทหารรับจ้างที่ปิดลับที่สุดจากบรรดาหน่วยทหารรับจ้างทั้งหลายที่มาปฏิบัติการที่นั่นในช่วงระยะเวลาที่เรียกกันว่า ช่วง “สงครามลับ” ยัง ได้ทำงานกับหน่วยบาไตยง สเปเซียล 111 ในพื้นที่ดอยผาตั้ง ที่อยู่ตรงแนวชายแดนระหว่างไทยกับลาว โดยจากที่นั่นพวกเขาจะถูกส่งขึ้นเหนือเข้าไปยังดินแดนจีน เพื่อปฏิบัติการดักฟังโทรศัพท์และรวบรวมข่าวกรอง
สิ่งที่เริ่มต้นขึ้นมาในฐานะที่เป็นการปฏิบัติการอันมีขนาดค่อนข้างเล็กและทรงประสิทธิภาพสูงนี้ ได้แปรเปลี่ยนกลายเป็นความพยายามในการทำสงครามขนาดใหญ่โตไปเลย เมื่อ ธีโอดอร์ แชคลีย์ (Theodore Shackley) หัวหน้าฐานซีไอเอคนใหม่ผู้เป็นคนโฉ่งฉ่างหุนหันพลันแล่น เดินทางมารับตำแหน่งหน้าที่ในปี 1966 แชคลีย์ผู้เพิ่งผ่านประสบการณ์สดๆ ร้อนๆ จากวิกฤตขีปนาวุธนิวเคลียร์คิวบา และในเยอรมนี แทบไม่มีหรือกระทั่งไม่มีความเข้าใจอะไรเลยในเรื่องความอ่อนไหวระดับท้องถิ่นทั้งหลายในประเทศเฉกเช่นลาว กองทัพชาวม้งของ วัง เปา ถูกขยายจนกระทั่งเป็นกองกำลังขนาดมหึมาที่มีกำลังพลหลายหมื่นคน ในขณะที่ “ผู้คนอย่างตัวผมกลายเป็นเพียงเข็มหมุดที่ปักลงบนแผนที่บนผนังสำนักงานของเขาในกรุงเวียงจันทน์เท่านั้น” ยัง เคยบอกกับผู้เขียนคนนี้ (เบอร์ทิล ลินต์เนอร์) เอาไว้เช่นนี้
ชั่วเวลาไม่ถึงปีหลังจากที่แชคลีย์มาถึง ไม่นานนัก ยัง ก็รู้สึกแปลกแยกกับซีไอเอ และสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ก็บังเกิดขึ้น นั่นคือ เขาถอนตัวออกจากสำนักงานข่าวกรองแห่งนี้ โดยที่ถูกกล่าวหาจากบางผู้บางคนว่า เนื่องจากเขา “แข็งข้อกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา” เขาหวนกลับไปที่ฟาร์มของครอบครัวของเขาที่อยู่ทางตอนเหนือของเชียงใหม่ ในฐานะของบุคคลผู้ข่มขื่น และมีความรู้สึกว่า รัฐบาลสหรัฐฯช่างปฏิบัติการต่างๆ ในลาวอย่างงุ่มง่ามซุ่มซ่ามเสียเหลือเกิน
ตลอดหลายๆ ปีหลังจากนั้น เขามักพูดอยู่บ่อยครั้งในเรื่องที่ว่า สหรัฐฯซึ่งเขามักใช้คำว่า “ประเทศของผม” (my country) อยู่เสมอนั้น สมควรที่จะทำความเข้าอกเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆ และวัฒนธรรมต่างๆ ของท้องถิ่นให้มากกว่าที่เป็นอยู่ เขาประสบปัญหาอย่างเดียวกันนี้อีกในช่วงทศวรรษ 1980 เมื่อเขาไปทำงานฝึกอบรมบุคลากรด้านความปลอดภัยให้แก่บรรษัทน้ำมัน เชฟรอน ออยล์ (Chevron Oil Corporation) ในประเทศซูดาน ขณะที่ ยัง ใช้เวลาส่วนใหญ่ของเขาอยู่ร่วมใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ชาวซูดาน แต่ประดาเพื่อนร่วมงานของเขากลับดื่มแอลกอฮอล์และเล่นไพ่ด้วยกัน โดยแทบไม่มีหรือกระทั่งไม่มีปฏิสัมพันธ์เอาเลยกับผู้คนที่เป็นเจ้าของประเทศ
กระนั้นชีวิตของ ยัง ก็ไม่ใช่จำกัดวงอยู่แต่เรื่องของสงครามและการฝึกอบรมบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยเท่านั้น ภายหลังออกมาจากซีไอเอในช่วงปลายทศวรรษ 1960 เขาได้ทำงานเป็นผู้ช่วยและเป็นล่ามให้ เชสเตอร์ กอร์แมน (Chester Gorman) นักโบราณคดีชาวอเมริกัน โดยที่เขาได้ช่วยกอร์แมนขุดค้นถ้ำฝังศพโบราณหลายแห่งในพื้นที่ป่าเขาห่างไกลของจังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดกาญจนบุรี ในประเทศไทย
การค้นพบของพวกเขาทำให้เกิดการผ่าทางตันในทางด้านโบราณคดีของไทย และ ยัง ก็รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ช่วยอุดช่องว่างหลายๆ จุด ในผลงานที่ทำมาก่อนหน้านี้ของพวกนักวิชาการชาวฝรั่งเศสในอินโดจีน และนักวิชาการชาวอังกฤษในพม่า เขายังจัดตั้งเกสต์เฮาส์ขึ้นมาแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย และในปีหลังๆ นี้ก็ได้ทำงานในฐานะที่ปรึกษาให้แก่สำนักงานปราบปรามยาเสพติดของสหรัฐฯ
ผู้คนชาวท้องถิ่นจำนวนมากในเชียงใหม่ตลอดจนที่อื่นๆ พร้อมที่จะยกเหตุผลต่างๆ มาพิสูจน์ให้เห็นว่า การจากไปของ ยัง มีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องหมายแห่งการสิ้นสุดของยุคๆ หนึ่งทีเดียว ทุกวันนี้ผู้ปฏิบัติการด้านข่าวกรองมาจากภูมิหลังต่างๆ ที่ผิดแผกออกไปจากเมื่อก่อนอย่างสิ้นเชิง และโดยทั่วไปแล้วก็ไม่มีประสบการณ์และความรอบรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นชนิดที่ ยัง สามารถให้ได้ --ดังที่ความผิดพลาดจำนวนมากจากการออกผจญภัยในตลอดทั่วโลกของสหรัฐฯ เป็นพยานยืนยันอันชัดเจนและเจิดจ้าให้เห็นกันอยู่
เบอร์ทิล ลินต์เนอร์ เคยเป็นผู้สื่อข่าวของนิตยสารฟาร์ อีสเทิร์น อีโคโนมิก รีวิว และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Burma in Revolt: Opium and Insurgency Since 1948 ตลอดจนหนังสืออื่นๆ ว่าด้วยพม่าอีกหลายเล่ม ปัจจุบันเขาเป็นนักเขียนที่ทำงานให้ Asia Pacific Media Services
ไมเคิล แบล็ก (Michael Black) และ เดวิด ลาวิตส์ (David Lawitts) ซึ่งทั้งเคยดำเนินการสัมภาษณ์และทำการรวบรวมคำให้สัมภาษณ์ของ วิลเลียม ยัง รวมแล้วเป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมง มีส่วนอยู่ในการเขียนข้อเขียนชี้นนี้