(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Confucius takes a stand
By Francesco Sisci
20/01/2011
ทางการผู้รับผิดชอบของจีนได้ตั้งรูปปั้นของขงจื๊อในบริเวณมหาจัตุรัสเทียนอันเหมินของกรุงปักกิ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ในจุดที่ไม่ห่างนักจากภาพแหมือนของเหมาเจ๋อตง อดีตผู้นำสูงสุดของแดนมังกร ความเคลื่อนไหวที่ให้นักปรัชญาจีนโบราณผู้ยิ่งใหญ่ผู้นี้ได้โอกาสปรากฏโฉมแก่สาธารณชนถึงขนาดนี้ จัดว่าสอดคล้องกับการตัดสินใจของปักกิ่งที่จะลดทอนอิทธิพลบารมีของลัทธิเหมาอิสต์ในพื้นที่ซึ่งถือเป็นหัวใจในทางการเมืองของประเทศจีน แต่ก็แน่นอนว่าพวกเหมาอิสต์ต้องพากันออกมาต่อต้านด้วยความโกรธกริ้ว
ปักกิ่ง - ท่ามกลางการประกอบพิธีกรรมซึ่งคงมีแต่สิ่งที่กระทำกันในโบสถ์วิหารเท่านั้นที่อาจจะเทียบเทียมได้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาจีนก็ได้ทำการตั้งรูปปั้นของ “ขงจื๊อ” ขึ้นในพื้นที่ซึ่งถือเป็นหัวใจในทางการเมืองของตน นั่นคือในบริเวณมหาจัตุรัสเทียนอันเหมิน โดยอยู่ไม่ไกลจากภาพเหมือนขนาดยักษ์ของเหมาเจ๋อตง และใกล้ๆ กับเสาหินสี่เหลี่ยมสูงยาวยอดทรงพีระมิดที่เป็นอนุสรณ์สถานสำหรับวีรชนของประชาชน สองสัญลักษณ์ที่กลายเป็นเครื่องนิยามอัตลักษณ์แห่งชาติของจีนอันสำคัญยิ่ง เป็นเวลายาวนานอยู่ถึง 60 ปี
การตั้งรูปปั้นขงจื๊อคราวนี้ เป็นเสมือนการประกาศคำแถลงทางการเมือง ไม่ใช่พิธีเฉลิมฉลองในทางศิลปะ และมันจะเป็นสิ่งที่มีบทบาทในการปรับเปลี่ยนภารกิจทางด้านอุดมการณ์ของประเทศนี้กันใหม่ การยกเอาภาพเอารูปนักบุญต่างๆ ออกไปจากโบสถ์คริสต์ เคยกลายเป็นเครื่องหมายประกาศการปฏิรูปศาสนาของพวกโปรเตสแตนต์ และกลายเป็นการปลดปล่อยกระแสการพัฒนาอันรุนแรงในประวัติศาสตร์ยุโรปและประวัติศาสตร์โลก จากการแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วของทุนนิยมสมัยใหม่
สำหรับในกรณีที่ประเทศจีนนี้ มันไม่ใช่การลุกฮือก่อกบฎมุ่งต่อต้านอำนาจราชศักดิ์ของพระสันตะปาปาในกรุงโรม แต่เป็นการให้ความหมายใหม่แก่สาธารณรัฐประชาชนแห่งนี้ ซึ่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ได้เริ่มต้นช่วงระยะใหม่ด้วยการเฉลิมฉลองปีที่ 61 แห่งการสถาปนาประเทศ ตามประเพณีจีนนั้น รอบวัฏจักรแห่งการโคจรของดวงดาวหรือของการเมืองล้วนแต่ยาวนาน 60 ปี และดังนั้นวัฏจักรรอบใหม่จึงได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว
ปักกิ่งได้ตัดสินใจที่จะยุติมุกเก่าๆ ของพวกเหมาอิสต์ ซึ่งจะต้องมีการจัดพิธีการกล่าวคำปราศรัยครั้งยิ่งใหญ่ และมีการชุมนุมมวลชนครั้งมหึมาในมหาจัตุรัสเทียนอันเหมิน ตรงกันข้ามงานวันครบรอบสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน 61 ปีในปีที่แล้ว กลับถูกจัดในลักษณะพิธีการแห่งความเศร้าโศกอาลัย โดยที่เหล่าผู้นำระดับสูงสุดทั้งหมดของรัฐทยอยกันนำเอาดอกไม้ไปวางและแสดงคารวะต่อเสาหินแห่งอนุสรณ์สถานวีรชนประชาชน จากนั้นจึงเป็นคราวของเจ้าหน้าที่ระดับรองๆ ลงมา และประชาชนสามัญธรรมดา ที่จะกระทำอย่างเดียวกัน
อนุสาวรีย์ขงจื๊อที่เพิ่งตั้งกันขึ้นมา ถือเสมือนเป็นตราประทับรับรองการเปลี่ยนแปลงคราวนี้ ทว่ามันยังจะเป็นการส่งสัญญาณอันทรงพลังยิ่งไปถึงภาคส่วนที่ยังคงแตกแยกออกไปของประเทศ นั่นคือพวกก๊กมิ่นตั๋งที่ถูกขับไสออกจากจีนแผ่นดินใหญ่ในปี 1949 และจากนั้นก็เฝ้าจับเจ่าอยู่บนเกาะไต้หวัน อนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นการป่าวร้องให้ทราบว่า ในรอบ 60 ปีจากนี้ไป ขงจื๊อคือดวงประทีปนำทางในด้านวัฒนธรรม
ไม่เพียงเท่านั้น ในฐานะที่เป็นสัญญาณอันยิ่งใหญ่สัญญาณสุดท้ายในเขาวงกตแห่งสัญลักษณ์อันนี้ การตั้งอนุสาวรีย์ขงจื๊อที่เทียนอันเหมิน ยังเป็นการแสดงท่าทีมุ่งมาตรปรารถนาให้มีความสามัคคีเป็นเอกภาพกันในทางประวัติศาสตร์อีกด้วย ปีนี้คือวาระครบรอบ 100 ปีของการปฏิวัติที่โค่นล้มราชวงศ์แมนจู แล้วเป็นครั้งแรกในรอบระยะเวลาหลายพันปีของจีน ที่ต่อจากนั้นไม่ได้มีการสถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้นแทนที่ หากแต่มีการสถาปนาระบบระเบียบแห่งสาธารณรัฐ เมื่อมองจากสายโซ่แห่งพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เช่นนี้ เหมาก็จะกลายเป็นเพียงหนึ่งในลูกหลานของการปฏิวัติคราวนั้น ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นลูกหลานคนที่ทรงความสำคัญที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัย
มันเป็นการเปลี่ยนแปลงในทางเทววิทยาจากในอดีตกาล เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดความแตกต่างอย่างชนิดตรงกันข้าม เหมือนกลางวันกับกลางคืน ถึงแม้จะปกคลุมด้วยความสุภาพนอบน้อมและเต็มไปด้วยแบบแผนธรรมเนียมปฏิบัติ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกมองกันในโลกตะวันตกว่าเป็นเรื่องยากยิ่งที่จะเข้าใจ
แต่สำหรับในเวลานี้ ต่อหน้าการปรับเปลี่ยนทางอุดมการณ์อย่างใหญ่โตเหล่านี้ พวกหัวรุนแรงภายในกลุ่มต่างๆ ภายในฝ่ายต่างๆ หลายหลาก ต่างก็ได้ลุกขึ้นมาและส่งเสียงคร่ำครวญกันแล้ว
พวกลัทธิเหมาอิสต์สุดขั้ว (ultra-Maoists) กลุ่มสุดท้ายที่ยังหลงเหลืออยู่ กล่าวเน้นว่าท่านนายท้ายเรือผู้ยิ่งใหญ่ผู้นี้ใช้พลังงานทั้งหมดทั้งสิ้นของเขาไปในการต่อต้านคัดค้านขงจื๊อตลอดจนมรดกทางปัญญาของเขา ด้วยความพยายามที่จะกำจัดขุดรากอิทธิพลของขงจื๊อออกไปให้หมดจากประเทศจีน ส่วนพวก “นักศึกษาลัทธิขงจื๊อ” (Confucianists) ระดับสุดโต่ง ก็เข้าร่วมประสานเสียงด้วยเช่นกัน โดยบอกว่านักปรัชญาผู้สุขุมและอนุรักษนิยมที่มีชีวิตเมื่อ 25 ศตวรรษก่อนท่านนี้ ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับกบฎที่ “ไร้กฎหมายและไร้พระเจ้า” เลย ทั้งนี้กบฎที่ไร้กฎหมายและไร้พระเจ้า เป็นคำที่เหมาใช้เรียกตัวเขาเอง
ขณะที่พวกนักวิชาการที่อยู่ระหว่างสองสุดขั้วนี้ ก็มุ่งถักทอเส้นใยแห่งการต่อเชื่อม โดยพยายามที่จะหาทางเชื่อมจุดแต่ละจุดแต่ละจุดที่เหินห่างกันอยู่ พวกเขาดึงเอาถ้อยคำที่กล่าวอ้างถึงขงจื๊อจากงานเขียนต่างๆ ของเหมา แม้สิ่งที่กล่าวในงานเขียนเหล่านี้แสนจะตรงไปตรงมาและแสดงท่าทีมุ่งร้ายต่อนักปรัชญาโบราณผู้นี้อย่างโจ่งแจ้ง แต่นักวิชาการเหล่านี้ก็ยังคงโต้แย้งแสดงเหตุผลว่า โดยพื้นฐานแล้วเหมาก็หนีไม่พ้นอิทธิพลของขงจื๊อ
อย่างไรก็ดี มีอะไรบางอย่างมากกว่าการกล่าวหาตอบโต้กันว่ามันถูกหรือมันผิด “ลัทธิขงจื๊อในตัวเหมาเจ๋อตง” อันที่จริงแล้วนี่เป็นอะไรบางอย่างที่เป็นลักษณะพื้นฐานของขนบประเพณีแบบจีนทีเดียว
ลัทธิขงจื๊อได้กลายเป็นอุดมการณ์อย่างเป็นทางการของรัฐจีน ประมาณช่วงเวลาเดียวกันกับที่จักรพรรดิออกุสตุส (Augustus) ก่อตั้งจักรวรรดิของเขาขึ้นมา และเรียกให้มหากวีเวอร์จิล (Virgil) ร่ำร้องคำยกย่องสรรเสริญของเขา ซึ่งกล่าวเชื่อมโยงประชาชนโรมันของออกุสตุส เข้ากับชาวเมืองทรอยซึ่งอยู่ห่างไกลโบร่ำโบราณมาก ในเวลาเดียวกันนั้นเอง ราชวงศ์ฮั่นของจีนได้พยายามเก็บกวาดเอาคุณงามความดีทั้งหลายมากมายนับไม่ถ้วนมากองสุมใส่ให้แก่ขงจื๊อ โดยอ้างอิงว่าเขาเป็นเจ้าของผลงานจำนวนมากมายท่วมท้น ทั้งที่เป็นเรื่องแน่นอนอยู่แล้วว่าเขาไม่สามารถที่จะประพันธ์งานอันมากมายมหาศาลมโหฬารขนาดนั้นได้
การปรับตัวอีกหลายๆ ระลอกของอุดมการณ์ขงจื๊อในช่วงเวลาหลังจากนั้น บางทีอาจจะยิ่งใหญ่กว่าและแข็งแกร่งกว่าการปรับตัวของธรรมเนียมประเพณีแบบยิว-คริสเตียน (Judeo-Christian tradition) ในโลกตะวันตก กล่าวคือ ลัทธิขงจื๊อได้ดูดซับพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่มาจากต่างแดนอย่างสมบูรณ์เพราะมีต้นกำเนิดจากอินเดีย รวมทั้งยังดูดกลืนแม้กระทั่งพวกอดีตศัตรูเฉกเช่นนักปรัชญาม่อจื๊อ ผู้ซึ่งในสมัยศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ได้อุทิศเนื้อหาอย่างน้อย 2 บทในผลงานของเขา เพื่อมุ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงความโง่เขลาในแนวความคิดของขงจื๊อ
นี่กลายเป็นแนวโน้มแห่งอารมณ์ความรู้สึกอันแรงกล้าที่มุ่งประสานระบบต่างๆ ที่แตกต่างกันให้กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน จนกระทั่งแม้แต่ มัตเตโอ ริชชี (Matteo Ricci) บาทหลวงแห่งนิกายเยซูอิต ซึ่งได้รับมอบหมายภารกิจในการทำให้ชาวจีนเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์เมื่อช่วงทศวรรษ 1600 ก็ยังเอากับเขาด้วย โดยที่เขาหันมาสวมใส่เสื้อผ้าอาภรณ์แบบขงจื๊อ ดังนั้น ในอันดับแรกเลยทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องเป็นแบบจีน (แบบขงจื๊อ) เสียก่อน จากนั้นจึงค่อยเป็นอะไรอย่างอื่นต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็น ชาวพุทธ, ชาวคริสต์, หรือชาวคอมมิวนิสต์
มันยังเป็นความรู้สึกในเชิงเมตตาสงสารต่อผู้ที่ถูกพิชิตในทางวัฒนธรรมอีกด้วย การถูกพิชิตทางวัฒนธรรมดังกล่าวนี้คือสิ่งที่บังเกิดขึ้นกับชาวมองโกล และต่อมาก็กับชาวแมนจู ชนเผ่าเหล่านี้ได้รุกรานและพิชิตยึดครองแผ่นดินจีนได้สำเร็จ พวกเขาไม่ใช่คนจีนทว่าในทุกวันนี้กลับถูกถือว่าเป็นเช่นนั้น เนื่องจากมรดกต่างๆ ของพวกเขาโดยพื้นฐานแล้วได้ถูกดูดกลืนเข้าไปอยู่ในวัฒนธรรมจีนอย่างสิ้นเชิง
กระนั้นสำหรับในศตวรรษปัจจุบัน มันก็มีอะไรบางอย่างที่แตกต่างออกไปและมีความลึกซึ้งยิ่งกว่าการปฏิวัติอันน่าตื่นตาตื่นใจทั้งหลายทั้งปวงซึ่งเคยบังเกิดขึ้นมาในอดีต กระบวนการปรับเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นตะวันตก (Westernization) ซึ่งสำหรับประเทศจีนแล้วบังเกิดขึ้นในรูปลักษณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ หรือไม่ก็ลัทธิทุนนิยม กระบวนการดังกล่าวได้ทำลายดุลและระบบแบบโบราณอันละเอียดอ่อนให้ย่อยยับไปนับพันนับหมื่นประการ แต่กระนั้นสิ่งเหล่านี้ก็ยังมิได้ถูกทำลายไปจนหมดสิ้น
อนุสาวรีย์ขงจื๊อที่ตั้งอยู่ต่อหน้าภาพของเหมา เป็นเครื่องหมายแสดงการสิ้นสุดของยุคแห่งการแบ่งแยกทางอุดมการณ์อย่างเด็ดขาดชัดเจน ระหว่างประวัติศาสตร์ในยุคราชวงศ์กับประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของจีน มันเป็นการยอมรับว่าจีนในทุกวันนี้คือแซนด์วิชชนิดหนึ่ง และก็มีแต่จะต้องเป็นแซนวิชด์ดังกล่าวด้วย นั่นก็คือในด้านหนึ่ง เป็นอดีตโบร่ำโบราณ ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการกระตุกดิ้นรนและการพลิกคว่ำล้มหงายอันดุเดือดและรุนแรงที่ดำเนินมาในตลอด 60 ปีแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทว่านับตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป มันจะเป็นจีนใหม่ที่ยืนผงาดขึ้นมาอย่างแท้จริง เป็นจีนใหม่ที่กำลังก่อรูปก่อร่าง
แล้วเราควรจะเรียกมันว่าอะไรดีล่ะ? บางทีเราควรจะเรียกมันว่า ลัทธิทุนนิยมสังคมขงจื๊อใหม่ (new Confucian social-capitalism) กระมัง
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นคอลัมนิสต์ให้แก่ อิล โซเล 24 โอเร (Il Sole 24 Ore) หนังสือพิมพ์รายวันในอิตาลี ที่อยู่อีเมล์ของเขาคือ fsisci@gmail.com
Confucius takes a stand
By Francesco Sisci
20/01/2011
ทางการผู้รับผิดชอบของจีนได้ตั้งรูปปั้นของขงจื๊อในบริเวณมหาจัตุรัสเทียนอันเหมินของกรุงปักกิ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ในจุดที่ไม่ห่างนักจากภาพแหมือนของเหมาเจ๋อตง อดีตผู้นำสูงสุดของแดนมังกร ความเคลื่อนไหวที่ให้นักปรัชญาจีนโบราณผู้ยิ่งใหญ่ผู้นี้ได้โอกาสปรากฏโฉมแก่สาธารณชนถึงขนาดนี้ จัดว่าสอดคล้องกับการตัดสินใจของปักกิ่งที่จะลดทอนอิทธิพลบารมีของลัทธิเหมาอิสต์ในพื้นที่ซึ่งถือเป็นหัวใจในทางการเมืองของประเทศจีน แต่ก็แน่นอนว่าพวกเหมาอิสต์ต้องพากันออกมาต่อต้านด้วยความโกรธกริ้ว
ปักกิ่ง - ท่ามกลางการประกอบพิธีกรรมซึ่งคงมีแต่สิ่งที่กระทำกันในโบสถ์วิหารเท่านั้นที่อาจจะเทียบเทียมได้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาจีนก็ได้ทำการตั้งรูปปั้นของ “ขงจื๊อ” ขึ้นในพื้นที่ซึ่งถือเป็นหัวใจในทางการเมืองของตน นั่นคือในบริเวณมหาจัตุรัสเทียนอันเหมิน โดยอยู่ไม่ไกลจากภาพเหมือนขนาดยักษ์ของเหมาเจ๋อตง และใกล้ๆ กับเสาหินสี่เหลี่ยมสูงยาวยอดทรงพีระมิดที่เป็นอนุสรณ์สถานสำหรับวีรชนของประชาชน สองสัญลักษณ์ที่กลายเป็นเครื่องนิยามอัตลักษณ์แห่งชาติของจีนอันสำคัญยิ่ง เป็นเวลายาวนานอยู่ถึง 60 ปี
การตั้งรูปปั้นขงจื๊อคราวนี้ เป็นเสมือนการประกาศคำแถลงทางการเมือง ไม่ใช่พิธีเฉลิมฉลองในทางศิลปะ และมันจะเป็นสิ่งที่มีบทบาทในการปรับเปลี่ยนภารกิจทางด้านอุดมการณ์ของประเทศนี้กันใหม่ การยกเอาภาพเอารูปนักบุญต่างๆ ออกไปจากโบสถ์คริสต์ เคยกลายเป็นเครื่องหมายประกาศการปฏิรูปศาสนาของพวกโปรเตสแตนต์ และกลายเป็นการปลดปล่อยกระแสการพัฒนาอันรุนแรงในประวัติศาสตร์ยุโรปและประวัติศาสตร์โลก จากการแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วของทุนนิยมสมัยใหม่
สำหรับในกรณีที่ประเทศจีนนี้ มันไม่ใช่การลุกฮือก่อกบฎมุ่งต่อต้านอำนาจราชศักดิ์ของพระสันตะปาปาในกรุงโรม แต่เป็นการให้ความหมายใหม่แก่สาธารณรัฐประชาชนแห่งนี้ ซึ่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ได้เริ่มต้นช่วงระยะใหม่ด้วยการเฉลิมฉลองปีที่ 61 แห่งการสถาปนาประเทศ ตามประเพณีจีนนั้น รอบวัฏจักรแห่งการโคจรของดวงดาวหรือของการเมืองล้วนแต่ยาวนาน 60 ปี และดังนั้นวัฏจักรรอบใหม่จึงได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว
ปักกิ่งได้ตัดสินใจที่จะยุติมุกเก่าๆ ของพวกเหมาอิสต์ ซึ่งจะต้องมีการจัดพิธีการกล่าวคำปราศรัยครั้งยิ่งใหญ่ และมีการชุมนุมมวลชนครั้งมหึมาในมหาจัตุรัสเทียนอันเหมิน ตรงกันข้ามงานวันครบรอบสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน 61 ปีในปีที่แล้ว กลับถูกจัดในลักษณะพิธีการแห่งความเศร้าโศกอาลัย โดยที่เหล่าผู้นำระดับสูงสุดทั้งหมดของรัฐทยอยกันนำเอาดอกไม้ไปวางและแสดงคารวะต่อเสาหินแห่งอนุสรณ์สถานวีรชนประชาชน จากนั้นจึงเป็นคราวของเจ้าหน้าที่ระดับรองๆ ลงมา และประชาชนสามัญธรรมดา ที่จะกระทำอย่างเดียวกัน
อนุสาวรีย์ขงจื๊อที่เพิ่งตั้งกันขึ้นมา ถือเสมือนเป็นตราประทับรับรองการเปลี่ยนแปลงคราวนี้ ทว่ามันยังจะเป็นการส่งสัญญาณอันทรงพลังยิ่งไปถึงภาคส่วนที่ยังคงแตกแยกออกไปของประเทศ นั่นคือพวกก๊กมิ่นตั๋งที่ถูกขับไสออกจากจีนแผ่นดินใหญ่ในปี 1949 และจากนั้นก็เฝ้าจับเจ่าอยู่บนเกาะไต้หวัน อนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นการป่าวร้องให้ทราบว่า ในรอบ 60 ปีจากนี้ไป ขงจื๊อคือดวงประทีปนำทางในด้านวัฒนธรรม
ไม่เพียงเท่านั้น ในฐานะที่เป็นสัญญาณอันยิ่งใหญ่สัญญาณสุดท้ายในเขาวงกตแห่งสัญลักษณ์อันนี้ การตั้งอนุสาวรีย์ขงจื๊อที่เทียนอันเหมิน ยังเป็นการแสดงท่าทีมุ่งมาตรปรารถนาให้มีความสามัคคีเป็นเอกภาพกันในทางประวัติศาสตร์อีกด้วย ปีนี้คือวาระครบรอบ 100 ปีของการปฏิวัติที่โค่นล้มราชวงศ์แมนจู แล้วเป็นครั้งแรกในรอบระยะเวลาหลายพันปีของจีน ที่ต่อจากนั้นไม่ได้มีการสถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้นแทนที่ หากแต่มีการสถาปนาระบบระเบียบแห่งสาธารณรัฐ เมื่อมองจากสายโซ่แห่งพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เช่นนี้ เหมาก็จะกลายเป็นเพียงหนึ่งในลูกหลานของการปฏิวัติคราวนั้น ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นลูกหลานคนที่ทรงความสำคัญที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัย
มันเป็นการเปลี่ยนแปลงในทางเทววิทยาจากในอดีตกาล เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดความแตกต่างอย่างชนิดตรงกันข้าม เหมือนกลางวันกับกลางคืน ถึงแม้จะปกคลุมด้วยความสุภาพนอบน้อมและเต็มไปด้วยแบบแผนธรรมเนียมปฏิบัติ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกมองกันในโลกตะวันตกว่าเป็นเรื่องยากยิ่งที่จะเข้าใจ
แต่สำหรับในเวลานี้ ต่อหน้าการปรับเปลี่ยนทางอุดมการณ์อย่างใหญ่โตเหล่านี้ พวกหัวรุนแรงภายในกลุ่มต่างๆ ภายในฝ่ายต่างๆ หลายหลาก ต่างก็ได้ลุกขึ้นมาและส่งเสียงคร่ำครวญกันแล้ว
พวกลัทธิเหมาอิสต์สุดขั้ว (ultra-Maoists) กลุ่มสุดท้ายที่ยังหลงเหลืออยู่ กล่าวเน้นว่าท่านนายท้ายเรือผู้ยิ่งใหญ่ผู้นี้ใช้พลังงานทั้งหมดทั้งสิ้นของเขาไปในการต่อต้านคัดค้านขงจื๊อตลอดจนมรดกทางปัญญาของเขา ด้วยความพยายามที่จะกำจัดขุดรากอิทธิพลของขงจื๊อออกไปให้หมดจากประเทศจีน ส่วนพวก “นักศึกษาลัทธิขงจื๊อ” (Confucianists) ระดับสุดโต่ง ก็เข้าร่วมประสานเสียงด้วยเช่นกัน โดยบอกว่านักปรัชญาผู้สุขุมและอนุรักษนิยมที่มีชีวิตเมื่อ 25 ศตวรรษก่อนท่านนี้ ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับกบฎที่ “ไร้กฎหมายและไร้พระเจ้า” เลย ทั้งนี้กบฎที่ไร้กฎหมายและไร้พระเจ้า เป็นคำที่เหมาใช้เรียกตัวเขาเอง
ขณะที่พวกนักวิชาการที่อยู่ระหว่างสองสุดขั้วนี้ ก็มุ่งถักทอเส้นใยแห่งการต่อเชื่อม โดยพยายามที่จะหาทางเชื่อมจุดแต่ละจุดแต่ละจุดที่เหินห่างกันอยู่ พวกเขาดึงเอาถ้อยคำที่กล่าวอ้างถึงขงจื๊อจากงานเขียนต่างๆ ของเหมา แม้สิ่งที่กล่าวในงานเขียนเหล่านี้แสนจะตรงไปตรงมาและแสดงท่าทีมุ่งร้ายต่อนักปรัชญาโบราณผู้นี้อย่างโจ่งแจ้ง แต่นักวิชาการเหล่านี้ก็ยังคงโต้แย้งแสดงเหตุผลว่า โดยพื้นฐานแล้วเหมาก็หนีไม่พ้นอิทธิพลของขงจื๊อ
อย่างไรก็ดี มีอะไรบางอย่างมากกว่าการกล่าวหาตอบโต้กันว่ามันถูกหรือมันผิด “ลัทธิขงจื๊อในตัวเหมาเจ๋อตง” อันที่จริงแล้วนี่เป็นอะไรบางอย่างที่เป็นลักษณะพื้นฐานของขนบประเพณีแบบจีนทีเดียว
ลัทธิขงจื๊อได้กลายเป็นอุดมการณ์อย่างเป็นทางการของรัฐจีน ประมาณช่วงเวลาเดียวกันกับที่จักรพรรดิออกุสตุส (Augustus) ก่อตั้งจักรวรรดิของเขาขึ้นมา และเรียกให้มหากวีเวอร์จิล (Virgil) ร่ำร้องคำยกย่องสรรเสริญของเขา ซึ่งกล่าวเชื่อมโยงประชาชนโรมันของออกุสตุส เข้ากับชาวเมืองทรอยซึ่งอยู่ห่างไกลโบร่ำโบราณมาก ในเวลาเดียวกันนั้นเอง ราชวงศ์ฮั่นของจีนได้พยายามเก็บกวาดเอาคุณงามความดีทั้งหลายมากมายนับไม่ถ้วนมากองสุมใส่ให้แก่ขงจื๊อ โดยอ้างอิงว่าเขาเป็นเจ้าของผลงานจำนวนมากมายท่วมท้น ทั้งที่เป็นเรื่องแน่นอนอยู่แล้วว่าเขาไม่สามารถที่จะประพันธ์งานอันมากมายมหาศาลมโหฬารขนาดนั้นได้
การปรับตัวอีกหลายๆ ระลอกของอุดมการณ์ขงจื๊อในช่วงเวลาหลังจากนั้น บางทีอาจจะยิ่งใหญ่กว่าและแข็งแกร่งกว่าการปรับตัวของธรรมเนียมประเพณีแบบยิว-คริสเตียน (Judeo-Christian tradition) ในโลกตะวันตก กล่าวคือ ลัทธิขงจื๊อได้ดูดซับพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่มาจากต่างแดนอย่างสมบูรณ์เพราะมีต้นกำเนิดจากอินเดีย รวมทั้งยังดูดกลืนแม้กระทั่งพวกอดีตศัตรูเฉกเช่นนักปรัชญาม่อจื๊อ ผู้ซึ่งในสมัยศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ได้อุทิศเนื้อหาอย่างน้อย 2 บทในผลงานของเขา เพื่อมุ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงความโง่เขลาในแนวความคิดของขงจื๊อ
นี่กลายเป็นแนวโน้มแห่งอารมณ์ความรู้สึกอันแรงกล้าที่มุ่งประสานระบบต่างๆ ที่แตกต่างกันให้กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน จนกระทั่งแม้แต่ มัตเตโอ ริชชี (Matteo Ricci) บาทหลวงแห่งนิกายเยซูอิต ซึ่งได้รับมอบหมายภารกิจในการทำให้ชาวจีนเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์เมื่อช่วงทศวรรษ 1600 ก็ยังเอากับเขาด้วย โดยที่เขาหันมาสวมใส่เสื้อผ้าอาภรณ์แบบขงจื๊อ ดังนั้น ในอันดับแรกเลยทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องเป็นแบบจีน (แบบขงจื๊อ) เสียก่อน จากนั้นจึงค่อยเป็นอะไรอย่างอื่นต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็น ชาวพุทธ, ชาวคริสต์, หรือชาวคอมมิวนิสต์
มันยังเป็นความรู้สึกในเชิงเมตตาสงสารต่อผู้ที่ถูกพิชิตในทางวัฒนธรรมอีกด้วย การถูกพิชิตทางวัฒนธรรมดังกล่าวนี้คือสิ่งที่บังเกิดขึ้นกับชาวมองโกล และต่อมาก็กับชาวแมนจู ชนเผ่าเหล่านี้ได้รุกรานและพิชิตยึดครองแผ่นดินจีนได้สำเร็จ พวกเขาไม่ใช่คนจีนทว่าในทุกวันนี้กลับถูกถือว่าเป็นเช่นนั้น เนื่องจากมรดกต่างๆ ของพวกเขาโดยพื้นฐานแล้วได้ถูกดูดกลืนเข้าไปอยู่ในวัฒนธรรมจีนอย่างสิ้นเชิง
กระนั้นสำหรับในศตวรรษปัจจุบัน มันก็มีอะไรบางอย่างที่แตกต่างออกไปและมีความลึกซึ้งยิ่งกว่าการปฏิวัติอันน่าตื่นตาตื่นใจทั้งหลายทั้งปวงซึ่งเคยบังเกิดขึ้นมาในอดีต กระบวนการปรับเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นตะวันตก (Westernization) ซึ่งสำหรับประเทศจีนแล้วบังเกิดขึ้นในรูปลักษณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ หรือไม่ก็ลัทธิทุนนิยม กระบวนการดังกล่าวได้ทำลายดุลและระบบแบบโบราณอันละเอียดอ่อนให้ย่อยยับไปนับพันนับหมื่นประการ แต่กระนั้นสิ่งเหล่านี้ก็ยังมิได้ถูกทำลายไปจนหมดสิ้น
อนุสาวรีย์ขงจื๊อที่ตั้งอยู่ต่อหน้าภาพของเหมา เป็นเครื่องหมายแสดงการสิ้นสุดของยุคแห่งการแบ่งแยกทางอุดมการณ์อย่างเด็ดขาดชัดเจน ระหว่างประวัติศาสตร์ในยุคราชวงศ์กับประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของจีน มันเป็นการยอมรับว่าจีนในทุกวันนี้คือแซนด์วิชชนิดหนึ่ง และก็มีแต่จะต้องเป็นแซนวิชด์ดังกล่าวด้วย นั่นก็คือในด้านหนึ่ง เป็นอดีตโบร่ำโบราณ ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการกระตุกดิ้นรนและการพลิกคว่ำล้มหงายอันดุเดือดและรุนแรงที่ดำเนินมาในตลอด 60 ปีแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทว่านับตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป มันจะเป็นจีนใหม่ที่ยืนผงาดขึ้นมาอย่างแท้จริง เป็นจีนใหม่ที่กำลังก่อรูปก่อร่าง
แล้วเราควรจะเรียกมันว่าอะไรดีล่ะ? บางทีเราควรจะเรียกมันว่า ลัทธิทุนนิยมสังคมขงจื๊อใหม่ (new Confucian social-capitalism) กระมัง
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นคอลัมนิสต์ให้แก่ อิล โซเล 24 โอเร (Il Sole 24 Ore) หนังสือพิมพ์รายวันในอิตาลี ที่อยู่อีเมล์ของเขาคือ fsisci@gmail.com