(เก็บจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Iran and Syria look to closer ties
By an IWPR-trained reporter
17/10/2010
ถึงแม้สหรัฐฯเรียกร้องอย่างไม่หยุดหย่อนให้ซีเรียสะบั้นสัมพันธไมตรีกับอิหร่าน แต่กรุงดามัสกัสกับกรุงเตหะรานก็ยังคงยืนยันที่จะรักษาความสัมพันธ์ของพวกเขาให้เบ่งบานสดใสต่อไป ดังเห็นได้จากการยกเลิกข้อจำกัดทางด้านวีซาเมื่อเร็วๆ นี้
ดามัสกัส – ตลาดเก่าแก่คึกคักแห่งนั้นของกรุงดามัสกัส เป็นสถานที่อันคุ้นเคยของ ซิยา ชาฮิดี (Siya Shahidi) หญิงแม่บ้านและแม่ลูก 3 ชาวอิหร่านผู้นี้เดินทางจากกรุงเตหะรานมายังกรุงดามัสกัสอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งมานมนานหลายปีแล้ว โดยมาพร้อมกับครอบครัวของเธอเพื่อซื้อของและเพื่อเคารพสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
“เมื่อฉันเดินอยู่ในตลาดแห่งนี้ มันมีความรู้สึกเหมือนกำลังเดินอยู่ในเตหะรานเลย” ชาฮิดีบอก ศีรษะของเธอคลุมด้วยผ้าคลุมสีดำเพียงแค่บางส่วน ขณะที่เธอมองผ่านๆ ไปยังเสื้อผ้าสีสันสดใสในร้านค้าเล็กๆ แห่งหนึ่ง ของตลาด ซุค ฮัลฮามิดิเยะห์ (Hamidiyeh souk หรือ Souk al-Hamidiye) ในย่านเมืองเก่าของดามัสกัส
ชาฮิดีบอกว่า กรุงดามัสกัสเป็น “นครที่ถูกที่สุดและอยู่ใกล้ที่สุด” กับกรุงเตหะราน เธอเป็นชาวอิหร่านคนหนึ่งในจำนวนเป็นแสนๆ ที่เยือนซีเรียในแต่ละปี ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการเดินทางจาริกทางศาสนา, การพักผ่อนหย่อนใจ, หรือไม่ก็เพื่อการทำธุรกิจ จำนวนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของพวกเขาเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงสายสัมพันธ์ทางการเมืองและทางยุทธศาสตร์อันใกล้ชิดระหว่างเหล่าผู้นำของอิหร่านและซีเรีย
ประธานาธิบดี มาหมุด อาห์มาดิเนจัด แห่งอิหร่าน ได้มาปรากฏตัวอย่างเป็นพิธีการในกรุงดามัสกัสเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้เอง โดยที่มีประธานาธิบดี บาชาร์ อัลอัดซาด ของซีเรียให้การต้อนรับ การประชุมสุดยอดระดับมินิของผู้นำทั้งสองคราวนี้ ดูเหมือนจะจัดขึ้นเพื่อยืนยันถึงความสัมพันธ์ทวิภาคีอันเบ่งบานสดใส ท่ามกลางเสียงเรียกร้องอย่างไม่หยุดหย่อนจากสหรัฐฯและฝ่ายตะวันตก ให้กรุงดามัสกัสสะบั้นสัมพันธไมตรีกับกรุงเตหะราน
ในปีที่ผ่านมา วอชิงตันได้เริ่มต้นการพูดจาสนทนากับรัฐบาลซีเรีย ด้วยความมุ่งหวังที่จะเกลี้ยกล่อมให้ดามัสกัสผ่อนเพลาความสนับสนุนที่ให้แก่พวกกลุ่มหัวรุนแรงต่อต้านอิสราเอลในเลบานอนและในดินแดนฉนวนกาซา โดยที่กลุ่มเหล่านี้ก็ได้รับการหนุนหลังอย่างแข็งขันจากอิหร่านด้วย
วอชิงตันเพิ่งประกาศเมื่อไม่นานมานี้เองว่า กำลังจะส่ง รอเบิร์ต ฟอร์ด (Robert Ford) มาเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐฯคนใหม่ประจำดามัสกัส หลังจากที่ความสัมพันธ์ร้าวฉานมานานถึง 5 ปี
ทว่าพวกนักวิจารณ์จำนวนมากรู้สึกว่า นโยบายใหม่ของอเมริกานี้ ซึ่งออกมาในช่วงเวลาเดียวกับที่วอชิงตันพยายามผลักดันให้เกิดการเจรจาสันติภาพระหว่างอิสราเอลและซีเรีย ยังไม่ได้เป็นแรงจูงใจที่พอเพียงแก่การดึงดูดให้ซีเรียยอมถอยห่างออกจากอิหร่าน ผู้เป็นพันธมิตรในภูมิภาคของตน
เวลานี้สหรัฐฯยังคงมาตรการคว่ำบาตรลงโทษซีเรียที่ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2004 เอาไว้ และกระบวนการสร้างสันติภาพอิสราเอล-ซีเรียก็อยู่ในภาวะชะงักงัน โดยที่ฝ่ายซีเรียประณามว่าเป็นความผิดของอิสราเอลและอเมริกันที่เป็นผู้สนับสนุนอิสราเอล
“ผมไม่คิดว่ามันจะเป็นผลประโยชน์อะไรของใครเลย ถ้าหากความสัมพันธ์ (ซีเรีย-อิหร่าน) ถูกยกเลิกไป ตรงกันข้าม ผมมองเห็นว่าสำหรับประชาคมระหว่างประเทศแล้ว ความสัมพันธ์ที่ถูกถือว่าเป็นเรื่องไม่ดีนี้ แท้ที่จริงแล้วกลับให้ผลประโยชน์เชิงบวก” ซามี โมวบายเอด (Sami Moubayed) นักวิเคราะห์ทางการเมืองที่พำนักอยู่กรุงดามัสกัส และเป็นบรรณาธิการใหญ่ของนิตยสาร “ฟอร์เวิร์ด” (Forward) ตลอดจนเป็นผู้สื่อข่าวของเอเชียไทมส์ออนไลน์ ด้วย กล่าวให้ความเห็น
เขาบอกว่า ดามัสกัสได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็น “นักเจรจาชั้นดี” และสามารถที่จะแสดงบทบาทเป็นคนกลางระหว่างอิหร่านกับฝ่ายตะวันตกได้
“ผมพบว่าเป็นเรื่องแปลกๆ นะ ที่พวกเขา (สหรัฐฯ) พูดถึงเรื่องเสถียรภาพในตะวันออกกลาง แต่ในเวลาเดียวกันก็กลับพูดถึงเรื่องการแบ่งแยกประเทศทั้งสอง” ประธานาธิบดีอัสซาดกล่าวกับผู้สื่อข่าว ระหว่างการแถลงข่าวร่วมกับประธานาธิบดีอาห์มาดิเนจัด
โมวบายเอดชี้ว่า ดามัสกัสต้องการที่จะส่งข้อความ 2 ประการด้วยกัน ประการแรกคือตนเองไม่พร้อมที่จะทำลายความเป็นพันธมิตรกับอิหร่าน ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ “วางอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันและวิสัยทัศน์ร่วมกัน” และประการที่สอง ซีเรียสามารถที่จะธำรงรักษาความสัมพันธ์อันดีกับฝ่ายตะวันตกได้ แม้ในขณะที่ธำรงรักษาสายสัมพันธ์อันแข็งแกร่งกับอิหร่านเอาไว้
แต่นอกเหนือจากมิติทางการเมืองแล้ว การพบปะระหว่างประธานาธิบดีทั้ง 2 ในคราวนี้ ยังนำไปสู่การตกลงให้ยกเลิกข้อกำหนดเรื่องประทับตราวีซาระหว่างสองประเทศ เพื่อเป็นการส่งเสริมเพิ่มพูนความสัมพันธ์ในระดับประชาชนให้แข็งแกร่งมั่นคง
บางคนบอกว่า ความเคลื่อนไหวเช่นนี้จะเพิ่มจำนวนชาวอิหร่านที่มาเยือนซีเรีย โดยเวลานี้ประมาณการกันว่าน่าจะอยู่ในระดับ 500,000 คนต่อปี และกำลังเพิ่มขึ้นต่อไปอีก
อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกัน ไม่ค่อยมีชาวซีเรียไปยังอิหร่านเท่าใดนัก
ในเขตเมืองเก่าของดามัสกัส เป็นเรื่องธรรมดาที่จะได้ยินพวกคนค้าขายพูดภาษาฟาร์ซี (Farsi ภาษาของชาวอิหร่าน) ขณะต้อนรับขับสู้ลูกค้าชาวอิหร่าน และในเวลาต่อรองราคาเสื้อผ้าและชุดชั้นในที่ผลิตในซีเรีย บางร้านติดป้ายที่เขียนเป็นภาษาฟาร์ซีด้วยซ้ำ และปกติแล้วผู้ขายยินดีรับเงินเรียลอิหร่าน
ภัตตาคารร้านอาหารและร้านค้าบางแห่งกระทั่งแขวนภาพของอาห์มาดิเนจัด
อาเหม็ด ซอห์เอร์ เอล-บัน (Ahmed Zaher el-Ban) เจ้าของร้านขายเสื้อผ้าในตลาด ซุค ฮัลฮามิดิเยะห์ กล่าวว่า ธุรกิจของเขาต้องพึ่งพาพวกนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจชาวอิหร่านเป็นอย่างมาก โดยที่พวกนักธุรกิจจะส่งออกผลิตภัณฑ์ของเขาไปยังอิหร่าน
“ผมคบหาเป็นเพื่อนกับลูกค้าชาวอิหร่านเยอะแยะเลย พวกเขาโทรศัพท์มาหาผมจากเตหะรานในช่วงอิ๊ด (เทศกาลเลี้ยงอาหารเนื่องในวาระสำคัญทางศาสนาอิสลาม)” อาเหม็ดซึ่งพูดภาษาฟาร์ซีได้อย่างคล่องแคล่ว จาระไนข้อมูล
แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนเห็นว่า ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างซีเรียกับอิหร่าน ยังต้องถือว่าอยู่ในสภาพอ่อนแอ
ไอมัน คอห์เอฟ (Ayman Kahef) นักเศรษฐศาสตร์และบรรณาธิการใหญ่ของเว็บไซต์ข่าว “ซีเรียนเดย์ส” (Syrian Days) เชื่อว่า การยกเลิกข้อกำหนดให้ประทับตราวีซา จะส่งผลในทางบวกต่อการค้า, การลงทุน, และการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ
รองประธานิบดี ปาร์วิซ ดาโวดิ (Parviz Davoudi) ของอิหร่าน ก็แถลงระหว่างการเยือนซีเรียในเดือนนี้ว่า การค้าในรูปสินค้าระหว่างประเทศทั้งสองอยู่ในระดับประมาณ 300 ล้านดอลลาร์ต่อปี ขณะที่การท่องเที่ยวสร้างรายได้ราว 500 ล้านดอลลาร์
สำหรับคอห์เอฟแล้ว ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสองฝ่ายที่มีปริมาณเท่านี้ ยังถือว่าค่อนข้างต่ำ เขากล่าวว่า “อุปสรรคในด้านโลจิสติกส์” เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างสองประเทศยังเป็นไปอย่างเชื่องช้า นั่นก็คือ ในทางบกแล้วยังมีตุรกีและอิรักคั่นอยู่ระหว่างประเทศทั้งสอง
“สภาพพื้นที่ภูมิประเทศอันยากลำบากในตุรกี เมื่อบวกเข้ากับสถานการณ์ความมั่นคงในอิรักที่ไม่มีเสถียรภาพเลย เป็นตัวกีดขวางเส้นทางทำการค้าขาย” เขาชี้
ผู้สังเกตการณ์รายอื่นๆ กล่าวด้วยว่า ในระดับของวัฒนธรรม ก็ยังมีอุปสรรคจำนวนมากที่สร้างความยุ่งยากซับซ้อนให้แก่การติดต่อกันแบบมนุษย์ต่อมนุษย์ระหว่างชาวซีเรียกับชาวอิหร่าน
ถึงแม้ทั้งสองประเทศต่างก็มีประชากรเป็นชาวมุสลิมอย่างท่วมท้นล้นหลาม ทว่ากลับนับถือศรัทธาในนิกายที่แตกต่างกันของศาสนาอิสลาม กล่าวคือ ชาวอิหร่านส่วนใหญ่เป็นชิอะห์ ขณะที่ชาวซีเรียส่วนมากเป็นสุหนี่ นอกจากนั้นแต่ละประเทศยังพูดภาษาที่แตกต่างกัน ขณะที่ระบอบปกครองของอิหร่านเป็นแบบยึดถือศาสนาเป็นหลักสูงสุด (theocracy) แต่ซีเรียกลับใช้ระบบที่นิยมแยกศาสนาออกจากการเมือง (secular political system)
ชาวอิหร่านที่แห่กันเดินทางไปยังดามัสกัส ส่วนใหญ่แล้วเป็นชาวนิกายชิอะห์ที่เดินทางจาริกไปตามสถานที่สำคัญทางศาสนา เป็นต้นว่า มัสยิดแห่ง ไซญิดะห์ ซัยนับ (Sayida Zainab) บุตรสาวของอิหม่ามอาลี และหลานสาวของนบีมุฮัมมัด
สภาพเช่นนี้เป็นข้อจำกัดการติดต่อระหว่างประชาชนจากสองประเทศ
มีพวกนักท่องเที่ยวชาวอิหร่านที่ไม่สู้อนุรักษนิยมนัก เดินทางสู่ซีเรียด้วยความประสงค์ที่จะหลีกหนีบรรยากาศอันเคร่งครัดเข้มงวดในประเทศของพวกตน คนเหล่านี้ชื่มชอบกับระเบียบกติกาทางสังคมในซีเรียที่หย่อนคลายกว่าทางอิหร่านเป็นอย่างมาก เป็นต้นว่า อนุญาตให้ดื่มสุราได้
อาลี ชาฮีน (Ali Shaheen) วิศวกรชาวอิหร่าน เลือกดามัสกัสเป็นสถานที่ดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ของเขากับภรรยาที่ชื่อ ซูร์ไรอะ (Surraia) “ถึงแม้ประเทศนี้เป็นชาติอิสลามเหมือนอิหร่าน แต่ประเทศนี้ก็มีทางเลือกด้านความบันเทิงหย่อนใจและสถานที่ซึ่งน่าไปเที่ยวมากกว่าเป็นอย่างมาก” เขากล่าวขณะนั้งอยู่ในภัตตาคารย่านกลางกรุงดามัสกัส
อามีร์ บารี (Amir Bari) พ่อค้าจากภาคเหนือของอิหร่านซึ่งมาเยือนซีเรีย กล่าวเห็นพ้องด้วย “ผมรักเมืองนี้ ... มีทั้งสถานบูชา, มัสยิด, และบาร์ ผมสามารถเข้าบาร์ได้โดยไม่ถูกจับ ... ที่นี่ไม่มีเจ้าหน้าที่ (กองกำลัง) พิทักษ์การปฏิวัติ (อิสลาม)” เขาบอก
(บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกโดย สถาบันเพื่อการรายงานข่าวสงครามและสันติภาพ Institute for War and Peace Reporting หรือ IWPR สถาบันซึ่งตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน โดยประกาศภารกิจที่จะสร้างสันติภาพและประชาธิปไตยผ่านสื่อที่เสรีและเป็นธรรม เว็บไซต์ของสถาบันนี้คือ iwpr.net)
Iran and Syria look to closer ties
By an IWPR-trained reporter
17/10/2010
ถึงแม้สหรัฐฯเรียกร้องอย่างไม่หยุดหย่อนให้ซีเรียสะบั้นสัมพันธไมตรีกับอิหร่าน แต่กรุงดามัสกัสกับกรุงเตหะรานก็ยังคงยืนยันที่จะรักษาความสัมพันธ์ของพวกเขาให้เบ่งบานสดใสต่อไป ดังเห็นได้จากการยกเลิกข้อจำกัดทางด้านวีซาเมื่อเร็วๆ นี้
ดามัสกัส – ตลาดเก่าแก่คึกคักแห่งนั้นของกรุงดามัสกัส เป็นสถานที่อันคุ้นเคยของ ซิยา ชาฮิดี (Siya Shahidi) หญิงแม่บ้านและแม่ลูก 3 ชาวอิหร่านผู้นี้เดินทางจากกรุงเตหะรานมายังกรุงดามัสกัสอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งมานมนานหลายปีแล้ว โดยมาพร้อมกับครอบครัวของเธอเพื่อซื้อของและเพื่อเคารพสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
“เมื่อฉันเดินอยู่ในตลาดแห่งนี้ มันมีความรู้สึกเหมือนกำลังเดินอยู่ในเตหะรานเลย” ชาฮิดีบอก ศีรษะของเธอคลุมด้วยผ้าคลุมสีดำเพียงแค่บางส่วน ขณะที่เธอมองผ่านๆ ไปยังเสื้อผ้าสีสันสดใสในร้านค้าเล็กๆ แห่งหนึ่ง ของตลาด ซุค ฮัลฮามิดิเยะห์ (Hamidiyeh souk หรือ Souk al-Hamidiye) ในย่านเมืองเก่าของดามัสกัส
ชาฮิดีบอกว่า กรุงดามัสกัสเป็น “นครที่ถูกที่สุดและอยู่ใกล้ที่สุด” กับกรุงเตหะราน เธอเป็นชาวอิหร่านคนหนึ่งในจำนวนเป็นแสนๆ ที่เยือนซีเรียในแต่ละปี ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการเดินทางจาริกทางศาสนา, การพักผ่อนหย่อนใจ, หรือไม่ก็เพื่อการทำธุรกิจ จำนวนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของพวกเขาเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงสายสัมพันธ์ทางการเมืองและทางยุทธศาสตร์อันใกล้ชิดระหว่างเหล่าผู้นำของอิหร่านและซีเรีย
ประธานาธิบดี มาหมุด อาห์มาดิเนจัด แห่งอิหร่าน ได้มาปรากฏตัวอย่างเป็นพิธีการในกรุงดามัสกัสเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้เอง โดยที่มีประธานาธิบดี บาชาร์ อัลอัดซาด ของซีเรียให้การต้อนรับ การประชุมสุดยอดระดับมินิของผู้นำทั้งสองคราวนี้ ดูเหมือนจะจัดขึ้นเพื่อยืนยันถึงความสัมพันธ์ทวิภาคีอันเบ่งบานสดใส ท่ามกลางเสียงเรียกร้องอย่างไม่หยุดหย่อนจากสหรัฐฯและฝ่ายตะวันตก ให้กรุงดามัสกัสสะบั้นสัมพันธไมตรีกับกรุงเตหะราน
ในปีที่ผ่านมา วอชิงตันได้เริ่มต้นการพูดจาสนทนากับรัฐบาลซีเรีย ด้วยความมุ่งหวังที่จะเกลี้ยกล่อมให้ดามัสกัสผ่อนเพลาความสนับสนุนที่ให้แก่พวกกลุ่มหัวรุนแรงต่อต้านอิสราเอลในเลบานอนและในดินแดนฉนวนกาซา โดยที่กลุ่มเหล่านี้ก็ได้รับการหนุนหลังอย่างแข็งขันจากอิหร่านด้วย
วอชิงตันเพิ่งประกาศเมื่อไม่นานมานี้เองว่า กำลังจะส่ง รอเบิร์ต ฟอร์ด (Robert Ford) มาเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐฯคนใหม่ประจำดามัสกัส หลังจากที่ความสัมพันธ์ร้าวฉานมานานถึง 5 ปี
ทว่าพวกนักวิจารณ์จำนวนมากรู้สึกว่า นโยบายใหม่ของอเมริกานี้ ซึ่งออกมาในช่วงเวลาเดียวกับที่วอชิงตันพยายามผลักดันให้เกิดการเจรจาสันติภาพระหว่างอิสราเอลและซีเรีย ยังไม่ได้เป็นแรงจูงใจที่พอเพียงแก่การดึงดูดให้ซีเรียยอมถอยห่างออกจากอิหร่าน ผู้เป็นพันธมิตรในภูมิภาคของตน
เวลานี้สหรัฐฯยังคงมาตรการคว่ำบาตรลงโทษซีเรียที่ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2004 เอาไว้ และกระบวนการสร้างสันติภาพอิสราเอล-ซีเรียก็อยู่ในภาวะชะงักงัน โดยที่ฝ่ายซีเรียประณามว่าเป็นความผิดของอิสราเอลและอเมริกันที่เป็นผู้สนับสนุนอิสราเอล
“ผมไม่คิดว่ามันจะเป็นผลประโยชน์อะไรของใครเลย ถ้าหากความสัมพันธ์ (ซีเรีย-อิหร่าน) ถูกยกเลิกไป ตรงกันข้าม ผมมองเห็นว่าสำหรับประชาคมระหว่างประเทศแล้ว ความสัมพันธ์ที่ถูกถือว่าเป็นเรื่องไม่ดีนี้ แท้ที่จริงแล้วกลับให้ผลประโยชน์เชิงบวก” ซามี โมวบายเอด (Sami Moubayed) นักวิเคราะห์ทางการเมืองที่พำนักอยู่กรุงดามัสกัส และเป็นบรรณาธิการใหญ่ของนิตยสาร “ฟอร์เวิร์ด” (Forward) ตลอดจนเป็นผู้สื่อข่าวของเอเชียไทมส์ออนไลน์ ด้วย กล่าวให้ความเห็น
เขาบอกว่า ดามัสกัสได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็น “นักเจรจาชั้นดี” และสามารถที่จะแสดงบทบาทเป็นคนกลางระหว่างอิหร่านกับฝ่ายตะวันตกได้
“ผมพบว่าเป็นเรื่องแปลกๆ นะ ที่พวกเขา (สหรัฐฯ) พูดถึงเรื่องเสถียรภาพในตะวันออกกลาง แต่ในเวลาเดียวกันก็กลับพูดถึงเรื่องการแบ่งแยกประเทศทั้งสอง” ประธานาธิบดีอัสซาดกล่าวกับผู้สื่อข่าว ระหว่างการแถลงข่าวร่วมกับประธานาธิบดีอาห์มาดิเนจัด
โมวบายเอดชี้ว่า ดามัสกัสต้องการที่จะส่งข้อความ 2 ประการด้วยกัน ประการแรกคือตนเองไม่พร้อมที่จะทำลายความเป็นพันธมิตรกับอิหร่าน ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ “วางอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันและวิสัยทัศน์ร่วมกัน” และประการที่สอง ซีเรียสามารถที่จะธำรงรักษาความสัมพันธ์อันดีกับฝ่ายตะวันตกได้ แม้ในขณะที่ธำรงรักษาสายสัมพันธ์อันแข็งแกร่งกับอิหร่านเอาไว้
แต่นอกเหนือจากมิติทางการเมืองแล้ว การพบปะระหว่างประธานาธิบดีทั้ง 2 ในคราวนี้ ยังนำไปสู่การตกลงให้ยกเลิกข้อกำหนดเรื่องประทับตราวีซาระหว่างสองประเทศ เพื่อเป็นการส่งเสริมเพิ่มพูนความสัมพันธ์ในระดับประชาชนให้แข็งแกร่งมั่นคง
บางคนบอกว่า ความเคลื่อนไหวเช่นนี้จะเพิ่มจำนวนชาวอิหร่านที่มาเยือนซีเรีย โดยเวลานี้ประมาณการกันว่าน่าจะอยู่ในระดับ 500,000 คนต่อปี และกำลังเพิ่มขึ้นต่อไปอีก
อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกัน ไม่ค่อยมีชาวซีเรียไปยังอิหร่านเท่าใดนัก
ในเขตเมืองเก่าของดามัสกัส เป็นเรื่องธรรมดาที่จะได้ยินพวกคนค้าขายพูดภาษาฟาร์ซี (Farsi ภาษาของชาวอิหร่าน) ขณะต้อนรับขับสู้ลูกค้าชาวอิหร่าน และในเวลาต่อรองราคาเสื้อผ้าและชุดชั้นในที่ผลิตในซีเรีย บางร้านติดป้ายที่เขียนเป็นภาษาฟาร์ซีด้วยซ้ำ และปกติแล้วผู้ขายยินดีรับเงินเรียลอิหร่าน
ภัตตาคารร้านอาหารและร้านค้าบางแห่งกระทั่งแขวนภาพของอาห์มาดิเนจัด
อาเหม็ด ซอห์เอร์ เอล-บัน (Ahmed Zaher el-Ban) เจ้าของร้านขายเสื้อผ้าในตลาด ซุค ฮัลฮามิดิเยะห์ กล่าวว่า ธุรกิจของเขาต้องพึ่งพาพวกนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจชาวอิหร่านเป็นอย่างมาก โดยที่พวกนักธุรกิจจะส่งออกผลิตภัณฑ์ของเขาไปยังอิหร่าน
“ผมคบหาเป็นเพื่อนกับลูกค้าชาวอิหร่านเยอะแยะเลย พวกเขาโทรศัพท์มาหาผมจากเตหะรานในช่วงอิ๊ด (เทศกาลเลี้ยงอาหารเนื่องในวาระสำคัญทางศาสนาอิสลาม)” อาเหม็ดซึ่งพูดภาษาฟาร์ซีได้อย่างคล่องแคล่ว จาระไนข้อมูล
แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนเห็นว่า ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างซีเรียกับอิหร่าน ยังต้องถือว่าอยู่ในสภาพอ่อนแอ
ไอมัน คอห์เอฟ (Ayman Kahef) นักเศรษฐศาสตร์และบรรณาธิการใหญ่ของเว็บไซต์ข่าว “ซีเรียนเดย์ส” (Syrian Days) เชื่อว่า การยกเลิกข้อกำหนดให้ประทับตราวีซา จะส่งผลในทางบวกต่อการค้า, การลงทุน, และการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ
รองประธานิบดี ปาร์วิซ ดาโวดิ (Parviz Davoudi) ของอิหร่าน ก็แถลงระหว่างการเยือนซีเรียในเดือนนี้ว่า การค้าในรูปสินค้าระหว่างประเทศทั้งสองอยู่ในระดับประมาณ 300 ล้านดอลลาร์ต่อปี ขณะที่การท่องเที่ยวสร้างรายได้ราว 500 ล้านดอลลาร์
สำหรับคอห์เอฟแล้ว ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสองฝ่ายที่มีปริมาณเท่านี้ ยังถือว่าค่อนข้างต่ำ เขากล่าวว่า “อุปสรรคในด้านโลจิสติกส์” เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างสองประเทศยังเป็นไปอย่างเชื่องช้า นั่นก็คือ ในทางบกแล้วยังมีตุรกีและอิรักคั่นอยู่ระหว่างประเทศทั้งสอง
“สภาพพื้นที่ภูมิประเทศอันยากลำบากในตุรกี เมื่อบวกเข้ากับสถานการณ์ความมั่นคงในอิรักที่ไม่มีเสถียรภาพเลย เป็นตัวกีดขวางเส้นทางทำการค้าขาย” เขาชี้
ผู้สังเกตการณ์รายอื่นๆ กล่าวด้วยว่า ในระดับของวัฒนธรรม ก็ยังมีอุปสรรคจำนวนมากที่สร้างความยุ่งยากซับซ้อนให้แก่การติดต่อกันแบบมนุษย์ต่อมนุษย์ระหว่างชาวซีเรียกับชาวอิหร่าน
ถึงแม้ทั้งสองประเทศต่างก็มีประชากรเป็นชาวมุสลิมอย่างท่วมท้นล้นหลาม ทว่ากลับนับถือศรัทธาในนิกายที่แตกต่างกันของศาสนาอิสลาม กล่าวคือ ชาวอิหร่านส่วนใหญ่เป็นชิอะห์ ขณะที่ชาวซีเรียส่วนมากเป็นสุหนี่ นอกจากนั้นแต่ละประเทศยังพูดภาษาที่แตกต่างกัน ขณะที่ระบอบปกครองของอิหร่านเป็นแบบยึดถือศาสนาเป็นหลักสูงสุด (theocracy) แต่ซีเรียกลับใช้ระบบที่นิยมแยกศาสนาออกจากการเมือง (secular political system)
ชาวอิหร่านที่แห่กันเดินทางไปยังดามัสกัส ส่วนใหญ่แล้วเป็นชาวนิกายชิอะห์ที่เดินทางจาริกไปตามสถานที่สำคัญทางศาสนา เป็นต้นว่า มัสยิดแห่ง ไซญิดะห์ ซัยนับ (Sayida Zainab) บุตรสาวของอิหม่ามอาลี และหลานสาวของนบีมุฮัมมัด
สภาพเช่นนี้เป็นข้อจำกัดการติดต่อระหว่างประชาชนจากสองประเทศ
มีพวกนักท่องเที่ยวชาวอิหร่านที่ไม่สู้อนุรักษนิยมนัก เดินทางสู่ซีเรียด้วยความประสงค์ที่จะหลีกหนีบรรยากาศอันเคร่งครัดเข้มงวดในประเทศของพวกตน คนเหล่านี้ชื่มชอบกับระเบียบกติกาทางสังคมในซีเรียที่หย่อนคลายกว่าทางอิหร่านเป็นอย่างมาก เป็นต้นว่า อนุญาตให้ดื่มสุราได้
อาลี ชาฮีน (Ali Shaheen) วิศวกรชาวอิหร่าน เลือกดามัสกัสเป็นสถานที่ดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ของเขากับภรรยาที่ชื่อ ซูร์ไรอะ (Surraia) “ถึงแม้ประเทศนี้เป็นชาติอิสลามเหมือนอิหร่าน แต่ประเทศนี้ก็มีทางเลือกด้านความบันเทิงหย่อนใจและสถานที่ซึ่งน่าไปเที่ยวมากกว่าเป็นอย่างมาก” เขากล่าวขณะนั้งอยู่ในภัตตาคารย่านกลางกรุงดามัสกัส
อามีร์ บารี (Amir Bari) พ่อค้าจากภาคเหนือของอิหร่านซึ่งมาเยือนซีเรีย กล่าวเห็นพ้องด้วย “ผมรักเมืองนี้ ... มีทั้งสถานบูชา, มัสยิด, และบาร์ ผมสามารถเข้าบาร์ได้โดยไม่ถูกจับ ... ที่นี่ไม่มีเจ้าหน้าที่ (กองกำลัง) พิทักษ์การปฏิวัติ (อิสลาม)” เขาบอก
(บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกโดย สถาบันเพื่อการรายงานข่าวสงครามและสันติภาพ Institute for War and Peace Reporting หรือ IWPR สถาบันซึ่งตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน โดยประกาศภารกิจที่จะสร้างสันติภาพและประชาธิปไตยผ่านสื่อที่เสรีและเป็นธรรม เว็บไซต์ของสถาบันนี้คือ iwpr.net)