(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
South Korea shows recovery skills
By R M Cutler
10/09/2009
เศรษฐกิจเกาหลีใต้กำลังควบตะบึงเข้าสู่ภาวะฟื้นตัว เมื่อบรรดาผู้บริโภคของประเทศพากันใช้ประโยชน์จากแพกเกจมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกันอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกัน ผลิตภัณฑ์จากโรงงานของโสมขาวก็สามารถขายได้เพิ่มขึ้นมาก ด้วยความช่วยเหลือจากการที่ทั่วโลกพากันสต็อกสินค้าคงคลังกันอีกคำรบหนึ่ง
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ยังคงแสดงให้เห็นถึงความสามารถที่จะดีดตัวกลับคืนออกจากวิกฤตได้อย่างรวดเร็ว โดยสำหรับในคราวนี้แล้ว ปัจจัยที่สำคัญที่ได้สุดแก่ มาตรการกระตุ้นภายในประเทศ ผสมผสานกับการที่ทั่วโลกอยู่ในภาวะสต็อกสินค้าคงคลังกันอีกครั้ง
การฟื้นตัวเป็นไปอย่างแข็งแกร่งถึงขนาดที่ผู้ว่าการธนาคารกลาง ลีเซืองแต (Lee Seong-tae) ซึ่งวาระดำรงตำแหน่งของเขาจะหมดลงเดือนมีนาคมปีหน้า กล้าสร้างเซอร์ไพรซ์แก่นักสังเกตการณ์ทั้งหลาย ด้วยการประกาศว่าเขาพร้อมที่จะกลับขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกแม้กระทั่งในอนาคตอันใกล้นี้ ถ้าหากเกิดมีความจำเป็นขึ้นมา เพื่อสกัดกั้นการคาดการณ์เงินเฟ้อที่ทำท่าเพิ่มสูง เนื่องจากผู้คนกำลังมองสถานการณ์ในแง่สดใส ตลอดจนจากนโยบายการเงินในปัจจุบันก็อยู่ในลักษณะผ่อนคลายอย่างมาก
เมื่อวันพฤหัสบดี(10) ธนาคารกลางยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของตนเอาไว้ที่ระดับ 2% ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันแล้ว ซึ่งเป็นไปตามความคาดหมายของพวกนักวิเคราะห์ ภายหลังจากที่ได้หั่นลดดอกเบี้ยตัวนี้ลงมา 3.25% ในช่วงเวลาระหว่างเดือนตุลาคมปีที่แล้วถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้
หากแบงก์ชาติมีการขยับดอกเบี้ยขึ้นไปจริงๆ ก็คงจะเป็นการขัดอกขัดใจคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่นำโดย ชุงอุนชาน (Chung Un-chan) นักเศรษฐศาสตร์ผู้ผ่านการฝึกอบรมจากพรินซ์ตัน และเป็นอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (Seoul National University) ซึ่งเพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อ 2 เดือนที่แล้วนี้เอง คณะรัฐบาลยังคงต้องการให้ธนาคารกลางดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากๆ ต่อไปอีก
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ ซึ่งเคยแสดงความสามารถในการฟื้นชีวิตขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วเมื่อคราวที่เกิดวิกฤตการเงินเอเชียปี 1997-98 ตอนนี้ก็สามารถเติบโตขยายตัวได้ 2.6% ในไตรมาสสองของปีนี้ หากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งดีกว่าที่เคยประมาณการกันไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะทำได้เพียง 2.3% นอกจากนั้นในเดือนกรกฎาคมยังได้เห็นการผลิตทางอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น (เมื่อวัดกับช่วงเดียวกับของปีที่แล้ว) เป็นเดือนแรกในรอบ 10 เดือน ภายหลังจากในไตรมาสสองก็เติบโตได้มากกว่าไตรมาสแรกอย่างน่ามหัศจรรย์ถึง 8.2%
ยังมีข่าวดีๆ มาจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ซึ่งไต่ขึ้นไปอยู่ที่ 53.6 ในเดือนสิงหาคม เมื่อคำสั่งซื้อสินค้าออกไหลเข้ามาเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ดัชนีนี้หากสูงเกิน 50 ก็ถือว่าเงื่อนไขต่างๆ ทางธุรกิจกำลังกระเตื้องขึ้น ในวันอังคาร(8) สถาบันการพัฒนาเกาหลี (Korea Development Institute) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ แถลงว่าเศรษฐกิจของประเทศน่าจะหดตัวเพียง 0.7% ในปีปฏิทินนี้ หลังจากที่เคยทำนายไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะติดลบ 2.3%
ทางด้านธนาคารเพื่อพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ให้ความเห็นในเดือนกรกฎาคมว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้มาถึงจุดต่ำสุดแล้วเมื่อช่วงไตรมาสแรกของปีปฏิทินปัจจุบัน ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) คาดหมายว่าอัตราการฟื้นตัวของโสมขาวอาจจะสูญเสียแรงขับเคลื่อนไปบ้างแต่กระนั้นก็ยังคงเดินหน้าได้ต่อไปอีก
สภาพที่ทั่วโลกพากันสต็อกสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นนั้น เวลานี้กำลังมาถึงจุดสิ้นสุดแล้ว แต่ก็ยังมีความคาดหมายกันเป็นฉันทามติทีเดียวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯที่กำลังฟื้นตัวจะสามารถกลายเป็นปัจจัยขับดันการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของโสมขาวได้ ขณะเดียวกัน การบริภาคภายในประเทศของเกาหลีใต้ก็อาจจะทรุดต่ำลง หากรัฐบาลไม่ได้ต่ออายุมาตรการลดภาษีที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจ
การที่ค่าเงินวอนของเกาหลีใต้อยู่ในทิศทางอ่อนตัวลง จะเปิดทางให้ผลิตภัณฑ์ของโสมขาวสามารถเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดโลกได้เพิ่มขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็จะยังคงเป็นปัจจัยลบที่จะฉุดดัชนีตลาดหลักทรัพย์ให้ทรุดต่ำ แน่นอนทีเดียวว่าสถานการณ์ที่ประชาคมระหว่างประเทศยังคงประจันหน้ากับเกาหลีเหนือย่อมเพิ่มความเสี่ยงทางการเมืองในคาบสมุทรนี้ ทว่าปัจจัยเรื่องที่ยังมีความสามารถการผลิตเหลืออยู่ไม่ได้ใช้ รวมทั้งภาวะการฟื้นตัวก็ยังไม่มีความแน่นอน เหล่านี้ต่างหากที่มีน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยงทางการเมืองด้วยซ้ำ ในการทำให้บริษัทต่างๆ ยังคงไม่วางแผนใช้เงินเพื่อการลงทุนใหม่ๆ
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ฟิตช์ เรตติ้งส บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายใหญ่รายหนึ่งของโลก มีความประทับใจกับระบบการธนาคารของเกาหลีใต้ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความยืดหยุ่นได้ดี จึงได้ยกระดับเครดิตเรตติ้งด้านทิศทางอนาคต (outlook) ของโสมขาว จาก “ลบ” (negative) เป็น “คงที่” (stable)
ดัชนีหุ้น คอสปิ (KOSPI) ของตลาดหลักทรัพย์โซล ซึ่งมีหุ้นในหมวดธนาคารเข้าเป็นส่วนประกอบอย่างเต็มเหนี่ยวถึงสองในห้า ปิดวันพฤหัสบดี(10) ที่ระดับ 1,645 สูงขึ้น 56% จากจุดที่ลงต่ำสุดในตอนสิ้นเดือนตุลาคมปีที่แล้ว หมวดธุรกิจอื่นๆ ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญอยู่ในดัชนีหุ้นนี้เช่นกัน ยังมีอาทิ การต่อเรือ, เหล็กกล้า, อิเล็กทรอนิกส์, และรวมทั้งรถยนต์ ทั้งนี้สองหมวดท้ายสุดก็เป็นกิจการที่มีบทบาทมากทีเดียวในการขับดันให้การส่งออกพุ่งโด่งในเดือนกรกฎาคม
พวกบริษัทการเงินรายใหญ่แทบทั้งหมดต่างคาดหมายว่า ดัชนีหุ้นคอสปิ ยังจะเพิ่มสูงขึ้นต่อไปในระยะสั้นและระยะกลาง ถ้าหากไม่ใช่ในระยะยาวไกลด้วย โดยน่าจะลุยโด่งไปได้อีก 10% ภายในสิ้นปีปฏิทินนี้ และไปถึงจุดสูงสุดเอาสักประมาณไตรมาสสองหรือสามของปีหน้า ช่วงจังหวะดังกล่าวนี้สอดคล้องกันพอดีกับคำทำนายอันน่ากลัวในบางวงการที่ว่า ทั่วโลกจะต้องประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกรอบหนึ่ง ตามรูปแบบการถดถอยในลักษณะ “ดำดิ่งลงสองทอด” (double-dip) หรือ “รูปตัวดับเบิลยู” (W-shaped) ถึงแม้พวกนักวิเคราะห์ไม่ได้คาดการณ์อย่างเปิดเผยว่าดัชนีคอสปิจะเคลื่อนไหวไปในลักษณะดังกล่าวด้วย
ในระดับปัจจุบัน ดัชนีหุ้นคอสปิถือว่ายังสามารถประคับประคองช่องขาขึ้นที่เริ่มขึ้นเมื่อ 6 เดือนก่อนเอาไว้ได้ และยังคงมีความแข็งแกร่งให้เห็นในระยะใกล้ ถึงแม้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เข้ามามีอิทธิพลด้วย เป็นต้นว่า พวกปัจจัยที่เรียกกันว่า “ปัจจัยประจวบเหมาะ” (conjunctural factors) อย่างเช่น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และราคาน้ำมัน นักวิเคราะห์โดยทั่วไปไม่ได้คาดหมายว่าดัชนีหุ้นตัวนี้จะสามารถทะลุผ่านไปจนถึงระดับ 1,700 และ 1,800 ต้นๆ ได้อย่างง่ายดาย แต่ถ้ามันเกิดทำได้ขึ้นมา ก็เท่ากับสามารถแสดงให้เห็นความเข้มแข็งที่จะไปต่อได้อีกในระยะต่อไป
พวกนักวิเคราะห์การเมืองพากันจัดอันดับให้เกาหลีใต้อยู่ในกลุ่มที่ตลาดการเงินและตลาดหุ้นมีความเสี่ยงสูงที่สุด สืบเนื่องจากสถานการณ์เกาหลีเหนือ ทว่าเรื่องนี้ดูเหมือนจะไม่เป็นที่สนใจใยดีของพวกนักวิเคราะห์ทางการเงินและทางเศรษฐกิจ ซึ่งให้น้ำหนักสูงกว่ากับพวกปัจจัยที่สามารถประมาณการคาดคำนวณได้มากกว่า
ด้วยเหตุนี้ พวกนักวิเคราะห์ด้านการเงินและเศรษฐกิจต่างมองว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้อยู่ในกลุ่มที่มีทิศทางอนาคตสดใสที่สุดในเอเชียในอนาคตระยะใกล้และระยะกลาง
ดร.รอเบิร์ต เอ็ม คัตเลอร์ (http://www.robertcutler.org) สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) และมหาวิทยาลัยมิชิแกน และทำการวิจัยและสอนในมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั้งในสหรัฐฯ, แคนาดา, ฝรั่งเศส, สวิตเซอร์แลนด์, และรัสเซีย เวลานี้เขาเป็นนักวิจัยอาวุโสที่ สถาบันยุโรป, รัสเซีย, และยูเรเชียศึกษา (Institute of European, Russian and Eurasian Studies) มหาวิทยาลัยคาร์ลตัน (Carleton University) ประเทศแคนาดา เขายังให้คำปรึกษาแก่ภาคเอกชนในหลายๆ ด้าน
South Korea shows recovery skills
By R M Cutler
10/09/2009
เศรษฐกิจเกาหลีใต้กำลังควบตะบึงเข้าสู่ภาวะฟื้นตัว เมื่อบรรดาผู้บริโภคของประเทศพากันใช้ประโยชน์จากแพกเกจมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกันอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกัน ผลิตภัณฑ์จากโรงงานของโสมขาวก็สามารถขายได้เพิ่มขึ้นมาก ด้วยความช่วยเหลือจากการที่ทั่วโลกพากันสต็อกสินค้าคงคลังกันอีกคำรบหนึ่ง
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ยังคงแสดงให้เห็นถึงความสามารถที่จะดีดตัวกลับคืนออกจากวิกฤตได้อย่างรวดเร็ว โดยสำหรับในคราวนี้แล้ว ปัจจัยที่สำคัญที่ได้สุดแก่ มาตรการกระตุ้นภายในประเทศ ผสมผสานกับการที่ทั่วโลกอยู่ในภาวะสต็อกสินค้าคงคลังกันอีกครั้ง
การฟื้นตัวเป็นไปอย่างแข็งแกร่งถึงขนาดที่ผู้ว่าการธนาคารกลาง ลีเซืองแต (Lee Seong-tae) ซึ่งวาระดำรงตำแหน่งของเขาจะหมดลงเดือนมีนาคมปีหน้า กล้าสร้างเซอร์ไพรซ์แก่นักสังเกตการณ์ทั้งหลาย ด้วยการประกาศว่าเขาพร้อมที่จะกลับขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกแม้กระทั่งในอนาคตอันใกล้นี้ ถ้าหากเกิดมีความจำเป็นขึ้นมา เพื่อสกัดกั้นการคาดการณ์เงินเฟ้อที่ทำท่าเพิ่มสูง เนื่องจากผู้คนกำลังมองสถานการณ์ในแง่สดใส ตลอดจนจากนโยบายการเงินในปัจจุบันก็อยู่ในลักษณะผ่อนคลายอย่างมาก
เมื่อวันพฤหัสบดี(10) ธนาคารกลางยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของตนเอาไว้ที่ระดับ 2% ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันแล้ว ซึ่งเป็นไปตามความคาดหมายของพวกนักวิเคราะห์ ภายหลังจากที่ได้หั่นลดดอกเบี้ยตัวนี้ลงมา 3.25% ในช่วงเวลาระหว่างเดือนตุลาคมปีที่แล้วถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้
หากแบงก์ชาติมีการขยับดอกเบี้ยขึ้นไปจริงๆ ก็คงจะเป็นการขัดอกขัดใจคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่นำโดย ชุงอุนชาน (Chung Un-chan) นักเศรษฐศาสตร์ผู้ผ่านการฝึกอบรมจากพรินซ์ตัน และเป็นอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (Seoul National University) ซึ่งเพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อ 2 เดือนที่แล้วนี้เอง คณะรัฐบาลยังคงต้องการให้ธนาคารกลางดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากๆ ต่อไปอีก
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ ซึ่งเคยแสดงความสามารถในการฟื้นชีวิตขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วเมื่อคราวที่เกิดวิกฤตการเงินเอเชียปี 1997-98 ตอนนี้ก็สามารถเติบโตขยายตัวได้ 2.6% ในไตรมาสสองของปีนี้ หากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งดีกว่าที่เคยประมาณการกันไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะทำได้เพียง 2.3% นอกจากนั้นในเดือนกรกฎาคมยังได้เห็นการผลิตทางอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น (เมื่อวัดกับช่วงเดียวกับของปีที่แล้ว) เป็นเดือนแรกในรอบ 10 เดือน ภายหลังจากในไตรมาสสองก็เติบโตได้มากกว่าไตรมาสแรกอย่างน่ามหัศจรรย์ถึง 8.2%
ยังมีข่าวดีๆ มาจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ซึ่งไต่ขึ้นไปอยู่ที่ 53.6 ในเดือนสิงหาคม เมื่อคำสั่งซื้อสินค้าออกไหลเข้ามาเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ดัชนีนี้หากสูงเกิน 50 ก็ถือว่าเงื่อนไขต่างๆ ทางธุรกิจกำลังกระเตื้องขึ้น ในวันอังคาร(8) สถาบันการพัฒนาเกาหลี (Korea Development Institute) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ แถลงว่าเศรษฐกิจของประเทศน่าจะหดตัวเพียง 0.7% ในปีปฏิทินนี้ หลังจากที่เคยทำนายไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะติดลบ 2.3%
ทางด้านธนาคารเพื่อพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ให้ความเห็นในเดือนกรกฎาคมว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้มาถึงจุดต่ำสุดแล้วเมื่อช่วงไตรมาสแรกของปีปฏิทินปัจจุบัน ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) คาดหมายว่าอัตราการฟื้นตัวของโสมขาวอาจจะสูญเสียแรงขับเคลื่อนไปบ้างแต่กระนั้นก็ยังคงเดินหน้าได้ต่อไปอีก
สภาพที่ทั่วโลกพากันสต็อกสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นนั้น เวลานี้กำลังมาถึงจุดสิ้นสุดแล้ว แต่ก็ยังมีความคาดหมายกันเป็นฉันทามติทีเดียวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯที่กำลังฟื้นตัวจะสามารถกลายเป็นปัจจัยขับดันการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของโสมขาวได้ ขณะเดียวกัน การบริภาคภายในประเทศของเกาหลีใต้ก็อาจจะทรุดต่ำลง หากรัฐบาลไม่ได้ต่ออายุมาตรการลดภาษีที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจ
การที่ค่าเงินวอนของเกาหลีใต้อยู่ในทิศทางอ่อนตัวลง จะเปิดทางให้ผลิตภัณฑ์ของโสมขาวสามารถเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดโลกได้เพิ่มขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็จะยังคงเป็นปัจจัยลบที่จะฉุดดัชนีตลาดหลักทรัพย์ให้ทรุดต่ำ แน่นอนทีเดียวว่าสถานการณ์ที่ประชาคมระหว่างประเทศยังคงประจันหน้ากับเกาหลีเหนือย่อมเพิ่มความเสี่ยงทางการเมืองในคาบสมุทรนี้ ทว่าปัจจัยเรื่องที่ยังมีความสามารถการผลิตเหลืออยู่ไม่ได้ใช้ รวมทั้งภาวะการฟื้นตัวก็ยังไม่มีความแน่นอน เหล่านี้ต่างหากที่มีน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยงทางการเมืองด้วยซ้ำ ในการทำให้บริษัทต่างๆ ยังคงไม่วางแผนใช้เงินเพื่อการลงทุนใหม่ๆ
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ฟิตช์ เรตติ้งส บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายใหญ่รายหนึ่งของโลก มีความประทับใจกับระบบการธนาคารของเกาหลีใต้ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความยืดหยุ่นได้ดี จึงได้ยกระดับเครดิตเรตติ้งด้านทิศทางอนาคต (outlook) ของโสมขาว จาก “ลบ” (negative) เป็น “คงที่” (stable)
ดัชนีหุ้น คอสปิ (KOSPI) ของตลาดหลักทรัพย์โซล ซึ่งมีหุ้นในหมวดธนาคารเข้าเป็นส่วนประกอบอย่างเต็มเหนี่ยวถึงสองในห้า ปิดวันพฤหัสบดี(10) ที่ระดับ 1,645 สูงขึ้น 56% จากจุดที่ลงต่ำสุดในตอนสิ้นเดือนตุลาคมปีที่แล้ว หมวดธุรกิจอื่นๆ ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญอยู่ในดัชนีหุ้นนี้เช่นกัน ยังมีอาทิ การต่อเรือ, เหล็กกล้า, อิเล็กทรอนิกส์, และรวมทั้งรถยนต์ ทั้งนี้สองหมวดท้ายสุดก็เป็นกิจการที่มีบทบาทมากทีเดียวในการขับดันให้การส่งออกพุ่งโด่งในเดือนกรกฎาคม
พวกบริษัทการเงินรายใหญ่แทบทั้งหมดต่างคาดหมายว่า ดัชนีหุ้นคอสปิ ยังจะเพิ่มสูงขึ้นต่อไปในระยะสั้นและระยะกลาง ถ้าหากไม่ใช่ในระยะยาวไกลด้วย โดยน่าจะลุยโด่งไปได้อีก 10% ภายในสิ้นปีปฏิทินนี้ และไปถึงจุดสูงสุดเอาสักประมาณไตรมาสสองหรือสามของปีหน้า ช่วงจังหวะดังกล่าวนี้สอดคล้องกันพอดีกับคำทำนายอันน่ากลัวในบางวงการที่ว่า ทั่วโลกจะต้องประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกรอบหนึ่ง ตามรูปแบบการถดถอยในลักษณะ “ดำดิ่งลงสองทอด” (double-dip) หรือ “รูปตัวดับเบิลยู” (W-shaped) ถึงแม้พวกนักวิเคราะห์ไม่ได้คาดการณ์อย่างเปิดเผยว่าดัชนีคอสปิจะเคลื่อนไหวไปในลักษณะดังกล่าวด้วย
ในระดับปัจจุบัน ดัชนีหุ้นคอสปิถือว่ายังสามารถประคับประคองช่องขาขึ้นที่เริ่มขึ้นเมื่อ 6 เดือนก่อนเอาไว้ได้ และยังคงมีความแข็งแกร่งให้เห็นในระยะใกล้ ถึงแม้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เข้ามามีอิทธิพลด้วย เป็นต้นว่า พวกปัจจัยที่เรียกกันว่า “ปัจจัยประจวบเหมาะ” (conjunctural factors) อย่างเช่น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และราคาน้ำมัน นักวิเคราะห์โดยทั่วไปไม่ได้คาดหมายว่าดัชนีหุ้นตัวนี้จะสามารถทะลุผ่านไปจนถึงระดับ 1,700 และ 1,800 ต้นๆ ได้อย่างง่ายดาย แต่ถ้ามันเกิดทำได้ขึ้นมา ก็เท่ากับสามารถแสดงให้เห็นความเข้มแข็งที่จะไปต่อได้อีกในระยะต่อไป
พวกนักวิเคราะห์การเมืองพากันจัดอันดับให้เกาหลีใต้อยู่ในกลุ่มที่ตลาดการเงินและตลาดหุ้นมีความเสี่ยงสูงที่สุด สืบเนื่องจากสถานการณ์เกาหลีเหนือ ทว่าเรื่องนี้ดูเหมือนจะไม่เป็นที่สนใจใยดีของพวกนักวิเคราะห์ทางการเงินและทางเศรษฐกิจ ซึ่งให้น้ำหนักสูงกว่ากับพวกปัจจัยที่สามารถประมาณการคาดคำนวณได้มากกว่า
ด้วยเหตุนี้ พวกนักวิเคราะห์ด้านการเงินและเศรษฐกิจต่างมองว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้อยู่ในกลุ่มที่มีทิศทางอนาคตสดใสที่สุดในเอเชียในอนาคตระยะใกล้และระยะกลาง
ดร.รอเบิร์ต เอ็ม คัตเลอร์ (http://www.robertcutler.org) สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) และมหาวิทยาลัยมิชิแกน และทำการวิจัยและสอนในมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั้งในสหรัฐฯ, แคนาดา, ฝรั่งเศส, สวิตเซอร์แลนด์, และรัสเซีย เวลานี้เขาเป็นนักวิจัยอาวุโสที่ สถาบันยุโรป, รัสเซีย, และยูเรเชียศึกษา (Institute of European, Russian and Eurasian Studies) มหาวิทยาลัยคาร์ลตัน (Carleton University) ประเทศแคนาดา เขายังให้คำปรึกษาแก่ภาคเอกชนในหลายๆ ด้าน