(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
A moment of truth for Obama in Moscow
By M K Bhadrakumar
03/07/2009
ด้วยการวางกลเม็ดต่างๆ อันยักเยื้องซ่อนเงื่อนประดุจเขาวงกต รัสเซียหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะสามารถทำให้ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซียมีการยกระดับให้ดียิ่งขึ้น โดยสิ่งที่จะเป็นหมากเด็ดที่สุดก็คือ การยื่นเสนอต่อประธานาธิบดีบารัค โอบามา ในเรื่องการให้ความร่วมมือเพิ่มขึ้นอย่างมากมายเกี่ยวกับสงครามในอัฟกานิสถาน มีความเป็นไปได้ที่ว่า ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซียโดยรวม กำลังทำท่าซวนเซเฉียดใกล้ที่จะพังครืนลงมานั้น การร่วมมือกันในบริเวณเทือกเขาฮินดูกูฏดังกล่าวนี้ จะกลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่สามารถกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ สำหรับการประชุมสุดยอดที่กรุงมอสโกวันจันทร์(6)นี้
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 3 ตอน นี่คือตอนแรก *
ในประวัติของการประชุมสุดยอดระหว่างรัสเซีย-อเมริกานั้น ไม่เคยเลยที่จะมีการวางแผนขั้นตอนพิธีการต้อนรับประธานาธิบดีสหรัฐฯผู้มาเยือนในลักษณะเช่นนี้ กิจกรรมอันน่าตื่นเต้นในช่วงไม่กี่วันก่อนที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯจะมาถึงกรุงมอสโกในวันจันทร์(6) เป็นสิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงความซับซ้อนของบริบทซึ่งประเทศทั้งสองกำลังจะก้าวผ่านไปในการประชุมซัมมิตคราวนี้
รัสเซียได้จัดแจงปูพรมแดงของตนในทุกทิศทุกทางเอาไว้คอยต้อนรับโอบามา ตั้งแต่แถบคอเคซัสอันทุรกันดาร และก็เป็นโรงมหรสพของเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นที่สนใจกันในระดับสูงสุดสำหรับความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซีย ไปจนกระทั่งถึงเมืองหลวงของรัสเซีย มันเป็นพรมที่มีดีไซน์ลวดลายอันลี้ลับ บรรจุเอาไว้ด้วยตำนานต่างๆ อันทรงพลังซึ่งเป็นรากเหง้าของความขัดแย้งที่แสดงบทบาทเป็นกำแพงกีดขวางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างมหาอำนาจทั้งสองรายนี้ รวมทั้งปัญญาความฉลาดและความกล้าหาญองอาจของการจับอาวุธขึ้นมาอย่างผิดกาลเทศะโดยปราศจากเอกภาพของวัตถุประสงค์ใดๆ เลย
โอบามาเคยเดินทางมารัสเซียเพียงครั้งเดียว ในคณะของรัฐสภาสหรัฐฯที่มาเยือนเพียงช่วงสั้นๆ และมีแต่วุฒิสมาชิก ริชาร์ด ลูการ์ (Richard Lugar)ที่แสดงบทบาทโดดเด่น กระนั้นก็ตาม รัฐบุรุษอย่างโอบามาซึ่งมีความสำนักทางประวัติศาสตร์อันเฉียบคม จะไม่มีทางพลาดพลั้งมิได้สังเกตเห็นกำหนดการที่รอคอยเขาอยู่ในมอสโก และวอชิงตันก็ไม่ได้แสดงว่ารู้สึกขบขันเลย ดังเห็นได้จากการที่ รองประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดน มีกำหนดจะไปเยือนยูเครน และจอร์เจีย ไม่นานหลังการประชุมสุดยอดสหรัฐฯ-รัสเซียในกรุงมอสโก
**ความตึงเครียดในแถบคอเคซัส**
รัสเซียเริ่มการซ้อมรบครั้งมโหฬารที่ใช้ชื่อรหัสว่า “คอเคซัส 2009” (Caucasus-2009) ในบริเวณคอเคซัสเหนือที่ประชิดชายแดนจอร์เจียตั้งแต่เมื่อวันจันทร์(29มิ.ย.) การซ้อมรบนาน 1 สัปดาห์คราวนี้กำหนดให้สิ้นสุดลงในวันเดียวกับที่โอบามาเดินทางถึงกรุงมอสโก สำนักข่าวอิตาร์-ทัสส์ อ้างคำพูดของรัฐมนตรีช่วยกลาโหมรัสเซีย อเล็กซานเดอร์ คัลมีคอฟ (Alexander Kalmykov) ที่กล่าวว่า การซ้อมรบครั้งนี้กำลังดำเนินไปในขนาดขอบเขตคล้ายคลึงกับที่เคยกระทำกันในยุคโซเวียต
นั่นก็คือใช้กำลังทหาร 8,500 คน, รถสายพานลำเลียงพลหุ้มเกราะ 450 คัน, และปืนใหญ่ 250 กระบอก สมทบด้วยหน่วยกำลังจากกองทัพอากาศ, กองกำลังป้องกันทางอากาศ, กองทหารเคลื่อนที่ทางอากาศ, กองเรือเล็กประจำทะเลสาบแคสเปียน, และกองเรือประจำทะเลดำ ขณะที่พื้นที่ของการซ้อมรบครอบคลุมบริเวณกว้างขวาง เป็นต้นว่า เขตคราสโนดาร์ (Krasnodar)และเขตรอสตอฟ (Rostov) ตลอดจน นอร์ทออสซีเชีย และ เชชเนีย
สัญญาณบ่งชี้ความเคลื่อนไหวที่เพิ่มมากขึ้นของพวกหัวรุนแรงอิสลามิกในแถบคอเคซัสเหนือ อาจจะอธิบายหลักเหตุผลของการซ้อมรบคราวนี้ได้ส่วนหนึ่ง ทว่าจุดประสงค์ที่เห็นชัดเจนก็คือ นี่เป็นการสาธิตให้เห็นแสนยานุภาพของรัสเซีย เพื่อมุ่งป้องปรามลัทธิสุ่มเสี่ยงใดๆ ในส่วนของจอร์เจียที่จะเข้าปราบปรามเขตอับเคเซีย และเซาท์ออสซีเชีย ที่กำลังประกาศแยกตัวออกจากจอร์เจีย นอกจากนั้นยังเป็นที่กระจ่างชัดเจนว่า มอสโกกำลังแสดงท่าทีที่จะไม่ยอมปล่อยให้เกิดเรื่องไม่คาดฝัน และก็กำลังตอบโต้การที่องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) ไปซ้อมรบในจอร์เจียเมื่อเดือนพฤษภาคม ซึ่งประธานาธิบดีดมิตริ เมดเวเดฟ เรียกว่าเป็น “การยั่วยุ” ทั้งนี้รัสเซียไม่ได้เชื้อเชิญให้พวกผู้สังเกตการณ์ของนาโต้เข้าร่วมในเกมสงคราม “คอเคซัส-2009” แต่อย่างใด
ไม่จำเป็นต้องบอกก็ได้ว่า ในหมู่นักวิเคราะห์ชาวตะวันตกนั้นบังเกิดความระแวงสงสัยกันอย่างกว้างขวางว่า ในสถานการณ์โดยรวมดังเช่นปัจจุบัน ยังเป็นไปได้หรือที่จะสามารถทำ “การกดปุ่มตั้งเครื่องกันใหม่” (reset) ให้แก่ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซีย ตามที่คณะรัฐบาลโอบามาได้สัญญาไว้ และประธานาธิบดีของประเทศทั้งสองได้ตอกย้ำรับรองอีกครั้งเมื่อพบปะหารือกันในกรุงลอนดอนในเดือนเมษายน ขณะที่ต่างฝ่ายต่างไปร่วมการประชุมของกลุ่มจี20
อันที่จริงพวกนักวิเคราะห์การเมืองชาวรัสเซียก็มีความระแวงสงสัยมากกว่าด้วยซ้ำ เซอร์เกย์ คารากานอฟ (Sergei Karaganov) ประธานผู้ทรงอิทธิพลของสภาเพื่อนโยบายการต่างประเทศและกลาโหมของรัสเซีย (Council for Russia's Foreign and Defense Policy) รู้สึกว่า แนวความคิดว่าด้วย “การกดปุ่มตั้งเครื่องกันใหม่” นี้ แท้ที่จริงมีลักษณะที่ “เปราะบางง่ายแก่การแตกหักอย่างยิ่ง”
“มองจากทางฝ่ายรัสเซียแล้ว ย่อมต้องมีความระแวงสงสัยมากกว่าด้วยซ้ำ เนื่องจากรัสเซียมองไม่เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงใดๆ ในนโยบายต่างๆ ของสหรัฐฯ อีกทั้งเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงหากจะเกิดขึ้นก็อยู่ในลักษณะของการผัดหน้าทาแป้งเสียมากกว่า” เขากล่าวและพูดต่อไปว่า ความรู้สึกของฝ่ายรัสเซียก็คือ สหรัฐฯนั้น “ไม่ได้มีความปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นเรื่องเป็นราวในนโยบายของพวกเขา” ที่มีต่อประเด็นปัญหาอย่างเช่น การขยายสมาชิกองค์การนาโต้ หรือ ความมั่นคงในระดับทั่วทั้งยุโรป
มีรายงานชิ้นหนึ่งที่ถูกนำออกเผยแพร่ในมอสโกเมื่อช่วงสุดสัปดาห์สิ้นเดือนมิถุนายน เน้นย้ำว่า “เพียงแค่การกดปุ่มตั้งเครื่องกันใหม่” ยังใช้การอะไรไม่ได้สำหรับความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซียหรอก แต่จำเป็นต้องทำกันถึงขั้น “การปรับโครงร่างกันใหม่” (reconfiguration) ทั้งหมดต่างหาก
นี่เป็นเพียงแค่การเล่นคำเท่านั้นใช่ไหม? ไม่ใช่อย่างนั้นเสียทีเดียวหรอก ขณะเดียวกัน พวกนักวิเคราะห์ฝ่ายอเมริกันก็มีถ้อยคำชุดหนึ่งเอาไว้บ่นเอาไว้ติเตียนเกี่ยวกับรัสเซียเหมือนกัน “เจ้าความรู้สึกภาคภูมิในศักดิ์ศรี [ของรัสเซีย]ที่เกิดขึ้นมาใหม่อีกครั้ง” และสิ่งที่ติดตามมากับความภาคภูมิในศักดิ์ศรีดังกล่าวนี้ อย่างเช่น “ความเย่อหยิ่ง, ความขี้โอ่, การยืนกรานอย่างไม่ยอมยืดหยุ่น, ความเชื่อมั่นในตัวเอง, และกระทั่งความก้าวร้าว ซึ่งในเวลาเดียวกันก็ผนวกบวกไปด้วยความรู้สึกหวาดระแวง, ความรู้สึกไม่ปลอดภัย, และความรู้สึกอ่อนไหวจนเกินเหตุ” ทั้งนี้ตามคำกล่าวของ เดวิด เครเมอร์ (David Kramer) เจ้าหน้าที่อาวุโสในกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯที่ทำงานอยู่ที่นั่นมากว่า 8 ปี
สิ่งที่ปรากฏให้เห็นอย่างไม่มีข้อสงสัยเลยก็คือ ไม่สามารถคาดหวังได้เลยว่าจะมีการผ่าทางตันในเรื่องใดๆ จากการประชุมสุดยอดในมอสโกคราวนี้ ทว่าคำถามย่อมเกิดขึ้นมาว่า แล้วทำไมโอบามาจึงยังคงกำลังเดินหน้าสู่ “การเยือนเพื่อเจรจาทำงาน” (working visit) คราวนี้?
**การคบค้าพัวพันด้วยแบบเลือกสรร**
วอชิงตันนั้นมีความจำเป็นอันรีบด่วนที่จะต้องคบค้าพัวพันกับรัสเซียอย่างเป็นการเฉพาะและอย่างเลือกสรรในประเด็นปัญหาบางประการ วอชิงตันกำลังชูรางวัลให้เห็นกันชัดๆ ว่า ถ้าหากมอสโกยอมตกลงด้วยเกี่ยวกับการดำเนินการเฉพาะเจาะจงจำนวนหนึ่งตามบัญชีรายการความต้องการของวอชิงตัน ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด ก็จะมีความเป็นไปได้ที่การตกลงกันเหล่านี้จะส่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเคลื่อนตัวไปในทิศทางที่เป็นบวกมากขึ้นในช่วงเวลาต่อไป
สรุปแล้วก็คือ การที่โอบามาจะดำเนินการกดปุ่มเพื่อตั้งเครื่องกันใหม่ให้แก่ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซียที่อยู่ในสภาพใกล้ตายแล้ว ในระหว่างการประชุมซัมมิตมอสโกคราวนี้จริงหรือไม่ ยังเป็นเรื่องที่น่าระแวงสงสัยอยู่ ถึงแม้จะวางคำมั่นสัญญาในเรื่องนี้เอาไว้บนโต๊ะเจรจาก็ตามที
ระหว่าง “การเปิดม่าน” ให้แก่การเยือนของโอบามา ด้วยการแสดงท่าทีอย่างแข็งกร้าวอย่างผิดธรรมดานั้น ไมเคิล แมคฟาล (Michael McFaul) ผู้อำนวยการอาวุโสที่ดูแลกิจการรัสเซียและยุโรปของสภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่า ท่านประธานาธิบดีของสหรัฐฯนั้น “ไม่ได้มีภาพลวงตาเกี่ยวกับการแตกแยกอันน่าเบื่อหน่าย” ระหว่างทั้งสองประเทศเลย เขาบอกว่าพวกเจ้าหน้าที่รัสเซียชอบคิดถึงโลกใน “แง่มุมแบบใครชนะก็ได้เดิมพันไปทั้งหมด ใครแพ้ก็ไม่ได้อะไรเลย แต่สหรัฐฯนั้นพิจารณาไปในทางตรงกันข้าม ... และพวกเขา(ชาวรัสเซีย) ชอบคิดว่าวัตถุประสงค์หมายเลขหนึ่งของเรา(สหรัฐฯ)ในโลกนี้ก็คือ การทำให้รัสเซียอ่อนแอลง, การเข้าโอบล้อมรัสเซีย, การทำสิ่งต่างๆ เพื่อทำให้เราแข็งแกร่งขึ้นและรัสเซียอ่อนแอลง”
เขากล่าวต่อไปว่า โอบามาจะพูดให้ฟังเกี่ยวกับผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯ “อย่างชัดเจนมากๆ” ในประเด็นปัญหาต่างๆ เป็นต้นว่า การขยายสมาชิกนาโต้ “เรากำลังจะพูดจาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาเหล่านี้อย่างตรงไปตรงมามากๆ ... จากนั้นเราก็จะดูว่ามีหนทางอะไรไหมที่เราจะสามารถได้รัสเซียมาร่วมมือด้วยในสิ่งต่างๆ ที่เรานิยามว่าเป็นผลประโยชน์แห่งชาติของเรา”
“สิ่งต่างๆ” ที่แมคฟาลอ้างถึงว่ามีความสำคัญลำดับแรกสุดต่อผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯนั้น สามารถที่จะกลั่นเอาแต่เนื้อหาสาระให้แคบลงมาได้เป็น 3 ประเด็น ที่เป็นประเด็นทรงความสำคัญลำดับต้นๆ ในนโยบายการต่างประเทศของโอบามา ซึ่งได้แก่ การทำข้อตกลงควบคุมอาวุธยุทธศาสตร์กับรัสเซีย, สถานการณ์ในส่วนที้เกี่ยวกับอิหร่าน, และสงครามในอัฟกานิสถาน อย่างไรก็ดี ไม่มีความแน่นอนใดๆ เช่นกันว่าประเด็นเหล่านี้เป็นสิ่งที่สหรัฐฯจะ “สามารถกระทำให้สำเร็จได้” นี่เป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายต่างมีการเตรียมตัวเล่นแง่เล่นมุมกันมากมายในช่วงก่อนถึงการประชุมสุดยอด
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย เขาเคยได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติหน้าที่อยู่ในหลายๆ ประเทศ อาทิ สหภาพโซเวียต, เกาหลีใต้, ศรีลังกา, เยอรมนี, อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อุซเบกิสถาน, คูเวต, และตุรกี
(อ่านต่อตอน 2 และตอน3)
ช่วงเวลาสำคัญยิ่งสำหรับ“โอบามา”ในกรุงมอสโก (ตอน2)
ช่วงเวลาสำคัญยิ่งสำหรับ“โอบามา”ในกรุงมอสโก (ตอน3)
A moment of truth for Obama in Moscow
By M K Bhadrakumar
03/07/2009
ด้วยการวางกลเม็ดต่างๆ อันยักเยื้องซ่อนเงื่อนประดุจเขาวงกต รัสเซียหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะสามารถทำให้ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซียมีการยกระดับให้ดียิ่งขึ้น โดยสิ่งที่จะเป็นหมากเด็ดที่สุดก็คือ การยื่นเสนอต่อประธานาธิบดีบารัค โอบามา ในเรื่องการให้ความร่วมมือเพิ่มขึ้นอย่างมากมายเกี่ยวกับสงครามในอัฟกานิสถาน มีความเป็นไปได้ที่ว่า ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซียโดยรวม กำลังทำท่าซวนเซเฉียดใกล้ที่จะพังครืนลงมานั้น การร่วมมือกันในบริเวณเทือกเขาฮินดูกูฏดังกล่าวนี้ จะกลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่สามารถกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ สำหรับการประชุมสุดยอดที่กรุงมอสโกวันจันทร์(6)นี้
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 3 ตอน นี่คือตอนแรก *
ในประวัติของการประชุมสุดยอดระหว่างรัสเซีย-อเมริกานั้น ไม่เคยเลยที่จะมีการวางแผนขั้นตอนพิธีการต้อนรับประธานาธิบดีสหรัฐฯผู้มาเยือนในลักษณะเช่นนี้ กิจกรรมอันน่าตื่นเต้นในช่วงไม่กี่วันก่อนที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯจะมาถึงกรุงมอสโกในวันจันทร์(6) เป็นสิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงความซับซ้อนของบริบทซึ่งประเทศทั้งสองกำลังจะก้าวผ่านไปในการประชุมซัมมิตคราวนี้
รัสเซียได้จัดแจงปูพรมแดงของตนในทุกทิศทุกทางเอาไว้คอยต้อนรับโอบามา ตั้งแต่แถบคอเคซัสอันทุรกันดาร และก็เป็นโรงมหรสพของเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นที่สนใจกันในระดับสูงสุดสำหรับความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซีย ไปจนกระทั่งถึงเมืองหลวงของรัสเซีย มันเป็นพรมที่มีดีไซน์ลวดลายอันลี้ลับ บรรจุเอาไว้ด้วยตำนานต่างๆ อันทรงพลังซึ่งเป็นรากเหง้าของความขัดแย้งที่แสดงบทบาทเป็นกำแพงกีดขวางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างมหาอำนาจทั้งสองรายนี้ รวมทั้งปัญญาความฉลาดและความกล้าหาญองอาจของการจับอาวุธขึ้นมาอย่างผิดกาลเทศะโดยปราศจากเอกภาพของวัตถุประสงค์ใดๆ เลย
โอบามาเคยเดินทางมารัสเซียเพียงครั้งเดียว ในคณะของรัฐสภาสหรัฐฯที่มาเยือนเพียงช่วงสั้นๆ และมีแต่วุฒิสมาชิก ริชาร์ด ลูการ์ (Richard Lugar)ที่แสดงบทบาทโดดเด่น กระนั้นก็ตาม รัฐบุรุษอย่างโอบามาซึ่งมีความสำนักทางประวัติศาสตร์อันเฉียบคม จะไม่มีทางพลาดพลั้งมิได้สังเกตเห็นกำหนดการที่รอคอยเขาอยู่ในมอสโก และวอชิงตันก็ไม่ได้แสดงว่ารู้สึกขบขันเลย ดังเห็นได้จากการที่ รองประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดน มีกำหนดจะไปเยือนยูเครน และจอร์เจีย ไม่นานหลังการประชุมสุดยอดสหรัฐฯ-รัสเซียในกรุงมอสโก
**ความตึงเครียดในแถบคอเคซัส**
รัสเซียเริ่มการซ้อมรบครั้งมโหฬารที่ใช้ชื่อรหัสว่า “คอเคซัส 2009” (Caucasus-2009) ในบริเวณคอเคซัสเหนือที่ประชิดชายแดนจอร์เจียตั้งแต่เมื่อวันจันทร์(29มิ.ย.) การซ้อมรบนาน 1 สัปดาห์คราวนี้กำหนดให้สิ้นสุดลงในวันเดียวกับที่โอบามาเดินทางถึงกรุงมอสโก สำนักข่าวอิตาร์-ทัสส์ อ้างคำพูดของรัฐมนตรีช่วยกลาโหมรัสเซีย อเล็กซานเดอร์ คัลมีคอฟ (Alexander Kalmykov) ที่กล่าวว่า การซ้อมรบครั้งนี้กำลังดำเนินไปในขนาดขอบเขตคล้ายคลึงกับที่เคยกระทำกันในยุคโซเวียต
นั่นก็คือใช้กำลังทหาร 8,500 คน, รถสายพานลำเลียงพลหุ้มเกราะ 450 คัน, และปืนใหญ่ 250 กระบอก สมทบด้วยหน่วยกำลังจากกองทัพอากาศ, กองกำลังป้องกันทางอากาศ, กองทหารเคลื่อนที่ทางอากาศ, กองเรือเล็กประจำทะเลสาบแคสเปียน, และกองเรือประจำทะเลดำ ขณะที่พื้นที่ของการซ้อมรบครอบคลุมบริเวณกว้างขวาง เป็นต้นว่า เขตคราสโนดาร์ (Krasnodar)และเขตรอสตอฟ (Rostov) ตลอดจน นอร์ทออสซีเชีย และ เชชเนีย
สัญญาณบ่งชี้ความเคลื่อนไหวที่เพิ่มมากขึ้นของพวกหัวรุนแรงอิสลามิกในแถบคอเคซัสเหนือ อาจจะอธิบายหลักเหตุผลของการซ้อมรบคราวนี้ได้ส่วนหนึ่ง ทว่าจุดประสงค์ที่เห็นชัดเจนก็คือ นี่เป็นการสาธิตให้เห็นแสนยานุภาพของรัสเซีย เพื่อมุ่งป้องปรามลัทธิสุ่มเสี่ยงใดๆ ในส่วนของจอร์เจียที่จะเข้าปราบปรามเขตอับเคเซีย และเซาท์ออสซีเชีย ที่กำลังประกาศแยกตัวออกจากจอร์เจีย นอกจากนั้นยังเป็นที่กระจ่างชัดเจนว่า มอสโกกำลังแสดงท่าทีที่จะไม่ยอมปล่อยให้เกิดเรื่องไม่คาดฝัน และก็กำลังตอบโต้การที่องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) ไปซ้อมรบในจอร์เจียเมื่อเดือนพฤษภาคม ซึ่งประธานาธิบดีดมิตริ เมดเวเดฟ เรียกว่าเป็น “การยั่วยุ” ทั้งนี้รัสเซียไม่ได้เชื้อเชิญให้พวกผู้สังเกตการณ์ของนาโต้เข้าร่วมในเกมสงคราม “คอเคซัส-2009” แต่อย่างใด
ไม่จำเป็นต้องบอกก็ได้ว่า ในหมู่นักวิเคราะห์ชาวตะวันตกนั้นบังเกิดความระแวงสงสัยกันอย่างกว้างขวางว่า ในสถานการณ์โดยรวมดังเช่นปัจจุบัน ยังเป็นไปได้หรือที่จะสามารถทำ “การกดปุ่มตั้งเครื่องกันใหม่” (reset) ให้แก่ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซีย ตามที่คณะรัฐบาลโอบามาได้สัญญาไว้ และประธานาธิบดีของประเทศทั้งสองได้ตอกย้ำรับรองอีกครั้งเมื่อพบปะหารือกันในกรุงลอนดอนในเดือนเมษายน ขณะที่ต่างฝ่ายต่างไปร่วมการประชุมของกลุ่มจี20
อันที่จริงพวกนักวิเคราะห์การเมืองชาวรัสเซียก็มีความระแวงสงสัยมากกว่าด้วยซ้ำ เซอร์เกย์ คารากานอฟ (Sergei Karaganov) ประธานผู้ทรงอิทธิพลของสภาเพื่อนโยบายการต่างประเทศและกลาโหมของรัสเซีย (Council for Russia's Foreign and Defense Policy) รู้สึกว่า แนวความคิดว่าด้วย “การกดปุ่มตั้งเครื่องกันใหม่” นี้ แท้ที่จริงมีลักษณะที่ “เปราะบางง่ายแก่การแตกหักอย่างยิ่ง”
“มองจากทางฝ่ายรัสเซียแล้ว ย่อมต้องมีความระแวงสงสัยมากกว่าด้วยซ้ำ เนื่องจากรัสเซียมองไม่เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงใดๆ ในนโยบายต่างๆ ของสหรัฐฯ อีกทั้งเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงหากจะเกิดขึ้นก็อยู่ในลักษณะของการผัดหน้าทาแป้งเสียมากกว่า” เขากล่าวและพูดต่อไปว่า ความรู้สึกของฝ่ายรัสเซียก็คือ สหรัฐฯนั้น “ไม่ได้มีความปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นเรื่องเป็นราวในนโยบายของพวกเขา” ที่มีต่อประเด็นปัญหาอย่างเช่น การขยายสมาชิกองค์การนาโต้ หรือ ความมั่นคงในระดับทั่วทั้งยุโรป
มีรายงานชิ้นหนึ่งที่ถูกนำออกเผยแพร่ในมอสโกเมื่อช่วงสุดสัปดาห์สิ้นเดือนมิถุนายน เน้นย้ำว่า “เพียงแค่การกดปุ่มตั้งเครื่องกันใหม่” ยังใช้การอะไรไม่ได้สำหรับความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซียหรอก แต่จำเป็นต้องทำกันถึงขั้น “การปรับโครงร่างกันใหม่” (reconfiguration) ทั้งหมดต่างหาก
นี่เป็นเพียงแค่การเล่นคำเท่านั้นใช่ไหม? ไม่ใช่อย่างนั้นเสียทีเดียวหรอก ขณะเดียวกัน พวกนักวิเคราะห์ฝ่ายอเมริกันก็มีถ้อยคำชุดหนึ่งเอาไว้บ่นเอาไว้ติเตียนเกี่ยวกับรัสเซียเหมือนกัน “เจ้าความรู้สึกภาคภูมิในศักดิ์ศรี [ของรัสเซีย]ที่เกิดขึ้นมาใหม่อีกครั้ง” และสิ่งที่ติดตามมากับความภาคภูมิในศักดิ์ศรีดังกล่าวนี้ อย่างเช่น “ความเย่อหยิ่ง, ความขี้โอ่, การยืนกรานอย่างไม่ยอมยืดหยุ่น, ความเชื่อมั่นในตัวเอง, และกระทั่งความก้าวร้าว ซึ่งในเวลาเดียวกันก็ผนวกบวกไปด้วยความรู้สึกหวาดระแวง, ความรู้สึกไม่ปลอดภัย, และความรู้สึกอ่อนไหวจนเกินเหตุ” ทั้งนี้ตามคำกล่าวของ เดวิด เครเมอร์ (David Kramer) เจ้าหน้าที่อาวุโสในกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯที่ทำงานอยู่ที่นั่นมากว่า 8 ปี
สิ่งที่ปรากฏให้เห็นอย่างไม่มีข้อสงสัยเลยก็คือ ไม่สามารถคาดหวังได้เลยว่าจะมีการผ่าทางตันในเรื่องใดๆ จากการประชุมสุดยอดในมอสโกคราวนี้ ทว่าคำถามย่อมเกิดขึ้นมาว่า แล้วทำไมโอบามาจึงยังคงกำลังเดินหน้าสู่ “การเยือนเพื่อเจรจาทำงาน” (working visit) คราวนี้?
**การคบค้าพัวพันด้วยแบบเลือกสรร**
วอชิงตันนั้นมีความจำเป็นอันรีบด่วนที่จะต้องคบค้าพัวพันกับรัสเซียอย่างเป็นการเฉพาะและอย่างเลือกสรรในประเด็นปัญหาบางประการ วอชิงตันกำลังชูรางวัลให้เห็นกันชัดๆ ว่า ถ้าหากมอสโกยอมตกลงด้วยเกี่ยวกับการดำเนินการเฉพาะเจาะจงจำนวนหนึ่งตามบัญชีรายการความต้องการของวอชิงตัน ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด ก็จะมีความเป็นไปได้ที่การตกลงกันเหล่านี้จะส่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเคลื่อนตัวไปในทิศทางที่เป็นบวกมากขึ้นในช่วงเวลาต่อไป
สรุปแล้วก็คือ การที่โอบามาจะดำเนินการกดปุ่มเพื่อตั้งเครื่องกันใหม่ให้แก่ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซียที่อยู่ในสภาพใกล้ตายแล้ว ในระหว่างการประชุมซัมมิตมอสโกคราวนี้จริงหรือไม่ ยังเป็นเรื่องที่น่าระแวงสงสัยอยู่ ถึงแม้จะวางคำมั่นสัญญาในเรื่องนี้เอาไว้บนโต๊ะเจรจาก็ตามที
ระหว่าง “การเปิดม่าน” ให้แก่การเยือนของโอบามา ด้วยการแสดงท่าทีอย่างแข็งกร้าวอย่างผิดธรรมดานั้น ไมเคิล แมคฟาล (Michael McFaul) ผู้อำนวยการอาวุโสที่ดูแลกิจการรัสเซียและยุโรปของสภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่า ท่านประธานาธิบดีของสหรัฐฯนั้น “ไม่ได้มีภาพลวงตาเกี่ยวกับการแตกแยกอันน่าเบื่อหน่าย” ระหว่างทั้งสองประเทศเลย เขาบอกว่าพวกเจ้าหน้าที่รัสเซียชอบคิดถึงโลกใน “แง่มุมแบบใครชนะก็ได้เดิมพันไปทั้งหมด ใครแพ้ก็ไม่ได้อะไรเลย แต่สหรัฐฯนั้นพิจารณาไปในทางตรงกันข้าม ... และพวกเขา(ชาวรัสเซีย) ชอบคิดว่าวัตถุประสงค์หมายเลขหนึ่งของเรา(สหรัฐฯ)ในโลกนี้ก็คือ การทำให้รัสเซียอ่อนแอลง, การเข้าโอบล้อมรัสเซีย, การทำสิ่งต่างๆ เพื่อทำให้เราแข็งแกร่งขึ้นและรัสเซียอ่อนแอลง”
เขากล่าวต่อไปว่า โอบามาจะพูดให้ฟังเกี่ยวกับผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯ “อย่างชัดเจนมากๆ” ในประเด็นปัญหาต่างๆ เป็นต้นว่า การขยายสมาชิกนาโต้ “เรากำลังจะพูดจาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาเหล่านี้อย่างตรงไปตรงมามากๆ ... จากนั้นเราก็จะดูว่ามีหนทางอะไรไหมที่เราจะสามารถได้รัสเซียมาร่วมมือด้วยในสิ่งต่างๆ ที่เรานิยามว่าเป็นผลประโยชน์แห่งชาติของเรา”
“สิ่งต่างๆ” ที่แมคฟาลอ้างถึงว่ามีความสำคัญลำดับแรกสุดต่อผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯนั้น สามารถที่จะกลั่นเอาแต่เนื้อหาสาระให้แคบลงมาได้เป็น 3 ประเด็น ที่เป็นประเด็นทรงความสำคัญลำดับต้นๆ ในนโยบายการต่างประเทศของโอบามา ซึ่งได้แก่ การทำข้อตกลงควบคุมอาวุธยุทธศาสตร์กับรัสเซีย, สถานการณ์ในส่วนที้เกี่ยวกับอิหร่าน, และสงครามในอัฟกานิสถาน อย่างไรก็ดี ไม่มีความแน่นอนใดๆ เช่นกันว่าประเด็นเหล่านี้เป็นสิ่งที่สหรัฐฯจะ “สามารถกระทำให้สำเร็จได้” นี่เป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายต่างมีการเตรียมตัวเล่นแง่เล่นมุมกันมากมายในช่วงก่อนถึงการประชุมสุดยอด
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย เขาเคยได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติหน้าที่อยู่ในหลายๆ ประเทศ อาทิ สหภาพโซเวียต, เกาหลีใต้, ศรีลังกา, เยอรมนี, อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อุซเบกิสถาน, คูเวต, และตุรกี
(อ่านต่อตอน 2 และตอน3)