(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
World Bank generous to a fault
By Bea Edwards
27/05/2009
อินเดียและเวียดนามเป็นจ่าฝูงของประเทศจอมคอร์รัปชั่นที่โดดเด่นอยู่บนรายชื่อประเทศที่รับความช่วยเหลือของธนาคารโลกหรือที่เรียกกันติดปากว่าเวิลด์แบงก์ เรื่องนี้ เป็นข้อมูลที่ถูกฝังหมกไว้อย่างลึกอย่างลับมากๆ ภายในรายงานของหน่วยงานตรวจสอบใต้ชายคาของเวิลด์แบงก์ ในการนี้ นับจากที่นายเจมส์ วูลฟ์เฟนซอห์น อดีตประธานคณะกรรมการของธนาคารโลก เปิดฉากการรณรงค์ต่อต้าน “มะเร็งร้ายแห่งการคอร์รัปชั่น” เมื่อกว่าหนึ่งทศวรรษที่แล้ว สิ่งที่เวิลด์แบงก์ได้ดำเนินการก็ยังอยู่ในระดับแค่การพูดโดยปราศจากการกระทำ แม้ว่าในเวลาเดียวกันนั้นเอง แบงก์แห่งโลกยังเดินหน้าจัดสรรความช่วยเหลือนับพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แก่ประเทศจอมอื้อฉาวด้านคอร์รัปชั่นไปตามที่ผู้บริหารระดับสูงเห็นสมควร โดยแทบจะไม่มีการตั้งคำถามใดๆ ขึ้นมา
*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 3 ตอน นี่คือตอนแรก *
สมาคมเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ หรือ ไอดีเอ หน่วยงานหนึ่งในชายคาของธนาคารโลกซึ่งมีหน้าที่จัดสรรเงินให้เปล่าและเงินกู้ระยะยาวปลอดดอกเบี้ยแก่ประเทศยากจนทั่วโลก ยังขาดแคลนระบบป้องกันการคอร์รัปชั่นที่ทรงประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เป็นการลงความเห็นในรายงานของหน่วยงานในสังกัดของธนาคารโลกเอง ซึ่งมีชื่อว่ากลุ่มการประเมินผลอิสระ (ไออีจี) หรือ Independent Evaluation Group (IEG)
รายงานเจ้ากรรมฉบับดังกล่าวชี้ว่า ไอดีเอซึ่งปล่อยกู้และจัดสรรเงินให้เปล่าปีละหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แก่บรรดารัฐบาลในภูมิภาคยากจนทั้งหลายของโลก (อาทิ ในทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย ทวีปละตินอเมริกา และภูมิภาคยุโรปตะวันออก) มิได้ดำเนินการอย่างเพียงพอที่จะปกป้องเงินในความรับผิดชอบ มิให้ถูกยักยอกหรือยักย้ายถ่ายเทเข้ากระเป๋าส่วนตัวของใครบางคน
จังหวะเวลาที่รายงานฉาวดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกมานั้น ต้องนับว่าไม่อาจหาจังหวะเวลาอื่นใดที่น่ากระอักกระอ่วนเกินกว่านั้นได้อีก เพราะมันเป็นช่วงที่กลุ่มประเทศจี-20 มาพบปะกันที่กรุงลอนดอนในต้นเดือนเมษายน พร้อมกับเรียกร้องให้เวิลด์แบงก์ก้าวออกมาเร่งการดำเนินงานปล่อยเงินกู้แก่ชาติต่างๆ เพื่อให้ส่งผลบรรเทาปัญหาวิกฤตการเงินโลกซึ่งทางเวิลด์แบงก์ก็ได้เร่งเครื่องเดินหน้าดำเนินการไปแล้วไม่ใช่น้อยๆ ในการนี้ เมื่อมีการเร่งรัดเดินเครื่องเพื่อผลักดันการอนุมัติเงินกู้กับเงินความช่วยเหลือแบบให้เปล่ากันอย่างมากมาย โอกาสที่คอร์รัปชั่นจะสามารถหลบเลี่ยงการถูกตรวจจับก็ย่อมทวีสูง
ตอนที่รายงานของกลุ่มการประเมินผลอิสระ หรือไออีจี เปิดตัวออกมาเมื่อกลางเดือนเมษายนนั้น มันแทบจะไม่เป็นที่สนใจของใครเลย เพราะมันโดยถูกฝังไว้อย่างมิดชิดในซอกหลืบของเว็บไซต์ธนาคารโลก ยิ่งกว่านั้น ส่วนสำคัญยิ่งในเรื่องความล้มเหลวของมาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่นก็ถูกฝังกลบลึกสนิทอยู่ในวอลุ่ม 2 ภาคผนวกหมวด D(1)
**จุดอ่อนร้ายแรง**
เอกสารดังกล่าวเผยให้เห็นว่าปัญหาการขาดแคลนระบบป้องกันคอร์รัปชั่นในสมาคมเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ หรือไอดีเอ ได้ทวีความรุนแรงถึงระดับที่เรียกกันในทางบัญชีว่าเป็น“จุดอ่อนร้ายแรง” ซึ่งนับเป็นความล้มเหลวทางการบัญชีการเงินขั้นรุนแรงที่สุด ทั้งนี้ ข้อค้นพบดังกล่าว (ซึ่งให้เบาะแสแก่กลุ่มการประเมินผลอิสระ ตลอดจนคณะที่ปรึกษาระหว่างประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งขององค์คณะประกอบด้วยผู้สอบบัญชีอิสระจากประเทศออสเตรเลีย นอร์เวย์ และอินเดีย) กว่าจะถูกเปิดเผยต่อสาธารณชน ก็หลังจากที่ต้องต่อสู้กับฝ่ายบริหารของทางธนาคารโลกอย่างดุเดือดสุดแสนจะเอิกเกริกและยืดเยื้อ เพราะทางทีมงานผู้บริหารระดับสูงแห่งเวิลด์แบงก์ได้ต้านทานอย่างสุดกำลังความสามารถ ที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการเปิดเผยเรื่องนี้ออกไป
ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนี้เป็นที่กระจ่างชัดทีเดียว ได้แก่ หลังจาก 13 ปีที่มีการกล่าวประนามการฉ้อโกงและคอร์รัปชั่นไว้อย่างหรูอย่างสง่างาม ฝ่ายบริหารของธนาคารโลกยังไม่ได้แม้กระทั่งจะให้เครื่องไม้เครื่องมือสักน้อยหนึ่งในอันที่จะสนับสนุนทีมงานในการป้องกันไม่ให้เกิดคอร์รัปชั่นในกองทุนของสมาคมไอดีเอ ตัวอย่างเช่น ตามการตรวจสอบของกลุ่มการประเมินผลอิสระ ยุทธศาสตร์การช่วยเหลือประเทศ (ซึ่งเป็นแผนงาน 3 ปีของเวิลด์แบงก์สำหรับแต่ละชาติที่เวิลด์แบงก์จัดเป็นประเทศเร่งด่วนอันดับต้นๆ ที่จะได้รับความช่วยเหลือ) และเอกสารยุทธศาสตร์ว่าด้วยการจัดลำดับความสำคัญของภาคเศรษฐกิจต่างๆ “ยังไม่ได้ดำเนินการแก้ปัญหาความเสี่ยงที่จะเกิดการฉ้อโกงและการคอร์รัปชั่นในระดับประเทศอย่างเป็นระบบและอย่างเอาจริงเอาจัง”
ยิ่งกว่านั้น ส่วนใหญ่ของความพยายามต่อต้านคอร์รัปชั่นของเวิลด์แบงก์ถูกจำกัดอยู่แค่การปราศรัยอันเปี่ยมด้วยอุดมคติและการศึกษาวิเคราะห์ไปต่างๆ นานา ในการนี้ นายเจมส์ วูลฟเฟนซอห์น ประธานธนาคารโลกช่วงปี 1995-2005 เปิดฉากการรณรงค์ต่อต้านคอร์รัปชั่นด้วยคำปราศรัยเรื่อง “มะเร็งร้ายแห่งการคอร์รัปชั่น” เมื่อปี 1996 แล้วหลังจากนั้น พอล วูลโฟวิตซ์ ประธานคนต่อมาก็สานต่อคำปราศรัยโดยประกาศ “แผน 3 ง่าม” เพื่อการบรรลุ 5 เป้าหมายในการต่อสู้ลบล้างคอร์รัปชั่น
มาถึงปัจจุบันนี้ การตรวจสอบของกลุ่มการประเมินผลอิสระ ชี้ว่าการออกแบบโครงการความช่วยเหลือทั้งหลายมิได้ดำเนินการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดการรั่วไหลฉ้อโกง อีกทั้งไม่มีการให้แนวทางสำหรับการกำกับดูแลโครงการ หรือการบริหารจัดการทางการเงิน หรือการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างอย่างโปร่งใส และหนักข้อกว่านั้นคือ แม้หนึ่งในเงื่อนไขเพื่อการอนุมัติปล่อยเงินกู้ในอันที่จะช่วยเหลือให้ประเทศที่มีปัญหารุนแรงสามารถมีงบประมาณแผ่นดินมากเพียงพอแก่การบริหารงานนั้น ได้มีการกำหนดว่าจะต้องมีการประเมินสภาพการณ์การฉ้อโกงและคอร์รัปชั่นของประเทศผู้รับความช่วยเหลือ แต่เอาเข้าจริงแล้วระบบป้องกันก็กลับจะมีน้อยนิดไม่เพียงพอแก่การป้องกันปัญหาได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือว่า ธนาคารโลกมีแผนงานอยู่ในกระดาษ แต่แทบจะไม่มีการผลักดันอะไรเกิดขึ้นในภาคปฏิบัติ
บี เอ็ดเวิร์ดส์ เป็นผู้อำนวยการโครงการระหว่างประเทศ ในสังกัดโครงการสอบบัญชีกลางของรัฐบาล (International program director of Government Accountability Project) และเป็นผู้เขียนบทความให้แก่นิตยสาร Foreign Policy In Focus
(อ่านต่อตอน 2 และตอน3)
ธนาคารโลก-แบงก์แห่งคอร์รัปชั่น(ตอน2)
ธนาคารโลก-แบงก์แห่งคอร์รัปชั่น(ตอน3)
World Bank generous to a fault
By Bea Edwards
27/05/2009
อินเดียและเวียดนามเป็นจ่าฝูงของประเทศจอมคอร์รัปชั่นที่โดดเด่นอยู่บนรายชื่อประเทศที่รับความช่วยเหลือของธนาคารโลกหรือที่เรียกกันติดปากว่าเวิลด์แบงก์ เรื่องนี้ เป็นข้อมูลที่ถูกฝังหมกไว้อย่างลึกอย่างลับมากๆ ภายในรายงานของหน่วยงานตรวจสอบใต้ชายคาของเวิลด์แบงก์ ในการนี้ นับจากที่นายเจมส์ วูลฟ์เฟนซอห์น อดีตประธานคณะกรรมการของธนาคารโลก เปิดฉากการรณรงค์ต่อต้าน “มะเร็งร้ายแห่งการคอร์รัปชั่น” เมื่อกว่าหนึ่งทศวรรษที่แล้ว สิ่งที่เวิลด์แบงก์ได้ดำเนินการก็ยังอยู่ในระดับแค่การพูดโดยปราศจากการกระทำ แม้ว่าในเวลาเดียวกันนั้นเอง แบงก์แห่งโลกยังเดินหน้าจัดสรรความช่วยเหลือนับพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แก่ประเทศจอมอื้อฉาวด้านคอร์รัปชั่นไปตามที่ผู้บริหารระดับสูงเห็นสมควร โดยแทบจะไม่มีการตั้งคำถามใดๆ ขึ้นมา
*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 3 ตอน นี่คือตอนแรก *
สมาคมเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ หรือ ไอดีเอ หน่วยงานหนึ่งในชายคาของธนาคารโลกซึ่งมีหน้าที่จัดสรรเงินให้เปล่าและเงินกู้ระยะยาวปลอดดอกเบี้ยแก่ประเทศยากจนทั่วโลก ยังขาดแคลนระบบป้องกันการคอร์รัปชั่นที่ทรงประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เป็นการลงความเห็นในรายงานของหน่วยงานในสังกัดของธนาคารโลกเอง ซึ่งมีชื่อว่ากลุ่มการประเมินผลอิสระ (ไออีจี) หรือ Independent Evaluation Group (IEG)
รายงานเจ้ากรรมฉบับดังกล่าวชี้ว่า ไอดีเอซึ่งปล่อยกู้และจัดสรรเงินให้เปล่าปีละหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แก่บรรดารัฐบาลในภูมิภาคยากจนทั้งหลายของโลก (อาทิ ในทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย ทวีปละตินอเมริกา และภูมิภาคยุโรปตะวันออก) มิได้ดำเนินการอย่างเพียงพอที่จะปกป้องเงินในความรับผิดชอบ มิให้ถูกยักยอกหรือยักย้ายถ่ายเทเข้ากระเป๋าส่วนตัวของใครบางคน
จังหวะเวลาที่รายงานฉาวดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกมานั้น ต้องนับว่าไม่อาจหาจังหวะเวลาอื่นใดที่น่ากระอักกระอ่วนเกินกว่านั้นได้อีก เพราะมันเป็นช่วงที่กลุ่มประเทศจี-20 มาพบปะกันที่กรุงลอนดอนในต้นเดือนเมษายน พร้อมกับเรียกร้องให้เวิลด์แบงก์ก้าวออกมาเร่งการดำเนินงานปล่อยเงินกู้แก่ชาติต่างๆ เพื่อให้ส่งผลบรรเทาปัญหาวิกฤตการเงินโลกซึ่งทางเวิลด์แบงก์ก็ได้เร่งเครื่องเดินหน้าดำเนินการไปแล้วไม่ใช่น้อยๆ ในการนี้ เมื่อมีการเร่งรัดเดินเครื่องเพื่อผลักดันการอนุมัติเงินกู้กับเงินความช่วยเหลือแบบให้เปล่ากันอย่างมากมาย โอกาสที่คอร์รัปชั่นจะสามารถหลบเลี่ยงการถูกตรวจจับก็ย่อมทวีสูง
ตอนที่รายงานของกลุ่มการประเมินผลอิสระ หรือไออีจี เปิดตัวออกมาเมื่อกลางเดือนเมษายนนั้น มันแทบจะไม่เป็นที่สนใจของใครเลย เพราะมันโดยถูกฝังไว้อย่างมิดชิดในซอกหลืบของเว็บไซต์ธนาคารโลก ยิ่งกว่านั้น ส่วนสำคัญยิ่งในเรื่องความล้มเหลวของมาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่นก็ถูกฝังกลบลึกสนิทอยู่ในวอลุ่ม 2 ภาคผนวกหมวด D(1)
**จุดอ่อนร้ายแรง**
เอกสารดังกล่าวเผยให้เห็นว่าปัญหาการขาดแคลนระบบป้องกันคอร์รัปชั่นในสมาคมเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ หรือไอดีเอ ได้ทวีความรุนแรงถึงระดับที่เรียกกันในทางบัญชีว่าเป็น“จุดอ่อนร้ายแรง” ซึ่งนับเป็นความล้มเหลวทางการบัญชีการเงินขั้นรุนแรงที่สุด ทั้งนี้ ข้อค้นพบดังกล่าว (ซึ่งให้เบาะแสแก่กลุ่มการประเมินผลอิสระ ตลอดจนคณะที่ปรึกษาระหว่างประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งขององค์คณะประกอบด้วยผู้สอบบัญชีอิสระจากประเทศออสเตรเลีย นอร์เวย์ และอินเดีย) กว่าจะถูกเปิดเผยต่อสาธารณชน ก็หลังจากที่ต้องต่อสู้กับฝ่ายบริหารของทางธนาคารโลกอย่างดุเดือดสุดแสนจะเอิกเกริกและยืดเยื้อ เพราะทางทีมงานผู้บริหารระดับสูงแห่งเวิลด์แบงก์ได้ต้านทานอย่างสุดกำลังความสามารถ ที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการเปิดเผยเรื่องนี้ออกไป
ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนี้เป็นที่กระจ่างชัดทีเดียว ได้แก่ หลังจาก 13 ปีที่มีการกล่าวประนามการฉ้อโกงและคอร์รัปชั่นไว้อย่างหรูอย่างสง่างาม ฝ่ายบริหารของธนาคารโลกยังไม่ได้แม้กระทั่งจะให้เครื่องไม้เครื่องมือสักน้อยหนึ่งในอันที่จะสนับสนุนทีมงานในการป้องกันไม่ให้เกิดคอร์รัปชั่นในกองทุนของสมาคมไอดีเอ ตัวอย่างเช่น ตามการตรวจสอบของกลุ่มการประเมินผลอิสระ ยุทธศาสตร์การช่วยเหลือประเทศ (ซึ่งเป็นแผนงาน 3 ปีของเวิลด์แบงก์สำหรับแต่ละชาติที่เวิลด์แบงก์จัดเป็นประเทศเร่งด่วนอันดับต้นๆ ที่จะได้รับความช่วยเหลือ) และเอกสารยุทธศาสตร์ว่าด้วยการจัดลำดับความสำคัญของภาคเศรษฐกิจต่างๆ “ยังไม่ได้ดำเนินการแก้ปัญหาความเสี่ยงที่จะเกิดการฉ้อโกงและการคอร์รัปชั่นในระดับประเทศอย่างเป็นระบบและอย่างเอาจริงเอาจัง”
ยิ่งกว่านั้น ส่วนใหญ่ของความพยายามต่อต้านคอร์รัปชั่นของเวิลด์แบงก์ถูกจำกัดอยู่แค่การปราศรัยอันเปี่ยมด้วยอุดมคติและการศึกษาวิเคราะห์ไปต่างๆ นานา ในการนี้ นายเจมส์ วูลฟเฟนซอห์น ประธานธนาคารโลกช่วงปี 1995-2005 เปิดฉากการรณรงค์ต่อต้านคอร์รัปชั่นด้วยคำปราศรัยเรื่อง “มะเร็งร้ายแห่งการคอร์รัปชั่น” เมื่อปี 1996 แล้วหลังจากนั้น พอล วูลโฟวิตซ์ ประธานคนต่อมาก็สานต่อคำปราศรัยโดยประกาศ “แผน 3 ง่าม” เพื่อการบรรลุ 5 เป้าหมายในการต่อสู้ลบล้างคอร์รัปชั่น
มาถึงปัจจุบันนี้ การตรวจสอบของกลุ่มการประเมินผลอิสระ ชี้ว่าการออกแบบโครงการความช่วยเหลือทั้งหลายมิได้ดำเนินการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดการรั่วไหลฉ้อโกง อีกทั้งไม่มีการให้แนวทางสำหรับการกำกับดูแลโครงการ หรือการบริหารจัดการทางการเงิน หรือการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างอย่างโปร่งใส และหนักข้อกว่านั้นคือ แม้หนึ่งในเงื่อนไขเพื่อการอนุมัติปล่อยเงินกู้ในอันที่จะช่วยเหลือให้ประเทศที่มีปัญหารุนแรงสามารถมีงบประมาณแผ่นดินมากเพียงพอแก่การบริหารงานนั้น ได้มีการกำหนดว่าจะต้องมีการประเมินสภาพการณ์การฉ้อโกงและคอร์รัปชั่นของประเทศผู้รับความช่วยเหลือ แต่เอาเข้าจริงแล้วระบบป้องกันก็กลับจะมีน้อยนิดไม่เพียงพอแก่การป้องกันปัญหาได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือว่า ธนาคารโลกมีแผนงานอยู่ในกระดาษ แต่แทบจะไม่มีการผลักดันอะไรเกิดขึ้นในภาคปฏิบัติ
บี เอ็ดเวิร์ดส์ เป็นผู้อำนวยการโครงการระหว่างประเทศ ในสังกัดโครงการสอบบัญชีกลางของรัฐบาล (International program director of Government Accountability Project) และเป็นผู้เขียนบทความให้แก่นิตยสาร Foreign Policy In Focus
(อ่านต่อตอน 2 และตอน3)