(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
US-Russia ties on a new trajectory
By M K Bhadrakumar
03/04/2009
การพบหารือในสัปดาห์ที่ผ่านมาระหว่างประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ และประธานาธิบดี ดมิตริ เมดเวเดฟ แห่งรัสเซีย ถึงแม้ในตัวมันเองจะยังไม่ใช่ปัจจัยซึ่งช่วยซ่อมแซมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองที่ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง แต่การหารือคราวนี้ก็เป็นหลักหมายแสดงถึงความพยายามอย่างสอดคล้องกัน ที่จะสร้างเงื่อนไขเบื้องต้นอันจำเป็นแก่การก้าวไปสู่สายสัมพันธ์ที่ดีขึ้นของพวกเขา ทั้งนี้ข้อตกลงของทั้งสองประเทศในเรื่องอัฟกานิสถาน น่าที่จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในเรื่องนี้
*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
การหารือแบบพบหน้ากันระหว่างคณะผู้นำของสหรัฐฯและของรัสเซียในอดีต มีอยู่หลายครั้งที่ก่อให้เกิดความหวังในแง่ดีเอามากๆ แต่แล้วในที่สุดมันก็กลับกลายเป็นเพียงภาพลวงตาและอายุสั้น การประชุมซัมมิตที่โซชิ อันเป็นเมืองตากอากาศริมทะเลดำเมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา ก็เป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบในเรื่องนี้ การประชุมระดับผู้นำที่โซชิผลิตคำประกาศอันเต็มไปด้วยถ้อยคำโอ่อวด ระบุแจกแจงรูปร่างหน้าตาของความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ระหว่างมหาอำนาจใหญ่ทั้งสองรายนี้
ทว่าเพียงไม่นานหลังการประชุมซัมมิตคราวนี้สิ้นสุดลง ความเกรี้ยวกราดก็ระเบิดออกและสายสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซียร่วงลงสู่หุบเหว สายสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองเกิดความขมึงตึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความขัดแย้งในแถบคอเคซัสใต้เมื่อเดือนสิงหาคม (หมายถึงสงครามรัสเซีย-ยูเครน –ผู้แปล) ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ(นาโต้) ล่องลอยออกอ่าวออกทะเล และเป็นการเพิ่มรายการในบัญชีปัญหาความขัดแย้งที่สลับซับซ้อนยิ่งอยู่แล้วในความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซีย (อาทิ การที่สหรัฐฯนำเอาส่วนประกอบของระบบป้องกันขีปนาวุธของตนไปตั้งประจำไว้ในหลายประเทศยุโรปกลาง, การที่นาโต้มีนโยบายขยายสมาชิกภาพไปทางยุโรปตะวันออก, การแข่งขันกันชิงทรัพยากรพลังงานในแถบแคสเปียน, ความไม่ลงรอยกันในเขตทะเลดำซึ่งยังคงคุกรุ่นเรื่อยมา, และอื่นๆ ) จากประเด็นปัญหาทั้งหมดเหล่านี้ จึงทำให้เกิดบรรยากาศแห่งความไม่ไว้วางใจกันในสายสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซีย
ปัญหาระดับรากฐานประการหนึ่งซึ่งปรากฎขึ้นมาให้เห็นอยู่เรื่อยๆ ก็คือ สหรัฐฯนั้นถือว่ารัสเซียเป็นสิ่งสำคัญมากน้อยแค่ไหนในบรรดาผลประโยชน์ทั่วโลกของสหรัฐฯ ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายว่าทำไมถ้อยคำโวหารสวยหรูในการพบปะเจรจากันระหว่างประธานาธิบดี บารัค โอบามา ของสหรัฐฯฯ กับประธานาธิบดี ดมิตริ เมดเวเดฟ ของรัสเซีย เมื่อวันที่ 1 เมษายน ระหว่างที่ทั้งคู่ไปเข้าร่วมการประชุมซัมมิตกลุ่ม จี20 ที่กรุงลอนดอน จึงกำลังได้รับการพิจารณาด้วยความระมัดระวังมากจากเหล่านักวิจารณ์ของสื่อมวลชนส่วนใหญ่ ภาวะความเป็นมิตรระหว่างกันในครั้งนี้เป็นของจริงแน่หรือ? สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-รัสเซีย มีการเร่ง “กดปุ่มรีเซ็ตกันใหม่” จริงหรือเปล่า? ทั้งหมดเหล่านี้ยังคงเป็นคำถามที่ผู้คนวิ่งวุ่นหาคำตอบ
อย่างไรก็ดี มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เป็นเรื่องชัดเจนแล้ว นั่นคือความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-รัสเซียนั้นได้เสื่อมทรามลงจนถึงจุดต่ำสุดนับแต่แต่ยุคสงครามเย็นสิ้นสุดลง และดังนั้นความสัมพันธ์นี้จึงมีแต่จะต้องกระเตื้องดีขึ้น แน่นอนทีเดียวว่า ถึงแม้พวกนักรบในสงครามเย็นทั้งหลายยังดูจะประเมินผลการพบปะหารือในลอนดอนคราวนี้ด้วยความไม่ค่อยสบายใจ แต่อันที่จริงแล้วบรรยากาศอย่างใหม่ดูเหมือนจะกำลังปรากฏขึ้นในความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซีย ดังที่รัฐมนตรีต่างประเทศ เซอร์เกย์ ลัฟรอฟ ของรัสเซียบอกว่า ขณะนี้ความสัมพันธ์นี้กำลังเกิด “คุณภาพใหม่” ขึ้นมาแล้ว
ลัฟรอฟ นักการทูตผู้โดดเด่นซึ่งไม่ชอบพูดอะไรเกินเลย กล่าวออกมาแล้วว่า การหารือในลอนดอนได้สร้าง “บรรยากาศใหม่แห่งความสัมพันธ์” ขึ้นมา “มีความสนใจในกันและกัน และที่สำคัญที่สุด มีความพร้อมที่จะฟังกันและกัน เป็นอะไรบางอย่างที่พวกเราขาดเขินมาหลายปีแล้ว นี่ย่อมหมายความถึงคุณภาพใหม่แห่งความสัมพันธ์” เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีเหตุผลอยู่มากที่จะคาดหมายว่า การหารือที่ลอนดอนน่าจะนำไปสู่อะไรที่ดีขึ้นอีกในระยะหลายๆ สัปดาห์ต่อจากนี้ไป แทนที่จะมีแต่การวกไปเวียนมาในตรอกตัน
เป็นที่ชัดเจนทีเดียวว่า การพบปะที่ลอนดอนนั้นมีอะไรมากเกินกว่าการกล่าวสรุปแบบถ่อมตนของลัฟรอฟ มีหลักฐานยืนยันว่าทั้งสองฝ่ายได้ลงแรงทำงานในด้านการตระเตรียมอย่างมากมายทีเดียว เพื่อให้แน่ใจว่าการพบปะหารือจะบังเกิดผลเป็นชิ้นเป็นอัน
ก่อนหน้าการพบปะหารือระหว่างโอบามา-เมดเวเดฟ นอกเหนือจากการหารือของลัฟรอฟกับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ฮิลลารี คลินตัน ในนครเจนีวาเมื่อวันที่ 6 มีนาคมแล้ว ยังมีคณะผู้แทนระดับสูงหลายๆ คณะเดินทางไปยังกรุงมอสโก เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยจุดมุ่งหมายที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซีย ก่อนหน้าการหารือระหว่างประธานาธิบดีทั้งสอง อาทิ การไปเยือนมอสโกของปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ วิลเลียม เบิร์นส์, 3 อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เฮนรี คิสซิงเจอร์, จอร์จ ชูลซ์, และ เจมส์ เบเกอร์, อดีตรัฐมนตรีกลาโหม วิลเลียม เปอร์รี, อดีตที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ เบรนต์ สโคว์ครอฟต์, 3 อดีตวุฒิสมาชิก แซม นันน์, แกรี ฮาร์ต, และ ชัค แฮเกิล
ขณะเดียวกัน รายงานของคณะกรรมการฮาร์ต-แฮเกิล ว่าด้วย “ทิศทางอันถูกต้องสำหรับนโยบายของสหรัฐฯที่มีต่อรัสเซีย” ซึ่งนำออกเผยแพร่ในวันที่ 16 มีนาคม ก็กลายเป็นจุดพูดคุยในการสนทนาระหว่างสหรัฐฯ-รัสเซียเหล่านี้ ทั้งนี้คณะกรรมการชุดนี้ได้ค้นพบสิ่งที่สำคัญๆ รวม 3 เรื่องด้วยกัน ประการแรก ในระยะปีหลังๆ มานี้ ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซียกำลังเสื่อมทรามลงจนสู่ระดับเลวร้ายที่สุดตั้งแต่ยุคสงครามเย็นจบสิ้น ประการที่สอง การที่ฝ่ายอเมริกันให้คำมั่นสัญญาที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซียนั้น ไม่ถือว่าเป็นรางวัลที่เสนอล่อใจให้มอสโกมีความประพฤติที่ดีในทางระหว่างประเทศ และก็ไม่ได้เป็นการรับรองความประพฤติภายในประเทศของรัฐบาลรัสเซีย ประการที่สาม เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับกันว่าความร่วมมือจากรัสเซียนั้นมีความสำคัญต่อการที่อเมริกาจะสามารถบรรลุเป้าหมายสำคัญๆ หลายอย่าง ตั้งแต่การป้องกันไม่ให้อิหร่านได้ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์, การทำลายอัลกออิดะห์และสร้างเสถียรภาพในอัฟกานิสถาน, การค้ำประกันความมั่นคงและความรุ่งเรืองไพบูลย์ในยุโรป
สำหรับข้อเสนอแนะสำคัญๆ ของคณะกรรมการชุดนี้มีอาทิ หนึ่ง ควรหาทางทำให้รัสเซียกลายเป็นหุ้นส่วนของอเมริกาในการจัดการกับอิหร่าน, สอง ทำงานร่วมกันเพื่อทำให้ระบบระหว่างประเทศในการป้องกันการแพร่กระจายอาวุธร้ายแรง มีความแข็งแกร่งมากขึ้น, สาม ควรมีมุมมองใหม่เกี่ยวกับเรื่องการตั้งบางส่วนของระบบป้องกันขีปนาวุธเอาไว้ในโปแลนด์และสาธารณรัฐเช็ก และควรใช้ความพยายามกันจริงๆ เพื่อสร้างวิธีการแบบร่วมมือกันในการรับมือกับภัยคุกคามร่วมจากขีปนาวุธอิหร่าน, สี่ ควรยอมรับว่าทั้งยูเครนและจอร์เจียต่างก็ยังไม่พร้อมที่จะเข้าเป็นสมาชิกองค์การนาโต้ และควรทำงานอย่างใกล้ชิดกับบรรดาพันธมิตรของสหรัฐฯเพื่อสร้างทางเลือกอื่นๆ นอกเหนือจากการเป็นสมาชิกนาโต้ เพื่อเป็นการสาธิตให้เห็นว่ามีพันธะผูกพันต่ออธิปไตยของทั้งสองชาติ, และ ห้า เปิดการสนทนาอย่างจริงจังในเรื่องการควบคุมอาวุธ รวมทั้งการยืดอายุสนธิสัญญาลดกำลังอาวุธทางยุทธศาสตร์ (Strategic Arms Reduction Treaty หรือ START) ตลอดจนการลดอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์และทางยุทธวิธีลงไปอีก
วัตถุประสงค์ของคณะกรรมการชุดนี้ ตามที่ฮาร์ตพูดไว้เองนั้น ระบุว่าต้องการ “สร้างฐานอันจำกัดขึ้นในประเทศของเราเพื่อให้ความสนับสนุนต่อคณะรัฐบาลใหม่(โอบามา) ในความพยายามที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์นี้(สหรัฐฯ-รัสเซีย)” ก่อนหน้าที่จะเดินทางไปยังมอสโก ฮาร์ตกับแฮเกิลได้พบหารือกับ พล.อ.จิม โจนส์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติประจำทำเนียบขาว ตลอดจนเจ้าหน้าที่สหรัฐฯอาวุโสคนอื่นๆ ของคณะรัฐบาลโอบามา แน่นอนทีเดียว ระหว่างที่ต้อนรับฮาร์ตกับแฮเกิลในพระราชวังเครมลินเมื่อวันที่ 10 มีนาคมนั้น เมดเวเดฟได้ตอกย้ำว่า เขารู้สึกมีกำลังใจจากที่ได้เห็นสัญญาณต่างๆ ที่ออกมาจากทางวอชิงตัน “โชคร้ายที่ความสัมพันธ์ของเราได้ทรุดโทรมลงอย่างสำคัญตลอดหลายๆ ปีที่ผ่านมา เรารู้สึกเศร้าใจต่อข้อเท็จจริงอันนี้” เมดเวเดฟบอก “เราเชื่อว่าเรามีโอกาสทุกประการที่จะเปิดหน้าใหม่ในความสัมพันธ์ความสัมพันธ์รัสเซีย-สหรัฐฯ สัญญาณต่างๆ ที่เรากำลังได้รับในวันนี้จากทางสหรัฐฯ –ผมหมายถึง สัญญาณต่างๆ ที่ผมกำลังได้รับจากประธานาธิบดีโอบามา—สำหรับผมแล้วดูจะเป็นไปในทางบวกเสียทั้งนั้น”
เป็นเช่นนั้นจริงๆ คำแถลงต่างๆ (และปฏิบัติการต่างๆ) ของวอชิงตันและมอสโกในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา บ่งชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลทั้งสองกำลังเคลื่อนไปในทิศทางคณะกรรมการฮาร์ต-แฮเกิลเรียกร้อง คณะกรรมการพูดเอาไว้ดังนี้
“การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติอันสำคัญยิ่งของอเมริกาเอาไว้ให้ได้ในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีทั้งความสลับซับซ้อน, มีความเชื่อมโยงเกี่ยวพันกัน, และมีการขึ้นต่อพึ่งพาอาศัยกันนั้น จำเป็นจะต้องมีความร่วมมืออันลึกซึ้งและมีความหมายกับรัฐบาลประเทศอื่นๆ ... และแทบไม่มีชาติไหนเลยที่สามารถทำให้ความสำเร็จของเราบังเกิดความแตกต่างได้มากไปกว่ารัสเซีย ซึ่งมีคลังแสงอาวุธนิวเคลียร์อันมหึมา, มีที่ตั้งทรงความสำคัญทางยุทธศาสตร์โดยแผ่กว้างไปทั้งยุโรปและเอเชีย, มีทรัพยากรด้านพลังงานอันใหญ่โต, และมีฐานะเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ การปฏิบัติการอย่างรวดเร็วและทรงประสิทธิภาพเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซีย เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการขับเคลื่อนผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯ
แม้กระทั่งในขณะที่สหรัฐฯต้องเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจอันลึกล้ำ ปัญหาท้าทายต่างๆ ในด้านนโยบายการต่างประเทศที่กำลังเผชิญหน้าประเทศชาติของเราก็ยังคงเพิ่มความสลับซับซ้อนและลำบากยากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ -และในการรับมือกับสถานการณ์เฉพาะเจาะจงแต่ละอัน ผลประโยชน์ต่างๆ ของเราก็อาจจะเกิดการแข่งขันกันหรือกระทั่งขัดแย้งกัน ก็เพราะเหตุผลนี้เองทำให้เราต้องทำการเลือกสรรอันยากเย็นในเวลากำหนดนโยบายการต่างประเทศของเรา โดยจะต้องมุ่งเน้นรวมศูนย์แทบทั้งหมดไปยังสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งยวดจริงๆ ซึ่งต้องมาจากพิจารณาด้วยแง่มุมอันเข้มงวดด้วย –ประการแรกๆ สุดก่อนเพื่อนเลย ย่อมได้แก่ การไม่ให้เกิดการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์, การควบคุมอาวุธ, การก่อการร้าย, และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก”
ด้วยท่าทีที่ตรงไปตรงมาเป็นพิเศษ คณะกรรมการเสนอว่า “เรายังจะต้องดำเนินการปรับปรุงอย่างสำคัญมากในเรื่องความเข้าใจของเราต่อเรื่องผลประโยชน์ต่างๆ ของรัสเซีย อย่างที่ฝ่ายรัสเซียเป็นผู้ให้คำจำกัดความ” เมื่อเรามองย้อนหลังกลับไป ก็จะเห็นได้ว่าในทางเป็นจริงแล้วสิ่งที่คณะกรรมการพูดเอาไว้นี้ ก็คือการวางกรอบโครงของวาระหารือในการพบปะที่กรุงลอนดอนนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ แม้ผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมในลอนดอนอาจจะดูเบาโหวง แต่สิ่งที่ควรยอมรับกันก็คือ ความพยายามอย่างมานะบากบั่นและสอดคล้องต้องกัน เพื่อสร้าง “ภาวะมวลวิกฤต” (critical mass) ขึ้นในความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซียนั้นได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ซึ่งอาจจะสามาถผนึกตัวอย่างหนักแน่นภายในระยะเวลาสองถึงสามเดือนข้างหน้า
เป็นเรื่องที่ชัดเจนว่า การตัดสินใจในระหว่างการหารือของโอบามา-เมดเวเดฟ ที่จะหาทางทำข้อตกลงลดกำลังอาวุธนิวเคลียร์ฉบับใหม่นั้น ในตัวมันเองก็ส่อนัยของการกลับตาลปัตรอย่างน่าตื่นใจจากจุดยืนอันดื้อรั้นของคณะรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู บุช ต่อประเด็นปัญหานี้ ดังที่โอบามาเองก็กล่าวเอาไว้ว่า การตัดสินเช่นนี้เป็นเครื่องหมายแสดงถึง “การเริ่มต้นของความก้าวหน้าขึ้นมาใหม่ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซีย” หลังจากที่ถูกปล่อยให้ล่องลอยพเนจรไปเสียหลายปี กำหนดการเยือนกรุงมอสโกของโอบามาในอีก 3 เดือนข้างหน้า –ก่อนหน้าการประชุมซัมมิตของกลุ่มจี 8 ระหว่างวันที่ 8-10 กรกฎาคม—จะเป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้บรรดาเจ้าหน้าที่เจรจา “เริ่มต้นการหารือกันทันที” ในเรื่องข้อตกลงที่จะเข้าแทนที่สนธิสัญญาลดกำลังอาวุธทางยุทธศาสตร์ (START) ที่จะหมดอายุลงในเดือนธันวาคมนี้แล้ว
ทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้กำหนดจำนวนอาวุธสูงสุดที่จะมีกันได้ แต่ก็เป็นที่ชัดเจนว่าข้อเสนอที่หารือกันนั้นจะมีเนื้อหาที่ไปไกลกว่าสนธิสัญญาลดกำลังอาวุธเพื่อการโจมตีทางยุทธศาสตร์ปี 2002 เสียอีก โดยที่สนธิสัญญาดังกล่าวนี้ผูกพันให้ทั้งสองฝ่ายต่างมีอาวุธในคลังแสงนิวเคลียร์ของแต่ละฝ่ายต่ำกว่า 2,200 หัวรบภายในปี 2012
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย เขาได้รับมอบหมายให้ไปประจำอยู่ในหลายๆ ประเทศ อาทิ สหภาพโซเวียต, เกาหลีใต้, ศรีลังกา, เยอรมนี, อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อุซเบกิสถาน, คูเวต, และตุรกี
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
สายสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซียในวงโคจรใหม่(ตอนจบ)
US-Russia ties on a new trajectory
By M K Bhadrakumar
03/04/2009
การพบหารือในสัปดาห์ที่ผ่านมาระหว่างประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ และประธานาธิบดี ดมิตริ เมดเวเดฟ แห่งรัสเซีย ถึงแม้ในตัวมันเองจะยังไม่ใช่ปัจจัยซึ่งช่วยซ่อมแซมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองที่ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง แต่การหารือคราวนี้ก็เป็นหลักหมายแสดงถึงความพยายามอย่างสอดคล้องกัน ที่จะสร้างเงื่อนไขเบื้องต้นอันจำเป็นแก่การก้าวไปสู่สายสัมพันธ์ที่ดีขึ้นของพวกเขา ทั้งนี้ข้อตกลงของทั้งสองประเทศในเรื่องอัฟกานิสถาน น่าที่จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในเรื่องนี้
*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
การหารือแบบพบหน้ากันระหว่างคณะผู้นำของสหรัฐฯและของรัสเซียในอดีต มีอยู่หลายครั้งที่ก่อให้เกิดความหวังในแง่ดีเอามากๆ แต่แล้วในที่สุดมันก็กลับกลายเป็นเพียงภาพลวงตาและอายุสั้น การประชุมซัมมิตที่โซชิ อันเป็นเมืองตากอากาศริมทะเลดำเมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา ก็เป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบในเรื่องนี้ การประชุมระดับผู้นำที่โซชิผลิตคำประกาศอันเต็มไปด้วยถ้อยคำโอ่อวด ระบุแจกแจงรูปร่างหน้าตาของความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ระหว่างมหาอำนาจใหญ่ทั้งสองรายนี้
ทว่าเพียงไม่นานหลังการประชุมซัมมิตคราวนี้สิ้นสุดลง ความเกรี้ยวกราดก็ระเบิดออกและสายสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซียร่วงลงสู่หุบเหว สายสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองเกิดความขมึงตึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความขัดแย้งในแถบคอเคซัสใต้เมื่อเดือนสิงหาคม (หมายถึงสงครามรัสเซีย-ยูเครน –ผู้แปล) ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ(นาโต้) ล่องลอยออกอ่าวออกทะเล และเป็นการเพิ่มรายการในบัญชีปัญหาความขัดแย้งที่สลับซับซ้อนยิ่งอยู่แล้วในความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซีย (อาทิ การที่สหรัฐฯนำเอาส่วนประกอบของระบบป้องกันขีปนาวุธของตนไปตั้งประจำไว้ในหลายประเทศยุโรปกลาง, การที่นาโต้มีนโยบายขยายสมาชิกภาพไปทางยุโรปตะวันออก, การแข่งขันกันชิงทรัพยากรพลังงานในแถบแคสเปียน, ความไม่ลงรอยกันในเขตทะเลดำซึ่งยังคงคุกรุ่นเรื่อยมา, และอื่นๆ ) จากประเด็นปัญหาทั้งหมดเหล่านี้ จึงทำให้เกิดบรรยากาศแห่งความไม่ไว้วางใจกันในสายสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซีย
ปัญหาระดับรากฐานประการหนึ่งซึ่งปรากฎขึ้นมาให้เห็นอยู่เรื่อยๆ ก็คือ สหรัฐฯนั้นถือว่ารัสเซียเป็นสิ่งสำคัญมากน้อยแค่ไหนในบรรดาผลประโยชน์ทั่วโลกของสหรัฐฯ ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายว่าทำไมถ้อยคำโวหารสวยหรูในการพบปะเจรจากันระหว่างประธานาธิบดี บารัค โอบามา ของสหรัฐฯฯ กับประธานาธิบดี ดมิตริ เมดเวเดฟ ของรัสเซีย เมื่อวันที่ 1 เมษายน ระหว่างที่ทั้งคู่ไปเข้าร่วมการประชุมซัมมิตกลุ่ม จี20 ที่กรุงลอนดอน จึงกำลังได้รับการพิจารณาด้วยความระมัดระวังมากจากเหล่านักวิจารณ์ของสื่อมวลชนส่วนใหญ่ ภาวะความเป็นมิตรระหว่างกันในครั้งนี้เป็นของจริงแน่หรือ? สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-รัสเซีย มีการเร่ง “กดปุ่มรีเซ็ตกันใหม่” จริงหรือเปล่า? ทั้งหมดเหล่านี้ยังคงเป็นคำถามที่ผู้คนวิ่งวุ่นหาคำตอบ
อย่างไรก็ดี มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เป็นเรื่องชัดเจนแล้ว นั่นคือความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-รัสเซียนั้นได้เสื่อมทรามลงจนถึงจุดต่ำสุดนับแต่แต่ยุคสงครามเย็นสิ้นสุดลง และดังนั้นความสัมพันธ์นี้จึงมีแต่จะต้องกระเตื้องดีขึ้น แน่นอนทีเดียวว่า ถึงแม้พวกนักรบในสงครามเย็นทั้งหลายยังดูจะประเมินผลการพบปะหารือในลอนดอนคราวนี้ด้วยความไม่ค่อยสบายใจ แต่อันที่จริงแล้วบรรยากาศอย่างใหม่ดูเหมือนจะกำลังปรากฏขึ้นในความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซีย ดังที่รัฐมนตรีต่างประเทศ เซอร์เกย์ ลัฟรอฟ ของรัสเซียบอกว่า ขณะนี้ความสัมพันธ์นี้กำลังเกิด “คุณภาพใหม่” ขึ้นมาแล้ว
ลัฟรอฟ นักการทูตผู้โดดเด่นซึ่งไม่ชอบพูดอะไรเกินเลย กล่าวออกมาแล้วว่า การหารือในลอนดอนได้สร้าง “บรรยากาศใหม่แห่งความสัมพันธ์” ขึ้นมา “มีความสนใจในกันและกัน และที่สำคัญที่สุด มีความพร้อมที่จะฟังกันและกัน เป็นอะไรบางอย่างที่พวกเราขาดเขินมาหลายปีแล้ว นี่ย่อมหมายความถึงคุณภาพใหม่แห่งความสัมพันธ์” เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีเหตุผลอยู่มากที่จะคาดหมายว่า การหารือที่ลอนดอนน่าจะนำไปสู่อะไรที่ดีขึ้นอีกในระยะหลายๆ สัปดาห์ต่อจากนี้ไป แทนที่จะมีแต่การวกไปเวียนมาในตรอกตัน
เป็นที่ชัดเจนทีเดียวว่า การพบปะที่ลอนดอนนั้นมีอะไรมากเกินกว่าการกล่าวสรุปแบบถ่อมตนของลัฟรอฟ มีหลักฐานยืนยันว่าทั้งสองฝ่ายได้ลงแรงทำงานในด้านการตระเตรียมอย่างมากมายทีเดียว เพื่อให้แน่ใจว่าการพบปะหารือจะบังเกิดผลเป็นชิ้นเป็นอัน
ก่อนหน้าการพบปะหารือระหว่างโอบามา-เมดเวเดฟ นอกเหนือจากการหารือของลัฟรอฟกับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ฮิลลารี คลินตัน ในนครเจนีวาเมื่อวันที่ 6 มีนาคมแล้ว ยังมีคณะผู้แทนระดับสูงหลายๆ คณะเดินทางไปยังกรุงมอสโก เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยจุดมุ่งหมายที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซีย ก่อนหน้าการหารือระหว่างประธานาธิบดีทั้งสอง อาทิ การไปเยือนมอสโกของปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ วิลเลียม เบิร์นส์, 3 อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เฮนรี คิสซิงเจอร์, จอร์จ ชูลซ์, และ เจมส์ เบเกอร์, อดีตรัฐมนตรีกลาโหม วิลเลียม เปอร์รี, อดีตที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ เบรนต์ สโคว์ครอฟต์, 3 อดีตวุฒิสมาชิก แซม นันน์, แกรี ฮาร์ต, และ ชัค แฮเกิล
ขณะเดียวกัน รายงานของคณะกรรมการฮาร์ต-แฮเกิล ว่าด้วย “ทิศทางอันถูกต้องสำหรับนโยบายของสหรัฐฯที่มีต่อรัสเซีย” ซึ่งนำออกเผยแพร่ในวันที่ 16 มีนาคม ก็กลายเป็นจุดพูดคุยในการสนทนาระหว่างสหรัฐฯ-รัสเซียเหล่านี้ ทั้งนี้คณะกรรมการชุดนี้ได้ค้นพบสิ่งที่สำคัญๆ รวม 3 เรื่องด้วยกัน ประการแรก ในระยะปีหลังๆ มานี้ ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซียกำลังเสื่อมทรามลงจนสู่ระดับเลวร้ายที่สุดตั้งแต่ยุคสงครามเย็นจบสิ้น ประการที่สอง การที่ฝ่ายอเมริกันให้คำมั่นสัญญาที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซียนั้น ไม่ถือว่าเป็นรางวัลที่เสนอล่อใจให้มอสโกมีความประพฤติที่ดีในทางระหว่างประเทศ และก็ไม่ได้เป็นการรับรองความประพฤติภายในประเทศของรัฐบาลรัสเซีย ประการที่สาม เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับกันว่าความร่วมมือจากรัสเซียนั้นมีความสำคัญต่อการที่อเมริกาจะสามารถบรรลุเป้าหมายสำคัญๆ หลายอย่าง ตั้งแต่การป้องกันไม่ให้อิหร่านได้ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์, การทำลายอัลกออิดะห์และสร้างเสถียรภาพในอัฟกานิสถาน, การค้ำประกันความมั่นคงและความรุ่งเรืองไพบูลย์ในยุโรป
สำหรับข้อเสนอแนะสำคัญๆ ของคณะกรรมการชุดนี้มีอาทิ หนึ่ง ควรหาทางทำให้รัสเซียกลายเป็นหุ้นส่วนของอเมริกาในการจัดการกับอิหร่าน, สอง ทำงานร่วมกันเพื่อทำให้ระบบระหว่างประเทศในการป้องกันการแพร่กระจายอาวุธร้ายแรง มีความแข็งแกร่งมากขึ้น, สาม ควรมีมุมมองใหม่เกี่ยวกับเรื่องการตั้งบางส่วนของระบบป้องกันขีปนาวุธเอาไว้ในโปแลนด์และสาธารณรัฐเช็ก และควรใช้ความพยายามกันจริงๆ เพื่อสร้างวิธีการแบบร่วมมือกันในการรับมือกับภัยคุกคามร่วมจากขีปนาวุธอิหร่าน, สี่ ควรยอมรับว่าทั้งยูเครนและจอร์เจียต่างก็ยังไม่พร้อมที่จะเข้าเป็นสมาชิกองค์การนาโต้ และควรทำงานอย่างใกล้ชิดกับบรรดาพันธมิตรของสหรัฐฯเพื่อสร้างทางเลือกอื่นๆ นอกเหนือจากการเป็นสมาชิกนาโต้ เพื่อเป็นการสาธิตให้เห็นว่ามีพันธะผูกพันต่ออธิปไตยของทั้งสองชาติ, และ ห้า เปิดการสนทนาอย่างจริงจังในเรื่องการควบคุมอาวุธ รวมทั้งการยืดอายุสนธิสัญญาลดกำลังอาวุธทางยุทธศาสตร์ (Strategic Arms Reduction Treaty หรือ START) ตลอดจนการลดอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์และทางยุทธวิธีลงไปอีก
วัตถุประสงค์ของคณะกรรมการชุดนี้ ตามที่ฮาร์ตพูดไว้เองนั้น ระบุว่าต้องการ “สร้างฐานอันจำกัดขึ้นในประเทศของเราเพื่อให้ความสนับสนุนต่อคณะรัฐบาลใหม่(โอบามา) ในความพยายามที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์นี้(สหรัฐฯ-รัสเซีย)” ก่อนหน้าที่จะเดินทางไปยังมอสโก ฮาร์ตกับแฮเกิลได้พบหารือกับ พล.อ.จิม โจนส์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติประจำทำเนียบขาว ตลอดจนเจ้าหน้าที่สหรัฐฯอาวุโสคนอื่นๆ ของคณะรัฐบาลโอบามา แน่นอนทีเดียว ระหว่างที่ต้อนรับฮาร์ตกับแฮเกิลในพระราชวังเครมลินเมื่อวันที่ 10 มีนาคมนั้น เมดเวเดฟได้ตอกย้ำว่า เขารู้สึกมีกำลังใจจากที่ได้เห็นสัญญาณต่างๆ ที่ออกมาจากทางวอชิงตัน “โชคร้ายที่ความสัมพันธ์ของเราได้ทรุดโทรมลงอย่างสำคัญตลอดหลายๆ ปีที่ผ่านมา เรารู้สึกเศร้าใจต่อข้อเท็จจริงอันนี้” เมดเวเดฟบอก “เราเชื่อว่าเรามีโอกาสทุกประการที่จะเปิดหน้าใหม่ในความสัมพันธ์ความสัมพันธ์รัสเซีย-สหรัฐฯ สัญญาณต่างๆ ที่เรากำลังได้รับในวันนี้จากทางสหรัฐฯ –ผมหมายถึง สัญญาณต่างๆ ที่ผมกำลังได้รับจากประธานาธิบดีโอบามา—สำหรับผมแล้วดูจะเป็นไปในทางบวกเสียทั้งนั้น”
เป็นเช่นนั้นจริงๆ คำแถลงต่างๆ (และปฏิบัติการต่างๆ) ของวอชิงตันและมอสโกในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา บ่งชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลทั้งสองกำลังเคลื่อนไปในทิศทางคณะกรรมการฮาร์ต-แฮเกิลเรียกร้อง คณะกรรมการพูดเอาไว้ดังนี้
“การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติอันสำคัญยิ่งของอเมริกาเอาไว้ให้ได้ในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีทั้งความสลับซับซ้อน, มีความเชื่อมโยงเกี่ยวพันกัน, และมีการขึ้นต่อพึ่งพาอาศัยกันนั้น จำเป็นจะต้องมีความร่วมมืออันลึกซึ้งและมีความหมายกับรัฐบาลประเทศอื่นๆ ... และแทบไม่มีชาติไหนเลยที่สามารถทำให้ความสำเร็จของเราบังเกิดความแตกต่างได้มากไปกว่ารัสเซีย ซึ่งมีคลังแสงอาวุธนิวเคลียร์อันมหึมา, มีที่ตั้งทรงความสำคัญทางยุทธศาสตร์โดยแผ่กว้างไปทั้งยุโรปและเอเชีย, มีทรัพยากรด้านพลังงานอันใหญ่โต, และมีฐานะเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ การปฏิบัติการอย่างรวดเร็วและทรงประสิทธิภาพเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซีย เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการขับเคลื่อนผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯ
แม้กระทั่งในขณะที่สหรัฐฯต้องเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจอันลึกล้ำ ปัญหาท้าทายต่างๆ ในด้านนโยบายการต่างประเทศที่กำลังเผชิญหน้าประเทศชาติของเราก็ยังคงเพิ่มความสลับซับซ้อนและลำบากยากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ -และในการรับมือกับสถานการณ์เฉพาะเจาะจงแต่ละอัน ผลประโยชน์ต่างๆ ของเราก็อาจจะเกิดการแข่งขันกันหรือกระทั่งขัดแย้งกัน ก็เพราะเหตุผลนี้เองทำให้เราต้องทำการเลือกสรรอันยากเย็นในเวลากำหนดนโยบายการต่างประเทศของเรา โดยจะต้องมุ่งเน้นรวมศูนย์แทบทั้งหมดไปยังสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งยวดจริงๆ ซึ่งต้องมาจากพิจารณาด้วยแง่มุมอันเข้มงวดด้วย –ประการแรกๆ สุดก่อนเพื่อนเลย ย่อมได้แก่ การไม่ให้เกิดการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์, การควบคุมอาวุธ, การก่อการร้าย, และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก”
ด้วยท่าทีที่ตรงไปตรงมาเป็นพิเศษ คณะกรรมการเสนอว่า “เรายังจะต้องดำเนินการปรับปรุงอย่างสำคัญมากในเรื่องความเข้าใจของเราต่อเรื่องผลประโยชน์ต่างๆ ของรัสเซีย อย่างที่ฝ่ายรัสเซียเป็นผู้ให้คำจำกัดความ” เมื่อเรามองย้อนหลังกลับไป ก็จะเห็นได้ว่าในทางเป็นจริงแล้วสิ่งที่คณะกรรมการพูดเอาไว้นี้ ก็คือการวางกรอบโครงของวาระหารือในการพบปะที่กรุงลอนดอนนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ แม้ผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมในลอนดอนอาจจะดูเบาโหวง แต่สิ่งที่ควรยอมรับกันก็คือ ความพยายามอย่างมานะบากบั่นและสอดคล้องต้องกัน เพื่อสร้าง “ภาวะมวลวิกฤต” (critical mass) ขึ้นในความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซียนั้นได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ซึ่งอาจจะสามาถผนึกตัวอย่างหนักแน่นภายในระยะเวลาสองถึงสามเดือนข้างหน้า
เป็นเรื่องที่ชัดเจนว่า การตัดสินใจในระหว่างการหารือของโอบามา-เมดเวเดฟ ที่จะหาทางทำข้อตกลงลดกำลังอาวุธนิวเคลียร์ฉบับใหม่นั้น ในตัวมันเองก็ส่อนัยของการกลับตาลปัตรอย่างน่าตื่นใจจากจุดยืนอันดื้อรั้นของคณะรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู บุช ต่อประเด็นปัญหานี้ ดังที่โอบามาเองก็กล่าวเอาไว้ว่า การตัดสินเช่นนี้เป็นเครื่องหมายแสดงถึง “การเริ่มต้นของความก้าวหน้าขึ้นมาใหม่ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซีย” หลังจากที่ถูกปล่อยให้ล่องลอยพเนจรไปเสียหลายปี กำหนดการเยือนกรุงมอสโกของโอบามาในอีก 3 เดือนข้างหน้า –ก่อนหน้าการประชุมซัมมิตของกลุ่มจี 8 ระหว่างวันที่ 8-10 กรกฎาคม—จะเป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้บรรดาเจ้าหน้าที่เจรจา “เริ่มต้นการหารือกันทันที” ในเรื่องข้อตกลงที่จะเข้าแทนที่สนธิสัญญาลดกำลังอาวุธทางยุทธศาสตร์ (START) ที่จะหมดอายุลงในเดือนธันวาคมนี้แล้ว
ทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้กำหนดจำนวนอาวุธสูงสุดที่จะมีกันได้ แต่ก็เป็นที่ชัดเจนว่าข้อเสนอที่หารือกันนั้นจะมีเนื้อหาที่ไปไกลกว่าสนธิสัญญาลดกำลังอาวุธเพื่อการโจมตีทางยุทธศาสตร์ปี 2002 เสียอีก โดยที่สนธิสัญญาดังกล่าวนี้ผูกพันให้ทั้งสองฝ่ายต่างมีอาวุธในคลังแสงนิวเคลียร์ของแต่ละฝ่ายต่ำกว่า 2,200 หัวรบภายในปี 2012
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย เขาได้รับมอบหมายให้ไปประจำอยู่ในหลายๆ ประเทศ อาทิ สหภาพโซเวียต, เกาหลีใต้, ศรีลังกา, เยอรมนี, อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อุซเบกิสถาน, คูเวต, และตุรกี
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)