จากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Pakistan’s turmoil echoes in Afghanistan
By Syed Saleem Shahzad
26/02/2009
คำพิพากษาของศาลสูงสุดเมื่อวันพุธ(25) ที่เพิกถอนสิทธิการรับเลือกตั้งของผู้นำพรรคฝ่ายค้านหลักของปากีสถาน ตลอดจนน้องชายของเขา ซึ่งเป็นมุขมนตรีของแคว้นปัญจาบอันทรงอิทธิพลยิ่ง กำลังทำให้ประเทศถลำเข้าสู่ภาวะปั่นป่วนวุ่นวาย รัฐบาลกลางในกรุงอิสลามาบัดขณะนี้กำลังถูกคุกคามอย่างรุนแรง และกองทัพที่ประกาศจุดยืนวางตัวเป็นกลางไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองก็จะถูกทดสอบอย่างหนักหน่วง อย่างไรก็ตาม สำหรับพวกผู้ก่อความไม่สงบที่นำโดยขบวนการตอลิบานในอัฟกานิสถานแล้ว ข่าวนี้ย่อมเป็นข่าวที่น่ายินดีเป็นที่สุด
การาจี – การที่รัฐบาลปากีสถานทำข้อตกลงสันติภาพเมื่อสัปดาห์ที่แล้วกับพวกกองกำลังอิสลามหัวรุนแรงในเขตหุบเขาสวาต แล้วตามมาด้วยการตกลงหยุดยิงตลอดทั่วทั้งพื้นที่ชาวชนเผ่าของปากีสถาน ตลอดจนข่าวเรื่องการประกาศก่อตั้งแนวร่วมนักรบมุญาฮีดีนแห่งชาวชนเผ่าปากีสถานขึ้นมา เพื่อสนับสนุนเสริมกำลังให้แก่การทำศึกของขบวนการตอลิบานในอัฟกานิสถาน เหล่านี้ถือเป็นเมล็ดพันธุ์เมล็ดแรกๆ ซึ่งถูกหว่านเพาะให้เติบใหญ่ เพื่อยังความพ่ายแพ้ล้มเหลวให้แก่แผนกโลบายในภูมิภาคแถบนี้ของสหรัฐฯ
เช่นเดียวกัน พัฒนาการที่เกิดขึ้นในปากีสถานเมื่อวันพุธ(25) ก็เท่ากับเป็นการยุติปิดฉากแผนการใหญ่ทางการเมืองที่จัดทำขึ้นในปี 2007 โดยซาอุดีอาระเบีย, สหรัฐฯ, และอังกฤษ และได้ถูกนำมาดำเนินการจนกระทั่งมีการเลือกตั้งในปากีสถานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2008 โดยที่แผนการใหญ่ดังกล่าวนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ ที่จะให้มีจัดตั้งรัฐบาลสมานฉันท์ของบรรดาพรรคการเมืองแนวเสรีนิยมและไม่ยุ่งเกี่ยวกับศาสนาขึ้นมาในปากีสถาน เพื่อเป็นฐานสนับสนุนด้านมวลชนให้แก่ “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย”ที่นำโดยสหรัฐฯ
ขณะเดียวกัน ผลกระทบของพัฒนาการนี้ที่จะเกิดขึ้นกับอัฟกานิสถาน ก็จัดว่าอยู่ในระดับมหึมา
พัฒนาการที่เกิดขึ้นเมื่อวันพุธดังกล่าวนี้ คือการที่ศาลสูงสุดปากีสถานอ่านคำพิพากษาว่า ผู้นำฝ่ายค้าน นาวาซ ชารีฟ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคสันติบาตมุสลิมปากีสถานกลุ่มนาวาซ (Pakistan Muslim League Nawaz หรือ PML-N) และเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 2 สมัย ไม่สามารถที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาได้ สืบเนื่องจากในอดีตได้เคยถูกตัดสินว่ามีความผิดทางอาญา นอกจากนั้น ศาลยังได้ตัดสินให้เพิกถอนสิทธิการรับเลือกตั้งของชาร์บัซ ผู้เป็นน้องชายของนาวาซ และเวลานี้เป็นมุขมนตรีของรัฐบาลท้องถิ่นแห่งแคว้นปัญจาบ อันเป็นแคว้นที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดของปากีสถาน โดยคำพิพากษาสั่งให้ชาร์บัซลาออกจากตำแหน่งในทันที ทั้งนี้สืบเนื่องจากความผิดของเขาในเหตุการณ์จี้เครื่องบินเมื่อปี 1999
คำตัดสินของศาลสูงสุดคราวนี้ ถือได้ว่าเป็นการปูพื้นจัดเตรียมการสำหรับความปั่นป่วนวุ่นวายและความไม่สงบทางการเมือง ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาท้าทายอันใหญ่โตสำหรับคณะรัฐบาลที่มีอายุเพียง 1 ปี ของประธานาธิบดีอาซิฟ อาลี ซาร์ดารี ตลอดจนพรรคประชาชนปากีสถาน (Pakistan People’s party หรือ PPP) ของเขา
เพราะเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังข่าวการถูกถอนสิทธิการรับเลือกตั้งของพี่น้องชารีฟแพร่กระจายออกไป ก็เกิดการประท้วงอันรุนแรงตามท้องถนนในหลายๆ จุด จนบังคับให้รัฐบาลกลางต้องประกาศใช้ภาวะปกครองพิเศษในแคว้นปัญจาบเป็นเวลา 2 เดือน
ทางด้านสองพี่น้องชารีฟได้จัดการประชุมแถลงข่าวขึ้นที่บ้านไร่ของพวกเขาในตำบลไรวินด์ ใกล้ๆ กับเมืองละฮอร์ โดยพวกเขาประณามประธานาธิบดีซาร์ดารีว่า เป็นจอมบงการที่วางแผนกโลบายจนทำให้มีคำพิพากษานี้ออกมา พวกเขาบอกว่าเหตุผลก็คือ การที่พวกเขาสนับสนุนให้ดำเนินการคืนตำแหน่งแก่ อิฟติคาร์ โมฮัมหมัด เชาธรี อดีตผู้พิพากษาศาลสูงสุด ผู้ถูกปลดออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2007 ในยุคของคณะรัฐบาลประธานาธิบดี พล.อ.เปอร์เวซ มูชาร์รัฟ
ทั้งนี้ ภายหลังการสั่งปลดเชาธรี ก็มีพวกทนายความ นักกฎหมาย และผู้เห็นอกเห็นใจอื่นๆ พากันรวมตัวเคลื่อนไหวเพื่อให้คืนความเป็นธรรมแก่เชาธรี ตลอดจนผู้พิพากษาอื่นๆ อีกหลายคนที่ก็ถูกปลดออกจากตำแหน่งเช่นกัน โดยที่มีการกำหนดนัดหมายจัดการชุมนุมประท้วงใหญ่กันหลายๆ นัดในเดือนหน้านี้ คาดหมายกันว่าการชุมนุมประท้วงเหล่านี้อาจจะใหญ่โตยิ่งขึ้นกว่าเดิมอีก เมื่อวินิจฉัยจากเหตุการณ์ในวันพุธ ซึ่งพวกผู้ประท้วงทำให้แคว้นปัญจาบที่ทางพรรค พีเอ็มแอล-เอ็ม กุมอำนาจอยู่นั้น ถึงขั้นอยู่ในภาวะชะงักงันทีเดียว
นอกจากนั้น รัฐบาลกลางยังเผชิญศึกภายในจนเป็นที่สงสัยว่าจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติหรือไม่ กล่าวคือ พรรคอวามี เนชั่นแนล ปาร์ตี้ ซึ่งเป็นพรรคสำคัญพรรคหนึ่งในคณะรัฐบาลผสมที่นำโดยพรรคพีพีพี ได้ออกคำแถลงระบุว่า ไม่สามารถยอมรับคำพิพากษาของศาลสูงสุดคราวนี้ และทางพรรคจะยืนอยู่ข้างพรรคพีเอ็มแอล-เอ็น
ดัชนีหุ้นสำคัญของตลาดหลักทรัพย์การาจี ได้ร่วงลงมา 294.05 จุดหรือราว 5% ในวันพุธ โดยปิดที่ระดับ 5,580.78 ก่อนหน้าข่าวคำพิพากษาจะแพร่ออกมาซึ่งทำให้เกิดการเทขายอย่างตื่นตระหนกนั้น ดัชนีหุ้นยังอยู่ในแดนบวกประมาณ 1% อยู่เลย พวกเทรดเดอร์ท้องถิ่นยังคาดหมายกันว่าตลาดหุ้นน่าจะอยู่ในสภาพถูกกดดันให้ลงต่ำต่อไปอีกอย่างน้อยก็ในระยะสั้น เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะไร้เสถียรภาพทางการเมือง
**ผลกระทบถึงอัฟกานิสถาน**
สถานการณ์ในปากีสถานเช่นนี้ย่อมส่งผลกระทบอย่างหนักหน่วงต่ออัฟกานิสถาน พวกผู้ก่อความไม่สงบที่นำโดยขบวนการตอลิบานนั้น มีความจำเป็นอยู่มากทีเดียวที่จะต้องพึ่งพาอาศัยบรรดาที่มั่นของตนซึ่งตั้งอยู่ภายในดินแดนของปากีสถาน โดยที่บรรดาข้อตกลงหยุดยิงที่เพิ่งทำกันในพื้นที่ชาวชนเผ่าปากีสถาน ก็จะเปิดทางให้พวกตอลิบานสามารถเตรียมการได้อย่างชนิดไม่ถูกรบกวน เพื่อการโจมตีช่วงฤดูใบไม้ผลิในอัฟกานิสถาน ด้วยเหตุนี้เอง พวกตอลิบานจึงต้องการให้ความไม่แน่นอนทางการเมืองในปากีสถานเช่นนี้ดำรงต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เพราะจะทำให้รัฐบาลกลางต้องยอมปล่อยให้พวกเขาอยู่กันอย่างนี้ต่อไป
แต่ในอีกด้านหนึ่ง วอชิงตันย่อมจะมองความปั่นป่วนทางการเมืองในปากีสถานเช่นนี้ด้วยความหวั่นผวา และมีความเป็นไปได้ที่จะสนับสนุนฝ่ายทหารของปากีสถาน ให้ดำเนินการอะไรใหม่ๆ บางประการ อย่างน้อยที่สุดก็ในการจัดการกับพวกกองกำลังอิสลามหัวรุนแรง
เมื่อพิจารณาในแง่นี้แล้ว การไปเยือนวอชิงตันเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ของผู้บัญชาการทหารบก พล.อ. อัชฟัค ปาร์เวซ คิอานี ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ทรงความสำคัญยิ่งยวด โดยที่จวบจนถึงเวลานี้ เขาก็ยังคงประกาศวางตัวเป็นกลางในเรื่องราวทางการเมืองทั้งหลาย ทั้งนี้สหรัฐฯอาจจะพยายามบอกให้เขาคิดเห็นเป็นอย่างอื่นก็เป็นได้
ขณะเดียวกันในอัฟกานิสถานตอนนี้ องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) ได้ส่งทหารอีก 3,000 คนเพิ่มเข้าไปประจำการอยู่ในจังหวัดโลการ์ และจังหวัดวาร์ดัค ซึ่งป็นพื้นที่ไม่สงบ ส่วนประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯก็ได้ออกคำสั่งให้เพิ่มทหารสหรัฐฯอีก 17,000 คนเข้าไปปฏิบัติการในพื้นที่ภาคใต้ของอัฟกานิสถาน ประเทศอื่นๆ อาทิ อิตาลีและอังกฤษ ก็จะส่งทหารเข้ามาช่วยเพิ่มมากขึ้นด้วย รวมแล้วจำนวนทั้งหมดอาจจะไปถึงระดับ 90,000 คน หรือต่ำกว่าเพียง 30,000 คนจากระดับที่สหภาพโซเวียตเคยส่งเข้าไปในประเทศนี้เมื่อทศวรรษ 1980
อย่างไรก็ดี ดร.ฟาร์รุค ซาลีม ชาวปากีสถานซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์ ได้ชี้ให้เอเชียไทมส์ออนไลน์เห็นว่า ทหารในทุกวันนี้ “มีความเหนือกว่ากองทหาร 120,000 คนของโซเวียตเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการฝึกอบรม, อาวุธยุทโธปกรณ์, และยุทธศาสตร์”
กำลังทหารใหม่ๆ เหล่านี้จะถูกแบ่งสรรออก โดยส่วนหนึ่งจะไปประจำการยังจังหวัดต่างๆ ซึ่งอยู่รอบๆ กรุงคาบูล อันได้แก่ โลการ์, วาร์ดัค, และกราซนี สำหรับอีกส่วนหนึ่งจะไปประจำตามจังหวัดโคสต์, ปักเตีย, ปักติกา, คูนาร์, และนันการ์ฮาร์ โดยหน้าที่หลักคือการพยายามหยุดยั้งไม่ให้นักรบตอลิบานแทรกซึมจากปากีสถานเข้าไปในอัฟกานิสถาน
สำหรับพวกตอลิบานนั้นเชื่อว่า พวกเขามีนักรบมากเพียงพอแล้วเพื่อทำให้พื้นที่รอบๆ คาบูลยังคงร้อนรุ่มต่อไป นอกจากนั้นพวกเขายังตั้งใจที่จะเพิ่มกองกำลังไปยังพื้นที่ 2 แห่ง ได้แก่ เขตไคเบอร์ของปากีสถาน เพื่อที่จะเปิดการโจมตีขบวนลำเลียงของนาโต้ต่อไป, และอีกแห่งหนึ่ง คือ จังหวัดเฮลมานด์ ในอัฟกานิสถาน
บุคคลที่เอเชียไทมส์ออนไลน์ติดต่อด้วยหลายรายเล่าว่า นักรบชาวปากีสถานที่จะเข้าร่วมกับตอลิบานนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากพื้นที่ชนเผ่าของเขตเซาธ์วาซิริสถาน และจะเคลื่อนย้ายยกกันไปยังเขตการ์มเซอร์ ของจังหวัดเฮลมานด์ บริเวณดังกล่าวนี้จัดเป็นพื้นที่ซึ่งไร้ความสะดวกสบายอย่างที่สุด และการที่กองทหารนาโต้จะไปตั้งประจำทางภาคพื้นดินอย่างถาวรก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย
จากเฮลมานด์ กองกำลังนักรบปากีสถานก็จะถูกส่งต่อไปยังจังหวัดนิมรอซ และจังหวัดเฮรัต ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถาน จังหวัดฟาราห์ ซึ่งตั้งอยู่ในแถบเดียวกัน เวลานี้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของตอลิบานเรียบร้อยแล้ว และตอลิบานยังมักเล็ดลอดเข้าไปในนิมรอซและเฮรัต เพื่อเปิดการโจมตีทหารนาโต้
ภารกิจที่เพิ่มเติมขึ้นมาในปีนี้ ได้แก่การรวมศูนย์เข้าไปโจมตีก่อกวนเส้นทางลำเลียงของนาโต้ ไม่ว่าพวกเขาจะเข้าสู่อัฟกานิสถานจากทางปากีสถาน, อิหร่าน, หรือพวกประเทศทางเอเชียกลาง
ในท่ามกลางการต่อสู้ช่วงชิงกันเหล่านี้ การตัดสินใจที่จะเกิดขึ้นในกรุงอิสลามาบัดในช่วงเวลาสองสามวันหรือสองสามสัปดาห์ข้างหน้า ย่อมจะมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เฉกเช่นเดียวกับเรื่องที่ว่าฝ่ายทหารของปากีสถานนั้นจะตัดสินใจกระโจนไปทางไหน
ไซเอด ซาลีม ชาห์ซาด เป็นหัวหน้าสำนักงานปากีสถานของเอเชียไทมส์ออนไลน์ สามารถที่จะติดต่อกับเขาได้ทางอีเมล์ saleem_sharzad2002@yahoo.com
Pakistan’s turmoil echoes in Afghanistan
By Syed Saleem Shahzad
26/02/2009
คำพิพากษาของศาลสูงสุดเมื่อวันพุธ(25) ที่เพิกถอนสิทธิการรับเลือกตั้งของผู้นำพรรคฝ่ายค้านหลักของปากีสถาน ตลอดจนน้องชายของเขา ซึ่งเป็นมุขมนตรีของแคว้นปัญจาบอันทรงอิทธิพลยิ่ง กำลังทำให้ประเทศถลำเข้าสู่ภาวะปั่นป่วนวุ่นวาย รัฐบาลกลางในกรุงอิสลามาบัดขณะนี้กำลังถูกคุกคามอย่างรุนแรง และกองทัพที่ประกาศจุดยืนวางตัวเป็นกลางไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองก็จะถูกทดสอบอย่างหนักหน่วง อย่างไรก็ตาม สำหรับพวกผู้ก่อความไม่สงบที่นำโดยขบวนการตอลิบานในอัฟกานิสถานแล้ว ข่าวนี้ย่อมเป็นข่าวที่น่ายินดีเป็นที่สุด
การาจี – การที่รัฐบาลปากีสถานทำข้อตกลงสันติภาพเมื่อสัปดาห์ที่แล้วกับพวกกองกำลังอิสลามหัวรุนแรงในเขตหุบเขาสวาต แล้วตามมาด้วยการตกลงหยุดยิงตลอดทั่วทั้งพื้นที่ชาวชนเผ่าของปากีสถาน ตลอดจนข่าวเรื่องการประกาศก่อตั้งแนวร่วมนักรบมุญาฮีดีนแห่งชาวชนเผ่าปากีสถานขึ้นมา เพื่อสนับสนุนเสริมกำลังให้แก่การทำศึกของขบวนการตอลิบานในอัฟกานิสถาน เหล่านี้ถือเป็นเมล็ดพันธุ์เมล็ดแรกๆ ซึ่งถูกหว่านเพาะให้เติบใหญ่ เพื่อยังความพ่ายแพ้ล้มเหลวให้แก่แผนกโลบายในภูมิภาคแถบนี้ของสหรัฐฯ
เช่นเดียวกัน พัฒนาการที่เกิดขึ้นในปากีสถานเมื่อวันพุธ(25) ก็เท่ากับเป็นการยุติปิดฉากแผนการใหญ่ทางการเมืองที่จัดทำขึ้นในปี 2007 โดยซาอุดีอาระเบีย, สหรัฐฯ, และอังกฤษ และได้ถูกนำมาดำเนินการจนกระทั่งมีการเลือกตั้งในปากีสถานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2008 โดยที่แผนการใหญ่ดังกล่าวนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ ที่จะให้มีจัดตั้งรัฐบาลสมานฉันท์ของบรรดาพรรคการเมืองแนวเสรีนิยมและไม่ยุ่งเกี่ยวกับศาสนาขึ้นมาในปากีสถาน เพื่อเป็นฐานสนับสนุนด้านมวลชนให้แก่ “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย”ที่นำโดยสหรัฐฯ
ขณะเดียวกัน ผลกระทบของพัฒนาการนี้ที่จะเกิดขึ้นกับอัฟกานิสถาน ก็จัดว่าอยู่ในระดับมหึมา
พัฒนาการที่เกิดขึ้นเมื่อวันพุธดังกล่าวนี้ คือการที่ศาลสูงสุดปากีสถานอ่านคำพิพากษาว่า ผู้นำฝ่ายค้าน นาวาซ ชารีฟ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคสันติบาตมุสลิมปากีสถานกลุ่มนาวาซ (Pakistan Muslim League Nawaz หรือ PML-N) และเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 2 สมัย ไม่สามารถที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาได้ สืบเนื่องจากในอดีตได้เคยถูกตัดสินว่ามีความผิดทางอาญา นอกจากนั้น ศาลยังได้ตัดสินให้เพิกถอนสิทธิการรับเลือกตั้งของชาร์บัซ ผู้เป็นน้องชายของนาวาซ และเวลานี้เป็นมุขมนตรีของรัฐบาลท้องถิ่นแห่งแคว้นปัญจาบ อันเป็นแคว้นที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดของปากีสถาน โดยคำพิพากษาสั่งให้ชาร์บัซลาออกจากตำแหน่งในทันที ทั้งนี้สืบเนื่องจากความผิดของเขาในเหตุการณ์จี้เครื่องบินเมื่อปี 1999
คำตัดสินของศาลสูงสุดคราวนี้ ถือได้ว่าเป็นการปูพื้นจัดเตรียมการสำหรับความปั่นป่วนวุ่นวายและความไม่สงบทางการเมือง ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาท้าทายอันใหญ่โตสำหรับคณะรัฐบาลที่มีอายุเพียง 1 ปี ของประธานาธิบดีอาซิฟ อาลี ซาร์ดารี ตลอดจนพรรคประชาชนปากีสถาน (Pakistan People’s party หรือ PPP) ของเขา
เพราะเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังข่าวการถูกถอนสิทธิการรับเลือกตั้งของพี่น้องชารีฟแพร่กระจายออกไป ก็เกิดการประท้วงอันรุนแรงตามท้องถนนในหลายๆ จุด จนบังคับให้รัฐบาลกลางต้องประกาศใช้ภาวะปกครองพิเศษในแคว้นปัญจาบเป็นเวลา 2 เดือน
ทางด้านสองพี่น้องชารีฟได้จัดการประชุมแถลงข่าวขึ้นที่บ้านไร่ของพวกเขาในตำบลไรวินด์ ใกล้ๆ กับเมืองละฮอร์ โดยพวกเขาประณามประธานาธิบดีซาร์ดารีว่า เป็นจอมบงการที่วางแผนกโลบายจนทำให้มีคำพิพากษานี้ออกมา พวกเขาบอกว่าเหตุผลก็คือ การที่พวกเขาสนับสนุนให้ดำเนินการคืนตำแหน่งแก่ อิฟติคาร์ โมฮัมหมัด เชาธรี อดีตผู้พิพากษาศาลสูงสุด ผู้ถูกปลดออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2007 ในยุคของคณะรัฐบาลประธานาธิบดี พล.อ.เปอร์เวซ มูชาร์รัฟ
ทั้งนี้ ภายหลังการสั่งปลดเชาธรี ก็มีพวกทนายความ นักกฎหมาย และผู้เห็นอกเห็นใจอื่นๆ พากันรวมตัวเคลื่อนไหวเพื่อให้คืนความเป็นธรรมแก่เชาธรี ตลอดจนผู้พิพากษาอื่นๆ อีกหลายคนที่ก็ถูกปลดออกจากตำแหน่งเช่นกัน โดยที่มีการกำหนดนัดหมายจัดการชุมนุมประท้วงใหญ่กันหลายๆ นัดในเดือนหน้านี้ คาดหมายกันว่าการชุมนุมประท้วงเหล่านี้อาจจะใหญ่โตยิ่งขึ้นกว่าเดิมอีก เมื่อวินิจฉัยจากเหตุการณ์ในวันพุธ ซึ่งพวกผู้ประท้วงทำให้แคว้นปัญจาบที่ทางพรรค พีเอ็มแอล-เอ็ม กุมอำนาจอยู่นั้น ถึงขั้นอยู่ในภาวะชะงักงันทีเดียว
นอกจากนั้น รัฐบาลกลางยังเผชิญศึกภายในจนเป็นที่สงสัยว่าจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติหรือไม่ กล่าวคือ พรรคอวามี เนชั่นแนล ปาร์ตี้ ซึ่งเป็นพรรคสำคัญพรรคหนึ่งในคณะรัฐบาลผสมที่นำโดยพรรคพีพีพี ได้ออกคำแถลงระบุว่า ไม่สามารถยอมรับคำพิพากษาของศาลสูงสุดคราวนี้ และทางพรรคจะยืนอยู่ข้างพรรคพีเอ็มแอล-เอ็น
ดัชนีหุ้นสำคัญของตลาดหลักทรัพย์การาจี ได้ร่วงลงมา 294.05 จุดหรือราว 5% ในวันพุธ โดยปิดที่ระดับ 5,580.78 ก่อนหน้าข่าวคำพิพากษาจะแพร่ออกมาซึ่งทำให้เกิดการเทขายอย่างตื่นตระหนกนั้น ดัชนีหุ้นยังอยู่ในแดนบวกประมาณ 1% อยู่เลย พวกเทรดเดอร์ท้องถิ่นยังคาดหมายกันว่าตลาดหุ้นน่าจะอยู่ในสภาพถูกกดดันให้ลงต่ำต่อไปอีกอย่างน้อยก็ในระยะสั้น เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะไร้เสถียรภาพทางการเมือง
**ผลกระทบถึงอัฟกานิสถาน**
สถานการณ์ในปากีสถานเช่นนี้ย่อมส่งผลกระทบอย่างหนักหน่วงต่ออัฟกานิสถาน พวกผู้ก่อความไม่สงบที่นำโดยขบวนการตอลิบานนั้น มีความจำเป็นอยู่มากทีเดียวที่จะต้องพึ่งพาอาศัยบรรดาที่มั่นของตนซึ่งตั้งอยู่ภายในดินแดนของปากีสถาน โดยที่บรรดาข้อตกลงหยุดยิงที่เพิ่งทำกันในพื้นที่ชาวชนเผ่าปากีสถาน ก็จะเปิดทางให้พวกตอลิบานสามารถเตรียมการได้อย่างชนิดไม่ถูกรบกวน เพื่อการโจมตีช่วงฤดูใบไม้ผลิในอัฟกานิสถาน ด้วยเหตุนี้เอง พวกตอลิบานจึงต้องการให้ความไม่แน่นอนทางการเมืองในปากีสถานเช่นนี้ดำรงต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เพราะจะทำให้รัฐบาลกลางต้องยอมปล่อยให้พวกเขาอยู่กันอย่างนี้ต่อไป
แต่ในอีกด้านหนึ่ง วอชิงตันย่อมจะมองความปั่นป่วนทางการเมืองในปากีสถานเช่นนี้ด้วยความหวั่นผวา และมีความเป็นไปได้ที่จะสนับสนุนฝ่ายทหารของปากีสถาน ให้ดำเนินการอะไรใหม่ๆ บางประการ อย่างน้อยที่สุดก็ในการจัดการกับพวกกองกำลังอิสลามหัวรุนแรง
เมื่อพิจารณาในแง่นี้แล้ว การไปเยือนวอชิงตันเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ของผู้บัญชาการทหารบก พล.อ. อัชฟัค ปาร์เวซ คิอานี ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ทรงความสำคัญยิ่งยวด โดยที่จวบจนถึงเวลานี้ เขาก็ยังคงประกาศวางตัวเป็นกลางในเรื่องราวทางการเมืองทั้งหลาย ทั้งนี้สหรัฐฯอาจจะพยายามบอกให้เขาคิดเห็นเป็นอย่างอื่นก็เป็นได้
ขณะเดียวกันในอัฟกานิสถานตอนนี้ องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) ได้ส่งทหารอีก 3,000 คนเพิ่มเข้าไปประจำการอยู่ในจังหวัดโลการ์ และจังหวัดวาร์ดัค ซึ่งป็นพื้นที่ไม่สงบ ส่วนประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯก็ได้ออกคำสั่งให้เพิ่มทหารสหรัฐฯอีก 17,000 คนเข้าไปปฏิบัติการในพื้นที่ภาคใต้ของอัฟกานิสถาน ประเทศอื่นๆ อาทิ อิตาลีและอังกฤษ ก็จะส่งทหารเข้ามาช่วยเพิ่มมากขึ้นด้วย รวมแล้วจำนวนทั้งหมดอาจจะไปถึงระดับ 90,000 คน หรือต่ำกว่าเพียง 30,000 คนจากระดับที่สหภาพโซเวียตเคยส่งเข้าไปในประเทศนี้เมื่อทศวรรษ 1980
อย่างไรก็ดี ดร.ฟาร์รุค ซาลีม ชาวปากีสถานซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์ ได้ชี้ให้เอเชียไทมส์ออนไลน์เห็นว่า ทหารในทุกวันนี้ “มีความเหนือกว่ากองทหาร 120,000 คนของโซเวียตเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการฝึกอบรม, อาวุธยุทโธปกรณ์, และยุทธศาสตร์”
กำลังทหารใหม่ๆ เหล่านี้จะถูกแบ่งสรรออก โดยส่วนหนึ่งจะไปประจำการยังจังหวัดต่างๆ ซึ่งอยู่รอบๆ กรุงคาบูล อันได้แก่ โลการ์, วาร์ดัค, และกราซนี สำหรับอีกส่วนหนึ่งจะไปประจำตามจังหวัดโคสต์, ปักเตีย, ปักติกา, คูนาร์, และนันการ์ฮาร์ โดยหน้าที่หลักคือการพยายามหยุดยั้งไม่ให้นักรบตอลิบานแทรกซึมจากปากีสถานเข้าไปในอัฟกานิสถาน
สำหรับพวกตอลิบานนั้นเชื่อว่า พวกเขามีนักรบมากเพียงพอแล้วเพื่อทำให้พื้นที่รอบๆ คาบูลยังคงร้อนรุ่มต่อไป นอกจากนั้นพวกเขายังตั้งใจที่จะเพิ่มกองกำลังไปยังพื้นที่ 2 แห่ง ได้แก่ เขตไคเบอร์ของปากีสถาน เพื่อที่จะเปิดการโจมตีขบวนลำเลียงของนาโต้ต่อไป, และอีกแห่งหนึ่ง คือ จังหวัดเฮลมานด์ ในอัฟกานิสถาน
บุคคลที่เอเชียไทมส์ออนไลน์ติดต่อด้วยหลายรายเล่าว่า นักรบชาวปากีสถานที่จะเข้าร่วมกับตอลิบานนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากพื้นที่ชนเผ่าของเขตเซาธ์วาซิริสถาน และจะเคลื่อนย้ายยกกันไปยังเขตการ์มเซอร์ ของจังหวัดเฮลมานด์ บริเวณดังกล่าวนี้จัดเป็นพื้นที่ซึ่งไร้ความสะดวกสบายอย่างที่สุด และการที่กองทหารนาโต้จะไปตั้งประจำทางภาคพื้นดินอย่างถาวรก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย
จากเฮลมานด์ กองกำลังนักรบปากีสถานก็จะถูกส่งต่อไปยังจังหวัดนิมรอซ และจังหวัดเฮรัต ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถาน จังหวัดฟาราห์ ซึ่งตั้งอยู่ในแถบเดียวกัน เวลานี้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของตอลิบานเรียบร้อยแล้ว และตอลิบานยังมักเล็ดลอดเข้าไปในนิมรอซและเฮรัต เพื่อเปิดการโจมตีทหารนาโต้
ภารกิจที่เพิ่มเติมขึ้นมาในปีนี้ ได้แก่การรวมศูนย์เข้าไปโจมตีก่อกวนเส้นทางลำเลียงของนาโต้ ไม่ว่าพวกเขาจะเข้าสู่อัฟกานิสถานจากทางปากีสถาน, อิหร่าน, หรือพวกประเทศทางเอเชียกลาง
ในท่ามกลางการต่อสู้ช่วงชิงกันเหล่านี้ การตัดสินใจที่จะเกิดขึ้นในกรุงอิสลามาบัดในช่วงเวลาสองสามวันหรือสองสามสัปดาห์ข้างหน้า ย่อมจะมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เฉกเช่นเดียวกับเรื่องที่ว่าฝ่ายทหารของปากีสถานนั้นจะตัดสินใจกระโจนไปทางไหน
ไซเอด ซาลีม ชาห์ซาด เป็นหัวหน้าสำนักงานปากีสถานของเอเชียไทมส์ออนไลน์ สามารถที่จะติดต่อกับเขาได้ทางอีเมล์ saleem_sharzad2002@yahoo.com