(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Goodbye Musharraf, hello Taliban
By Syed Saleem Shahzad
20/08/2008
ทหารฝรั่งเศส 10 คนถูกดักซุ่มตีเสียชีวิต ขณะที่ค่ายทหารสหรัฐฯแห่งหนึ่งก็ถูกโจมตีอย่างดุเดือด ราวกับเป็นหลักฐานยืนยันสนับสนุนคำเตือนล่าสุดที่สำนักศึกษาวิจัยทรงอิทธิพลเพิ่งเผยแพร่ออกมา ซึ่งระบุว่า ความพยายามในการปิดล้อมจำกัดการก่อความไม่สงบที่นำโดยพวกตอลิบานในอัฟกานิสถานนั้น กำลังประสบความล้มเหลว รากเหง้าของปัญหานี้สามารถสาวไปจนถึงปากีสถาน ประเทศซึ่งในช่วงเวลาแห่งการดูแลของผู้นำนิยมตะวันตกอย่างเปอร์เวซ มูชาร์รัฟ กลับเป็นช่วงเวลาที่พวกนักรบนิยมความรุนแรงสามารถตั้งหลักวางเท้าได้อย่างมั่นคง ยิ่งเมื่ออดีตประธานาธิบดีผู้นี้ลาจากไปแล้ว และรัฐบาลกรุงอิสลามาบัดในทางเป็นจริงก็กำลังอยู่ในภาวะอัมพาต พวกนักรบจึงมีแต่จะยิ่งเข้มแข็งขึ้นเท่านั้น
การาจี – ราวกับเป็นการวางแผนตระเตรียมเอาไว้อย่างเหมาะเหม็ง พวกตอลิบานได้เปิดฉากการโจมตีอย่างห้าวหาญที่สุดของพวกเขา 2 ครั้งในอัฟกานิสถาน ในวันเดียวกับที่ เปอร์เวซ มูชาร์รัฟ ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งปากีสถาน โดยที่การทิ้งเก้าอี้ของเขากำลังกลายเป็นการสร้างสุญญากาศทางการเมืองขึ้นในประเทศนี้ และกำลังก่อให้เกิดความข้องใจสงสัยว่า ปากีสถานยังจะให้ความร่วมมือใน “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” ของสหรัฐฯต่อไปหรือไม่
กองกำลังตอลิบานมากกว่า 100 คน ได้ดักซุ่มตีทหารฝรั่งเศสที่กำลังอยู่ระหว่างการลาดตระเวน ร่วมกับทหารกองทัพบกแห่งชาติของอัฟกานิสถาน ณ เขตเมืองซาโรบี ซึ่งอยู่ห่างไปทางใต้ของเมืองหลวงคาบูลเพียงแค่ 50 กิโลเมตร สังหารชีวิตทหารฝรั่งเศสไป 10 คน และทำให้บาดเจ็บอีก 21 คน ในการทำศึกที่เดือดพล่านยาวนานกว่า 12 ชั่วโมง ฝรั่งเศสนั้นมีทหารอยู่ในอัฟกานิสถาน 2,600 คน แทบทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังสนับสนุนความมั่นคงระหว่างประเทศ (International Security Assistance Force หรือ ISAF) และนับแต่ส่งทหารไปยังประเทศนั้นเมื่อปี 2002 ฝรั่งเศสสูญเสียกำลังพลทั้งจากการปฏิบัติการรบและอุบัติเหตุต่างๆ รวมแล้ว 24 คน
สำหรับอีกเหตุการณ์หนึ่งนั้น ได้เกิดการโจมตีด้วยระเบิดรถยนต์หลายๆ คัน ในบริเวณรอบๆ ค่ายซาเลอร์โน อันเป็นฐานทัพใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของสหรัฐฯในอัฟกานิสถาน และตั้งอยู่ในจังหวัดโคสต์ ห่างจากพรมแดนปากีสถานราว 20 กิโลเมตร โดยฤทธิ์ระเบิดทำให้ชาวอัฟกันเสียชีวิตไป 10 คน และบาดเจ็บอีก 13 คน กองกำลังไอเอสเอเอฟแถลงว่า พวกผู้ก่อความไม่สงบได้ถูกฆ่าไป 7 คน ในจำนวนนี้เป็นพวกมือระเบิดฆ่าตัวตาย 6 คน พร้อมกันนั้นก็ปฏิเสธรายงานข่าวจากฝ่ายตอลิบานที่ว่า พวกเขาสามารถสังหารทหารอเมริกันไปได้ 40 คน
นอกจากนั้นในเขตประเทศปากีสถาน เมื่อวันอังคาร(19)พวกตอลิบานก็ได้เข้าโจมตีป้อมแห่งหนึ่งในเขตบาจาอูร์ เอเยนซี สังหารพวกหน่วยรักษาความปลอดภัยเสียชีวิตไปหลายคน อีกทั้งมีการโจมตีแบบฆ่าตัวตัวในพื้นที่ เดรา อิสมาอิล ข่าน ซึ่งอยู่ในแคว้นพรมแดนตะวันตกเฉียงเหนือ (North-West Frontier Province หรือ NWFP) โดยพุ่งเป้าไปยังการชุมนุมกันของพวกมุสลิมนิกายชิอะห์ ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ซึ่งในจำนวนนี้บางคนก็เป็นตำรวจ
เหตุการณ์เหล่านี้ต่างเป็นเครื่องตอกย้ำให้เห็นถึงอิทธิพลบารมีที่กำลังเพิ่มทวีขึ้นของพวกผู้ก่อความไม่สงบที่นำโดยตอลิบานในอัฟกานิสถาน ตลอดจนความเข้มแข็งของพวกนักรบนิยมความรุนแรงในเขตแดนของปากีสถาน
ทั่วทั้งแคว้น NWFP ยกเว้นเฉพาะพื้นที่หุบเขาเปชาวาร์ กำลังตกอยู่ในมือของพวกนักรบแล้ว และบรรดาบุคคลที่เอเชียไทมส์ออนไลน์ติดต่อด้วย ต่างยืนยันว่า หน่วยบัญชาการของพวกอัลกออิดะห์ในหลายๆ พื้นที่ชนเผ่าในวาซิริสถาน ก็ได้วางแผนการที่จะเพิ่มระดับการโจมตีทั้งในปากีสถานและอัฟกานิสถาน เพื่อปลุกเร้ามวลชน และฉวยใช้ประโยชน์จากสภาพสับสนวุ่นวายของทางการอิสลามาบัดในเวลานี้ ภายหลังการจากไปของมูชาร์รัฟ
พวกที่เอเชียไทมส์ออนไลน์ติดต่อด้วยที่อยู่ในแวดวงต่างๆ ทางยุทธศาสตร์ของปากีสถาน ต่างมีความคิดเห็นว่า ปฏิบัติการของพวกนักรบหัวรุนแรงที่เกิดขึ้นเช่นนี้ เป็นปฏิกิริยาตอบโต้การประชุมเมื่อเร็วๆ นี้ของคณะกรรมการสามฝ่ายในกรุงคาบูล ที่ประกอบด้วยผู้แทนจากองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้), กองทัพบกอัฟกัน, และกองทัพบกปากีสถาน ทั้งนี้ในการประชุมคราวนั้น ได้มีการจัดทำแผนการร่วมมือประสานงานกันเพื่อจัดการกับพวกนักรบหัวรุนแรงตลอดทั่วทั้งอาณาบริเวณนี้ ดังนั้นพวกนักรบจึงต้องการตอบโต้ด้วยการเพิ่มการโจมตีในปากีสถาน เพื่อบังคับให้อิสลามาบัดต้องลดการร่วมมือประสานงานในการต่อสู้ดังกล่าว ซึ่งจุดมุ่งหมายคือการเล่นงานกลุ่มตอลิบานและอัลกออิดะห์
เรื่องที่ต้องถือว่าสำคัญมากก็คือ ระลอกความรุนแรงที่เพิ่มทวีขึ้นล่าสุดคราวนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอัฟกานิสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดขึ้นในเขตวาร์ดาค ที่อยู่ห่างกรุงคาบูลไปทางตะวันออก 30 กิโลเมตร และในเขตซาโรบี ไม่ได้เป็นฝีมือของพวกหน่วยจรยุทธ์ของตอลิบานเพียงลำพัง แต่ยังมีพวกหัวหน้าชนเผ่าในท้องถิ่น, พวกนักการศาสนา, และเหล่าขุนศึกท้องถิ่น ซึ่งเมื่อก่อนเคยยอมรับฟังคำสั่งของรัฐบาลคาบูล ได้หันมาจับมือสามัคคีกันภายใต้ชื่อสามัญร่วมกันว่า “ตอลิบาน”นี่แหละ ด้วยความมุ่งหมายที่จะขับไล่กองทหารต่างชาติที่กำลังเข้ามายึดครองดินแดนอัฟกานิสถาน
เซนลิส เคาน์ซิล (Senlis Council) หน่วยงานระหว่างประเทศซึ่งทำการศึกษาวิจัยทางด้านนโยบาย ที่ได้รับความเชื่อถืออย่างสูง ได้กล่าวไว้ในคำแถลงฉบับหนึ่งเมื่อวันพุธ(20)ว่า ความพยายามระหว่างประเทศที่จะปิดล้อมจำกัดการก่อความไม่สงบของพวกตอลิบานในอัฟกานิสถานนั้น กำลังประสบความล้มเหลว และจำเป็นต้องมีการเสริมกำลังให้เข้มแข็งมากขึ้น การสู้รบล่าสุดที่กำลังเกิดขึ้นมา “คือการส่งข้อความอันชัดเจนว่า ยุทธศาสตร์ของฝ่ายตะวันตกในอัฟกานิสถานในเวลานี้กำลังประสบความล้มเหลว” หน่วยงานแห่งนี้กล่าว
“จวบจนถึงเวลานี้ พวกผู้นำฝ่ายตะวันตกยังคงอยู่ในอาการปฏิเสธไม่ยอมรับระดับและขนาดการดำรงอยู่ที่แท้จริงของพวกตอลิบานในอัฟกานิสถาน ตลอดจนขีดความสามารถของพวกตอลิบานในการเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วต่อเมืองหลวงของอัฟกัน” เซนลิส เคาน์ซิลกล่าว นอกจากนั้นยังเสนอด้วยว่า นาโต้ซึ่งปัจจุบันมีกำลังทหารจากชาติต่างๆ รวมประมาณ 53,000 คนอยู่ในประเทศนี้ ควรที่จะเพิ่มกำลังขึ้นไปเป็น 80,000 คน
** สุญญากาศในปากีสถาน **
นี่คือสถานการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยที่เป็นอยู่ ภายหลังช่วงเวลาเกือบ 9 ปีแห่งการปฏิบัติตน (หรือที่บางคนอยากจะพูดมากกว่าว่า การไม่ปฏิบัติตน) เป็นหัวหมู่ทะลวงฟันของมูชาร์รัฟ ใน “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” ทั้งในฐานะประธานาธิบดีและในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกของปากีสถาน
ทิศทางที่ปากีสถานจะก้าวเดินไปในช่วงระยะเริ่มต้นแห่งยุคหลังมูชาร์รัฟ ย่อมจะต้องมีผลอย่างสำคัญยิ่งยวดทั้งต่อการก่อความไม่สงบที่นำโดยตอลิบานในอัฟกานิสถาน และต่อการขยายตัวของพวกนักรบนิยมความรุนแรงในปากีสถานเอง ประธานาธิบดีปากีสถานคนใหม่ไม่จำเป็นว่าจะต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ในเมื่อตำแหน่งนี้ในปัจจุบันมีอำนาจหน้าที่ส่วนใหญ่ไปในทางพิธีการเสียมากกว่า ตรงกันข้าม กองทัพและรัฐบาลพลเรือนของปากีสถานนั่นแหละจะเป็นผู้ตัดสินทิศทางของประเทศในเรื่องนี้
ทว่าหลังจากมูชาร์รัฟออกไปจากทำเนียบประธานาธิบดียังไม่ทันครบ 24 ชั่วโมง ความขัดแย้งตึงเครียดก็ปรากฏโฉมขึ้นมาให้เห็นอีกครั้งหนึ่งเสียแล้ว โดยเป็นความไม่ลงรอยกันของพวกพรรคการเมืองแกนนำในคณะรัฐบาลผสม นั่นคือ ระหว่างพรรคประชาชนปากีสถาน (Pakistan People’s Party หรือ PPP) ของอดีตนายกรัฐมนตรีหญิง เบนาซีร์ บุตโต ที่ถูกลอบสังหาร กับพรรคสันติบาตมุสลิมปากีสถานฝ่ายนาวาซ (Pakistan Muslim League – Nawaz หรือ PML-N) ที่นำโดย นาวาซ ชาริฟ อดีตนายกรัฐมนตรีอีกผู้หนึ่ง
พรรคการเมืองเหล่านี้ได้เคยเก็บงำความแตกต่างขัดแย้งของพวกเขาเอาไว้ชั่วคราว ด้วยความต้องการที่จะเล่นงานกำจัดมูชาร์รัฟ ทว่าบัดนี้ปัญหาเหล่านี้ได้หวนกลับขึ้นมาอีกคำรบหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องการคืนตำแหน่งและเกียรติยศให้แก่พวกผู้พิพากษาอาวุโส ที่ถูกมูชาร์รัฟสั่งปลดจากตำแหน่งไปในปีที่แล้ว เพื่อรับประกันให้ตัวเขาเองได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีอีกสมัยหนึ่ง โดยไม่ถูกขัดขวางจากฝ่ายตุลาการ
ชาริฟนั้นหมกหมุ่นอยู่กับเรื่องการคืนตำแหน่งให้แก่เหล่าตุลาการนี้อย่างมาก โดยที่หนึ่งในผู้ที่จะต้องได้รับการกอบกู้เกียรติยศ ก็คือ อดีตประธานศาลสูงสุด อิฟติคาร์ เชาธรี ทั้งนี้เรื่องนี้เป็นหนึ่งในคำมั่นสัญญาหลักของเขาระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเมื่อต้นปีนี้ทีเดียว
ทว่า อาซิฟ ซาร์ดารี สามีหม้ายของเบนาซีร์ บุตโต ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคพีพีพีอยู่ในเวลานี้ ได้แจ้งต่อชาริฟว่า เขาไม่ไว้วางใจเชาธรี เนื่องจากซาร์ดารีมีความกังวลว่า เชาธรีเมื่อกลับคืนตำแหน่งแล้วจะใช้อำนาจฝ่ายตุลาการยกเลิกกฤษฎีกาว่าด้วยการปรองดองชาติ (National Reconciliation Ordinance) ซึ่งเป็นตัวบทกฎหมายที่คุ้มครองเขาไม่ให้ต้องถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาทุจริตคอร์รัปชั่น ตามที่ได้มีการฟ้องร้องเขาไว้แล้วทั้งในศาลปากีสถานและศาลระหว่างประเทศ
ขณะเดียวกัน ซาร์ดารียังมุ่งหมายที่จะผลักดันให้รัฐสภาผ่านกฎหมายคุ้มครองไม่ให้มีการฟ้องร้องกล่าวโทษใดๆ ต่อมูชาร์รัฟ ทว่าสิ่งนี้คือสิ่งสุดท้ายที่ชาริฟจะยินยอมเห็นพ้องด้วย
เวลานี้ขบวนการนักกฏหมาย ซึ่งผงาดขึ้นมาเมื่อตอนที่ฝ่ายตุลาการถูกมูชาร์รัฟข่มเหงนั้น กำลังคุกคามที่จะจัดการประท้วงให้เข้มข้นขึ้นอีก เพื่อเร่งให้มีการฟื้นตำแหน่งแก่เหล่าผู้พิพากษาโดยเร็ว และขบวนการนี้ก็กำลังเติบโตกลายเป็นพลังที่มีอิทธิพลบารมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
รัฐบาลผสมชุดปัจจุบันของปากีสถาน จึงเป็นรัฐบาลที่ไร้ความสามัคคีกันอย่างชัดเจน และรังแต่จะต้องประสบกับการขัดแย้งบาดหมางกันและการตกอยู่ในสภาพอัมพาตทำอะไรไม่ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด อันเป็นสถานการณ์ซึ่งพวกนักรบหัวรุนแรงจะสามารถฉวยใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มเหนี่ยว เหมือนดังที่พวกเขากระทำอยู่แล้วนับแต่ที่มูชาร์รัฟต้องยอมประกาศถอดเครื่องแบบทหารลงจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
ยุทธวิธีสำคัญที่สุดประการหนึ่งของพวกนักรบอิสลาม ได้แก่ การฉวยใช้ประโยชน์จากสุญญากาศทางการเมือง, วิกฤตทางเศรษฐกิจ ตลอดจนปัญหาอื่นๆ เพื่อมุ่งผลักดันให้ประเทศเคลื่อนข้าสู่ความแตกแยก
ในปากีสถานและอัฟกานิสถานนั้น กระบวนการเช่นว่านี้กำลังเกิดขึ้นอยู่แล้ว ในกรณีของซาร์ดารี การให้อภัยโทษเขาด้วยอำนาจกฤษฎีกาประธานาธิบดีอาจถูกศาลพิพากษาตัดสินให้เพิกถอนได้ และอาชีพทางการเมืองของเขาก็จะต้องสิ้นสุดลง ส่วนในกรุงคาบูล ประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ก็ยังอยู่รอดมาได้เพียงเพราะพึ่งพากองทหารต่างชาติที่เข้ามาตั้งอยู่ในประเทศ โดยที่อำนาจปกครองของเขาขยายไปได้แทบไม่พ้นจากเขตกรุงคาบูล ถ้าหากพวกนักรบใช้ความพยายามอย่างหนักในการเสนอตัวด้วยลักษณาการที่ขคำนึงถึงมวลชนอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว มันก็จะกลายเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ทว่าไม่ใช่ในหนทางที่ฝ่ายตะวันตกปรารถนา
“สุญญากาศทั้งทางสังคม, การเมือง, และเศรษฐกิจนานาประเภท ต่างการขยายใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ ในบรรดาสังคมมุสลิม โดยที่มีความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์อยู่ว่า ในโลกมุสลิมนั้น ปฏิกิริยาต่อสถานการณ์ดังกล่าวนี้มักแผ่กระจายออกมาจากบรรดาขบวนการที่นำโดยพลังทางศาสนา” ปัญญาชนมุสลิมชาวปากีสถาน ชาห์นาวาซ ฟารูกุย ผู้เขียนหนังสือว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างอิสลามกับโลกตะวันตกมาแล้ว 3 เล่ม บอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์
การก่อความไม่สงบที่นำโดยตอลิบานในอัฟกานิสถาน ตลอดจนการปรากฏที่มั่นของพวกนักรบหัวรุนแรงขึ้นตามพื้นที่ต่างๆ ของปากีสถาน ดูเหมือนจะเป็นหลักฐานพิสูจน์แนวความคิดนี้
ไซเอด ซาลีม ชาห์ซาด เป็นหัวหน้าสำนักงานปากีสถานของเอเชียไทมส์ออนไลน์ สามารถติดต่อกับเขาได้ที่ saleem_shahzad2002@yahoo.com
Goodbye Musharraf, hello Taliban
By Syed Saleem Shahzad
20/08/2008
ทหารฝรั่งเศส 10 คนถูกดักซุ่มตีเสียชีวิต ขณะที่ค่ายทหารสหรัฐฯแห่งหนึ่งก็ถูกโจมตีอย่างดุเดือด ราวกับเป็นหลักฐานยืนยันสนับสนุนคำเตือนล่าสุดที่สำนักศึกษาวิจัยทรงอิทธิพลเพิ่งเผยแพร่ออกมา ซึ่งระบุว่า ความพยายามในการปิดล้อมจำกัดการก่อความไม่สงบที่นำโดยพวกตอลิบานในอัฟกานิสถานนั้น กำลังประสบความล้มเหลว รากเหง้าของปัญหานี้สามารถสาวไปจนถึงปากีสถาน ประเทศซึ่งในช่วงเวลาแห่งการดูแลของผู้นำนิยมตะวันตกอย่างเปอร์เวซ มูชาร์รัฟ กลับเป็นช่วงเวลาที่พวกนักรบนิยมความรุนแรงสามารถตั้งหลักวางเท้าได้อย่างมั่นคง ยิ่งเมื่ออดีตประธานาธิบดีผู้นี้ลาจากไปแล้ว และรัฐบาลกรุงอิสลามาบัดในทางเป็นจริงก็กำลังอยู่ในภาวะอัมพาต พวกนักรบจึงมีแต่จะยิ่งเข้มแข็งขึ้นเท่านั้น
การาจี – ราวกับเป็นการวางแผนตระเตรียมเอาไว้อย่างเหมาะเหม็ง พวกตอลิบานได้เปิดฉากการโจมตีอย่างห้าวหาญที่สุดของพวกเขา 2 ครั้งในอัฟกานิสถาน ในวันเดียวกับที่ เปอร์เวซ มูชาร์รัฟ ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งปากีสถาน โดยที่การทิ้งเก้าอี้ของเขากำลังกลายเป็นการสร้างสุญญากาศทางการเมืองขึ้นในประเทศนี้ และกำลังก่อให้เกิดความข้องใจสงสัยว่า ปากีสถานยังจะให้ความร่วมมือใน “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” ของสหรัฐฯต่อไปหรือไม่
กองกำลังตอลิบานมากกว่า 100 คน ได้ดักซุ่มตีทหารฝรั่งเศสที่กำลังอยู่ระหว่างการลาดตระเวน ร่วมกับทหารกองทัพบกแห่งชาติของอัฟกานิสถาน ณ เขตเมืองซาโรบี ซึ่งอยู่ห่างไปทางใต้ของเมืองหลวงคาบูลเพียงแค่ 50 กิโลเมตร สังหารชีวิตทหารฝรั่งเศสไป 10 คน และทำให้บาดเจ็บอีก 21 คน ในการทำศึกที่เดือดพล่านยาวนานกว่า 12 ชั่วโมง ฝรั่งเศสนั้นมีทหารอยู่ในอัฟกานิสถาน 2,600 คน แทบทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังสนับสนุนความมั่นคงระหว่างประเทศ (International Security Assistance Force หรือ ISAF) และนับแต่ส่งทหารไปยังประเทศนั้นเมื่อปี 2002 ฝรั่งเศสสูญเสียกำลังพลทั้งจากการปฏิบัติการรบและอุบัติเหตุต่างๆ รวมแล้ว 24 คน
สำหรับอีกเหตุการณ์หนึ่งนั้น ได้เกิดการโจมตีด้วยระเบิดรถยนต์หลายๆ คัน ในบริเวณรอบๆ ค่ายซาเลอร์โน อันเป็นฐานทัพใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของสหรัฐฯในอัฟกานิสถาน และตั้งอยู่ในจังหวัดโคสต์ ห่างจากพรมแดนปากีสถานราว 20 กิโลเมตร โดยฤทธิ์ระเบิดทำให้ชาวอัฟกันเสียชีวิตไป 10 คน และบาดเจ็บอีก 13 คน กองกำลังไอเอสเอเอฟแถลงว่า พวกผู้ก่อความไม่สงบได้ถูกฆ่าไป 7 คน ในจำนวนนี้เป็นพวกมือระเบิดฆ่าตัวตาย 6 คน พร้อมกันนั้นก็ปฏิเสธรายงานข่าวจากฝ่ายตอลิบานที่ว่า พวกเขาสามารถสังหารทหารอเมริกันไปได้ 40 คน
นอกจากนั้นในเขตประเทศปากีสถาน เมื่อวันอังคาร(19)พวกตอลิบานก็ได้เข้าโจมตีป้อมแห่งหนึ่งในเขตบาจาอูร์ เอเยนซี สังหารพวกหน่วยรักษาความปลอดภัยเสียชีวิตไปหลายคน อีกทั้งมีการโจมตีแบบฆ่าตัวตัวในพื้นที่ เดรา อิสมาอิล ข่าน ซึ่งอยู่ในแคว้นพรมแดนตะวันตกเฉียงเหนือ (North-West Frontier Province หรือ NWFP) โดยพุ่งเป้าไปยังการชุมนุมกันของพวกมุสลิมนิกายชิอะห์ ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ซึ่งในจำนวนนี้บางคนก็เป็นตำรวจ
เหตุการณ์เหล่านี้ต่างเป็นเครื่องตอกย้ำให้เห็นถึงอิทธิพลบารมีที่กำลังเพิ่มทวีขึ้นของพวกผู้ก่อความไม่สงบที่นำโดยตอลิบานในอัฟกานิสถาน ตลอดจนความเข้มแข็งของพวกนักรบนิยมความรุนแรงในเขตแดนของปากีสถาน
ทั่วทั้งแคว้น NWFP ยกเว้นเฉพาะพื้นที่หุบเขาเปชาวาร์ กำลังตกอยู่ในมือของพวกนักรบแล้ว และบรรดาบุคคลที่เอเชียไทมส์ออนไลน์ติดต่อด้วย ต่างยืนยันว่า หน่วยบัญชาการของพวกอัลกออิดะห์ในหลายๆ พื้นที่ชนเผ่าในวาซิริสถาน ก็ได้วางแผนการที่จะเพิ่มระดับการโจมตีทั้งในปากีสถานและอัฟกานิสถาน เพื่อปลุกเร้ามวลชน และฉวยใช้ประโยชน์จากสภาพสับสนวุ่นวายของทางการอิสลามาบัดในเวลานี้ ภายหลังการจากไปของมูชาร์รัฟ
พวกที่เอเชียไทมส์ออนไลน์ติดต่อด้วยที่อยู่ในแวดวงต่างๆ ทางยุทธศาสตร์ของปากีสถาน ต่างมีความคิดเห็นว่า ปฏิบัติการของพวกนักรบหัวรุนแรงที่เกิดขึ้นเช่นนี้ เป็นปฏิกิริยาตอบโต้การประชุมเมื่อเร็วๆ นี้ของคณะกรรมการสามฝ่ายในกรุงคาบูล ที่ประกอบด้วยผู้แทนจากองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้), กองทัพบกอัฟกัน, และกองทัพบกปากีสถาน ทั้งนี้ในการประชุมคราวนั้น ได้มีการจัดทำแผนการร่วมมือประสานงานกันเพื่อจัดการกับพวกนักรบหัวรุนแรงตลอดทั่วทั้งอาณาบริเวณนี้ ดังนั้นพวกนักรบจึงต้องการตอบโต้ด้วยการเพิ่มการโจมตีในปากีสถาน เพื่อบังคับให้อิสลามาบัดต้องลดการร่วมมือประสานงานในการต่อสู้ดังกล่าว ซึ่งจุดมุ่งหมายคือการเล่นงานกลุ่มตอลิบานและอัลกออิดะห์
เรื่องที่ต้องถือว่าสำคัญมากก็คือ ระลอกความรุนแรงที่เพิ่มทวีขึ้นล่าสุดคราวนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอัฟกานิสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดขึ้นในเขตวาร์ดาค ที่อยู่ห่างกรุงคาบูลไปทางตะวันออก 30 กิโลเมตร และในเขตซาโรบี ไม่ได้เป็นฝีมือของพวกหน่วยจรยุทธ์ของตอลิบานเพียงลำพัง แต่ยังมีพวกหัวหน้าชนเผ่าในท้องถิ่น, พวกนักการศาสนา, และเหล่าขุนศึกท้องถิ่น ซึ่งเมื่อก่อนเคยยอมรับฟังคำสั่งของรัฐบาลคาบูล ได้หันมาจับมือสามัคคีกันภายใต้ชื่อสามัญร่วมกันว่า “ตอลิบาน”นี่แหละ ด้วยความมุ่งหมายที่จะขับไล่กองทหารต่างชาติที่กำลังเข้ามายึดครองดินแดนอัฟกานิสถาน
เซนลิส เคาน์ซิล (Senlis Council) หน่วยงานระหว่างประเทศซึ่งทำการศึกษาวิจัยทางด้านนโยบาย ที่ได้รับความเชื่อถืออย่างสูง ได้กล่าวไว้ในคำแถลงฉบับหนึ่งเมื่อวันพุธ(20)ว่า ความพยายามระหว่างประเทศที่จะปิดล้อมจำกัดการก่อความไม่สงบของพวกตอลิบานในอัฟกานิสถานนั้น กำลังประสบความล้มเหลว และจำเป็นต้องมีการเสริมกำลังให้เข้มแข็งมากขึ้น การสู้รบล่าสุดที่กำลังเกิดขึ้นมา “คือการส่งข้อความอันชัดเจนว่า ยุทธศาสตร์ของฝ่ายตะวันตกในอัฟกานิสถานในเวลานี้กำลังประสบความล้มเหลว” หน่วยงานแห่งนี้กล่าว
“จวบจนถึงเวลานี้ พวกผู้นำฝ่ายตะวันตกยังคงอยู่ในอาการปฏิเสธไม่ยอมรับระดับและขนาดการดำรงอยู่ที่แท้จริงของพวกตอลิบานในอัฟกานิสถาน ตลอดจนขีดความสามารถของพวกตอลิบานในการเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วต่อเมืองหลวงของอัฟกัน” เซนลิส เคาน์ซิลกล่าว นอกจากนั้นยังเสนอด้วยว่า นาโต้ซึ่งปัจจุบันมีกำลังทหารจากชาติต่างๆ รวมประมาณ 53,000 คนอยู่ในประเทศนี้ ควรที่จะเพิ่มกำลังขึ้นไปเป็น 80,000 คน
** สุญญากาศในปากีสถาน **
นี่คือสถานการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยที่เป็นอยู่ ภายหลังช่วงเวลาเกือบ 9 ปีแห่งการปฏิบัติตน (หรือที่บางคนอยากจะพูดมากกว่าว่า การไม่ปฏิบัติตน) เป็นหัวหมู่ทะลวงฟันของมูชาร์รัฟ ใน “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” ทั้งในฐานะประธานาธิบดีและในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกของปากีสถาน
ทิศทางที่ปากีสถานจะก้าวเดินไปในช่วงระยะเริ่มต้นแห่งยุคหลังมูชาร์รัฟ ย่อมจะต้องมีผลอย่างสำคัญยิ่งยวดทั้งต่อการก่อความไม่สงบที่นำโดยตอลิบานในอัฟกานิสถาน และต่อการขยายตัวของพวกนักรบนิยมความรุนแรงในปากีสถานเอง ประธานาธิบดีปากีสถานคนใหม่ไม่จำเป็นว่าจะต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ในเมื่อตำแหน่งนี้ในปัจจุบันมีอำนาจหน้าที่ส่วนใหญ่ไปในทางพิธีการเสียมากกว่า ตรงกันข้าม กองทัพและรัฐบาลพลเรือนของปากีสถานนั่นแหละจะเป็นผู้ตัดสินทิศทางของประเทศในเรื่องนี้
ทว่าหลังจากมูชาร์รัฟออกไปจากทำเนียบประธานาธิบดียังไม่ทันครบ 24 ชั่วโมง ความขัดแย้งตึงเครียดก็ปรากฏโฉมขึ้นมาให้เห็นอีกครั้งหนึ่งเสียแล้ว โดยเป็นความไม่ลงรอยกันของพวกพรรคการเมืองแกนนำในคณะรัฐบาลผสม นั่นคือ ระหว่างพรรคประชาชนปากีสถาน (Pakistan People’s Party หรือ PPP) ของอดีตนายกรัฐมนตรีหญิง เบนาซีร์ บุตโต ที่ถูกลอบสังหาร กับพรรคสันติบาตมุสลิมปากีสถานฝ่ายนาวาซ (Pakistan Muslim League – Nawaz หรือ PML-N) ที่นำโดย นาวาซ ชาริฟ อดีตนายกรัฐมนตรีอีกผู้หนึ่ง
พรรคการเมืองเหล่านี้ได้เคยเก็บงำความแตกต่างขัดแย้งของพวกเขาเอาไว้ชั่วคราว ด้วยความต้องการที่จะเล่นงานกำจัดมูชาร์รัฟ ทว่าบัดนี้ปัญหาเหล่านี้ได้หวนกลับขึ้นมาอีกคำรบหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องการคืนตำแหน่งและเกียรติยศให้แก่พวกผู้พิพากษาอาวุโส ที่ถูกมูชาร์รัฟสั่งปลดจากตำแหน่งไปในปีที่แล้ว เพื่อรับประกันให้ตัวเขาเองได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีอีกสมัยหนึ่ง โดยไม่ถูกขัดขวางจากฝ่ายตุลาการ
ชาริฟนั้นหมกหมุ่นอยู่กับเรื่องการคืนตำแหน่งให้แก่เหล่าตุลาการนี้อย่างมาก โดยที่หนึ่งในผู้ที่จะต้องได้รับการกอบกู้เกียรติยศ ก็คือ อดีตประธานศาลสูงสุด อิฟติคาร์ เชาธรี ทั้งนี้เรื่องนี้เป็นหนึ่งในคำมั่นสัญญาหลักของเขาระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเมื่อต้นปีนี้ทีเดียว
ทว่า อาซิฟ ซาร์ดารี สามีหม้ายของเบนาซีร์ บุตโต ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคพีพีพีอยู่ในเวลานี้ ได้แจ้งต่อชาริฟว่า เขาไม่ไว้วางใจเชาธรี เนื่องจากซาร์ดารีมีความกังวลว่า เชาธรีเมื่อกลับคืนตำแหน่งแล้วจะใช้อำนาจฝ่ายตุลาการยกเลิกกฤษฎีกาว่าด้วยการปรองดองชาติ (National Reconciliation Ordinance) ซึ่งเป็นตัวบทกฎหมายที่คุ้มครองเขาไม่ให้ต้องถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาทุจริตคอร์รัปชั่น ตามที่ได้มีการฟ้องร้องเขาไว้แล้วทั้งในศาลปากีสถานและศาลระหว่างประเทศ
ขณะเดียวกัน ซาร์ดารียังมุ่งหมายที่จะผลักดันให้รัฐสภาผ่านกฎหมายคุ้มครองไม่ให้มีการฟ้องร้องกล่าวโทษใดๆ ต่อมูชาร์รัฟ ทว่าสิ่งนี้คือสิ่งสุดท้ายที่ชาริฟจะยินยอมเห็นพ้องด้วย
เวลานี้ขบวนการนักกฏหมาย ซึ่งผงาดขึ้นมาเมื่อตอนที่ฝ่ายตุลาการถูกมูชาร์รัฟข่มเหงนั้น กำลังคุกคามที่จะจัดการประท้วงให้เข้มข้นขึ้นอีก เพื่อเร่งให้มีการฟื้นตำแหน่งแก่เหล่าผู้พิพากษาโดยเร็ว และขบวนการนี้ก็กำลังเติบโตกลายเป็นพลังที่มีอิทธิพลบารมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
รัฐบาลผสมชุดปัจจุบันของปากีสถาน จึงเป็นรัฐบาลที่ไร้ความสามัคคีกันอย่างชัดเจน และรังแต่จะต้องประสบกับการขัดแย้งบาดหมางกันและการตกอยู่ในสภาพอัมพาตทำอะไรไม่ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด อันเป็นสถานการณ์ซึ่งพวกนักรบหัวรุนแรงจะสามารถฉวยใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มเหนี่ยว เหมือนดังที่พวกเขากระทำอยู่แล้วนับแต่ที่มูชาร์รัฟต้องยอมประกาศถอดเครื่องแบบทหารลงจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
ยุทธวิธีสำคัญที่สุดประการหนึ่งของพวกนักรบอิสลาม ได้แก่ การฉวยใช้ประโยชน์จากสุญญากาศทางการเมือง, วิกฤตทางเศรษฐกิจ ตลอดจนปัญหาอื่นๆ เพื่อมุ่งผลักดันให้ประเทศเคลื่อนข้าสู่ความแตกแยก
ในปากีสถานและอัฟกานิสถานนั้น กระบวนการเช่นว่านี้กำลังเกิดขึ้นอยู่แล้ว ในกรณีของซาร์ดารี การให้อภัยโทษเขาด้วยอำนาจกฤษฎีกาประธานาธิบดีอาจถูกศาลพิพากษาตัดสินให้เพิกถอนได้ และอาชีพทางการเมืองของเขาก็จะต้องสิ้นสุดลง ส่วนในกรุงคาบูล ประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ก็ยังอยู่รอดมาได้เพียงเพราะพึ่งพากองทหารต่างชาติที่เข้ามาตั้งอยู่ในประเทศ โดยที่อำนาจปกครองของเขาขยายไปได้แทบไม่พ้นจากเขตกรุงคาบูล ถ้าหากพวกนักรบใช้ความพยายามอย่างหนักในการเสนอตัวด้วยลักษณาการที่ขคำนึงถึงมวลชนอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว มันก็จะกลายเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ทว่าไม่ใช่ในหนทางที่ฝ่ายตะวันตกปรารถนา
“สุญญากาศทั้งทางสังคม, การเมือง, และเศรษฐกิจนานาประเภท ต่างการขยายใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ ในบรรดาสังคมมุสลิม โดยที่มีความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์อยู่ว่า ในโลกมุสลิมนั้น ปฏิกิริยาต่อสถานการณ์ดังกล่าวนี้มักแผ่กระจายออกมาจากบรรดาขบวนการที่นำโดยพลังทางศาสนา” ปัญญาชนมุสลิมชาวปากีสถาน ชาห์นาวาซ ฟารูกุย ผู้เขียนหนังสือว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างอิสลามกับโลกตะวันตกมาแล้ว 3 เล่ม บอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์
การก่อความไม่สงบที่นำโดยตอลิบานในอัฟกานิสถาน ตลอดจนการปรากฏที่มั่นของพวกนักรบหัวรุนแรงขึ้นตามพื้นที่ต่างๆ ของปากีสถาน ดูเหมือนจะเป็นหลักฐานพิสูจน์แนวความคิดนี้
ไซเอด ซาลีม ชาห์ซาด เป็นหัวหน้าสำนักงานปากีสถานของเอเชียไทมส์ออนไลน์ สามารถติดต่อกับเขาได้ที่ saleem_shahzad2002@yahoo.com