(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Bush outfoxed in the Iraqi sands
By Gareth Porter
11/07/2008
ด้วยการผสมผสานกันระหว่างแรงคัดค้านทางการเมืองของชาวชิอะห์ในอิรัก กับการเดินนโยบายทางการทูตของอิหร่าน จนกระทั่งก่อรูปขึ้นกลายเป็นเสียงเรียกร้องต้องการของนายกรัฐมนตรี นูริ อัลมาลิกี แห่งอิรัก ที่จะให้มีการกำหนดตารางเวลาสำหรับการถอนทหารสหรัฐฯอย่างหมดสิ้นออกไปจากประเทศนี้ เรื่องนี้คือสัญญาณที่แสดงถึงความพ่ายแพ้อย่างเกือบจะเป็นที่แน่นอนแล้วของคณะรัฐบาล จอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งตั้งจุดมุ่งหมายที่จะต้องได้ข้อตกลง อันจะทำให้สหรัฐฯได้ปรากฏตัวทางทหารในอิรักต่อไปอย่างเป็นระยะยาว
วอชิงตัน – เสียงเรียกร้องต้องการของนายกรัฐมนตรี นูริ อัลมาลิกี แห่งอิรัก ที่จะให้มีการจัดทำตารางเวลาสำหรับการถอนทหารสหรัฐฯอย่างหมดสิ้นออกไปจากประเทศนี้ อันได้รับการยืนยันเมื่อวันอังคาร(8) จาก โมวัฟฟัค อัลรูไบอี ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของเขา คือสัญญาณแสดงถึงความพ่ายแพ้อย่างเกือบเป็นที่แน่นอนแล้วของคณะรัฐบาล จอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งตั้งจุดมุ่งหมายที่จะให้ได้ข้อตกลง อันจะทำให้สหรัฐฯได้ปรากฏตัวทางทหารในอิรักต่อไปอย่างเป็นระยะยาว
การเรียกร้องอย่างเป็นทางการจากฝ่ายอิรักให้สหรัฐฯถอนทหารออกไป เป็นการยืนยันสิ่งที่กำลังค่อยๆ ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ในระยะไม่กี่เดือนหลังมานี้ นั่นก็คือ คณะรัฐบาลอิรักได้ตัดสินใจแล้วที่จะสลัดทิ้งการที่ต้องพึ่งพิงสหรัฐฯในทางทหารต่อไปเรื่อยๆ
กลุ่มชาวชิอะห์ฝักใฝ่นิยมอิหร่านอย่างแข็งขัน 2 กลุ่มซึ่งกำลังให้การสนับสนุนรัฐบาลมาลิกีในกรุงแบกแดด ได้แก่ สภาสูงสุดของชาวอิรักอิสลาม (Supreme Islamic Iraqi Council หรือ SIIC) และพรรคดาวะ (Da’wa Party) ของมาลิกีเอง กำลังถูกกดดันอย่างหนักหน่วงทั้งจากอิหร่าน และจากประชากรชาวอิรักที่เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายชิอะห์ ตลอดจนจากพวกนักการศาสนาของฝ่ายชิอะห์ โดยรวมถึงนักการศาสนาคนสำคัญที่สุด นั่นคือ แกรนด์ อยาโตลเลาะห์ อาลี ซิสตานี ให้ออกมาเรียกร้องให้สหรัฐฯถอนทหารออกไป
คำแถลงยืนยันเมื่อวันอังคารของรูไบอี ปรากฏออกมาในทันทีหลังจากเขาได้เข้าพบกับซิสตานี จึงเป็นการยืนยันรายงานก่อนหน้านี้ที่ว่า ซิสตานีคัดค้านการที่สหรัฐฯจะยังคงปรากฏตัวทางทหารต่อไปในอิรักไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตามที
ในอดีต คณะรัฐบาลบุชได้เคยระแวงสงสัยเกี่ยวกับความจงรักภักดีของกลุ่มการเมืองชิอะห์ 2 กลุ่มดังกล่าวข้างต้น ตลอดจนขององค์การกองกำลังอาวุธกองทัพมาห์ดิ ของมุกตาดา อัลซาดร์ ที่ถือว่าสังกัดอยู่กับ เอสไอไอซี และในช่วงปี 2005 ตลอดถึงต้นปี 2006 สหรัฐฯก็ได้พยายามใช้กลอุบายยักเยื้องต่างๆ เพื่อทำให้การยึดกุมกระทรวงมหาดไทยและกองกำลังตำรวจของกลุ่มการเมืองเหล่านี้ บังเกิดความอ่อนแอคลอนแคลนมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงปี 2007 คณะรัฐบาลบุชก็เกิดความหวังขึ้นมาว่า สามารถประสบความสำเร็จในการสร้างความร่วมมือระดับใหม่กับมาลิกีได้แล้ว จากการมีจุดมุ่งหมายในการสร้างความอ่อนแอให้แก่ศัตรูร่วมกันของพวกเขา อันได้แก่ กองทัพมาห์ดิของซาดร์ ซึ่งมีนโยบายชัดเจนในเรื่องต่อต้านการยึดครองของสหรัฐฯ นอกจากนั้น ผู้นำของเอสไอไอซี ซึ่งก็คือ อับดุล อาซิส อัลฮาคิม ยังได้รับเชิญให้เดินทางไปทำเนียบขาวในเดือนธันวาคม 2006 และได้พบหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คอนโดลิซซา ไรซ์ ในเดือนพฤศจิกายน 2007
ระดับของความร่วมมือกับระบอบปกครองมาลิกีในการต่อต้านพวกกองกำลังซาดร์นั้น เป็นไปอย่างใกล้ชิดมากจนกระทั่งคณะรัฐบาลบุชถึงกับยอมรับอยู่เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ช่วงหนึ่งของปลายปี 2007 ในเหตุผลข้อคิดเห็นของมาลิกีที่ว่า อิหร่านนั้นกำลังพยายามจำกัดบทบาทกองทัพเมห์ดิอยู่แล้ว ด้วยการกดดันให้มุกตาดา อัลซาดร์ ต้องออกคำสั่งให้กองกำลังอาวุธของเขาหยุดยิงเมื่อเดือนสิงหาคม 2007
ในเดือนพฤศจิกายนปีนั้น บุชกับมาลิกีตกลงเห็นพ้องกันเกี่ยวกับหลักการต่างๆ ชุดหนึ่ง ซึ่งจะใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการเจรจาทำบรรดาข้อตกลงทั้งในเรื่องการคงกองทหารสหรัฐฯเอาไว้ต่อไป ตลอดจนความร่วมมือระดับทวิภาคีอื่นๆ อันรวมถึงการที่สหรัฐฯค้ำประกันความมั่นคงปลอดภัยและบูรณภาพแห่งดินแดนของอิรัก ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2008 พวกนักวางแผนทางทหารของสหรัฐฯและอิรักก็กำลังเตรียมตัวพรักพร้อมแล้ว สำหรับการปฏิบัติการทางทหารร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ-สหราชอาณาจักร-อิรัก ที่จะเปิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน เพื่อบีบเค้นให้พวกซาดร์ต้องถอยออกไปจากเมืองบาสรา อันเป็นเมืองใหญ่ที่สุดทางภาคใต้ของอิรัก
ทว่าหลังจากร่างข้อตกลงฉบับวันที่ 7 มีนาคมที่เสนอโดยฝ่ายสหรัฐฯ ถูกส่งไปให้แก่รัฐบาลอิรักแล้ว ท่าทีของรัฐบาลมาลิกีในเรื่องเกี่ยวกับการปรากฏตัวทางทหารของสหรัฐฯก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างใหญ่หลวง ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น อิหร่านก็กำลังแสดงบทบาทอย่างเปิดเผยชัดเจนมากขึ้น ในการเป็นตัวกลางเพื่อให้เกิดข้อตกลงหยุดยิงกันระหว่างกลุ่มชาวชิอะห์ทั้งสองที่กำลังสู้รบกันอยู่
สิ่งบ่งชี้อย่างแรกของการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงนี้ก็คือ การที่มาลิกีปฏิเสธไม่เดินหน้าตามแผนบาสรา และการที่เขาตัดสินใจอย่างฉับพลันที่จะเข้าครอบครองเมืองบาสราไว้เสียเองในทันทีโดยไม่มีทหารสหรัฐฯเข้ามายุ่งเกี่ยวด้วย พลเอก เดวิด เพเทรอัส ซึ่งในสัปดาห์นี้ได้รับการรับรองจากวุฒิสภาสหรัฐฯให้ขึ้นรับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารที่อาวุโสที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลางนั้น ได้ออกมากล่าวในเวลาต่อมาว่า กองร้อยของกองทัพบกสหรัฐฯกองร้อยหนึ่ง ต้องไปสนธิกำลังกับหน่วยทหารบางหน่วยในฐานะที่ปรึกษา “เพียงเพราะว่าจริงๆ แล้ว เรากำลังมีปัญหาในการประเมินว่าเขตแนวหน้าอยู่ตรงไหนกันแน่”
การตัดสินใจของมาลิกีเกิดขึ้นหลังจากอิหร่านเข้ามาทำการไกล่เกลี่ยรอมชอมทางการเมือง เพื่อยุติการสู้รบกันเองระหว่างชาวชิอะห์ในบาสรา โดยที่ได้รับการร้องขอจากคณะผู้แทนที่มาจากพรรคการเมืองนิยมรัฐบาลอิรักทั้ง 2 พรรค ผลลัพธ์ที่ปรากฏออกมาก็คือ กองกำลังอาวุธของมุกตาดายอมยุติการควบคุมเมืองบาสรา ถึงแม้พวกเขายังคงอยู่ห่างไกลจากความพ่ายแพ้ปราชัยก็ตามที
พวกเจ้าหน้าที่ทางทหารของสหรัฐฯได้แสดงความฮึดฮัดไม่พอใจเป็นการส่วนตัวต่อพัฒนาการดังกล่าวนี้ ซึ่งส่งผลให้ต้องมีการยกเลิกแผนการที่จะเปิดการปฏิบัติการทางทหารอันใหญ่โตมาก ในการปราบปรามพวกซาดร์ระหว่างช่วงฤดูร้อนปีนี้ หลังจากนั้นอีกหลายสัปดาห์ถัดมา “เจ้าหน้าที่กลาโหม”ของสหรัฐฯผู้หนึ่ง ก็ได้ไปบอกเล่าให้หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ฟังว่า “เราอาจจะกำลังสูญเสียโอกาสในเมืองบาสรา ที่จะได้ฆ่าพวกซึ่งจำเป็นจะต้องถูกฆ่า”
ในสัญญาณอีกประการหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงจุดยืนของอิรัก ซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงถอยห่างออกจากวอชิงตัน ได้แก่ เมื่อตอนต้นเดือนพฤษภาคม มาลิกีได้ปฎิเสธไม่ยอมร่วมมือกับแผนกโลบายของรองประธานาธิบดี ดิ๊ก เชนีย์ และ เพเทรอัส ซึ่งมุ่งประสงค์ทำให้อิหร่านอับอายขายหน้า โดยจะให้รัฐบาลอิรักออกมากล่าวหาอิหร่านอย่างเปิดเผยว่า กำลังติดอาวุธให้แก่พวกชิอะห์ต่อต้านรัฐบาลในภาคใต้ของอิรัก นายกรัฐมนตรีอิรักผู้นี้กลับทำให้พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯโกรธเกรี้ยว โดยแก้ไขสถานการณ์ด้วยการประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งขึ้นมาสอบสวนข้อกล่าวหาของฝ่ายสหรัฐฯ
เรื่องที่ยิ่งเลวร้ายหนักขึ้นไปอีกสำหรับคณะรัฐบาลบุชก็คือ คณะผู้แทนคณะหนึ่งของพวกเจ้าหน้าที่ชิอะห์จากอิรัก ที่เดินทางไปยังกรุงเตหะราน โดยได้รับการคาดหวังว่าจะไปประจันหน้ากับอิหร่านในประเด็นเรื่องการส่งอาวุธให้พวกต่อต้านรัฐบาลอิรักนั้น กลับเดินทางกลับบ้านพร้อมกับแผนยุทธศาสตร์ใหม่ของฝ่ายอิหร่านในเรื่องการจัดการกับมุกตาดา อัลซาดร์ นั่นคือ การเจรจาทำข้อตกลงรอมชอมกับเขา ทั้งนี้ตามรายงานของ แอลิสซา เจ รูบิน แห่งนิวยอร์กไทมส์
ปรากฏว่ารัฐบาลมาลิกีเริ่มนำยุทธศาสตร์ใหม่ของอิหร่านนี้มาใช้ปฏิบัติในทันที ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม มาลิกีและมุกตาดาก็สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ ณ เมืองซาดร์ซิตี้ ซึ่งเป็นเขตสลัมในกรุงแบกแดดที่มีชาวชิอะห์พำนักกันหนาแน่น และก็เป็นสมรภูมิของการสู้รบอย่างดุเดือดระหว่างกองทัพสหรัฐฯกับพวกซาดร์
ข้อตกลงใหม่ฉบับนี้กลายเป็นการป้องกันไม่ให้สหรัฐฯสามารถขยายความรุนแรงเล่นงานที่มั่นของกองทัพมาห์ดิ ตลอดจนทำให้สหรัฐฯต้องยุติการทิ้งระเบิดอย่างหนักหน่วงต่อที่มั่นเหล่านี้ ทั้งที่มีการจัดเตรียมกองทหารสหรัฐฯเอาไว้ 7 กองพัน เพื่อเข้าโจมตีเขตซาดร์ซิตี้ ด้วยการสนับสนุนของขบวนรถถังและยานหุ้มเกราะ ในยุทธการที่คาดหมายกันว่าจะกินเวลาหลายๆ สัปดาห์ทีเดียว
ตามข้อตกลงใหม่ฉบับนี้ มุกตาดายินยอมให้กองทหารอิรักออกลาดตระเวนตรวจการณ์ในเขตที่มั่นของเขา สิ่งที่รัฐบาลอิรักให้ตอบแทนเป็นการแลกเปลี่ยนก็คือ รัฐบาลตกลงที่จะไม่เข้าทำการจับกุมใดๆ ต่อกองกำลังอาวุธกลุ่มซาดร์ เว้นแต่พวกเขาจะถูกตรวจค้นพบพร้อมกับ “อาวุธขนาดกลางและขนาดหนัก”
ความมุ่งมั่นตั้งใจครั้งใหม่ที่จะกีดกันกองทหารสหรัฐฯออกไปจากความขัดแย้งระหว่างชาวชิอะห์กันเองคราวนี้ บังเกิดขึ้นพร้อมๆ กับแนวทางที่แข็งกร้าวครั้งใหม่ในการเจรจากับคณะรัฐบาลบุช ในเรื่องการจัดทำข้อตกลงต่างๆ ว่าด้วยฐานะของกองกำลังทหารสหรัฐฯ ระหว่างไปแถลงสรุปให้พวกเจ้าหน้าที่วุฒิสภาอเมริกันฟังเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม เหล่าเจ้าหน้าที่ของคณะรัฐบาลบุชแจ้งว่า เวลานี้อิรักกำลังเรียกร้อง “ความเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญในรูปแบบของข้อตกลงเหล่านี้” ข้อตกลงเหล่านี้ต้องมีการจัดทำกันขึ้นมา ก็เพื่อแทนที่มติต่างๆ ของสหประชาชาติที่ให้อำนาจสหรัฐฯในการเข้าไปปรากฏตัวทางทหารในอิรัก โดยที่มติเหล่านี้กำหนดหมดอายุลงในสิ้นปีนี้แล้ว
รัฐบาลมาลิกีกำลังปฏิเสธไม่ยอมตามข้อเรียกร้องของสหรัฐฯที่จะได้เข้าใช้ฐานทัพต่างๆ ชนิดไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ตลอดจนที่จะให้สหรัฐฯมีเสรีภาพอย่างสมบูรณ์ในการใช้ฐานทัพเหล่านี้โดยไม่ต้องปรึกษาหารือกับรัฐบาลอิรัก รวมทั้งข้อเรียกร้องที่จะให้กองทหารสหรัฐฯตลอดจนผู้รับเหมาปฏิบัติงานให้กับกองทัพสหรัฐฯ ได้รับยกเว้นไม่ถูกลงโทษตามกฎหมายของอิรัก ฝ่ายอิรักกำลังยืนยันว่าข้อเรียกร้องเหล่านี้คือการละเมิดอำนาจอธิปไตยของประเทศตน ครั้นถึงต้นเดือนมิถุนายน เจ้าหน้าที่อิรักหลายคนก็ออกมาตั้งคำถามอย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรกว่า อิรักมีความจำเป็นแน่หรือที่จะต้องพึ่งพาการปรากฏตัวทางทหารของสหรัฐฯ
แรงต่อต้านอย่างไม่คาดหมายของฝ่ายอิรักต่อการเรียกร้องต่างๆ ของสหรัฐฯเช่นนี้ สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลในเบื้องลึกของอิหร่านที่มีต่อรัฐบาลมาลิกี ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นการที่มุกตาดายอมรับรู้ว่า เขาสามารถที่จะบรรลุเป้าหมายของเขาในการปลดแอกอิรักจากการยึดครองของสหรัฐฯได้ โดยผ่านวิถีทางการเมือง-การทูต แทนที่จะต้องใช้การกดดันทางการทหาร
อิหร่านดำเนินการบีบคั้นอย่างแข็งขันยิ่งต่ออิรักให้ปฏิเสธข้อตกลง ในทันทีที่ได้เห็นร่างข้อตกลงเบื้องต้นที่สหรัฐฯเสนอมา อิหร่านนั้นสามารถที่จะหยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นมาชี้ชัดว่า ร่างดังกล่าวจะเปิดทางให้สหรัฐฯสามารถใช้ฐานทัพต่างๆ ของอิรักในการเข้าโจมตีอิหร่าน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่านี่คือเส้นแดงที่จะต้องไม่มีการฝ่าฝืนกระทำอย่างเด็ดขาดในความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับอิรัก
อิหร่านยังอาจยกเหตุผลขึ้นมาแจกแจงว่า คณะรัฐบาลชองชาวชิอะห์ในอิรัก ย่อมไม่สามารถพึ่งพาอาศัยสหรัฐฯได้ เพราะวอชิงตันนั้นผูกพันยึดมั่นอยู่กับยุทธศาสตร์ในการรวบรวมระบอบปกครองของชาวสุหนี่ในภูมิภาคแถบนี้ ให้รวมตัวกันเป็นพันธมิตรเพื่อไว้ต่อสู้กับฝ่ายชิอะห์
อิหร่านยังสามารถใช้ประโยชน์จากความระแวงสงสัยที่ดำรงอยู่อย่างล้ำลึกของชาวชิอะห์ในอิรัก ที่ว่าสหรัฐฯยังคงพยายามจะโค่นล้มรัฐบาลของชาวชิอะห์ชุดนี้ โดยอาศัยอดีตนายกรัฐมนตรี อียาด อัลลาวี และบุคคลบางคนในกองทัพอิรัก ยิ่งเมื่อร่างข้อตกลงของสหรัฐฯได้ตัดเนื้อหาที่เป็นคำมั่นสัญญาของสหรัฐฯก่อนหน้านี้ ในอันที่จะปกป้องอิรักจากการก้าวร้าวรุกรานภายนอก โดยหันมาให้สัญญาเพียงแค่ว่าจะ “ปรึกษาหารือ” ในเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เป็นการคุกคามจากภายนอกประเทศขึ้นมา แน่นอนทีเดียวว่า อิหร่านได้ฉวยประโยชน์จากช่องโหว่ที่เปิดให้นี้ในการผลักดันมาลิกีให้ปฏิเสธไม่ยอมรับข้อตกลง
การใช้ฐานทัพทางทหารต่างๆ ในอิรักเพื่อการสยายอำนาจของสหรัฐฯเข้าไปในภูมิภาคแถบนี้ เพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงระบอบปกครองในอิหร่านและในที่อื่นๆ นั้น คือส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในแผนการตามแนวคิดของพวกอนุรักษนิยมใหม่ (neo-conservative) ตั้งแต่ตอนเริ่มต้นการรุกรานอิรักแล้ว
คณะรัฐบาลบุชก็ได้ประกาศความประสงค์ที่จะมีการปรากฏตัวทางทหารในระยะยาวในอิรัก ในรูปแบบเดียวกับ “โมเดลเกาหลี” เมื่อปีที่แล้วขณะกำลังอยู่ในช่วงสูงสุดของการเฉลิมฉลองการที่สหรัฐฯสามารถสร้างความสงบราบคาบเหนือจังหวัดอันบาร์ ซึ่งเป็นที่มั่นของพวกกองกำลังอาวุธฝ่ายสุหนี่ และสหรัฐฯมองว่านี่เป็นการประทับลงตรารับรองให้แก่ชัยชนะของตนในสงครามคราวนี้
ทว่าการเรียกร้องของอิรักที่จะให้สหรัฐฯถอนทหาร ย่อมทำให้เป็นที่ปรากฏชัดเจนว่าคณะรัฐบาลบุชนั้นไม่ได้สามารถควบคุมเหตุการณ์ต่างๆ ในอิรักได้จริงๆ เลย และแรงคัดค้านทางการเมืองของชาวชิอะห์ ตลอดจนการเดินนโยบายทางการทูตของอิหร่าน สามารถที่จะทำแต้มเหนือกว่าอำนาจทางทหารของสหรัฐฯได้
แกเรธ พอร์เตอร์ เป็นนักประวัติศาสตร์และนักหนังสือพิมพ์เชิงสืบสวน ที่เชี่ยวชาญเป็นพิเศษในเรื่องนโยบายความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ หนังสือเล่มล่าสุดของเขาที่ชื่อ Perils of Dominance: Imbalance of Power and the Road to War in Vietnam ฉบับปกอ่อนได้รับการตีพิมพ์ในปี 2006
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
Bush outfoxed in the Iraqi sands
By Gareth Porter
11/07/2008
ด้วยการผสมผสานกันระหว่างแรงคัดค้านทางการเมืองของชาวชิอะห์ในอิรัก กับการเดินนโยบายทางการทูตของอิหร่าน จนกระทั่งก่อรูปขึ้นกลายเป็นเสียงเรียกร้องต้องการของนายกรัฐมนตรี นูริ อัลมาลิกี แห่งอิรัก ที่จะให้มีการกำหนดตารางเวลาสำหรับการถอนทหารสหรัฐฯอย่างหมดสิ้นออกไปจากประเทศนี้ เรื่องนี้คือสัญญาณที่แสดงถึงความพ่ายแพ้อย่างเกือบจะเป็นที่แน่นอนแล้วของคณะรัฐบาล จอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งตั้งจุดมุ่งหมายที่จะต้องได้ข้อตกลง อันจะทำให้สหรัฐฯได้ปรากฏตัวทางทหารในอิรักต่อไปอย่างเป็นระยะยาว
วอชิงตัน – เสียงเรียกร้องต้องการของนายกรัฐมนตรี นูริ อัลมาลิกี แห่งอิรัก ที่จะให้มีการจัดทำตารางเวลาสำหรับการถอนทหารสหรัฐฯอย่างหมดสิ้นออกไปจากประเทศนี้ อันได้รับการยืนยันเมื่อวันอังคาร(8) จาก โมวัฟฟัค อัลรูไบอี ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของเขา คือสัญญาณแสดงถึงความพ่ายแพ้อย่างเกือบเป็นที่แน่นอนแล้วของคณะรัฐบาล จอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งตั้งจุดมุ่งหมายที่จะให้ได้ข้อตกลง อันจะทำให้สหรัฐฯได้ปรากฏตัวทางทหารในอิรักต่อไปอย่างเป็นระยะยาว
การเรียกร้องอย่างเป็นทางการจากฝ่ายอิรักให้สหรัฐฯถอนทหารออกไป เป็นการยืนยันสิ่งที่กำลังค่อยๆ ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ในระยะไม่กี่เดือนหลังมานี้ นั่นก็คือ คณะรัฐบาลอิรักได้ตัดสินใจแล้วที่จะสลัดทิ้งการที่ต้องพึ่งพิงสหรัฐฯในทางทหารต่อไปเรื่อยๆ
กลุ่มชาวชิอะห์ฝักใฝ่นิยมอิหร่านอย่างแข็งขัน 2 กลุ่มซึ่งกำลังให้การสนับสนุนรัฐบาลมาลิกีในกรุงแบกแดด ได้แก่ สภาสูงสุดของชาวอิรักอิสลาม (Supreme Islamic Iraqi Council หรือ SIIC) และพรรคดาวะ (Da’wa Party) ของมาลิกีเอง กำลังถูกกดดันอย่างหนักหน่วงทั้งจากอิหร่าน และจากประชากรชาวอิรักที่เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายชิอะห์ ตลอดจนจากพวกนักการศาสนาของฝ่ายชิอะห์ โดยรวมถึงนักการศาสนาคนสำคัญที่สุด นั่นคือ แกรนด์ อยาโตลเลาะห์ อาลี ซิสตานี ให้ออกมาเรียกร้องให้สหรัฐฯถอนทหารออกไป
คำแถลงยืนยันเมื่อวันอังคารของรูไบอี ปรากฏออกมาในทันทีหลังจากเขาได้เข้าพบกับซิสตานี จึงเป็นการยืนยันรายงานก่อนหน้านี้ที่ว่า ซิสตานีคัดค้านการที่สหรัฐฯจะยังคงปรากฏตัวทางทหารต่อไปในอิรักไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตามที
ในอดีต คณะรัฐบาลบุชได้เคยระแวงสงสัยเกี่ยวกับความจงรักภักดีของกลุ่มการเมืองชิอะห์ 2 กลุ่มดังกล่าวข้างต้น ตลอดจนขององค์การกองกำลังอาวุธกองทัพมาห์ดิ ของมุกตาดา อัลซาดร์ ที่ถือว่าสังกัดอยู่กับ เอสไอไอซี และในช่วงปี 2005 ตลอดถึงต้นปี 2006 สหรัฐฯก็ได้พยายามใช้กลอุบายยักเยื้องต่างๆ เพื่อทำให้การยึดกุมกระทรวงมหาดไทยและกองกำลังตำรวจของกลุ่มการเมืองเหล่านี้ บังเกิดความอ่อนแอคลอนแคลนมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงปี 2007 คณะรัฐบาลบุชก็เกิดความหวังขึ้นมาว่า สามารถประสบความสำเร็จในการสร้างความร่วมมือระดับใหม่กับมาลิกีได้แล้ว จากการมีจุดมุ่งหมายในการสร้างความอ่อนแอให้แก่ศัตรูร่วมกันของพวกเขา อันได้แก่ กองทัพมาห์ดิของซาดร์ ซึ่งมีนโยบายชัดเจนในเรื่องต่อต้านการยึดครองของสหรัฐฯ นอกจากนั้น ผู้นำของเอสไอไอซี ซึ่งก็คือ อับดุล อาซิส อัลฮาคิม ยังได้รับเชิญให้เดินทางไปทำเนียบขาวในเดือนธันวาคม 2006 และได้พบหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คอนโดลิซซา ไรซ์ ในเดือนพฤศจิกายน 2007
ระดับของความร่วมมือกับระบอบปกครองมาลิกีในการต่อต้านพวกกองกำลังซาดร์นั้น เป็นไปอย่างใกล้ชิดมากจนกระทั่งคณะรัฐบาลบุชถึงกับยอมรับอยู่เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ช่วงหนึ่งของปลายปี 2007 ในเหตุผลข้อคิดเห็นของมาลิกีที่ว่า อิหร่านนั้นกำลังพยายามจำกัดบทบาทกองทัพเมห์ดิอยู่แล้ว ด้วยการกดดันให้มุกตาดา อัลซาดร์ ต้องออกคำสั่งให้กองกำลังอาวุธของเขาหยุดยิงเมื่อเดือนสิงหาคม 2007
ในเดือนพฤศจิกายนปีนั้น บุชกับมาลิกีตกลงเห็นพ้องกันเกี่ยวกับหลักการต่างๆ ชุดหนึ่ง ซึ่งจะใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการเจรจาทำบรรดาข้อตกลงทั้งในเรื่องการคงกองทหารสหรัฐฯเอาไว้ต่อไป ตลอดจนความร่วมมือระดับทวิภาคีอื่นๆ อันรวมถึงการที่สหรัฐฯค้ำประกันความมั่นคงปลอดภัยและบูรณภาพแห่งดินแดนของอิรัก ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2008 พวกนักวางแผนทางทหารของสหรัฐฯและอิรักก็กำลังเตรียมตัวพรักพร้อมแล้ว สำหรับการปฏิบัติการทางทหารร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ-สหราชอาณาจักร-อิรัก ที่จะเปิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน เพื่อบีบเค้นให้พวกซาดร์ต้องถอยออกไปจากเมืองบาสรา อันเป็นเมืองใหญ่ที่สุดทางภาคใต้ของอิรัก
ทว่าหลังจากร่างข้อตกลงฉบับวันที่ 7 มีนาคมที่เสนอโดยฝ่ายสหรัฐฯ ถูกส่งไปให้แก่รัฐบาลอิรักแล้ว ท่าทีของรัฐบาลมาลิกีในเรื่องเกี่ยวกับการปรากฏตัวทางทหารของสหรัฐฯก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างใหญ่หลวง ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น อิหร่านก็กำลังแสดงบทบาทอย่างเปิดเผยชัดเจนมากขึ้น ในการเป็นตัวกลางเพื่อให้เกิดข้อตกลงหยุดยิงกันระหว่างกลุ่มชาวชิอะห์ทั้งสองที่กำลังสู้รบกันอยู่
สิ่งบ่งชี้อย่างแรกของการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงนี้ก็คือ การที่มาลิกีปฏิเสธไม่เดินหน้าตามแผนบาสรา และการที่เขาตัดสินใจอย่างฉับพลันที่จะเข้าครอบครองเมืองบาสราไว้เสียเองในทันทีโดยไม่มีทหารสหรัฐฯเข้ามายุ่งเกี่ยวด้วย พลเอก เดวิด เพเทรอัส ซึ่งในสัปดาห์นี้ได้รับการรับรองจากวุฒิสภาสหรัฐฯให้ขึ้นรับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารที่อาวุโสที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลางนั้น ได้ออกมากล่าวในเวลาต่อมาว่า กองร้อยของกองทัพบกสหรัฐฯกองร้อยหนึ่ง ต้องไปสนธิกำลังกับหน่วยทหารบางหน่วยในฐานะที่ปรึกษา “เพียงเพราะว่าจริงๆ แล้ว เรากำลังมีปัญหาในการประเมินว่าเขตแนวหน้าอยู่ตรงไหนกันแน่”
การตัดสินใจของมาลิกีเกิดขึ้นหลังจากอิหร่านเข้ามาทำการไกล่เกลี่ยรอมชอมทางการเมือง เพื่อยุติการสู้รบกันเองระหว่างชาวชิอะห์ในบาสรา โดยที่ได้รับการร้องขอจากคณะผู้แทนที่มาจากพรรคการเมืองนิยมรัฐบาลอิรักทั้ง 2 พรรค ผลลัพธ์ที่ปรากฏออกมาก็คือ กองกำลังอาวุธของมุกตาดายอมยุติการควบคุมเมืองบาสรา ถึงแม้พวกเขายังคงอยู่ห่างไกลจากความพ่ายแพ้ปราชัยก็ตามที
พวกเจ้าหน้าที่ทางทหารของสหรัฐฯได้แสดงความฮึดฮัดไม่พอใจเป็นการส่วนตัวต่อพัฒนาการดังกล่าวนี้ ซึ่งส่งผลให้ต้องมีการยกเลิกแผนการที่จะเปิดการปฏิบัติการทางทหารอันใหญ่โตมาก ในการปราบปรามพวกซาดร์ระหว่างช่วงฤดูร้อนปีนี้ หลังจากนั้นอีกหลายสัปดาห์ถัดมา “เจ้าหน้าที่กลาโหม”ของสหรัฐฯผู้หนึ่ง ก็ได้ไปบอกเล่าให้หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ฟังว่า “เราอาจจะกำลังสูญเสียโอกาสในเมืองบาสรา ที่จะได้ฆ่าพวกซึ่งจำเป็นจะต้องถูกฆ่า”
ในสัญญาณอีกประการหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงจุดยืนของอิรัก ซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงถอยห่างออกจากวอชิงตัน ได้แก่ เมื่อตอนต้นเดือนพฤษภาคม มาลิกีได้ปฎิเสธไม่ยอมร่วมมือกับแผนกโลบายของรองประธานาธิบดี ดิ๊ก เชนีย์ และ เพเทรอัส ซึ่งมุ่งประสงค์ทำให้อิหร่านอับอายขายหน้า โดยจะให้รัฐบาลอิรักออกมากล่าวหาอิหร่านอย่างเปิดเผยว่า กำลังติดอาวุธให้แก่พวกชิอะห์ต่อต้านรัฐบาลในภาคใต้ของอิรัก นายกรัฐมนตรีอิรักผู้นี้กลับทำให้พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯโกรธเกรี้ยว โดยแก้ไขสถานการณ์ด้วยการประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งขึ้นมาสอบสวนข้อกล่าวหาของฝ่ายสหรัฐฯ
เรื่องที่ยิ่งเลวร้ายหนักขึ้นไปอีกสำหรับคณะรัฐบาลบุชก็คือ คณะผู้แทนคณะหนึ่งของพวกเจ้าหน้าที่ชิอะห์จากอิรัก ที่เดินทางไปยังกรุงเตหะราน โดยได้รับการคาดหวังว่าจะไปประจันหน้ากับอิหร่านในประเด็นเรื่องการส่งอาวุธให้พวกต่อต้านรัฐบาลอิรักนั้น กลับเดินทางกลับบ้านพร้อมกับแผนยุทธศาสตร์ใหม่ของฝ่ายอิหร่านในเรื่องการจัดการกับมุกตาดา อัลซาดร์ นั่นคือ การเจรจาทำข้อตกลงรอมชอมกับเขา ทั้งนี้ตามรายงานของ แอลิสซา เจ รูบิน แห่งนิวยอร์กไทมส์
ปรากฏว่ารัฐบาลมาลิกีเริ่มนำยุทธศาสตร์ใหม่ของอิหร่านนี้มาใช้ปฏิบัติในทันที ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม มาลิกีและมุกตาดาก็สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ ณ เมืองซาดร์ซิตี้ ซึ่งเป็นเขตสลัมในกรุงแบกแดดที่มีชาวชิอะห์พำนักกันหนาแน่น และก็เป็นสมรภูมิของการสู้รบอย่างดุเดือดระหว่างกองทัพสหรัฐฯกับพวกซาดร์
ข้อตกลงใหม่ฉบับนี้กลายเป็นการป้องกันไม่ให้สหรัฐฯสามารถขยายความรุนแรงเล่นงานที่มั่นของกองทัพมาห์ดิ ตลอดจนทำให้สหรัฐฯต้องยุติการทิ้งระเบิดอย่างหนักหน่วงต่อที่มั่นเหล่านี้ ทั้งที่มีการจัดเตรียมกองทหารสหรัฐฯเอาไว้ 7 กองพัน เพื่อเข้าโจมตีเขตซาดร์ซิตี้ ด้วยการสนับสนุนของขบวนรถถังและยานหุ้มเกราะ ในยุทธการที่คาดหมายกันว่าจะกินเวลาหลายๆ สัปดาห์ทีเดียว
ตามข้อตกลงใหม่ฉบับนี้ มุกตาดายินยอมให้กองทหารอิรักออกลาดตระเวนตรวจการณ์ในเขตที่มั่นของเขา สิ่งที่รัฐบาลอิรักให้ตอบแทนเป็นการแลกเปลี่ยนก็คือ รัฐบาลตกลงที่จะไม่เข้าทำการจับกุมใดๆ ต่อกองกำลังอาวุธกลุ่มซาดร์ เว้นแต่พวกเขาจะถูกตรวจค้นพบพร้อมกับ “อาวุธขนาดกลางและขนาดหนัก”
ความมุ่งมั่นตั้งใจครั้งใหม่ที่จะกีดกันกองทหารสหรัฐฯออกไปจากความขัดแย้งระหว่างชาวชิอะห์กันเองคราวนี้ บังเกิดขึ้นพร้อมๆ กับแนวทางที่แข็งกร้าวครั้งใหม่ในการเจรจากับคณะรัฐบาลบุช ในเรื่องการจัดทำข้อตกลงต่างๆ ว่าด้วยฐานะของกองกำลังทหารสหรัฐฯ ระหว่างไปแถลงสรุปให้พวกเจ้าหน้าที่วุฒิสภาอเมริกันฟังเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม เหล่าเจ้าหน้าที่ของคณะรัฐบาลบุชแจ้งว่า เวลานี้อิรักกำลังเรียกร้อง “ความเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญในรูปแบบของข้อตกลงเหล่านี้” ข้อตกลงเหล่านี้ต้องมีการจัดทำกันขึ้นมา ก็เพื่อแทนที่มติต่างๆ ของสหประชาชาติที่ให้อำนาจสหรัฐฯในการเข้าไปปรากฏตัวทางทหารในอิรัก โดยที่มติเหล่านี้กำหนดหมดอายุลงในสิ้นปีนี้แล้ว
รัฐบาลมาลิกีกำลังปฏิเสธไม่ยอมตามข้อเรียกร้องของสหรัฐฯที่จะได้เข้าใช้ฐานทัพต่างๆ ชนิดไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ตลอดจนที่จะให้สหรัฐฯมีเสรีภาพอย่างสมบูรณ์ในการใช้ฐานทัพเหล่านี้โดยไม่ต้องปรึกษาหารือกับรัฐบาลอิรัก รวมทั้งข้อเรียกร้องที่จะให้กองทหารสหรัฐฯตลอดจนผู้รับเหมาปฏิบัติงานให้กับกองทัพสหรัฐฯ ได้รับยกเว้นไม่ถูกลงโทษตามกฎหมายของอิรัก ฝ่ายอิรักกำลังยืนยันว่าข้อเรียกร้องเหล่านี้คือการละเมิดอำนาจอธิปไตยของประเทศตน ครั้นถึงต้นเดือนมิถุนายน เจ้าหน้าที่อิรักหลายคนก็ออกมาตั้งคำถามอย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรกว่า อิรักมีความจำเป็นแน่หรือที่จะต้องพึ่งพาการปรากฏตัวทางทหารของสหรัฐฯ
แรงต่อต้านอย่างไม่คาดหมายของฝ่ายอิรักต่อการเรียกร้องต่างๆ ของสหรัฐฯเช่นนี้ สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลในเบื้องลึกของอิหร่านที่มีต่อรัฐบาลมาลิกี ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นการที่มุกตาดายอมรับรู้ว่า เขาสามารถที่จะบรรลุเป้าหมายของเขาในการปลดแอกอิรักจากการยึดครองของสหรัฐฯได้ โดยผ่านวิถีทางการเมือง-การทูต แทนที่จะต้องใช้การกดดันทางการทหาร
อิหร่านดำเนินการบีบคั้นอย่างแข็งขันยิ่งต่ออิรักให้ปฏิเสธข้อตกลง ในทันทีที่ได้เห็นร่างข้อตกลงเบื้องต้นที่สหรัฐฯเสนอมา อิหร่านนั้นสามารถที่จะหยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นมาชี้ชัดว่า ร่างดังกล่าวจะเปิดทางให้สหรัฐฯสามารถใช้ฐานทัพต่างๆ ของอิรักในการเข้าโจมตีอิหร่าน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่านี่คือเส้นแดงที่จะต้องไม่มีการฝ่าฝืนกระทำอย่างเด็ดขาดในความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับอิรัก
อิหร่านยังอาจยกเหตุผลขึ้นมาแจกแจงว่า คณะรัฐบาลชองชาวชิอะห์ในอิรัก ย่อมไม่สามารถพึ่งพาอาศัยสหรัฐฯได้ เพราะวอชิงตันนั้นผูกพันยึดมั่นอยู่กับยุทธศาสตร์ในการรวบรวมระบอบปกครองของชาวสุหนี่ในภูมิภาคแถบนี้ ให้รวมตัวกันเป็นพันธมิตรเพื่อไว้ต่อสู้กับฝ่ายชิอะห์
อิหร่านยังสามารถใช้ประโยชน์จากความระแวงสงสัยที่ดำรงอยู่อย่างล้ำลึกของชาวชิอะห์ในอิรัก ที่ว่าสหรัฐฯยังคงพยายามจะโค่นล้มรัฐบาลของชาวชิอะห์ชุดนี้ โดยอาศัยอดีตนายกรัฐมนตรี อียาด อัลลาวี และบุคคลบางคนในกองทัพอิรัก ยิ่งเมื่อร่างข้อตกลงของสหรัฐฯได้ตัดเนื้อหาที่เป็นคำมั่นสัญญาของสหรัฐฯก่อนหน้านี้ ในอันที่จะปกป้องอิรักจากการก้าวร้าวรุกรานภายนอก โดยหันมาให้สัญญาเพียงแค่ว่าจะ “ปรึกษาหารือ” ในเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เป็นการคุกคามจากภายนอกประเทศขึ้นมา แน่นอนทีเดียวว่า อิหร่านได้ฉวยประโยชน์จากช่องโหว่ที่เปิดให้นี้ในการผลักดันมาลิกีให้ปฏิเสธไม่ยอมรับข้อตกลง
การใช้ฐานทัพทางทหารต่างๆ ในอิรักเพื่อการสยายอำนาจของสหรัฐฯเข้าไปในภูมิภาคแถบนี้ เพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงระบอบปกครองในอิหร่านและในที่อื่นๆ นั้น คือส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในแผนการตามแนวคิดของพวกอนุรักษนิยมใหม่ (neo-conservative) ตั้งแต่ตอนเริ่มต้นการรุกรานอิรักแล้ว
คณะรัฐบาลบุชก็ได้ประกาศความประสงค์ที่จะมีการปรากฏตัวทางทหารในระยะยาวในอิรัก ในรูปแบบเดียวกับ “โมเดลเกาหลี” เมื่อปีที่แล้วขณะกำลังอยู่ในช่วงสูงสุดของการเฉลิมฉลองการที่สหรัฐฯสามารถสร้างความสงบราบคาบเหนือจังหวัดอันบาร์ ซึ่งเป็นที่มั่นของพวกกองกำลังอาวุธฝ่ายสุหนี่ และสหรัฐฯมองว่านี่เป็นการประทับลงตรารับรองให้แก่ชัยชนะของตนในสงครามคราวนี้
ทว่าการเรียกร้องของอิรักที่จะให้สหรัฐฯถอนทหาร ย่อมทำให้เป็นที่ปรากฏชัดเจนว่าคณะรัฐบาลบุชนั้นไม่ได้สามารถควบคุมเหตุการณ์ต่างๆ ในอิรักได้จริงๆ เลย และแรงคัดค้านทางการเมืองของชาวชิอะห์ ตลอดจนการเดินนโยบายทางการทูตของอิหร่าน สามารถที่จะทำแต้มเหนือกว่าอำนาจทางทหารของสหรัฐฯได้
แกเรธ พอร์เตอร์ เป็นนักประวัติศาสตร์และนักหนังสือพิมพ์เชิงสืบสวน ที่เชี่ยวชาญเป็นพิเศษในเรื่องนโยบายความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ หนังสือเล่มล่าสุดของเขาที่ชื่อ Perils of Dominance: Imbalance of Power and the Road to War in Vietnam ฉบับปกอ่อนได้รับการตีพิมพ์ในปี 2006
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)