Yes, it’s that “q” word again
By Jim Lobe
7/04/2008
สหรัฐฯกำลังเสี่ยงที่จะจมปลักอยู่ในอิรักเป็นระยะเวลายาวนาน พวกผู้เชี่ยวชาญทรงอิทธิพลซึ่งเคยให้คำปรึกษาแก่ “กลุ่มศึกษาอิรัก” (Iraq Study Group) สรุปเอาไว้เช่นนี้ในรายงานชิ้นใหม่ พวกเขายังแนะนำทางเลือกที่เป็นไปได้อีก 2 ทาง นอกเหนือจากนโยบายในปัจจุบันซึ่งพันธกิจของสหรัฐฯต่ออิรักอยู่ในลักษณะ “ไม่มีเงื่อนไขใดๆ” และเกือบเป็นการแน่นอนทีเดียวว่า ทัศนะของพวกเขาจะเป็นการนำส่งกระสุนให้แก่พวกผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ในการให้ปากคำต่อรัฐสภาครั้งสำคัญยิ่งวันอังคารนี้(8)
วอชิงตัน – ถึงแม้ความรุนแรงได้ลดระดับลงในระยะ 15 เดือนที่ผ่านมา ทว่า “สหรัฐฯกำลังเสี่ยงที่จะจมปลักอยู่ในอิรักเป็นระยะเวลายาวนาน โดยที่จะมีผลต่อเนื่องร้ายแรงต่อผลประโยชน์ของตนในส่วนอื่นๆ ของโลก” ทั้งนี้ตามการประเมินสถานการณ์ครั้งใหม่ โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดียวกับที่ได้เคยให้คำแนะนำแก่ “กลุ่มศึกษาอิรัก” (Iraq Study Group หรือ ISG) อันเป็นกลุ่มซึ่งได้รับความเชื่อถืออย่างสูงและสมาชิกมาจากทั้งสองพรรคการเมืองใหญ่ เมื่อปี 2006
รายงานประเมินฉบับนี้ ซึ่งได้รับการเผยแพร่ออกมา ไม่กี่วันก่อนหน้าการไปให้ปากคำต่อรัฐสภาครั้งสำคัญยิ่งในสัปดาห์นี้ ของเอกอัครราชทูตและผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯในอิรัก ได้ให้ข้อสรุปไว้ว่า ความรุนแรงที่กำลังลดน้อยลงมา แทบไม่ส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าในการบรรลุการปรองดองแห่งชาติ อีกทั้งดอกผลในเรื่องความมั่นคงปลอดภัย ก็ยังคง “เปราะบางและต้องขึ้นอยู่กับการปรากฏตัวของกำลังทหารสหรัฐฯ”
“ความก้าวหน้าทางการเมืองนั้นเป็นไปอย่างล่าช้า, ชะงักงัน, และฉาบฉวยผิวเผิน อีกทั้งความแตกแยกแบ่งฝักฝ่ายทางสังคมและการเมืองก็ยังคงเด่นชัดเสียจนกระทั่งว่า สหรัฐฯยังไม่ได้เข้าใกล้ความสามารถที่จะถอนตัวออกจากอิรัก ยิ่งกว่าเมื่อ 1 ปีก่อนเลย” ทั้งนี้ตามรายงานชิ้นนี้ที่เผยแพร่โดย สถาบันสันติภาพสหรัฐฯ (US Institute of Peace หรือ USIP) และใช้ชื่อรายงานว่า “อิรักหลังการโหมเพิ่มทหาร: ทางเลือกและคำถาม” (Iraq After the Surge: Options and Questions)
“พัฒนาการทางการเมืองที่มีความยั่งยืน[ในอิรัก]จะเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อสหรัฐฯดำเนินพันธกิจต่ออิรัก อย่างไม่มีเงื่อนไขไปเป็นเวลา 5 ถึง 10 ปี” รายงานชิ้นนี้สรุป พร้อมกับชี้ด้วยว่า พันธกิจดังกล่าวก็ “ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาล ทั้งทางด้านมนุษย์และด้านการเงินอยู่แล้ว นอกเหนือจากผลประโยชน์ต่างๆ ในทั่วโลกของสหรัฐฯ ก็กำลังถูกเสียสละให้แก่พันธกิจของสหรัฐฯในอิรักด้วย กระทั่งว่าหากความก้าวหน้าในอิรักยังคงดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ผลลัพธ์ที่ได้ก็อาจจะไม่คุ้มค่าใช้จ่าย” รายงานเตือน
รายงานชิ้นนี้ ซึ่งพิจารณาทางเลือกที่อาจเป็นไปได้สำหรับนโยบายของสหรัฐฯในอิรักในช่วงระยะเวลาจนถึงราวๆ ปีหน้า รวมทั้งสิ้น 3 หนทางด้วยกันนั้น ถูกนำออกเผยแพร่เพียงแค่ 2 วันก่อนที่เอกอัครราชทูต ไรอัน คร็อกเกอร์ และ พลเอก เดวิด เพเทรอัส จะไปร้องขอให้วอชิงตันระงับแผนการลดกำลังทหารสหรัฐฯในอิรักลงมาจากช่วง “การโหมเพิ่มทหาร” โดยคาดการณ์กันว่าจะอยู่ในระดับ 140,000 คน ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม ทั้งนี้พวกเขาจะให้เหตุผลว่า เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า จะยังสามารถรักษาดอกผลด้านความมั่นคงปลอดภัยที่ได้มาตลอดช่วงปีที่แล้วเอาไว้ ณ ระยะสูงสุดของ “การโหมเพิ่มทหาร” เมื่อหลายเดือนก่อนนั้น วอชิงตันมีทหารอยู่ในอิรักราว 170,000 คน
ข้อเสนอแนะของคร็อกเกอร์และเพเทรอัสดังกล่าว ซึ่งดูจะได้รับการหนุนหลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ด้วย น่าที่จะถูกอภิปรายถกแถลงอย่างดุเดือดจากพวกพรรคเดโมแครตในรัฐสภา ซึ่งสนับสนุนให้มีการถอนทหารหน่วยสู้รบออกจากอิรักอย่างต่อเนื่อง ในอัตราประมาณ 5,000 คนต่อเดือนไปตลอดถึงสิ้นปีนี้ อันเป็นจุดยืนที่ได้รับความเห็นชอบอย่างเป็นการภายในจากคณะเสนาธิการทหารผสมของสหรัฐฯ ผู้ซึ่งต่อหน้าสาธารณชนได้เพียงแค่โอดครวญว่า การรักษากำลังทหารระดับสูงมากให้ประจำการอยู่ในอิรักต่อไป กำลังก่อให้เกิดความเสียหายชนิดไม่อาจทนแบกรับไปได้นาน ทั้งต่อขวัญกำลังใจของกองทหารภาคพื้นดินของสหรัฐฯ และต่อความพรักพร้อมของทหารเหล่านี้ในการรับมือกับวิกฤตทางทหารอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นมา
รายงานฉบับใหม่ของ USIP นี้ ซึ่งเป็นตัวแทนทัศนะของผู้เชี่ยวชาญทางทหารและผู้เชี่ยวชาญภูมิภาคจำนวนหลายสิบคน ที่ได้เคยให้คำปรึกษาแก่ กลุ่มศึกษาอิรัก (ISG) ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสภาและสมาชิกมาจากทั้งสองพรรคการเมือง เมื่อ 2 ปีก่อน แทบจะแน่นอนทีเดียวว่าจะกลายเป็นการนำส่งกระสุนให้แก่บรรดาผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ในการซักไซ้ตั้งคำถามเอากับคร็อกเกอร์และเพเทรอัส
ISG ซึ่งมีประธานร่วม 2 คน คือ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ เจมส์ เบเกอร์ ของฝ่ายรีพับลิกัน และ ลี แฮมิลตัน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของฝ่ายเดโมแครต ได้เรียกร้องเอาไว้ในเดือนธันวาคม 2006 ให้สหรัฐฯถอนทหารหน่วยสู้รบทั้งหมดออกมาภายในเดือนเมษายน 2008 โดยให้กำลังทหารที่ยังเหลืออยู่ –ประมาณ 80,000 คน- มุ่งเน้นหนักไปในเรื่องการฝึกอบรมและการติดอาวุธยุทโธปกรณ์ให้แก่กองกำลังทหารตำรวจชาวอิรัก, การดำเนินยุทธการต่อต้านกลุ่มอัลกออิดะห์ในอิรัก, และการพิทักษ์คุ้มครองเจ้าหน้าที่พลเรือนของสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม บุชปฏิเสธที่จะทำตามข้อเสนอแนะนี้ และกลับหันมาเลือกใช้ยุทธศาสตร์ “การโหมเพิ่มทหาร” ซึ่งเพิ่มกำลังทหารสหรัฐฯขึ้นมาประมาณ 30,000 คน ด้วยความหวังว่ากำลังที่เสริมขึ้นมานี้ จะสามารถลดความรุนแรงระหว่างกลุ่มคนต่างเชื้อชาตินิกายศาสนาในเขตกรุงแบกแดดและปริมณฑลลงได้อย่างสำคัญ รวมทั้งสามารถกระตุ้นส่งเสริมให้ฝักฝ่ายทางการเมืองและทางนิกายศาสนาที่กำลังสู้รบกันอยู่ หันมาทำการประนีประนอมกันซึ่งมีความจำเป็นในการก้าวไปสู่การปรองดองแห่งชาติ
ขณะที่ยุทธศาสตร์นี้ประสบความคืบหน้าไปอย่างสำคัญในแนวรบด้านความมั่นคงปลอดภัย แต่ทางด้านความก้าวหน้าไปสู่การปรองดองชาตินั้น ส่วนใหญ่ยังอยู่ในลักษณะของ “การต่อรองกันในทางยุทธวิธี” โดยที่สำคัญแล้วดำเนินการกันเพื่อให้บรรลุ “มาตรวัด” ขั้นต่ำที่สหรัฐฯกำหนดออกมา –อาทิ การแบ่งปันรายได้แผ่นดินระหว่างเขตพื้นที่ต่างๆ และการปฏิรูปบรรดากฎหมายที่กีดกันแบ่งแยกพวกที่เคยเป็นสมาชิกพรรคบาธ – เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า จะยังคงได้รับการสนับสนุนจากวอชิงตันต่อไป รายงานชิ้นนี้ระบุไว้เช่นนี้
“ถึงแม้เท่าที่ดำเนินการมาจะให้ผลในทางบวก แต่ก็ไม่ได้ลดทอนบรรเทาสาเหตุเบื้องลึกของความไร้เสถียรภาพทางการเมืองในอิรัก หรือมีส่วนเอื้ออำนวยให้บังเกิดระบบการปกครองระดับชาติที่แท้จริงขึ้นมา” รายงานสรุป พร้อมกับชี้ด้วยว่า “ความสำเร็จจำนวนมาก [ของยุทธศาสตร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน] เป็นผลมาจากปัจจัยหลายๆ ประการที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของสหรัฐฯ และด้วยเหตุดังนั้นจึงย่อมเกิดความเปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ”
ในบรรดาสาเหตุเหล่านี้มีดังเช่น การประกาศหยุดยิงของกองทัพมะห์ดี ของมุกตาดา อัล ซาดร์ และเจตนารมณ์ของบรรดาอดีตผู้ก่อความไม่สงบชาวสุหนี่ที่เคย “คัดค้านรัฐบาลอิรัก[ที่นำโดยชาวชิอะห์]อย่างเด็ดเดี่ยว” ว่าจะยังคงร่วมมือมากน้อยแค่ไหนกับกองกำลังสหรัฐฯในการต่อต้านกลุ่มอัลกออิดะห์ในอิรัก
รายงานเสนอแนะทางเลือกที่อาจทำได้อีก 2 หนทาง นอกเหนือจากนโยบายในปัจจุบันที่สหรัฐฯดำเนินพันธกิจต่ออิรักในลักษณะ “ไม่มีเงื่อนไข”
ทางเลือกประการแรก ซึ่งเป็นเสียงสะท้อนของรายงานฉบับปี 2006 ของ ISG เรียกร้องให้สหรัฐฯดำเนิน “พันธกิจที่ลดน้อยลงและมีเงื่อนไข” โดยจะผูกพันความสนับสนุนที่สหรัฐฯจะให้แก่รัฐบาลในกรุงแบกแดดในอนาคต เอาไว้กับเป้าหมายขั้นต่ำสองสามประการ –การสร้างกลไกเพื่อการแบ่งปันรายได้จากน้ำมัน, การจัดการเลือกตั้งระดับจังหวัด เพื่อทำให้โครงสร้างอำนาจแบบเน้นการกระจายอำนาจ เกิดรูปแบบอย่างเป็นทางการขึ้นมา, และการทำให้กองทัพที่ไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาตินิกายศาสนา บังเกิดความเป็นทหารอาชีพมากขึ้น เพื่อทำหน้าที่ “พิทักษ์รัฐและควบคุมไม่ให้เกิดความรุนแรงลักษณะแบ่งฝักฝ่าย”
หากแบกแดดล้มเหลวไม่สามารถสร้างความก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายเหล่านี้อย่างมีความหมายได้ภายในสิ้นปีนี้ สหรัฐฯก็จะถอนกำลังของตนออกมาตามตารางเวลาของตนเอง หากแบกแดดสามารถสร้างความก้าวหน้าดังกล่าวขึ้นมาได้ วอชิงตันก็จะยังคงลดกำลังของตนลงอยู่ดี และเน้นหนักไปที่การฝึกอบรมและการติดอาวุธยุทโธปกรณ์ให้แก่กองทัพอิรัก รวมทั้งช่วยเหลือกองทัพนี้ในการป้องกันความรุนแรงระหว่างฝักฝ่ายต่างๆ
ทางเลือกประการที่สองจะเป็น “การลดพันธกิจทางทหารของสหรัฐฯลงแทบทั้งหมดและอย่างไม่มีเงื่อนไข” พร้อมๆ กับ “การเพิ่มการปรากฏตัวด้านความมั่นคงปลอดภัยในภูมิภาคแถบนี้ให้หนักแน่นยิ่งขึ้น, การใช้ความพยายามทางการทูตอย่างมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้ง [โดยมุ่งเล็งไปที่อิหร่านและซาอุดีอาระเบียเป็นสำคัญ], และการให้ความสนับสนุนทางเมืองแก่รัฐบาลอิรักต่อไป”
รายงานบอกว่า แต่ละทางเลือกเหล่านี้ ซึ่งรวมทั้งยุทธศาสตร์ในปัจจุบันที่มุ่งดำเนินพันธกิจแบบไม่มีเงื่อนไขด้วยนั้น ต่างก็มีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน และอาจก่อให้เกิดผลดีที่ผิดแผกกันต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯในอิรัก, ภูมิภาคแถบนี้, ตลอดจนดินแดนกว้างไกลกว่านั้น ทั้งนี้รายงานได้ระบุถึง “ผลประโยชน์สำคัญสูงสุด” รวม 5 ด้าน ที่จะได้รับผลกระทบกระเทือนจากนโยบายของสหรัฐฯในอิรัก
ผลประโยชน์สำคัญสูงสุด 5 ด้านดังกล่าว ได้แก่ การป้องกันไม่ให้อิรักกลายเป็นแหล่งหลบภัยหรือเป็นฐานรากของผู้ก่อการร้ายสากล, การฟื้นฟูความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ, เกียรติภูมิและศักยภาพที่จะลงมือปฏิบัติการในขอบเขตทั่วโลก, การปรับปรุงเสถียรภาพในระดับภูมิภาค, การจำกัดและการหันเหอิทธิพลของอิหร่าน, และการธำรงรักษาเอกราชของอิรักให้อยู่ในสภาพที่เป็นรัฐเดี่ยวต่อไป
รายงานได้เสนอแนะภาพผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อผลประโยชน์ 5 ด้านนี้จากการใช้ทางเลือกต่างๆ ทั้ง 3 ทาง โดยการรักษายุทธศาสตร์ในปัจจุบันเอาไว้ต่อไปนั้น รายงานสรุปว่าจะเกิด “ผลกระทบเชิงลบอย่างสำคัญ” ต่อศักยภาพของวอชิงตันที่จะปฏิบัติการในขอบเขตทั่วโลก ขณะที่ในอีกด้านหนึ่ง นโยบายลดพันธกิจลงและกำหนดเงื่อนไข จะมีผลกระทบ “เชิงบวก” ต่อศักยภาพดังกล่าวนี้ ส่วนนโยบายการลดพันธกิจแบบเกือบสิ้นเชิงและไม่มีเงื่อนไขนั้น จะมีผลกระทบในลักษณะผสมผสาน กล่าวคือทางด้านหนึ่งจะทำให้ศักยภาพทางทหารของสหรัฐฯมีความเป็นเสรีมากขึ้น ขณะที่อีกด้านหนึ่ง ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิด “ความรับรู้ความเข้าใจว่าสหรัฐฯเป็นผู้พ่ายแพ้”
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
By Jim Lobe
7/04/2008
สหรัฐฯกำลังเสี่ยงที่จะจมปลักอยู่ในอิรักเป็นระยะเวลายาวนาน พวกผู้เชี่ยวชาญทรงอิทธิพลซึ่งเคยให้คำปรึกษาแก่ “กลุ่มศึกษาอิรัก” (Iraq Study Group) สรุปเอาไว้เช่นนี้ในรายงานชิ้นใหม่ พวกเขายังแนะนำทางเลือกที่เป็นไปได้อีก 2 ทาง นอกเหนือจากนโยบายในปัจจุบันซึ่งพันธกิจของสหรัฐฯต่ออิรักอยู่ในลักษณะ “ไม่มีเงื่อนไขใดๆ” และเกือบเป็นการแน่นอนทีเดียวว่า ทัศนะของพวกเขาจะเป็นการนำส่งกระสุนให้แก่พวกผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ในการให้ปากคำต่อรัฐสภาครั้งสำคัญยิ่งวันอังคารนี้(8)
วอชิงตัน – ถึงแม้ความรุนแรงได้ลดระดับลงในระยะ 15 เดือนที่ผ่านมา ทว่า “สหรัฐฯกำลังเสี่ยงที่จะจมปลักอยู่ในอิรักเป็นระยะเวลายาวนาน โดยที่จะมีผลต่อเนื่องร้ายแรงต่อผลประโยชน์ของตนในส่วนอื่นๆ ของโลก” ทั้งนี้ตามการประเมินสถานการณ์ครั้งใหม่ โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดียวกับที่ได้เคยให้คำแนะนำแก่ “กลุ่มศึกษาอิรัก” (Iraq Study Group หรือ ISG) อันเป็นกลุ่มซึ่งได้รับความเชื่อถืออย่างสูงและสมาชิกมาจากทั้งสองพรรคการเมืองใหญ่ เมื่อปี 2006
รายงานประเมินฉบับนี้ ซึ่งได้รับการเผยแพร่ออกมา ไม่กี่วันก่อนหน้าการไปให้ปากคำต่อรัฐสภาครั้งสำคัญยิ่งในสัปดาห์นี้ ของเอกอัครราชทูตและผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯในอิรัก ได้ให้ข้อสรุปไว้ว่า ความรุนแรงที่กำลังลดน้อยลงมา แทบไม่ส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าในการบรรลุการปรองดองแห่งชาติ อีกทั้งดอกผลในเรื่องความมั่นคงปลอดภัย ก็ยังคง “เปราะบางและต้องขึ้นอยู่กับการปรากฏตัวของกำลังทหารสหรัฐฯ”
“ความก้าวหน้าทางการเมืองนั้นเป็นไปอย่างล่าช้า, ชะงักงัน, และฉาบฉวยผิวเผิน อีกทั้งความแตกแยกแบ่งฝักฝ่ายทางสังคมและการเมืองก็ยังคงเด่นชัดเสียจนกระทั่งว่า สหรัฐฯยังไม่ได้เข้าใกล้ความสามารถที่จะถอนตัวออกจากอิรัก ยิ่งกว่าเมื่อ 1 ปีก่อนเลย” ทั้งนี้ตามรายงานชิ้นนี้ที่เผยแพร่โดย สถาบันสันติภาพสหรัฐฯ (US Institute of Peace หรือ USIP) และใช้ชื่อรายงานว่า “อิรักหลังการโหมเพิ่มทหาร: ทางเลือกและคำถาม” (Iraq After the Surge: Options and Questions)
“พัฒนาการทางการเมืองที่มีความยั่งยืน[ในอิรัก]จะเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อสหรัฐฯดำเนินพันธกิจต่ออิรัก อย่างไม่มีเงื่อนไขไปเป็นเวลา 5 ถึง 10 ปี” รายงานชิ้นนี้สรุป พร้อมกับชี้ด้วยว่า พันธกิจดังกล่าวก็ “ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาล ทั้งทางด้านมนุษย์และด้านการเงินอยู่แล้ว นอกเหนือจากผลประโยชน์ต่างๆ ในทั่วโลกของสหรัฐฯ ก็กำลังถูกเสียสละให้แก่พันธกิจของสหรัฐฯในอิรักด้วย กระทั่งว่าหากความก้าวหน้าในอิรักยังคงดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ผลลัพธ์ที่ได้ก็อาจจะไม่คุ้มค่าใช้จ่าย” รายงานเตือน
รายงานชิ้นนี้ ซึ่งพิจารณาทางเลือกที่อาจเป็นไปได้สำหรับนโยบายของสหรัฐฯในอิรักในช่วงระยะเวลาจนถึงราวๆ ปีหน้า รวมทั้งสิ้น 3 หนทางด้วยกันนั้น ถูกนำออกเผยแพร่เพียงแค่ 2 วันก่อนที่เอกอัครราชทูต ไรอัน คร็อกเกอร์ และ พลเอก เดวิด เพเทรอัส จะไปร้องขอให้วอชิงตันระงับแผนการลดกำลังทหารสหรัฐฯในอิรักลงมาจากช่วง “การโหมเพิ่มทหาร” โดยคาดการณ์กันว่าจะอยู่ในระดับ 140,000 คน ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม ทั้งนี้พวกเขาจะให้เหตุผลว่า เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า จะยังสามารถรักษาดอกผลด้านความมั่นคงปลอดภัยที่ได้มาตลอดช่วงปีที่แล้วเอาไว้ ณ ระยะสูงสุดของ “การโหมเพิ่มทหาร” เมื่อหลายเดือนก่อนนั้น วอชิงตันมีทหารอยู่ในอิรักราว 170,000 คน
ข้อเสนอแนะของคร็อกเกอร์และเพเทรอัสดังกล่าว ซึ่งดูจะได้รับการหนุนหลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ด้วย น่าที่จะถูกอภิปรายถกแถลงอย่างดุเดือดจากพวกพรรคเดโมแครตในรัฐสภา ซึ่งสนับสนุนให้มีการถอนทหารหน่วยสู้รบออกจากอิรักอย่างต่อเนื่อง ในอัตราประมาณ 5,000 คนต่อเดือนไปตลอดถึงสิ้นปีนี้ อันเป็นจุดยืนที่ได้รับความเห็นชอบอย่างเป็นการภายในจากคณะเสนาธิการทหารผสมของสหรัฐฯ ผู้ซึ่งต่อหน้าสาธารณชนได้เพียงแค่โอดครวญว่า การรักษากำลังทหารระดับสูงมากให้ประจำการอยู่ในอิรักต่อไป กำลังก่อให้เกิดความเสียหายชนิดไม่อาจทนแบกรับไปได้นาน ทั้งต่อขวัญกำลังใจของกองทหารภาคพื้นดินของสหรัฐฯ และต่อความพรักพร้อมของทหารเหล่านี้ในการรับมือกับวิกฤตทางทหารอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นมา
รายงานฉบับใหม่ของ USIP นี้ ซึ่งเป็นตัวแทนทัศนะของผู้เชี่ยวชาญทางทหารและผู้เชี่ยวชาญภูมิภาคจำนวนหลายสิบคน ที่ได้เคยให้คำปรึกษาแก่ กลุ่มศึกษาอิรัก (ISG) ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสภาและสมาชิกมาจากทั้งสองพรรคการเมือง เมื่อ 2 ปีก่อน แทบจะแน่นอนทีเดียวว่าจะกลายเป็นการนำส่งกระสุนให้แก่บรรดาผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ในการซักไซ้ตั้งคำถามเอากับคร็อกเกอร์และเพเทรอัส
ISG ซึ่งมีประธานร่วม 2 คน คือ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ เจมส์ เบเกอร์ ของฝ่ายรีพับลิกัน และ ลี แฮมิลตัน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของฝ่ายเดโมแครต ได้เรียกร้องเอาไว้ในเดือนธันวาคม 2006 ให้สหรัฐฯถอนทหารหน่วยสู้รบทั้งหมดออกมาภายในเดือนเมษายน 2008 โดยให้กำลังทหารที่ยังเหลืออยู่ –ประมาณ 80,000 คน- มุ่งเน้นหนักไปในเรื่องการฝึกอบรมและการติดอาวุธยุทโธปกรณ์ให้แก่กองกำลังทหารตำรวจชาวอิรัก, การดำเนินยุทธการต่อต้านกลุ่มอัลกออิดะห์ในอิรัก, และการพิทักษ์คุ้มครองเจ้าหน้าที่พลเรือนของสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม บุชปฏิเสธที่จะทำตามข้อเสนอแนะนี้ และกลับหันมาเลือกใช้ยุทธศาสตร์ “การโหมเพิ่มทหาร” ซึ่งเพิ่มกำลังทหารสหรัฐฯขึ้นมาประมาณ 30,000 คน ด้วยความหวังว่ากำลังที่เสริมขึ้นมานี้ จะสามารถลดความรุนแรงระหว่างกลุ่มคนต่างเชื้อชาตินิกายศาสนาในเขตกรุงแบกแดดและปริมณฑลลงได้อย่างสำคัญ รวมทั้งสามารถกระตุ้นส่งเสริมให้ฝักฝ่ายทางการเมืองและทางนิกายศาสนาที่กำลังสู้รบกันอยู่ หันมาทำการประนีประนอมกันซึ่งมีความจำเป็นในการก้าวไปสู่การปรองดองแห่งชาติ
ขณะที่ยุทธศาสตร์นี้ประสบความคืบหน้าไปอย่างสำคัญในแนวรบด้านความมั่นคงปลอดภัย แต่ทางด้านความก้าวหน้าไปสู่การปรองดองชาตินั้น ส่วนใหญ่ยังอยู่ในลักษณะของ “การต่อรองกันในทางยุทธวิธี” โดยที่สำคัญแล้วดำเนินการกันเพื่อให้บรรลุ “มาตรวัด” ขั้นต่ำที่สหรัฐฯกำหนดออกมา –อาทิ การแบ่งปันรายได้แผ่นดินระหว่างเขตพื้นที่ต่างๆ และการปฏิรูปบรรดากฎหมายที่กีดกันแบ่งแยกพวกที่เคยเป็นสมาชิกพรรคบาธ – เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า จะยังคงได้รับการสนับสนุนจากวอชิงตันต่อไป รายงานชิ้นนี้ระบุไว้เช่นนี้
“ถึงแม้เท่าที่ดำเนินการมาจะให้ผลในทางบวก แต่ก็ไม่ได้ลดทอนบรรเทาสาเหตุเบื้องลึกของความไร้เสถียรภาพทางการเมืองในอิรัก หรือมีส่วนเอื้ออำนวยให้บังเกิดระบบการปกครองระดับชาติที่แท้จริงขึ้นมา” รายงานสรุป พร้อมกับชี้ด้วยว่า “ความสำเร็จจำนวนมาก [ของยุทธศาสตร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน] เป็นผลมาจากปัจจัยหลายๆ ประการที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของสหรัฐฯ และด้วยเหตุดังนั้นจึงย่อมเกิดความเปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ”
ในบรรดาสาเหตุเหล่านี้มีดังเช่น การประกาศหยุดยิงของกองทัพมะห์ดี ของมุกตาดา อัล ซาดร์ และเจตนารมณ์ของบรรดาอดีตผู้ก่อความไม่สงบชาวสุหนี่ที่เคย “คัดค้านรัฐบาลอิรัก[ที่นำโดยชาวชิอะห์]อย่างเด็ดเดี่ยว” ว่าจะยังคงร่วมมือมากน้อยแค่ไหนกับกองกำลังสหรัฐฯในการต่อต้านกลุ่มอัลกออิดะห์ในอิรัก
รายงานเสนอแนะทางเลือกที่อาจทำได้อีก 2 หนทาง นอกเหนือจากนโยบายในปัจจุบันที่สหรัฐฯดำเนินพันธกิจต่ออิรักในลักษณะ “ไม่มีเงื่อนไข”
ทางเลือกประการแรก ซึ่งเป็นเสียงสะท้อนของรายงานฉบับปี 2006 ของ ISG เรียกร้องให้สหรัฐฯดำเนิน “พันธกิจที่ลดน้อยลงและมีเงื่อนไข” โดยจะผูกพันความสนับสนุนที่สหรัฐฯจะให้แก่รัฐบาลในกรุงแบกแดดในอนาคต เอาไว้กับเป้าหมายขั้นต่ำสองสามประการ –การสร้างกลไกเพื่อการแบ่งปันรายได้จากน้ำมัน, การจัดการเลือกตั้งระดับจังหวัด เพื่อทำให้โครงสร้างอำนาจแบบเน้นการกระจายอำนาจ เกิดรูปแบบอย่างเป็นทางการขึ้นมา, และการทำให้กองทัพที่ไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาตินิกายศาสนา บังเกิดความเป็นทหารอาชีพมากขึ้น เพื่อทำหน้าที่ “พิทักษ์รัฐและควบคุมไม่ให้เกิดความรุนแรงลักษณะแบ่งฝักฝ่าย”
หากแบกแดดล้มเหลวไม่สามารถสร้างความก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายเหล่านี้อย่างมีความหมายได้ภายในสิ้นปีนี้ สหรัฐฯก็จะถอนกำลังของตนออกมาตามตารางเวลาของตนเอง หากแบกแดดสามารถสร้างความก้าวหน้าดังกล่าวขึ้นมาได้ วอชิงตันก็จะยังคงลดกำลังของตนลงอยู่ดี และเน้นหนักไปที่การฝึกอบรมและการติดอาวุธยุทโธปกรณ์ให้แก่กองทัพอิรัก รวมทั้งช่วยเหลือกองทัพนี้ในการป้องกันความรุนแรงระหว่างฝักฝ่ายต่างๆ
ทางเลือกประการที่สองจะเป็น “การลดพันธกิจทางทหารของสหรัฐฯลงแทบทั้งหมดและอย่างไม่มีเงื่อนไข” พร้อมๆ กับ “การเพิ่มการปรากฏตัวด้านความมั่นคงปลอดภัยในภูมิภาคแถบนี้ให้หนักแน่นยิ่งขึ้น, การใช้ความพยายามทางการทูตอย่างมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้ง [โดยมุ่งเล็งไปที่อิหร่านและซาอุดีอาระเบียเป็นสำคัญ], และการให้ความสนับสนุนทางเมืองแก่รัฐบาลอิรักต่อไป”
รายงานบอกว่า แต่ละทางเลือกเหล่านี้ ซึ่งรวมทั้งยุทธศาสตร์ในปัจจุบันที่มุ่งดำเนินพันธกิจแบบไม่มีเงื่อนไขด้วยนั้น ต่างก็มีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน และอาจก่อให้เกิดผลดีที่ผิดแผกกันต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯในอิรัก, ภูมิภาคแถบนี้, ตลอดจนดินแดนกว้างไกลกว่านั้น ทั้งนี้รายงานได้ระบุถึง “ผลประโยชน์สำคัญสูงสุด” รวม 5 ด้าน ที่จะได้รับผลกระทบกระเทือนจากนโยบายของสหรัฐฯในอิรัก
ผลประโยชน์สำคัญสูงสุด 5 ด้านดังกล่าว ได้แก่ การป้องกันไม่ให้อิรักกลายเป็นแหล่งหลบภัยหรือเป็นฐานรากของผู้ก่อการร้ายสากล, การฟื้นฟูความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ, เกียรติภูมิและศักยภาพที่จะลงมือปฏิบัติการในขอบเขตทั่วโลก, การปรับปรุงเสถียรภาพในระดับภูมิภาค, การจำกัดและการหันเหอิทธิพลของอิหร่าน, และการธำรงรักษาเอกราชของอิรักให้อยู่ในสภาพที่เป็นรัฐเดี่ยวต่อไป
รายงานได้เสนอแนะภาพผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อผลประโยชน์ 5 ด้านนี้จากการใช้ทางเลือกต่างๆ ทั้ง 3 ทาง โดยการรักษายุทธศาสตร์ในปัจจุบันเอาไว้ต่อไปนั้น รายงานสรุปว่าจะเกิด “ผลกระทบเชิงลบอย่างสำคัญ” ต่อศักยภาพของวอชิงตันที่จะปฏิบัติการในขอบเขตทั่วโลก ขณะที่ในอีกด้านหนึ่ง นโยบายลดพันธกิจลงและกำหนดเงื่อนไข จะมีผลกระทบ “เชิงบวก” ต่อศักยภาพดังกล่าวนี้ ส่วนนโยบายการลดพันธกิจแบบเกือบสิ้นเชิงและไม่มีเงื่อนไขนั้น จะมีผลกระทบในลักษณะผสมผสาน กล่าวคือทางด้านหนึ่งจะทำให้ศักยภาพทางทหารของสหรัฐฯมีความเป็นเสรีมากขึ้น ขณะที่อีกด้านหนึ่ง ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิด “ความรับรู้ความเข้าใจว่าสหรัฐฯเป็นผู้พ่ายแพ้”
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)