(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Afghanistan’s ‘sons of the soil’ rise up
By Syed Saleem Shahzad
11/08/2008
จากการที่พวกตอลิบานกำลังพิสูจน์ให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า เป็นการยากลำบากเหลือเกินที่จะเอาชนะพวกเขาให้ได้ในทางการทหาร แต่ขณะเดียวกันเหล่าพันธมิตรตะวันตกก็ยังลังเลที่จะเปิดการเจรจากับพวกตอลิบานหรือพวกอัลกออิดะห์หัวรุนแรงใดๆ ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ อัฟกานิสถานจึงกำลังตกอยู่ท่ามกลางความชะงักงันอันไม่น่าสบายใจเลย แต่สำหรับปากีสถานแล้ว กลับมองสถานการณ์เช่นนี้ว่าเป็นโอกาสที่ตัวเองจะกอบกู้ฟื้นคืนฐานะการเป็นผู้เล่นสำคัญรายหนึ่งในกิจการของประเทศเพื่อนบ้านของตนแห่งนี้ ด้วยการยกระดับพวกตอลิบาน “คนพื้นถิ่น” ที่มีแนวคิดไม่รุนแรง ขึ้นมาเป็นผู้คนซึ่งควรที่จะติดต่อเจรจาด้วย สภาพเช่นนี้กำลังบังเกิดขึ้นแล้วในพื้นที่ชนเผ่าของปากีสถานเอง
การาจี – พวกตอลิบานที่มีคุณสมบัติในเรื่องความยืดหยุ่นทนทานต่อสถานการณ์ต่างๆ อย่างสูงได้พิสูจน์ตัวเองให้เห็นตลอดทั่วทั้งอัฟกานิสถานในระยะไม่กี่เดือนที่ผ่านมาว่า พวกเขาเป็นกลุ่มคนซึ่งมั่นคงเด็ดเดี่ยวยากแก่การสั่นคลอนทำลาย และก็กำลังทำให้เห็นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ว่า มีโอกาสน้อยลงทุกที ที่กองกำลังพันธมิตรซึ่งนำโดยองค์การนาโต้ จะสามารถเอาชัยชนะในทางการทหาร เหนือกระแสการก่อความไม่สงบที่มีมวลชนสนับสนุนอยู่ ณ เขตพื้นที่ต่างๆ ชาวพาชตุน ที่เป็นชนส่วนใหญ่ของอัฟกานิสถาน
กระนั้นก็ตาม ทางเลือกอีกทางหนึ่งซึ่งได้แก่การเปิดการเจรจากับพวกผู้นำตอลิบานหัวรุนแรง ก็เป็นสิ่งที่เหล่าผู้นำทางการเมืองในโลกตะวันตกไม่สามารถยอมรับได้
ภาวะชะงักงันเช่นนี้สอดคล้องกับความประสงค์ของปากีสถานอย่างเหมาะเหม็ง เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้แก่ทางการอิสลามาบัดอีกคำรบหนึ่ง ที่จะเข้าไปในมีบทบาทนำในการปรับโฉมทิศทางของเหตุการณ์ต่างๆ ในประเทศเพื่อนบ้านของตนประเทศนี้
กองบัญชาการทหารสูงสุดของปากีสถานในนครราวัลปินดี กำลังตื่นเต้นยินดีกับความสำเร็จทางทหารอันท่วมท้นของพวกตอลิบาน ซึ่งได้ลดฐานะของรัฐบาลอัฟกันที่อเมริกันหนุนหลังอยู่ ของประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ให้เหลือแค่เพียงเป็นประมุขแห่งรัฐไว้ประดับประดาทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงคาบูลเท่านั้น โดยที่ทั้งคาร์ไซและพวกเจ้าหน้าที่ด้านต่างๆ ของเขา ต่างก็ไม่กล้าแม้เพียงแค่ข้ามถนนไปดื่มน้ำชายามเย็น ณ โรงแรมเซเรนา
เดือนมิถุนายน (ซึ่งมีทหารสหรัฐฯเสียชีวิตจากการสู้รบไป 28 คน) คือเดือนที่นองเลือดที่สุดของกองทหารพันธมิตร นับแต่ที่พวกเขารุกรานอัฟกานิสถานในเดือนตุลาคม 2001 โดยที่จำนวนผู้ล้มตายมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา ทั้งนี้ ในปีนั้นมีทหาร 58 คนถูกสังหารสิ้นชีพไป จากนั้นในปี 2005 จำนวนผู้เสียชีวิตได้เพิ่มขึ้นเป็นกว่าสองเท่าตัว คือเป็น 130 คน แล้วก็เป็น 191 คนในปี 2006 และ 232 คนในปี 2007 สำหรับปีนี้นั้นจวบจนถึงบัดนี้มีทหารสิ้นชีพไปแล้ว 127 คน
พวกนักวางแผนของปากีสถานเวลานี้มองว่า วัตถุประสงค์ของพวกเขาควรที่จะเป็นการมุ่งหาทางโดดเดี่ยวพวกหัวรุนแรงภายในกลุ่มตอลิบาน และการพยายามฝึกฝนกล่อมเกลา “เด็กๆ ตอลิบาน” ที่มีลักษณะชนเผ่าอันเข้มข้น, หยาบกระด้าง, และกระทั่งเรียบๆ ง่ายๆ เหมือนกับที่พวกเขาได้เคยทำมาในช่วงกลางทศวรรษ 1990 จวบจนกระทั่งกลุ่มตอลิบานสามารถเข้ายึดครองควบคุมได้ทั่วทั้งประเทศอัฟกานิสถานในปี 1996 เป็นที่คาดการณ์วาดหวังกันไว้ว่า คณะผู้นำใหม่ของกลุ่มตอลิบาน ที่มีแรงบันดาลใจในแบบชนเผ่าและ “เป็นที่ยอมรับได้” เช่นนี้ จะสามารถเข้าแทนที่พวกตอลิบานและอัลกออิดะห์ที่นิยมแนวทางความรุนแรงได้
อันที่จริงกระบวนการดังกล่าวนี้ได้เริ่มขึ้นมาแล้วในพื้นที่ชนเผ่าของปากีสถาน
ผู้นำชั้นแนวหน้าคนหนึ่งของพวกตอลิบานที่เป็นชาวปากีสถาน ได้แก่ ฮะยี นาเซียร์ จากเขตเซาท์ วาซิริสถาน ซึ่งเป็นผู้ดูแลเครือข่ายตอลิบานชาวปากีสถานที่ใหญ่ที่สุด ที่กำลังต่อสู้กับกองทหารพันธมิตรในอัฟกานิสถานอยู่นั้น เมื่อเร็วๆ นี้ได้จัดการประชุมขนาดใหญ่ขึ้นมา โดยที่ประชุมได้มีมติกันอีกครั้งหนึ่งให้ขับไล่พวกอุซเบกหัวรุนแรงออกไปจากเซาท์ วาซิริสถาน เรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นมาครั้งหนึ่งแล้วตอนต้นปีที่แล้ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นาเซียร์แสดงตัวว่าพรักพร้อมที่จะเข้าเล่นงานผู้สนับสนุนคนสำคัญของชาวอุซเบก ซึ่งได้แก่ ไบตุลเลาะห์ มาห์ซุด อันเป็นพวกตอลิบานชาวปากีสถานที่มีแนวความคิดแข็งกร้าว ถ้าหากเขาพยายามที่จะเข้ามาแทรกแซงเกี่ยวข้องด้วย นาเซียร์นั้นแสดงความจงรักภักดีของตนต่อกองกำลังรักษาความมั่นคงของปากีสถานอย่างเปิดเผย อีกทั้งได้ติดต่อขอความร่วมมือกับพวกผู้นำตอลิบานที่เป็นชาวปากีสถานซึ่งทรงอำนาจคนอื่นๆ อาทิ มาวละวี ฟากีร์ จากเขต บาจาวร์ เอเยนซี, ชาห์ คาลิด จากเขต โมหมานด์ เอเยนซี, และ หะยี นัมดาร์ ในเขต ไคเบอร์ เอเยนซี นอกจากนั้น นาเซียร์ยังได้ประกาศแต่งตั้งผู้บัญชาการที่ทรงอำนาจแห่งเขตนอร์ท วาซิริสถาน นั่นคือ ฮาฟิซ กุล บาฮาดูร์ ให้มีฐานะเป็นหัวหน้า(อามีร์)ของพวกตอลิบานที่เป็นชาวปากีสถาน ในทั่วทั้งประเทศปากีสถานอีกด้วย
พวกตอลิบานที่เป็นปากีสถานนั้น จำนวนมากทีเดียวมักเป็นผู้ที่นิยมฝักใฝ่ปากีสถาน และต่อต้านกองกำลังหัวรุนแรงอย่างของ ไบตุลเลาะห์ เมห์ซุด และพันธมิตรที่เป็นชาวต่างชาติของเขาอยู่แล้ว ทว่าครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่พวกเขาได้มีการจัดตั้งองค์การอย่างเป็นทางการขึ้นมา รวมทั้งแต่งตั้งอามีร์(หัวหน้า) ขึ้นมาด้วย ซึ่งถือเป็นการท้าทายโดยตรงต่อพวกหัวรุนแรง
แกนกลางในความคิดความเชื่อของพวกเขาก็คือ การเน้นย้ำเรื่องค่านิยมของชนเผ่าตามประเพณี และการดำเนินวาระของชาวชนเผ่าในการสนับสนุนพลังต่อต้านของชาวอัฟกันที่คัดค้านกองทหารชาวตะวันตก ทว่าไม่ใช่การเดินตามวาระระดับโลก อาทิ การมุ่งโจมตียุโรปหรือสหรัฐอเมริกา
ไม่นานนักหลังการประกาศแต่งตั้งอามีร์ ก็มีผู้บัญชาการซึ่งเป็นพวกตอลิบานที่เป็นชาวอัฟกันคนสำคัญมากจำนวน 2 คน จากดินแดนภาคตะวันออกของอัฟกานิสถาน ได้แสดงความสนับสนุนต่อเครือข่ายตอลิบานชาวปากีสถานที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นใหม่นี้ ทั้งสองคนนี้ได้แก่ มาวละวี อับดุล คาเบียร์ อดีตผู้ว่าการจังหวัดนันการ์ฮาร์ของฝ่ายตอลิบาน ก่อนที่สหรัฐฯจะเข้ามารุกรานในปี 2001 และอีกคนหนึ่งคือ ผู้บัญชาการ ซาดร์-อุดดีน จวบจนถึงเวลานี้ ผู้บัญชาการชาวอัฟกันคนสำคัญที่สุดในพื้นที่ภาคตะวันออก นั่นคือมาวลานา จาลาลุดดีน ฮักกานี ยังคงวางตัวเป็นกลาง บางทีอาจจะเป็นเพราะเขามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั้งกับปากีสถานและก็กับฝ่ายหัวรุนแรงด้วย
ก่อนหน้านี้ กองกำลัง เฮซบ์-อี-อิสลามี ของ กุลบุดดีน เฮกมัตยาร์ ผู้บัญชาการที่ฝักใฝ่ปากีสถานอีกผู้หนึ่งในอัฟกานิสถาน ได้ประกาศอ้างความสำเร็จของยุทธการหลายต่อหลายครั้งในพื้นที่จังหวัด คาปิซา และ วาร์แดค ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถาน และอยู่ห่างเพียงไม่กี่สิบกิโลเมตรจากกรุงคาบูล นี่ก็เป็นพัฒนาการอันสำคัญอีกอย่างหนึ่ง เพราะมันส่งเสริมให้กำลังใจแก่พวกผู้ก่อความไม่สงบส่วนที่เชื่อในเรื่องวาระระดับท้องถิ่นมากกว่าวาระระดับโลก
นี่คือภาพใหม่ที่กำลังปรากฏขึ้นในพื้นที่ภาคตะวันออกของอัฟกานิสถาน ถ้าหากกลุ่มเหล่านี้ภายใต้การสนับสนุนของปากีสถาน สามารถจับมือประสานงานกับพวกตระกูลคานดาฮารีของตอลิบานในภาคตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งก็ได้มีการจัดตั้งเป็นกองกำลังต่อต้านของชนเผ่าที่ไม่ใช่พวกหัวรุนแรงขึ้นมาแล้ว ก็ยิ่งจะทำให้ทางการอิสลามัดมีโอกาสที่จะยื่นข้อเสนอต่อทางการกรุงวอชิงตัน
นั่นก็คือ ควรที่จะเริ่มกระบวนการ “จิรกา” (การประชุมสภาชนเผ่า) ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยครั้งนี้ให้มีแต่พวกตอลิบาน “คนพื้นถิ่น” เข้าร่วม โดยให้พวกเขาวางอาวุธของพวกเขา และเจรจากันในเรื่องบทบาทใหม่ทางการเมือง ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีอัฟกานิสถานครั้งต่อไปในปีหน้า
ไซเอด ซาลีม ชาห์ซาด เป็นหัวหน้าสำนักงานปากีสถานของเอเชียไทมส์ออนไลน์ สามารถที่จะติดต่อกับเขาได้ทางอีเมล์ saleem_sharzad2002@yahoo.com
Afghanistan’s ‘sons of the soil’ rise up
By Syed Saleem Shahzad
11/08/2008
จากการที่พวกตอลิบานกำลังพิสูจน์ให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า เป็นการยากลำบากเหลือเกินที่จะเอาชนะพวกเขาให้ได้ในทางการทหาร แต่ขณะเดียวกันเหล่าพันธมิตรตะวันตกก็ยังลังเลที่จะเปิดการเจรจากับพวกตอลิบานหรือพวกอัลกออิดะห์หัวรุนแรงใดๆ ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ อัฟกานิสถานจึงกำลังตกอยู่ท่ามกลางความชะงักงันอันไม่น่าสบายใจเลย แต่สำหรับปากีสถานแล้ว กลับมองสถานการณ์เช่นนี้ว่าเป็นโอกาสที่ตัวเองจะกอบกู้ฟื้นคืนฐานะการเป็นผู้เล่นสำคัญรายหนึ่งในกิจการของประเทศเพื่อนบ้านของตนแห่งนี้ ด้วยการยกระดับพวกตอลิบาน “คนพื้นถิ่น” ที่มีแนวคิดไม่รุนแรง ขึ้นมาเป็นผู้คนซึ่งควรที่จะติดต่อเจรจาด้วย สภาพเช่นนี้กำลังบังเกิดขึ้นแล้วในพื้นที่ชนเผ่าของปากีสถานเอง
การาจี – พวกตอลิบานที่มีคุณสมบัติในเรื่องความยืดหยุ่นทนทานต่อสถานการณ์ต่างๆ อย่างสูงได้พิสูจน์ตัวเองให้เห็นตลอดทั่วทั้งอัฟกานิสถานในระยะไม่กี่เดือนที่ผ่านมาว่า พวกเขาเป็นกลุ่มคนซึ่งมั่นคงเด็ดเดี่ยวยากแก่การสั่นคลอนทำลาย และก็กำลังทำให้เห็นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ว่า มีโอกาสน้อยลงทุกที ที่กองกำลังพันธมิตรซึ่งนำโดยองค์การนาโต้ จะสามารถเอาชัยชนะในทางการทหาร เหนือกระแสการก่อความไม่สงบที่มีมวลชนสนับสนุนอยู่ ณ เขตพื้นที่ต่างๆ ชาวพาชตุน ที่เป็นชนส่วนใหญ่ของอัฟกานิสถาน
กระนั้นก็ตาม ทางเลือกอีกทางหนึ่งซึ่งได้แก่การเปิดการเจรจากับพวกผู้นำตอลิบานหัวรุนแรง ก็เป็นสิ่งที่เหล่าผู้นำทางการเมืองในโลกตะวันตกไม่สามารถยอมรับได้
ภาวะชะงักงันเช่นนี้สอดคล้องกับความประสงค์ของปากีสถานอย่างเหมาะเหม็ง เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้แก่ทางการอิสลามาบัดอีกคำรบหนึ่ง ที่จะเข้าไปในมีบทบาทนำในการปรับโฉมทิศทางของเหตุการณ์ต่างๆ ในประเทศเพื่อนบ้านของตนประเทศนี้
กองบัญชาการทหารสูงสุดของปากีสถานในนครราวัลปินดี กำลังตื่นเต้นยินดีกับความสำเร็จทางทหารอันท่วมท้นของพวกตอลิบาน ซึ่งได้ลดฐานะของรัฐบาลอัฟกันที่อเมริกันหนุนหลังอยู่ ของประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ให้เหลือแค่เพียงเป็นประมุขแห่งรัฐไว้ประดับประดาทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงคาบูลเท่านั้น โดยที่ทั้งคาร์ไซและพวกเจ้าหน้าที่ด้านต่างๆ ของเขา ต่างก็ไม่กล้าแม้เพียงแค่ข้ามถนนไปดื่มน้ำชายามเย็น ณ โรงแรมเซเรนา
เดือนมิถุนายน (ซึ่งมีทหารสหรัฐฯเสียชีวิตจากการสู้รบไป 28 คน) คือเดือนที่นองเลือดที่สุดของกองทหารพันธมิตร นับแต่ที่พวกเขารุกรานอัฟกานิสถานในเดือนตุลาคม 2001 โดยที่จำนวนผู้ล้มตายมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา ทั้งนี้ ในปีนั้นมีทหาร 58 คนถูกสังหารสิ้นชีพไป จากนั้นในปี 2005 จำนวนผู้เสียชีวิตได้เพิ่มขึ้นเป็นกว่าสองเท่าตัว คือเป็น 130 คน แล้วก็เป็น 191 คนในปี 2006 และ 232 คนในปี 2007 สำหรับปีนี้นั้นจวบจนถึงบัดนี้มีทหารสิ้นชีพไปแล้ว 127 คน
พวกนักวางแผนของปากีสถานเวลานี้มองว่า วัตถุประสงค์ของพวกเขาควรที่จะเป็นการมุ่งหาทางโดดเดี่ยวพวกหัวรุนแรงภายในกลุ่มตอลิบาน และการพยายามฝึกฝนกล่อมเกลา “เด็กๆ ตอลิบาน” ที่มีลักษณะชนเผ่าอันเข้มข้น, หยาบกระด้าง, และกระทั่งเรียบๆ ง่ายๆ เหมือนกับที่พวกเขาได้เคยทำมาในช่วงกลางทศวรรษ 1990 จวบจนกระทั่งกลุ่มตอลิบานสามารถเข้ายึดครองควบคุมได้ทั่วทั้งประเทศอัฟกานิสถานในปี 1996 เป็นที่คาดการณ์วาดหวังกันไว้ว่า คณะผู้นำใหม่ของกลุ่มตอลิบาน ที่มีแรงบันดาลใจในแบบชนเผ่าและ “เป็นที่ยอมรับได้” เช่นนี้ จะสามารถเข้าแทนที่พวกตอลิบานและอัลกออิดะห์ที่นิยมแนวทางความรุนแรงได้
อันที่จริงกระบวนการดังกล่าวนี้ได้เริ่มขึ้นมาแล้วในพื้นที่ชนเผ่าของปากีสถาน
ผู้นำชั้นแนวหน้าคนหนึ่งของพวกตอลิบานที่เป็นชาวปากีสถาน ได้แก่ ฮะยี นาเซียร์ จากเขตเซาท์ วาซิริสถาน ซึ่งเป็นผู้ดูแลเครือข่ายตอลิบานชาวปากีสถานที่ใหญ่ที่สุด ที่กำลังต่อสู้กับกองทหารพันธมิตรในอัฟกานิสถานอยู่นั้น เมื่อเร็วๆ นี้ได้จัดการประชุมขนาดใหญ่ขึ้นมา โดยที่ประชุมได้มีมติกันอีกครั้งหนึ่งให้ขับไล่พวกอุซเบกหัวรุนแรงออกไปจากเซาท์ วาซิริสถาน เรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นมาครั้งหนึ่งแล้วตอนต้นปีที่แล้ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นาเซียร์แสดงตัวว่าพรักพร้อมที่จะเข้าเล่นงานผู้สนับสนุนคนสำคัญของชาวอุซเบก ซึ่งได้แก่ ไบตุลเลาะห์ มาห์ซุด อันเป็นพวกตอลิบานชาวปากีสถานที่มีแนวความคิดแข็งกร้าว ถ้าหากเขาพยายามที่จะเข้ามาแทรกแซงเกี่ยวข้องด้วย นาเซียร์นั้นแสดงความจงรักภักดีของตนต่อกองกำลังรักษาความมั่นคงของปากีสถานอย่างเปิดเผย อีกทั้งได้ติดต่อขอความร่วมมือกับพวกผู้นำตอลิบานที่เป็นชาวปากีสถานซึ่งทรงอำนาจคนอื่นๆ อาทิ มาวละวี ฟากีร์ จากเขต บาจาวร์ เอเยนซี, ชาห์ คาลิด จากเขต โมหมานด์ เอเยนซี, และ หะยี นัมดาร์ ในเขต ไคเบอร์ เอเยนซี นอกจากนั้น นาเซียร์ยังได้ประกาศแต่งตั้งผู้บัญชาการที่ทรงอำนาจแห่งเขตนอร์ท วาซิริสถาน นั่นคือ ฮาฟิซ กุล บาฮาดูร์ ให้มีฐานะเป็นหัวหน้า(อามีร์)ของพวกตอลิบานที่เป็นชาวปากีสถาน ในทั่วทั้งประเทศปากีสถานอีกด้วย
พวกตอลิบานที่เป็นปากีสถานนั้น จำนวนมากทีเดียวมักเป็นผู้ที่นิยมฝักใฝ่ปากีสถาน และต่อต้านกองกำลังหัวรุนแรงอย่างของ ไบตุลเลาะห์ เมห์ซุด และพันธมิตรที่เป็นชาวต่างชาติของเขาอยู่แล้ว ทว่าครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่พวกเขาได้มีการจัดตั้งองค์การอย่างเป็นทางการขึ้นมา รวมทั้งแต่งตั้งอามีร์(หัวหน้า) ขึ้นมาด้วย ซึ่งถือเป็นการท้าทายโดยตรงต่อพวกหัวรุนแรง
แกนกลางในความคิดความเชื่อของพวกเขาก็คือ การเน้นย้ำเรื่องค่านิยมของชนเผ่าตามประเพณี และการดำเนินวาระของชาวชนเผ่าในการสนับสนุนพลังต่อต้านของชาวอัฟกันที่คัดค้านกองทหารชาวตะวันตก ทว่าไม่ใช่การเดินตามวาระระดับโลก อาทิ การมุ่งโจมตียุโรปหรือสหรัฐอเมริกา
ไม่นานนักหลังการประกาศแต่งตั้งอามีร์ ก็มีผู้บัญชาการซึ่งเป็นพวกตอลิบานที่เป็นชาวอัฟกันคนสำคัญมากจำนวน 2 คน จากดินแดนภาคตะวันออกของอัฟกานิสถาน ได้แสดงความสนับสนุนต่อเครือข่ายตอลิบานชาวปากีสถานที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นใหม่นี้ ทั้งสองคนนี้ได้แก่ มาวละวี อับดุล คาเบียร์ อดีตผู้ว่าการจังหวัดนันการ์ฮาร์ของฝ่ายตอลิบาน ก่อนที่สหรัฐฯจะเข้ามารุกรานในปี 2001 และอีกคนหนึ่งคือ ผู้บัญชาการ ซาดร์-อุดดีน จวบจนถึงเวลานี้ ผู้บัญชาการชาวอัฟกันคนสำคัญที่สุดในพื้นที่ภาคตะวันออก นั่นคือมาวลานา จาลาลุดดีน ฮักกานี ยังคงวางตัวเป็นกลาง บางทีอาจจะเป็นเพราะเขามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั้งกับปากีสถานและก็กับฝ่ายหัวรุนแรงด้วย
ก่อนหน้านี้ กองกำลัง เฮซบ์-อี-อิสลามี ของ กุลบุดดีน เฮกมัตยาร์ ผู้บัญชาการที่ฝักใฝ่ปากีสถานอีกผู้หนึ่งในอัฟกานิสถาน ได้ประกาศอ้างความสำเร็จของยุทธการหลายต่อหลายครั้งในพื้นที่จังหวัด คาปิซา และ วาร์แดค ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถาน และอยู่ห่างเพียงไม่กี่สิบกิโลเมตรจากกรุงคาบูล นี่ก็เป็นพัฒนาการอันสำคัญอีกอย่างหนึ่ง เพราะมันส่งเสริมให้กำลังใจแก่พวกผู้ก่อความไม่สงบส่วนที่เชื่อในเรื่องวาระระดับท้องถิ่นมากกว่าวาระระดับโลก
นี่คือภาพใหม่ที่กำลังปรากฏขึ้นในพื้นที่ภาคตะวันออกของอัฟกานิสถาน ถ้าหากกลุ่มเหล่านี้ภายใต้การสนับสนุนของปากีสถาน สามารถจับมือประสานงานกับพวกตระกูลคานดาฮารีของตอลิบานในภาคตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งก็ได้มีการจัดตั้งเป็นกองกำลังต่อต้านของชนเผ่าที่ไม่ใช่พวกหัวรุนแรงขึ้นมาแล้ว ก็ยิ่งจะทำให้ทางการอิสลามัดมีโอกาสที่จะยื่นข้อเสนอต่อทางการกรุงวอชิงตัน
นั่นก็คือ ควรที่จะเริ่มกระบวนการ “จิรกา” (การประชุมสภาชนเผ่า) ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยครั้งนี้ให้มีแต่พวกตอลิบาน “คนพื้นถิ่น” เข้าร่วม โดยให้พวกเขาวางอาวุธของพวกเขา และเจรจากันในเรื่องบทบาทใหม่ทางการเมือง ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีอัฟกานิสถานครั้งต่อไปในปีหน้า
ไซเอด ซาลีม ชาห์ซาด เป็นหัวหน้าสำนักงานปากีสถานของเอเชียไทมส์ออนไลน์ สามารถที่จะติดต่อกับเขาได้ทางอีเมล์ saleem_sharzad2002@yahoo.com