(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Afghan attack resonates in Washington
By Jim Lobe
15/07/2008
การเสียชีวิตของทหารสหรัฐฯ 9 คนด้วยน้ำมือของพวกตอลิบาน ณ ที่มั่นอันห่างไกลในภาคตะวันออกของอัฟกานิสถาน คือการตักเตือนอย่างรุนแรงที่ชี้ให้ระลึกว่า แนวรบแกนกลางใน “สงครามต่อสู้กับการก่อการร้าย” ของวอชิงตันนั้น ได้เคลื่อนย้ายออกจากอิรักไปแล้ว กระบวนการแห่งการตระหนักถึงความเป็นจริงเช่นนี้ ยังได้ส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯไปเรียบร้อยแล้วด้วย
วอชิงตัน – ถ้าหากไม่มีอะไรอย่างอื่นอีก การเสียชีวิตเมื่อวันอาทิตย์(13)ของทหารสหรัฐฯ 9 คน ณ ที่มั่นอันห่างไกลในภาคตะวันออกของอัฟกานิสถานประชิดกับพรมแดนปากีสถาน น่าที่จะทำให้บรรดาผู้ออกเสียงในสหรัฐฯเกิดความเข้าอกเข้าใจ ในสิ่งที่พวกเจ้าหน้าที่ความมั่นคงแห่งชาติระดับท็อป ได้พยายามพูดกันมาตลอดช่วงยาวๆ ของรอบปีที่ผ่านพ้นไป นั่นก็คือ แนวรบแกนกลางใน “สงครามต่อสู้กับการก่อการร้าย” ของวอชิงตัน ได้มีการเคลื่อนย้ายจากอิรักไปทางทิศตะวันออก ห่างไกลออกไปอีกประมาณ 1,800 กิโลเมตรแล้ว
กระบวนการแห่งการตระหนักถึงความเป็นจริงเช่นนี้ อาจส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ถึงแม้จะมีข้อเท็จจริงอยู่ว่า เรื่องเศรษฐกิจได้เข้ามาแทนที่สงครามอิรักเสียแล้ว ในฐานะประเด็นปัญหาซึ่งผู้ออกเสียงรู้สึกวิตกกังวลมากที่สุด
ขณะที่วุฒิสมาชิก จอห์น แมคเคน ยังวางตัวในแบบเดียวกับทำเนียบขาว นั่นคือยืนกรานว่าการมุ่งสู่ชัยชนะในอิรัก จะต้องเป็นเรื่องที่มีลำดับความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งในนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ แต่ว่าที่คู่แข่งขันของเขาจากทางพรรคเดโมแครต ซึ่งก็คือ วุฒิสมาชิก บารัค โอบามา รวมทั้งเหล่าที่ปรึกษาระดับท็อปของเขา ต่างออกมากล่าวเตือนครั้งแล้วครั้งเล่าว่า สถานการณ์ในอัฟกานิสถานและเขตพื้นที่พรมแดนของปากีสถานต่างหาก เป็นจุดที่ควรได้รับทั้งความเอาใจใส่และทั้งทรัพยากรเพิ่มขึ้นอย่างมากมายกว่าที่ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช กำลังปรารถนาที่จะให้ในเวลานี้
อันที่จริงแล้ว ในคอลัมน์ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ฉบับวันจันทร์(14) โอบามาได้เขียนเรียกร้องให้มี “ยุทธศาสตร์ใหม่” ในอัฟกานิสถาน ซึ่งรวมถึงการส่ง “กองพลน้อยหน่วยสู้รบเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 2 กองพลน้อย” เข้าไปประจำการที่นั่น ตลอดจนการให้ “ความช่วยเหลือที่ไม่ใช่ทางทหารเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สามารถบรรลุภารกิจที่นั่นได้” ระหว่างการปรากฏตัวปราศรัยหาเสียงในวันอาทิตย์ (13) เขาก็ได้เรียกอัฟกานิสถานและพื้นที่พรมแดนติดกับปากีสถาน ว่าเป็น “ศูนย์กลางอันแท้จริงของกิจกรรมของพวกผู้ก่อการร้าย ซึ่งเราจะต้องรับมือด้วย และต้องรับมือในเชิงรุกอย่างแข็งขันด้วย”
ทหารสหรัฐฯทั้ง 9 คนเสียชีวิตไป เมื่อพวกผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มตอลิบานประมาณ 200 คน ซึ่งรายงานบ่งบอกว่ามีทั้งที่ข้ามมาจากปากีสถาน ตลอดจนที่อยู่ในอัฟกานิสถานเอง ได้แทรกซึมเข้าไปยังที่มั่นที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่ๆ แห่งนั้นในจังหวัดคูนาร์ แล้วก็ประสานกันเข้าโจมตี นอกจากผู้ที่สิ้นชีพแล้ว ยังมีทหารสหรัฐฯอื่นๆ อีก 15 คนตลอดจนทหารกองทัพอัฟกัน 4 คนที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกบุกโจมตีคราวนี้ ซึ่งในที่สุดแล้วก็ถูกขับไล่ให้ล่าถอยไป หลังจากมีการเรียกกำลังสนับสนุนทางอากาศให้มาช่วยเหลือ ตามคำแถลงจากกรุงคาบูลของกองกำลังความช่วยเหลือด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ (International Security Assistance Force หรือ ISAF) ที่นำโดยองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) พวกที่บุกโจมตีก็ได้ถูกฆ่าตายไปประมาณ 40 คน
การผู้เสียชีวิตของฝ่ายสหรัฐฯคราวนี้ ถือเป็นจำนวนมากที่สุดนับตั้งแต่เหตุการณ์ทหาร 16 คนสิ้นชีพลงเมื่อเฮลิคอปเตอร์ทหารลำหนึ่งถูกพวกตอลิบานยิงตกในจังหวัดคูนาร์เมื่อ 3 ปีก่อน และดังที่หนังสือพิมพ์ลอสแองเจลิสไทมส์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า การสูญเสียครั้งล่าสุดนี้ “กลายเป็นการเร่งทวีจำนวนการเสียชีวิตของบรรดาทหารพันธมิตรในอัฟกานิสถาน ซึ่งอันที่จริงก็กำลังเพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็วอยู่แล้ว”
นับเฉพาะเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน มีทหารสหรัฐฯและนาโต้ราว 69 คนถูกฆ่าตายในอัฟกานิสถาน เลยหน้าตัวเลขจำนวนทหารพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐฯซึ่งถูกถูกสังหารในอิรักในช่วงเวลาเดียวกันไปแล้ว
เหตุการณ์โจมตีในวันอาทิตย์ เกิดขึ้นในเวลาเดียวกับที่ประธานคณะเสนาธิการทหารผสมสหรัฐฯ พลเรือเอก ไมเคิล มุลเลน ไปเยือนปากีสถาน ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 4 แล้วในปีนี้ เพื่อไปเน้นย้ำถึงความไม่พอใจ และกระทั่งความโกรธเคืองของสหรัฐฯ จากการที่กรุงอิสลามบัดถูกกล่าวหาว่าบกพร่องล้มเหลว ในเรื่องการป้องกันไม่ให้กองกำลังอาวุธของตอลิบาน ทั้งที่เป็นชาวอัฟกันและชาวปากีสถาน สามารถแทรกซึมผ่านเข้าไปในอัฟกานิสถาน
ความล้มเหลวดังกล่าวนี้ สาเหตุสำคัญที่สุดเนื่องมาจากการที่พวกตอลิบานที่เป็นชาวปากีสถานเอง ประสบความสำเร็จในการเข้าครองดินแดนจำนวนมากของ เขตพื้นที่ชนเผ่าที่บริหารโดยรัฐบาลกลาง (Federally Administered Tribal Areas หรือ FATA) และหลายๆส่วนของ แคว้นพรมแดนตะวันตกเฉียงเหนือ (North-West Frontier Province) ในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน พวกตอลิบานในปากีสถานตลอดจนพันธมิตรของพวกเขา ยังแสดงบทบาทในการให้ที่พักพิงหลบภัยแก่ทั้งพวกตอลิบานในอัฟกาสถานและพวกอัลกออิดะห์ ซึ่งตามข้อมูลของประชาคมข่าวกรองสหรัฐฯ กลุ่มเหล่านี้ในปัจจุบัน ได้สร้างเสริมสมรรถนะทางด้านการฝึกอบรมและการวางแผนของพวกตนขึ้นมาใหม่เป็นจำนวนมาก รวมถึงสมรรถนะในการเปิดการโจมตีโดยตรงต่อ “มาตุภูมิ” สหรัฐฯด้วย
อันที่จริง ตัวมุลเลนเองก็ได้เคยเตือนไว้ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่า “ถ้าผมกำลังจะเลือกเฟ้นทำการโจมตีครั้งต่อไปต่อสหรัฐฯแล้ว มันก็จะต้อง (เป็นการโจมตีที่) มาจากเขตพื้นที่เอฟเอทีเอนี่แหละ” คำเตือนนี้ยังได้รับการสะท้อนขานรับในช่วงเดือนถัดมาจาก สำนักงานตรวจสอบความรับผิดชอบของรัฐบาล (Government Accountability Office) ซึ่งเป็นหน่วยงานสอบสวนของรัฐสภาสหรัฐฯ โดยสำนักงานแห่งนี้ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง ถึงสิ่งที่มองเห็นกันว่า เป็นความบกพร่องล้มเหลวของคณะรัฐบาลบุชในการพัฒนายุทธศาสตร์อันรอบด้านเพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่กำลังพัฒนาขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในภูมิภาคแถบนี้
ทั้งมุลเลนและเจ้านายของเขา ซึ่งก็คือ รัฐมนตรีกลาโหม รอเบิร์ต เกตส์ แทบไม่ได้ปิดบังอำพรางความหงุดหงิดกังวลใจของพวกเขาเลย ในเรื่องความต้องการที่จะส่งทหารสหรัฐฯอีกราว 10,000 คนเข้าไปในอัฟกานิสถาน (อันเป็นจำนวนเดียวกันกับที่โอบามาเรียกร้องอยู่ในตอนนี้) เป็นการเพิ่มเติมขึ้นจากจำนวน 34,000 คนซึ่งถูกส่งไปประจำการที่นั่นอยู่แล้ว แต่ในสภาพที่ทำเนียบขาวไม่ปรารถนาที่จะเสี่ยงทำให้ความก้าวหน้าในการสกัดกั้นสถานการณ์ความรุนแรงในอิรัก ต้องมีอันหยุดชะงักลงไป ตลอดจนการที่กองทหารภาคพื้นดินของสหรัฐฯต้องอยู่ในสภาพรับผิดชอบภารกิจกันจนเต็มเหยียดอยู่แล้ว พวกเขาจึงกำลังบอกว่า อัฟกานิสถานจะต้องรอคอยไปอีกระยะหนึ่ง จนกว่าจะสามารถถอนทหารเพิ่มเติมออกมาจากอิรักได้
เรื่องที่ออกจะประหลาดและน่าขันก็คือ ความหวังของพวกเขาดูเหมือนจะต้องพึ่งพาอาศัย พลเอก เดวิด เพเทรอัส ผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯประจำอิรักคนปัจจุบัน ผู้เพิ่งได้รับการอนุมัติจากวุฒิสภาอเมริกันในสัปดาห์ที่แล้ว ให้ก้าวขึ้นเป็นผู้บัญชาการคนใหม่ของกองบัญชาการทหารเขตกลางของสหรัฐฯ (US Central Command หรือ CENTCOM) อันจะทำให้เขาเป็นผู้รับผิดชอบภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ รวมทั้งอิรัก และส่วนอื่นๆ ของตะวันออกกลาง
เพเทรอัส ผู้ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจชนิดสามารถต่อสายเข้าถึงได้อย่างเป็นพิเศษกับทางทำเนียบขาวและกระทั่งตัวบุชเอง จะเข้ารับหน้าที่บัญชาการ เซนต์คอม ในต้นเดือนกันยายน ภายหลังจากเขาเสร็จสิ้นการพิจารณาทบทวนสถานการณ์ในอิรัก เพื่อวินิจฉัยว่าเขาคิดว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะลดระดับกำลังทหารในอิรักลงมาให้ต่ำกว่า 140,000 คน โดยที่ตัวเลข 140,000 คนก็คือจำนวนซึ่งกำหนดกันไว้ว่าจะต้องลดมาสู่ระดับนี้ให้ได้ภายในสิ้นเดือนนี้
จวบจนเมื่อไม่นานมานี้เอง มีรายงานว่าเพเทรอัสได้เสนอแนะในทางคัดค้านการถอนทหารใดๆ ออกจากอิรักมากกว่านี้ภายในช่วงเวลาสิ้นปีนี้ ทว่าจากการที่เขากำลังจะมีความรับผิดชอบกว้างขวางขึ้น ณ กองบัญชาการทหารเขตกลาง รวมทั้งสถานการณ์ในอัฟกานิสถานและปากีสถานก็เลวร้ายลงเรื่อยๆ จึงมีบุคคลวงในบางคนบ่งชี้ออกมาว่า เขาได้เปลี่ยนแปลงจุดยืนไปในทางมีท่าทียืดหยุ่นขึ้นกว่าเดิมแล้ว
ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง แมคเคน ผู้ซึ่งความได้เปรียบสำคัญที่สุดที่มีเหนือกว่าโอบามา ก็คือการที่ผู้คนทั่วไปรู้สึกว่าเขามีความเข้มแข็งสูงกว่าว่าที่ผู้สมัครของพรรคเดโมแครต ในประเด็นปัญหาด้านความมั่นคงแห่งชาติ และ “สงครามต่อสู้กับการก่อการร้าย” ก็อาจจะกลับถูกมองใหม่ว่า เท่าที่ผ่านมาเขาประเมินภัยคุกคามที่เกิดขึ้นทางทิศตะวันออกของอิรักต่ำเกินความจริงไปเสียแล้ว
อันที่จริงในเอกสารข่าวแจกสื่อมวลชนที่ออกมาเมื่อวันจันทร์(14) ทีมรณรงค์หาเสียงของแมคเคนยังได้แต่อ้างพวกคำแถลงของเพเทรอัสเมื่อเดือนเมษายน และที่น่าขบขันก็คือมีการอ้างคำพูดของ อุซามะห์ บิน ลาดิน ในปี 2004 อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเน้นย้ำว่าอิรักยังคงเป็น “แนวรบแกนกลางในสงครามต่อสู้กับการก่อการร้าย” นอกจากนั้น ไม่ว่าเอกสารข่าวแจกสื่อมวลชน หรือการแถลงข่าวทางวีดิทัศน์โดยพวกโฆษกด้านนโยบายการต่างประเทศของเขา ก็ล้วนแต่ไม่มีการพูดถึงเหตุการณ์โจมตีในวันอาทิตย์ หรือสถานการณ์ที่กำลังเลวร้ายลงในอัฟกานิสถาน นอกจากการยืนยันว่า อัฟกานิสถานเป็น “แนวรบสำคัญอีกแนวรบหนึ่งในสงครามต่อสู้กับการก่อการร้าย”เท่านั้น
โอบามามีกำหนดการเดินทางไปเยือนทั้งอิรักและอัฟกานิสถานในสัปดาห์หน้า ซึ่งแทบจะแน่นอนทีเดียวว่า จะต้องกลายเป็นข่าวเกรียวกราวครอบงำสื่อต่างๆ ในสหรัฐฯ และดังนั้นจึงเป็นการเอื้ออำนวยโอกาสทองให้แก่เขา ในการอธิบายแจกแจงทัศนะของเขา ที่อาจจะเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าในสิ่งที่จะเกิดขึ้นในเดือนกันยายน เมื่อเพเทรอัสเสร็จสิ้นการทบทวนประเมินสถานการณ์ของเขาก็เป็นได้
จิม โล้บ ทำบล็อกว่าด้วยนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลของพวกอนุรักษนิยมใหม่ ในคณะรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งสามารถหาอ่านได้ที่ www.ips.org/blog/jimlobe/
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
Afghan attack resonates in Washington
By Jim Lobe
15/07/2008
การเสียชีวิตของทหารสหรัฐฯ 9 คนด้วยน้ำมือของพวกตอลิบาน ณ ที่มั่นอันห่างไกลในภาคตะวันออกของอัฟกานิสถาน คือการตักเตือนอย่างรุนแรงที่ชี้ให้ระลึกว่า แนวรบแกนกลางใน “สงครามต่อสู้กับการก่อการร้าย” ของวอชิงตันนั้น ได้เคลื่อนย้ายออกจากอิรักไปแล้ว กระบวนการแห่งการตระหนักถึงความเป็นจริงเช่นนี้ ยังได้ส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯไปเรียบร้อยแล้วด้วย
วอชิงตัน – ถ้าหากไม่มีอะไรอย่างอื่นอีก การเสียชีวิตเมื่อวันอาทิตย์(13)ของทหารสหรัฐฯ 9 คน ณ ที่มั่นอันห่างไกลในภาคตะวันออกของอัฟกานิสถานประชิดกับพรมแดนปากีสถาน น่าที่จะทำให้บรรดาผู้ออกเสียงในสหรัฐฯเกิดความเข้าอกเข้าใจ ในสิ่งที่พวกเจ้าหน้าที่ความมั่นคงแห่งชาติระดับท็อป ได้พยายามพูดกันมาตลอดช่วงยาวๆ ของรอบปีที่ผ่านพ้นไป นั่นก็คือ แนวรบแกนกลางใน “สงครามต่อสู้กับการก่อการร้าย” ของวอชิงตัน ได้มีการเคลื่อนย้ายจากอิรักไปทางทิศตะวันออก ห่างไกลออกไปอีกประมาณ 1,800 กิโลเมตรแล้ว
กระบวนการแห่งการตระหนักถึงความเป็นจริงเช่นนี้ อาจส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ถึงแม้จะมีข้อเท็จจริงอยู่ว่า เรื่องเศรษฐกิจได้เข้ามาแทนที่สงครามอิรักเสียแล้ว ในฐานะประเด็นปัญหาซึ่งผู้ออกเสียงรู้สึกวิตกกังวลมากที่สุด
ขณะที่วุฒิสมาชิก จอห์น แมคเคน ยังวางตัวในแบบเดียวกับทำเนียบขาว นั่นคือยืนกรานว่าการมุ่งสู่ชัยชนะในอิรัก จะต้องเป็นเรื่องที่มีลำดับความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งในนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ แต่ว่าที่คู่แข่งขันของเขาจากทางพรรคเดโมแครต ซึ่งก็คือ วุฒิสมาชิก บารัค โอบามา รวมทั้งเหล่าที่ปรึกษาระดับท็อปของเขา ต่างออกมากล่าวเตือนครั้งแล้วครั้งเล่าว่า สถานการณ์ในอัฟกานิสถานและเขตพื้นที่พรมแดนของปากีสถานต่างหาก เป็นจุดที่ควรได้รับทั้งความเอาใจใส่และทั้งทรัพยากรเพิ่มขึ้นอย่างมากมายกว่าที่ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช กำลังปรารถนาที่จะให้ในเวลานี้
อันที่จริงแล้ว ในคอลัมน์ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ฉบับวันจันทร์(14) โอบามาได้เขียนเรียกร้องให้มี “ยุทธศาสตร์ใหม่” ในอัฟกานิสถาน ซึ่งรวมถึงการส่ง “กองพลน้อยหน่วยสู้รบเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 2 กองพลน้อย” เข้าไปประจำการที่นั่น ตลอดจนการให้ “ความช่วยเหลือที่ไม่ใช่ทางทหารเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สามารถบรรลุภารกิจที่นั่นได้” ระหว่างการปรากฏตัวปราศรัยหาเสียงในวันอาทิตย์ (13) เขาก็ได้เรียกอัฟกานิสถานและพื้นที่พรมแดนติดกับปากีสถาน ว่าเป็น “ศูนย์กลางอันแท้จริงของกิจกรรมของพวกผู้ก่อการร้าย ซึ่งเราจะต้องรับมือด้วย และต้องรับมือในเชิงรุกอย่างแข็งขันด้วย”
ทหารสหรัฐฯทั้ง 9 คนเสียชีวิตไป เมื่อพวกผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มตอลิบานประมาณ 200 คน ซึ่งรายงานบ่งบอกว่ามีทั้งที่ข้ามมาจากปากีสถาน ตลอดจนที่อยู่ในอัฟกานิสถานเอง ได้แทรกซึมเข้าไปยังที่มั่นที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่ๆ แห่งนั้นในจังหวัดคูนาร์ แล้วก็ประสานกันเข้าโจมตี นอกจากผู้ที่สิ้นชีพแล้ว ยังมีทหารสหรัฐฯอื่นๆ อีก 15 คนตลอดจนทหารกองทัพอัฟกัน 4 คนที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกบุกโจมตีคราวนี้ ซึ่งในที่สุดแล้วก็ถูกขับไล่ให้ล่าถอยไป หลังจากมีการเรียกกำลังสนับสนุนทางอากาศให้มาช่วยเหลือ ตามคำแถลงจากกรุงคาบูลของกองกำลังความช่วยเหลือด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ (International Security Assistance Force หรือ ISAF) ที่นำโดยองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) พวกที่บุกโจมตีก็ได้ถูกฆ่าตายไปประมาณ 40 คน
การผู้เสียชีวิตของฝ่ายสหรัฐฯคราวนี้ ถือเป็นจำนวนมากที่สุดนับตั้งแต่เหตุการณ์ทหาร 16 คนสิ้นชีพลงเมื่อเฮลิคอปเตอร์ทหารลำหนึ่งถูกพวกตอลิบานยิงตกในจังหวัดคูนาร์เมื่อ 3 ปีก่อน และดังที่หนังสือพิมพ์ลอสแองเจลิสไทมส์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า การสูญเสียครั้งล่าสุดนี้ “กลายเป็นการเร่งทวีจำนวนการเสียชีวิตของบรรดาทหารพันธมิตรในอัฟกานิสถาน ซึ่งอันที่จริงก็กำลังเพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็วอยู่แล้ว”
นับเฉพาะเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน มีทหารสหรัฐฯและนาโต้ราว 69 คนถูกฆ่าตายในอัฟกานิสถาน เลยหน้าตัวเลขจำนวนทหารพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐฯซึ่งถูกถูกสังหารในอิรักในช่วงเวลาเดียวกันไปแล้ว
เหตุการณ์โจมตีในวันอาทิตย์ เกิดขึ้นในเวลาเดียวกับที่ประธานคณะเสนาธิการทหารผสมสหรัฐฯ พลเรือเอก ไมเคิล มุลเลน ไปเยือนปากีสถาน ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 4 แล้วในปีนี้ เพื่อไปเน้นย้ำถึงความไม่พอใจ และกระทั่งความโกรธเคืองของสหรัฐฯ จากการที่กรุงอิสลามบัดถูกกล่าวหาว่าบกพร่องล้มเหลว ในเรื่องการป้องกันไม่ให้กองกำลังอาวุธของตอลิบาน ทั้งที่เป็นชาวอัฟกันและชาวปากีสถาน สามารถแทรกซึมผ่านเข้าไปในอัฟกานิสถาน
ความล้มเหลวดังกล่าวนี้ สาเหตุสำคัญที่สุดเนื่องมาจากการที่พวกตอลิบานที่เป็นชาวปากีสถานเอง ประสบความสำเร็จในการเข้าครองดินแดนจำนวนมากของ เขตพื้นที่ชนเผ่าที่บริหารโดยรัฐบาลกลาง (Federally Administered Tribal Areas หรือ FATA) และหลายๆส่วนของ แคว้นพรมแดนตะวันตกเฉียงเหนือ (North-West Frontier Province) ในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน พวกตอลิบานในปากีสถานตลอดจนพันธมิตรของพวกเขา ยังแสดงบทบาทในการให้ที่พักพิงหลบภัยแก่ทั้งพวกตอลิบานในอัฟกาสถานและพวกอัลกออิดะห์ ซึ่งตามข้อมูลของประชาคมข่าวกรองสหรัฐฯ กลุ่มเหล่านี้ในปัจจุบัน ได้สร้างเสริมสมรรถนะทางด้านการฝึกอบรมและการวางแผนของพวกตนขึ้นมาใหม่เป็นจำนวนมาก รวมถึงสมรรถนะในการเปิดการโจมตีโดยตรงต่อ “มาตุภูมิ” สหรัฐฯด้วย
อันที่จริง ตัวมุลเลนเองก็ได้เคยเตือนไว้ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่า “ถ้าผมกำลังจะเลือกเฟ้นทำการโจมตีครั้งต่อไปต่อสหรัฐฯแล้ว มันก็จะต้อง (เป็นการโจมตีที่) มาจากเขตพื้นที่เอฟเอทีเอนี่แหละ” คำเตือนนี้ยังได้รับการสะท้อนขานรับในช่วงเดือนถัดมาจาก สำนักงานตรวจสอบความรับผิดชอบของรัฐบาล (Government Accountability Office) ซึ่งเป็นหน่วยงานสอบสวนของรัฐสภาสหรัฐฯ โดยสำนักงานแห่งนี้ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง ถึงสิ่งที่มองเห็นกันว่า เป็นความบกพร่องล้มเหลวของคณะรัฐบาลบุชในการพัฒนายุทธศาสตร์อันรอบด้านเพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่กำลังพัฒนาขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในภูมิภาคแถบนี้
ทั้งมุลเลนและเจ้านายของเขา ซึ่งก็คือ รัฐมนตรีกลาโหม รอเบิร์ต เกตส์ แทบไม่ได้ปิดบังอำพรางความหงุดหงิดกังวลใจของพวกเขาเลย ในเรื่องความต้องการที่จะส่งทหารสหรัฐฯอีกราว 10,000 คนเข้าไปในอัฟกานิสถาน (อันเป็นจำนวนเดียวกันกับที่โอบามาเรียกร้องอยู่ในตอนนี้) เป็นการเพิ่มเติมขึ้นจากจำนวน 34,000 คนซึ่งถูกส่งไปประจำการที่นั่นอยู่แล้ว แต่ในสภาพที่ทำเนียบขาวไม่ปรารถนาที่จะเสี่ยงทำให้ความก้าวหน้าในการสกัดกั้นสถานการณ์ความรุนแรงในอิรัก ต้องมีอันหยุดชะงักลงไป ตลอดจนการที่กองทหารภาคพื้นดินของสหรัฐฯต้องอยู่ในสภาพรับผิดชอบภารกิจกันจนเต็มเหยียดอยู่แล้ว พวกเขาจึงกำลังบอกว่า อัฟกานิสถานจะต้องรอคอยไปอีกระยะหนึ่ง จนกว่าจะสามารถถอนทหารเพิ่มเติมออกมาจากอิรักได้
เรื่องที่ออกจะประหลาดและน่าขันก็คือ ความหวังของพวกเขาดูเหมือนจะต้องพึ่งพาอาศัย พลเอก เดวิด เพเทรอัส ผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯประจำอิรักคนปัจจุบัน ผู้เพิ่งได้รับการอนุมัติจากวุฒิสภาอเมริกันในสัปดาห์ที่แล้ว ให้ก้าวขึ้นเป็นผู้บัญชาการคนใหม่ของกองบัญชาการทหารเขตกลางของสหรัฐฯ (US Central Command หรือ CENTCOM) อันจะทำให้เขาเป็นผู้รับผิดชอบภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ รวมทั้งอิรัก และส่วนอื่นๆ ของตะวันออกกลาง
เพเทรอัส ผู้ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจชนิดสามารถต่อสายเข้าถึงได้อย่างเป็นพิเศษกับทางทำเนียบขาวและกระทั่งตัวบุชเอง จะเข้ารับหน้าที่บัญชาการ เซนต์คอม ในต้นเดือนกันยายน ภายหลังจากเขาเสร็จสิ้นการพิจารณาทบทวนสถานการณ์ในอิรัก เพื่อวินิจฉัยว่าเขาคิดว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะลดระดับกำลังทหารในอิรักลงมาให้ต่ำกว่า 140,000 คน โดยที่ตัวเลข 140,000 คนก็คือจำนวนซึ่งกำหนดกันไว้ว่าจะต้องลดมาสู่ระดับนี้ให้ได้ภายในสิ้นเดือนนี้
จวบจนเมื่อไม่นานมานี้เอง มีรายงานว่าเพเทรอัสได้เสนอแนะในทางคัดค้านการถอนทหารใดๆ ออกจากอิรักมากกว่านี้ภายในช่วงเวลาสิ้นปีนี้ ทว่าจากการที่เขากำลังจะมีความรับผิดชอบกว้างขวางขึ้น ณ กองบัญชาการทหารเขตกลาง รวมทั้งสถานการณ์ในอัฟกานิสถานและปากีสถานก็เลวร้ายลงเรื่อยๆ จึงมีบุคคลวงในบางคนบ่งชี้ออกมาว่า เขาได้เปลี่ยนแปลงจุดยืนไปในทางมีท่าทียืดหยุ่นขึ้นกว่าเดิมแล้ว
ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง แมคเคน ผู้ซึ่งความได้เปรียบสำคัญที่สุดที่มีเหนือกว่าโอบามา ก็คือการที่ผู้คนทั่วไปรู้สึกว่าเขามีความเข้มแข็งสูงกว่าว่าที่ผู้สมัครของพรรคเดโมแครต ในประเด็นปัญหาด้านความมั่นคงแห่งชาติ และ “สงครามต่อสู้กับการก่อการร้าย” ก็อาจจะกลับถูกมองใหม่ว่า เท่าที่ผ่านมาเขาประเมินภัยคุกคามที่เกิดขึ้นทางทิศตะวันออกของอิรักต่ำเกินความจริงไปเสียแล้ว
อันที่จริงในเอกสารข่าวแจกสื่อมวลชนที่ออกมาเมื่อวันจันทร์(14) ทีมรณรงค์หาเสียงของแมคเคนยังได้แต่อ้างพวกคำแถลงของเพเทรอัสเมื่อเดือนเมษายน และที่น่าขบขันก็คือมีการอ้างคำพูดของ อุซามะห์ บิน ลาดิน ในปี 2004 อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเน้นย้ำว่าอิรักยังคงเป็น “แนวรบแกนกลางในสงครามต่อสู้กับการก่อการร้าย” นอกจากนั้น ไม่ว่าเอกสารข่าวแจกสื่อมวลชน หรือการแถลงข่าวทางวีดิทัศน์โดยพวกโฆษกด้านนโยบายการต่างประเทศของเขา ก็ล้วนแต่ไม่มีการพูดถึงเหตุการณ์โจมตีในวันอาทิตย์ หรือสถานการณ์ที่กำลังเลวร้ายลงในอัฟกานิสถาน นอกจากการยืนยันว่า อัฟกานิสถานเป็น “แนวรบสำคัญอีกแนวรบหนึ่งในสงครามต่อสู้กับการก่อการร้าย”เท่านั้น
โอบามามีกำหนดการเดินทางไปเยือนทั้งอิรักและอัฟกานิสถานในสัปดาห์หน้า ซึ่งแทบจะแน่นอนทีเดียวว่า จะต้องกลายเป็นข่าวเกรียวกราวครอบงำสื่อต่างๆ ในสหรัฐฯ และดังนั้นจึงเป็นการเอื้ออำนวยโอกาสทองให้แก่เขา ในการอธิบายแจกแจงทัศนะของเขา ที่อาจจะเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าในสิ่งที่จะเกิดขึ้นในเดือนกันยายน เมื่อเพเทรอัสเสร็จสิ้นการทบทวนประเมินสถานการณ์ของเขาก็เป็นได้
จิม โล้บ ทำบล็อกว่าด้วยนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลของพวกอนุรักษนิยมใหม่ ในคณะรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งสามารถหาอ่านได้ที่ www.ips.org/blog/jimlobe/
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)