(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
The myth of ‘weapons-grade’ enrichment
By Kaveh L Afrasiabi
23/06/2008
ขณะตีแผ่เปิดเผยเรื่องอิสราเอลทำการซ้อมรบเพื่อเข้าโจมตีทางอากาศใส่สถานที่ตั้งทางนิวเคลียร์ของอิหร่านกันอย่างครึกโครมนั้น สื่อมวลชนตะวันตกจำนวนมากก็ได้นำเอาเนื้อหาข้อความเก่าๆ ที่ระบุว่า เตหะรานกำลังมุ่งที่จะมีอาวุธนิวเคลียร์อย่างกระตือรือร้น ตลอดจนกำลังสั่งสมยูเรเนียมที่ผ่านการเพิ่มความเข้มข้นจนอยู่ใน “เกรดทำอาวุธได้” กลับมารีไซเคิลเผยแพร่กันใหม่อีกครั้งหนึ่ง ทั้งๆ ที่ ทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ อันเป็นองค์กรชำนัญพิเศษทางด้านนิวเคลียร์ของสหประชาชาติ ไม่เคยพูดเช่นนั้นเลย หลังจากที่ได้เข้าไปตรวจสอบสถานที่ตั้งต่างๆ ของอิหร่านมาเป็นเวลาหลายพันชั่วโมงแล้ว นับตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา
*รายงานนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอน1)
ประวัติศาสตร์ช่วง 60 ปีของอิสราเอล อุดมไปด้วยตัวอย่างที่พวกผู้นำชักพาสาธารณชนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังเป็นภัยคุกคามพวกเขา ตัวอย่างเช่น ตอนที่พวกเขาป้ายสีผู้นำอียิปต์ เกมัล อับดุล นัสเซอร์ ว่าเป็น “ฮิตเลอร์แห่งตะวันออกกลาง” นั้น เมื่อย้อนกลับไปทบทวนแล้ว หลักฐานบันทึกทางประวัติศาสตร์ก็ได้ชี้ชัดให้เห็นถึงการรณรงค์ทางสื่อมวลชนที่มีการวางแผนประสานกันไว้อย่างรอบคอบมาก เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่การโจมตีแบบชิงลงมือก่อนของอิสราเอลเข้าใส่อียิปต์ (ตลอดจนรัฐอาหรับอื่นๆ) ในเดือนมิถุนายน 1967
ประวัติศาสตร์มักซ้ำรอยตัวเองอยู่เรื่อย และทุกวันนี้ก็มีรายงานแล้วว่าอิสราเอลกำลังจ้องเล่นงานอิหร่าน ถึงแม้ไม่ได้มีหลักฐาน “คาหนังคาเขา” นอกจากนั้นยังมีข้อเท็จจริงที่ว่าไม่ว่าอิสราเอลหรือสหรัฐฯต่างก็ไม่สามารถ “พิสูจน์ได้ว่าโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านเป็นโครงการทางทหาร” ทั้งนี้ตามคำกล่าวของรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ อาจจะมีใครที่คิดว่าหลังจากความล้มเหลวอย่างหมดราคาในอิรักแล้ว โอกาสที่จะกระตุ้นให้เกิดสงครามในตะวันออกกลางขึ้นมาอีกสงครามหนึ่ง ย่อมจะต้องยากลำบากมากขึ้นโดยเปรียบเทียบ ทว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ดูจะเป็นเรื่องตรงกันข้าม จากการที่ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ผู้อยู่ในฐานะ “เป็ดง่อย” ได้เพิ่มบทบาทการต่อต้านอิหร่านระหว่างการตระเวนเยือนยุโรปเมื่อเร็วๆ นี้ รวมทั้งมีรายงานว่าเขาโน้มเอียงไปในทางชื่นชอบที่จะมี ตัว “ไวลด์การ์ด” (wild card) ซึ่งก็คืออิสราเอล ในการวางแผนทางทหารต่ออิหร่าน
ด้วยความกังวลที่สถานการณ์จะพัฒนาไปเป็นอย่างหลังนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คอนโดลิซซา ไรซ์ จึงได้ลงนามในจดหมายจาก กลุ่มประเทศ “อิหร่าน6” (Iran Six กลุ่มนี้ประกอบด้วย สหรัฐฯ, ฝรั่งเศส, จีน, รัสเซีย, อังกฤษ, และเยอรมนี) ส่งไปให้อิหร่าน พร้อมกับบรรดาข้อเสนอที่เป็นมาตรการจูงใจต่างๆ, รวมทั้งคำมั่นที่จะเคารพอธิปไตยของอิหร่าน แต่พวกผู้ร่วมงานที่เป็นพวกแนวคิดสายเหยี่ยวในคณะรัฐบาลบุชของไรซ์ ดูเหมือนจะวาดวางสถานการณ์ที่แตกต่างออกไปเอาไว้ในใจ
ดังนั้น ไมก์ แมคคอนเนลล์ ผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ จึงบอกกับ ฟ็อกซ์ทีวี อันเป็นโทรทัศน์ของฝ่ายขวาเมื่อวันอาทิตย์ที่แล้วว่า อิหร่านจะใช้เวลาแค่อีกหนึ่งหรือสองปีก็จะสามารถพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกๆ ได้ เห็นชัดเจนว่าการประเมินแบบส่งเสียงเตือนภัยของแมคคอนเนลล์เช่นนี้ ไม่สอดคล้องกับรายงานการประเมินสถานการณ์ข่าวกรองแห่งชาติของสหรัฐฯ (US’s National Intelligence Estimate หรือ NIE) ว่าด้วยอิหร่าน ซึ่งนำออกมาเผยแพร่เมื่อปลายปีที่แล้ว ที่มีการยืนยันว่า โครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านนั้น นับแต่ปี 2003 ก็เป็นโครงการในทางสันติเรื่อยมา
โดนัลด์ เอ็ม เคอร์ ผู้ช่วยของแมคคอนเนลล์เอง ยังไปให้ปากคำปกป้องรายงานเอ็นไออีครั้งแล้วครั้งเล่าในรัฐสภาสหรัฐฯ โดยระบุว่า ประชาคมข่าวกรองสหรัฐฯนั้น ยังไม่มีแผนการที่จะดำเนินการ “ทบทวน” รายงานนี้
เหล่านักปราชญ์ผู้รู้หลายหลาก อาทิ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ เฮนรี คิสซิงเจอร์ ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์รายงานเอ็นไออีว่า บกพร่องล้มเหลวที่ไม่พาดพิงพูดถึงโครงการเพิ่มความเข้มข้นนิวเคลียร์ของอิหร่านว่าเป็นหลักฐานของกระบวนการที่มุ่งสู่การสร้างอาวุธ (ดู Kissinger’s foggy lens on Iran, Asia Times Online, December 18, 2007) กระนั้นก็ดี คิสซิงเจอร์และคนอื่นๆ ที่วิพากษ์รายงานเอ็นไออี ก็ละเลยที่จะมองว่า ตราบเท่าที่ยังไม่มีหลักฐานใดๆ ว่าการเพิ่มความเข้มข้นที่อิหร่านกระทำนั้นได้เกินเลยกว่า “เกรดระดับต่ำ” ซึ่งทั้งในทางคุณภาพและในทางเทคนิคย่อมแตกต่างไปจาก “การได้รับการเพิ่มความเข้มข้นในระดับสูง” (high-enriched) หรือ “เกรดทำอาวุธได้” แล้ว ก็ไม่มีใครเลยที่สามารถกล่าวหาอิหร่านได้ว่าพัวพันในการแพร่กระจายอาวุธนิวคลียร์ เพียงด้วยการดำเนินกิจกรรมนิวเคลียร์อันถูกกฎหมายเท่านั้น
ย้อนกลับไปที่บทวิจารณ์ของแอลลิสันดังที่ยกขึ้นมาอ้างอิงไว้ก่อนหน้านี้ เป็นเรื่องที่ไม่มีความถูกต้องในทางข้อเท็จจริงเลยที่จะทึกทักเอาว่า ยูเรเนียมผ่านการเพิ่มความเข้มข้นในระดับต่ำของอิหร่าน คือ “หนึ่งในสาม” ของที่ต้องการเพื่อใช้ทำระเบิดนิวเคลียร์ ประการแรก มีแต่ต้องผ่านกระบวนการทางเทคโนโลยีอันกว้างขวางใหญ่โตและต้องใช้ความพยายามอย่างลำบากยากเย็น ในการนำเอายูเรเนียมมาแยกองค์ประกอบ (reprocessing) และกลับมาเพิ่มความเข้มข้นขึ้นอีก (re-enriching) จนกระทั่งความเข้มข้นอยู่ในระดับสูงขึ้นอีกมากมายเหลือเกิน (ระดับ 90% หรือกว่านั้น) นั่นแหละ ยูเรเนียมผ่านการเพิ่มความเข้มข้นแล้วของอิหร่านจึงจะสามารถใช้ในการผลิตระเบิดได้
ประการที่สอง จากการที่ไอเออีเอเข้าตรวจสอบสถานที่ดำเนินการเพิ่มความเข้มเข้นของอิหร่านอย่างเข้มงวดจริงจัง หากมีการหันเหใดๆ เพื่อไปสู่การเพิ่มความเข้มข้นในระดับ “เกรดทำอาวุธได้” จะต้องถูกตรวจจับพบในทันที เนื่องจากการทำสิ่งนี้ได้จำเป็นจะต้องมีการดัดแปลงแก้ไขกันอย่างสำคัญ, การจัดวางระบบสายพานการผลิตกันใหม่, และการจัดเรียงชั้นของเครื่องเพิ่มความเข้มข้นกันใหม่ และนั่นย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะเล็ดรอดสายตาที่คอยเฝ้าระวังอยู่แล้วของไอเออีเอ
กระนั้นก็ตามที สิ่งเหล่านี้กลับถูกเมินกันไปหมด ด้วยการพูดแนะเป็นนัยว่าโครงการของอิหร่าน “ไม่ได้ถูกตรวจสอบ” ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว มันเป็นโครงการนิวเคลียร์ที่ถูกตรวจตราและตรวจสอบกันอย่างกันน่าเหน็ดเหนื่อยมากที่สุดโครงการหนึ่งของโลก โดยที่มีการตรวจตราสถานที่ต่างๆ ของอิหร่านรวมเป็นเวลาถึงราว 3,500 ชั่วโมงแล้วนับแต่ปี 2003 เป็นต้นมา
โดยสรุปแล้ว การทำให้เกิดความรับรู้อย่างผิดๆ เกี่ยวกับกิจกรรมทางนิวเคลียร์ของอิหร่าน เป็นเงื่อนไขเบื้องต้นอันสำคัญยิ่งสำหรับการเปิดการรุกรานทางทหารขนาดใหญ่ต่อประเทศนี้ นี่เป็นสิ่งที่สร้างความวิตกกังวลอยู่เรื่อยไป ตราบเท่าที่ยังคงมีการโฆษณาชวนเชื่อความรับรู้อย่างผิดๆ เหล่านี้กันอยู่
คาเวห์ แอล อาฟราซิอาบี PhD, เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง After Khomeini: New Directions in Iran’s Foreign Policy (Westview Press) และเป็นหนึ่งในสองผู้เขียนร่วมของบทความเรื่อง “Negotiating Iran’s Nuclear Populism”, Brown Journal of World Affairs, Volume XII, Issue2, Summer 2005, โดยเขียนร่วมกับ มุสตาฟา คิบาโรกลู เขายังเขียนบทความเรื่อง “Keeping Iran’s nuclear potential latent”, Harvard International Review, และเป็นผู้เขียนเรื่อง Iran’s Nuclear Program: Debating Facts Versus Fiction.
นิยายเรื่องอิหร่านเพิ่มความเข้มข้นยูเรเนียมจนถึง “เกรดทำอาวุธได้”แล้ว (ตอนแรก)
The myth of ‘weapons-grade’ enrichment
By Kaveh L Afrasiabi
23/06/2008
ขณะตีแผ่เปิดเผยเรื่องอิสราเอลทำการซ้อมรบเพื่อเข้าโจมตีทางอากาศใส่สถานที่ตั้งทางนิวเคลียร์ของอิหร่านกันอย่างครึกโครมนั้น สื่อมวลชนตะวันตกจำนวนมากก็ได้นำเอาเนื้อหาข้อความเก่าๆ ที่ระบุว่า เตหะรานกำลังมุ่งที่จะมีอาวุธนิวเคลียร์อย่างกระตือรือร้น ตลอดจนกำลังสั่งสมยูเรเนียมที่ผ่านการเพิ่มความเข้มข้นจนอยู่ใน “เกรดทำอาวุธได้” กลับมารีไซเคิลเผยแพร่กันใหม่อีกครั้งหนึ่ง ทั้งๆ ที่ ทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ อันเป็นองค์กรชำนัญพิเศษทางด้านนิวเคลียร์ของสหประชาชาติ ไม่เคยพูดเช่นนั้นเลย หลังจากที่ได้เข้าไปตรวจสอบสถานที่ตั้งต่างๆ ของอิหร่านมาเป็นเวลาหลายพันชั่วโมงแล้ว นับตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา
*รายงานนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอน1)
ประวัติศาสตร์ช่วง 60 ปีของอิสราเอล อุดมไปด้วยตัวอย่างที่พวกผู้นำชักพาสาธารณชนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังเป็นภัยคุกคามพวกเขา ตัวอย่างเช่น ตอนที่พวกเขาป้ายสีผู้นำอียิปต์ เกมัล อับดุล นัสเซอร์ ว่าเป็น “ฮิตเลอร์แห่งตะวันออกกลาง” นั้น เมื่อย้อนกลับไปทบทวนแล้ว หลักฐานบันทึกทางประวัติศาสตร์ก็ได้ชี้ชัดให้เห็นถึงการรณรงค์ทางสื่อมวลชนที่มีการวางแผนประสานกันไว้อย่างรอบคอบมาก เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่การโจมตีแบบชิงลงมือก่อนของอิสราเอลเข้าใส่อียิปต์ (ตลอดจนรัฐอาหรับอื่นๆ) ในเดือนมิถุนายน 1967
ประวัติศาสตร์มักซ้ำรอยตัวเองอยู่เรื่อย และทุกวันนี้ก็มีรายงานแล้วว่าอิสราเอลกำลังจ้องเล่นงานอิหร่าน ถึงแม้ไม่ได้มีหลักฐาน “คาหนังคาเขา” นอกจากนั้นยังมีข้อเท็จจริงที่ว่าไม่ว่าอิสราเอลหรือสหรัฐฯต่างก็ไม่สามารถ “พิสูจน์ได้ว่าโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านเป็นโครงการทางทหาร” ทั้งนี้ตามคำกล่าวของรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ อาจจะมีใครที่คิดว่าหลังจากความล้มเหลวอย่างหมดราคาในอิรักแล้ว โอกาสที่จะกระตุ้นให้เกิดสงครามในตะวันออกกลางขึ้นมาอีกสงครามหนึ่ง ย่อมจะต้องยากลำบากมากขึ้นโดยเปรียบเทียบ ทว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ดูจะเป็นเรื่องตรงกันข้าม จากการที่ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ผู้อยู่ในฐานะ “เป็ดง่อย” ได้เพิ่มบทบาทการต่อต้านอิหร่านระหว่างการตระเวนเยือนยุโรปเมื่อเร็วๆ นี้ รวมทั้งมีรายงานว่าเขาโน้มเอียงไปในทางชื่นชอบที่จะมี ตัว “ไวลด์การ์ด” (wild card) ซึ่งก็คืออิสราเอล ในการวางแผนทางทหารต่ออิหร่าน
ด้วยความกังวลที่สถานการณ์จะพัฒนาไปเป็นอย่างหลังนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คอนโดลิซซา ไรซ์ จึงได้ลงนามในจดหมายจาก กลุ่มประเทศ “อิหร่าน6” (Iran Six กลุ่มนี้ประกอบด้วย สหรัฐฯ, ฝรั่งเศส, จีน, รัสเซีย, อังกฤษ, และเยอรมนี) ส่งไปให้อิหร่าน พร้อมกับบรรดาข้อเสนอที่เป็นมาตรการจูงใจต่างๆ, รวมทั้งคำมั่นที่จะเคารพอธิปไตยของอิหร่าน แต่พวกผู้ร่วมงานที่เป็นพวกแนวคิดสายเหยี่ยวในคณะรัฐบาลบุชของไรซ์ ดูเหมือนจะวาดวางสถานการณ์ที่แตกต่างออกไปเอาไว้ในใจ
ดังนั้น ไมก์ แมคคอนเนลล์ ผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ จึงบอกกับ ฟ็อกซ์ทีวี อันเป็นโทรทัศน์ของฝ่ายขวาเมื่อวันอาทิตย์ที่แล้วว่า อิหร่านจะใช้เวลาแค่อีกหนึ่งหรือสองปีก็จะสามารถพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกๆ ได้ เห็นชัดเจนว่าการประเมินแบบส่งเสียงเตือนภัยของแมคคอนเนลล์เช่นนี้ ไม่สอดคล้องกับรายงานการประเมินสถานการณ์ข่าวกรองแห่งชาติของสหรัฐฯ (US’s National Intelligence Estimate หรือ NIE) ว่าด้วยอิหร่าน ซึ่งนำออกมาเผยแพร่เมื่อปลายปีที่แล้ว ที่มีการยืนยันว่า โครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านนั้น นับแต่ปี 2003 ก็เป็นโครงการในทางสันติเรื่อยมา
โดนัลด์ เอ็ม เคอร์ ผู้ช่วยของแมคคอนเนลล์เอง ยังไปให้ปากคำปกป้องรายงานเอ็นไออีครั้งแล้วครั้งเล่าในรัฐสภาสหรัฐฯ โดยระบุว่า ประชาคมข่าวกรองสหรัฐฯนั้น ยังไม่มีแผนการที่จะดำเนินการ “ทบทวน” รายงานนี้
เหล่านักปราชญ์ผู้รู้หลายหลาก อาทิ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ เฮนรี คิสซิงเจอร์ ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์รายงานเอ็นไออีว่า บกพร่องล้มเหลวที่ไม่พาดพิงพูดถึงโครงการเพิ่มความเข้มข้นนิวเคลียร์ของอิหร่านว่าเป็นหลักฐานของกระบวนการที่มุ่งสู่การสร้างอาวุธ (ดู Kissinger’s foggy lens on Iran, Asia Times Online, December 18, 2007) กระนั้นก็ดี คิสซิงเจอร์และคนอื่นๆ ที่วิพากษ์รายงานเอ็นไออี ก็ละเลยที่จะมองว่า ตราบเท่าที่ยังไม่มีหลักฐานใดๆ ว่าการเพิ่มความเข้มข้นที่อิหร่านกระทำนั้นได้เกินเลยกว่า “เกรดระดับต่ำ” ซึ่งทั้งในทางคุณภาพและในทางเทคนิคย่อมแตกต่างไปจาก “การได้รับการเพิ่มความเข้มข้นในระดับสูง” (high-enriched) หรือ “เกรดทำอาวุธได้” แล้ว ก็ไม่มีใครเลยที่สามารถกล่าวหาอิหร่านได้ว่าพัวพันในการแพร่กระจายอาวุธนิวคลียร์ เพียงด้วยการดำเนินกิจกรรมนิวเคลียร์อันถูกกฎหมายเท่านั้น
ย้อนกลับไปที่บทวิจารณ์ของแอลลิสันดังที่ยกขึ้นมาอ้างอิงไว้ก่อนหน้านี้ เป็นเรื่องที่ไม่มีความถูกต้องในทางข้อเท็จจริงเลยที่จะทึกทักเอาว่า ยูเรเนียมผ่านการเพิ่มความเข้มข้นในระดับต่ำของอิหร่าน คือ “หนึ่งในสาม” ของที่ต้องการเพื่อใช้ทำระเบิดนิวเคลียร์ ประการแรก มีแต่ต้องผ่านกระบวนการทางเทคโนโลยีอันกว้างขวางใหญ่โตและต้องใช้ความพยายามอย่างลำบากยากเย็น ในการนำเอายูเรเนียมมาแยกองค์ประกอบ (reprocessing) และกลับมาเพิ่มความเข้มข้นขึ้นอีก (re-enriching) จนกระทั่งความเข้มข้นอยู่ในระดับสูงขึ้นอีกมากมายเหลือเกิน (ระดับ 90% หรือกว่านั้น) นั่นแหละ ยูเรเนียมผ่านการเพิ่มความเข้มข้นแล้วของอิหร่านจึงจะสามารถใช้ในการผลิตระเบิดได้
ประการที่สอง จากการที่ไอเออีเอเข้าตรวจสอบสถานที่ดำเนินการเพิ่มความเข้มเข้นของอิหร่านอย่างเข้มงวดจริงจัง หากมีการหันเหใดๆ เพื่อไปสู่การเพิ่มความเข้มข้นในระดับ “เกรดทำอาวุธได้” จะต้องถูกตรวจจับพบในทันที เนื่องจากการทำสิ่งนี้ได้จำเป็นจะต้องมีการดัดแปลงแก้ไขกันอย่างสำคัญ, การจัดวางระบบสายพานการผลิตกันใหม่, และการจัดเรียงชั้นของเครื่องเพิ่มความเข้มข้นกันใหม่ และนั่นย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะเล็ดรอดสายตาที่คอยเฝ้าระวังอยู่แล้วของไอเออีเอ
กระนั้นก็ตามที สิ่งเหล่านี้กลับถูกเมินกันไปหมด ด้วยการพูดแนะเป็นนัยว่าโครงการของอิหร่าน “ไม่ได้ถูกตรวจสอบ” ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว มันเป็นโครงการนิวเคลียร์ที่ถูกตรวจตราและตรวจสอบกันอย่างกันน่าเหน็ดเหนื่อยมากที่สุดโครงการหนึ่งของโลก โดยที่มีการตรวจตราสถานที่ต่างๆ ของอิหร่านรวมเป็นเวลาถึงราว 3,500 ชั่วโมงแล้วนับแต่ปี 2003 เป็นต้นมา
โดยสรุปแล้ว การทำให้เกิดความรับรู้อย่างผิดๆ เกี่ยวกับกิจกรรมทางนิวเคลียร์ของอิหร่าน เป็นเงื่อนไขเบื้องต้นอันสำคัญยิ่งสำหรับการเปิดการรุกรานทางทหารขนาดใหญ่ต่อประเทศนี้ นี่เป็นสิ่งที่สร้างความวิตกกังวลอยู่เรื่อยไป ตราบเท่าที่ยังคงมีการโฆษณาชวนเชื่อความรับรู้อย่างผิดๆ เหล่านี้กันอยู่
คาเวห์ แอล อาฟราซิอาบี PhD, เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง After Khomeini: New Directions in Iran’s Foreign Policy (Westview Press) และเป็นหนึ่งในสองผู้เขียนร่วมของบทความเรื่อง “Negotiating Iran’s Nuclear Populism”, Brown Journal of World Affairs, Volume XII, Issue2, Summer 2005, โดยเขียนร่วมกับ มุสตาฟา คิบาโรกลู เขายังเขียนบทความเรื่อง “Keeping Iran’s nuclear potential latent”, Harvard International Review, และเป็นผู้เขียนเรื่อง Iran’s Nuclear Program: Debating Facts Versus Fiction.