Olympic flame burns ominously
By Situ Feng and John Ng
17/03/2008
อีกเพียงสองสามเดือน คบเพลิงโอลิมปิกก็มีกำหนดจะเคลื่อนผ่านนครลาซา เมืองหลวงของทิเบต ซึ่งเวลานี้กำลังปะทุดุเดือดด้วยความรุนแรงต่อต้านจีน พวกเจ้าหน้าที่ในปักกิ่งแสดงความปักใจแน่แน่ว ว่า จะต้องไม่มีอะไรมาหยุดยั้งไม่ให้คบเพลิงเคลื่อนคืบหน้าไปตามเส้นทางของมันสู่พิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกในเดือนสิงหาคม ซึ่งนั่นหมายความว่า ไม่ว่าจะต้องทำอะไรก็ตามที การประท้วงทั้งหลายจะต้องถูกสยบให้เงียบหายไป
ฮ่องกง – ด้วยความหวาดกลัวว่า การจลาจลอันรุนแรงเพิ่มมากขึ้น จะก่อกวนการวิ่งผลัดคบเพลิงโอลิมปิก ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์สัญลักษณ์อันสูงส่งของมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งจะจัดขึ้นเดือนสิงหาคมนี้ จีนก็จะเพิ่มมาตรการระแวดระวังและการรักษาความมั่นคงปลอดภัย เพื่อให้มั่นใจว่า การวิ่งคบเพลิงจะสามารถเคลื่อนผ่านพื้นที่แห่งเทือกเขาหิมาลัยแห่งนี้ ได้อย่างราบรื่นในเดือนมิถุนายน
ความรุนแรงที่ระเบิดขึ้นในเขตปกครองตนเองทิเบตเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว บังเกิดขึ้นเพียง 2 เดือนก่อนหน้าพิธีการเฉลิมฉลองโอลิมปิกทั้งหลาย ซึ่งจะมาพร้อมกับการนำคบเพลิงโอลิมปิกเข้าสู่นครลาซา เมืองหลวงของทิเบต
การจลาจลต่อต้านรัฐบาลจีนคราวนี้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปอย่างน้อยที่สุด 16 คนแล้ว ทว่ายังไม่มีการพิจารณาที่จะเปลี่ยนแปลงเส้นทางวิ่งคบเพลิง อย่างน้อยก็ในเวลานี้ และทางการผู้รับผิดชอบจะเพิ่มมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้เข้มแข็งขึ้นอีก เพื่อให้มั่นใจว่า การวิ่งผ่านทิเบตจะเป็นไปอย่างราบรื่น แหล่งข่าวรายหนึ่งซึ่งใกล้ชิดกับกระทรวงความปลอดภัยสาธารณะในปักกิ่ง บอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์
“มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้เชื่อได้ว่า การจลาจลในช่วงหลังๆ มานี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนการที่มุ่งหมายจะสร้างอันตรายให้เกิดขึ้นแก่การวิ่งคบเพลิง เพื่อทำให้โอลิมปิกปักกิ่งเกิดความอับอายขายหน้า ด้วยเหตุนี้เอง พวกผู้สนับสนุนของทะไลลามะ (ผู้นำทางจิตใจและหัวหน้าในทางฆราวาสวิสัยของรัฐบาลทิเบตลี้ภัยซึ่งตั้งอยู่ในอินเดีย) จึงน่าที่จะก่อการจลาจลรุนแรงเพิ่มมากขึ้นอีก เราจะเพิ่มความระมัดระวังและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในช่วงใกล้จะถึงการวิ่งคบเพลิง” แหล่งข่าวซึ่งไม่ประสงค์จะให้ออกนามผู้นี้กล่าว
และสำหรับความหวังของนานาชาติ ที่ว่า ปักกิ่งอาจจะแสดงความผ่อนผันต่อผู้ประท้วง และกระทั่งแสวงหาการพูดจาสนทนากับทะไลลามะนั้น พวกเจ้าหน้าที่จีนก็ได้ตัดรอนความหวังดังกล่าวไปอย่างรวดเร็ว ด้วยการข่มขู่จะใช้มาตรการโหดๆ เอากับพวกชักใบให้เรือเสีย
“เราจะจัดการอย่างไร้ความปรานีกับพวกอาชญากรเหล่านี้ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย” เชียงปา ปันต์ซ็อก ประธานของรัฐบาลทิเบต บอกกับผู้สื่อข่าวในกรุงปักกิ่ง “การทุบตี, การทำลาย, การปล้นสะดม และการจุดไฟเผา ... เราขอประณามพฤติการณ์ประเภทนี้อย่างถึงที่สุด แผนการร้ายนี้จักต้องล้มเหลวลง” ปันต์ซ็อก กล่าวในการจัดแถลงข่าวเคียงข้างการประชุมประจำปีของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ หรือรัฐสภาของจีน ซึ่งยังกำลังดำเนินอยู่
ทางด้าน ซุนเหวยเต๋อ โฆษกคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปักกิ่ง กล่าวในคำแถลงฉบับหนึ่งเมื่อวันเสาร์ (15 มี.ค.) ว่า การตระเตรียมเพื่อการวิ่งคบเพลิงในทิเบต รวมทั้งการขึ้นสู่ยอดเขาจูมู่หลังหม่า (ยอดเขาเอเวอเรสต์) ที่วางแผนเอาไว้ “กำลังคืบหน้าไปอย่างราบรื่นและเป็นไปตามกำหนดการ”
ซุน กล่าวด้วยว่า คณะกรรมการจัดการแข่งขันคัดค้านการนำเอาการรณรงค์ทางการเมืองใดๆ มาเชื่อมโยงกับกีฬาโอลิมปิกที่จะจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม โดยที่เสียงเรียกร้องให้คว่ำบาตรโอลิมปิกปักกิ่งได้หวนกลับคืนมาอีกคำรบหนึ่ง ภายหลังการปราบปรามชาวทิเบตที่ประท้วงคัดค้านการปกครองของจีนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยที่สื่อระหว่างประเทศบางแห่งได้เปรียบเทียบการประท้วงดังกล่าวกับเหตุการณ์ปราบปรามนองเลือดที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 1989
“คณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ คัดค้านความพยายามใดๆ ก็ตามที่จะทำให้กีฬาโอลิมปิกคราวนี้กลายเป็นเรื่องทางการเมือง เพราะนั่นคัดค้านกับจิตวิญญาณอันแท้จริงของกีฬาโอลิมปิก” เขากล่าว
เส้นทางวิ่งคบเพลิงตามที่คณะกรรมการจัดการแข่งขันฯประกาศในเว็บไซต์ของพวกเขานั้น คบเพลิงโอลิมปิกจะมาถึง ซานหนานตี้ชวี ในเขตทิเบต ในวันที่ 19 มิถุนายน โดยมาจากมณฑลเสฉวน ที่อยู่ติดกัน และจะผ่านเข้าสู่เมืองลาซา ในวันที่ 20-21 มิถุนายน
การจลาจลในลาซาสัปดาห์ที่แล้ว เริ่มขึ้นในวันจันทร์ (10 มี.ค.) เมื่อพระลามะทิเบตกว่า 300 รูปเดินขบวนไปตามท้องถนน เพื่อรำลึกวาระครบรอบ 49 ปีแห่งการลุกฮือที่ไม่ประสบความสำเร็จของกลุ่มผู้สนับสนุนทะไลลามะ ซึ่งคัดค้านการปกครองของจีน พระลามะเหล่านี้เปล่งคำขวัญเรียกร้อง “เอกราชของทิเบต” และแล้วจากการเข้าปราบปรามของทางการ เจ้าหน้าที่ได้จับกุมพระลามะเอาไว้ราว 60 รูป
ในวันเดียวกันนั้นเอง ทะไลลามะ ได้พูดกับพวกผู้สนับสนุน ณ เมืองธรรมศาลา ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น โดยเขากล่าวว่า “ในระยะสองสามปีที่ผ่านมา ทิเบตต้องพบเห็นการกดขี่และความโหดร้ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ” เขาบอกว่า จีนกระทำ “การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมโหฬารยิ่งและอย่างเหลือจะคาดคิดได้” อีกทั้งปฏิเสธไม่ยอมให้ชาวทิเบตมี “เสรีภาพทางศาสนา”
วันรุ่งขึ้น มีพระลามะทิเบตจำนวนมากขึ้น ออกมาเดินขบวนเรียกร้องให้ปล่อยตัวพระลามะที่ถูกจับ กองกำลังตำรวจติดอาวุธของประชาชน (พีเอพี) ได้ยิงแก๊สน้ำตาเข้าสลายผู้ประท้วง
ถึงวันศุกร์ (14 มี.ค.) ผู้ประท้วงเริ่มปะทะกับตำรวจ ตามปากคำของผู้เห็นเหตุการณ์หลายราย ความไม่สงบเริ่มขึ้นในเวลาราวบ่ายโมง เมื่อประชาชนจำนวนมากเกิดปะทะและขว้างก้อนหินใส่ตำรวจท้องถิ่น บริเวณใกล้ๆ กับวัดรามอเกีย ในย่านใจกลางนครลาซา
สถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน (ซีซีทีวี) ได้ออกอากาศวิดีโอภาพข่าวอย่างยาวเหยียด ในรายการข่าวเวลา 19.00 น.ของตนเมื่อวันเสาร์ (15 มี.ค.) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกผู้ก่อการจลาจลกำลังจุดไฟเผายานพาหนะของตำรวจและพลเรือน, วิ่งไล่ผู้คนที่ผ่านไปมา, ทุบทำลายร้านค้า, รวมทั้งสาขาของธนาคารแบงก์ออฟไชน่า สาขาเมืองลาซา ของสำนักข่าวซินหัวก็ปรากฏในภาพข่าวว่าถูกไฟไหม้เช่นกัน
ตำรวจปราบจลาจลจำนวนหลายพันคนถูกระดมเข้าไปควบคุมสถานการณ์ และพวกนักท่องเที่ยวชาวฮ่องกง เล่าว่า เห็นยานหุ้มเกราะหลายคันตามท้องถนน โดยที่พวกเขานั้นได้รับคำแนะนำให้อยู่แต่ในโรงแรมที่พัก
รัฐบาลของเขตปกครองตนเองทิเบต กล่าวผ่านสำนักข่าวซินหัวในตอนเช้าวันเสาร์ ว่า มีผู้คนถูกสังหารไปในการจลาจลอย่างน้อย 16 คน “เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายทั้งหมดเป็นพลเรือนผู้บริสุทธิ์ และพวกเขาถูกเผาจนเสียชีวิต” เจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งกล่าว เหยื่อเหล่านี้มีที่เป็นลูกจ้างของโรงแรมจำนวน 2 คน และเจ้าของร้านค้าอีก 2 คน เจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งไม่มีการบอกชื่อผู้นี้กล่าว นอกจากนั้น ยังมีผู้บาดเจ็บอีกหลายสิบคน โดยที่เป็นสมาชิกในกองกำลังพีเอพีจำนวน 2 คน
ทว่า รัฐบาลพลัดถิ่นของทิเบตในเมืองธรรมศาลา แถลงว่า มีผู้ถูกสังหารซึ่งได้รับการยืนยันแล้วประมาณ 80 คน
ซินหัว บอกว่า ตำรวจติดอาวุธในลาซาได้เข้าช่วยเหลือประชาชนให้พ้นภัยมากกว่า 580 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวญี่ปุ่น 3 คน โดยช่วยออกจากธนาคาร, ซูเปอร์มาร์เก็ต, โรงเรียน และโรงพยาบาลที่ถูกจุดไฟเผา ซินหัว อ้างว่า มีรายงานไฟไหม้กว่า 160 ครั้ง โดยที่เป็นไฟไหม้ใหญ่ราว 40 ครั้ง
ทว่า ทั้ง ซินหัว และ ซีซีทีวี ก็ไม่ได้บอกว่า ผู้ก่อการจลาจลถูกปราบปรามกันอย่างไร วิดีโอภาพข่าวของซีซีทีวีแสดงให้เห็นเพียงว่า มีหน่วยตำรวจติดอาวุธที่มีอุปกรณ์ต่อต้านการจลาจลพร้อมสรรพ กำลังลาดตระเวนตามท้องถนนหรือเข้าไปช่วยเหลือพลเรือน นอกจากนั้นรายงานของสื่อรัฐบาลจีนทั้ง 2 ก็ไม่ได้พูดว่า มีคนถูกจับไปจำนวนกี่คน
เจ้าหน้าที่รัฐบาลทิเบตผู้หนึ่ง บอกว่า มีหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ว่า การก่อวินาศกรรมในลาซาคราวนี้ “จัดตั้ง, วางแผนล่วงหน้า และบงการ” โดย “กลุ่มทะไลลามะ”
แต่ในการแถลงข่าวถ่ายทอดทางโทรทัศน์ที่ธรรมศาลา เมื่อวันอาทิตย์ (16 มี.ค.) ทะไลลามะได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้ พร้อมกับเรียกร้องให้ดำเนินการสอบสวนโดยนานาชาติเกี่ยวกับการปราบปรามของจีน ทว่า ผู้นำทางจิตใจของชาวทิเบตท่านนี้ ก็ย้ำว่า จีนสมควรที่จะได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และบอกต่อไปว่า ปักกิ่งจำเป็นจะต้อง “รำลึกไว้ว่าจะต้องเป็นเจ้าภาพที่ดีของโอลิมปิก”
ทางด้านเจ้าหน้าที่รับผิดชอบการบังคับใช้กฎหมายในทิเบตได้ออกประกาศฉบับหนึ่งในวันเสาร์ (15 มี.ค.) เรียกร้องให้พวกทำผิดกฎหมายยุติกิจกรรมรุนแรง และเสนอที่จะผ่อนผันให้พวกซึ่งยอมจำนน ประกาศดังกล่าวเรียกร้องให้พวกทำผิดกฎหมายมามอบตัวภายในเที่ยงคืนวันจันทร์ (17 มี.ค.) และสัญญาว่า จะลดโทษและผ่อนผันบรรเทาโทษให้แก่พวกที่ยอมจำนน
ระหว่างช่วงสุดสัปดาห์ ยังคงมีรายงานการประท้วงของชาวทิเบต ในเมืองเซี่ยเหอ ของมณฑลกานซู่ ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน พระลามะทิเบตในท้องถิ่นได้จัดการประท้วงเล็กๆ ขึ้นเมื่อวันศุกร์ (14 มี.ค.) ทว่าการประจันหน้ากันได้เพิ่มขนาดใหญ่โตขึ้นในตอนบ่ายวันเสาร์ (15 มี.ค.) พระลามะและชาวทิเบตอื่นๆ รวมแล้วหลายพันคนได้ปะทะกับตำรวจปราบจลาจล เมื่อถึงวันอาทิตย์ (16 มี.ค.) สีว์โส่วเซิ่ง ผู้ว่าการมณฑลกานซู่ แถลงขณะเข้าร่วมการประชุมประจำปีของสภาประชาชนแห่งชาติของจีนในกรุงปักกิ่งว่า “มีความวุ่นวายขนาดเล็กๆ เกิดขึ้นบ้าง แต่สามารถควบคุมสถานการณ์เอาไว้ได้แล้ว”
นอกจากนั้น ยังมีรายงานการประท้วงอย่างกระจัดกระจาย ในบางพื้นที่ซึ่งมีชาวทิเบตอาศัยอยู่ของมณฑลเสฉวน และมณฑลยูนนาน ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปักกิ่งยังได้ระดมบุคคลทางศาสนาที่นิยมชมชอบทางการ ให้ออกมาประณามการจลาจล และลดความน่าเชื่อถือของเสียงเรียกร้องจากนานาชาติที่ให้ตอบโต้อย่างผ่อนปรนต่อเหตุที่เกิดขึ้น ปันเจนลามะองค์ที่ 11 ซึ่งถือเป็นพระลามะตำแหน่งสูงสุดเป็นอันดับ 2 ในลำดับชั้นการปกครองอันซับซ้อนของทิเบต ได้ออกคำแถลงเมื่อวันอาทิตย์ (16 มี.ค.) ระบุว่า เขา “สนับสนุนอย่างเด็ดเดี่ยวต่อความพยายามของพรรคและรัฐบาลในการทำให้เกิดความปลอดภัยและเสถียรภาพขึ้นในลาซา” ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวซินหัว
“เราคัดค้านอย่างเด็ดเดี่ยวต่อกิจกรรมทั้งหลาย ซึ่งทำให้ประเทศชาติแตกแยก และบ่อนทำลายความสามัคคีระหว่างชนชาติต่างๆ เราประณามอย่างแข็งขันต่ออาชญากรรมของผู้คนจำนวนเพียงหยิบมือที่ทำลายชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน” คำแถลงของปันเชนลามะซึ่งบอกว่าออกที่เมืองลาซากล่าว
ปันเชนลามะ ซึ่งมีชื่อว่า เกียลเซล นอรบู องค์นี้ เป็นองค์ที่รับรองโดยปักกิ่ง ทว่าไม่เป็นที่รับรองของทะไลลามะและบรรดาสาวกพลัดถิ่น เกดุน โชกี นีมา ผู้ได้รับเลือกจากทะไลลามะ ให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งปันเชนลามะ ตั้งแต่ที่เขาเป็นเด็กชายวัย 6 ขวบ ได้หายตัวไปไม่นานนักหลังข่าวการเลือกเขาได้รับการเปิดเผยออกมาในปี 1995 และนับจากนั้นก็ไม่มีข่าวคราวเกี่ยวกับเขาให้ได้ยินกันอีกเลย
ชุมชนผู้พลัดถิ่นของชาวทิเบตเรียกเด็กชายผู้นี้ว่าเป็น “นักโทษการเมืองอายุน้อยที่สุดในโลก” ชะตากรรมของเขามักถูกยกเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าชาวทิเบตถูกปฏิเสธไม่ยอมให้มีสิทธิมีเสียง ภายหลังคอมมิวนิสต์จีนเข้าครอบครองทิเบตในปี 1950
ปักกิ่งนั้นให้ความสำคัญเป็นลำดับสูงสุดแก่เรื่องที่จะต้องจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกด้วยความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยถือเป็นความภาคภูมิใจของชาติ ทว่าการจลาจลในทิเบตและเหตุพยายามจี้เครื่องบินโดยสารของเด็กสาวชาวอุยกูร์ผู้หนึ่ง กำลังกลายเป็นชนวนทำให้เกิดความวิตกในเรื่องความมั่นคงและความปลอดภัย
“ทางการผู้รับผิดชอบมีการเตรียมตัวรับมือกับความยุ่งยากที่อาจจะสร้างขึ้นโดยพวกต้องการเป็นเอกราชทั้งในซินเจียงและในทิเบต ทั้งช่วงก่อนหน้าและระหว่างกีฬาโอลิมปิกที่ปักกิ่ง อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงในลาซาคือครั้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 20 ปี มันเป็นเสมือนคำเตือนต่อทางการผู้รับผิดชอบ” นักวิจัยด้านสังคมวิทยาผู้หนึ่งแห่งบัณฑิตยสถานทางสังคมศาสตร์ของจีน (ซีเอเอสเอส) กล่าวให้ความเห็น
เป็นเรื่องธรรมดาที่ขบวนการเรียกร้องเอกราชของทิเบตและซินเจียง จะต้องเพิ่มกิจกรรมของพวกเขาในช่วงโอลิมปิก เพราะจะสามารถเรียกร้องความสนใจจากนานาชาติได้ “มันไม่น่าประหลาดใจหรอกที่ได้เห็นความพยายามเพิ่มมากขึ้นเพื่อคุกคามกีฬาโอลิมปิกที่ปักกิ่ง” แหล่งข่าวซึ่งใกล้ชิดกระทรวงความปลอดภัยสาธารณะกล่าว
แต่ขณะที่ปักกิ่งอาจเพิ่มมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการจลาจลทำนองนี้ขึ้นมาอีก ก็ควรต้องระวังและคิดหาความสมดุลระหว่างการบังคับใช้กฎหมายกับการรักษาสิทธิมนุษยชน เพราะ “เวลานี้ทุกๆ อย่างกำลังถูกจับตาจากแสงสปอตไลต์นานาชาติแล้ว” เนื่องจากการจัดการแข่งขันโอลิมปิก นักวิจัยของซีเอเอสเอสชี้
เนื่องจากโอลิมปิกจะเริ่มต้นขึ้นแล้วในเวลาอีกเพียง 140 วันเศษๆ การปราบปรามของจีนในลาซาจึงทำให้ผู้คนจำนวนมากในขบวนการโอลิมปิกหวั่นเกรงกันว่า การแข่งขันคราวนี้อาจจะถูกกระทบกระเทือน โดยอาจถูกนานาชาติคว่ำบาตร
หลังจาก สตีเวน สปิลเบิร์ก ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง ตัดสินใจเมื่อเดือนที่แล้วที่จะถอนตัวไม่เป็นที่ปรึกษาด้านศิลป์ให้แก่พิธีเปิดการแข่งขันโอลิมปิก สืบเนื่องจากการที่จีนให้ความสนับสนุนแก่ซูดาน ก็มี ริชาร์ด เกียร์ นักแสดงของฮอลลีวู้ดและนักเคลื่อนไหวเพื่อทิเบตชื่อดัง ออกมาเรียกร้องในวันเสาร์ (15 มี.ค.) ให้คว่ำบาตรกีฬาโอลิมปิกคราวนี้ ถ้าหากจีน “ไม่ได้กระทำด้วยวิถีทางอันเหมาะสม” ในการจัดการกับการประท้วงในทิเบต
ทว่าพวกผู้นำยุโรปออกมากล่าวในวันเสาร์เช่นกัน ปฏิเสธว่าจะไม่พูดจาหารือกันเรื่องคว่ำบาตร นอกจากนั้นประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ฌาร์กส์ ร็อกก์ ก็แสดงท่าทีในวันเสาร์ว่าไม่เห็นด้วยกับเสียงเรียกร้องให้คว่ำบาตร โดยกล่าวว่านั่นรังแต่จะสร้างความเสียหายให้พวกนักกีฬาเท่านั้น
“เราเชื่อว่าการคว่ำบาตรจะไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เลย” ร็อกก์กล่าวกับผู้สื่อข่าวระหว่างเยือนย่านแคริบเบียน “ตรงกันข้าม มันจะกลายเป็นการลงโทษนักกีฬาผู้บริสุทธิ์ และมันจะกลายเป็นการหยุดยั้งองค์การ(โอลิมปิกสากล) จากอะไรบางอย่างซึ่งมีคุณค่าแก่การจัดขึ้นมาอย่างแน่นอน” แต่เขาก็ไม่ยอมพูดว่าทางคณะกรรมการจะเปลี่ยนจุดยืนหรือไม่ หากความรุนแรงยังดำเนินต่อไป หรือมีผู้คนจำนวนมากถูกสังหาร
แต่สิ่งที่สร้างความยุ่งยากมากให้แก่บรรดาผู้นำของจีน กลับเป็นข้อเท็จจริงที่ว่าผลลัพธ์อันเหี้ยมโหดของการประท้วงของชาวทิเบต อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อการลงประชามติและการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่กำลังจะจัดขึ้นในไต้หวัน ซึ่งจีนยังคงถือว่าเป็นมณฑลของพวกกบฎทรยศชาติ
ในวันที่ 22 มีนาคม ผู้ออกเสียงบนเกาะแห่งนี้ ซึ่งถูกปกครองแยกต่างหากจากจีนมาเป็นเวลานานพอๆ กับที่ทิเบตกลับเข้ามาอยู่ใต้การบริหารของจีน นอกจากจะไปหย่อนบัตรลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีคนใหม่แล้ว ยังจะหย่อนบัตรเพื่อตัดสินว่า จะสนับสนุนหรือไม่ต่อการยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ ตามข้อเสนอของพรรคเดโมแครติก โปรเกรสซิป ปาร์ตี้ ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลอยู่ในปัจจุบันและเป็นพวกที่เห็นว่าควรแยกไต้หวันออกเป็นประเทศเอกราช
ขณะที่ผลโพลบ่งชี้ว่า ผู้ออกเสียงชาวไต้หวันนิยมชมชื่นพรรคก๊กมิ่นตั๋ง ซึ่งเป็นพรรคที่สนับสนุนหนทางรวมชาติกับจีน การเข่นฆ่านองเลือดใดๆ ในทิเบตก็อาจทำให้ผลการลงคะแนนซึ่งยังไม่มีความแน่นอน หันเหเหวี่ยงไปทิศทางตรงกันข้ามก็ได้
ด้วยความที่ต้องใส่ใจต่อความเสี่ยงทั้งระดับนานาชาติและภายในประเทศ ในเรื่องการปราบปรามอย่างรุนแรงต่อพระลามะและพลเรือนชาวทิเบต พวกผู้นำจีนจึงใช้วิธีตอบโต้เหตุที่เกิดขึ้นทั้งด้วยกำลังและการโฆษณาชวนเชื่อ ด้วยความหวังว่าจะสามารถควบคุมความไม่สงบและมีอิทธิพลต่อประชามตินานาชาติได้
นับจากทศวรรษ 1930 เป็นต้นมา ในยามที่แสวงหาความสนับสนุนของประชาชนต่อการทำสงครามกลางเมืองกับพรรคก๊กมิ่นตั๋งของตน ทางพรรคคอมมิวนิสต์ได้ให้สัญญาซ้ำแล้วซ้ำอีกกับพวกชนชาติส่วนน้อยว่า พวกเขามีสิทธิที่จะเลือกกำหนดอนาคตชนชาติของตนเอง ซึ่งรวมถึงเสรีภาพในการมีรัฐบาลปกครองตนเอง และสถาบันทางศาสนาอันเป็นอิสระ ทว่าพวกคอมมิวนิสต์ก็ทรยศต่อคำมั่นสัญญาเหล่านี้ภายหลังขึ้นสู่อำนาจ และภายในเวลาไม่กี่ปีต่อมาก็กำหนดว่า หากชนชาติส่วนน้อยเรียกร้องที่จะเป็นเอกราช จะถือเป็นความผิดฐานกบฎ
เมื่อชาวทิเบตลุกฮือขึ้นมาในปี 1959 เพื่อคัดค้านการยึดทรัพย์สินของพวกเขาเป็นของรัฐ, การปิดวัดวาอาราม, และนโยบายเกษตรกรรมที่ผิดพลาดของจีนซึ่งนำไปสู่ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่โต ปักกิ่งก็ออกคำสั่งนำกำลังทหารเข้ามา ซึ่งได้บังคับให้ทะไลลามะต้องหลบหนีไปยังอินเดีย
นับแต่นั้นมา รัฐบาลชาวทิเบตพลัดถิ่นที่ธรรมศาลาได้พยายามผลักดันข้อเรียกร้องของพวกเขาเสมอมา ซึ่งไม่ใช่ข้อเรียกร้องที่จะเป็นเอกราชอย่างสมบูรณ์ หากแต่เป็นการมีสิทธิปกครองตนเองในระดับสูงโดยที่ยังขึ้นอยู่กับปักกิ่ง ทะไลลามะซึ่งเป็นผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1989 ได้เดินทางไปตามเมืองหลวงประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อหาความสนับสนุนให้แก่การต่อสู้ของชาวทิเบต และผลักดันให้ผู้นำจีนยอมมาเจรจาด้วย
ในช่วงเวลาสั้นๆ ช่วงหนึ่งของกลางทศวรรษ 1980 ตอนที่ หูเย่าปัง ผู้นำพรรคหัวเสรีนิยม และ เจ้าจื่อหยาง ผู้เป็นทายาทต่อจากเขายังคงอยู่ในอำนาจนั้น ปักกิ่งและธรรมศาลากำลังตระเตรียมกันเพื่อเจรจากันเกี่ยวกับอนาคตของทิเบต
แต่แล้วกระบวนการดังกล่าวก็มีอันหยุดชะงักไปเมื่อพวกหัวแข็งกร้าวโค่นล้มหูเย่าปัง และเจ้าจื่อหยางก็ถูกขับออกจากอำนาจจากจุดยืนของเขาที่แสดงความเห็นอกเห็นใจพวกนักศึกษาที่เดินขบวนประท้วง ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน
ได้เกิดการจลาจลปะทุขึ้นมาใหม่ที่เมืองลาซาในปี 1989 ซึ่งนำไปสู่การประกาศใช้กฎอัยการศึก และการเจรจากับฝ่ายทะไลลามะก็เป็นอันยุติอย่างฉับพลัน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนสาขาทิเบต ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลการปราบปรามอย่างรุนแรงในคราวนั้น คือ หูจิ่นเทา ซึ่งเวลาเป็นประธานาธิบดีจีนและเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน
เวลานี้เหตุการณ์กำลังหวนกลับมาหลอกหลอมเขาเข้าให้แล้ว
Situ Feng เป็นนักเขียนอิสระจากแผ่นดินใหญ่จีน John Ng เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระซึ่งพำนักอยู่ในฮ่องกง
(เสริมด้วยรายงานเพิ่มเติมโดย อันโตอาเนตา เบซโลวา แห่ง อินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
By Situ Feng and John Ng
17/03/2008
อีกเพียงสองสามเดือน คบเพลิงโอลิมปิกก็มีกำหนดจะเคลื่อนผ่านนครลาซา เมืองหลวงของทิเบต ซึ่งเวลานี้กำลังปะทุดุเดือดด้วยความรุนแรงต่อต้านจีน พวกเจ้าหน้าที่ในปักกิ่งแสดงความปักใจแน่แน่ว ว่า จะต้องไม่มีอะไรมาหยุดยั้งไม่ให้คบเพลิงเคลื่อนคืบหน้าไปตามเส้นทางของมันสู่พิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกในเดือนสิงหาคม ซึ่งนั่นหมายความว่า ไม่ว่าจะต้องทำอะไรก็ตามที การประท้วงทั้งหลายจะต้องถูกสยบให้เงียบหายไป
ฮ่องกง – ด้วยความหวาดกลัวว่า การจลาจลอันรุนแรงเพิ่มมากขึ้น จะก่อกวนการวิ่งผลัดคบเพลิงโอลิมปิก ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์สัญลักษณ์อันสูงส่งของมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งจะจัดขึ้นเดือนสิงหาคมนี้ จีนก็จะเพิ่มมาตรการระแวดระวังและการรักษาความมั่นคงปลอดภัย เพื่อให้มั่นใจว่า การวิ่งคบเพลิงจะสามารถเคลื่อนผ่านพื้นที่แห่งเทือกเขาหิมาลัยแห่งนี้ ได้อย่างราบรื่นในเดือนมิถุนายน
ความรุนแรงที่ระเบิดขึ้นในเขตปกครองตนเองทิเบตเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว บังเกิดขึ้นเพียง 2 เดือนก่อนหน้าพิธีการเฉลิมฉลองโอลิมปิกทั้งหลาย ซึ่งจะมาพร้อมกับการนำคบเพลิงโอลิมปิกเข้าสู่นครลาซา เมืองหลวงของทิเบต
การจลาจลต่อต้านรัฐบาลจีนคราวนี้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปอย่างน้อยที่สุด 16 คนแล้ว ทว่ายังไม่มีการพิจารณาที่จะเปลี่ยนแปลงเส้นทางวิ่งคบเพลิง อย่างน้อยก็ในเวลานี้ และทางการผู้รับผิดชอบจะเพิ่มมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้เข้มแข็งขึ้นอีก เพื่อให้มั่นใจว่า การวิ่งผ่านทิเบตจะเป็นไปอย่างราบรื่น แหล่งข่าวรายหนึ่งซึ่งใกล้ชิดกับกระทรวงความปลอดภัยสาธารณะในปักกิ่ง บอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์
“มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้เชื่อได้ว่า การจลาจลในช่วงหลังๆ มานี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนการที่มุ่งหมายจะสร้างอันตรายให้เกิดขึ้นแก่การวิ่งคบเพลิง เพื่อทำให้โอลิมปิกปักกิ่งเกิดความอับอายขายหน้า ด้วยเหตุนี้เอง พวกผู้สนับสนุนของทะไลลามะ (ผู้นำทางจิตใจและหัวหน้าในทางฆราวาสวิสัยของรัฐบาลทิเบตลี้ภัยซึ่งตั้งอยู่ในอินเดีย) จึงน่าที่จะก่อการจลาจลรุนแรงเพิ่มมากขึ้นอีก เราจะเพิ่มความระมัดระวังและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในช่วงใกล้จะถึงการวิ่งคบเพลิง” แหล่งข่าวซึ่งไม่ประสงค์จะให้ออกนามผู้นี้กล่าว
และสำหรับความหวังของนานาชาติ ที่ว่า ปักกิ่งอาจจะแสดงความผ่อนผันต่อผู้ประท้วง และกระทั่งแสวงหาการพูดจาสนทนากับทะไลลามะนั้น พวกเจ้าหน้าที่จีนก็ได้ตัดรอนความหวังดังกล่าวไปอย่างรวดเร็ว ด้วยการข่มขู่จะใช้มาตรการโหดๆ เอากับพวกชักใบให้เรือเสีย
“เราจะจัดการอย่างไร้ความปรานีกับพวกอาชญากรเหล่านี้ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย” เชียงปา ปันต์ซ็อก ประธานของรัฐบาลทิเบต บอกกับผู้สื่อข่าวในกรุงปักกิ่ง “การทุบตี, การทำลาย, การปล้นสะดม และการจุดไฟเผา ... เราขอประณามพฤติการณ์ประเภทนี้อย่างถึงที่สุด แผนการร้ายนี้จักต้องล้มเหลวลง” ปันต์ซ็อก กล่าวในการจัดแถลงข่าวเคียงข้างการประชุมประจำปีของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ หรือรัฐสภาของจีน ซึ่งยังกำลังดำเนินอยู่
ทางด้าน ซุนเหวยเต๋อ โฆษกคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปักกิ่ง กล่าวในคำแถลงฉบับหนึ่งเมื่อวันเสาร์ (15 มี.ค.) ว่า การตระเตรียมเพื่อการวิ่งคบเพลิงในทิเบต รวมทั้งการขึ้นสู่ยอดเขาจูมู่หลังหม่า (ยอดเขาเอเวอเรสต์) ที่วางแผนเอาไว้ “กำลังคืบหน้าไปอย่างราบรื่นและเป็นไปตามกำหนดการ”
ซุน กล่าวด้วยว่า คณะกรรมการจัดการแข่งขันคัดค้านการนำเอาการรณรงค์ทางการเมืองใดๆ มาเชื่อมโยงกับกีฬาโอลิมปิกที่จะจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม โดยที่เสียงเรียกร้องให้คว่ำบาตรโอลิมปิกปักกิ่งได้หวนกลับคืนมาอีกคำรบหนึ่ง ภายหลังการปราบปรามชาวทิเบตที่ประท้วงคัดค้านการปกครองของจีนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยที่สื่อระหว่างประเทศบางแห่งได้เปรียบเทียบการประท้วงดังกล่าวกับเหตุการณ์ปราบปรามนองเลือดที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 1989
“คณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ คัดค้านความพยายามใดๆ ก็ตามที่จะทำให้กีฬาโอลิมปิกคราวนี้กลายเป็นเรื่องทางการเมือง เพราะนั่นคัดค้านกับจิตวิญญาณอันแท้จริงของกีฬาโอลิมปิก” เขากล่าว
เส้นทางวิ่งคบเพลิงตามที่คณะกรรมการจัดการแข่งขันฯประกาศในเว็บไซต์ของพวกเขานั้น คบเพลิงโอลิมปิกจะมาถึง ซานหนานตี้ชวี ในเขตทิเบต ในวันที่ 19 มิถุนายน โดยมาจากมณฑลเสฉวน ที่อยู่ติดกัน และจะผ่านเข้าสู่เมืองลาซา ในวันที่ 20-21 มิถุนายน
การจลาจลในลาซาสัปดาห์ที่แล้ว เริ่มขึ้นในวันจันทร์ (10 มี.ค.) เมื่อพระลามะทิเบตกว่า 300 รูปเดินขบวนไปตามท้องถนน เพื่อรำลึกวาระครบรอบ 49 ปีแห่งการลุกฮือที่ไม่ประสบความสำเร็จของกลุ่มผู้สนับสนุนทะไลลามะ ซึ่งคัดค้านการปกครองของจีน พระลามะเหล่านี้เปล่งคำขวัญเรียกร้อง “เอกราชของทิเบต” และแล้วจากการเข้าปราบปรามของทางการ เจ้าหน้าที่ได้จับกุมพระลามะเอาไว้ราว 60 รูป
ในวันเดียวกันนั้นเอง ทะไลลามะ ได้พูดกับพวกผู้สนับสนุน ณ เมืองธรรมศาลา ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น โดยเขากล่าวว่า “ในระยะสองสามปีที่ผ่านมา ทิเบตต้องพบเห็นการกดขี่และความโหดร้ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ” เขาบอกว่า จีนกระทำ “การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมโหฬารยิ่งและอย่างเหลือจะคาดคิดได้” อีกทั้งปฏิเสธไม่ยอมให้ชาวทิเบตมี “เสรีภาพทางศาสนา”
วันรุ่งขึ้น มีพระลามะทิเบตจำนวนมากขึ้น ออกมาเดินขบวนเรียกร้องให้ปล่อยตัวพระลามะที่ถูกจับ กองกำลังตำรวจติดอาวุธของประชาชน (พีเอพี) ได้ยิงแก๊สน้ำตาเข้าสลายผู้ประท้วง
ถึงวันศุกร์ (14 มี.ค.) ผู้ประท้วงเริ่มปะทะกับตำรวจ ตามปากคำของผู้เห็นเหตุการณ์หลายราย ความไม่สงบเริ่มขึ้นในเวลาราวบ่ายโมง เมื่อประชาชนจำนวนมากเกิดปะทะและขว้างก้อนหินใส่ตำรวจท้องถิ่น บริเวณใกล้ๆ กับวัดรามอเกีย ในย่านใจกลางนครลาซา
สถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน (ซีซีทีวี) ได้ออกอากาศวิดีโอภาพข่าวอย่างยาวเหยียด ในรายการข่าวเวลา 19.00 น.ของตนเมื่อวันเสาร์ (15 มี.ค.) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกผู้ก่อการจลาจลกำลังจุดไฟเผายานพาหนะของตำรวจและพลเรือน, วิ่งไล่ผู้คนที่ผ่านไปมา, ทุบทำลายร้านค้า, รวมทั้งสาขาของธนาคารแบงก์ออฟไชน่า สาขาเมืองลาซา ของสำนักข่าวซินหัวก็ปรากฏในภาพข่าวว่าถูกไฟไหม้เช่นกัน
ตำรวจปราบจลาจลจำนวนหลายพันคนถูกระดมเข้าไปควบคุมสถานการณ์ และพวกนักท่องเที่ยวชาวฮ่องกง เล่าว่า เห็นยานหุ้มเกราะหลายคันตามท้องถนน โดยที่พวกเขานั้นได้รับคำแนะนำให้อยู่แต่ในโรงแรมที่พัก
รัฐบาลของเขตปกครองตนเองทิเบต กล่าวผ่านสำนักข่าวซินหัวในตอนเช้าวันเสาร์ ว่า มีผู้คนถูกสังหารไปในการจลาจลอย่างน้อย 16 คน “เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายทั้งหมดเป็นพลเรือนผู้บริสุทธิ์ และพวกเขาถูกเผาจนเสียชีวิต” เจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งกล่าว เหยื่อเหล่านี้มีที่เป็นลูกจ้างของโรงแรมจำนวน 2 คน และเจ้าของร้านค้าอีก 2 คน เจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งไม่มีการบอกชื่อผู้นี้กล่าว นอกจากนั้น ยังมีผู้บาดเจ็บอีกหลายสิบคน โดยที่เป็นสมาชิกในกองกำลังพีเอพีจำนวน 2 คน
ทว่า รัฐบาลพลัดถิ่นของทิเบตในเมืองธรรมศาลา แถลงว่า มีผู้ถูกสังหารซึ่งได้รับการยืนยันแล้วประมาณ 80 คน
ซินหัว บอกว่า ตำรวจติดอาวุธในลาซาได้เข้าช่วยเหลือประชาชนให้พ้นภัยมากกว่า 580 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวญี่ปุ่น 3 คน โดยช่วยออกจากธนาคาร, ซูเปอร์มาร์เก็ต, โรงเรียน และโรงพยาบาลที่ถูกจุดไฟเผา ซินหัว อ้างว่า มีรายงานไฟไหม้กว่า 160 ครั้ง โดยที่เป็นไฟไหม้ใหญ่ราว 40 ครั้ง
ทว่า ทั้ง ซินหัว และ ซีซีทีวี ก็ไม่ได้บอกว่า ผู้ก่อการจลาจลถูกปราบปรามกันอย่างไร วิดีโอภาพข่าวของซีซีทีวีแสดงให้เห็นเพียงว่า มีหน่วยตำรวจติดอาวุธที่มีอุปกรณ์ต่อต้านการจลาจลพร้อมสรรพ กำลังลาดตระเวนตามท้องถนนหรือเข้าไปช่วยเหลือพลเรือน นอกจากนั้นรายงานของสื่อรัฐบาลจีนทั้ง 2 ก็ไม่ได้พูดว่า มีคนถูกจับไปจำนวนกี่คน
เจ้าหน้าที่รัฐบาลทิเบตผู้หนึ่ง บอกว่า มีหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ว่า การก่อวินาศกรรมในลาซาคราวนี้ “จัดตั้ง, วางแผนล่วงหน้า และบงการ” โดย “กลุ่มทะไลลามะ”
แต่ในการแถลงข่าวถ่ายทอดทางโทรทัศน์ที่ธรรมศาลา เมื่อวันอาทิตย์ (16 มี.ค.) ทะไลลามะได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้ พร้อมกับเรียกร้องให้ดำเนินการสอบสวนโดยนานาชาติเกี่ยวกับการปราบปรามของจีน ทว่า ผู้นำทางจิตใจของชาวทิเบตท่านนี้ ก็ย้ำว่า จีนสมควรที่จะได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และบอกต่อไปว่า ปักกิ่งจำเป็นจะต้อง “รำลึกไว้ว่าจะต้องเป็นเจ้าภาพที่ดีของโอลิมปิก”
ทางด้านเจ้าหน้าที่รับผิดชอบการบังคับใช้กฎหมายในทิเบตได้ออกประกาศฉบับหนึ่งในวันเสาร์ (15 มี.ค.) เรียกร้องให้พวกทำผิดกฎหมายยุติกิจกรรมรุนแรง และเสนอที่จะผ่อนผันให้พวกซึ่งยอมจำนน ประกาศดังกล่าวเรียกร้องให้พวกทำผิดกฎหมายมามอบตัวภายในเที่ยงคืนวันจันทร์ (17 มี.ค.) และสัญญาว่า จะลดโทษและผ่อนผันบรรเทาโทษให้แก่พวกที่ยอมจำนน
ระหว่างช่วงสุดสัปดาห์ ยังคงมีรายงานการประท้วงของชาวทิเบต ในเมืองเซี่ยเหอ ของมณฑลกานซู่ ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน พระลามะทิเบตในท้องถิ่นได้จัดการประท้วงเล็กๆ ขึ้นเมื่อวันศุกร์ (14 มี.ค.) ทว่าการประจันหน้ากันได้เพิ่มขนาดใหญ่โตขึ้นในตอนบ่ายวันเสาร์ (15 มี.ค.) พระลามะและชาวทิเบตอื่นๆ รวมแล้วหลายพันคนได้ปะทะกับตำรวจปราบจลาจล เมื่อถึงวันอาทิตย์ (16 มี.ค.) สีว์โส่วเซิ่ง ผู้ว่าการมณฑลกานซู่ แถลงขณะเข้าร่วมการประชุมประจำปีของสภาประชาชนแห่งชาติของจีนในกรุงปักกิ่งว่า “มีความวุ่นวายขนาดเล็กๆ เกิดขึ้นบ้าง แต่สามารถควบคุมสถานการณ์เอาไว้ได้แล้ว”
นอกจากนั้น ยังมีรายงานการประท้วงอย่างกระจัดกระจาย ในบางพื้นที่ซึ่งมีชาวทิเบตอาศัยอยู่ของมณฑลเสฉวน และมณฑลยูนนาน ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปักกิ่งยังได้ระดมบุคคลทางศาสนาที่นิยมชมชอบทางการ ให้ออกมาประณามการจลาจล และลดความน่าเชื่อถือของเสียงเรียกร้องจากนานาชาติที่ให้ตอบโต้อย่างผ่อนปรนต่อเหตุที่เกิดขึ้น ปันเจนลามะองค์ที่ 11 ซึ่งถือเป็นพระลามะตำแหน่งสูงสุดเป็นอันดับ 2 ในลำดับชั้นการปกครองอันซับซ้อนของทิเบต ได้ออกคำแถลงเมื่อวันอาทิตย์ (16 มี.ค.) ระบุว่า เขา “สนับสนุนอย่างเด็ดเดี่ยวต่อความพยายามของพรรคและรัฐบาลในการทำให้เกิดความปลอดภัยและเสถียรภาพขึ้นในลาซา” ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวซินหัว
“เราคัดค้านอย่างเด็ดเดี่ยวต่อกิจกรรมทั้งหลาย ซึ่งทำให้ประเทศชาติแตกแยก และบ่อนทำลายความสามัคคีระหว่างชนชาติต่างๆ เราประณามอย่างแข็งขันต่ออาชญากรรมของผู้คนจำนวนเพียงหยิบมือที่ทำลายชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน” คำแถลงของปันเชนลามะซึ่งบอกว่าออกที่เมืองลาซากล่าว
ปันเชนลามะ ซึ่งมีชื่อว่า เกียลเซล นอรบู องค์นี้ เป็นองค์ที่รับรองโดยปักกิ่ง ทว่าไม่เป็นที่รับรองของทะไลลามะและบรรดาสาวกพลัดถิ่น เกดุน โชกี นีมา ผู้ได้รับเลือกจากทะไลลามะ ให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งปันเชนลามะ ตั้งแต่ที่เขาเป็นเด็กชายวัย 6 ขวบ ได้หายตัวไปไม่นานนักหลังข่าวการเลือกเขาได้รับการเปิดเผยออกมาในปี 1995 และนับจากนั้นก็ไม่มีข่าวคราวเกี่ยวกับเขาให้ได้ยินกันอีกเลย
ชุมชนผู้พลัดถิ่นของชาวทิเบตเรียกเด็กชายผู้นี้ว่าเป็น “นักโทษการเมืองอายุน้อยที่สุดในโลก” ชะตากรรมของเขามักถูกยกเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าชาวทิเบตถูกปฏิเสธไม่ยอมให้มีสิทธิมีเสียง ภายหลังคอมมิวนิสต์จีนเข้าครอบครองทิเบตในปี 1950
ปักกิ่งนั้นให้ความสำคัญเป็นลำดับสูงสุดแก่เรื่องที่จะต้องจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกด้วยความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยถือเป็นความภาคภูมิใจของชาติ ทว่าการจลาจลในทิเบตและเหตุพยายามจี้เครื่องบินโดยสารของเด็กสาวชาวอุยกูร์ผู้หนึ่ง กำลังกลายเป็นชนวนทำให้เกิดความวิตกในเรื่องความมั่นคงและความปลอดภัย
“ทางการผู้รับผิดชอบมีการเตรียมตัวรับมือกับความยุ่งยากที่อาจจะสร้างขึ้นโดยพวกต้องการเป็นเอกราชทั้งในซินเจียงและในทิเบต ทั้งช่วงก่อนหน้าและระหว่างกีฬาโอลิมปิกที่ปักกิ่ง อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงในลาซาคือครั้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 20 ปี มันเป็นเสมือนคำเตือนต่อทางการผู้รับผิดชอบ” นักวิจัยด้านสังคมวิทยาผู้หนึ่งแห่งบัณฑิตยสถานทางสังคมศาสตร์ของจีน (ซีเอเอสเอส) กล่าวให้ความเห็น
เป็นเรื่องธรรมดาที่ขบวนการเรียกร้องเอกราชของทิเบตและซินเจียง จะต้องเพิ่มกิจกรรมของพวกเขาในช่วงโอลิมปิก เพราะจะสามารถเรียกร้องความสนใจจากนานาชาติได้ “มันไม่น่าประหลาดใจหรอกที่ได้เห็นความพยายามเพิ่มมากขึ้นเพื่อคุกคามกีฬาโอลิมปิกที่ปักกิ่ง” แหล่งข่าวซึ่งใกล้ชิดกระทรวงความปลอดภัยสาธารณะกล่าว
แต่ขณะที่ปักกิ่งอาจเพิ่มมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการจลาจลทำนองนี้ขึ้นมาอีก ก็ควรต้องระวังและคิดหาความสมดุลระหว่างการบังคับใช้กฎหมายกับการรักษาสิทธิมนุษยชน เพราะ “เวลานี้ทุกๆ อย่างกำลังถูกจับตาจากแสงสปอตไลต์นานาชาติแล้ว” เนื่องจากการจัดการแข่งขันโอลิมปิก นักวิจัยของซีเอเอสเอสชี้
เนื่องจากโอลิมปิกจะเริ่มต้นขึ้นแล้วในเวลาอีกเพียง 140 วันเศษๆ การปราบปรามของจีนในลาซาจึงทำให้ผู้คนจำนวนมากในขบวนการโอลิมปิกหวั่นเกรงกันว่า การแข่งขันคราวนี้อาจจะถูกกระทบกระเทือน โดยอาจถูกนานาชาติคว่ำบาตร
หลังจาก สตีเวน สปิลเบิร์ก ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง ตัดสินใจเมื่อเดือนที่แล้วที่จะถอนตัวไม่เป็นที่ปรึกษาด้านศิลป์ให้แก่พิธีเปิดการแข่งขันโอลิมปิก สืบเนื่องจากการที่จีนให้ความสนับสนุนแก่ซูดาน ก็มี ริชาร์ด เกียร์ นักแสดงของฮอลลีวู้ดและนักเคลื่อนไหวเพื่อทิเบตชื่อดัง ออกมาเรียกร้องในวันเสาร์ (15 มี.ค.) ให้คว่ำบาตรกีฬาโอลิมปิกคราวนี้ ถ้าหากจีน “ไม่ได้กระทำด้วยวิถีทางอันเหมาะสม” ในการจัดการกับการประท้วงในทิเบต
ทว่าพวกผู้นำยุโรปออกมากล่าวในวันเสาร์เช่นกัน ปฏิเสธว่าจะไม่พูดจาหารือกันเรื่องคว่ำบาตร นอกจากนั้นประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ฌาร์กส์ ร็อกก์ ก็แสดงท่าทีในวันเสาร์ว่าไม่เห็นด้วยกับเสียงเรียกร้องให้คว่ำบาตร โดยกล่าวว่านั่นรังแต่จะสร้างความเสียหายให้พวกนักกีฬาเท่านั้น
“เราเชื่อว่าการคว่ำบาตรจะไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เลย” ร็อกก์กล่าวกับผู้สื่อข่าวระหว่างเยือนย่านแคริบเบียน “ตรงกันข้าม มันจะกลายเป็นการลงโทษนักกีฬาผู้บริสุทธิ์ และมันจะกลายเป็นการหยุดยั้งองค์การ(โอลิมปิกสากล) จากอะไรบางอย่างซึ่งมีคุณค่าแก่การจัดขึ้นมาอย่างแน่นอน” แต่เขาก็ไม่ยอมพูดว่าทางคณะกรรมการจะเปลี่ยนจุดยืนหรือไม่ หากความรุนแรงยังดำเนินต่อไป หรือมีผู้คนจำนวนมากถูกสังหาร
แต่สิ่งที่สร้างความยุ่งยากมากให้แก่บรรดาผู้นำของจีน กลับเป็นข้อเท็จจริงที่ว่าผลลัพธ์อันเหี้ยมโหดของการประท้วงของชาวทิเบต อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อการลงประชามติและการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่กำลังจะจัดขึ้นในไต้หวัน ซึ่งจีนยังคงถือว่าเป็นมณฑลของพวกกบฎทรยศชาติ
ในวันที่ 22 มีนาคม ผู้ออกเสียงบนเกาะแห่งนี้ ซึ่งถูกปกครองแยกต่างหากจากจีนมาเป็นเวลานานพอๆ กับที่ทิเบตกลับเข้ามาอยู่ใต้การบริหารของจีน นอกจากจะไปหย่อนบัตรลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีคนใหม่แล้ว ยังจะหย่อนบัตรเพื่อตัดสินว่า จะสนับสนุนหรือไม่ต่อการยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ ตามข้อเสนอของพรรคเดโมแครติก โปรเกรสซิป ปาร์ตี้ ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลอยู่ในปัจจุบันและเป็นพวกที่เห็นว่าควรแยกไต้หวันออกเป็นประเทศเอกราช
ขณะที่ผลโพลบ่งชี้ว่า ผู้ออกเสียงชาวไต้หวันนิยมชมชื่นพรรคก๊กมิ่นตั๋ง ซึ่งเป็นพรรคที่สนับสนุนหนทางรวมชาติกับจีน การเข่นฆ่านองเลือดใดๆ ในทิเบตก็อาจทำให้ผลการลงคะแนนซึ่งยังไม่มีความแน่นอน หันเหเหวี่ยงไปทิศทางตรงกันข้ามก็ได้
ด้วยความที่ต้องใส่ใจต่อความเสี่ยงทั้งระดับนานาชาติและภายในประเทศ ในเรื่องการปราบปรามอย่างรุนแรงต่อพระลามะและพลเรือนชาวทิเบต พวกผู้นำจีนจึงใช้วิธีตอบโต้เหตุที่เกิดขึ้นทั้งด้วยกำลังและการโฆษณาชวนเชื่อ ด้วยความหวังว่าจะสามารถควบคุมความไม่สงบและมีอิทธิพลต่อประชามตินานาชาติได้
นับจากทศวรรษ 1930 เป็นต้นมา ในยามที่แสวงหาความสนับสนุนของประชาชนต่อการทำสงครามกลางเมืองกับพรรคก๊กมิ่นตั๋งของตน ทางพรรคคอมมิวนิสต์ได้ให้สัญญาซ้ำแล้วซ้ำอีกกับพวกชนชาติส่วนน้อยว่า พวกเขามีสิทธิที่จะเลือกกำหนดอนาคตชนชาติของตนเอง ซึ่งรวมถึงเสรีภาพในการมีรัฐบาลปกครองตนเอง และสถาบันทางศาสนาอันเป็นอิสระ ทว่าพวกคอมมิวนิสต์ก็ทรยศต่อคำมั่นสัญญาเหล่านี้ภายหลังขึ้นสู่อำนาจ และภายในเวลาไม่กี่ปีต่อมาก็กำหนดว่า หากชนชาติส่วนน้อยเรียกร้องที่จะเป็นเอกราช จะถือเป็นความผิดฐานกบฎ
เมื่อชาวทิเบตลุกฮือขึ้นมาในปี 1959 เพื่อคัดค้านการยึดทรัพย์สินของพวกเขาเป็นของรัฐ, การปิดวัดวาอาราม, และนโยบายเกษตรกรรมที่ผิดพลาดของจีนซึ่งนำไปสู่ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่โต ปักกิ่งก็ออกคำสั่งนำกำลังทหารเข้ามา ซึ่งได้บังคับให้ทะไลลามะต้องหลบหนีไปยังอินเดีย
นับแต่นั้นมา รัฐบาลชาวทิเบตพลัดถิ่นที่ธรรมศาลาได้พยายามผลักดันข้อเรียกร้องของพวกเขาเสมอมา ซึ่งไม่ใช่ข้อเรียกร้องที่จะเป็นเอกราชอย่างสมบูรณ์ หากแต่เป็นการมีสิทธิปกครองตนเองในระดับสูงโดยที่ยังขึ้นอยู่กับปักกิ่ง ทะไลลามะซึ่งเป็นผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1989 ได้เดินทางไปตามเมืองหลวงประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อหาความสนับสนุนให้แก่การต่อสู้ของชาวทิเบต และผลักดันให้ผู้นำจีนยอมมาเจรจาด้วย
ในช่วงเวลาสั้นๆ ช่วงหนึ่งของกลางทศวรรษ 1980 ตอนที่ หูเย่าปัง ผู้นำพรรคหัวเสรีนิยม และ เจ้าจื่อหยาง ผู้เป็นทายาทต่อจากเขายังคงอยู่ในอำนาจนั้น ปักกิ่งและธรรมศาลากำลังตระเตรียมกันเพื่อเจรจากันเกี่ยวกับอนาคตของทิเบต
แต่แล้วกระบวนการดังกล่าวก็มีอันหยุดชะงักไปเมื่อพวกหัวแข็งกร้าวโค่นล้มหูเย่าปัง และเจ้าจื่อหยางก็ถูกขับออกจากอำนาจจากจุดยืนของเขาที่แสดงความเห็นอกเห็นใจพวกนักศึกษาที่เดินขบวนประท้วง ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน
ได้เกิดการจลาจลปะทุขึ้นมาใหม่ที่เมืองลาซาในปี 1989 ซึ่งนำไปสู่การประกาศใช้กฎอัยการศึก และการเจรจากับฝ่ายทะไลลามะก็เป็นอันยุติอย่างฉับพลัน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนสาขาทิเบต ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลการปราบปรามอย่างรุนแรงในคราวนั้น คือ หูจิ่นเทา ซึ่งเวลาเป็นประธานาธิบดีจีนและเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน
เวลานี้เหตุการณ์กำลังหวนกลับมาหลอกหลอมเขาเข้าให้แล้ว
Situ Feng เป็นนักเขียนอิสระจากแผ่นดินใหญ่จีน John Ng เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระซึ่งพำนักอยู่ในฮ่องกง
(เสริมด้วยรายงานเพิ่มเติมโดย อันโตอาเนตา เบซโลวา แห่ง อินเตอร์เพรสเซอร์วิส)