(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Dalai Lama visit tests Taiwan-China ties
By Cindy Sui
04/09/2009
ทะไลลามะเดินทางไปเยือนไต้หวันเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อปลอบขวัญให้กำลังใจเหยื่อพายุไต้ฝุ่น “มรกต” เรื่องนี้มีความเป็นไปได้ทีเดียวที่จะกลายเป็นอุปสรรคขวางกั้นความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งกำลังกระเตื้องดีขึ้นมากในระยะหลังๆ แต่แล้วปฏิกิริยาตอบโต้จากรัฐบาลในปักกิ่งกลับถือได้ว่าค่อนข้างอ่อน อีกทั้งทางการไต้หวันเองก็พยายามอย่างเต็มที่ในการกำกับควบคุมการเยือนคราวนี้ เพื่อให้กระบวนการปรองดองกันระหว่างสองฟากฝั่งช่องแคบไต้หวัน ยังสามารถเดินหน้าต่อไปได้
เกาสง,ไต้หวัน – ขณะที่กำลังยืนอยู่ในสนามกีฬาเกาสง อารีนา ในช่วงเวลาที่ทะไลลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณชาวทิเบตซึ่งลี้ภัยออกมาอยู่นอกประเทศ นำผู้คนประมาณ 20,000 คนสวดมนตร์และอธิษฐานแบบพุทธทิเบตนั้น ยากเหลือเกินที่จะขบคิดถึงเรื่องการเมือง ชาวพุทธไต้หวันจำนวนมากและเหยื่อพายุไต้ฝุ่น “มรกต” ซึ่งมาชุมนุมกันที่นี่ พากันจับมือของกันและกัน, หลับตาขณะเปล่งเสียงสวดมนตร์และอธิษฐานไปกับทะไลลามะ หรือไม่ก็มองไปที่ตัวท่านเพื่อขอคำปลอบโยนและคำชี้แนะทางจิตวิญญาณ อีกหลายๆ คนพากันจดบันทึก หรือจับลูกประคำสำหรับสวดมนตร์แบบชาวพุทธมหายานในมือของพวกเขา ขณะที่พวกเขารับฟัง “พุทธะมีชีวิต” ชาวทิเบตท่านนี้อย่างตั้งอกตั้งใจ
ปักกิ่งได้คัดค้านอย่างเดือดดาลต่อการที่ทะไลลามะเยือนไต้หวันในคราวนี้ โดยวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงว่าเป็นความเคลื่อนไหวที่มีแรงจูงใจทางการเมือง รัฐบาลแผ่นดินใหญ่นั้นยืนกรานในความคิดเห็นของตนมานานแล้วว่า ผู้นำทิเบตลี้ภัยท่านนี้เป็นนักเรียกร้องแบ่งแยกดินแดนที่เป็นอันตราย โดยที่มีความโน้มเอียงที่จะหาทางให้ทิเบตแยกตัวเป็นเอกราช ถึงแม้ทะไลลามะเองได้พูดเรื่อยมาว่า เพียงต้องการให้ทิเบตและชาวทิเบตได้รับสิทธิปกครองตนเองอย่างแท้จริงเท่านั้น
พวกเจ้าหน้าที่จากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (Democratic Progressive Party หรือ DPP) ที่เป็นฝ่ายค้านในไต้หวัน รวมทั้งบรรดานายกเทศมนตรีและเจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ่นที่เป็นสมาชิกพรรคดีพีพีตามนครและอำเภอทางตอนใต้ของไต้หวัน ต่างกล่าวว่าพวกเขาเชิญทะไลลามะให้มาเยือนคราวนี้ ก็เพื่อจะได้ปลอบขวัญให้กำลังใจบรรดาเหยื่อผู้ประสบภัยจากพายุไต้ฝุ่น “มรกต” ซึ่งได้พัดกระหน่ำใส่ไต้หวันในเดือนที่แล้ว จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวางทางตอนใต้ของเกาะ และสังหารผู้คนไปกว่า 600 คน อีกทั้งยังมีผู้สูญหายร่วมๆ 100 คน
ขณะที่ทะไลลามะก็ยืนยันว่า การเยือนไต้หวันคราวนี้ไม่ได้มีวาระทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น
ทะไลลามะนั้นได้หลบหนีออกจากทิเบตไปยังอินเดีย ภายหลังการลุกขึ้นสู้ต่อต้านการปกครองของคอมมิวนิสต์เมื่อปี 1959 ประสบความล้มเหลว และนับแต่นั้นก็พำนักอาศัยแบบผู้ลี้ภัยอยู่นอกทิเบตโดยตลอด แต่เมื่อใดก็ตามที่ท่านออกจากที่ตั้งคณะรัฐบาลทิเบตลี้ภัยในเมืองธรรมศาลา ประเทศอินเดีย และเดินทางไปยังต่างประเทศ รัฐบาลจีนก็เป็นต้องประท้วงคัดค้าน ยิ่งคราวนี้ท่านเดินทางมายังดินแดนซึ่งปักกิ่งอ้างว่าเป็นของตนเองเสียด้วย ทำให้เรื่องราวยิ่งเลวร้ายลงไปอีกในสายตาของจีน
การที่ประธานาธิบดีหม่าอิงจิ่ว ของไต้หวันยินยอมอนุญาตให้ทะไลลามะมาเยือนได้ ถือเป็นการเล่นพนันเดิมพันสูงทีเดียว เพราะต้องเสี่ยงต่อการทำให้ปักกิ่งโกรธเกรี้ยว แต่ขณะเดียวกันเขาก็กำลังเผชิญแรงกดดันอย่างรุนแรงจากสาธารณชนชาวไต้หวัน สืบเนื่องจากคณะรัฐบาลของเขาดำเนินการรับมืออย่างไร้ประสิทธิภาพในตอนที่ไต้ฝุ่นลูกนี้พัดเข้าไต้หวัน ซึ่งได้สร้างความเสียหายหนักหน่วงที่สุดแก่เกาะแห่งนี้ในรอบ 50 ปีทีเดียว
จีนนั้นได้เตือนเอาไว้ว่า การเยือนคราวนี้จะสร้างความเสียหายให้แก่ความสัมพันธ์ที่มีกับไต้หวัน ซึ่งได้กระเตื้องดีขึ้นอย่างน่าตื่นใจในรอบปีที่แล้ว โดยที่มีทั้งการเปิดเที่ยวบินเช่าเหมาลำบินตรงระหว่างกัน, การเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างกัน, และแผนการที่จะเจรจาเพื่อทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน
แต่แล้วการตอบโต้ของจีนก็อยู่ในระดับเพียงจำกัด ขณะที่ปักกิ่งประณามพรรคดีพีพีว่าเชื้อเชิญทะไลลามะเยือนไต้หวัน ก็เพื่อพยายามสร้างความยุ่งยากวุ่นวายขึ้นมา ตลอดจนเพื่อพยายามทำลายความก้าวหน้าใน “ความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบไต้หวัน” (ความสัมพันธ์ระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่-ไต้หวัน) ที่บังเกิดขึ้นในช่วงหลังๆ นี้ ทว่าจีนกลับไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์หม่าและพรรคก๊กมิ่นตั๋ง(Kuomintang หรือ KMT)ของเขา
พวกนักวิเคราะห์มองว่า จีนรู้สึกว่าต้องระมัดระวังไม่หลงกลตกลงไปในกับดักของพรรคดีพีพี อีกทั้งต้องไม่ทำอันตรายความก้าวหน้าในความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบ ซึ่งได้มาด้วยความยากลำบากนับตั้งแต่หม่าขึ้นเป็นประธานาธิบดีในเดือนพฤษภาคม 2008
“ปักกิ่งไม่ได้มีช่องทางที่จะดำเนินกลยุทธ์อะไรได้มากนักหรอก มันเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขาที่จะยอมรับเรื่องที่หม่าอิงจิ่วอนุญาตให้ทะไลลามะเดินทางมาที่นี่ ทว่า [ปักกิ่ง]ก็ไม่ต้องการสร้างความเสียหายต่อความสัมพันธ์ที่มีอยู่กับรัฐบาลของหม่า สืบเนื่องจากเรื่องนี้” ซุนหยางหมิง รองประธานของมูลนิธิเพื่อทิศทางอนาคตของการแลกเปลี่ยนข้ามช่องแคบ (Cross-Strait Interflow Prospect Foundation) ซึ่งตั้งอยู่ในนครไทเป เมืองหลวงของไต้หวัน กล่าวแสดงความคิดเห็น
“ปักกิ่งไม่ได้มีตัวเลือกอื่นเลย เวลานี้สถานการณ์ดีที่สุดสำหรับหูจิ่นเทา [ประธานาธิบดีของจีน] ก็คือ หม่าอิงจิวยังคงปกครองไต้หวันต่อไป ถ้าความสัมพันธ์กับหม่าเกิดเลวร้ายขึ้นมา มันก็จะไม่เป็นผลดีมากๆ สำหรับหู เพราะทางเลือกอีกทางเดียวที่มีอยู่ก็คือพรรคดีพีพี นอกจากนั้น พวกเขายังทราบว่าหม่าไม่ได้ดำเนินการอย่างกระตือรือร้นเพื่อให้ทะไลลามะมาเยือนแต่อย่างใด”
กระนั้นก็ตามที ปักกิ่งยังคงต้องแสดงให้เห็นความไม่พอใจกันบ้าง มิฉะนั้นก็อาจมีการเชื้อเชิญทะไลลามะมาเยือนบ่อยครั้งขึ้นอีก ทั้งนี้แผ่นดินใหญ่วางแผนคว่ำบาตรไม่เข้าร่วมพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนสำหรับคนหูหนวก (Summer Deaflympics) ปี 2009 ในวันเสาร์(5) ซึ่งเป็นรายการแข่งขันกีฬาใหญ่ที่สุดรายการหนึ่งที่จัดขึ้นในไต้หวัน
นอกจากนั้น ฝ่ายแผ่นดินใหญ่ยังยกเลิกหรือเลื่อนการเดินทางเยือนไต้หวันของคณะผู้แทนต่างๆ หลายคณะ เป็นต้นว่า คณะผู้แทนภาคการธนาคารจากแผ่นดินใหญ่ที่นำโดย ซูหนิง รองผู้ว่าการธนาคารกลางของจีน คณะผู้แทนชุดนี้เดิมมีกำหนดมาถึงไทเปในวันจันทร์(7) เพื่อเข้าร่วมการประชุมสัมมนาที่อุปถัมภ์โดย มูลนิธิการเงินแห่งไทเป (Taipei Foundation of Finance)
จีนยังยกเลิกพิธีการต่างๆ เพื่อเฉลิมฉลองการขยายเที่ยวบินตรงข้ามช่องแคบ
แต่เป็นเรื่องน่าสนใจมากว่า จีนไม่ได้ยกเลิกข้อตกลงที่มีความสำคัญมากกว่าเรื่องเหล่านี้ เป็นต้นว่า เรื่องการขยายเที่ยวบินตรง ทั้งนี้ จำนวนเที่ยวบินตรงมีการเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว นั่นคือ จาก 108 เป็น 270 เที่ยว อีกทั้งยังปรับให้เป็นเที่ยวบินตามกำหนดเวลาเป็นประจำ แทนที่จะถือเป็นเที่ยวบินเช่าเหมาลำอย่างที่ได้ปฏิบัติมาก่อนหน้านี้ การทำให้เที่ยวบินตรงเหล่านี้กลายเป็นเที่ยวบินตามกำหนดเวลาเป็นประจำ ย่อมเป็นสัญญาณแสดงว่าข้อตกลงด้านการคมนาคมขนส่งระหว่างสองฝ่ายกลายเป็นข้อตกลงในลักษณะถาวรขึ้นมาแล้ว
เปรียบเทียบกับการตอบโต้ของจีนเมื่อตอนที่ทะไลลามะไปเยือนฝรั่งเศสในปีที่แล้ว ก็ย่อมสามารถถือได้ว่าปักกิ่งแสดงปฏิกิริยาในคราวนี้แบบค่อนข้างอ่อนมาก ตอนที่ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี ของฝรั่งเศส พบปะกับทะไลลามะในปีที่แล้วนั้น จีนได้แก้เผ็ดด้วยการยกเลิกการประชุมระดับสุดยอดกับสหภาพยุโรป(อียู)ทีเดียว
อันที่จริง ฝ่ายไต้หวันก็มีความระมัดระวังมุ่งรักษาความสัมพันธ์อันดีที่พัฒนาเอาไว้กับแผ่นดินใหญ่ โดยหม่าได้ส่งผู้แทนไปยังปักกิ่งเพื่ออธิบายการตัดสินใจของเขาที่อนุญาตให้ทะไลลามาะมาเยือน
ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ทะไลลามะอยู่ในไต้หวัน หม่าก็หลีกเลี่ยงไม่ไปพบ รวมทั้งไม่มีเจ้าหน้าที่พรรคเคเอ็มทีคนไหนเลยที่ถูกพบเห็นว่าพบปะอย่างเปิดเผยกับผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบตท่านนี้
ทะไลลามะเองซึ่งถูกกดดันให้ละเว้นการพูดเรื่องการเมืองระหว่างที่อยู่เยือนไต้หวัน ก็ได้ยกเลิกการจัดแถลงข่าว ตลอดจนการขึ้นเทศน์ในบริเวณใกล้ๆ นครไทเป รวมทั้งเปลี่ยนสถานที่ขึ้นเทศน์ในเมืองเกาสง ไปยังสถานที่ซึ่งเล็กลงกว่าเดิม
โฆษกของหม่าได้ปฏิเสธว่า การเปลี่ยนกำหนดการของทะไลลามะเหล่านี้ ไม่ได้สืบเนื่องจากแรงกดดันจากรัฐบาลแต่อย่างใด
ที่จริงทะไลลามะได้เคยมาเยือนไต้หวันแล้วเมื่อปี 1997 ในสมัยประธานาธิบดีหลี่เติ้งฮุย และในปี 2001 ในยุคของประธานาธิบดีเฉินสุยเปี่ยน โดยที่ทั้งหลี่และเฉินต่างพบปะกับทะไลลามะระหว่างที่ท่านอยู่ในไต้หวัน
การเยือนในสัปดาห์ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงลักษณะอันอ่อนไหวของความสัมพันธ์ไต้หวัน-จีน และก็ชี้ให้เห็นถึงการแตกแยกอย่างลึกซึ้งภายในสังคมชาวไต้หวัน เกี่ยวกับเรื่องที่ไต้หวันควรจะมีความสัมพันธ์กับจีนอย่างใกล้ชิดมากน้อยแค่ไหน
พวกที่สนับสนุนการเยือนคราวนี้เชื่อว่า หม่าไม่มีความจำเป็นโดยสิ้นเชิงเลยที่จะต้องคัดค้านเรื่องนี้ อีกทั้งไม่ควรก้มหัวให้แก่จีน ถ้าเขาปฏิเสธไม่ยอมอนุญาตให้ออกวีซ่าเข้าเมืองแก่ทะไลลามะ ก็จะต้องถูกมองว่าเป็นหลักฐานเพิ่มเติมอีกชิ้นหนึ่งว่าคณะรัฐบาลนี้และพรรคเคเอ็มที กำลังนอนร่วมเรียงเคียงหมอนกับรัฐบาลแผ่นดินใหญ่ และไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของไต้หวันอยู่ในหัวเลย นี่ก็จะกลายเป็นการมอบความชอบธรรมให้แก่พรรคดีพีพี ที่กำลังพยายามแพร่กระจายความหวาดกลัวออกไปว่า จากนโยบายของเคเอ็มทีที่มุ่งผูกสัมพันธ์กับปักกิ่ง ในที่สุดแล้วก็จะเป็นการกัดกร่อนบั่นทอนอำนาจอธิปไตยของไต้หวัน
“หม่าอิงจิ่วไม่มีทางเลือกเลย” แอนดริว หยาง (Andrew Yang) เลขาธิการสภาเพื่อการศึกษาขั้นสูงทางด้านนโยบาย (Council of Advanced Policy Studies) ซึ่งตั้งอยู่ในนครไทเป กล่าวให้ความเห็น “เขาจำเป็นต้องวางเดิมพันเสี่ยงภัยทางการเมือง ด้วยการอนุญาตให้ทะไลลามะมาเยือนไต้หวัน เพราะเขาต้องคำนึงถึงการเมืองภายในประเทศและแรงกดดันทางการเมือง นอกจากนั้นเขายังกำลังจะต้องเจอกับการเลือกตั้ง [ระดับท้องถิ่น] ในเดือนธันวาคม” –เมื่อชาวไต้หวันจะไปออกเสียงเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและผู้ปกครองท้องถิ่นของนครและอำเภอต่างๆ
มันเป็นการดำเนินการเพื่อสร้างความสมดุลซึ่งต้องเดิมพันสูงมากทีเดียวสำหรับหม่า และก็เป็นการทดสอบครั้งใหญ่ที่สุดสำหรับสายสัมพันธ์ข้ามช่องแคบที่เพิ่งกระเตื้องขึ้นมาใหม่ๆ นับตั้งแต่ที่เขาขึ้นรับตำแหน่งอีกด้วย นักวิเคราะห์หลายๆ คนพูดไว้เช่นนี้ ถ้าหากมีความเคลื่อนไหวผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้นในระหว่างการเยือนคราวนี้ เป็นต้นว่าถ้าหม่าเกิดไปพบปะกับทะไลลามะ ก็ย่อมจะลดทอนความไว้วางใจที่ฝ่ายแผ่นดินใหญ่ให้แก่ตัวหม่า ตลอดจนลิดรอนความเชื่อมั่นของฝ่ายแผ่นดินใหญ่ที่ว่า หม่าเป็นบุคคลที่พวกเขาสามารถเจรจาด้วยได้
ถึงแม้ทะไลลามะเองก็มีความระมัดระวังไม่สร้างปัญหาใดๆ ให้แก่คณะรัฐบาลของหม่าและไต้หวัน ด้วยการทำให้การเยือนของท่านคราวนี้มีความเอิกเกริกค่อนข้างน้อย ทว่ายังคงมีประชาชนจำนวนมากออกมาร่วมพิธีสวดมนตร์ซึ่งจัดขึ้นที่สนามกีฬาเกาสง อารีนา และขณะที่มีกลุ่มนิยมจีนจำนวนหยิบมือหนึ่งออกมาประท้วงการเยือนของทะไลลามะอย่างโดดเดี่ยวนั้น พวกผู้สนับสนุนซึ่งออกมาต้อนรับท่านกลับมีจำนวนเหนือกว่ามากมายนัก
แทบทุกหนแห่งที่ท่านเดินทางไป พวกผู้สนับสนุนจะมารวมตัวกัน ด้วยความมุ่งหวังว่าจะได้พบเห็นท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนครไทเป ซึ่งบางคนถึงขั้นคุกเข่าอยู่ที่ชานชาลาสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง ยกมือขึ้นพนมหน้าขบวนรถไฟที่ท่านโดยสาร ขณะที่คนอื่นๆ ก็ถือช่อดอกไม้เตรียมมอบให้ท่าน
การต้อนรับที่ท่านได้รับ ซึ่งไม่ได้มาจากรัฐบาลไต้หวัน แต่มาจากประชาชนชาวไต้หวัน มีน้ำหนักท่วมท้นเสียงวิพากษ์วิจารณ์อันแข็งกร้าวของปักกิ่งต่อการเยือนคราวนี้
หวังหมินเหลียง วัย 29 ปี ผู้สูญเสียสมาชิกในครอบครัวของเขาไป 14 คนจากเหตุดินถล่ม ที่ได้ฆ่าผู้คนไปร่วมๆ 500 คน ในหมู่บ้านเสี่ยวหลิน อันเป็นหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบกระเทือนหนักหน่วงที่สุดจากไต้ฝุ่นมรกต กล่าวว่าการพบปะกับทะไลลามะที่หมู่บ้านของเขา ทำให้เขารู้สึกสบายใจขึ้นมาก
“พ่อแม่ผมตายที่นั่น รวมทั้งปู่ของผมด้วย ระยะหลังๆ ผมจึงรู้สึกว้าวุ่นสับสนจริงๆ และไม่สามารถที่จะทำงานได้ แต่เมื่อผมรู้ว่าทะไลลามะกำลังมาที่นี่ ผมจึงมาที่นี่ ผมต้องการให้ทะไลลามะสวดมนตร์ให้แก่ชาวบ้านในหมู่บ้านของเรา และผมก็ต้องการขอพรจากท่านด้วย” หวังกล่าว
ทะไลลามะนั้นได้พูดจากับหวังตลอดจนชาวบ้านอื่นๆ อีกสองสามคน
“ท่านบอกผมว่าแท้จริงแล้วชีวิตเป็นของไม่เที่ยงอย่างยิ่ง ท่านบอกว่าตัวท่านเองก็ต้องผ่านความยากลำบากมากมาย ท่านบอกผมให้กล้าหาญเข้าไว้และต้องมองอนาคต ท่านให้กำลังใจผม” หวังบอก
พวกผู้ประท้วงพากันตะโกนว่า พวกเขาไม่ต้องการ “การเมืองของทะไลลามะ” และ “การเอาเหยื่อพายุไต้ฝุ่นมาใช้ประโยชน์” มีบางคนถือแผ่นป้ายที่ด้านนอกของโรงแรมเกาสงที่ทะไลลามะกำลังพำนักอยู่ โดยมีข้อความว่า “ไต้หวัน, ทิเบต เป็นดินแดนที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ของจีน”
ผู้ประท้วงบอกว่าจังหวะเวลาของการเยือนคราวนี้ไม่เหมาะสม และพวกเขากลัวว่ามันจะกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ที่ไต้หวันมีอยู่กับจีน
“ท่านไม่ควรมาที่นี่เลยในช่วงเวลานี้ เมื่อเรากำลังเป็นพยานถึงช่วงระยะที่มีความอ่อนไหวทางการเมืองอย่างยิ่ง ผมเชื่อว่าทะไลลามะซึ่งมีความเฉลียวฉลาดมาก ควรที่จะรู้เรื่องนี้เป็นอย่างดี” เป็นคำกล่าวของผู้ประท้วงคนหนึ่งที่บอกแต่แซ่ของเขาว่าแซ่หลอ และบอกด้วยว่าเดินทางมาจากเมืองซินจู๋ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของไต้หวัน เพื่อมาประท้วงถึงที่เมืองเกาสง “การเยือนของท่านเป็นการรบกวนแนวโน้มแห่งสันติภาพที่พวกเรากำลังมองเห็นในช่องแคบไต้หวัน แน่นอนว่ามันจะต้องมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับจีน” เขากล่าวต่อ
พวกผู้สนับสนุนทะไลลามะที่กำลังยืนอยู่หน้าโรงแรมแห่งเดียวกัน พากันตะโกนใส่ผู้ประท้วง “พวกแกคนจีน กลับบ้านไป” ขณะที่ผู้ประท้วงก็ตะโกนกลับว่า “[พวกแก]คนไต้หวันแบ่งแยกดินแดน”
มีตำรวจหลายสิบคนคอยเฝ้ารักษาการณ์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปะทะกันระหว่างผู้สนับสนุนและผู้ประท้วงการเยือนคราวนี้ จำนวนตำรวจเหล่านี้นับว่ามากเกินกว่าพวกประท้วงที่ปกติยืนกันอยู่สัก 10-20 คนบริเวณนอกโรงแรม
ทะไลลามะออกจากไต้หวันไปแล้วเมื่อวันศุกร์(4) ภายหลังการเยือนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เวลานี้หม่าจึงสามารถที่จะถอนหายใจด้วยความโล่งอก เขาได้แต้มทางการเมืองมาบ้างจากการแสดงความกล้าหาญที่อนุมัติให้วีซ่าเข้าเมืองแก่ทะไลลามะ แม้จะถูกทางการปักกิ่งคัดค้าน ทว่าเขาก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เหมือนกัน จากการไม่ยอมพบปะกับผู้นำทางจิตวิญญาณคนสำคัญท่านนี้
แต่จากเหตุการณ์คราวนี้ก็เป็นเครื่องบ่งชี้เพิ่มมากขึ้นว่า หม่า (โดยที่มีทั้งพรรคดีพีพี, ปักกิ่ง, และสาธารณชนชาวไต้หวัน เฝ้าจับตามองความเคลื่อนไหวของเขาอย่างใกล้ชิด) ยังจะต้องพยายามประคับประคองรักษาความสมดุล ระหว่างการสร้างสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นกับจีน ขณะเดียวกันก็ต้องลบล้างความหวาดกลัวที่ว่าไต้หวันกำลังสูญเสียอำนาจอธิปไตยภายใต้การปกครองของเขา
ซินดี้ สุย เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระที่พำนักอยู่ในนครไทเป
Dalai Lama visit tests Taiwan-China ties
By Cindy Sui
04/09/2009
ทะไลลามะเดินทางไปเยือนไต้หวันเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อปลอบขวัญให้กำลังใจเหยื่อพายุไต้ฝุ่น “มรกต” เรื่องนี้มีความเป็นไปได้ทีเดียวที่จะกลายเป็นอุปสรรคขวางกั้นความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งกำลังกระเตื้องดีขึ้นมากในระยะหลังๆ แต่แล้วปฏิกิริยาตอบโต้จากรัฐบาลในปักกิ่งกลับถือได้ว่าค่อนข้างอ่อน อีกทั้งทางการไต้หวันเองก็พยายามอย่างเต็มที่ในการกำกับควบคุมการเยือนคราวนี้ เพื่อให้กระบวนการปรองดองกันระหว่างสองฟากฝั่งช่องแคบไต้หวัน ยังสามารถเดินหน้าต่อไปได้
เกาสง,ไต้หวัน – ขณะที่กำลังยืนอยู่ในสนามกีฬาเกาสง อารีนา ในช่วงเวลาที่ทะไลลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณชาวทิเบตซึ่งลี้ภัยออกมาอยู่นอกประเทศ นำผู้คนประมาณ 20,000 คนสวดมนตร์และอธิษฐานแบบพุทธทิเบตนั้น ยากเหลือเกินที่จะขบคิดถึงเรื่องการเมือง ชาวพุทธไต้หวันจำนวนมากและเหยื่อพายุไต้ฝุ่น “มรกต” ซึ่งมาชุมนุมกันที่นี่ พากันจับมือของกันและกัน, หลับตาขณะเปล่งเสียงสวดมนตร์และอธิษฐานไปกับทะไลลามะ หรือไม่ก็มองไปที่ตัวท่านเพื่อขอคำปลอบโยนและคำชี้แนะทางจิตวิญญาณ อีกหลายๆ คนพากันจดบันทึก หรือจับลูกประคำสำหรับสวดมนตร์แบบชาวพุทธมหายานในมือของพวกเขา ขณะที่พวกเขารับฟัง “พุทธะมีชีวิต” ชาวทิเบตท่านนี้อย่างตั้งอกตั้งใจ
ปักกิ่งได้คัดค้านอย่างเดือดดาลต่อการที่ทะไลลามะเยือนไต้หวันในคราวนี้ โดยวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงว่าเป็นความเคลื่อนไหวที่มีแรงจูงใจทางการเมือง รัฐบาลแผ่นดินใหญ่นั้นยืนกรานในความคิดเห็นของตนมานานแล้วว่า ผู้นำทิเบตลี้ภัยท่านนี้เป็นนักเรียกร้องแบ่งแยกดินแดนที่เป็นอันตราย โดยที่มีความโน้มเอียงที่จะหาทางให้ทิเบตแยกตัวเป็นเอกราช ถึงแม้ทะไลลามะเองได้พูดเรื่อยมาว่า เพียงต้องการให้ทิเบตและชาวทิเบตได้รับสิทธิปกครองตนเองอย่างแท้จริงเท่านั้น
พวกเจ้าหน้าที่จากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (Democratic Progressive Party หรือ DPP) ที่เป็นฝ่ายค้านในไต้หวัน รวมทั้งบรรดานายกเทศมนตรีและเจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ่นที่เป็นสมาชิกพรรคดีพีพีตามนครและอำเภอทางตอนใต้ของไต้หวัน ต่างกล่าวว่าพวกเขาเชิญทะไลลามะให้มาเยือนคราวนี้ ก็เพื่อจะได้ปลอบขวัญให้กำลังใจบรรดาเหยื่อผู้ประสบภัยจากพายุไต้ฝุ่น “มรกต” ซึ่งได้พัดกระหน่ำใส่ไต้หวันในเดือนที่แล้ว จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวางทางตอนใต้ของเกาะ และสังหารผู้คนไปกว่า 600 คน อีกทั้งยังมีผู้สูญหายร่วมๆ 100 คน
ขณะที่ทะไลลามะก็ยืนยันว่า การเยือนไต้หวันคราวนี้ไม่ได้มีวาระทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น
ทะไลลามะนั้นได้หลบหนีออกจากทิเบตไปยังอินเดีย ภายหลังการลุกขึ้นสู้ต่อต้านการปกครองของคอมมิวนิสต์เมื่อปี 1959 ประสบความล้มเหลว และนับแต่นั้นก็พำนักอาศัยแบบผู้ลี้ภัยอยู่นอกทิเบตโดยตลอด แต่เมื่อใดก็ตามที่ท่านออกจากที่ตั้งคณะรัฐบาลทิเบตลี้ภัยในเมืองธรรมศาลา ประเทศอินเดีย และเดินทางไปยังต่างประเทศ รัฐบาลจีนก็เป็นต้องประท้วงคัดค้าน ยิ่งคราวนี้ท่านเดินทางมายังดินแดนซึ่งปักกิ่งอ้างว่าเป็นของตนเองเสียด้วย ทำให้เรื่องราวยิ่งเลวร้ายลงไปอีกในสายตาของจีน
การที่ประธานาธิบดีหม่าอิงจิ่ว ของไต้หวันยินยอมอนุญาตให้ทะไลลามะมาเยือนได้ ถือเป็นการเล่นพนันเดิมพันสูงทีเดียว เพราะต้องเสี่ยงต่อการทำให้ปักกิ่งโกรธเกรี้ยว แต่ขณะเดียวกันเขาก็กำลังเผชิญแรงกดดันอย่างรุนแรงจากสาธารณชนชาวไต้หวัน สืบเนื่องจากคณะรัฐบาลของเขาดำเนินการรับมืออย่างไร้ประสิทธิภาพในตอนที่ไต้ฝุ่นลูกนี้พัดเข้าไต้หวัน ซึ่งได้สร้างความเสียหายหนักหน่วงที่สุดแก่เกาะแห่งนี้ในรอบ 50 ปีทีเดียว
จีนนั้นได้เตือนเอาไว้ว่า การเยือนคราวนี้จะสร้างความเสียหายให้แก่ความสัมพันธ์ที่มีกับไต้หวัน ซึ่งได้กระเตื้องดีขึ้นอย่างน่าตื่นใจในรอบปีที่แล้ว โดยที่มีทั้งการเปิดเที่ยวบินเช่าเหมาลำบินตรงระหว่างกัน, การเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างกัน, และแผนการที่จะเจรจาเพื่อทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน
แต่แล้วการตอบโต้ของจีนก็อยู่ในระดับเพียงจำกัด ขณะที่ปักกิ่งประณามพรรคดีพีพีว่าเชื้อเชิญทะไลลามะเยือนไต้หวัน ก็เพื่อพยายามสร้างความยุ่งยากวุ่นวายขึ้นมา ตลอดจนเพื่อพยายามทำลายความก้าวหน้าใน “ความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบไต้หวัน” (ความสัมพันธ์ระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่-ไต้หวัน) ที่บังเกิดขึ้นในช่วงหลังๆ นี้ ทว่าจีนกลับไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์หม่าและพรรคก๊กมิ่นตั๋ง(Kuomintang หรือ KMT)ของเขา
พวกนักวิเคราะห์มองว่า จีนรู้สึกว่าต้องระมัดระวังไม่หลงกลตกลงไปในกับดักของพรรคดีพีพี อีกทั้งต้องไม่ทำอันตรายความก้าวหน้าในความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบ ซึ่งได้มาด้วยความยากลำบากนับตั้งแต่หม่าขึ้นเป็นประธานาธิบดีในเดือนพฤษภาคม 2008
“ปักกิ่งไม่ได้มีช่องทางที่จะดำเนินกลยุทธ์อะไรได้มากนักหรอก มันเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขาที่จะยอมรับเรื่องที่หม่าอิงจิ่วอนุญาตให้ทะไลลามะเดินทางมาที่นี่ ทว่า [ปักกิ่ง]ก็ไม่ต้องการสร้างความเสียหายต่อความสัมพันธ์ที่มีอยู่กับรัฐบาลของหม่า สืบเนื่องจากเรื่องนี้” ซุนหยางหมิง รองประธานของมูลนิธิเพื่อทิศทางอนาคตของการแลกเปลี่ยนข้ามช่องแคบ (Cross-Strait Interflow Prospect Foundation) ซึ่งตั้งอยู่ในนครไทเป เมืองหลวงของไต้หวัน กล่าวแสดงความคิดเห็น
“ปักกิ่งไม่ได้มีตัวเลือกอื่นเลย เวลานี้สถานการณ์ดีที่สุดสำหรับหูจิ่นเทา [ประธานาธิบดีของจีน] ก็คือ หม่าอิงจิวยังคงปกครองไต้หวันต่อไป ถ้าความสัมพันธ์กับหม่าเกิดเลวร้ายขึ้นมา มันก็จะไม่เป็นผลดีมากๆ สำหรับหู เพราะทางเลือกอีกทางเดียวที่มีอยู่ก็คือพรรคดีพีพี นอกจากนั้น พวกเขายังทราบว่าหม่าไม่ได้ดำเนินการอย่างกระตือรือร้นเพื่อให้ทะไลลามะมาเยือนแต่อย่างใด”
กระนั้นก็ตามที ปักกิ่งยังคงต้องแสดงให้เห็นความไม่พอใจกันบ้าง มิฉะนั้นก็อาจมีการเชื้อเชิญทะไลลามะมาเยือนบ่อยครั้งขึ้นอีก ทั้งนี้แผ่นดินใหญ่วางแผนคว่ำบาตรไม่เข้าร่วมพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนสำหรับคนหูหนวก (Summer Deaflympics) ปี 2009 ในวันเสาร์(5) ซึ่งเป็นรายการแข่งขันกีฬาใหญ่ที่สุดรายการหนึ่งที่จัดขึ้นในไต้หวัน
นอกจากนั้น ฝ่ายแผ่นดินใหญ่ยังยกเลิกหรือเลื่อนการเดินทางเยือนไต้หวันของคณะผู้แทนต่างๆ หลายคณะ เป็นต้นว่า คณะผู้แทนภาคการธนาคารจากแผ่นดินใหญ่ที่นำโดย ซูหนิง รองผู้ว่าการธนาคารกลางของจีน คณะผู้แทนชุดนี้เดิมมีกำหนดมาถึงไทเปในวันจันทร์(7) เพื่อเข้าร่วมการประชุมสัมมนาที่อุปถัมภ์โดย มูลนิธิการเงินแห่งไทเป (Taipei Foundation of Finance)
จีนยังยกเลิกพิธีการต่างๆ เพื่อเฉลิมฉลองการขยายเที่ยวบินตรงข้ามช่องแคบ
แต่เป็นเรื่องน่าสนใจมากว่า จีนไม่ได้ยกเลิกข้อตกลงที่มีความสำคัญมากกว่าเรื่องเหล่านี้ เป็นต้นว่า เรื่องการขยายเที่ยวบินตรง ทั้งนี้ จำนวนเที่ยวบินตรงมีการเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว นั่นคือ จาก 108 เป็น 270 เที่ยว อีกทั้งยังปรับให้เป็นเที่ยวบินตามกำหนดเวลาเป็นประจำ แทนที่จะถือเป็นเที่ยวบินเช่าเหมาลำอย่างที่ได้ปฏิบัติมาก่อนหน้านี้ การทำให้เที่ยวบินตรงเหล่านี้กลายเป็นเที่ยวบินตามกำหนดเวลาเป็นประจำ ย่อมเป็นสัญญาณแสดงว่าข้อตกลงด้านการคมนาคมขนส่งระหว่างสองฝ่ายกลายเป็นข้อตกลงในลักษณะถาวรขึ้นมาแล้ว
เปรียบเทียบกับการตอบโต้ของจีนเมื่อตอนที่ทะไลลามะไปเยือนฝรั่งเศสในปีที่แล้ว ก็ย่อมสามารถถือได้ว่าปักกิ่งแสดงปฏิกิริยาในคราวนี้แบบค่อนข้างอ่อนมาก ตอนที่ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี ของฝรั่งเศส พบปะกับทะไลลามะในปีที่แล้วนั้น จีนได้แก้เผ็ดด้วยการยกเลิกการประชุมระดับสุดยอดกับสหภาพยุโรป(อียู)ทีเดียว
อันที่จริง ฝ่ายไต้หวันก็มีความระมัดระวังมุ่งรักษาความสัมพันธ์อันดีที่พัฒนาเอาไว้กับแผ่นดินใหญ่ โดยหม่าได้ส่งผู้แทนไปยังปักกิ่งเพื่ออธิบายการตัดสินใจของเขาที่อนุญาตให้ทะไลลามาะมาเยือน
ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ทะไลลามะอยู่ในไต้หวัน หม่าก็หลีกเลี่ยงไม่ไปพบ รวมทั้งไม่มีเจ้าหน้าที่พรรคเคเอ็มทีคนไหนเลยที่ถูกพบเห็นว่าพบปะอย่างเปิดเผยกับผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบตท่านนี้
ทะไลลามะเองซึ่งถูกกดดันให้ละเว้นการพูดเรื่องการเมืองระหว่างที่อยู่เยือนไต้หวัน ก็ได้ยกเลิกการจัดแถลงข่าว ตลอดจนการขึ้นเทศน์ในบริเวณใกล้ๆ นครไทเป รวมทั้งเปลี่ยนสถานที่ขึ้นเทศน์ในเมืองเกาสง ไปยังสถานที่ซึ่งเล็กลงกว่าเดิม
โฆษกของหม่าได้ปฏิเสธว่า การเปลี่ยนกำหนดการของทะไลลามะเหล่านี้ ไม่ได้สืบเนื่องจากแรงกดดันจากรัฐบาลแต่อย่างใด
ที่จริงทะไลลามะได้เคยมาเยือนไต้หวันแล้วเมื่อปี 1997 ในสมัยประธานาธิบดีหลี่เติ้งฮุย และในปี 2001 ในยุคของประธานาธิบดีเฉินสุยเปี่ยน โดยที่ทั้งหลี่และเฉินต่างพบปะกับทะไลลามะระหว่างที่ท่านอยู่ในไต้หวัน
การเยือนในสัปดาห์ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงลักษณะอันอ่อนไหวของความสัมพันธ์ไต้หวัน-จีน และก็ชี้ให้เห็นถึงการแตกแยกอย่างลึกซึ้งภายในสังคมชาวไต้หวัน เกี่ยวกับเรื่องที่ไต้หวันควรจะมีความสัมพันธ์กับจีนอย่างใกล้ชิดมากน้อยแค่ไหน
พวกที่สนับสนุนการเยือนคราวนี้เชื่อว่า หม่าไม่มีความจำเป็นโดยสิ้นเชิงเลยที่จะต้องคัดค้านเรื่องนี้ อีกทั้งไม่ควรก้มหัวให้แก่จีน ถ้าเขาปฏิเสธไม่ยอมอนุญาตให้ออกวีซ่าเข้าเมืองแก่ทะไลลามะ ก็จะต้องถูกมองว่าเป็นหลักฐานเพิ่มเติมอีกชิ้นหนึ่งว่าคณะรัฐบาลนี้และพรรคเคเอ็มที กำลังนอนร่วมเรียงเคียงหมอนกับรัฐบาลแผ่นดินใหญ่ และไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของไต้หวันอยู่ในหัวเลย นี่ก็จะกลายเป็นการมอบความชอบธรรมให้แก่พรรคดีพีพี ที่กำลังพยายามแพร่กระจายความหวาดกลัวออกไปว่า จากนโยบายของเคเอ็มทีที่มุ่งผูกสัมพันธ์กับปักกิ่ง ในที่สุดแล้วก็จะเป็นการกัดกร่อนบั่นทอนอำนาจอธิปไตยของไต้หวัน
“หม่าอิงจิ่วไม่มีทางเลือกเลย” แอนดริว หยาง (Andrew Yang) เลขาธิการสภาเพื่อการศึกษาขั้นสูงทางด้านนโยบาย (Council of Advanced Policy Studies) ซึ่งตั้งอยู่ในนครไทเป กล่าวให้ความเห็น “เขาจำเป็นต้องวางเดิมพันเสี่ยงภัยทางการเมือง ด้วยการอนุญาตให้ทะไลลามะมาเยือนไต้หวัน เพราะเขาต้องคำนึงถึงการเมืองภายในประเทศและแรงกดดันทางการเมือง นอกจากนั้นเขายังกำลังจะต้องเจอกับการเลือกตั้ง [ระดับท้องถิ่น] ในเดือนธันวาคม” –เมื่อชาวไต้หวันจะไปออกเสียงเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและผู้ปกครองท้องถิ่นของนครและอำเภอต่างๆ
มันเป็นการดำเนินการเพื่อสร้างความสมดุลซึ่งต้องเดิมพันสูงมากทีเดียวสำหรับหม่า และก็เป็นการทดสอบครั้งใหญ่ที่สุดสำหรับสายสัมพันธ์ข้ามช่องแคบที่เพิ่งกระเตื้องขึ้นมาใหม่ๆ นับตั้งแต่ที่เขาขึ้นรับตำแหน่งอีกด้วย นักวิเคราะห์หลายๆ คนพูดไว้เช่นนี้ ถ้าหากมีความเคลื่อนไหวผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้นในระหว่างการเยือนคราวนี้ เป็นต้นว่าถ้าหม่าเกิดไปพบปะกับทะไลลามะ ก็ย่อมจะลดทอนความไว้วางใจที่ฝ่ายแผ่นดินใหญ่ให้แก่ตัวหม่า ตลอดจนลิดรอนความเชื่อมั่นของฝ่ายแผ่นดินใหญ่ที่ว่า หม่าเป็นบุคคลที่พวกเขาสามารถเจรจาด้วยได้
ถึงแม้ทะไลลามะเองก็มีความระมัดระวังไม่สร้างปัญหาใดๆ ให้แก่คณะรัฐบาลของหม่าและไต้หวัน ด้วยการทำให้การเยือนของท่านคราวนี้มีความเอิกเกริกค่อนข้างน้อย ทว่ายังคงมีประชาชนจำนวนมากออกมาร่วมพิธีสวดมนตร์ซึ่งจัดขึ้นที่สนามกีฬาเกาสง อารีนา และขณะที่มีกลุ่มนิยมจีนจำนวนหยิบมือหนึ่งออกมาประท้วงการเยือนของทะไลลามะอย่างโดดเดี่ยวนั้น พวกผู้สนับสนุนซึ่งออกมาต้อนรับท่านกลับมีจำนวนเหนือกว่ามากมายนัก
แทบทุกหนแห่งที่ท่านเดินทางไป พวกผู้สนับสนุนจะมารวมตัวกัน ด้วยความมุ่งหวังว่าจะได้พบเห็นท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนครไทเป ซึ่งบางคนถึงขั้นคุกเข่าอยู่ที่ชานชาลาสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง ยกมือขึ้นพนมหน้าขบวนรถไฟที่ท่านโดยสาร ขณะที่คนอื่นๆ ก็ถือช่อดอกไม้เตรียมมอบให้ท่าน
การต้อนรับที่ท่านได้รับ ซึ่งไม่ได้มาจากรัฐบาลไต้หวัน แต่มาจากประชาชนชาวไต้หวัน มีน้ำหนักท่วมท้นเสียงวิพากษ์วิจารณ์อันแข็งกร้าวของปักกิ่งต่อการเยือนคราวนี้
หวังหมินเหลียง วัย 29 ปี ผู้สูญเสียสมาชิกในครอบครัวของเขาไป 14 คนจากเหตุดินถล่ม ที่ได้ฆ่าผู้คนไปร่วมๆ 500 คน ในหมู่บ้านเสี่ยวหลิน อันเป็นหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบกระเทือนหนักหน่วงที่สุดจากไต้ฝุ่นมรกต กล่าวว่าการพบปะกับทะไลลามะที่หมู่บ้านของเขา ทำให้เขารู้สึกสบายใจขึ้นมาก
“พ่อแม่ผมตายที่นั่น รวมทั้งปู่ของผมด้วย ระยะหลังๆ ผมจึงรู้สึกว้าวุ่นสับสนจริงๆ และไม่สามารถที่จะทำงานได้ แต่เมื่อผมรู้ว่าทะไลลามะกำลังมาที่นี่ ผมจึงมาที่นี่ ผมต้องการให้ทะไลลามะสวดมนตร์ให้แก่ชาวบ้านในหมู่บ้านของเรา และผมก็ต้องการขอพรจากท่านด้วย” หวังกล่าว
ทะไลลามะนั้นได้พูดจากับหวังตลอดจนชาวบ้านอื่นๆ อีกสองสามคน
“ท่านบอกผมว่าแท้จริงแล้วชีวิตเป็นของไม่เที่ยงอย่างยิ่ง ท่านบอกว่าตัวท่านเองก็ต้องผ่านความยากลำบากมากมาย ท่านบอกผมให้กล้าหาญเข้าไว้และต้องมองอนาคต ท่านให้กำลังใจผม” หวังบอก
พวกผู้ประท้วงพากันตะโกนว่า พวกเขาไม่ต้องการ “การเมืองของทะไลลามะ” และ “การเอาเหยื่อพายุไต้ฝุ่นมาใช้ประโยชน์” มีบางคนถือแผ่นป้ายที่ด้านนอกของโรงแรมเกาสงที่ทะไลลามะกำลังพำนักอยู่ โดยมีข้อความว่า “ไต้หวัน, ทิเบต เป็นดินแดนที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ของจีน”
ผู้ประท้วงบอกว่าจังหวะเวลาของการเยือนคราวนี้ไม่เหมาะสม และพวกเขากลัวว่ามันจะกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ที่ไต้หวันมีอยู่กับจีน
“ท่านไม่ควรมาที่นี่เลยในช่วงเวลานี้ เมื่อเรากำลังเป็นพยานถึงช่วงระยะที่มีความอ่อนไหวทางการเมืองอย่างยิ่ง ผมเชื่อว่าทะไลลามะซึ่งมีความเฉลียวฉลาดมาก ควรที่จะรู้เรื่องนี้เป็นอย่างดี” เป็นคำกล่าวของผู้ประท้วงคนหนึ่งที่บอกแต่แซ่ของเขาว่าแซ่หลอ และบอกด้วยว่าเดินทางมาจากเมืองซินจู๋ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของไต้หวัน เพื่อมาประท้วงถึงที่เมืองเกาสง “การเยือนของท่านเป็นการรบกวนแนวโน้มแห่งสันติภาพที่พวกเรากำลังมองเห็นในช่องแคบไต้หวัน แน่นอนว่ามันจะต้องมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับจีน” เขากล่าวต่อ
พวกผู้สนับสนุนทะไลลามะที่กำลังยืนอยู่หน้าโรงแรมแห่งเดียวกัน พากันตะโกนใส่ผู้ประท้วง “พวกแกคนจีน กลับบ้านไป” ขณะที่ผู้ประท้วงก็ตะโกนกลับว่า “[พวกแก]คนไต้หวันแบ่งแยกดินแดน”
มีตำรวจหลายสิบคนคอยเฝ้ารักษาการณ์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปะทะกันระหว่างผู้สนับสนุนและผู้ประท้วงการเยือนคราวนี้ จำนวนตำรวจเหล่านี้นับว่ามากเกินกว่าพวกประท้วงที่ปกติยืนกันอยู่สัก 10-20 คนบริเวณนอกโรงแรม
ทะไลลามะออกจากไต้หวันไปแล้วเมื่อวันศุกร์(4) ภายหลังการเยือนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เวลานี้หม่าจึงสามารถที่จะถอนหายใจด้วยความโล่งอก เขาได้แต้มทางการเมืองมาบ้างจากการแสดงความกล้าหาญที่อนุมัติให้วีซ่าเข้าเมืองแก่ทะไลลามะ แม้จะถูกทางการปักกิ่งคัดค้าน ทว่าเขาก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เหมือนกัน จากการไม่ยอมพบปะกับผู้นำทางจิตวิญญาณคนสำคัญท่านนี้
แต่จากเหตุการณ์คราวนี้ก็เป็นเครื่องบ่งชี้เพิ่มมากขึ้นว่า หม่า (โดยที่มีทั้งพรรคดีพีพี, ปักกิ่ง, และสาธารณชนชาวไต้หวัน เฝ้าจับตามองความเคลื่อนไหวของเขาอย่างใกล้ชิด) ยังจะต้องพยายามประคับประคองรักษาความสมดุล ระหว่างการสร้างสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นกับจีน ขณะเดียวกันก็ต้องลบล้างความหวาดกลัวที่ว่าไต้หวันกำลังสูญเสียอำนาจอธิปไตยภายใต้การปกครองของเขา
ซินดี้ สุย เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระที่พำนักอยู่ในนครไทเป