จีนคัดค้านอย่างแรงกล้าต่อการที่ทะไลลามะเยือนไต้หวันในสัปดาห์ผ่านมา โดยวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงว่าเป็นความเคลื่อนไหวที่มีแรงจูงใจทางการเมือง รัฐบาลแผ่นดินใหญ่นั้นยืนกรานในความคิดเห็นของตนมานานแล้วว่า ผู้นำทิเบตลี้ภัยท่านนี้เป็นนักเรียกร้องแบ่งแยกดินแดนที่เป็นอันตราย โดยที่มีความโน้มเอียงที่จะหาทางให้ทิเบตแยกตัวเป็นเอกราช ถึงแม้ทะไลลามะเองได้พูดเรื่อยมาว่า เพียงต้องการให้ทิเบตและชาวทิเบตได้รับสิทธิปกครองตนเองอย่างแท้จริงเท่านั้น
พวกเจ้าหน้าที่จากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (ดีพีพี) ที่เป็นฝ่ายค้านในไต้หวัน รวมทั้งบรรดานายกเทศมนตรีและเจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ่นที่เป็นสมาชิกพรรคดีพีพีตามนครและอำเภอทางตอนใต้ของไต้หวัน ต่างกล่าวว่าพวกเขาเชิญทะไลลามะให้มาเยือนคราวนี้ ก็เพื่อจะได้ปลอบขวัญให้กำลังใจบรรดาเหยื่อผู้ประสบภัยจากพายุไต้ฝุ่น "มรกต" ซึ่งได้พัดกระหน่ำใส่ไต้หวันในเดือนที่แล้ว จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวางทางตอนใต้ของเกาะ และสังหารผู้คนไปกว่า 600 คน อีกทั้งยังมีผู้สูญหายร่วมๆ 100 คน
ขณะที่ทะไลลามะก็ยืนยันว่า การเยือนไต้หวันคราวนี้ไม่ได้มีวาระทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น
การที่ประธานาธิบดีหม่าอิงจิ่ว ของไต้หวันยินยอมอนุญาตให้ทะไลลามะมาเยือนได้ ถือเป็นการเล่นพนันเดิมพันสูงทีเดียว เพราะต้องเสี่ยงต้องการทำให้ปักกิ่งโกรธเกรี้ยว แต่ขณะเดียวกันเขาก็กำลังเผชิญแรงกดด้านอย่างรุนแรงจากสาธารณชนชาวไต้หวัน สืบเนื่องจากคณะรัฐบาลของเขาดำเนินการรับมืออย่างไร้ประสิทธิภาพกับไต้ฝุ่นลูกนี้ ซึ่งสร้างความเสียหายหนักหน่วงที่สุดแก่ไต้หวันในรอบ 50 ปี
จีนนั้นได้เตือนเอาไว้ว่า การเยือนคราวนี้จะสร้างความเสียหายให้แก่ความสัมพันธ์ที่มีกับไต้หวัน ซึ่งได้กระเตื้องดีขึ้นอย่างน่าตื่นใจในรอบปีที่แล้ว โดยที่มีทั้งการเปิดเที่ยวบินเช่าเหมาลำโดยตรงระหว่างกัน, การเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างกัน, และแผนการที่จะเจรจาเพื่อทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน
แต่แล้วการตอบโต้ของจีนก็อยู่ในระดับเพียงจำกัด ขณะที่ปักกิ่งประณามพรรคดีพีพีว่าเชื้อเชิญทะไลลามะเยือนไต้หวัน ก็เพื่อพยายามสร้างความยุ่งยากวุ่นวายขึ้นมา ตลอดจนเพื่อพยายามทำลายความก้าวหน้าใน "ความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบไต้หวัน" (ความสัมพันธ์ระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่-ไต้หวัน) ที่บังเกิดขึ้นในช่วงหลังๆ นี้ ทว่าจีนกลับไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์หม่าและพรรคก๊กมิ่นตั๋ง(เคเอ็มที)ของเขา
พวกนักวิเคราะห์มองว่า จีนรู้สึกว่าต้องระมัดระวังไม่หลงกลตกลงไปในกับดักของพรรคดีพีพี อีกทั้งต้องไม่ทำอันตรายความก้าวหน้าในความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบ ซึ่งได้มาด้วยความยากลำบากนับตั้งแต่หม่าขึ้นเป็นประธานาธิบดีในเดือนพฤษภาคม 2008
กระนั้นก็ตามที ปักกิ่งยังคงต้องแสดงให้เห็นความไม่พอใจกันบ้าง มิฉะนั้นก็อาจมีการเชื้อเชิญทะไลลามะมาเยือนบ่อยครั้งขึ้นอีก ทั้งนี้แผ่นดินใหญ่วางแผนคว่ำบาตรไม่เข้าร่วมพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนสำหรับคนหูหนวกปี 2009 ในวันเสาร์(5) ซึ่งเป็นรายการแข่งขันกีฬาใหญ่ที่สุดรายการหนึ่งที่จัดขึ้นในไต้หวัน
นอกจากนั้น ฝ่ายแผ่นดินใหญ่ยังยกเลิกหรือเลื่อนการเดินทางเยือนไต้หวันของคณะผู้แทนต่างๆ หลายคณะ เป็นต้นว่า คณะผู้แทนภาคการธนาคารจากแผ่นดินใหญ่ที่นำโดย ซูหนิง รองผู้ว่าการธนาคารกลางของจีน
แต่น่าสนใจมากว่า จีนไม่ได้ยกเลิกข้อตกลงที่มีความสำคัญๆ มากกว่าเรื่องเหล่านี้ เป็นต้นว่า เรื่องการขยายเที่ยวบินตรง ทั้งนี้ จำนวนเที่ยวบินตรงมีการเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว นั่นคือ จาก 108 เป็น 270 เที่ยว อีกทั้งยังปรับให้เป็นเที่ยวบินตามกำหนดประจำ แทนที่จะถือเป็นเที่ยวบินเช่าเหมาลำอย่างที่ได้ปฏิบัติมาก่อนหน้านี้ การทำให้เที่ยวบินตรงเหล่านี้กลายเป็นเที่ยวบินตามกำหนดเวลาเป็นประจำ ย่อมเป็นสัญญาณแสดงว่าข้อตกลงด้านการคมนาคมขนส่งระหว่างสองฝ่ายกลายเป็นข้อตกลงในลักษณะถาวรขึ้นมาแล้ว
อันที่จริง ฝ่ายไต้หวันก็มีความระมัดระวังมุ่งรักษาความสัมพันธ์อันดีที่พัฒนาเอาไว้กับแผ่นดินใหญ่ โดยหม่าได้ส่งผู้แทนไปยังปักกิ่งเพื่ออธิบายการตัดสินใจของเขาที่อนุญาตให้ทะไลลามาะมาเยือน
ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ทะไลลามะอยู่ในไต้หวัน หม่าก็หลีกเลี่ยงไม่ไปพบ รวมทั้งไม่มีเจ้าหน้าที่พรรคเคเอ็มทีคนไหนเลยที่ถูกพบเห็นว่าพบปะอย่างเปิดเผยกับผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบตท่านนี้
ทะไลลามะเองซึ่งถูกกดดันให้ละเว้นการพูดเรื่องการเมืองระหว่างที่อยู่เยือนไต้หวัน ก็ได้ยกเลิกการจัดแถลงข่าวตลอดจนการขึ้นเทศน์ในบริเวณใกล้ๆ นครไทเป รวมทั้งเปลี่ยนสถานที่ขึ้นเทศน์ในเมืองเกาสง ไปยังสถานที่ซึ่งเล็กลงกว่าเดิม
ทะไลลามะออกจากไต้หวันไปแล้วเมื่อวันศุกร์(4) เวลานี้หม่าจึงสามารถที่จะถอนหายใจด้วยความโล่งอก เขาได้แต้มทางการเมืองมาบ้างจากการแสดงความกล้าหาญที่อนุมัติให้วีซ่าเข้าเมืองแก่ทะไลลามะ แม้จะถูกทางการปักกิ่งคัดค้าน ทว่าเขาก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เหมือนกัน จากการไม่ยอมพบปะกับผู้นำทางจิตวิญญาณคนสำคัญท่านนี้
แต่จากเหตุการณ์คราวนี้ก็เป็นเครื่องบ่งชี้เพิ่มมากขึ้นว่า หม่ายังจะต้องพยายามประคับประคองรักษาความสมดุล ระหว่างการสร้างสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นกับจีน ขณะเดียวกันก็ต้องลบล้างความหวาดกลัวที่ว่าไต้หวันกำลังสูญเสียอำนาจอธิปไตยภายใต้การปกครองของเขา
(เก็บความและตัดทอนจากเรื่อง Dalai Lama visit tests Taiwan-China ties โดย Cindy Sui นักหนังสือพิมพ์อิสระที่พำนักอยู่ในนครไทเป)
พวกเจ้าหน้าที่จากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (ดีพีพี) ที่เป็นฝ่ายค้านในไต้หวัน รวมทั้งบรรดานายกเทศมนตรีและเจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ่นที่เป็นสมาชิกพรรคดีพีพีตามนครและอำเภอทางตอนใต้ของไต้หวัน ต่างกล่าวว่าพวกเขาเชิญทะไลลามะให้มาเยือนคราวนี้ ก็เพื่อจะได้ปลอบขวัญให้กำลังใจบรรดาเหยื่อผู้ประสบภัยจากพายุไต้ฝุ่น "มรกต" ซึ่งได้พัดกระหน่ำใส่ไต้หวันในเดือนที่แล้ว จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวางทางตอนใต้ของเกาะ และสังหารผู้คนไปกว่า 600 คน อีกทั้งยังมีผู้สูญหายร่วมๆ 100 คน
ขณะที่ทะไลลามะก็ยืนยันว่า การเยือนไต้หวันคราวนี้ไม่ได้มีวาระทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น
การที่ประธานาธิบดีหม่าอิงจิ่ว ของไต้หวันยินยอมอนุญาตให้ทะไลลามะมาเยือนได้ ถือเป็นการเล่นพนันเดิมพันสูงทีเดียว เพราะต้องเสี่ยงต้องการทำให้ปักกิ่งโกรธเกรี้ยว แต่ขณะเดียวกันเขาก็กำลังเผชิญแรงกดด้านอย่างรุนแรงจากสาธารณชนชาวไต้หวัน สืบเนื่องจากคณะรัฐบาลของเขาดำเนินการรับมืออย่างไร้ประสิทธิภาพกับไต้ฝุ่นลูกนี้ ซึ่งสร้างความเสียหายหนักหน่วงที่สุดแก่ไต้หวันในรอบ 50 ปี
จีนนั้นได้เตือนเอาไว้ว่า การเยือนคราวนี้จะสร้างความเสียหายให้แก่ความสัมพันธ์ที่มีกับไต้หวัน ซึ่งได้กระเตื้องดีขึ้นอย่างน่าตื่นใจในรอบปีที่แล้ว โดยที่มีทั้งการเปิดเที่ยวบินเช่าเหมาลำโดยตรงระหว่างกัน, การเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างกัน, และแผนการที่จะเจรจาเพื่อทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน
แต่แล้วการตอบโต้ของจีนก็อยู่ในระดับเพียงจำกัด ขณะที่ปักกิ่งประณามพรรคดีพีพีว่าเชื้อเชิญทะไลลามะเยือนไต้หวัน ก็เพื่อพยายามสร้างความยุ่งยากวุ่นวายขึ้นมา ตลอดจนเพื่อพยายามทำลายความก้าวหน้าใน "ความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบไต้หวัน" (ความสัมพันธ์ระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่-ไต้หวัน) ที่บังเกิดขึ้นในช่วงหลังๆ นี้ ทว่าจีนกลับไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์หม่าและพรรคก๊กมิ่นตั๋ง(เคเอ็มที)ของเขา
พวกนักวิเคราะห์มองว่า จีนรู้สึกว่าต้องระมัดระวังไม่หลงกลตกลงไปในกับดักของพรรคดีพีพี อีกทั้งต้องไม่ทำอันตรายความก้าวหน้าในความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบ ซึ่งได้มาด้วยความยากลำบากนับตั้งแต่หม่าขึ้นเป็นประธานาธิบดีในเดือนพฤษภาคม 2008
กระนั้นก็ตามที ปักกิ่งยังคงต้องแสดงให้เห็นความไม่พอใจกันบ้าง มิฉะนั้นก็อาจมีการเชื้อเชิญทะไลลามะมาเยือนบ่อยครั้งขึ้นอีก ทั้งนี้แผ่นดินใหญ่วางแผนคว่ำบาตรไม่เข้าร่วมพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนสำหรับคนหูหนวกปี 2009 ในวันเสาร์(5) ซึ่งเป็นรายการแข่งขันกีฬาใหญ่ที่สุดรายการหนึ่งที่จัดขึ้นในไต้หวัน
นอกจากนั้น ฝ่ายแผ่นดินใหญ่ยังยกเลิกหรือเลื่อนการเดินทางเยือนไต้หวันของคณะผู้แทนต่างๆ หลายคณะ เป็นต้นว่า คณะผู้แทนภาคการธนาคารจากแผ่นดินใหญ่ที่นำโดย ซูหนิง รองผู้ว่าการธนาคารกลางของจีน
แต่น่าสนใจมากว่า จีนไม่ได้ยกเลิกข้อตกลงที่มีความสำคัญๆ มากกว่าเรื่องเหล่านี้ เป็นต้นว่า เรื่องการขยายเที่ยวบินตรง ทั้งนี้ จำนวนเที่ยวบินตรงมีการเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว นั่นคือ จาก 108 เป็น 270 เที่ยว อีกทั้งยังปรับให้เป็นเที่ยวบินตามกำหนดประจำ แทนที่จะถือเป็นเที่ยวบินเช่าเหมาลำอย่างที่ได้ปฏิบัติมาก่อนหน้านี้ การทำให้เที่ยวบินตรงเหล่านี้กลายเป็นเที่ยวบินตามกำหนดเวลาเป็นประจำ ย่อมเป็นสัญญาณแสดงว่าข้อตกลงด้านการคมนาคมขนส่งระหว่างสองฝ่ายกลายเป็นข้อตกลงในลักษณะถาวรขึ้นมาแล้ว
อันที่จริง ฝ่ายไต้หวันก็มีความระมัดระวังมุ่งรักษาความสัมพันธ์อันดีที่พัฒนาเอาไว้กับแผ่นดินใหญ่ โดยหม่าได้ส่งผู้แทนไปยังปักกิ่งเพื่ออธิบายการตัดสินใจของเขาที่อนุญาตให้ทะไลลามาะมาเยือน
ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ทะไลลามะอยู่ในไต้หวัน หม่าก็หลีกเลี่ยงไม่ไปพบ รวมทั้งไม่มีเจ้าหน้าที่พรรคเคเอ็มทีคนไหนเลยที่ถูกพบเห็นว่าพบปะอย่างเปิดเผยกับผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบตท่านนี้
ทะไลลามะเองซึ่งถูกกดดันให้ละเว้นการพูดเรื่องการเมืองระหว่างที่อยู่เยือนไต้หวัน ก็ได้ยกเลิกการจัดแถลงข่าวตลอดจนการขึ้นเทศน์ในบริเวณใกล้ๆ นครไทเป รวมทั้งเปลี่ยนสถานที่ขึ้นเทศน์ในเมืองเกาสง ไปยังสถานที่ซึ่งเล็กลงกว่าเดิม
ทะไลลามะออกจากไต้หวันไปแล้วเมื่อวันศุกร์(4) เวลานี้หม่าจึงสามารถที่จะถอนหายใจด้วยความโล่งอก เขาได้แต้มทางการเมืองมาบ้างจากการแสดงความกล้าหาญที่อนุมัติให้วีซ่าเข้าเมืองแก่ทะไลลามะ แม้จะถูกทางการปักกิ่งคัดค้าน ทว่าเขาก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เหมือนกัน จากการไม่ยอมพบปะกับผู้นำทางจิตวิญญาณคนสำคัญท่านนี้
แต่จากเหตุการณ์คราวนี้ก็เป็นเครื่องบ่งชี้เพิ่มมากขึ้นว่า หม่ายังจะต้องพยายามประคับประคองรักษาความสมดุล ระหว่างการสร้างสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นกับจีน ขณะเดียวกันก็ต้องลบล้างความหวาดกลัวที่ว่าไต้หวันกำลังสูญเสียอำนาจอธิปไตยภายใต้การปกครองของเขา
(เก็บความและตัดทอนจากเรื่อง Dalai Lama visit tests Taiwan-China ties โดย Cindy Sui นักหนังสือพิมพ์อิสระที่พำนักอยู่ในนครไทเป)