Fallon falls: Iran should worry
By Gareth Porter
12/03/2008
พลเรือเอก วิลเลียม ฟอลลอน ลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารระดับท็อปสุดที่ดูแลภูมิภาคตะวันออกลาง คือการถอนตัวออกไปของผู้คัดค้านเสียงดังที่สุดคนหนึ่ง ในเรื่องการใช้แนวทางอันแข็งกร้าวต่ออิหร่านของคณะรัฐบาล จอร์จ ดับเบิลยู บุช ทางด้านรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ รอเบิร์ต เกตส์ ได้รีบออกมาปฏิเสธและบอกว่า “น่าหัวเราะเยาะ” ที่มีการพูดกันว่า การจากไปของฟอลลอนเป็นสัญญาณว่าสหรัฐฯวางแผนที่จะทำสงครามกับอิหร่าน ทว่าแน่นอนเลยที่เวลานี้ “ทางเลือกทุกอย่าง” ได้หวนกลับมาวางแบอยู่บนโต๊ะอีกครั้งหนึ่ง แกเรธ พอร์เตอร์
วอชิงตัน – พลเรือเอก วิลเลียม “ฟอกซ์” ฟอลลอน ขอออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการของ กองบัญชาการทหารเขตกลางของสหรัฐฯ (US Central Command หรือ CENTCOM) และขอปลดเกษียณจากกองทัพ ดูจะเป็นผลลัพธ์จากการที่คณะรัฐบาล จอร์จ ดับเบิลยู บุช ตัดสินใจที่จะกดดันให้เขาลาออก
ในการประกาศข่าวการลาออกนี้ รัฐมนตรีกลาโหม รอเบิร์ต เกตส์ กล่าวว่า เขาเชื่อว่ามันเป็น “สิ่งถูกต้องแล้วที่จะทำเช่นนี้” ดังนั้นจึงบ่งชี้ให้เห็นว่านี่เป็นสิ่งที่ทางคณะรัฐบาลต้องการ เกตส์บอกด้วยว่า เป็นเรื่อง “น่าหัวเราะเยาะ” ที่จะพูดกันไปว่า การลาออกของฟอลลอนคือสัญญาณแสดงว่า สหรัฐฯวางแผนที่จะทำสงครามกับอิหร่าน
เกตส์กล่าวว่า ตำแหน่งของฟอลลอนนั้น นายทหารระดับรองที่อาวุโสที่สุดของเขา คือ พลโท มาร์ติน เดมป์ซีย์ จะรับหน้าที่รักษาการไปก่อน จนกว่าบุคคลผู้ซึ่งจะมาแทนที่อย่างถาวร จะได้รับการอนุมัติจากวุฒิ สภา
เมื่อวันจันทร์(10มี.ค.) เจฟฟ์ มอร์เรลล์ เลขานุการฝ่ายสื่อของเพนทากอน ถูกถามว่าเกตส์ยังให้ความไว้วางใจอย่างเต็มที่ในตัวฟอลลอนหรือเปล่า เขาก็ตอบเพียงว่า ฟอลลอน “ยังคงมีความสัมพันธ์ในการทำงาน – ในการทำงานที่ดี กับท่านรัฐมนตรีกลาโหม” จากนั้นเขาก็พูดต่อว่า “พลเรือเอกฟอลลอนย่อมต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความพึงพอใจของท่านประธานาธิบดี”
การลาออกคราวนี้บังเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากการตีพิมพ์บทความในนิตยสารเอสไควร์ ซึ่งพูดถึงประวัติการทำงานและความคิดเห็นของฟอลลอน โดยในบทความนี้ได้บรรยายถึงเขาว่า กำลังตกอยู่ “ในภาวะยากลำบาก” ในความสัมพันธ์กับทำเนียบขาว จากการแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณชนอย่างถูกต้องหลายครั้ง ทว่าไม่ตรงกับนโยบายต่ออิหร่านของคณะรัฐบาลบุช และแล้วจากการที่สาธารณชนรับทราบกันไปทั่วภายหลังบทความที่ใช้ชื่อว่า “บุรุษผู้อยู่ระหว่างสงครามและสันติภาพ” (The Man Between War and Peace) ตีพิมพ์ออกมา ก็ยิ่งกลายเป็นตัวเร่งแรงกดดันให้ฟอลลอนต้องลาออก
ทว่า “ฟอกซ์” ฟอลลอนย่อมแทบจะทราบอย่างแน่นอนอยู่แล้วว่าเขาจะถูกปลด ตอนที่เขารับปากจะร่วมมือกับนิตยสารเอสไควร์ในบทความดังกล่าว
เมื่อวันอังคาร(11) ฟอลลอนออกคำแถลงฉบับหนึ่งบอกว่า “รายงานของสื่อในระยะหลังๆ มานี้ ซึ่งบ่งชี้ถึงการต่อกันไม่ติดระหว่างทัศนะของผมกับจุดมุ่งหมายทางนโยบายของท่านประธานาธิบดี กำลังกลายเป็นการสร้างความว้าวุ่นรำคาญใจในช่วงจังหวะเวลาอันสำคัญยิ่งยวด และขัดขวางความพยายามต่างๆ ในภูมิภาครับผิดชอบของกองบัญชาการเขตกลาง”
การลาออกนี้กลายเป็นการปิดฉากระยะเวลา 1 ปีที่ฟอลลอนปะทะกับทำเนียบขาว เกี่ยวกับนโยบายต่ออิหร่าน และกับพลเอกเดวิด เพเทรอัสและทำเนียบขาว ในเรื่องที่ว่านโยบายของสหรัฐฯยังควรถืออิรักเป็นความสำคัญลำดับแรกเหนืออัฟกานิสถานและปากีสถานต่อไปหรือไม่
สิ่งที่ฟอลลอนเป็นห่วงให้ความสนใจมากที่สุด ดูจะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดสงครามกับอิหร่าน เขาคือหนึ่งในกลุ่มนายทหารระดับสูง ซึ่งดูเหมือนจะรวมถึงสมาชิกส่วนใหญ่ในคณะเสนาธิการทหารผสมด้วย ซึ่งได้ออกมาส่งสัญญาณเตือนภัยเมื่อตอนปลายปี 2006 และต้นปี 2007 ด้วยการระบุบ่งบอกว่า บุชและรองประธานาธิบดี ดิ๊ก เชนีย์ กำลังพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะเข้าโจมตีอิหร่าน
เกตส์ได้เลือกฟอลลอนเข้าแทนที่ พลเอก จอห์น พี อาซิซาอิด ในตำแหน่งผู้บัญชาการของกองบัญชาการทหารเขตกลาง ไม่นานนักภายหลังการประชุมหารือในวันที่ 13 ธันวาคม 2006 ระหว่างบุชกับคณะเสนาธิการทหารผสม โดยในการประชุมคราวนั้นมีรายงานว่าบุชได้สอบถามความคิดเห็นของพวกเขา ถึงความเป็นไปได้ที่จะเล่นงานอิหร่าน
พันเอก ดับเบิลยู แพตริก แลง อดีตนายทหารการข่าวด้านตะวันออกกลาง ของกรมการข่าวทหาร ได้บอกกับหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ฟอลลอนได้พูดเป็นการภายในระหว่างการพิจารณาอนุมัติของวุฒิสภาว่า การโจมตีอิหร่าน “จะไม่เกิดขึ้นในระหว่างที่ผมเฝ้าดูอยู่” เมื่อถูกถามว่าเขาจะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งดังกล่าวได้อย่างไร มีรายงานว่าฟอลลอนตอบว่า “ผมมีหนทางเลือก คุณรู้ไหม” แลงพูดว่าเขาตีความคำพูดดังกล่าวว่า บ่งบอกให้เห็นว่าฟอลลอนจะก้าวลงจากตำแหน่ง แทนที่จะปฏิบัติตามคำสั่งให้ดำเนินการโจมตีเช่นว่านั้น
ดังที่สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (ไอพีเอส) ได้รายงานไว้เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ฟอลลอนยังถูกอ้างว่าได้พูดเป็นการภายในในช่วงเวลานั้นด้วยว่า “มีพวกเราหลายคนมากเลยที่กำลังพยายามจับเอาพวกคนบ้ากลับคืนลงหีบ” นั่นดูเหมือนจะเป็นการอ้างอิงถึงการส่งเสียงคัดค้านของคณะเสนาธิการทหารผสม ต่อการทำสงครามรุกรานอิหร่าน
แม้กระทั่งก่อนเข้ารับตำแหน่งใหม่ของเขาในกองบัญชาการทหารเขตกลาง ฟอลลอนก็ได้แสดงการคัดค้านอย่างแข็งขันเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ปีก่อน ต่อข้อเสนอให้ส่งเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯลำที่ 3 เข้าไปยังอ่าวเปอร์เซีย โดยให้เหลื่อมเวลากันกับเรือบรรทุกเครื่องบินอีก 2 ลำ ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของแหล่งข่าวที่รู้เรื่องนี้หลายราย การเพิ่มเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่ 3 เข้าไปเช่นนี้ เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ในวงกว้างยิ่งขึ้นซึ่งกำลังถกเถียงกันอยู่ในเพนทากอน จุดมุ่งหมายคือเพื่อคุกคามอิหร่าน ด้วยการดำเนินการเคลื่อนไหวทางทหารอย่างเป็นชุด ในเชิงบ่งบอกว่ากำลังเตรียมพร้อมเพื่อใช้ทหารเข้าโจมตี แผนการส่งขบวนเรือบรรทุกเครื่องบินเฉพาะกิจลำที่ 3 เข้าไปในอ่าวเปอร์เซีย ถูกทอดทิ้งไปหลังจากฟอลลอนแสดงความคิดเห็นของเขาให้ปรากฏ
มีรายงานว่าฟอลลอนได้แสดงให้ทำเนียบขาวทราบตั้งแต่ตอนต้นๆ ที่เขาเข้ารับตำแหน่งว่า เขาคัดค้านการโจมตีอิหร่าน และบทบาทของเขาในฐานะผู้บัญชาการกองบัญชาทหารสหรัฐฯเขตกลาง ก็ทำให้เป็นเรื่องลำบากมากที่คณะรัฐบาลบุชจะดำเนินการโจมตีอิหร่าน เพราะผู้บัญชาการทหารเขตกลาง เป็นผู้ควบคุมกำลังทหารภาคพื้นดิน, ทางอากาศ, และทางเรือทั้งหมดที่เข้าสู่ภูมิภาคดังกล่าว
ทว่าบทบาทของฟอลลอนในแวดวงการทูตของภูมิภาค กลับกลายเป็นที่มาของการปะทะเสียดสีกับทำเนียบขาว ยิ่งเสียกว่าจุดยืนของเขาในเรื่องนโยบายทางทหารต่ออิหร่านด้วยซ้ำ ความสัมพันธ์ส่วนบุคคลกับพวกผู้นำทางทหารและทางการเมืองในตะวันออกกลาง ได้กลายเป็นเรื่องสำคัญมากพอๆ กับการวางแผนทางทหารไปแล้ว ตั้งแต่ช่วงการดูแลรับผิดชอบกองบัญชาการทหารเขตกลาง ของพวกผู้บัญชาการคนก่อนหน้าฟอลลอน
เป็นที่ชัดเจนว่าฟอลลอนชื่นชอบบทบาททางการทูตของเขา และไม่ได้รั้งรอเลยที่จะแสดงทัศนะขณะทำหน้าที่เชิงการทูต ซึ่งแตกต่างไปจากความคิดเห็นของคณะรัฐบาล เมื่อฤดูร้อนปีที่แล้ว ขณะที่เชนีย์กำลังพยายามเคลื่อนไหวยักย้ายอยู่ภายในคณะรัฐบาล เพื่อปรับนโยบายของสหรัฐฯไปสู่การโจมตีบรรดาฐานทัพในอิหร่าน ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเชื่อมโยงกับกองกำลังชิอะห์ต่อต้านสหรัฐฯในอิรักอยู่นั้น ฟอลลอนก็กลับประกาศในการให้สัมภาษณ์ครั้งหนึ่งว่า “เราต้องค้นหาให้พบวิธีที่จะทำความตกลงกัน (กับอิหร่าน)”
เมื่อพวกระบอบปกครองอาหรับสุหนี่ในตะวันออกกลาง ตระหนักถึงอันตรายเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯจะทำสงครามกับอิหร่าน ฟอลลอนก็ได้ออกมาแถลงใน 3 วาระด้วยกันระหว่างเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน ปฏิเสธเรื่องที่สหรัฐฯจะเข้าโจมตีอิหร่าน คำแถลงเหล่านี้ขัดแย้งกับนโยบายของคณะรัฐบาลบุชที่กำลังต้องการคงทางเลือกในทางทหารเอาไว้ “บนโต๊ะ” และทำให้ความสัมพันธ์ของเขากับทำเนียบขาวอยู่ในสภาพมึนตึง
ฟอลลอนยังเป็นปฏิปักษ์กับพวกเจ้าหน้าที่คณะรัฐบาลบุช ด้วยการผลักดันให้มีการถอนตัวออกจากอิรักเร็วกว่าที่ทำเนียบขาวและเพเตรอัสต้องการ ฟอลลอนมีการปะทะกันในเชิงนโยบายและในด้านส่วนตัว ชนิดเป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวางกับเพเทรอัส ผู้ซึ่งมีรายงานว่าฟอลลอนได้แสดงความไม่ชอบอย่างแรง แหล่งข่าวหลายรายที่คุ้นเคยกับรายงานข่าวการหารือระหว่างเขากับเพเทรอัสในกรุงแบกแดดเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว เล่าให้ไอพีเอสฟังในฤดูใบไม้ผลิปีกลายว่า ฟอลลอนเรียกเพเทรอัสเป็น “ไอ้ขี้ขลาดตาขาวช่างประจบตัวจ้อย” ในการหารือครั้งแรกของพวกเขา
ในเวลาต่อมาฟอลลอนได้ปฏิเสธว่าเขาไม่ได้ใช้ถ้อยคำดังกล่าว และพูดเป็นนัยกับเอสไควร์ว่า พวกแหล่งข่าวของรายงานเหล่านั้นน่าจะเป็นนายทหารบกซึ่งกำลังมุ่งก่อให้เกิดความหมางเมินกันระหว่างกองทัพบกกับกองทัพเรือ อย่างไรก็ตาม ในทางเป็นจริงแล้ว แหล่งข่าวพวกนี้เป็นผู้สนับสนุนฟอลลอน
การที่ฟอลลอนมีปากเสียงกับเพเทรอุส ยังเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ฝ่ายหลังยืนกรานให้คงทหารสหรัฐฯเอาไว้ในอิรัก แม้กระทั่งในเวลาที่ฐานะขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) ในอัฟกานิสถานกำลังลดทอนอ่อนเปียกลงเรื่อยๆ ฟอลลอนนั้นผูกพันอย่างมั่นคงกับยุทธศาสตร์ที่ว่า ในบรรดาประเด็นท้าทายด้านความมั่นคงต่อสหรัฐฯในตะวันออกกลางและเอเชีย ที่มีความสำคัญถึงระดับแกนกลางนั้น ลำดับแรกต้องเป็นเรื่องอัฟกานิสถานและปากีสถาน
ฟอลลอนแสดงความไม่พอใจของเขาต่อสงครามอันยาวนานในอิรักออกมาอย่างชัดเจนตั้งแต่ตอนต้นๆ แล้ว เขาสั่งให้พวกลูกน้องเลิกใช้คำว่า “สงครามอันยาวนาน” ซึ่งเป็นถ้อยคำที่คณะรัฐบาลบุชนิยมใช้ มีรายงานว่าเขารู้สึกวิตกว่าแนวความคิดเช่นนี้จะสร้างความแปลกแยกแก่ประชาชนทั่วทั้งตะวันออกกลาง เพราะบ่งชี้ให้เห็นว่าสหรัฐฯตั้งใจที่จะคงกำลังทหารเอาไว้ในบรรดาประเทศมุสลิมอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
จุดยืนทางนโยบายของฟอลลอน ทำให้เขาไม่เป็นที่ชื่นชอบเอาเลยในบรรดาผู้สนับสนุนคณะรัฐบาลบุชที่เป็นนักอนุรักษนิยมใหม่ นักคิดสำคัญคนหนึ่งของฝ่ายอนุรักษนิยมใหม่ คือ แมกซ์ บูต ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการด้านการทหาร ได้ออกมาวิพากษ์ฟอลลอนในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว จากการที่เขาให้ความเห็นในที่สาธารณะ ปฏิเสธเรื่องที่จะมีการโจมตีเล่นงานอิหร่าน แล้วจากนั้นบูตยังได้แนะนำไว้ในเดือนมกราคมปีนี้ว่า เพเทรอัสควรได้ขึ้นแทนที่ฟอลลอน “ผู้ไม่น่าประทับใจ” ที่กองบัญชาการทหารเขตกลาง
ฟอลลอน ณ กองบัญชาการทหารเขตกลางในเวลานั้น กำลังเล่นเกมการเมืองอันสลับซับซ้อนยิ่ง จากการต่อต้านทำเนียบขาวในประเด็นด้านนโยบายตะวันออกกลางอันอ่อนไหวอย่างที่สุดในทางการเมืองถึง 2 ประเด็นด้วยกันเช่นนี้ ในฐานะนักต่อสู้ประจันบานแห่งแวดวงข้าราชการมายาวนาน เขาน่าจะทราบดีว่าเขากำลังอยู่ในฐานะอ่อนเปราะทางการเมือง กระนั้นก็ตามที ตอนสิ้นปีที่แล้วเขาก็เลือกที่จะไม่ลดการปรากฏตัวกลายเป็นข่าวลงมา แต่กลับเพิ่มให้มากขึ้นด้วยการร่วมมืออย่างเต็มที่กับการเขียนบทความชิ้นที่กล่าวถึงข้างต้นของเอสไควร์
ไอพีเอสทราบมาว่า ฟอลลอนตกลงที่จะนั่งเป็นแบบให้ ปีเตอร์ แยง นักถ่ายภาพคนดังได้เก็บภาพของเขา ณ กองบัญชาการทหารเขตกลาง ในเมืองเทมปา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม เพื่อใช้เป็นภาพประกอบขนาดยาวเหยียด 2 หน้าในเอสไควร์ ถึงแม้แทบเป็นที่แน่นอนเลยว่า มันจะทำให้ความสัมพันธ์ของเขากับทำเนียบขาวยิ่งทรุดหนัก นั่นอาจจะเป็นสัญญาณว่าเขาทราบอยู่แล้วว่า เขาจะไม่สามารถเล่นเกมต่อไปได้อีกนานนัก และพร้อมแล้วที่จะทำให้วาระแห่งการดำรงตำแหน่งในกองบัญชาการทหารเขตกลางของเขาไปถึงจุดจบ
แกเรธ พอร์เตอร์ เป็นนักประวัติศาสตร์และนักวิเคราะห์นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ หนังสือเล่มล่าสุดของเขาที่ชื่อ Perils of Dominance: Imbalance of Power and the Road to War in Vietnam ในแบบฉบับปกอ่อนได้รับการตีพิมพ์ในปี 2006
(อินเตอร์ เพรส เซอร์วิส)
By Gareth Porter
12/03/2008
พลเรือเอก วิลเลียม ฟอลลอน ลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารระดับท็อปสุดที่ดูแลภูมิภาคตะวันออกลาง คือการถอนตัวออกไปของผู้คัดค้านเสียงดังที่สุดคนหนึ่ง ในเรื่องการใช้แนวทางอันแข็งกร้าวต่ออิหร่านของคณะรัฐบาล จอร์จ ดับเบิลยู บุช ทางด้านรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ รอเบิร์ต เกตส์ ได้รีบออกมาปฏิเสธและบอกว่า “น่าหัวเราะเยาะ” ที่มีการพูดกันว่า การจากไปของฟอลลอนเป็นสัญญาณว่าสหรัฐฯวางแผนที่จะทำสงครามกับอิหร่าน ทว่าแน่นอนเลยที่เวลานี้ “ทางเลือกทุกอย่าง” ได้หวนกลับมาวางแบอยู่บนโต๊ะอีกครั้งหนึ่ง แกเรธ พอร์เตอร์
วอชิงตัน – พลเรือเอก วิลเลียม “ฟอกซ์” ฟอลลอน ขอออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการของ กองบัญชาการทหารเขตกลางของสหรัฐฯ (US Central Command หรือ CENTCOM) และขอปลดเกษียณจากกองทัพ ดูจะเป็นผลลัพธ์จากการที่คณะรัฐบาล จอร์จ ดับเบิลยู บุช ตัดสินใจที่จะกดดันให้เขาลาออก
ในการประกาศข่าวการลาออกนี้ รัฐมนตรีกลาโหม รอเบิร์ต เกตส์ กล่าวว่า เขาเชื่อว่ามันเป็น “สิ่งถูกต้องแล้วที่จะทำเช่นนี้” ดังนั้นจึงบ่งชี้ให้เห็นว่านี่เป็นสิ่งที่ทางคณะรัฐบาลต้องการ เกตส์บอกด้วยว่า เป็นเรื่อง “น่าหัวเราะเยาะ” ที่จะพูดกันไปว่า การลาออกของฟอลลอนคือสัญญาณแสดงว่า สหรัฐฯวางแผนที่จะทำสงครามกับอิหร่าน
เกตส์กล่าวว่า ตำแหน่งของฟอลลอนนั้น นายทหารระดับรองที่อาวุโสที่สุดของเขา คือ พลโท มาร์ติน เดมป์ซีย์ จะรับหน้าที่รักษาการไปก่อน จนกว่าบุคคลผู้ซึ่งจะมาแทนที่อย่างถาวร จะได้รับการอนุมัติจากวุฒิ สภา
เมื่อวันจันทร์(10มี.ค.) เจฟฟ์ มอร์เรลล์ เลขานุการฝ่ายสื่อของเพนทากอน ถูกถามว่าเกตส์ยังให้ความไว้วางใจอย่างเต็มที่ในตัวฟอลลอนหรือเปล่า เขาก็ตอบเพียงว่า ฟอลลอน “ยังคงมีความสัมพันธ์ในการทำงาน – ในการทำงานที่ดี กับท่านรัฐมนตรีกลาโหม” จากนั้นเขาก็พูดต่อว่า “พลเรือเอกฟอลลอนย่อมต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความพึงพอใจของท่านประธานาธิบดี”
การลาออกคราวนี้บังเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากการตีพิมพ์บทความในนิตยสารเอสไควร์ ซึ่งพูดถึงประวัติการทำงานและความคิดเห็นของฟอลลอน โดยในบทความนี้ได้บรรยายถึงเขาว่า กำลังตกอยู่ “ในภาวะยากลำบาก” ในความสัมพันธ์กับทำเนียบขาว จากการแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณชนอย่างถูกต้องหลายครั้ง ทว่าไม่ตรงกับนโยบายต่ออิหร่านของคณะรัฐบาลบุช และแล้วจากการที่สาธารณชนรับทราบกันไปทั่วภายหลังบทความที่ใช้ชื่อว่า “บุรุษผู้อยู่ระหว่างสงครามและสันติภาพ” (The Man Between War and Peace) ตีพิมพ์ออกมา ก็ยิ่งกลายเป็นตัวเร่งแรงกดดันให้ฟอลลอนต้องลาออก
ทว่า “ฟอกซ์” ฟอลลอนย่อมแทบจะทราบอย่างแน่นอนอยู่แล้วว่าเขาจะถูกปลด ตอนที่เขารับปากจะร่วมมือกับนิตยสารเอสไควร์ในบทความดังกล่าว
เมื่อวันอังคาร(11) ฟอลลอนออกคำแถลงฉบับหนึ่งบอกว่า “รายงานของสื่อในระยะหลังๆ มานี้ ซึ่งบ่งชี้ถึงการต่อกันไม่ติดระหว่างทัศนะของผมกับจุดมุ่งหมายทางนโยบายของท่านประธานาธิบดี กำลังกลายเป็นการสร้างความว้าวุ่นรำคาญใจในช่วงจังหวะเวลาอันสำคัญยิ่งยวด และขัดขวางความพยายามต่างๆ ในภูมิภาครับผิดชอบของกองบัญชาการเขตกลาง”
การลาออกนี้กลายเป็นการปิดฉากระยะเวลา 1 ปีที่ฟอลลอนปะทะกับทำเนียบขาว เกี่ยวกับนโยบายต่ออิหร่าน และกับพลเอกเดวิด เพเทรอัสและทำเนียบขาว ในเรื่องที่ว่านโยบายของสหรัฐฯยังควรถืออิรักเป็นความสำคัญลำดับแรกเหนืออัฟกานิสถานและปากีสถานต่อไปหรือไม่
สิ่งที่ฟอลลอนเป็นห่วงให้ความสนใจมากที่สุด ดูจะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดสงครามกับอิหร่าน เขาคือหนึ่งในกลุ่มนายทหารระดับสูง ซึ่งดูเหมือนจะรวมถึงสมาชิกส่วนใหญ่ในคณะเสนาธิการทหารผสมด้วย ซึ่งได้ออกมาส่งสัญญาณเตือนภัยเมื่อตอนปลายปี 2006 และต้นปี 2007 ด้วยการระบุบ่งบอกว่า บุชและรองประธานาธิบดี ดิ๊ก เชนีย์ กำลังพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะเข้าโจมตีอิหร่าน
เกตส์ได้เลือกฟอลลอนเข้าแทนที่ พลเอก จอห์น พี อาซิซาอิด ในตำแหน่งผู้บัญชาการของกองบัญชาการทหารเขตกลาง ไม่นานนักภายหลังการประชุมหารือในวันที่ 13 ธันวาคม 2006 ระหว่างบุชกับคณะเสนาธิการทหารผสม โดยในการประชุมคราวนั้นมีรายงานว่าบุชได้สอบถามความคิดเห็นของพวกเขา ถึงความเป็นไปได้ที่จะเล่นงานอิหร่าน
พันเอก ดับเบิลยู แพตริก แลง อดีตนายทหารการข่าวด้านตะวันออกกลาง ของกรมการข่าวทหาร ได้บอกกับหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ฟอลลอนได้พูดเป็นการภายในระหว่างการพิจารณาอนุมัติของวุฒิสภาว่า การโจมตีอิหร่าน “จะไม่เกิดขึ้นในระหว่างที่ผมเฝ้าดูอยู่” เมื่อถูกถามว่าเขาจะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งดังกล่าวได้อย่างไร มีรายงานว่าฟอลลอนตอบว่า “ผมมีหนทางเลือก คุณรู้ไหม” แลงพูดว่าเขาตีความคำพูดดังกล่าวว่า บ่งบอกให้เห็นว่าฟอลลอนจะก้าวลงจากตำแหน่ง แทนที่จะปฏิบัติตามคำสั่งให้ดำเนินการโจมตีเช่นว่านั้น
ดังที่สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (ไอพีเอส) ได้รายงานไว้เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ฟอลลอนยังถูกอ้างว่าได้พูดเป็นการภายในในช่วงเวลานั้นด้วยว่า “มีพวกเราหลายคนมากเลยที่กำลังพยายามจับเอาพวกคนบ้ากลับคืนลงหีบ” นั่นดูเหมือนจะเป็นการอ้างอิงถึงการส่งเสียงคัดค้านของคณะเสนาธิการทหารผสม ต่อการทำสงครามรุกรานอิหร่าน
แม้กระทั่งก่อนเข้ารับตำแหน่งใหม่ของเขาในกองบัญชาการทหารเขตกลาง ฟอลลอนก็ได้แสดงการคัดค้านอย่างแข็งขันเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ปีก่อน ต่อข้อเสนอให้ส่งเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯลำที่ 3 เข้าไปยังอ่าวเปอร์เซีย โดยให้เหลื่อมเวลากันกับเรือบรรทุกเครื่องบินอีก 2 ลำ ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของแหล่งข่าวที่รู้เรื่องนี้หลายราย การเพิ่มเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่ 3 เข้าไปเช่นนี้ เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ในวงกว้างยิ่งขึ้นซึ่งกำลังถกเถียงกันอยู่ในเพนทากอน จุดมุ่งหมายคือเพื่อคุกคามอิหร่าน ด้วยการดำเนินการเคลื่อนไหวทางทหารอย่างเป็นชุด ในเชิงบ่งบอกว่ากำลังเตรียมพร้อมเพื่อใช้ทหารเข้าโจมตี แผนการส่งขบวนเรือบรรทุกเครื่องบินเฉพาะกิจลำที่ 3 เข้าไปในอ่าวเปอร์เซีย ถูกทอดทิ้งไปหลังจากฟอลลอนแสดงความคิดเห็นของเขาให้ปรากฏ
มีรายงานว่าฟอลลอนได้แสดงให้ทำเนียบขาวทราบตั้งแต่ตอนต้นๆ ที่เขาเข้ารับตำแหน่งว่า เขาคัดค้านการโจมตีอิหร่าน และบทบาทของเขาในฐานะผู้บัญชาการกองบัญชาทหารสหรัฐฯเขตกลาง ก็ทำให้เป็นเรื่องลำบากมากที่คณะรัฐบาลบุชจะดำเนินการโจมตีอิหร่าน เพราะผู้บัญชาการทหารเขตกลาง เป็นผู้ควบคุมกำลังทหารภาคพื้นดิน, ทางอากาศ, และทางเรือทั้งหมดที่เข้าสู่ภูมิภาคดังกล่าว
ทว่าบทบาทของฟอลลอนในแวดวงการทูตของภูมิภาค กลับกลายเป็นที่มาของการปะทะเสียดสีกับทำเนียบขาว ยิ่งเสียกว่าจุดยืนของเขาในเรื่องนโยบายทางทหารต่ออิหร่านด้วยซ้ำ ความสัมพันธ์ส่วนบุคคลกับพวกผู้นำทางทหารและทางการเมืองในตะวันออกกลาง ได้กลายเป็นเรื่องสำคัญมากพอๆ กับการวางแผนทางทหารไปแล้ว ตั้งแต่ช่วงการดูแลรับผิดชอบกองบัญชาการทหารเขตกลาง ของพวกผู้บัญชาการคนก่อนหน้าฟอลลอน
เป็นที่ชัดเจนว่าฟอลลอนชื่นชอบบทบาททางการทูตของเขา และไม่ได้รั้งรอเลยที่จะแสดงทัศนะขณะทำหน้าที่เชิงการทูต ซึ่งแตกต่างไปจากความคิดเห็นของคณะรัฐบาล เมื่อฤดูร้อนปีที่แล้ว ขณะที่เชนีย์กำลังพยายามเคลื่อนไหวยักย้ายอยู่ภายในคณะรัฐบาล เพื่อปรับนโยบายของสหรัฐฯไปสู่การโจมตีบรรดาฐานทัพในอิหร่าน ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเชื่อมโยงกับกองกำลังชิอะห์ต่อต้านสหรัฐฯในอิรักอยู่นั้น ฟอลลอนก็กลับประกาศในการให้สัมภาษณ์ครั้งหนึ่งว่า “เราต้องค้นหาให้พบวิธีที่จะทำความตกลงกัน (กับอิหร่าน)”
เมื่อพวกระบอบปกครองอาหรับสุหนี่ในตะวันออกกลาง ตระหนักถึงอันตรายเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯจะทำสงครามกับอิหร่าน ฟอลลอนก็ได้ออกมาแถลงใน 3 วาระด้วยกันระหว่างเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน ปฏิเสธเรื่องที่สหรัฐฯจะเข้าโจมตีอิหร่าน คำแถลงเหล่านี้ขัดแย้งกับนโยบายของคณะรัฐบาลบุชที่กำลังต้องการคงทางเลือกในทางทหารเอาไว้ “บนโต๊ะ” และทำให้ความสัมพันธ์ของเขากับทำเนียบขาวอยู่ในสภาพมึนตึง
ฟอลลอนยังเป็นปฏิปักษ์กับพวกเจ้าหน้าที่คณะรัฐบาลบุช ด้วยการผลักดันให้มีการถอนตัวออกจากอิรักเร็วกว่าที่ทำเนียบขาวและเพเตรอัสต้องการ ฟอลลอนมีการปะทะกันในเชิงนโยบายและในด้านส่วนตัว ชนิดเป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวางกับเพเทรอัส ผู้ซึ่งมีรายงานว่าฟอลลอนได้แสดงความไม่ชอบอย่างแรง แหล่งข่าวหลายรายที่คุ้นเคยกับรายงานข่าวการหารือระหว่างเขากับเพเทรอัสในกรุงแบกแดดเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว เล่าให้ไอพีเอสฟังในฤดูใบไม้ผลิปีกลายว่า ฟอลลอนเรียกเพเทรอัสเป็น “ไอ้ขี้ขลาดตาขาวช่างประจบตัวจ้อย” ในการหารือครั้งแรกของพวกเขา
ในเวลาต่อมาฟอลลอนได้ปฏิเสธว่าเขาไม่ได้ใช้ถ้อยคำดังกล่าว และพูดเป็นนัยกับเอสไควร์ว่า พวกแหล่งข่าวของรายงานเหล่านั้นน่าจะเป็นนายทหารบกซึ่งกำลังมุ่งก่อให้เกิดความหมางเมินกันระหว่างกองทัพบกกับกองทัพเรือ อย่างไรก็ตาม ในทางเป็นจริงแล้ว แหล่งข่าวพวกนี้เป็นผู้สนับสนุนฟอลลอน
การที่ฟอลลอนมีปากเสียงกับเพเทรอุส ยังเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ฝ่ายหลังยืนกรานให้คงทหารสหรัฐฯเอาไว้ในอิรัก แม้กระทั่งในเวลาที่ฐานะขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) ในอัฟกานิสถานกำลังลดทอนอ่อนเปียกลงเรื่อยๆ ฟอลลอนนั้นผูกพันอย่างมั่นคงกับยุทธศาสตร์ที่ว่า ในบรรดาประเด็นท้าทายด้านความมั่นคงต่อสหรัฐฯในตะวันออกกลางและเอเชีย ที่มีความสำคัญถึงระดับแกนกลางนั้น ลำดับแรกต้องเป็นเรื่องอัฟกานิสถานและปากีสถาน
ฟอลลอนแสดงความไม่พอใจของเขาต่อสงครามอันยาวนานในอิรักออกมาอย่างชัดเจนตั้งแต่ตอนต้นๆ แล้ว เขาสั่งให้พวกลูกน้องเลิกใช้คำว่า “สงครามอันยาวนาน” ซึ่งเป็นถ้อยคำที่คณะรัฐบาลบุชนิยมใช้ มีรายงานว่าเขารู้สึกวิตกว่าแนวความคิดเช่นนี้จะสร้างความแปลกแยกแก่ประชาชนทั่วทั้งตะวันออกกลาง เพราะบ่งชี้ให้เห็นว่าสหรัฐฯตั้งใจที่จะคงกำลังทหารเอาไว้ในบรรดาประเทศมุสลิมอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
จุดยืนทางนโยบายของฟอลลอน ทำให้เขาไม่เป็นที่ชื่นชอบเอาเลยในบรรดาผู้สนับสนุนคณะรัฐบาลบุชที่เป็นนักอนุรักษนิยมใหม่ นักคิดสำคัญคนหนึ่งของฝ่ายอนุรักษนิยมใหม่ คือ แมกซ์ บูต ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการด้านการทหาร ได้ออกมาวิพากษ์ฟอลลอนในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว จากการที่เขาให้ความเห็นในที่สาธารณะ ปฏิเสธเรื่องที่จะมีการโจมตีเล่นงานอิหร่าน แล้วจากนั้นบูตยังได้แนะนำไว้ในเดือนมกราคมปีนี้ว่า เพเทรอัสควรได้ขึ้นแทนที่ฟอลลอน “ผู้ไม่น่าประทับใจ” ที่กองบัญชาการทหารเขตกลาง
ฟอลลอน ณ กองบัญชาการทหารเขตกลางในเวลานั้น กำลังเล่นเกมการเมืองอันสลับซับซ้อนยิ่ง จากการต่อต้านทำเนียบขาวในประเด็นด้านนโยบายตะวันออกกลางอันอ่อนไหวอย่างที่สุดในทางการเมืองถึง 2 ประเด็นด้วยกันเช่นนี้ ในฐานะนักต่อสู้ประจันบานแห่งแวดวงข้าราชการมายาวนาน เขาน่าจะทราบดีว่าเขากำลังอยู่ในฐานะอ่อนเปราะทางการเมือง กระนั้นก็ตามที ตอนสิ้นปีที่แล้วเขาก็เลือกที่จะไม่ลดการปรากฏตัวกลายเป็นข่าวลงมา แต่กลับเพิ่มให้มากขึ้นด้วยการร่วมมืออย่างเต็มที่กับการเขียนบทความชิ้นที่กล่าวถึงข้างต้นของเอสไควร์
ไอพีเอสทราบมาว่า ฟอลลอนตกลงที่จะนั่งเป็นแบบให้ ปีเตอร์ แยง นักถ่ายภาพคนดังได้เก็บภาพของเขา ณ กองบัญชาการทหารเขตกลาง ในเมืองเทมปา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม เพื่อใช้เป็นภาพประกอบขนาดยาวเหยียด 2 หน้าในเอสไควร์ ถึงแม้แทบเป็นที่แน่นอนเลยว่า มันจะทำให้ความสัมพันธ์ของเขากับทำเนียบขาวยิ่งทรุดหนัก นั่นอาจจะเป็นสัญญาณว่าเขาทราบอยู่แล้วว่า เขาจะไม่สามารถเล่นเกมต่อไปได้อีกนานนัก และพร้อมแล้วที่จะทำให้วาระแห่งการดำรงตำแหน่งในกองบัญชาการทหารเขตกลางของเขาไปถึงจุดจบ
แกเรธ พอร์เตอร์ เป็นนักประวัติศาสตร์และนักวิเคราะห์นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ หนังสือเล่มล่าสุดของเขาที่ชื่อ Perils of Dominance: Imbalance of Power and the Road to War in Vietnam ในแบบฉบับปกอ่อนได้รับการตีพิมพ์ในปี 2006
(อินเตอร์ เพรส เซอร์วิส)