น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งการให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เร่งรัด กำกับ ติดตามการพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำและทางอากาศให้เกิดประโยชน์ด้านการคมนาคมได้อย่างเต็มศักยภาพ
ทั้งนี้ มีโครงการสำคัญ ทั้งโครงข่ายการคมนาคมทางถนน ในการก่อสร้างมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตร , มอเตอร์เวย์สายนครราชสีมา-ขอนแก่น ระยะทาง 202 กิโลเมตร ,โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 6 อุบลราชธานี-สาละวัน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าชายแดน พร้อมบูรณาการพัฒนาโครงข่ายมอเตอร์เวย์กับไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง
โครงข่ายคมนาคมทางราง ทั้งการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-หนองคาย , ผลักดันการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 9 เส้นทาง เพื่อช่วยให้การเดินทางเป็นไปด้วยความสะดวก ปลอดภัยและรวดเร็ว และโครงข่ายคมนาคมทางอากาศ โดยพัฒนาท่าอากาศยานทั้ง 9 แห่งในภาคอีสาน แบ่งเป็น ท่าอากาศยานที่เชื่อมสู่ประเทศเพื่อนบ้าน 5 แห่ง ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง 3 แห่ง รองรับการท่องเที่ยวเชิงกีฬา 1 แห่ง
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังเน้นย้ำให้เร่งรัดการพัฒนาการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จังหวัด ได้แก่ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร โดยมีโครงการสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น จ.อำนาจเจริญ ในการพัฒนาโครงข่ายถนน 7 โครงการ 235 กิโลเมตร พร้อมศึกษาเส้นทางรถไฟสายใหม่ช่วง วารินชำราบ-เลิงนกทา
ส่วน จ.ยโสธร มีการพัฒนาโครงข่ายถนน 9 โครงการ 230 กิโลเมตร พร้อมศึกษาเส้นทางรถไฟสายใหม่ช่วงร้อยเอ็ด-ยโสธร-ศรีสะเกษ และ จ. มุกดาหาร มีการพัฒนาโครงข่ายถนน 7 โครงการ 128 กิโลเมตร เตรียมก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายใหม่ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม และศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างท่าอากาศยานมุกดาหาร เพื่อรองรับการเดินทางจากภาคตะวันออกเยงเหนือตอนกลางและประเทศเพื่อนบ้าน
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า การพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะส่งผลดีทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ กินดี อยู่ดี มีความสุข มีความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืนต่อไป
ทั้งนี้ มีโครงการสำคัญ ทั้งโครงข่ายการคมนาคมทางถนน ในการก่อสร้างมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตร , มอเตอร์เวย์สายนครราชสีมา-ขอนแก่น ระยะทาง 202 กิโลเมตร ,โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 6 อุบลราชธานี-สาละวัน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าชายแดน พร้อมบูรณาการพัฒนาโครงข่ายมอเตอร์เวย์กับไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง
โครงข่ายคมนาคมทางราง ทั้งการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-หนองคาย , ผลักดันการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 9 เส้นทาง เพื่อช่วยให้การเดินทางเป็นไปด้วยความสะดวก ปลอดภัยและรวดเร็ว และโครงข่ายคมนาคมทางอากาศ โดยพัฒนาท่าอากาศยานทั้ง 9 แห่งในภาคอีสาน แบ่งเป็น ท่าอากาศยานที่เชื่อมสู่ประเทศเพื่อนบ้าน 5 แห่ง ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง 3 แห่ง รองรับการท่องเที่ยวเชิงกีฬา 1 แห่ง
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังเน้นย้ำให้เร่งรัดการพัฒนาการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จังหวัด ได้แก่ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร โดยมีโครงการสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น จ.อำนาจเจริญ ในการพัฒนาโครงข่ายถนน 7 โครงการ 235 กิโลเมตร พร้อมศึกษาเส้นทางรถไฟสายใหม่ช่วง วารินชำราบ-เลิงนกทา
ส่วน จ.ยโสธร มีการพัฒนาโครงข่ายถนน 9 โครงการ 230 กิโลเมตร พร้อมศึกษาเส้นทางรถไฟสายใหม่ช่วงร้อยเอ็ด-ยโสธร-ศรีสะเกษ และ จ. มุกดาหาร มีการพัฒนาโครงข่ายถนน 7 โครงการ 128 กิโลเมตร เตรียมก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายใหม่ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม และศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างท่าอากาศยานมุกดาหาร เพื่อรองรับการเดินทางจากภาคตะวันออกเยงเหนือตอนกลางและประเทศเพื่อนบ้าน
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า การพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะส่งผลดีทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ กินดี อยู่ดี มีความสุข มีความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืนต่อไป