รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ถึงสถานการณ์โควิด-19 ระบุว่า
"สถานการณ์ทั่วโลก 15 กันยายน 2563
ติดเพิ่มอีก 250,140 คน ยอดติดเชื้อรวมตอนนี้ 29,403,983 คน ยอดตายรวม 931,639 คน
อเมริกา ติดเพิ่ม 37,809 คน รวม 6,744,028 คน
อินเดีย ติดเพิ่ม 81,911 คน รวม 4,926,914 คน ตายเพิ่มเกินพัน
บราซิล ติดเพิ่ม 15,155 คน รวม 4,345,610 คน
รัสเซีย ติดเพิ่ม 5,509 คน รวม 1,068,320 คน
อันดับ 5-10 ยังคงเป็นเปรู โคลอมเบีย เม็กซิโก แอฟริกาใต้ สเปน และอาร์เจนตินา ติดกันเพิ่มราวพันถึงหมื่นคนต่อวัน ที่น่าห่วงตอนนี้คือเปรู ติดเพิ่มไปถึง 11,028 คน ส่วนแอฟริกาใต้ตอนนี้กดมาต่ำกว่าพันนิดหน่อย
ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร อิตาลี เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ อิหร่าน บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ยังติดกันหลักพันถึงหลายพันต่อวัน บางประเทศประชาชนเรียกร้องให้รัฐล็อกดาวน์เมืองเพื่อคุมการระบาดอีกครั้ง
หลายประเทศในยุโรป รวมถึงแคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเมียนมาร์ ติดกันหลักร้อยถึงหลายร้อย
ส่วนจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง และออสเตรเลีย ติดกันหลักสิบ และนิวซีแลนด์ติดหลักหน่วย
อินเดียจะทะลุ 5,000,000 คนพรุ่งนี้
เมียนมาร์ล่าสุดเพิ่มอีกถึง 263 คน ยอดติดเชื้อรวมจะแซงไทยในอีก 2 วันข้างหน้า
ส่วนทั่วโลกจะเลย 30,000,000 คน ในอีกไม่ถึง 3 วัน
ฉากทัศน์ที่ไทยจะเลือกเป็นในอนาคตอันใกล้นั้น มีปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลอยู่ 3 ประการ ได้แก่
1. มียารักษาที่มีประสิทธิภาพไหม ?
2. มีวัคซีนป้องกันที่มีประสิทธิภาพไหม ?
3. มีนโยบายเสี่ยงต่อการเปิดรับเชื้อเข้ามามากน้อยเพียงใด ?
ในระยะเวลาอันใกล้อาจมีวัคซีนป้องกันได้ แต่ส่วนตัวแล้วคาดว่าจะมีประสิทธิภาพที่ไม่สูงนัก น่าจะไม่เกิน 50-60% และอาจต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะผลิตและแจกจ่ายเพื่อฉีดได้ โดยจะไม่พอสำหรับทุกคน อาจได้เฉพาะกลุ่มเสี่ยงก่อน ส่วนยายังไม่เห็นแนวโน้มเท่าใดนัก
หากพิจารณาการคาดการณ์ข้างต้นแล้ว จะพบว่าปัจจัยที่สามคือเรื่องนโยบายเสี่ยงต่อการเปิดรับเชื้อจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศนั้นคือ ตัวโจ๊กเกอร์ที่แท้จริงที่จะเปลี่ยนเกมส์ และเปลี่ยนชะตาในระยะยาว
ถ้าไทยเปลี่ยนสนามของตัวเองให้เหมือนหลายประเทศทั่วโลก ที่จะเป็นแดนดงโรค หรือบางคนชอบใช้คำหรูๆ ดูดี๊ดีว่า ดินแดนที่มี COVID-19 เป็นโรคประจำถิ่น (endemic area) การใช้ชีวิตของประชาชนในอนาคต ท่ามกลางการที่ยังไม่มียารักษาที่มีประสิทธิภาพ และวัคซีนมีไม่ทั่วถึงและยังไม่ได้ประสิทธิภาพพอที่จะกันการระบาดในระดับชุมชนได้นั้น จะเป็นเกมส์ใช้ชีวิตแบบ "รัสเซียนรูเลตต์" ทั้งแบบตั้งใจและแบบตกกระไดพลอยโจน
กล่าวคือ ตัวใครตัวมัน หากป้องกันตัวเองได้ก็รอดไป ส่วนใครไม่ป้องกันตัวเอง รักอิสระเสรี ชอบเสี่ยง ก็มีโอกาสติดเชื้อ และหากแจ็คพอตเป็นรุนแรงและตาย ก็ถือซะว่าโชคร้าย
แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นไม่จบแค่นั้น เพราะหากไวรัสยังคงความสามารถในการแพร่กระจายได้เร็วเช่นนี้ คนที่พยายามป้องกันตัวอยู่เสมอตามวิสัยที่ตนเองทำได้นั้นจะยังคงได้รับผลกระทบจากคนที่ละเลยเพิกเฉยแบบตกกระไดพลอยโจน เพราะการป้องกันแต่ละวิธีไม่ใช่ว่าได้ผล 100% การแพร่จึงยังเป็นไปในลักษณะแบบปลาเน่าตัวเดียวเหม็นไปทั้งข้อง และการระบาดหนักจะปะทุขึ้นมาเป็นระลอกๆ ตราบใดที่วัคซีนยังไม่สามารถกระจายไปได้อย่างทั่วถึง ซึ่งจะใช้เวลาอย่างน้อยหลายต่อหลายปี
การสูญเสียชีวิต และค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจะมีโอกาสสูงเกินกว่าที่คาด และความขาดแคลนทรัพยากรจะตามมา
ฉากที่กล่าวถึงนี้ จะไม่เกิดขึ้น หากสามารถคุมไม่ให้เกิดนโยบายเสี่ยงที่จะเปลี่ยนไทยไปเป็นแดนดงโรคระยะยาว
นโยบายเสี่ยงที่กล่าวถึงคือ การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดที่รุนแรงทั่วโลกเช่นนี้
ถามว่าจะพิจารณาเปิดรับได้เมื่อใด ?
คำตอบคือ เมื่อสถานการณ์การระบาดทั่วโลกดีขึ้น และเมื่อประเทศต่างๆ เริ่มได้อาวุธมาคุมการระบาดของประเทศตนเองได้ระยะหนึ่ง
และที่สำคัญคือ ต่อให้การระบาดดีขึ้น แต่ไวรัสจะยังไม่หายไปจากโลก ดังนั้นระบบ กลไก และรูปแบบของการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเดินทางของประเทศ และของโลกนั้น จำเป็นต้องได้รับการปฏิรูปก่อนจะดำเนินการ
ระบบ กลไก และรูปแบบเดิมในอดีต จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อประชาชนทุกคนในสังคม การท่องเที่ยวเชิงกำกับจำเป็นต้องได้รับการคิด วางแผน และนำไปใช้วงกว้าง ควบคู่ไปกับระบบป้องกัน และประกันความเสี่ยง ทั้งต่อตัวนักท่องเที่ยว ตัวผู้ประกอบการ ตัวผู้ให้บริการ และต่อสังคม...ไม่ใช่แค่ประกันสุขภาพตัวนักท่องเที่ยวเวลาเจ็บป่วยไม่สบายแบบที่เราเห็นกันอยู่
ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแต่ละเคสที่ติดเชื้อโรคติดต่อต่างๆ นั้น มันมากเกินกว่าคนคนเดียว อดีตที่ผ่านมาเหมือนทำลืมๆ หลับตาไปข้างนึง พอเสียหายต่อสังคม ก็ต้องนำงบประมาณของประเทศซึ่งเป็นของทุกคนมาใช้เพื่อสอบสวนโรค คัดกรองกลุ่มคนสัมผัส กักตัว รวมถึงดูแลรักษา ทั้งๆ ที่รายได้ที่ได้มาจากนักท่องเที่ยวแต่ละคนนั้น มันเทียบกันไม่ได้เลยกับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสังคมทั้งหมด
การถัวเฉลี่ยความเสี่ยงแบบคิดว่า รับมาเยอะก็ได้เงินเยอะ ก็ถือซะว่าชดเชยกับความเสี่ยงการระบาดที่เกิดขึ้นมานั้น บอกตรงๆ ว่า หลักคิดนี้มันใช้ไม่ได้กับภาวะโรคระบาดที่แพร่เร็ว และส่งผลกระทบวงกว้างเช่นนี้ อย่างน้อยที่สุดก็จนกว่าจะพบยาและวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ เข้าถึงได้ ราคาไม่แพง และสถานการณ์การระบาดดีขึ้นจนคุมได้ดีในภาพรวมของโลกครับ
สถานการณ์ปัจจุบัน ขอให้เราทุกคนรักตัวเอง รักครอบครัว ป้องกันตัวอยู่เสมอนะครับ
ประเทศไทยต้องทำได้
ด้วยรักต่อทุกคน"
"สถานการณ์ทั่วโลก 15 กันยายน 2563
ติดเพิ่มอีก 250,140 คน ยอดติดเชื้อรวมตอนนี้ 29,403,983 คน ยอดตายรวม 931,639 คน
อเมริกา ติดเพิ่ม 37,809 คน รวม 6,744,028 คน
อินเดีย ติดเพิ่ม 81,911 คน รวม 4,926,914 คน ตายเพิ่มเกินพัน
บราซิล ติดเพิ่ม 15,155 คน รวม 4,345,610 คน
รัสเซีย ติดเพิ่ม 5,509 คน รวม 1,068,320 คน
อันดับ 5-10 ยังคงเป็นเปรู โคลอมเบีย เม็กซิโก แอฟริกาใต้ สเปน และอาร์เจนตินา ติดกันเพิ่มราวพันถึงหมื่นคนต่อวัน ที่น่าห่วงตอนนี้คือเปรู ติดเพิ่มไปถึง 11,028 คน ส่วนแอฟริกาใต้ตอนนี้กดมาต่ำกว่าพันนิดหน่อย
ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร อิตาลี เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ อิหร่าน บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ยังติดกันหลักพันถึงหลายพันต่อวัน บางประเทศประชาชนเรียกร้องให้รัฐล็อกดาวน์เมืองเพื่อคุมการระบาดอีกครั้ง
หลายประเทศในยุโรป รวมถึงแคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเมียนมาร์ ติดกันหลักร้อยถึงหลายร้อย
ส่วนจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง และออสเตรเลีย ติดกันหลักสิบ และนิวซีแลนด์ติดหลักหน่วย
อินเดียจะทะลุ 5,000,000 คนพรุ่งนี้
เมียนมาร์ล่าสุดเพิ่มอีกถึง 263 คน ยอดติดเชื้อรวมจะแซงไทยในอีก 2 วันข้างหน้า
ส่วนทั่วโลกจะเลย 30,000,000 คน ในอีกไม่ถึง 3 วัน
ฉากทัศน์ที่ไทยจะเลือกเป็นในอนาคตอันใกล้นั้น มีปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลอยู่ 3 ประการ ได้แก่
1. มียารักษาที่มีประสิทธิภาพไหม ?
2. มีวัคซีนป้องกันที่มีประสิทธิภาพไหม ?
3. มีนโยบายเสี่ยงต่อการเปิดรับเชื้อเข้ามามากน้อยเพียงใด ?
ในระยะเวลาอันใกล้อาจมีวัคซีนป้องกันได้ แต่ส่วนตัวแล้วคาดว่าจะมีประสิทธิภาพที่ไม่สูงนัก น่าจะไม่เกิน 50-60% และอาจต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะผลิตและแจกจ่ายเพื่อฉีดได้ โดยจะไม่พอสำหรับทุกคน อาจได้เฉพาะกลุ่มเสี่ยงก่อน ส่วนยายังไม่เห็นแนวโน้มเท่าใดนัก
หากพิจารณาการคาดการณ์ข้างต้นแล้ว จะพบว่าปัจจัยที่สามคือเรื่องนโยบายเสี่ยงต่อการเปิดรับเชื้อจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศนั้นคือ ตัวโจ๊กเกอร์ที่แท้จริงที่จะเปลี่ยนเกมส์ และเปลี่ยนชะตาในระยะยาว
ถ้าไทยเปลี่ยนสนามของตัวเองให้เหมือนหลายประเทศทั่วโลก ที่จะเป็นแดนดงโรค หรือบางคนชอบใช้คำหรูๆ ดูดี๊ดีว่า ดินแดนที่มี COVID-19 เป็นโรคประจำถิ่น (endemic area) การใช้ชีวิตของประชาชนในอนาคต ท่ามกลางการที่ยังไม่มียารักษาที่มีประสิทธิภาพ และวัคซีนมีไม่ทั่วถึงและยังไม่ได้ประสิทธิภาพพอที่จะกันการระบาดในระดับชุมชนได้นั้น จะเป็นเกมส์ใช้ชีวิตแบบ "รัสเซียนรูเลตต์" ทั้งแบบตั้งใจและแบบตกกระไดพลอยโจน
กล่าวคือ ตัวใครตัวมัน หากป้องกันตัวเองได้ก็รอดไป ส่วนใครไม่ป้องกันตัวเอง รักอิสระเสรี ชอบเสี่ยง ก็มีโอกาสติดเชื้อ และหากแจ็คพอตเป็นรุนแรงและตาย ก็ถือซะว่าโชคร้าย
แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นไม่จบแค่นั้น เพราะหากไวรัสยังคงความสามารถในการแพร่กระจายได้เร็วเช่นนี้ คนที่พยายามป้องกันตัวอยู่เสมอตามวิสัยที่ตนเองทำได้นั้นจะยังคงได้รับผลกระทบจากคนที่ละเลยเพิกเฉยแบบตกกระไดพลอยโจน เพราะการป้องกันแต่ละวิธีไม่ใช่ว่าได้ผล 100% การแพร่จึงยังเป็นไปในลักษณะแบบปลาเน่าตัวเดียวเหม็นไปทั้งข้อง และการระบาดหนักจะปะทุขึ้นมาเป็นระลอกๆ ตราบใดที่วัคซีนยังไม่สามารถกระจายไปได้อย่างทั่วถึง ซึ่งจะใช้เวลาอย่างน้อยหลายต่อหลายปี
การสูญเสียชีวิต และค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจะมีโอกาสสูงเกินกว่าที่คาด และความขาดแคลนทรัพยากรจะตามมา
ฉากที่กล่าวถึงนี้ จะไม่เกิดขึ้น หากสามารถคุมไม่ให้เกิดนโยบายเสี่ยงที่จะเปลี่ยนไทยไปเป็นแดนดงโรคระยะยาว
นโยบายเสี่ยงที่กล่าวถึงคือ การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดที่รุนแรงทั่วโลกเช่นนี้
ถามว่าจะพิจารณาเปิดรับได้เมื่อใด ?
คำตอบคือ เมื่อสถานการณ์การระบาดทั่วโลกดีขึ้น และเมื่อประเทศต่างๆ เริ่มได้อาวุธมาคุมการระบาดของประเทศตนเองได้ระยะหนึ่ง
และที่สำคัญคือ ต่อให้การระบาดดีขึ้น แต่ไวรัสจะยังไม่หายไปจากโลก ดังนั้นระบบ กลไก และรูปแบบของการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเดินทางของประเทศ และของโลกนั้น จำเป็นต้องได้รับการปฏิรูปก่อนจะดำเนินการ
ระบบ กลไก และรูปแบบเดิมในอดีต จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อประชาชนทุกคนในสังคม การท่องเที่ยวเชิงกำกับจำเป็นต้องได้รับการคิด วางแผน และนำไปใช้วงกว้าง ควบคู่ไปกับระบบป้องกัน และประกันความเสี่ยง ทั้งต่อตัวนักท่องเที่ยว ตัวผู้ประกอบการ ตัวผู้ให้บริการ และต่อสังคม...ไม่ใช่แค่ประกันสุขภาพตัวนักท่องเที่ยวเวลาเจ็บป่วยไม่สบายแบบที่เราเห็นกันอยู่
ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแต่ละเคสที่ติดเชื้อโรคติดต่อต่างๆ นั้น มันมากเกินกว่าคนคนเดียว อดีตที่ผ่านมาเหมือนทำลืมๆ หลับตาไปข้างนึง พอเสียหายต่อสังคม ก็ต้องนำงบประมาณของประเทศซึ่งเป็นของทุกคนมาใช้เพื่อสอบสวนโรค คัดกรองกลุ่มคนสัมผัส กักตัว รวมถึงดูแลรักษา ทั้งๆ ที่รายได้ที่ได้มาจากนักท่องเที่ยวแต่ละคนนั้น มันเทียบกันไม่ได้เลยกับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสังคมทั้งหมด
การถัวเฉลี่ยความเสี่ยงแบบคิดว่า รับมาเยอะก็ได้เงินเยอะ ก็ถือซะว่าชดเชยกับความเสี่ยงการระบาดที่เกิดขึ้นมานั้น บอกตรงๆ ว่า หลักคิดนี้มันใช้ไม่ได้กับภาวะโรคระบาดที่แพร่เร็ว และส่งผลกระทบวงกว้างเช่นนี้ อย่างน้อยที่สุดก็จนกว่าจะพบยาและวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ เข้าถึงได้ ราคาไม่แพง และสถานการณ์การระบาดดีขึ้นจนคุมได้ดีในภาพรวมของโลกครับ
สถานการณ์ปัจจุบัน ขอให้เราทุกคนรักตัวเอง รักครอบครัว ป้องกันตัวอยู่เสมอนะครับ
ประเทศไทยต้องทำได้
ด้วยรักต่อทุกคน"