ผู้จัดการรายวัน360-ศบค.รายงานพบผู้ติดโควิด-19 รายใหม่ 1 ราย กลับมาจากอินเดีย ส่วนทั่วโลกยอดติดเชื้อพุ่งทะลุ 27.28 ล้านราย อินเดียแซงบราซิลขึ้นมาอยู่อันดับ 2 สธ.ตามค้นหาผู้สัมผัสนักโทษชายติดโควิด-19 มีทั้งเสี่ยงสูงและต่ำ รวม 990 คน ส่งตรวจแล้ว 520 ยังไม่พบเชื้อ รัฐบาลย้ำเร่งพัฒนาวัคซีนให้คนไทยได้ใช้เร็วที่สุด “หมอธีระ”แนะจับตาเมียนมา หลังตัวเลขขยับเพิ่มต่อเนื่อง เตือนประชาชนจังหวัดชายแดนป้องกันตัว ด้าน “หมอธีระวัฒน์”ยันคนติดเชื้อแบบไม่มีอาการ แพร่เชื้อได้ 20-30 วัน ขอมีวินัยใส่หน้ากาก กทม. เปิดสายด่วนให้ผู้ป่วยหรือผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อปรึกษา
วานนี้ (7 ก.ย.) ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1 ราย เป็นชายไทย อายุ 27 ปี อาชีพพนักงานบริษัท เดินทางมาจากอินเดีย ถึงไทยเมื่อ 1 ก.ย.2563 เที่ยวบินเดียวกับผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ 1 ราย เข้าพักสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) ในกรุงเทพฯ ตรวจหาเชื้อครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 5 ก.ย.2563 ผลตรวจพบเชื้อ แต่ไม่มีอาการ ทำให้มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 3,445 ราย หายป่วยแล้วสะสม 3,281 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม ทำให้ยอดสะสมคงที่ 58 ราย
ขณะที่สถานการณ์ทั่วโลก ยอดผู้ติดเชื้อรวม 27,288,586 ราย อาการรุนแรง 59,962 ราย รักษาหายแล้ว 19,370,858 ราย เสียชีวิต 887,549 ราย โดยอันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด 1.สหรัฐฯ จำนวน 6,460,250 ราย 2.อินเดีย จำนวน 4,202,562 ราย 3.บราซิล จำนวน 4,137,606 ราย 4.รัสเซีย จำนวน 1,025,505 ราย 5.เปรู จำนวน 689,977 ราย ส่วนไทยอยู่ในอันดับที่ 122 จำนวน 3,445 ราย
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รายงานความคืบหน้าผลการสอบสวนและควบคุมโควิด-19 กรณีผู้ต้องขังชายที่อยู่ระหว่างกักกันก่อนเข้าแดนปกติในเรือนจำ ตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด-19 ในวันที่ 3 ก.ย.2563 ที่ผ่านมา ว่า ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค ได้ลงพื้นที่สอบสวนโรคเพื่อค้นหาและติดตามตัวผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ต้องขังชาย รวม 990 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 118 คน ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 856 คน อยู่ระหว่างการตรวจสอบอีก 16 คน ส่งตรวจ 520 คน ทั้งหมดให้ผลเป็นลบ ไม่พบสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด-19 ส่วนที่เหลือกำลังรอผลการตรวจสอบ
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาและผลิตวัคซีน เพื่อให้ประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดยเร็วที่สุด โดยได้อนุมัติงบประมาณในวงเงิน 1,000 ล้านบาท ให้แก่สถาบันวัคซีนแห่งชาติในการสนับสนุนหน่วยงานเครือข่าย และสร้างความร่วมมือกับสถาบันวิจัยพัฒนา และหน่วยผลิตวัคซีนในประเทศ ตลอดจนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อส่งเสริมการผลิตวัคซีนใช้ได้เอง พร้อมทั้งเจรจาสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทั้งจากประเทศจีนและยุโรป และยังได้อนุมัติงบประมาณวงเงิน 883 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินการจัดทําพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐในส่วนของสถานที่เอกชน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนดในการที่คนไทยทุกคนที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศจะต้องเข้าพัก ณ พื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐทันทีเป็นเวลา 14 วัน
นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 มีใจความสรุปว่า ณ วันที่ 7 ก.ย.2563 อันดับโลกเปลี่ยนแปลงแล้ว โดยอินเดียแซงบราซิลขึ้นที่ 2 โดยเปรู โคลอมเบีย แอฟริกาใต้ เม็กซิโก ยังเกาะอันดับเรียงกันมา ติดเพิ่มวันละหลายพัน สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี อิหร่าน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ติดเพิ่มหลักพันถึงหลายพัน หลายประเทศในยุโรป รวมถึงแคนาดา ปากีสถาน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเมียนมา ติดกันหลักร้อยถึงหลายร้อย จีน สิงคโปร์ ฮ่องกง และออสเตรเลีย ติดเพิ่มกันหลักสิบ ส่วนมาเลเซียและนิวซีแลนด์ยังมีติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ
“ที่ต้องจับตาดูเป็นพิเศษ คือ เมียนมา ที่ติดเพิ่มไปถึง 166 คน แนวโน้มยังสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีโอกาสที่จะทะลักเข้าไทยได้ผ่านช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลักลอบเข้าไทยผ่านช่องทางธรรมชาติ มีการเผยแพร่ผ่านโซเชียล ยิ่งทำให้ตอกย้ำว่ามาแน่ ประชาชนในจังหวัดชายแดนจึงควรระมัดระวังตัว ป้องกันตัวเองเสมอ”
นอกจากนี้ กรณีติดเชื้อในประเทศ ทำให้คนกรุงเทพฯ และปริมณฑลต้องตระหนักว่ามีการติดเชื้อในพื้นที่ แต่ยังไม่ตรวจสอบพบและรายงาน และการติดตามผู้สัมผัสให้ครบถ้วนยาก จึงต้องมีสติ ไม่ประมาท ใส่หน้ากาก ล้างมือ หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด ส่วนทางการ ต้องเสนอรายละเอียดการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ติดเชื้อให้ชัดเจน ไปไหน ไปทำอะไร การเดินทาง เพื่อให้คนในสังคมระวังตัวมากขึ้น
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์โรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กเตือนประชาชนให้ตระหนักถึงโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด-19 ใจความสรุปว่า สิ่งที่ต้องตระหนักในประเทศไทย ก็คือ มีคนที่ติดเชื้อแพร่เชื้อได้โดยไม่มีอาการอยู่แล้ว ถ้าคนที่ติดเชื้อไม่ได้เปราะบาง ก็จะแพร่เชื้อไปได้ 20 ถึง 30 วันก็ได้และหยุดแพร่ แต่ถ้าตนเองมีวินัยใส่หน้ากาก รักษาระยะห่าง ล้างมือ ก็ไม่สามารถปล่อยเชื้อไปให้ผู้อื่น และคนอื่นๆ ที่มีวินัยเช่นกัน ก็ป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าตนเองได้ แต่ถ้าเมื่อใด ที่เริ่มผ่อนคลายวินัย เชื้อจากคนที่ไม่มีอาการเหล่านี้ ก็จะค่อยๆ เริ่มแพร่เป็นลูกโซ่ และในที่สุดก็จะเจอคนที่อาจไม่แข็งแรงนัก และได้รับเชื้อค่อนข้างมาก จนเกิดอาการขึ้นและในที่สุดก็จะเริ่มเห็นอาการหนักเข้าโรงพยาบาล
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้โรคไข้หวัดใหญ่ RSV และโรคทางเดินหายใจลดลงอย่างมาก หรือแทบจะไม่พบเลย แต่ก็ต้องมีมาตรการอย่างเข้มงวดต่อไป ไม่ให้เกิดโควิด-19 ระบาดในรอบ 2 ให้ได้
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ลดความกังวลปัญหาการแพร่ระบาด หรือกังวลว่าตนจะติดเชื้อ จึงได้ดำเนินการจัดทำแบบประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเอง ด้วยระบบคัดกรองความเสี่ยง BKK COVID-19 ผ่านเว็บไซต์ http://bkkcovid19.bangkok.go.th และยังได้เปิดสายด่วน เพื่อให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่มีความกังวลต่อความเสี่ยงการติดเชื้อ สามารถแจ้งข้อมูลและขอคำปรึกษาแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 1646 และ 1669 ศูนย์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (EOC) หรือ สายด่วน 1422 กรมควบคุมโรค หรือ 0 2245 4964 , 0 2203 2393 และ 0 2203 2396 (ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง) และ 094 386 0051 , 082 001 6373 (ให้บริการเวลา 08.00–16.00 น.)
วานนี้ (7 ก.ย.) ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1 ราย เป็นชายไทย อายุ 27 ปี อาชีพพนักงานบริษัท เดินทางมาจากอินเดีย ถึงไทยเมื่อ 1 ก.ย.2563 เที่ยวบินเดียวกับผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ 1 ราย เข้าพักสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) ในกรุงเทพฯ ตรวจหาเชื้อครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 5 ก.ย.2563 ผลตรวจพบเชื้อ แต่ไม่มีอาการ ทำให้มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 3,445 ราย หายป่วยแล้วสะสม 3,281 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม ทำให้ยอดสะสมคงที่ 58 ราย
ขณะที่สถานการณ์ทั่วโลก ยอดผู้ติดเชื้อรวม 27,288,586 ราย อาการรุนแรง 59,962 ราย รักษาหายแล้ว 19,370,858 ราย เสียชีวิต 887,549 ราย โดยอันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด 1.สหรัฐฯ จำนวน 6,460,250 ราย 2.อินเดีย จำนวน 4,202,562 ราย 3.บราซิล จำนวน 4,137,606 ราย 4.รัสเซีย จำนวน 1,025,505 ราย 5.เปรู จำนวน 689,977 ราย ส่วนไทยอยู่ในอันดับที่ 122 จำนวน 3,445 ราย
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รายงานความคืบหน้าผลการสอบสวนและควบคุมโควิด-19 กรณีผู้ต้องขังชายที่อยู่ระหว่างกักกันก่อนเข้าแดนปกติในเรือนจำ ตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด-19 ในวันที่ 3 ก.ย.2563 ที่ผ่านมา ว่า ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค ได้ลงพื้นที่สอบสวนโรคเพื่อค้นหาและติดตามตัวผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ต้องขังชาย รวม 990 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 118 คน ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 856 คน อยู่ระหว่างการตรวจสอบอีก 16 คน ส่งตรวจ 520 คน ทั้งหมดให้ผลเป็นลบ ไม่พบสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด-19 ส่วนที่เหลือกำลังรอผลการตรวจสอบ
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาและผลิตวัคซีน เพื่อให้ประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดยเร็วที่สุด โดยได้อนุมัติงบประมาณในวงเงิน 1,000 ล้านบาท ให้แก่สถาบันวัคซีนแห่งชาติในการสนับสนุนหน่วยงานเครือข่าย และสร้างความร่วมมือกับสถาบันวิจัยพัฒนา และหน่วยผลิตวัคซีนในประเทศ ตลอดจนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อส่งเสริมการผลิตวัคซีนใช้ได้เอง พร้อมทั้งเจรจาสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทั้งจากประเทศจีนและยุโรป และยังได้อนุมัติงบประมาณวงเงิน 883 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินการจัดทําพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐในส่วนของสถานที่เอกชน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนดในการที่คนไทยทุกคนที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศจะต้องเข้าพัก ณ พื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐทันทีเป็นเวลา 14 วัน
นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 มีใจความสรุปว่า ณ วันที่ 7 ก.ย.2563 อันดับโลกเปลี่ยนแปลงแล้ว โดยอินเดียแซงบราซิลขึ้นที่ 2 โดยเปรู โคลอมเบีย แอฟริกาใต้ เม็กซิโก ยังเกาะอันดับเรียงกันมา ติดเพิ่มวันละหลายพัน สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี อิหร่าน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ติดเพิ่มหลักพันถึงหลายพัน หลายประเทศในยุโรป รวมถึงแคนาดา ปากีสถาน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเมียนมา ติดกันหลักร้อยถึงหลายร้อย จีน สิงคโปร์ ฮ่องกง และออสเตรเลีย ติดเพิ่มกันหลักสิบ ส่วนมาเลเซียและนิวซีแลนด์ยังมีติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ
“ที่ต้องจับตาดูเป็นพิเศษ คือ เมียนมา ที่ติดเพิ่มไปถึง 166 คน แนวโน้มยังสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีโอกาสที่จะทะลักเข้าไทยได้ผ่านช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลักลอบเข้าไทยผ่านช่องทางธรรมชาติ มีการเผยแพร่ผ่านโซเชียล ยิ่งทำให้ตอกย้ำว่ามาแน่ ประชาชนในจังหวัดชายแดนจึงควรระมัดระวังตัว ป้องกันตัวเองเสมอ”
นอกจากนี้ กรณีติดเชื้อในประเทศ ทำให้คนกรุงเทพฯ และปริมณฑลต้องตระหนักว่ามีการติดเชื้อในพื้นที่ แต่ยังไม่ตรวจสอบพบและรายงาน และการติดตามผู้สัมผัสให้ครบถ้วนยาก จึงต้องมีสติ ไม่ประมาท ใส่หน้ากาก ล้างมือ หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด ส่วนทางการ ต้องเสนอรายละเอียดการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ติดเชื้อให้ชัดเจน ไปไหน ไปทำอะไร การเดินทาง เพื่อให้คนในสังคมระวังตัวมากขึ้น
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์โรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กเตือนประชาชนให้ตระหนักถึงโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด-19 ใจความสรุปว่า สิ่งที่ต้องตระหนักในประเทศไทย ก็คือ มีคนที่ติดเชื้อแพร่เชื้อได้โดยไม่มีอาการอยู่แล้ว ถ้าคนที่ติดเชื้อไม่ได้เปราะบาง ก็จะแพร่เชื้อไปได้ 20 ถึง 30 วันก็ได้และหยุดแพร่ แต่ถ้าตนเองมีวินัยใส่หน้ากาก รักษาระยะห่าง ล้างมือ ก็ไม่สามารถปล่อยเชื้อไปให้ผู้อื่น และคนอื่นๆ ที่มีวินัยเช่นกัน ก็ป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าตนเองได้ แต่ถ้าเมื่อใด ที่เริ่มผ่อนคลายวินัย เชื้อจากคนที่ไม่มีอาการเหล่านี้ ก็จะค่อยๆ เริ่มแพร่เป็นลูกโซ่ และในที่สุดก็จะเจอคนที่อาจไม่แข็งแรงนัก และได้รับเชื้อค่อนข้างมาก จนเกิดอาการขึ้นและในที่สุดก็จะเริ่มเห็นอาการหนักเข้าโรงพยาบาล
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้โรคไข้หวัดใหญ่ RSV และโรคทางเดินหายใจลดลงอย่างมาก หรือแทบจะไม่พบเลย แต่ก็ต้องมีมาตรการอย่างเข้มงวดต่อไป ไม่ให้เกิดโควิด-19 ระบาดในรอบ 2 ให้ได้
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ลดความกังวลปัญหาการแพร่ระบาด หรือกังวลว่าตนจะติดเชื้อ จึงได้ดำเนินการจัดทำแบบประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเอง ด้วยระบบคัดกรองความเสี่ยง BKK COVID-19 ผ่านเว็บไซต์ http://bkkcovid19.bangkok.go.th และยังได้เปิดสายด่วน เพื่อให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่มีความกังวลต่อความเสี่ยงการติดเชื้อ สามารถแจ้งข้อมูลและขอคำปรึกษาแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 1646 และ 1669 ศูนย์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (EOC) หรือ สายด่วน 1422 กรมควบคุมโรค หรือ 0 2245 4964 , 0 2203 2393 และ 0 2203 2396 (ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง) และ 094 386 0051 , 082 001 6373 (ให้บริการเวลา 08.00–16.00 น.)