ผู้จัดการรายวัน360-กรมควบคุมโรคเผยผลตรวจสอบผู้สัมผัสใกล้ชิดนักบอลไทยลีกติดโควิด-19 รวม 441 คน พบผลเป็นลบ 155 คน รอลุ้นผลอีก 286 คน “หมอยง”ชี้วัคซีนโควิด-19 พลิกโฉมประวัติศาสตร์การผลิต คาดรู้ผลภายในสิ้นปีนี้ เร็วกว่าปกติ 10 เท่า ด้าน “หมอธีระ”เผยติดสุดง่าย 1 ล้านคน เพียง 3.5 วัน รวมแล้ว 29 ล้านราย ทั่วโลกตายเกือบล้าน แนะ 4 ข้อ คุมเข้มชายแดน หวั่นต่างด้าวทะลักเข้า ทำไทยระบาด ศบค.พบติดเชื้อใหม่ 2 ราย กลับมาจากสหรัฐฯ-กาตาร์ “พิพัฒน์”ชง ครม. ยืดโครงการเราเที่ยวด้วยกันถึงสิ้นปี พร้อมขอเปิดรับต่างชาติ หวั่นตกงาน 4 ล้านคน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (14 ก.ย.) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานความคืบหน้าผลการสอบสวนและควบคุมโรคโควิด-19 กรณีนักฟุตบอลไทยลีกชาวอุซเบกิสถาน อายุ 29 ปีตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด 19 เมื่อวันที่ 10 ก.ย.2563 ที่ผ่านมา โดยมีผลการดำเนินงานสวบสวนควบคุมโรค โดยได้ค้นหาและติดตามตัวผู้สัมผัสใกล้ชิดทุกสถานที่รวม 441 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 100 คน ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 341 คน ให้ผลตรวจเป็นลบ 155 คน รอผลการตรวจ 286 คน
ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบแยกเป็น 1.สโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด มีผู้สัมผัส รวม 47 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทุกราย ทั้งหมดให้ผลเป็นลบ 2.สถานที่อื่นๆ ในจังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้สัมผัส รวม 286 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 27 คน อยู่ระหว่างรอผล การตรวจ จะครบการกักกันในวันที่ 24 ก.ย.2563 และเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 259 คน อยู่ระหว่างรอผลการตรวจ 3.สโมสรราชบุรี มิตรผล มีผู้สัมผัส รวม 44 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 11 คน ครบการกักกันในวันที่ 13 ก.ย.2563 และเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 33 คน ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ 43 คน ทั้งหมดให้ผลเป็นลบ ส่วนอีก 1 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ไม่ได้ลงเตะนัดอุ่นเครื่อง ผลตรวจเมื่อวันที่ 9 ก.ย.2563 เป็นลบ 4.สโมสรขอนแก่น ยูไนเต็ด มีผู้สัมผัส รวม 51 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 15 คน จะครบการกักกันในวันที่ 19 ก.ย.2563 และเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 36 คน ทั้งหมดให้ผลเป็นลบ และ 5.ผู้โดยสารเครื่องบินเดียวกัน มีผู้สัมผัส รวม 13 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำทุกราย ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ 6 คน ทั้งหมดให้ผลเป็นลบ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ถึงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 มีใจความสรุปว่า ปกติจะใช้ระยะเวลาการศึกษายาวนาน กว่าจะได้วัคซีนใหม่ แต่ละตัวโดยเฉลี่ยถึง 10 ปี แต่เมื่อมาถึงโรคระบาดที่มีความรุนแรงและรวดเร็ว ทุกคนจึงต้องทำงานแข่งกับเวลา จึงมีการศึกษาวิจัยในแต่ละขั้นตอนให้รวบรัดขึ้น แต่ก็ยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก วัคซีนโควิด-19 นี้ สามารถรู้ผลได้ภายในสิ้นปีนี้ ก็ถือว่าทำเร็วกว่าปกติเป็น 10 เท่าทีเดียว จะเป็นการสร้างประวัติศาสตร์การผลิตวัคซีน ในอดีตการคิดค้นวัคซีน จะใช้บุคคลคนเดียว หรือกลุ่มเล็ก แต่ในปัจจุบัน เป็นไปไม่ได้แล้ว การทำงานจะต้องทำเป็นทีมใหญ่ ใช้หลายศาสตร์มารวมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากที่สุด
ด้าน รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความถึงสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกล่าสุด ผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ว่า ทะลุ 29 ล้านไปตั้งแต่เมื่อวานตอนบ่าย ด้วยความเร็ว 1 ล้านคนในเวลาเพียง 3.5 วัน และสถานการณ์เพื่อนบ้าน คือ เมียนมา น่าเป็นห่วงมาก หากติดตามมาตลอด จะพบว่ายอดติดเชื้อต่อวันมีแนวโน้มสูงขึ้นแบบ exponential เชื่อว่าเราทุกคนเอาใจช่วยให้เมียนมาควบคุมโรคได้โดยเร็ว
ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะ เพื่อป้องกันการระบาดซ้ำในประเทศ โดย 1.จังหวัดชายแดนและข้างเคียง หากเห็นคนต่างด้าวแปลกหน้า ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่รัฐได้ทราบและไปตรวจสอบ 2.เจ้าของครัวเรือน รวมถึงธุรกิจห้างร้านเล็กกลางใหญ่ และโรงงานต่างๆ โปรดคิดไว้ก่อนว่าแรงงานต่างด้าวที่รับเข้ามาทำงานอาจมีการติดเชื้อโควิด-19 โดยไม่ทราบ หรือไม่มีอาการ ดังนั้น จึงควรส่งไปตรวจคัดกรองที่สถานพยาบาลในพื้นที่ และควรใช้แรงงานต่างด้าวที่ถูกต้องตามกฎหมาย 3.รัฐควรพัฒนาระบบบริการตรวจโควิด-19 ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และ 4.รัฐควรทบทวนนโยบายการนำเข้ากลุ่มเป้าหมายต่างๆ จากต่างประเทศ โดยเน้นเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานต่างด้าว ควรพิจารณาปรับให้คนไทยที่กำลังหางานมาทำทดแทนหากเป็นไปได้ เช่น การสอนภาษา
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่สุด คือ การระงับ ยุติ หรือชะลอการวางแผนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศ สถานการณ์ระบาดรุนแรงทั่วโลกเช่นนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหยุดไปก่อนอย่างน้อย 6 เดือน แล้วค่อยมาประเมินสถานการณ์อีกครั้ง เพราะตอนนี้ในประเทศมีคนติดเชื้อแล้วหลายราย สายพันธุ์ไวรัสเปลี่ยนจากเดิมไปเป็นสายพันธุ์ G ที่แพร่ง่ายขึ้นกว่าเดิม ยังไม่มียารักษา ไม่มีวัคซีนป้องกัน ไม่เหมือนไข้หวัดใหญ่ที่มียาและวัคซีน
วันเดียวกันนี้ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ประจำวัน ว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น 2 ราย ในสถานที่กักตัวของรัฐ โดยเดินทางมาจากสหรัฐฯ 1 ราย และกาตาร์ 1 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยสะสม 3,475 ราย หายป่วยแล้ว 3,312 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม ทำให้ยอดสะสมคงที่ 58 ราย
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า กำลังหาทางให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ เข้ามาเที่ยวในประเทศให้เร็วที่สุด โดยจะเสนอ ศบค. และศูนย์บริหารเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หรือศบค.เศรษฐกิจ และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา เพราะหากไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาจุนเจือทั้งระบบ จะมีแรงงานตกงาน 4 ล้านคน ซึ่งการเข้ามา จะต้องกักตัว 14 วัน
ส่วนโครงการเราเที่ยวด้วยกัน รัฐบาลช่วยออกค่าห้อง 40% ไม่เกิน 3,000 บาทต่อคืน คนละไม่เกิน 5 คืน ช่วยค่าเครื่องบินไม่เกิน 1,000 บาท ค่าอาหารต่อวัน 600 บาท ถึงเดือนส.ค.2563 มีคนใช้สิทธิ 8.51 แสนคน จากเป้า 5 ล้านคน โดยโครงการจะสิ้นสุด 31 ต.ค.2563 จะขอ ครม. ให้ขยายเวลาถึง 31 ธ.ค.2563 เพราะเป็นช่วงฤดูการท่องเที่ยว คนไทยชอบไปทางภาคเหนือและอีสานที่มีอากาศหนาวเย็น โดยจะเสนอในสัปดาห์นี้หรือสัปดาห์หน้า และจะขยายเงื่อนไขให้บริษัทใหญ่ๆ ซื้อแพกเกจไปแจกลูกค้าหรือพนักงานได้ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (14 ก.ย.) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานความคืบหน้าผลการสอบสวนและควบคุมโรคโควิด-19 กรณีนักฟุตบอลไทยลีกชาวอุซเบกิสถาน อายุ 29 ปีตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด 19 เมื่อวันที่ 10 ก.ย.2563 ที่ผ่านมา โดยมีผลการดำเนินงานสวบสวนควบคุมโรค โดยได้ค้นหาและติดตามตัวผู้สัมผัสใกล้ชิดทุกสถานที่รวม 441 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 100 คน ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 341 คน ให้ผลตรวจเป็นลบ 155 คน รอผลการตรวจ 286 คน
ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบแยกเป็น 1.สโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด มีผู้สัมผัส รวม 47 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทุกราย ทั้งหมดให้ผลเป็นลบ 2.สถานที่อื่นๆ ในจังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้สัมผัส รวม 286 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 27 คน อยู่ระหว่างรอผล การตรวจ จะครบการกักกันในวันที่ 24 ก.ย.2563 และเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 259 คน อยู่ระหว่างรอผลการตรวจ 3.สโมสรราชบุรี มิตรผล มีผู้สัมผัส รวม 44 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 11 คน ครบการกักกันในวันที่ 13 ก.ย.2563 และเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 33 คน ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ 43 คน ทั้งหมดให้ผลเป็นลบ ส่วนอีก 1 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ไม่ได้ลงเตะนัดอุ่นเครื่อง ผลตรวจเมื่อวันที่ 9 ก.ย.2563 เป็นลบ 4.สโมสรขอนแก่น ยูไนเต็ด มีผู้สัมผัส รวม 51 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 15 คน จะครบการกักกันในวันที่ 19 ก.ย.2563 และเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 36 คน ทั้งหมดให้ผลเป็นลบ และ 5.ผู้โดยสารเครื่องบินเดียวกัน มีผู้สัมผัส รวม 13 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำทุกราย ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ 6 คน ทั้งหมดให้ผลเป็นลบ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ถึงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 มีใจความสรุปว่า ปกติจะใช้ระยะเวลาการศึกษายาวนาน กว่าจะได้วัคซีนใหม่ แต่ละตัวโดยเฉลี่ยถึง 10 ปี แต่เมื่อมาถึงโรคระบาดที่มีความรุนแรงและรวดเร็ว ทุกคนจึงต้องทำงานแข่งกับเวลา จึงมีการศึกษาวิจัยในแต่ละขั้นตอนให้รวบรัดขึ้น แต่ก็ยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก วัคซีนโควิด-19 นี้ สามารถรู้ผลได้ภายในสิ้นปีนี้ ก็ถือว่าทำเร็วกว่าปกติเป็น 10 เท่าทีเดียว จะเป็นการสร้างประวัติศาสตร์การผลิตวัคซีน ในอดีตการคิดค้นวัคซีน จะใช้บุคคลคนเดียว หรือกลุ่มเล็ก แต่ในปัจจุบัน เป็นไปไม่ได้แล้ว การทำงานจะต้องทำเป็นทีมใหญ่ ใช้หลายศาสตร์มารวมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากที่สุด
ด้าน รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความถึงสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกล่าสุด ผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ว่า ทะลุ 29 ล้านไปตั้งแต่เมื่อวานตอนบ่าย ด้วยความเร็ว 1 ล้านคนในเวลาเพียง 3.5 วัน และสถานการณ์เพื่อนบ้าน คือ เมียนมา น่าเป็นห่วงมาก หากติดตามมาตลอด จะพบว่ายอดติดเชื้อต่อวันมีแนวโน้มสูงขึ้นแบบ exponential เชื่อว่าเราทุกคนเอาใจช่วยให้เมียนมาควบคุมโรคได้โดยเร็ว
ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะ เพื่อป้องกันการระบาดซ้ำในประเทศ โดย 1.จังหวัดชายแดนและข้างเคียง หากเห็นคนต่างด้าวแปลกหน้า ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่รัฐได้ทราบและไปตรวจสอบ 2.เจ้าของครัวเรือน รวมถึงธุรกิจห้างร้านเล็กกลางใหญ่ และโรงงานต่างๆ โปรดคิดไว้ก่อนว่าแรงงานต่างด้าวที่รับเข้ามาทำงานอาจมีการติดเชื้อโควิด-19 โดยไม่ทราบ หรือไม่มีอาการ ดังนั้น จึงควรส่งไปตรวจคัดกรองที่สถานพยาบาลในพื้นที่ และควรใช้แรงงานต่างด้าวที่ถูกต้องตามกฎหมาย 3.รัฐควรพัฒนาระบบบริการตรวจโควิด-19 ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และ 4.รัฐควรทบทวนนโยบายการนำเข้ากลุ่มเป้าหมายต่างๆ จากต่างประเทศ โดยเน้นเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานต่างด้าว ควรพิจารณาปรับให้คนไทยที่กำลังหางานมาทำทดแทนหากเป็นไปได้ เช่น การสอนภาษา
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่สุด คือ การระงับ ยุติ หรือชะลอการวางแผนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศ สถานการณ์ระบาดรุนแรงทั่วโลกเช่นนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหยุดไปก่อนอย่างน้อย 6 เดือน แล้วค่อยมาประเมินสถานการณ์อีกครั้ง เพราะตอนนี้ในประเทศมีคนติดเชื้อแล้วหลายราย สายพันธุ์ไวรัสเปลี่ยนจากเดิมไปเป็นสายพันธุ์ G ที่แพร่ง่ายขึ้นกว่าเดิม ยังไม่มียารักษา ไม่มีวัคซีนป้องกัน ไม่เหมือนไข้หวัดใหญ่ที่มียาและวัคซีน
วันเดียวกันนี้ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ประจำวัน ว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น 2 ราย ในสถานที่กักตัวของรัฐ โดยเดินทางมาจากสหรัฐฯ 1 ราย และกาตาร์ 1 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยสะสม 3,475 ราย หายป่วยแล้ว 3,312 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม ทำให้ยอดสะสมคงที่ 58 ราย
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า กำลังหาทางให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ เข้ามาเที่ยวในประเทศให้เร็วที่สุด โดยจะเสนอ ศบค. และศูนย์บริหารเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หรือศบค.เศรษฐกิจ และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา เพราะหากไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาจุนเจือทั้งระบบ จะมีแรงงานตกงาน 4 ล้านคน ซึ่งการเข้ามา จะต้องกักตัว 14 วัน
ส่วนโครงการเราเที่ยวด้วยกัน รัฐบาลช่วยออกค่าห้อง 40% ไม่เกิน 3,000 บาทต่อคืน คนละไม่เกิน 5 คืน ช่วยค่าเครื่องบินไม่เกิน 1,000 บาท ค่าอาหารต่อวัน 600 บาท ถึงเดือนส.ค.2563 มีคนใช้สิทธิ 8.51 แสนคน จากเป้า 5 ล้านคน โดยโครงการจะสิ้นสุด 31 ต.ค.2563 จะขอ ครม. ให้ขยายเวลาถึง 31 ธ.ค.2563 เพราะเป็นช่วงฤดูการท่องเที่ยว คนไทยชอบไปทางภาคเหนือและอีสานที่มีอากาศหนาวเย็น โดยจะเสนอในสัปดาห์นี้หรือสัปดาห์หน้า และจะขยายเงื่อนไขให้บริษัทใหญ่ๆ ซื้อแพกเกจไปแจกลูกค้าหรือพนักงานได้ด้วย