สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจำนวน 197,029 คน จากทั่วประเทศ เรื่อง "การชุมนุมประท้วงของนักศึกษา ณ วันนี้" สรุปผลได้ ดังนี้
ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการชุมนุมประท้วงของนักศึกษา ณ วันนี้
อันดับ 1 ร้อยละ 59.11 เป็นการเรียกร้องตามระบอบประชาธิปไตย
อันดับ 2 ร้อยละ 41.76 ต้องไม่จาบจ้วงสถาบัน
อันดับ 3 ร้อยละ 40.41 ห่วงเรื่องความปลอดภัย/อาจมีผู้ไม่หวังดี
อันดับ 4 ร้อยละ 40.10 ผู้เกี่ยวข้องควรรับฟัง
อันดับ 5 ร้อยละ 38.90 มีผู้อยู่เบื้องหลัง
อันดับ 6 ร้อยละ 33.79 เป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงออก/แสดงความคิดเห็น
อันดับ 7 ร้อยละ 28.64 สร้างความวุ่นวาย/แตกแยก
อันดับ 8 ร้อยละ 28.29 เกมการเมือง
อันดับ 9 ร้อยละ 26.53 เป็นการแสดงความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการปฏิรูปประเทศ
อันดับก 10 ร้อยละ 26.48 ต้องการเรียกร้องเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น/แสดงจุดยืน
ความคิดเห็นของประชาชนกับข้อเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ
อันดับ 1 ร้อยละ 62.84 เห็นด้วย เพราะ รัฐธรรมนูญไม่เป็นกลาง เป็นการสืบทอดอำนาจเผด็จการ ไม่เป็นประชาธิปไตย อยากให้แก้ไขในหมวดที่มาของ ส.ว. ควรแก้ไขเฉพาะบางมาตราที่ทำให้เกิดปัญหา ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ ล้าสมัย ไม่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน
อันดับ 2 ร้อยละ 24.85 ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมแล้ว เป็นเพียงความต้องการของคนกลุ่มหนึ่งที่เสียผลประโยชน์ ผ่านการลงมติมาแล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องแก้ไขใหม่ มีปัญหาอื่นเร่งด่วนให้แก้ไขมากกว่า เช่น โควิด-19 ปัญหาเศรษฐกิจ
อันดับ 3 ร้อยละ 12.31 ไม่แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นของประชาชนกับข้อเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ ยุบสภาหรือลาออก
อันดับ 1 ร้อยละ 53.88 เห็นด้วย เพราะ บริหารงานล้มเหลว ประเทศชาติไม่เจริญก้าวหน้า ไม่มีผลงาน ไม่มีความรู้ความสามารถมากพอในการบริหาร นายกฯ ฯมาจากการสืบทอดอำนาจ การได้มาของตำแหน่งขาดความชอบธรรม เศรษฐกิจตกต่ำ เผด็จการ ใช้อำนาจเกินกว่าเหตุ มีการทุจริตคอร์รัปชัน เอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง
อันดับ 2 ร้อยละ 38.43 ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ ตั้งใจทำงาน มีความจงรักภักดี เหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี ยังมองไม่เห็นใครที่มีความเหมาะสมเข้ามาแทน พล.อ.ประยุทธ์ มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ควรให้โอกาสทำงานจนครบวาระ 4 ปีก่อน
อันดับ 3 ร้อยละ 7.69 ไม่แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นของประชาชนกับข้อเรียกร้องให้หยุดคุกคามประชาชน
อันดับ 1 ร้อยละ 59.47 เห็นด้วย เพราะ การแสดงออกทางความคิดเห็นของประชาชนควรเป็นไปอย่างอิสระ ไม่โดนคุกคาม เป็นการใช้อำนาจรัฐเกินขอบเขต เผด็จการ เป็นสิทธิและเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยของประชาชน ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
อันดับ 2 ร้อยละ 29.19 เพราะ เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หากปล่อยปละละเลย อาจทำให้เกิดความวุ่นวายมากขึ้น ยังใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่ได้รับความเดือดร้อนหรือรู้สึกว่าถูกคุกคามจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เป็นเพียงข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม
อันดับ 3 ร้อยละ 11.34 ไม่แสดงความคิดเห็น
โดยภาพรวม ประชาชนเห็นด้วยกับการชุมนุมประท้วงของนักศึกษา ณ วันนี้ หรือไม่
อันดับ 1 ร้อยละ 53.71 เห็นด้วย เพราะ เป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงออกทางความคิดเห็น เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน เป็นการเรียกร้อง/การกล้าแสดงออกของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเห็นประเทศเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เป็นการแสดงออกถึงอุดมการณ์หรือจุดยืน มีเป้าหมายที่ชัดเจน/ต้องการประชาธิปไตย
อันดับ 2 ร้อยละ 41.17 ไม่เห็นด้วย เพราะ สิ่งที่เรียกร้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัติรย์ ถือเป็นการจาบจ้วง อาจทำให้เกิดความวุ่นวาย การจราจรติดขัด อาจมีเบื้องลึกเบื้องหลัง เป็นเวลาที่ไม่เหมาะสม เศรษฐกิจประเทศชาติกำลังแย่ อีกทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ยังมีอยู่
อันดับ 3 ร้อยละ 5.12 ไม่แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการชุมนุมประท้วงของนักศึกษา ณ วันนี้
อันดับ 1 ร้อยละ 59.11 เป็นการเรียกร้องตามระบอบประชาธิปไตย
อันดับ 2 ร้อยละ 41.76 ต้องไม่จาบจ้วงสถาบัน
อันดับ 3 ร้อยละ 40.41 ห่วงเรื่องความปลอดภัย/อาจมีผู้ไม่หวังดี
อันดับ 4 ร้อยละ 40.10 ผู้เกี่ยวข้องควรรับฟัง
อันดับ 5 ร้อยละ 38.90 มีผู้อยู่เบื้องหลัง
อันดับ 6 ร้อยละ 33.79 เป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงออก/แสดงความคิดเห็น
อันดับ 7 ร้อยละ 28.64 สร้างความวุ่นวาย/แตกแยก
อันดับ 8 ร้อยละ 28.29 เกมการเมือง
อันดับ 9 ร้อยละ 26.53 เป็นการแสดงความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการปฏิรูปประเทศ
อันดับก 10 ร้อยละ 26.48 ต้องการเรียกร้องเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น/แสดงจุดยืน
ความคิดเห็นของประชาชนกับข้อเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ
อันดับ 1 ร้อยละ 62.84 เห็นด้วย เพราะ รัฐธรรมนูญไม่เป็นกลาง เป็นการสืบทอดอำนาจเผด็จการ ไม่เป็นประชาธิปไตย อยากให้แก้ไขในหมวดที่มาของ ส.ว. ควรแก้ไขเฉพาะบางมาตราที่ทำให้เกิดปัญหา ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ ล้าสมัย ไม่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน
อันดับ 2 ร้อยละ 24.85 ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมแล้ว เป็นเพียงความต้องการของคนกลุ่มหนึ่งที่เสียผลประโยชน์ ผ่านการลงมติมาแล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องแก้ไขใหม่ มีปัญหาอื่นเร่งด่วนให้แก้ไขมากกว่า เช่น โควิด-19 ปัญหาเศรษฐกิจ
อันดับ 3 ร้อยละ 12.31 ไม่แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นของประชาชนกับข้อเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ ยุบสภาหรือลาออก
อันดับ 1 ร้อยละ 53.88 เห็นด้วย เพราะ บริหารงานล้มเหลว ประเทศชาติไม่เจริญก้าวหน้า ไม่มีผลงาน ไม่มีความรู้ความสามารถมากพอในการบริหาร นายกฯ ฯมาจากการสืบทอดอำนาจ การได้มาของตำแหน่งขาดความชอบธรรม เศรษฐกิจตกต่ำ เผด็จการ ใช้อำนาจเกินกว่าเหตุ มีการทุจริตคอร์รัปชัน เอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง
อันดับ 2 ร้อยละ 38.43 ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ ตั้งใจทำงาน มีความจงรักภักดี เหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี ยังมองไม่เห็นใครที่มีความเหมาะสมเข้ามาแทน พล.อ.ประยุทธ์ มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ควรให้โอกาสทำงานจนครบวาระ 4 ปีก่อน
อันดับ 3 ร้อยละ 7.69 ไม่แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นของประชาชนกับข้อเรียกร้องให้หยุดคุกคามประชาชน
อันดับ 1 ร้อยละ 59.47 เห็นด้วย เพราะ การแสดงออกทางความคิดเห็นของประชาชนควรเป็นไปอย่างอิสระ ไม่โดนคุกคาม เป็นการใช้อำนาจรัฐเกินขอบเขต เผด็จการ เป็นสิทธิและเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยของประชาชน ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
อันดับ 2 ร้อยละ 29.19 เพราะ เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หากปล่อยปละละเลย อาจทำให้เกิดความวุ่นวายมากขึ้น ยังใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่ได้รับความเดือดร้อนหรือรู้สึกว่าถูกคุกคามจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เป็นเพียงข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม
อันดับ 3 ร้อยละ 11.34 ไม่แสดงความคิดเห็น
โดยภาพรวม ประชาชนเห็นด้วยกับการชุมนุมประท้วงของนักศึกษา ณ วันนี้ หรือไม่
อันดับ 1 ร้อยละ 53.71 เห็นด้วย เพราะ เป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงออกทางความคิดเห็น เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน เป็นการเรียกร้อง/การกล้าแสดงออกของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเห็นประเทศเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เป็นการแสดงออกถึงอุดมการณ์หรือจุดยืน มีเป้าหมายที่ชัดเจน/ต้องการประชาธิปไตย
อันดับ 2 ร้อยละ 41.17 ไม่เห็นด้วย เพราะ สิ่งที่เรียกร้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัติรย์ ถือเป็นการจาบจ้วง อาจทำให้เกิดความวุ่นวาย การจราจรติดขัด อาจมีเบื้องลึกเบื้องหลัง เป็นเวลาที่ไม่เหมาะสม เศรษฐกิจประเทศชาติกำลังแย่ อีกทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ยังมีอยู่
อันดับ 3 ร้อยละ 5.12 ไม่แสดงความคิดเห็น