เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ (ฉบับที่ 2) โดยประกาศฉบับดังกล่าว มีการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ทั้งหมด 13 ด้าน รวม 185 คน ได้แก่
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง มีนายปกรณ์ ปรียากร เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มีคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม มีนายเข็มชัย ชุติวงศ์ เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ มีนายอิสระ ว่องกุศลกิจ เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีนายรอยล จิตรดอน เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข มี นายอุดม คชินทร เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ มีนายเสรี วงษ์มณฑา เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม มีนายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน มีนายพรชัย รุจิประภา เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ มีนายภักดี โพธิศิริ เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา มีนายวรากรณ์ สามโกเศศ เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีนายนิธิ มหานนท์ เป็นประธานกรรมการ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ มีหน้าที่และอำนาจจัดทำและปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทตามกฎหมายว่าด้วยการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมอบหมาย และพิจารณาว่าการดำเนินการใดของหน่วยงานของรัฐสอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศหรือไม่ โดยประสานงานหรือปรึกษาหารือกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อแก้ไขปรับปรุงให้เกิดความสอดคล้อง ตลอดจนรายงานปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาไปยังผู้เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ.2560 และชี้แจงผลการดำเนินงานด้านการปฏิรูปประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา
ในการนี้ ให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ มีอำนาจเรียกให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงหรือแสดงความเห็นประกอบการพิจารณา รวมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือมอบหมายให้มีการว่าจ้างบุคคลหรือหน่วยงานใดให้ศึกษาวิจัยในเรื่องต่าง ๆ เพื่อช่วยในการดำเนินการตามหน้าที่ ให้คณะกรรมการตามประกาศนี้มีวาระการดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 14 ส.ค.2565 อันครบกำหนดห้าปีนับจากวันแต่งตั้งครั้งแรก เว้นแต่จะพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุตามกฎหมาย โดยให้ได้รับค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง มีนายปกรณ์ ปรียากร เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มีคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม มีนายเข็มชัย ชุติวงศ์ เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ มีนายอิสระ ว่องกุศลกิจ เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีนายรอยล จิตรดอน เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข มี นายอุดม คชินทร เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ มีนายเสรี วงษ์มณฑา เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม มีนายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน มีนายพรชัย รุจิประภา เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ มีนายภักดี โพธิศิริ เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา มีนายวรากรณ์ สามโกเศศ เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีนายนิธิ มหานนท์ เป็นประธานกรรมการ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ มีหน้าที่และอำนาจจัดทำและปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทตามกฎหมายว่าด้วยการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมอบหมาย และพิจารณาว่าการดำเนินการใดของหน่วยงานของรัฐสอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศหรือไม่ โดยประสานงานหรือปรึกษาหารือกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อแก้ไขปรับปรุงให้เกิดความสอดคล้อง ตลอดจนรายงานปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาไปยังผู้เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ.2560 และชี้แจงผลการดำเนินงานด้านการปฏิรูปประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา
ในการนี้ ให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ มีอำนาจเรียกให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงหรือแสดงความเห็นประกอบการพิจารณา รวมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือมอบหมายให้มีการว่าจ้างบุคคลหรือหน่วยงานใดให้ศึกษาวิจัยในเรื่องต่าง ๆ เพื่อช่วยในการดำเนินการตามหน้าที่ ให้คณะกรรมการตามประกาศนี้มีวาระการดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 14 ส.ค.2565 อันครบกำหนดห้าปีนับจากวันแต่งตั้งครั้งแรก เว้นแต่จะพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุตามกฎหมาย โดยให้ได้รับค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป