พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า วันนี้ (21 มี.ค.) มีการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 ครั้งที่ 5/2563 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่สถานการณ์เริ่มมีความรุนแรงขึ้น โดยมีความห่วงใยพี่น้องประชาชน ที่ประชุมมีการพิจารณาจะปิดสถานที่เพิ่มเติม เป็นระยะเวลา 22 วัน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม ถึงวันที่ 12 เมษายน 2563 โดยจะให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร เช่น ศูนย์การค้า โรงแรม และร้านข้างนอก ให้เปิดการขายได้ แต่ให้ลูกค้าซื้อกลับไปกินที่บ้าน ส่วนของเครื่องใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น ผ้าอนามัย ยังขายได้ สาเหตุที่ออกมาตรการนี้ เพราะอยู่ในช่วงเวลาสำคัญควบคุมไวรัสโควิดไม่ให้ระบาดเพิ่ม
ทั้งนี้ ขอความร่วมมือประชาชนไม่ต้องกักตุนสินค้า ร้านอาหารยังเปิดตามปกติ เพียงแต่ขอให้ปรับรูปแบบเป็นแบบกล่องกลับบ้าน (take away) และซูเปอร์มาร์เก็ต ยังเปิดตามปกติ ร้านสะดวกซื้อให้หมั่นทำความสะอาด มีจุดบริการแอลกอฮอล์บริเวณทางเข้า เพื่อความสะอาด ปลอดภัย
นอกจากนี้ ยังประสานผู้ประกอบการระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีม่วง แอร์พอร์ตลิงก์ รถเมล์ขสมก. รถบขส. ให้ลดจำนวนผู้โดยสารในแต่ละเที่ยวลง 50% ลดความหนาแน่นในการใช้บริการไม่ให้ใกล้ชิดกันมาก เช่น บีทีเอสใน 1 โบกี้ จุคนได้ 80 คน ให้เหลือ 40 คน และให้เว้นระยะห่างระหว่างตัวบุคคล 1-2 เมตรเมื่ออยู่บนรถไฟฟ้า
ส่วนคลีนิกเสริมสวย และตลาดสดต่างๆ จะปิดด้วย แต่ให้ขายเฉพาะอาหารที่จำเป็น เช่น อาหารสด หมู เป็ด ไก่ แต่มีมาตรการควบคุม ส่วนเสื้อผ้าจะยังไม่ให้ร้านค้าเปิดขาย สำหรับรายละเอียดการประกาศนั้น จะออกมาไม่เกินบ่าย 14.00 น. วันนี้
ทั้งนี้ ขอความมือประชาชนไม่ให้เดินทางไปในที่ชุมนุมคน และให้เว้นระยะห่างตัวบุคคล 1 เมตร เพราะไม่รู้ว่าใครเป็นไม่เป็นโควิดและหากมีอาการไข้ให้นอนพักผ่อนอยู่บ้าน
พล.ต.อ.อัศวิน กล่าวอีกว่า กทม.ยังขอความร่วมมือหน่วยงานเอกชนให้อนุญาตพนักงานทำงานที่บ้าน ส่วนหน่วยงานของรัฐให้ใช้วิธีเหลื่อมเวลาหรือสลับวันการทำงาน ตามความเหมาะสม
สำหรับสถานที่เสี่ยงปิดเพิ่มเติม ได้แก่
สปา นวดเพื่อสุขภาพ
สถานบริการควบคุมน้ำหนัก
สปาอาบน้ำ ตัดขนสัตว์
ลานสเก็ตหรือโรลเลอร์เบรด
กิจการเสริมสวย และคลินิคเสริมความงาม
สวนสนุก โบว์ลิ่ง ตู้เกม
กิจการบริการคอมพิวเตอร์
สนามกอล์ฟ สนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
สระว่ายน้ำ
กิจการสักผิว
กิจการบริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้าน บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
สนามพระ
สนามชนไก่ และสนามซ้อมชนไก่
สถานที่จัดประชุมและนิทรรศการ
ตลาดทุกประเภท ยกเว้นแผงของสด และแผงค้าที่จำหน่ายอาหารตามความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
ห้างสรรพสินค้า ยกเว้นส่วนซูเปอร์มาร์เก็ต
สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย สถานศึกษารัฐ เอกชน โรงเรียนประจำ โรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนสอนศาสนา โรงเรียนกวดวิชาทุกแห่ง
สถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย ทั้งของรัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันอบรมวิชาชีพทั่วกรุงเทพฯ
ทั้งนี้ ขอความร่วมมือประชาชนไม่ต้องกักตุนสินค้า ร้านอาหารยังเปิดตามปกติ เพียงแต่ขอให้ปรับรูปแบบเป็นแบบกล่องกลับบ้าน (take away) และซูเปอร์มาร์เก็ต ยังเปิดตามปกติ ร้านสะดวกซื้อให้หมั่นทำความสะอาด มีจุดบริการแอลกอฮอล์บริเวณทางเข้า เพื่อความสะอาด ปลอดภัย
นอกจากนี้ ยังประสานผู้ประกอบการระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีม่วง แอร์พอร์ตลิงก์ รถเมล์ขสมก. รถบขส. ให้ลดจำนวนผู้โดยสารในแต่ละเที่ยวลง 50% ลดความหนาแน่นในการใช้บริการไม่ให้ใกล้ชิดกันมาก เช่น บีทีเอสใน 1 โบกี้ จุคนได้ 80 คน ให้เหลือ 40 คน และให้เว้นระยะห่างระหว่างตัวบุคคล 1-2 เมตรเมื่ออยู่บนรถไฟฟ้า
ส่วนคลีนิกเสริมสวย และตลาดสดต่างๆ จะปิดด้วย แต่ให้ขายเฉพาะอาหารที่จำเป็น เช่น อาหารสด หมู เป็ด ไก่ แต่มีมาตรการควบคุม ส่วนเสื้อผ้าจะยังไม่ให้ร้านค้าเปิดขาย สำหรับรายละเอียดการประกาศนั้น จะออกมาไม่เกินบ่าย 14.00 น. วันนี้
ทั้งนี้ ขอความมือประชาชนไม่ให้เดินทางไปในที่ชุมนุมคน และให้เว้นระยะห่างตัวบุคคล 1 เมตร เพราะไม่รู้ว่าใครเป็นไม่เป็นโควิดและหากมีอาการไข้ให้นอนพักผ่อนอยู่บ้าน
พล.ต.อ.อัศวิน กล่าวอีกว่า กทม.ยังขอความร่วมมือหน่วยงานเอกชนให้อนุญาตพนักงานทำงานที่บ้าน ส่วนหน่วยงานของรัฐให้ใช้วิธีเหลื่อมเวลาหรือสลับวันการทำงาน ตามความเหมาะสม
สำหรับสถานที่เสี่ยงปิดเพิ่มเติม ได้แก่
สปา นวดเพื่อสุขภาพ
สถานบริการควบคุมน้ำหนัก
สปาอาบน้ำ ตัดขนสัตว์
ลานสเก็ตหรือโรลเลอร์เบรด
กิจการเสริมสวย และคลินิคเสริมความงาม
สวนสนุก โบว์ลิ่ง ตู้เกม
กิจการบริการคอมพิวเตอร์
สนามกอล์ฟ สนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
สระว่ายน้ำ
กิจการสักผิว
กิจการบริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้าน บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
สนามพระ
สนามชนไก่ และสนามซ้อมชนไก่
สถานที่จัดประชุมและนิทรรศการ
ตลาดทุกประเภท ยกเว้นแผงของสด และแผงค้าที่จำหน่ายอาหารตามความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
ห้างสรรพสินค้า ยกเว้นส่วนซูเปอร์มาร์เก็ต
สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย สถานศึกษารัฐ เอกชน โรงเรียนประจำ โรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนสอนศาสนา โรงเรียนกวดวิชาทุกแห่ง
สถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย ทั้งของรัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันอบรมวิชาชีพทั่วกรุงเทพฯ