นายมานิต เตชอภิโชค กรรมการผู้อำนวยการบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ( เคที ) ในฐานะวิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยว่า วันที่ 1 ต.ค.นี้ รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (BRT) สายสาทร-ราชพฤกษ์ จะปรับอัตราค่าโดยสารใหม่ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้โดยสารจากเดิมเก็บ 5 บาทตลอดสาย ส่วนอัตราที่ปรับใหม่ จะเก็บตามโซน โดยโซนที่ 1 จากสถานีสาทรถึงสถานีวัดด่าน จำนวน 6 สถานี กำหนดอัตราค่าโดยสาร 5 บาท โซนที่ 2 จากสถานีวัดด่านถึงสถานีราชพฤกษ์ จำนวน 6 สถานี กำหนดอัตราค่าโดยสาร 5 บาท สำหรับกรณีเดินทางข้ามโซน กำหนดอัตราค่าโดยสาร 10 บาท คาดว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้ค่าโดยสารเฉลี่ย 4.5 ล้านบาทต่อเดือน
นายมานิต กล่าวถึงความคืบหน้าการปรับรูปแบบการเดินรถบีอาร์ทีช่วงสถานีรถไฟฟ้าสาทร-ราชพฤกษ์ ระยะทาง 15.6 กม.ว่า ขณะนี้เคทีได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนในการดำเนินการศึกษารูปแบบเส้นทางการเดินรถบีอาร์ทีรูปแบบใหม่ เพื่อเตรียมเสนอ กทม. เป็นแผนการดำเนินการระยะต่อไปหลังจากหมดสัญญากับ กทม.ในเดือน เม.ย.60 โดยเบื้องต้นบริษัทฯ ได้เสนอแนวทางปรับรูปแบบบีอาร์ทีใหม่จากเดิมใช้ล้อในการขับเคลื่อนให้เปลี่ยนมาเป็นระบบรางแทน โดยจะเปลี่ยนตั้งแต่สถานีสาทร-สถานีสะพานพระราม 3 โดยใช้ช่องจราจรของรถบีอาร์ทีเดิมอยู่ ส่วนจะเป็นยกระดับหรือวิ่งบนพื้นราบนั้น ต้องรอผลศึกษาอีกครั้ง
ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหารถจักรยานยนต์ลักลอบใช้ช่องของบีอาร์ทีส่งผลให้รับ-ส่งผู้โดยสารช้า สำหรับพลังงานนั้นจะใช้แบตเตอรี่ไฟฟ้าแทนโดยใช้รูปแบบการชาร์ตไฟที่สถานีแทน ส่วนสถานีพระราม 3-สถานีราชพฤกษ์ นั้นยังคงต้องใช้ระบบล้ออยู่เนื่องจากการทำรางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาจะใช้งบประมาณค่อนข้างสูงคาดว่าภายในเดือน ต.ค.นี้ผลการศึกษาจะเสร็จสมบูรณ์
อย่างไรก็ตามสำหรับการปรับรูปแบบเส้นทางบีอาร์ทีถือว่าเป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่หลังจากเปิดให้บริการมา 7 ปี มีผู้ใช้บริการรวม 36 ล้านเที่ยวคน หรือ 20,000 คนต่อวัน เห็นได้ว่ารถบีอาร์ทีมีความจำเป็นแก่ประชาชนในเขต กทม.อยู่ และไม่ควรยกเลิกการให้บริการ เชื่อว่าในอนาคตบีอาร์ทีจะเป็นขนส่งมวลชนระบบรองหรือฟีดเดอร์สำคัญ เพื่อเชื่อมกับระบบขนส่งหลักในอนาคตที่จะเกิดขึ้นอีกมากมาย
นายมานิต กล่าวถึงความคืบหน้าการปรับรูปแบบการเดินรถบีอาร์ทีช่วงสถานีรถไฟฟ้าสาทร-ราชพฤกษ์ ระยะทาง 15.6 กม.ว่า ขณะนี้เคทีได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนในการดำเนินการศึกษารูปแบบเส้นทางการเดินรถบีอาร์ทีรูปแบบใหม่ เพื่อเตรียมเสนอ กทม. เป็นแผนการดำเนินการระยะต่อไปหลังจากหมดสัญญากับ กทม.ในเดือน เม.ย.60 โดยเบื้องต้นบริษัทฯ ได้เสนอแนวทางปรับรูปแบบบีอาร์ทีใหม่จากเดิมใช้ล้อในการขับเคลื่อนให้เปลี่ยนมาเป็นระบบรางแทน โดยจะเปลี่ยนตั้งแต่สถานีสาทร-สถานีสะพานพระราม 3 โดยใช้ช่องจราจรของรถบีอาร์ทีเดิมอยู่ ส่วนจะเป็นยกระดับหรือวิ่งบนพื้นราบนั้น ต้องรอผลศึกษาอีกครั้ง
ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหารถจักรยานยนต์ลักลอบใช้ช่องของบีอาร์ทีส่งผลให้รับ-ส่งผู้โดยสารช้า สำหรับพลังงานนั้นจะใช้แบตเตอรี่ไฟฟ้าแทนโดยใช้รูปแบบการชาร์ตไฟที่สถานีแทน ส่วนสถานีพระราม 3-สถานีราชพฤกษ์ นั้นยังคงต้องใช้ระบบล้ออยู่เนื่องจากการทำรางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาจะใช้งบประมาณค่อนข้างสูงคาดว่าภายในเดือน ต.ค.นี้ผลการศึกษาจะเสร็จสมบูรณ์
อย่างไรก็ตามสำหรับการปรับรูปแบบเส้นทางบีอาร์ทีถือว่าเป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่หลังจากเปิดให้บริการมา 7 ปี มีผู้ใช้บริการรวม 36 ล้านเที่ยวคน หรือ 20,000 คนต่อวัน เห็นได้ว่ารถบีอาร์ทีมีความจำเป็นแก่ประชาชนในเขต กทม.อยู่ และไม่ควรยกเลิกการให้บริการ เชื่อว่าในอนาคตบีอาร์ทีจะเป็นขนส่งมวลชนระบบรองหรือฟีดเดอร์สำคัญ เพื่อเชื่อมกับระบบขนส่งหลักในอนาคตที่จะเกิดขึ้นอีกมากมาย