นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทย 2559 ว่า สถานภาพหนี้ครัวเรือนไทยปี 2559 สูงสุดในรอบ 9 ปี นับตั้งแต่ปี 2551 โดยมีหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 298,005.81 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ถือว่าเป็นอัตราเพิ่มขึ้นที่สูงที่สุดในรอบ 9 ปี ด้านการผ่อนชำระต่อเดือนก็สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 9 ปีเช่นกัน ผ่อนเดือนละกว่า 14,889 บาท โดยเป็นภาระหนี้จากรถคันแรก ส่งผลให้มีหนี้สินอื่นๆ ตามมา
ภาระหนี้ครัวเรือนไทยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 83-84 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งสูงอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก ทำให้ธนาคารพาณิชย์ไม่กล้าที่จะปล่อยสินเชื่อให้ประชาชน ขณะที่ประชาชนก็ไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้มีปัญหาต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ บวกกับปัญหาภัยแล้ง
ทั้งนี้ ผลจากมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้มากขึ้น ส่งผลให้การกู้ยืมเงินของประชาชนนอกระบบปรับตัวลดลง สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไม่น่าเป็นห่วงเพราะปรับลดลง และคาดว่า 3 ปีข้างหน้า ภาระหนี้ครัวเรือนจะลดลงอยู่ในระดับร้อยละ 80 ของจีดีพี
สำหรับผลงานแก้ปัญหาเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวรัฐบาลได้คะแนนแก้ไขปัญหา 8 เต็ม 10 เพราะการแก้ไขยังไม่กระจายตัวออกไปในวงกว้าง สำหรับปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะโตในกรอบร้อยละ 3.3-3.5 ถือเป็นผลงานที่โดดเด่นเหนือคาด และมีการทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนดให้เศรษฐกิจไทยเติบโตร้อยละต่อ 5 ปี นับเป็นการวางกรอบเศรษฐกิจระยะปานกลาง
ภาระหนี้ครัวเรือนไทยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 83-84 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งสูงอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก ทำให้ธนาคารพาณิชย์ไม่กล้าที่จะปล่อยสินเชื่อให้ประชาชน ขณะที่ประชาชนก็ไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้มีปัญหาต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ บวกกับปัญหาภัยแล้ง
ทั้งนี้ ผลจากมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้มากขึ้น ส่งผลให้การกู้ยืมเงินของประชาชนนอกระบบปรับตัวลดลง สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไม่น่าเป็นห่วงเพราะปรับลดลง และคาดว่า 3 ปีข้างหน้า ภาระหนี้ครัวเรือนจะลดลงอยู่ในระดับร้อยละ 80 ของจีดีพี
สำหรับผลงานแก้ปัญหาเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวรัฐบาลได้คะแนนแก้ไขปัญหา 8 เต็ม 10 เพราะการแก้ไขยังไม่กระจายตัวออกไปในวงกว้าง สำหรับปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะโตในกรอบร้อยละ 3.3-3.5 ถือเป็นผลงานที่โดดเด่นเหนือคาด และมีการทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนดให้เศรษฐกิจไทยเติบโตร้อยละต่อ 5 ปี นับเป็นการวางกรอบเศรษฐกิจระยะปานกลาง