นางสาวชุติมา บุญยประภัสร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ครั้งแรก ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมรับทราบแนวทางการปรับองค์ประกอบของคณะกรรมการเพื่อให้เกิดความเหมาะสมยิ่งขึ้น และรับทราบแนวทางในอนาคตที่ไทยต้องเตรียมรับมือกับประเด็นที่ท้าทายในความตกลงการค้าบริการและการลงทุนยุคใหม่ ซึ่งเป็นการเจรจาที่แตกต่างจากในอดีต ที่จะเน้นการเจรจาระบุรายสินค้า และบริการที่แต่ละประเทศไม่เปิดเสรี รวมถึงประเด็นด้านสังคม ซึ่งทุกประเทศมีมาตรฐานที่สูงขึ้น มีกฎหมายรองรับ และจำเป็นที่จะต้องได้รับการคุ้มครองอย่างสูงสุด อาทิ ในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งแวดล้อม แรงงาน สิทธิมนุษยชน และเรื่องของธรรมภิบาล โดยจะต้องมีการกำหนดแนวทางต่อไป
นอกจากนี้ จะต้องปรับเปลี่ยนการเจรจาทางด้านการค้า จากเดิมในรูปแบบ เขตการค้าเสรี หรือ FTA เป็นการมุ่งเน้นไปยังการเปิดประตูการค้า และการขยายความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจ ในกลุ่ม CLMV และกลุ่มประเทศในเอเชีย พร้อมทั้งเดินหน้ายุทธศาสตร์ในการเจรจา โดยเน้นพันธมิตรทางเศรษฐกิจ หรือ พาร์ทเนอร์ชิป ในกลุ่มประเทศที่เป็นประโยชน์กับไทย เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเจรจาเปิดเสรีการค้าในระดับภูมิภาคที่สำคัญ ทั้ง WTO / TPP เป็นต้น
ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวอีกว่า ที่ประชุม ยังเห็นชอบให้ยกเว้นข้อสงวนในความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียนในการให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุน ซึ่งเป็นนิติบุคคลนอกกลุ่มอาเซียนที่ได้ทำการประกอบธุรกิจในกลุ่มสมาชิกอาเซียนอยู่แล้ว ทั้งนี้ การยกเลิกรายการข้อสงวนดังกล่าว จะครอบคลุมการลงทุนเฉพาะนักลงทุนในอาเซียน สำหรับการประกอบธุรกิจใน 5 สาขา ประกอบด้วยเกษตร ประมง ป่าไม้ เหมืองแร่ และอุตสาหกรรมการผลิต โดยไม่ครอบคลุมการลงทุน สาขาการค้า การบริการ และจะต้องไม่ขัดกับกฎหมายภายในประเทศของไทยที่เกี่ยวข้องด้วย
นอกจากนี้ จะต้องปรับเปลี่ยนการเจรจาทางด้านการค้า จากเดิมในรูปแบบ เขตการค้าเสรี หรือ FTA เป็นการมุ่งเน้นไปยังการเปิดประตูการค้า และการขยายความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจ ในกลุ่ม CLMV และกลุ่มประเทศในเอเชีย พร้อมทั้งเดินหน้ายุทธศาสตร์ในการเจรจา โดยเน้นพันธมิตรทางเศรษฐกิจ หรือ พาร์ทเนอร์ชิป ในกลุ่มประเทศที่เป็นประโยชน์กับไทย เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเจรจาเปิดเสรีการค้าในระดับภูมิภาคที่สำคัญ ทั้ง WTO / TPP เป็นต้น
ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวอีกว่า ที่ประชุม ยังเห็นชอบให้ยกเว้นข้อสงวนในความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียนในการให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุน ซึ่งเป็นนิติบุคคลนอกกลุ่มอาเซียนที่ได้ทำการประกอบธุรกิจในกลุ่มสมาชิกอาเซียนอยู่แล้ว ทั้งนี้ การยกเลิกรายการข้อสงวนดังกล่าว จะครอบคลุมการลงทุนเฉพาะนักลงทุนในอาเซียน สำหรับการประกอบธุรกิจใน 5 สาขา ประกอบด้วยเกษตร ประมง ป่าไม้ เหมืองแร่ และอุตสาหกรรมการผลิต โดยไม่ครอบคลุมการลงทุน สาขาการค้า การบริการ และจะต้องไม่ขัดกับกฎหมายภายในประเทศของไทยที่เกี่ยวข้องด้วย