นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ ระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทย และการรถไฟแห่งประเทศไทย ระหว่างนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ลงนามร่วมกับ ร.อ.สุทธินันท์ หัตถวงษ์ ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ซึ่งเป็นความร่วมมือในการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานในการให้บริการศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟและสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง เพื่ออำนวยความสะดวก และยกระดับมาตรฐานบริการร่วมกัน โดยมีนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมเป็นสักขีพยาน
นายอาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้พัฒนาการส่งสินค้าเชื่อมต่อระหว่างทางถนนทางรางและทางเรือ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยการรถไฟฯ ได้สั่งซื้อขบวนตู้ขนส่งสินค้ารุ่นใหม่ จำนวน 308 คัน ในวงเงิน 7,229 ล้านบาท โดยได้ส่งมอบรอบแรกแล้ว 150 คัน หลังจากนี้จะมีการประกอบและทดสอบการใช้งานอย่างเต็มระบบก่อนเปิดให้บริการขนส่งสินค้าในปลายปีนี้ ส่วนโบกี้บรรทุกสินค้าที่เหลืออีก 158 คัน บริษัทเอกชนจะทยอยส่งมอบเดือนกันยายนนี้ คาดว่าจะเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าทางรางเป็น 2 ล้านตันต่อปี จากเดิมอยู่ที่ 5 แสน ถึง 1 ล้านตันต่อปี และลดการใช้รถบรรทุกเข้ารับ-ส่งสินค้าระหว่างท่าเรือและสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง สำหรับเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งสินค้าทางรถไฟสามารถเพิ่มรายได้ให้การรถไฟฯสูงถึงปีละ 200 ล้านบาท จากเดิมปีละ 100 ล้าน ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวอีกและเพิ่มรายได้ให้ภาคเอกชน 5-10%
ส่วนในเรื่องเส้นทางการขนส่งสินค้านั้น กรมทางหลวง (ทล.) ได้ขยายถนนเชื่อมมอเตอร์เวย์สาย 7 (กรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา) และท่าเรือแหลมฉบัง ระยะทาง 8 กม.โดยขยายช่องการจราจรจาก 4 ช่องทาง เป็น 14 ช่องทาง ปรับสัญญาณไฟจราจรและก่อสร้างจุดกลับรถเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้ประกอบการรถบรรทุกที่เข้ามารับ-ส่งสินค้าภายในท่าเรือและลดความแออัดภายในท่าเรืออีกด้วย ทั้งนี้ การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังจะเป็นการสร้างศูนย์กระจายสินค้า และศูนย์การรองรับตู้คอนเทเนอร์นั้นจะเป็นการเชื่อมต่อจากรางสู่เรือจากเรือสู่ราง
นายอาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้พัฒนาการส่งสินค้าเชื่อมต่อระหว่างทางถนนทางรางและทางเรือ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยการรถไฟฯ ได้สั่งซื้อขบวนตู้ขนส่งสินค้ารุ่นใหม่ จำนวน 308 คัน ในวงเงิน 7,229 ล้านบาท โดยได้ส่งมอบรอบแรกแล้ว 150 คัน หลังจากนี้จะมีการประกอบและทดสอบการใช้งานอย่างเต็มระบบก่อนเปิดให้บริการขนส่งสินค้าในปลายปีนี้ ส่วนโบกี้บรรทุกสินค้าที่เหลืออีก 158 คัน บริษัทเอกชนจะทยอยส่งมอบเดือนกันยายนนี้ คาดว่าจะเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าทางรางเป็น 2 ล้านตันต่อปี จากเดิมอยู่ที่ 5 แสน ถึง 1 ล้านตันต่อปี และลดการใช้รถบรรทุกเข้ารับ-ส่งสินค้าระหว่างท่าเรือและสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง สำหรับเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งสินค้าทางรถไฟสามารถเพิ่มรายได้ให้การรถไฟฯสูงถึงปีละ 200 ล้านบาท จากเดิมปีละ 100 ล้าน ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวอีกและเพิ่มรายได้ให้ภาคเอกชน 5-10%
ส่วนในเรื่องเส้นทางการขนส่งสินค้านั้น กรมทางหลวง (ทล.) ได้ขยายถนนเชื่อมมอเตอร์เวย์สาย 7 (กรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา) และท่าเรือแหลมฉบัง ระยะทาง 8 กม.โดยขยายช่องการจราจรจาก 4 ช่องทาง เป็น 14 ช่องทาง ปรับสัญญาณไฟจราจรและก่อสร้างจุดกลับรถเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้ประกอบการรถบรรทุกที่เข้ามารับ-ส่งสินค้าภายในท่าเรือและลดความแออัดภายในท่าเรืออีกด้วย ทั้งนี้ การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังจะเป็นการสร้างศูนย์กระจายสินค้า และศูนย์การรองรับตู้คอนเทเนอร์นั้นจะเป็นการเชื่อมต่อจากรางสู่เรือจากเรือสู่ราง