สำนักเลขาธิการใหญ่องค์การนิรโทษกรรมสากล หรือ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International) ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แสดงความกังวลต่อการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนช่วงก่อนลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ที่จะถึงนี้
นายซาลิล เช็ตตี เลขาธิการใหญ่แอมเนสตี้ฯ ระบุในจดหมายว่า มาตรการต่างๆ ที่ทหารอ้างว่าเป็นมาตรการชั่วคราวเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองนั้น เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ยอมรับไม่ได้ โดยเฉพาะการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุม ซึ่งล้วนแต่เป็นสิทธิที่ประเทศไทยมีต้องเคารพและคุ้มครองตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
เลขาธิการใหญ่แอมเนสตี้ฯ ได้เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีของไทยประกันว่า ประชาชนจะสามารถใช้สิทธิของตนได้อย่างสงบและเสรี สามารถรับและเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างเสรี สามารถเข้าร่วมการอภิปรายสาธารณะและการรณรงค์ที่เกี่ยวข้องกับร่างรัฐธรรมนูญ และสามารถแสดงความเห็นที่ขัดแย้งกับรัฐบาลได้ โดยไม่ต้องหวาดกลัวว่าจะถูกคุกคาม จับกุม หรือดำเนินคดี
เลขาธิการใหญ่แอมเนสตี้ฯ ยังกระตุ้นให้ทางการไทยยกเลิกการดำเนิคดีต่อประชาชนและนักข่าวอย่างน้อย 113 คน ที่ถูกจับเพียงเพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมหรือการรณรงค์เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น
นอกจากนี้ แอมเนสตี้ยังได้ออกรายงานเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิเสรีภาพในประเทศไทยช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ซึ่งครอบคลุมข้อมูลเกี่ยวกับประกาศคำสั่งและกฎหมายที่จำกัดสิทธิ การจับกุม การควบคุมตัว การดำเนินคดี การขัดขวางการอภิปรายสาธารณะและการตรวจสอบการออกเสียงประชามติ และพันธกรณีของไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศ
นายซาลิล เช็ตตี เลขาธิการใหญ่แอมเนสตี้ฯ ระบุในจดหมายว่า มาตรการต่างๆ ที่ทหารอ้างว่าเป็นมาตรการชั่วคราวเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองนั้น เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ยอมรับไม่ได้ โดยเฉพาะการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุม ซึ่งล้วนแต่เป็นสิทธิที่ประเทศไทยมีต้องเคารพและคุ้มครองตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
เลขาธิการใหญ่แอมเนสตี้ฯ ได้เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีของไทยประกันว่า ประชาชนจะสามารถใช้สิทธิของตนได้อย่างสงบและเสรี สามารถรับและเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างเสรี สามารถเข้าร่วมการอภิปรายสาธารณะและการรณรงค์ที่เกี่ยวข้องกับร่างรัฐธรรมนูญ และสามารถแสดงความเห็นที่ขัดแย้งกับรัฐบาลได้ โดยไม่ต้องหวาดกลัวว่าจะถูกคุกคาม จับกุม หรือดำเนินคดี
เลขาธิการใหญ่แอมเนสตี้ฯ ยังกระตุ้นให้ทางการไทยยกเลิกการดำเนิคดีต่อประชาชนและนักข่าวอย่างน้อย 113 คน ที่ถูกจับเพียงเพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมหรือการรณรงค์เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น
นอกจากนี้ แอมเนสตี้ยังได้ออกรายงานเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิเสรีภาพในประเทศไทยช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ซึ่งครอบคลุมข้อมูลเกี่ยวกับประกาศคำสั่งและกฎหมายที่จำกัดสิทธิ การจับกุม การควบคุมตัว การดำเนินคดี การขัดขวางการอภิปรายสาธารณะและการตรวจสอบการออกเสียงประชามติ และพันธกรณีของไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศ