ตุรกีขยายขอบเขตการกวาดล้างครั้งใหญ่ตามหลังความพยายามก่อรัฐประหารที่ล้มเหลว ครอบคลุมสื่อมวลชนและสถาบันการศึกษาต่างๆในวันอังคาร(19ก.ค.) หลังประกาศขุดรากถอนโคนเหล่าผู้สนับสนุนนักการศาสนาดังที่ลี้ภัยในสหรัฐฯ ซึ่งถูกกล่าวว่าอยู่เบื้องหลังความพยายามยึดอำนาจ และส่งสำนวนไปยังอเมริกาเพื่อสนับสนุนคำขอส่งตัวนักการศาสนารายนี้กลับมาดำเนินคดีในประเทศแล้ว
ทั่วโลกแสดงความกังวลมากขึ้นต่อปฏฺิบัติการแก้แค้นนับตั้งแต่ความพยายามรัฐประหารล้มเหลวเมื่อวันศุกร์(15ก.ค.) ซึ่งพบเห็นการปราบปรามทหาร ตำรวจและผู้พิพากษาครั้งใหญ่ และมีหลายพันคนถูกจับกุม "เราจะขุดรากถอนโคน(ผู้สนับสนุนนายเฟตุลเลาะห์ กูเลน) ราวกับใบมีดโกน" นายกรัฐมนตรีบินาลี ยิลดิลิมของตุรกีกล่าว
ในวันอังคาร(19ก.ค.) เจ้าหน้าที่ดำเนินการอย่างรวดเร็วในการยกเลิกใบอนุุญาตและสถานีโทรทัศน์ที่เชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับนายกูเลน นอกจากนี้แล้วรัฐบาลยังสั่งพักงานเจ้าหน้าที่ด้านการศึกษาของรัฐ 15,000 คนที่ถูกกล่าวหาว่ามีความเชื่อมโยงกับ "องค์กรก่อการร้ายเฟตุลเลาะห์" ชื่อของเครือข่ายนายกูเลน นอกจากนี้แล้วคณะกรรมการด้านการศึกษาของตุรกี ยังเรียกร้องให้คณบดีของมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนเกือบ 1,600 คนลาออก
ความเคลื่อนไหวดังกล่าว มีขึ้นหลังจากก่อนหน้านี้มีผู้ถูกปลดจากหน้าที่การงานราวๆ 9,000 คน ในนั้นรวมถึงตำรวจและเจ้าหน้าที่รัฐบาล และอีกราว 7,500 คนโดนควบคุมตัว ซึ่งรวมถึงเหล่านายพลระดับสูงที่ถูกกล่าวหาบงการแผนรัฐประหาร
โฆษกของประธานาธิบดีเรเซพ ตอยยิบ เออร์โดกัน ปกป้องการคุมตัวหมู่ครั้งมโหฬารนี้ ว่ามันเป็นกระบวนการทางกฎหมาย โดยเหล่าผู้ต้องสงสัยจะเผชิญข้อหากบฏและพยายามเปลี่ยนแปลงระบอบรัฐธรรมนูญ
ทั่วโลกแสดงความกังวลมากขึ้นต่อปฏฺิบัติการแก้แค้นนับตั้งแต่ความพยายามรัฐประหารล้มเหลวเมื่อวันศุกร์(15ก.ค.) ซึ่งพบเห็นการปราบปรามทหาร ตำรวจและผู้พิพากษาครั้งใหญ่ และมีหลายพันคนถูกจับกุม "เราจะขุดรากถอนโคน(ผู้สนับสนุนนายเฟตุลเลาะห์ กูเลน) ราวกับใบมีดโกน" นายกรัฐมนตรีบินาลี ยิลดิลิมของตุรกีกล่าว
ในวันอังคาร(19ก.ค.) เจ้าหน้าที่ดำเนินการอย่างรวดเร็วในการยกเลิกใบอนุุญาตและสถานีโทรทัศน์ที่เชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับนายกูเลน นอกจากนี้แล้วรัฐบาลยังสั่งพักงานเจ้าหน้าที่ด้านการศึกษาของรัฐ 15,000 คนที่ถูกกล่าวหาว่ามีความเชื่อมโยงกับ "องค์กรก่อการร้ายเฟตุลเลาะห์" ชื่อของเครือข่ายนายกูเลน นอกจากนี้แล้วคณะกรรมการด้านการศึกษาของตุรกี ยังเรียกร้องให้คณบดีของมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนเกือบ 1,600 คนลาออก
ความเคลื่อนไหวดังกล่าว มีขึ้นหลังจากก่อนหน้านี้มีผู้ถูกปลดจากหน้าที่การงานราวๆ 9,000 คน ในนั้นรวมถึงตำรวจและเจ้าหน้าที่รัฐบาล และอีกราว 7,500 คนโดนควบคุมตัว ซึ่งรวมถึงเหล่านายพลระดับสูงที่ถูกกล่าวหาบงการแผนรัฐประหาร
โฆษกของประธานาธิบดีเรเซพ ตอยยิบ เออร์โดกัน ปกป้องการคุมตัวหมู่ครั้งมโหฬารนี้ ว่ามันเป็นกระบวนการทางกฎหมาย โดยเหล่าผู้ต้องสงสัยจะเผชิญข้อหากบฏและพยายามเปลี่ยนแปลงระบอบรัฐธรรมนูญ