สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากนครอิสตันบูล ประเทศตุรกีว่า ประธานาธิบดีเรเซป เทย์ยิป เออร์โดกัน แถลงผ่านสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ยืนยันยังคงอยู่ในอำนาจ และรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์เอาไว้ได้ทั้งหมดแล้ว หลังเกิดความพยายามก่อการรรัฐประหารโดยทหารนอกรีตกลุ่มหนึ่ง และมีความเชื่อมโยงถึงนายเฟตฮุลเลาะห์ กูเลน คู่ปรับคนสำคัญทางการเมืองซึ่งกำลังลี้ภัยอยู่ในสหรัฐฯ แต่กูเลนยืนกรานปฏิเสธว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์วุ่นวายและรุนแรงที่เกิดขึ้นตลอดทั้งคืนวันศุกร์ ที่เป็นการกราดยิงและเครื่องบินรบทิ้งระเบิดโจมตีสถานที่สำคัญหลายแห่งในเมืองหลวง ที่รวมถึงทำเนียบประธานาธิบดีและอาคารรัฐสภา และบริเวณสะพานบอสฟอรัสในนครอิสตันบูล เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 60 ศพ และได้รับบาดเจ็บอีกราว 150 คน อกีทั้งมีผู้ถูกจับกุมแล้ว 336 คน
ด้านทำเนียบขาวเผยแพร่แถลงการณ์ของประธานาธิบดีบารัก โอบามา เรียกร้องให้ทุกภาคส่วนในตุรกีร่วมกันสนับสนุนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย และขอให้ยุติการใช้ความรุนแรงต่อกัน
ขณะที่นายจอห์น แคร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ยอมรับว่า สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในตุรกีอยู่ในขั้นเปราะบางอย่างมาก เนื่องจากยังไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้อย่างชัดเจน
ความพยายามก่อการรัฐประการในตุรกีครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ภายในประเทศที่กำลังขาดเสถียรภาพอย่างหนักโดยเฉพาะในด้านความมั่นคง เนื่องจากเผชิญกับภัยคุกคามจากการก่อการร้ายบ่อยครั้งขึ้นในระยะหลัง และกระแสความนิยมต่อตัวเออร์โดกันเองที่ตกต่ำลง เนื่องจากมีปัญหากับการทำงานของสื่อมวลชนหลายสำนัก
ทั้งนี้ กรุงอังการาและนครอิสตันบูลถือเป็นพื้นที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ทหารสำหรับองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ( นาโต ) ที่ตุรกีเป็นหนึ่งใน 28 ประเทศสมาชิก เนื่องจากเป็นประเทศที่อยู่ตรงกลางระหว่างซีเรียกับยุโรป
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์วุ่นวายและรุนแรงที่เกิดขึ้นตลอดทั้งคืนวันศุกร์ ที่เป็นการกราดยิงและเครื่องบินรบทิ้งระเบิดโจมตีสถานที่สำคัญหลายแห่งในเมืองหลวง ที่รวมถึงทำเนียบประธานาธิบดีและอาคารรัฐสภา และบริเวณสะพานบอสฟอรัสในนครอิสตันบูล เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 60 ศพ และได้รับบาดเจ็บอีกราว 150 คน อกีทั้งมีผู้ถูกจับกุมแล้ว 336 คน
ด้านทำเนียบขาวเผยแพร่แถลงการณ์ของประธานาธิบดีบารัก โอบามา เรียกร้องให้ทุกภาคส่วนในตุรกีร่วมกันสนับสนุนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย และขอให้ยุติการใช้ความรุนแรงต่อกัน
ขณะที่นายจอห์น แคร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ยอมรับว่า สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในตุรกีอยู่ในขั้นเปราะบางอย่างมาก เนื่องจากยังไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้อย่างชัดเจน
ความพยายามก่อการรัฐประการในตุรกีครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ภายในประเทศที่กำลังขาดเสถียรภาพอย่างหนักโดยเฉพาะในด้านความมั่นคง เนื่องจากเผชิญกับภัยคุกคามจากการก่อการร้ายบ่อยครั้งขึ้นในระยะหลัง และกระแสความนิยมต่อตัวเออร์โดกันเองที่ตกต่ำลง เนื่องจากมีปัญหากับการทำงานของสื่อมวลชนหลายสำนัก
ทั้งนี้ กรุงอังการาและนครอิสตันบูลถือเป็นพื้นที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ทหารสำหรับองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ( นาโต ) ที่ตุรกีเป็นหนึ่งใน 28 ประเทศสมาชิก เนื่องจากเป็นประเทศที่อยู่ตรงกลางระหว่างซีเรียกับยุโรป