อังกฤษได้ลิ้มรสอนาคตของการอยู่รอบนอกอียูเป็นครั้งแรกในวันพุธ(29มิ.ย.) ด้วยเหล่าผู้นำยุโรปประชุมกันโดยไม่มีนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน เข้าร่วม และเตือนว่าลอนดอนจำเป็นต้องรับผู้อพยพจากอียูหากต้องการเข้าถึงเขตการค้าเสรีของกลุ่ม
ผู้นำของรัฐบาลชาติต่างๆในอียู ซึ่งประชุมกันโดยไม่มีตัวแทนจากอังกฤษเข้าร่วมเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี ระบุในถ้อยแถลงว่าอังกฤษจะได้รับการปฏิบัติในฐานะ "ประเทศที่ 3" ทั้งด้านสิทธิและพันธสัญญาต่างๆ
นายโดนัลด์ ทัสค์ ประธานอียูแถลงข่าวว่าการเข้าถึงตลาดเดียวอันใหญ่โตมโหฬารของอียูซึ่งมีประชากรกว่า 500 ล้านคน จำเป็นต้องยอมรับเสรีภาพทั้ง 4 ในนั้นรวมถึงเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายเสรี ความเห็นดังกล่าวก่อความผิดหวังใหญ่หลวงแก่ฝ่ายรณรงค์เบร็กซิต ที่ให้สัญญาจำกัดการรับผู้ลี้ภัยจากอียู พร้อมรับประกันกับบริษัทต่างๆของอังกฤษว่าจะยังคงสามารถขายสินค้าและบริการแก่สหภาพยุโรปได้ง่ายตามปกติ
ด้านนางแองเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีเตือนเช่นกันว่า ลอนดอนจะไม่สามารถเลือกเจรจาเงื่อนไขต่างๆของการถอนตัวได้ตามใจชอบ
มีความกังวลว่าพวกต่อต้านยุโรปจะเติบโตขึ้นในรัฐสมาชิกหลายประเทศ ซึ่งการปล่อยให้อังกฤษเลือกเงื่อนไขต่างๆในการถอนตัวตามที่ปรารถนามากเกินไปจะกระพือผลกระทบแบบโดมิโนต่อชาติอื่นๆในการแยกตัวจากอียู
คาเมรอน ซึ่งเข้าร่วมประชุมด้วยในวันอังคาร(28มิ.ย.) ที่อาจเป็นซัมมิตอียูในบรัสเซลส์ครั้งสุดท้ายของเขา กำลังอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างหนักให้เริ่มกระบวนการถอนตัวอย่างทันทีทันใด ด้วยการแจ้งกับอียูว่าอังกฤษต้องการแยกตัวออกไป
อย่างไรก็ตามนายคาเมรอน ขัดขืนแรงกดดันที่ต้องการให้เริ่มใช้กลไกตามมาตรา 50 เพื่อออกจากอียูในทันที โดยบอกว่าจะมอบหน้าที่นี้แก่นายกรัฐมนตรีคนต่อไป ซึ่งกว่าจะมีการเสนอชื่อคงต้องรออย่างน้อยๆจนถึงวันที่ 9 กันยายน
ผู้นำของรัฐบาลชาติต่างๆในอียู ซึ่งประชุมกันโดยไม่มีตัวแทนจากอังกฤษเข้าร่วมเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี ระบุในถ้อยแถลงว่าอังกฤษจะได้รับการปฏิบัติในฐานะ "ประเทศที่ 3" ทั้งด้านสิทธิและพันธสัญญาต่างๆ
นายโดนัลด์ ทัสค์ ประธานอียูแถลงข่าวว่าการเข้าถึงตลาดเดียวอันใหญ่โตมโหฬารของอียูซึ่งมีประชากรกว่า 500 ล้านคน จำเป็นต้องยอมรับเสรีภาพทั้ง 4 ในนั้นรวมถึงเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายเสรี ความเห็นดังกล่าวก่อความผิดหวังใหญ่หลวงแก่ฝ่ายรณรงค์เบร็กซิต ที่ให้สัญญาจำกัดการรับผู้ลี้ภัยจากอียู พร้อมรับประกันกับบริษัทต่างๆของอังกฤษว่าจะยังคงสามารถขายสินค้าและบริการแก่สหภาพยุโรปได้ง่ายตามปกติ
ด้านนางแองเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีเตือนเช่นกันว่า ลอนดอนจะไม่สามารถเลือกเจรจาเงื่อนไขต่างๆของการถอนตัวได้ตามใจชอบ
มีความกังวลว่าพวกต่อต้านยุโรปจะเติบโตขึ้นในรัฐสมาชิกหลายประเทศ ซึ่งการปล่อยให้อังกฤษเลือกเงื่อนไขต่างๆในการถอนตัวตามที่ปรารถนามากเกินไปจะกระพือผลกระทบแบบโดมิโนต่อชาติอื่นๆในการแยกตัวจากอียู
คาเมรอน ซึ่งเข้าร่วมประชุมด้วยในวันอังคาร(28มิ.ย.) ที่อาจเป็นซัมมิตอียูในบรัสเซลส์ครั้งสุดท้ายของเขา กำลังอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างหนักให้เริ่มกระบวนการถอนตัวอย่างทันทีทันใด ด้วยการแจ้งกับอียูว่าอังกฤษต้องการแยกตัวออกไป
อย่างไรก็ตามนายคาเมรอน ขัดขืนแรงกดดันที่ต้องการให้เริ่มใช้กลไกตามมาตรา 50 เพื่อออกจากอียูในทันที โดยบอกว่าจะมอบหน้าที่นี้แก่นายกรัฐมนตรีคนต่อไป ซึ่งกว่าจะมีการเสนอชื่อคงต้องรออย่างน้อยๆจนถึงวันที่ 9 กันยายน