นายศรายุทธ ตันเถียร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราหมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รศ.ดร.ไทยถาวร เลิศวิทยาประสิทธิ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องแพลงก์ตอนพืชและสาหร่ายจิ๋ว พร้อมนักดำน้ำ ลงพื้นที่สำรวจปะการังที่ บริเวณทะเลแหวก เกาะไก่ ทะเลแหวก ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ พื้นที่ที่เกิดปะการังฟอกขาวร้อยละ 80 เพื่อทดลองงานวิจัยการใช้สาหร่ายกับปะการังที่ฟอกขาว โดยใช้อุปกรณ์เติมสาหร่าย ทำจากแพลงก์ตอนเน็ตขนาด 20 ไมครอน หรือ Super Algae พร้อมเก็บข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ ทั้งอุณหภูมิ สภาพปะการังก่อน-หลัง ระยะเวลา 14 วัน
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า สาหร่ายจิ๋วอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อปะการังและสัตว์ทะเลบางชนิด เช่น ดอกไม้ทะเล หอยมือเสือ โดยสาหร่ายจิ๋วจะสังเคราะห์แสงให้พลังงานกับสัตว์ที่อาศัยอยู่ด้วย แต่เมื่อปะการังฟอกขาวเกิดอาการผิดปกติ ปล่อยสาหร่ายออกไปสู่น้ำทะเล พลังงานก็ลดลง ปะการังจึงตาย แต่ผลการทดลองพบว่า Super Algae ที่ใส่ลงไปในปะการังที่ฟอกขาว สามารถช่วยปะการังให้มีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นับเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการลองใช้ Super Algae และการทำงานในทะเลจริง จะให้ระยะเวลาติดตามผลของ Super Algae จะรู้ได้ใน 10-14 วัน หากสำเร็จจะเป็นการรับมือกับปะการังฟอกขาวเป็นประเทศแรกในโลก
.
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า สาหร่ายจิ๋วอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อปะการังและสัตว์ทะเลบางชนิด เช่น ดอกไม้ทะเล หอยมือเสือ โดยสาหร่ายจิ๋วจะสังเคราะห์แสงให้พลังงานกับสัตว์ที่อาศัยอยู่ด้วย แต่เมื่อปะการังฟอกขาวเกิดอาการผิดปกติ ปล่อยสาหร่ายออกไปสู่น้ำทะเล พลังงานก็ลดลง ปะการังจึงตาย แต่ผลการทดลองพบว่า Super Algae ที่ใส่ลงไปในปะการังที่ฟอกขาว สามารถช่วยปะการังให้มีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นับเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการลองใช้ Super Algae และการทำงานในทะเลจริง จะให้ระยะเวลาติดตามผลของ Super Algae จะรู้ได้ใน 10-14 วัน หากสำเร็จจะเป็นการรับมือกับปะการังฟอกขาวเป็นประเทศแรกในโลก
.