นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุืพืช สั่งสำนักสัตว์ป่า และสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 เข้าตรวจสอบกรณีพบนกเงือกในบ้านของนายวิกรม กรมดิษฐ์ ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน. จำกัด (มหาชน)แล้ว หลังก่อนหน้านี้ เขาโพสต์ภาพมีนกเงือกภายในบ้านและสวนดึกดำบรรพ์บนชั้นดาดฟ้าของอาคาร 6 บนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ใจกลางกรุงเทพฯ
เบื้องต้นจะให้ตรวจสอบว่าเป็นนกเงือกชนิดใด มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง เช่นเอกสารการครอบครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 หรือไม่ ด้านนางเตือนใจ นุชดำรงค์ ผู้อำนวยการสำนักสัตว์ป่า ยอมรับว่าการพิสูจน์เรื่องการครอบครองนกเงือกทำได้ค่อนข้างยาก เพราะอาจจะมีการกล่าวอ้างว่า นกบินมาเกาะภายในบ้านเอง ยกเว้นแต่เจ้าหน้าที่จะพบกรงหรืออุปกรณ์การเลี้ยงดูแลนกภายในบ้าน ซึ่งแจ้งความเอาผิดได้ตามกฎหมาย
ด้านนายวิกรมโพสต์เฟซบุ๊กชี้แจงเรื่องการมีนกเงือกภายในพื้นที่บ้าน โดยระบุว่า นกตัวดังกล่าว คนงานพบที่ข้างไร่ใกล้เขาใหญ่ ในสภาพที่บินไม่ได้ น้องชายของเขาจึงรับมาดูแลและในปัจจุบันภายในไร่ ยังมีช้างป่า , กระทิง ,กวาง ,เก้ง หมูป่า, นกเงือกต่างๆ อาศัยเกือบร้อยตัวในพื้นที่ จนกลายเป็นเขตป่ากันชนระหว่างอุทยานกับชาวบ้าน โดยย้ำว่า เขาไม่เคยครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองใดๆทั้งสิ้น
หลังการชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กของนายวิกรม เพจคนอนุรักษ์และเครือข่ายด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนำเสนอข้อมูลอีกด้านว่า ตามหลัก 'สัตวภูมิศาสตร์' นกเงือกสีน้ำตาล เป็นนกที่พบได้ในแถบป่าตะวันตก จะไม่พบในป่าเขาใหญ่ ที่มีนกเงือกสีน้ำตาลคอขาว ซึ่งเป็นคนละชนิดกัน
สอดคล้องกับความเห็นของนายแพทย์รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ หมอนักอนุรักษ์ที่เคยโพสต์ข้อความตั้งคำถามเรื่องการครอบครองนกเงือก ซึ่งเขาระบุว่า นกเงือกสีน้ำตาลไม่ใช่นกที่อาศัยอยู่ตามชายป่า แต่จะอยู่ในป่าทึบที่มีระดับความสูงกว่า 700 เมตร ถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ที่ระบุว่า ห้ามครอบครองสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่สัตว์ที่ครอบครองเป็นสัตว์ที่มาจากการเพาะพันธุ์ที่ไม่ถูกต้อง จะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เบื้องต้นจะให้ตรวจสอบว่าเป็นนกเงือกชนิดใด มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง เช่นเอกสารการครอบครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 หรือไม่ ด้านนางเตือนใจ นุชดำรงค์ ผู้อำนวยการสำนักสัตว์ป่า ยอมรับว่าการพิสูจน์เรื่องการครอบครองนกเงือกทำได้ค่อนข้างยาก เพราะอาจจะมีการกล่าวอ้างว่า นกบินมาเกาะภายในบ้านเอง ยกเว้นแต่เจ้าหน้าที่จะพบกรงหรืออุปกรณ์การเลี้ยงดูแลนกภายในบ้าน ซึ่งแจ้งความเอาผิดได้ตามกฎหมาย
ด้านนายวิกรมโพสต์เฟซบุ๊กชี้แจงเรื่องการมีนกเงือกภายในพื้นที่บ้าน โดยระบุว่า นกตัวดังกล่าว คนงานพบที่ข้างไร่ใกล้เขาใหญ่ ในสภาพที่บินไม่ได้ น้องชายของเขาจึงรับมาดูแลและในปัจจุบันภายในไร่ ยังมีช้างป่า , กระทิง ,กวาง ,เก้ง หมูป่า, นกเงือกต่างๆ อาศัยเกือบร้อยตัวในพื้นที่ จนกลายเป็นเขตป่ากันชนระหว่างอุทยานกับชาวบ้าน โดยย้ำว่า เขาไม่เคยครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองใดๆทั้งสิ้น
หลังการชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กของนายวิกรม เพจคนอนุรักษ์และเครือข่ายด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนำเสนอข้อมูลอีกด้านว่า ตามหลัก 'สัตวภูมิศาสตร์' นกเงือกสีน้ำตาล เป็นนกที่พบได้ในแถบป่าตะวันตก จะไม่พบในป่าเขาใหญ่ ที่มีนกเงือกสีน้ำตาลคอขาว ซึ่งเป็นคนละชนิดกัน
สอดคล้องกับความเห็นของนายแพทย์รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ หมอนักอนุรักษ์ที่เคยโพสต์ข้อความตั้งคำถามเรื่องการครอบครองนกเงือก ซึ่งเขาระบุว่า นกเงือกสีน้ำตาลไม่ใช่นกที่อาศัยอยู่ตามชายป่า แต่จะอยู่ในป่าทึบที่มีระดับความสูงกว่า 700 เมตร ถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ที่ระบุว่า ห้ามครอบครองสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่สัตว์ที่ครอบครองเป็นสัตว์ที่มาจากการเพาะพันธุ์ที่ไม่ถูกต้อง จะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ